15 พฤษภาคม 2567, 17:46:18
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 36  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกันเรื่องจีนๆ  (อ่าน 347691 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #125 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 16:20:40 »

ภาษาจีนน่าจะเป็นภาษาที่พิมพ์ได้เร็วที่สุดในโลกแล้วมั้ง เพราะจีนจะมีสำนวน คำคม คำประสม ที่ใช้อยู่ทุกบ่อย เวลาพิมพ์ ถ้าเป็นภาษาไทย หรืออังกฤษที่ต้องพิมพ์ตัวสะกด จะต้องพิมพ์ทุกตัวอักษร แต่ภาษาจีน เพียงพิมพ์ตัวอักษรที่แทนการออกเสียงตัวแรกของแต่ละคำ กลุ่มคำที่ต้องการจะโผล่ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะสมัยนี้ใช้พินอินสำหรับคีย์ตัวอักษรแล้วด้วย ยื่งเร็วใหญ่ แต่เรื่องนี้ก็สร้างปัญหาใหม่เหมือนกัน เพราะเด็กสมัยใหม่เยอะมากในจีนที่เขียนอักษรจีนไม่เป็น เพราะไม่ต้องฝึกเขียน

สรรพนามเอกลักษณ์ของเอกบุรุษของภาษาจีนมีใช้เยอะมาก อย่างที่คนไทยรู้จักกันดีคือคำว่าอั๊ว แต่พี่น้องรู้หรือไม่ว่าคำว่า"กู" "ฉัน" ก็มาจากภาษาจีน ในบรรดาสรรพนามเอกลักษณ์ของเอกบุรุษคำที่ผมชอบมากที่สุดคือคำว่า "กู" เวลาพูดมีอำนาจอยู่ในตัวยังไงไม่รู้ เวลาโกรธ จะด่าใคร ใช้คำว่าฉัน ข้า เรา ผม ยังไงก็ไม่สะใจ คำว่า"กู" นี่แหละได้น้ำหนักที่สุด คำว่า"กู" ในสมัยโบราณเป็นคำที่เจ้าผู้ปกครองรัฐใช้เรียกตัวเอง แปลว่าโดดเดี่ยวแต่ผู้เดียว คนอื่นห้ามใช้ยกเว้นเจ้าผู้ปกครองรัฐใช้ได้คนเดียว ส่วนคำว่า "ฉัน" เป็นคำที่เกิดขึ้นหลังยุคของจิ๋นซีฮ่องเต้พร้อมกับคำว่า"ฮ่องเต้" สมัยโบราณ กษัตริย์ต่างๆจะเรียกว่าฮ่องหรือเต้อย่างเดียว เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้รวบรวมจีนขึ้นเป็นปึกแผ่นแล้ว ก็ถามบรรดาขุนนางว่าบรรดาผู้ปกครองในอดีตจะมีใครยิ่งใหญ่เทียบเท่าพระองค์อีกไหม ถ้าไม่มี คำว่าฮ่องหรือคำว่าเต้ก็ไม่เหมาะสมกับพระองค์ บรรดาขุนนางเลยถวายคำว่าฮ่องเต้ ส่วนคำว่า"กู"ซึ่งใช้ในสมัยโบราณของผู้ปกครองเิดิม ก็ไม่เหมาะสมกับพระองค์ เลยเกิดคำว่า"ฉัน"ขึ้นมา เพื่อให้ฮ่องเต้ใช้เรียกตัวเองโดยเฉพาะ
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #126 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 16:31:40 »

อ้างถึง
ข้อความของ หนุน'21 เมื่อ 07 ตุลาคม 2553, 16:16:35


เฮียจุ๊ง
เฮียจุ๊ง  ยอดเยี่ยมมาก
มุมมองเรื่องจีนๆ นับว่าหาใครแถวนี้เท่าเทียมได้
ช่างค้นคว้า ช่างเสาะหา มาเล่าสู่
ถามไปตอบมา เก่งอ่ะขอชื่นชม
อ่านแล้วเพลินดี
ชอบ ชอบ


 รักนะ รักนะ

ขอบคุณท่านพี่หนุน ที่กรุณามาอุดหนุน วณิพกน้อยขอคารวะ
      บันทึกการเข้า
Khun28
Full Member
**


ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2528
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 784

« ตอบ #127 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 18:03:22 »

