02 พฤษภาคม 2567, 07:48:40
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: จ่อโละ ซีดีเอ็มเอ ลงทุน HSPA แทนการซื้อฮัทช์  (อ่าน 3594 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 18:49:13 »


             ขอขอบคุณเวบบล็อกนันดอทคอม วันพุธ 13 ตุลาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
                        http://www.blognone.com/news/19175

                      

                            บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
                     (CAT Telecom Public Company Limited) หรือ CAT
 
          จ่อโละซีดีเอ็มเอ ลงทุน HSPA แทนการซื้อฮัทช์, อัพเกรดเป็น 3G ดีแทค/ทรูมูฟยังไม่แน่
                                                reported by nuntawat

         เมื่อวานนี้ นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่ รมว.ไอซีทีได้ให้กสท.กลับไปทบทวนการเข้าซื้อกิจการโครงข่ายระบบซีดีเอ็มเอและลูกค้าจาก ฮัทชิสัน (ฮัทช์) ใหม่

         โดยให้เจรจาลดราคาลงเหลือไม่เกิน 4,000 ล้านบาท จากเดิม 7,500 ล้านบาทนั้น กสท.ได้แจ้งผู้บริหารฮัทช์แล้ว ต้องรอคำตอบจากฮัทช์ว่าจะยินยอมขายตามที่ รมว.ไอซีทีให้นโยบายหรือไม่

         ขณะเดียวกันกสท.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการเข้าซื้อกิจการฮัทช์กับการลงทุนปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจากซีดีเอ็มเอเป็น HSPA (High-Speed Packet Access) คาดว่าภายในสิ้นเดือนต.ค.นี้จะรู้ผลการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียและการลงทุนว่าแบบไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากัน

         หลังจากนั้นจะนำรายงานให้บอร์ด กสท.รับทราบเพื่ออนุมัติในเดือนพ.ย.นี้ จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าการลงทุน HSPA

         จะใช้เงินลงทุน 2 ล้านบาทต่อสถานีฐาน ขณะที่โครงข่ายซีดีเอ็มเอมีข้อจำกัด อาทิ ไม่คุ้มค่าการลงทุนในเชิงพาณิชย์เพราะมีผู้ใช้น้อยราย เครื่องโทรศัพท์ต้องผลิตเฉพาะเจาะจงการใช้งานกับระบบซีดีเอ็มเอเท่านั้น

         ขณะที่เครื่องลูกข่ายส่วนใหญ่รองรับ HSPA ได้เกือบทุกรุ่นที่มีอยู่ในตลาด อีกทั้งกสท.สามารถเช่าใช้สถานีฐานของดีแทคหรือทรูมูฟได้เพื่อลดต้นทุน

         นอกจากนั้นอีกไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า เทคโนโลยี 3G ซีดีเอ็มเอก็จะหมดไป เทคโนโลยีใหม่หรือทีเรียกว่าแอลทีอีหรือมือถือยุค 4G ก็จะเข้ามาแทนที่

         นอกจากนั้นนายจิรายุทธ ยังกล่าวถึงเรื่องการอัพเกรดจาก 2G เป็น 3G บนคลื่นความถี่เดิมของดีแทคและทรูมูฟว่าขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ยังไม่มีข้อสรุป คาดว่าไม่เกินเดือนพ.ย.นี้จะมีคำตอบเรื่องการอัพเกรดดังกล่าวอย่างแน่นอน

                                  win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #1 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 13:11:24 »

อ้างถึง
ข้อความของ Samrotri2517 เมื่อ 13 ตุลาคม 2553, 18:49:13

          
         นอกจากนั้นอีกไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า เทคโนโลยี 3G ซีดีเอ็มเอก็จะหมดไป เทคโนโลยีใหม่หรือทีเรียกว่าแอลทีอีหรือมือถือยุค 4G ก็จะเข้ามาแทนที่

        
                                  win win win



อีก 3-5 ปีข้างหน้า ไ่ม่ใช่เพียงเทคโนโลยี CDMA ที่จะ Expired แต่ HSPA ก็จะ Expired ด้วยครับ โดยจะถูกแทนที่ด้วย LTE ...


