10 พฤษภาคม 2567, 00:20:06
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: วางหรือว่างง่ายนิดเดียว  (อ่าน 9653 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554, 08:35:26 »

 sing
      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #1 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554, 21:41:54 »

ท่านไหนมีข้อธรรมหรือข้อสงสัยในการนั่งสมาธิหรือปฏิบัติธรรมแลกเปลี่ยนมุมมองและข้อสงสัยได้ครับ....สาธุ sorry
      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #2 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2554, 09:22:35 »

[size=10pt]ในชีวิตประจำวันนั้น ทุกท่านย่อมดิ้นรนหาเลี้ยงชีพต้นและครอบครัว อีกอย่างหนึ่งที่ทุกท่านค้นหาหรือไขว่คว้า
คือสิ่งที่เรียกว่าความสุข แต่สุขของแต่ละท่านก็แตกต่างกันอีกเช่นเดิม บางท่านทำบุญทำทาน บางท่านสังสรรค์กับเพื่อนฯ
แต่จริงแล้วสุขที่แท้จริงอยู่ตรงไหน หรือความสุขอยู่ตรงที่ไขว่คว้าสิ่งต่างๆเพื่อมาเป็นของตน แต่พิจารณาดูว่าสิ่งต่างๆที่หา
หรือไขว่คว้ามานั้นเมื่อเราครอบครองแล้วเรามีทุกข์กับของสิ่งนั้นหรือเปล่า แล้วเมื่อมีทุกข์กับของในสิ่ง สิ่งนั้นจะเรียกว่าหาความสุขได้อย่างใร แต่กล่าวมาถึงตรงนี้ไม่ช่ายว่าให้ละทิ้งทุกอย่าง แต่ให้มีและครอบครองอย่างมีสติละซึ่งการเบียดเบียนผู้อื่น ละวางบ้างบางอารมณ์เพราะสรรพสิ่งล้วนไม่แน่นอน แล้วเราจะไปยึดถืออะใรมากมาย เพราะสรรพสิ่งล้วนอนิจัง
[/size]
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #3 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2554, 21:46:25 »

ดีค่ะ
วางหรือว่าง ไม่ง่ายหรอก
 หากเรายึดและถือมานาน
มันก็วางได้บ้างไม่ได้บ้างตามแต่ เราจะคุม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหล่านั้นได้แค่ไหน
ทันแค่ไหน หากทัน ทันที ก็ไม่ถือ ไม่ยึดได้
หากไม่ทัน ถือไว้แล้ว เวลาจะละ จะวาง ก็ยากหน่อยคะ
ต้องอาศัยแรงใจมากกว่าปกติ ที่ยังไม่ยึด ไม่ถือ
มีข้อคิดดีๆ นำมาลงเพิ่มให้อ่านกันสิคะ
      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #4 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2554, 10:46:14 »

               อย่างหนึ่งสิ่งต่างๆทำไมยาก ก็เพราะว่าเราคิดว่ายากเพียงเปลี่ยนมุมมองของตนดู
เมื่อเปลี่ยนแล้วก็พยายามสิ่งใดเมื่อพยายามบ่อยๆปฏิบัติบ่อยๆก็จะชิน ขออนุญาติยกตัวอย่างครับ
คนทำดีทุกวันหรือปฏิบัติธรรมทุกวันหรือรักแม่ทุกวันรักพ่อทุกวัน วันแม่ในสังคมนั้นจะไม่สำคัญต่อเขา
เพราะเขาทำทุกวันจนชิน เพราะเมื่อชินก็พิจารณาว่าเป็นธรรมดา ผู้ที่ปฏิบัติธรรมเช่นกันเมื่อปฏิบัติทุกวัน
ปฏิบัติจนชินก็จะเป็นธรรมดาเช่นกัน แต่ผู้ใด้ที่ปฏิบัติไม่ดีนั้นเมื่อปฏิบัติไม่ดีทุกวันจนชินก็จะเป็นธรรมดาเช่นกัน
สิ่งต่างๆไม่ยากหรอกครับอยู่ที่เราตั้งใจกระทำปฏิบัติมากพอหรือยังปฏิบัติจนชินให้เป็นธรรมดา
เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นธรรมดาของมันอยู่ที่เราจะเราเอาจิตรไปจับมันหรือไม่
      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #5 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2554, 10:48:10 »

