churaipatara
|
 |
« ตอบ #16125 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 11:22:27 » |
|
การคุ้มครองดูแลบุตรของลูกจ้างก่อนและหลังคลอด โดยท่านพัลลอง มั่นดี
สภาพปัญหาที่รอการแก้ไข
แรงงานส่วนใหญ่ของประเทศไทย แต่เดิมเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม สภาพครอบครัวมีลักษณะ
เป็นครอบครัวขยาย ซึ่งนอกจากจะมีบิดามารดาและบุตรแล้ว ยังมีปู่ย่าตายาย ลุงป้า อาศัยอยู่ด้วยกัน..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16126 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 11:38:24 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16127 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 14:58:48 » |
|
..ไม่มีปัญหาการเลี้ยงดูบุตรเพราะต่างเกื้อกูลกัน ต่อมาเมื่อสภาพสังคมไทยเปลี่ยนไปเข้าสู่ยุคอุต-
สาหกรรม แรงงานในภาคเกษตรกรรมต่างพากันเข้าไปทำงานเป็นลูกจ้างตามโรงงานและบริษัท
ห้างร้านเป็นจำนวนมาก เนื่องจากได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าเป็นลูกจ้างในภาคเกษตรกรรม ..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16128 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 15:01:15 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16129 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 15:21:26 » |
|
..สภาพครอบครัวของลูกจ้างกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวที่มีเพียงบิดามารดาและบุตรเท่านั้น เมื่อลูก-
จ้างมีบุตร บุตรของเขาย่อมมีสิทธิได้รับการพัฒนา การพัฒนาคนต้องมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์
มารดาโดยมารดาต้องมีโอกาสและเวลาที่จะสร้างสายใยแห่งความผูกพันกับบุตร..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16130 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 15:25:32 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16131 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 15:38:02 » |
|
..ต้องมีเวลาพักในโอกาสอันควร และเมื่อคลอดบุตรแล้วต้องมีเวลาให้นมบุตรด้วยนมของตนเองไม่-
ใช่นมผง และหากไม่มีเวลาดูแลบุตรก็ต้องมีสถานรับเลี้ยงเด็กและพี่เลี้ยงดูแลเด็กที่ได้มาตรฐานไม่
ใช่โรงเลี้ยงสัตว์ การพัฒนาดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่งคลอดออกมาเป็นเด็กเล็กถือว่าเป็น...
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16132 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 15:40:37 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16133 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:12:40 » |
|
สวัสดีค่ะ
วันนี้อบรมเยาวชนชายสิบสี่คนและส่งไปบำเพ็ญประโยชน์ที่รพ.ศรีสะเกษ และต้องติดตามดูแล -
ตลอดศุกร์เสาร์อาทิตย์นี้ด้วยค่ะ ..เพื่อนนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาฯรุ่นรหัส2524ยังคงสนับสนุนงาน
โครงการต่างๆของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษด้วยดีเสมอมา ขอบคุณมากนะคะ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16134 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:13:48 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16135 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:18:10 » |
|
..รากฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคนให้เป็นคนดีและฉลาด หากรากฐานได้รับการพัฒนาอย่าง
ดีแล้ว ในการพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ เช่น การเรียนการศึกษา ย่อมเป็นไปได้โดยไม่ยาก แต่ในปัจจุ-
บันบุตรของลูกจ้าง โดยเฉพาะแรงงานชั้นล่าง ไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างมีมาตรฐาน..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16136 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:19:44 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16137 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:25:00 » |
|
..ทั้งก่อนและหลังคลอด ทั้งๆที่เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า บุตรของลูกจ้างก็คือ คนอันเป็นส่วนสำคัญส่วน
หนึ่งของสังคม เขาไม่ใช่ลูกทาสในยุคโบราณที่จะถูกทอดทิ้งอย่างไรก็ได้ จะเอาไปขายก็ได้ จะฆ่า -
ให้ตายก็ได้ เพราะสถานะของลูกทาสในยุคโบราณไม่มีฐานะเป็นคน เป็นเพียงสมบัติส่วนหนึ่ง..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16138 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:25:59 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16139 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:29:40 » |
|
..ของนายทาส แต่ในปัจจุบันบุตรของลูกจ้างมีฐานะเป็นคน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เช่นเดียว
กับบุตรของนายจ้าง จึงควรได้รับความดูแลคุ้มครองเพราะเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เมื่อไม่ได้รับ
การคุ้มครองดูแลอย่างมีมาตรฐานแล้ว พอเติบโตเป็นผู้ใหญ่จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16140 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:31:24 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16141 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:35:12 » |
|
..เช่น ติดยาเสพติด เป็นนักเลง อันธพาล อาชญากรรม ก่อคดีลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฆ่า
ข่มขืน เป็นต้น ความชั่วร้ายและความวิบัติที่เกิดขึ้นแก่สังคมไทยอยู่แทบทุกวัน ควรได้รับการแก้ -
ไขที่ต้นตอของปัญหาตามที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม มิใช่ผลประโยชน์ของลูกจ้าง
ฝ่ายเดียว..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16142 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:36:34 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16143 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:42:40 » |
|
..มีผลประโยชน์ส่วนรวมหรือสังคมแฝงอยู่ด้วย เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว มีผลกระทบต่อทุกคน
ในสังคม จากการศึกษาพบว่าสิ่งที่ควรแแก้ไขปรับปรุงในเบื้องต้นคือ เครื่องมือที่ใช้ในการปกป้องคุ้ม
ครองดูแลบุตรของลูกจ้างในส่วนที่เรียกว่ากฏหมาย ได้แก่ พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16144 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:48:08 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16145 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:55:56 » |
|
..พรบ.ประกันสังคมพ.ศ.๒๕๓๓ พรบ.คุ้มครองเด็กพ.ศ.๒๕๔๖ กฏหมายดังกล่าวนี้โดยเฉพาะกฏ -
หมายแรงงานมีวิวัฒนาการ และความเป็นมาอันยาวนานมาก ตั้งแต่การมีทาสในยุคโบราณที่มนุษย์
ยังไม่เห้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ด้วยกัน กดขี่ข่มเหงเอาเปรียบและกระทำทารุณโหดร้ายเหมือน
ไม่ใช่คน..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16146 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 14:57:26 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16147 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 15:06:06 » |
|
..จนกระทั่งเข้าสู่ยุคแห่งความดีมีหลักการและเหตุผล จึงได้มาซึ่งหลักแห่งสิทธิมนุษยชนอันเป้นที่มา
และยืนอยู่เบื้องหลังของกฏหมายดังกล่าว เมื่อสภาพของสังคมเปลี่ยนไปกฏหมายดังกล่าวเป้นกฏ -
หมายที่บัญญัติไว้เพื่อคุ้มครองสังคม ไม่ได้เปลี่ยนไปด้วยทำให้มีประเด็นที่เป็นปัญหา ซึ่งผู้ศึกษาจะ..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16148 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 15:09:08 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16149 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 15:30:06 » |
|
..ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกฏหมายไทยกับกฏหมายระหว่างประเทศและกฏหมายต่าง -
ประเทศว่า มีความเหมือน แตกต่าง หรือสอดคล้องกันอย่างไร..วิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อพิสูจน์
และค้นหาหลักการที่ดีที่จะนำมาแก้ไขในหัวข้อดังต่อไปนี้..
|
|
|
|
|