ดังนั้นการลงทุนโครงข่ายใหม่ ของทั้ง CAT และ TOT ต้องพิจารณาประเด็นตรงนี้ให้ดีๆ ... กว่าจะประมูล กว่าจะวางโครงข่าย จนถึงเปิดให้บริการได้ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 1 ปี ... ให้บริการยังไม่ทันถึงจุดคุ้ม (Break Event Point) เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแล้ว ... ถ้าตอนนั้น ค่ายเอกชนได้ใบอนุญาตคลื่นความถี่เปิดให้บริการ่บนเทคโนโลยี LTE  ... ก็จะกลับไปซ้ำรอย Thai Mobile หรือ Hutch เหมือนเดิม ...
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2553, 17:30:45 »

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 26 ตุลาคม 2553, 13:11:24
อ้างถึง
ข้อความของ Samrotri2517 เมื่อ 13 ตุลาคม 2553, 18:49:13

           
         นอกจากนั้นอีกไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า เทคโนโลยี 3G ซีดีเอ็มเอก็จะหมดไป เทคโนโลยีใหม่หรือทีเรียกว่าแอลทีอีหรือมือถือยุค 4G ก็จะเข้ามาแทนที่

         
                                  win win win



อีก 3-5 ปีข้างหน้า ไ่ม่ใช่เพียงเทคโนโลยี CDMA ที่จะ Expired แต่ HSPA ก็จะ Expired ด้วยครับ โดยจะถูกแทนที่ด้วย LTE ...


ดังนั้นการลงทุนโครงข่ายใหม่ ของทั้ง CAT และ TOT ต้องพิจารณาประเด็นตรงนี้ให้ดีๆ ... กว่าจะประมูล กว่าจะวางโครงข่าย จนถึงเปิดให้บริการได้ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 1 ปี ... ให้บริการยังไม่ทันถึงจุดคุ้ม (Break Event Point) เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแล้ว ... ถ้าตอนนั้น ค่ายเอกชนได้ใบอนุญาตคลื่นความถี่เปิดให้บริการ่บนเทคโนโลยี LTE  ... ก็จะกลับไปซ้ำรอย Thai Mobile หรือ Hutch เหมือนเดิม ...


แล้วหัวตั้งหลายหัว ตาตั้งหลายคู่ ไม่รับรู้เลยหรือครับ

หรือ หัวมี ตามี แต่ ขาด "ใจ"

(ปากจัดไปไหมเนี่ย....)
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #3 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2553, 11:58:12 »

สวัสดีครับพี่ ยังชิน 4G มาเร็วกว่าที่คิดเล็กน้อย ... จากที่เคยคิดว่า ITU จะสามารถประกาศมาตรฐานได้ต้นปีหน้า แต่ เมื่อ 22 ต.ค. 53 นี้ ITU ได้ประกาศมาตฐาน 4G ออกมาเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียน ITU แล้ว (บน เทคโนโลยี LTE-Advanced และ WiMAX2) ซึ่งจากการทดสอบ WiMAX2 (WiMAX มาตรฐาน 802.16m) ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ของเทคโนโลยี 4G พบว่าสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 330 Mbps ซึ่งเร็วกว่า 3G หลายเท่า ... และคาดว่าจะสามารถพัฒนาความเร็วขึ้นไปได้ถึง 1 Gbps  (ประมาณ 1024 Mbps)

--------------------------------------

http://www.telecomasia.net/content/4g-officially-its-wimax2-lte-advanced

4G: Officially it's Wimax2, LTE-Advanced
Caroline Gabriel/Rethink Wireless  |   October 22, 2010
AT&T's SVP of network planning, Kristin Rinne, raised a cheer at the 4G World show when she ended a presentation on LTE strategy by looking ahead to LTE-Advanced, and saying the marketing folks would certainly be calling it “5G”.
 