อย่าทำเหมือนลิงเเบกแดด
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #6 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2554, 12:52:07 »

อะไร คือลิงแบกแดดคะ ขยายความหน่อย
จะตีความเอง ก็เกรงว่าจะผิด
      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #7 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2554, 17:07:54 »

  อย่างที่เค้าเปรียบเทียบกันว่า สติหรือจิตนั้นคือลิงปกติมันไม่ค่อยอยู่นิ่งหรอก
การที่เราปฏิบัติแล้วพึงรู้สิ่งต่างที่จิตนึกคิดจะวางลงได้ก้ใช้เวลาแล้ว แดดก็คือ
อุปทานต่างๆที่เราเอามาใส่เพิ่มเติมหรือแบกมันไปไม่ว่าอะใรผ่านเข้ามาก็จะต้องเก็บมันไว้
เก็บมาทุกข์เก็บมาร้อน ถ้าพิจารณาแล้วสิ่งนี้ก็แค่ธรรมชาติอย่างหนึ่งเห็นรับรู้แล้วก็วาง
เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้เป็นธรรมชาติในสิ่งนั้นๆ เห็นสักแต่รู้ว่าเห็นได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน
ไม่ต้องไปเก็บมาให้รกจิตเพราะสรรพสิงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามธรรมชาติ
เพียงให้ลิงตัวนี้นิ่งก็พอไม่เห็นต้องไปแบกอะใรเพิ่มเติม
      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #8 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2554, 20:41:59 »

รักนั้นออกแบบไม่ได้ แต่ทุกข์นั้นออกแบบได้แน่นอน รัก/โลภ/โกรธ/หลง/อยากทุกข์เรื่องไหนก็เลือกเอา
      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #9 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2554, 22:13:48 »

ทำอย่างไรจะหายโกรธ




ความโกรธเป็นศัตรูที่คอยขัดขวางไม่ให้ความดีเกิดขึ้น คนบางคน เป็นผู้มักโกรธ พอโกรธขึ้นมาแล้วก็ต้องทำอะไรรุนแรงออกไป ทำ ให้เกิดความเสียหาย ถ้าทำอะไรไม่ได้ ก็หงุดหงิดงุ่นง่านทรมานใจ ตัวเอง ในเวลานั้นเมตตาหลบหาย ไม่รู้ว่าไปซ่อนตัวอยู่ที่ไหน ไม่ยอมปรากฏให้เห็น ส่วนความโกรธ ทั้งที่ไม่ต้องการแต่ก็ไม่ยอม หนีไป บางทีจนปัญญา ไม่รู้จะขับไล่หรือกำจัดให้หมดไปได้อย่างไร





โบราณท่านรู้ใจและเห็นใจคนขี้โกรธ จึงพยายามช่วยเหลือ โดยสอนวิธีการต่างๆ สำหรับระงับความโกรธ วิธีการเหล่านี้มี ประโยชน์ไม่เฉพาะสำหรับคนมักโกรธเท่านั้น แต่เป็นคคิแก่ทุกคน ช่วยให้เห็นโทษของความโกรธ และมั่นในคุณของเมตตายิ่งขึ้น จึง ขอนำมาเสนอพิจารณากันดู วิธีเหล่านั้นท่านสอนไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้



ขั้นที่ ๑ นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ



ขั้นที่ ๒ พิจารณาโทษของความโกรธ



ขั้นที่ ๓ นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ



ขั้นที่ ๔ พิจารณาว่า ความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง และ เป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู



ขั้นที่ ๕ พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน



ขั้นที่ ๖ พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า (ข้อนี้ใครนับถือศาสนาอื่น จะพิจารณาดูก็ไม่เสียหาย)