With T-Mobile even marketing HSPA+ (officially 3.5G) as 4G, it is easy to forget that “true 4G” is still far away. The picture was clarified somewhat this week, though, by the ITU's Radiocomms sector (ITU-R0, which chose LTE-Advanced and Wimax2 (802.16m) as its official platforms for the “real” 4G standard, IMT-Advanced.
 
The two platforms - officially called 3GPP LTE Release 10 & Beyond, and WirelessMAN-Advanced - will need to achieve 100Mbps download with high mobility and wide area coverage; 1Gbps download when stationary; with low latency of under 10ms round-trip delay; and with wide spectrum bands of up to 100MHz.
 
Clearly this is a huge step forward from the current “4G” standards, though Clearwire's claim of realizing 100Mbps downloads on an LTE trial indicate that the current systems are progressing rapidly in performance terms.
 
Wimax2 will appear in commercial equipment from next year, with Samsung likely to be the first supplier, and LTE-Advanced is expected a year later.

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2553, 16:34:41 »

พรบ.กสทช. ผ่านสภาแล้ว  ปิ๊งๆ
--------------------

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9530000159358

สภาลงมติผ่านร่างพ.ร.บ.กสทช. "กรณ์" แฉกสท.-ทีโอทีจ่ายรัฐน้อย



สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างพ.ร.บ.กสทช. ตั้ง 11 อรหันต์คุมกฏ ด้วยเสียงเห็นชอบ 236 เสียง นักวิชาการชี้ร่าง พ.ร.บ. ยังมีโครงสร้างกฎหมายที่ไม่สอดคล้อง จะก่อให้เกิดการฟ้องร้องตามมา กรณ์' เชื่อกฎหมาย กสทช.นำไปสู่การปรับโครงสร้าง อัด'กสท.-ทีโอที'ไม่บริการประชาชน แฉแบ่งประโยชน์ ให้รัฐปีละแค่ 20%
      
       วานนี้ (10พ.ย.) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏรได้มีมติเห็นชอบ 228 เสียง ต่อ 2 เสียง ในร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... (กสทช) ที่คณะกรรมาธิการร่วมกันฯพิจารณาเสร็จแล้ว
      
       ทั้งนี้คณะกรรมาธิการร่วมกันฯได้มีการแก้ไขรายละเอียดในบางประเด็นอาทิ มีการแก้ไขจำนวนกสทช.จากที่วุฒิสภาแก้ไข15 คน กลับมาเป็น11 คน และได้ตัดผู้ที่มีผลงานหรือมีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านความมั่นคงของรัฐหรือการบริหารราชการจำนวน 2 คนร่วมเป็นกรรมการกสทช.ออกไป ส่วนการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการมีสิทธิ์ขอขึ้นทะเบียนไว้ต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ส่วนประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐวิสาหกิจนำรายได้จากผลประกอบการที่ได้รับส่งให้กสทช.เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดิน คณะกรรมาธิการร่วมกันฯเห็นตามการแก้ไขของวุฒิสภา คือจาก 1 ปีเป็น 3 ปี
      
       อย่างไรก็ตามสมาชิกได้อภิปรายท้วงติงในเรื่องของการกำหนดคุณสมบัติที่กรรมาธิการร่วมกันฯ เห็นชอบตามที่วุฒิสภาแก้ไขกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70ปีบริบูรณ์ ว่าเป็นการกำหนดอายุที่มากเกินไป อาจไม่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ ขณะเดียวกันส.ส.หลายคนแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันฯ โดยเฉพาะกรณีที่เสนอให้มีกสทช.แต่งตั้งผู้ที่มีผลงาน หรือมีความรู้มีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านความมั่นคงของรัฐเข้าร่วมเป็นอนุกรรมการของกสทช.ด้วย
      
       สุดท้ายที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 236 เสียงต่อ6 เสียง เห็นชอบให้ถอนข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันฯออกจากรายงานการประชุม โดยรายงานร่างดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อวุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบ ซึ่งขณะนี้มีการบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาแล้วในวันที่ 15 พ.ย.นี้
      