ขั้นที่ ๗ พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏฏะ



ขั้นที่ ๘ พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา



ขั้นที่ ๙ พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ



ขั้นที่ ๑๐ ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ


      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #10 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2554, 20:15:00 »

"พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน"

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานแก่พระอานนท์ผู้เป็นพระอุปัฏฐากและพระภิกษุคราที่ทรงปรงพระชนมายุสังขารออกเดินทางด้วยพระบาทเปล่าจากปาวาลเจดีย์ไปยังกรุงกุสินาราสถานที่ปรินิพพานตลอดพระชนมชีพ พระพุทธเจ้าหาได้ทรงท้อแท้หรือเหน็ดเหนื่อยต่อการเผยแพร่ธรรมไม่ยังทรงประกาศพระธรรมอันประเสริฐที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองแก่พุทธบริษัท 4ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้คราเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงปาวาลเจดีย์ ได้ประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่มีเงาครึ้มต้นหนึ่งโดยมีพระอานนท์หมอบลงที่พระบาทมูลแล้วทูลว่า

“ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์อาศัยความกรุณาแก่ข้าและหมู่สัตว์จงดำรงพระชนมชีพต่อไปอีกเถิดอย่าเพิ่งด่วนปรินิพพานเลย ”กราบทูลเท่านี้แล้วพระอานนท์ก็ไม่ทูลอะไรต่อไปอีกเพราะโศกาดูรท่วมท้นหทัย“

อานนท์เอ๋ย ” พระศาสดาตรัสพร้อมทอดทัศนาการไปเบื้องหน้าอย่างสุดไกลลีลาอันเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตรและพระพักตร์ “เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจตถาคตจะต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ อีกสามเดือนข้างหน้านี้ อานนท์เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมาไม่น้อยกว่า 16 ครั้งแล้วว่าคนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดีถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปป์หรือมากกว่านั้นก็พออยู่ได้ แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ได้ทูลอะไรเราเลยเราตั้งใจไว้ว่าในคราวก่อนๆนั้นถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไปเราจะห้ามเสียสองครั้งพอเธอทูลครั้งที่สามเราจะรับอาราธนาของเธอแต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เรามิอาจกลับใจได้อีก”

“ อานนท์เอ๋ย ” บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้วเรื่องที่จะดึงกลับมาอีกครั้งหนึ่งนั้นไม่ใช่วิสัยแห่งตถาคต....บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอ๋ย ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดสิ่งทั้งหลายมีความแตกดับไปสลายไปเป็นธรรมดาจะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปเคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวทุกขณะ ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ประหนึ่งแผ่นดินเป็นสิ่งที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลาย เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบายมีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาดเช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้นเป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนังมีประตูหน้าต่างปิดเปิดเรียบร้อย มีหลังคาป้องกันลม แดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียกแดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลม แดดและฝนกล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่าสมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะให้เบาบางและหมดสิ้นไป ”

“ อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีลสมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกด้วยศีล สมาธิและปัญญาย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์ 8 ประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลายบท 4 คืออริยสัจประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดี ประเสริฐที่สุดบรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์ 8นี่แลเป็นไปเพื่อทัศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์ 8 นี้อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไปตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติดังนี้พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร

”--------------------------------------------

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฐิ คือความยึดมั่นเรื่องของตนเสีย ด้วยประการฉะนี้เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวลไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ด้วยตัวเรานี้เองตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลยมนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตามแต่ก็ตามไม่เคยทันการแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้นเป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อยเหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียวมนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือดวงจิตที่ผ่องแผ่ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรนเรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้วในหมู่ชนที่เพ่งแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง”

“ ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบายแต่สถานที่เหล่านั้นมักบรรจุไปด้วยคนที่มีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมากภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบที่อยู่โคนไม้ได้อย่างไร ”

“ ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละละวางได้ จึงแย่งลาภและยศกันอยู่เสมอเหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วยหรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนักถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง มีความเห็นอกเห็นใจกันมีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและดำเนินชีวิตโลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิดหน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอ คือ ลดความโลภความโกรธและความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใดความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ยิ่งเจริญก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจดูแล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์ยังสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่น ฝูงวิหกนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกันแต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่จะที่ต้องแบกไว้ คือ เรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือเรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกินนักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียวแต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโภคกามก็ดูเหมือนจะบริโภคแตกต่างกันอยู่ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ด้วยโลกียวิสัย บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบจะต้องกินให้มีเกียรติกินให้สมเกียรติ มิได้กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะความจริงร่างกายคนเราไม่ได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิวก็ต้องการอาหารบำบัดความหิวเท่านั้นแต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วงคนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้แต่จำเป็นต้องทำ เหมือนโคหรือควายซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถแต่จำใจต้องลากมันไป อนิจจา ”

------------------------------------------

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆเราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือ บุตรภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่แลตรึงมัดรัดผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆคือ บุตร ภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะเป็นเหยื่อของโลกเมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์ไม่สามารถหอมหวนทวนลมได้แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตบุรุษนั้นแล สามารถจะหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลมคนดีย่อมมีเกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทุกทิศ กลิ่นจันทน์แดง กลิ่นอุบล กลิ่นดอกมะลิจัดว่าเป็นดอกไม้กลิ่นหอม แต่ยังสู้กลิ่นศีลไม่ได้ กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งมวลถ้าภิกษุหวังจะให้เป็นที่รักที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีแล้วพึงเป็นผู้ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยศีลเถิด ”

“ สัตว์โลกเมื่อเกิดมาย่อมนำความทุกข์ติดตัวมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออกความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมันพวกเธอจงเอาสติเป็นขอเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้นคือผู้ที่สามารถเอาชนะตนของตนเองไว้ในอำนาจได้สามารถเอาชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิดอย่าเป็นผู้แพ้เลย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัวอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน มีเมตตาย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้พร้อมกำมือไว้แน่นเป็นสัญลักษณ์ว่าเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้นทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย ”

“ เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าไม้จันทน์แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สนามก็ไม่ทิ้งลีลาอ้อยแม้เข้าสู่เครื่องยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบความทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาที่ตระหนี่ไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนาข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ดย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด ทานที่บุคคลทำแล้วก็ฉันนั้นย่อมมีผลมากผลไพศาล คนดีมีทรัพย์แล้วย่อมบำรุงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ให้เป็นสุขบำรุงสมณะพรหมาจารย์ให้เป็นสุข เปรียบเสมือนสระโบกขรณีอันอยู่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีท่าลงเรียบร้อยสะอาดเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ มหาชนย่อมได้อาศัย นำไปอาบดื่มและใช้สอยตามต้องการโภคทรัพย์ของคนดีย่อมเป็นดังนี้ หาอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่ ”

“ การเสียสละนั้น คือการได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไรย่อมไม่ได้อะไร จงดูเถิดมนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคนแต่ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลที่ปลาย ”

“ บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผลหยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยดยังทำให้แม่น้ำเต็มได้ฉันใด การสั่งสมบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปล้ไปด้วยบาป ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันร่างกายนี้สะสมแต่ของสกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้ามีช่องหูช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรคเป็นที่เก็บโรค อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆเข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอๆเจ้าของกายจึงต้องชำระล้าง ขัดถูวันละหลายๆครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวันกลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่น่ารังเกียจ เป็นของน่าขยะแขยง ”