       ** โครงสร้างกม.ไม่สอดคล้องธุรกิจ **
      
       นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เปิดเผยภายในงานสัมมนา 'ชำแหละ ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ..... (กสทช.)' ว่า หากกฎหมาย กสทช.ออกมาจะช่วยแก้ปัญหาการกระจุกตัวความเป็นเจ้าของสื่อเทคโนโลยีจากปัจจุบันที่สิทธิ์ครอบครองคลื่นความถี่ยังกระจุกตัวในมือของหน่วยงานภาครัฐ เช่น ทหาร อสมท.และกรมประชาสัมพันธ์
      
       ขณะเดียวกัน พ.ร.บ. กสทช. ยังรองรับยุคการหลอมรวมสื่อ (คอนเวอร์เจนซ์) โดยควบรวมสององค์กรอิสระคือคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) มาเป็นองค์กรเดียว คือ กสทช. ทำให้ง่ายต่อการดูแล
      
       นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านสื่อสารและสารสนเทศ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. กสทช. ยังมีโครงสร้างกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับธุรกิจ เนื้อหาการกำกับกิจการวิทยุ และโทรทัศน์ ยังมีปัญหา ซึ่งกฎหมายยังมีส่วนที่ไม่สามารถปฏิบัติได้อีกมาก จะก่อให้เกิดการฟ้องร้องตามมา
      
       'พ.ร.บ.นี้มีผลประโยชน์แฝงมาก เชื่อเถอะเงินทำได้ทุกอย่าง ถ้า พ.ร.บ. กสทช.ประกาศใช้เราจะดีใจกันได้แค่ 6 เดือน แล้วจะเกิดปรากฏการณ์หุ้นวิทยุ โทรทัศน์จะขึ้น แต่หุ้นโทรคมนาคมจะทรงตัว'
      
       ** "กรณ์" แฉกสท.-ทีโอที'แบ่งประโยชน์ ให้รัฐปีละแค่ 20% **
      
       ขณะเดียวกัน วานนี้ นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ และรมว.คลัง อภิปรายว่า กฎหมายดังกล่าวถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญ และเป็นกฎหมายที่สังคมคาดหวังมากที่จะเปลี่ยนแปลงระบบโทรคมนาคมให้ทั่วถึงและทันสมัยมากขึ้น โดยต้องไปดูในเรื่องระบบโครงการของระบบโทรคมนาคม โดยเฉพาะเรื่องสัดส่วนสัมปทานที่ให้กับรัฐเป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งตนรู้สึกอึดอัด และคาดหวังว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อเห็นตรงกันว่า หากต้องการปรับโครงสร้างเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงก็ต้องมีการแก้ไขในเรื่องผลประโยชน์ของสัมปทาน ในมาตรา 84 ซึ่งก็มีคำตอบที่ได้คือถ้าเราเร่งรัดที่จะให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 บริษัทโอนรายได้เข้าสู่รัฐแทนที่ทำเองก็อาจทำให้ทั้งบริษัทอยู่ไม่ได้
      
       “กสท.หรือทีโอที ทำไมเรามองว่าเขาต้องมีรายได้ของเขา ตนไม่เข้าใจความคิดของคณะกรรมาธิการฯว่าทำไมต้องขยายเวลาส่งเงินเข้าแผ่นดินจาก 1 ปีเป็น 3 ปี ในอดีตกสท.และทีโอที อาจเป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการประชาชนและต้องแข่งขันกับเอกชน แต่ปัจจุบันทั้งสองบริษัทเน้นในเรื่องพาณิชย์ ไม่ได้เน้นบริการประชาชน โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมารายได้สัมปทานของกสท.สูงถึง 20,000 กว่าล้านแบ่งให้รัฐแค่ 2,700 ล้านบาท โดยเฉลี่ยในแต่ละปีมีการแบ่งรายได้ให้รัฐแค่ร้อยละ 20 จึงอยากถามว่าที่ผ่านมา กสท.ทำอะไรให้กับรัฐหรือประชาชน คุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ ตนมั่นใจว่าเพื่อนสมาชิกอยากมีโอกาสพิจารณาในชั้นงบประมาณ ว่าการลงทุนคุ้มค่ากับพี่น้องประชาชนหรือไม่”
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><