“ ดูกรอานนท์ บิณฑบาตทานที่มีอานิสงส์มาก มีผลไพศาล คือ เมื่อนางสุชาดาถวายเราก่อนตรัสรู้ครั้งหนึ่งและอีกครั้งหนึ่งที่จุนทะถวายนี้ ครั้งแรกเสวยอาหารของสุชาดาแล้วตถาคตก็ถึงซึ่งกิเลสนิพพานครั้งหลังนี้เสวยอาหารของจุนทะบุตรนายช่างทอง แล้วเราก็นิพพานด้วยขันธ-นิพพาน คือ ดับขันธ์อันเป็นวิบากที่ยังเหลืออยู่ ถ้าใครๆจะพึงตำหนิจุนทะ เธอพึงกล่าวให้เขาเข้าใจตามนี้ถ้าจุนทะพึงจะเดือดร้อนใจ เธอพึงกล่าวปลอบให้เขาหายกังวลใจเสียอาหารของจุนทะเป็นอาหารมื้อสุดท้ายสำหรับเรา ”

“ อานนท์เอ๋ย พึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”

ย่างเข้าปัจฉิมยาม ณ ใต้ต้นสาละคู่แห่งกุสินารานครมีพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงปรินิพพานอยู่ในที่นั้นและพรั่งพร้อมด้วยพุทธบริษัทเนืองแน่นเป็นปริมณฑลทอดไกลสุดสายตา พระธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพว่าสัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง

 

..................

รับฟัง / ดาวน์โหลด ที่นี่ครับ

http://www.dhammathai.org/sounds/admonitionofbuddha.php

      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #11 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 20:12:46 »

ไปหาเหตุซะไกล ...... ที่ไหนได้อยู่ที่ใจตน
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #12 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 20:32:48 »

อ้างถึง
ข้อความของ jitwang เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2554, 17:07:54
  อย่างที่เค้าเปรียบเทียบกันว่า สติหรือจิตนั้นคือลิงปกติมันไม่ค่อยอยู่นิ่งหรอก
การที่เราปฏิบัติแล้วพึงรู้สิ่งต่างที่จิตนึกคิดจะวางลงได้ก้ใช้เวลาแล้ว แดดก็คือ
อุปทานต่างๆที่เราเอามาใส่เพิ่มเติมหรือแบกมันไปไม่ว่าอะใรผ่านเข้ามาก็จะต้องเก็บมันไว้
เก็บมาทุกข์เก็บมาร้อน ถ้าพิจารณาแล้วสิ่งนี้ก็แค่ธรรมชาติอย่างหนึ่งเห็นรับรู้แล้วก็วาง
เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้เป็นธรรมชาติในสิ่งนั้นๆ เห็นสักแต่รู้ว่าเห็นได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน
ไม่ต้องไปเก็บมาให้รกจิตเพราะสรรพสิงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามธรรมชาติ
เพียงให้ลิงตัวนี้นิ่งก็พอไม่เห็นต้องไปแบกอะใรเพิ่มเติม

ขอบคุณทีกรุณาอธิบายค่ะ
      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #13 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554, 21:54:43 »

  ยินดีครับ
      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #14 เมื่อ: 02 มีนาคม 2554, 09:13:03 »

โอวาทของหลวงพ่อพุทธทาส
[/b][/color]
บิดามารดาเป็นพรหมของบุตร
การทำให้บิดามารดาน้ำตาตกเป็นบาป
การเชื่อฟังบิดามารดาไม่มีทางเสียหาย
ไม่ดื้ออย่างเดียว ดีหมดทุกอย่าง
จงตอบแทนพระคุณท่านตั่งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่
รักผู้อื่น....
แก้ปัญหาของมนุษได้ทุกชนิด
การทำงานคือการปฏิบัติธรรม
ปัญหาของวัยรุ่นแก้ได้ด้วยการบังคับตนเอง
เมื่อบังคับตนเองได้ ก็นับถือตนเองได้
เมื่อนับถือตนเองได้ก็ยกมือไหว้ตนเองได้
[/b]
      บันทึกการเข้า
jitwang
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37

« ตอบ #15 เมื่อ: 05 มีนาคม 2554, 13:46:47 »

              ความคิดและคำพูดผู้อื่นคงห้ามไม่ได้...
แต่เมื่อพิจารณาตนสามารปฏิบัติได้...
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><