คนที่อยู่จีน  ยังต้องอ่านเรืองจีนของพี่จุ๊งครับ
      บันทึกการเข้า
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #128 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 18:20:44 »

มีคนสะกิดบอกให้มาห้องนี้ด้วย .. ไม่รู้พลาดไปได้ยังไง
อ่านหน้าแรกหน้าเดียว ใช้เวลาเกือบชั่วโมง
แต่สนุกมาก

ยังอ่านไม่หมดค่ะ พี่จุ๊ง .. แต่รีบมาแสดงตนขอเป็นศิษย์ด้วยหนึ่งคน .. คริคริ
    รักนะ
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #129 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 20:29:50 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 07 ตุลาคม 2553, 18:20:44
มีคนสะกิดบอกให้มาห้องนี้ด้วย .. ไม่รู้พลาดไปได้ยังไง
อ่านหน้าแรกหน้าเดียว ใช้เวลาเกือบชั่วโมง
แต่สนุกมาก

ยังอ่านไม่หมดค่ะ พี่จุ๊ง .. แต่รีบมาแสดงตนขอเป็นศิษย์ด้วยหนึ่งคน .. คริคริ
    รักนะ

มีจับพลัดจับผลูเข้ามาอีกคนแล้ว แสดงว่ากลวิธีเรียกเรทติ้งมันเวิร์ค
      บันทึกการเข้า
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #130 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2553, 20:40:20 »

work จริง ๆ ๆ ๆ นะค้า     หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #131 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 08:59:20 »



เฮียจุ๊ง ครับ
วันนี้..กู.. เข้ามาอ่านด้วยความเพลิดเพลิน
อ๊ากกกกกกซซซซซซ์...ทะแม่งๆ ชอบกลว่ะ
ดีจัง เกล็ดเล็ก เกล็ดน้อย
หามาให้อ่านกัน
กรู....ชอบบบบ....

กร๊ากกกก  กร๊ากกก


 เหอๆๆ เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #132 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 09:19:08 »

อ้างถึง
ข้อความของ หนุน'21 เมื่อ 08 ตุลาคม 2553, 08:59:20


เฮียจุ๊ง ครับ
วันนี้..กู.. เข้ามาอ่านด้วยความเพลิดเพลิน
อ๊ากกกกกกซซซซซซ์...ทะแม่งๆ ชอบกลว่ะ
ดีจัง เกล็ดเล็ก เกล็ดน้อย
หามาให้อ่านกัน
กรู....ชอบบบบ....

กร๊ากกกก  กร๊ากกก


 เหอๆๆ เหอๆๆ

ขอบคุณพี่หนุนครับ ที่ชมเชย  
พูดถึงสรรพนามเอกลักษณ์ของเอกบุรุษนี้ คนจีนโบราณถือกันมาก ในอดีตน้อยคนนักที่จะกล้าใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า “อั๊ว" หรือคำอื่นที่มีความหมายคล้ายๆกัน เพราะธรรมเนียมคนจีน โดยมารยาทต้องถล่มตัว สรรพนามแทนตัวเองก็มีการอัพเดทไปแต่ละยุคแต่ละสมัย ในแวดวงราชการ สรรพนามแทนตัวเองที่นิยมใช้กัน การเรียกตัวเองสำหรับผู้น้อยที่มีต่อผู้มีตำแหน่งใหญ่กว่า จะใช้คำว่า"ผู้น้อย" "ข้าน้อย" "บริวาร" ส่วนผู้มีตำแหน่งสูงกว่า เวลาพูดกับผู้มีตำแหน่งด้อยกว่าหรือประชาชนธรรมดา จะเรียกตัวเองว่า"ผู้ทำหน้าที่" "ผู้มีตำแหน่ง(ตามที่ผู้พูดเป็น)" ส่วนประชาชนคนธรรมดา จะเรียกตนเองว่า "ผู้น้อย" "ผู้เยาว์"เป็นต้น ใครที่เรียกตัวเองว่า"อั๊ว"ในภาษาแต้จิ๋ว หรือ"หว่อ"ในภาษาจีนกลาง คนทั่วไปจะถือว่าเป็นคนไม่มีมารยาท ไม่รู้ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องนี้มีเรื่องฮือฮาที่บันทึกไว้ในตำราข่อยโบราณ เดี๋ยวขอเวลาบิ๊วอารมณ์แล้วจะบรรยายต่อไป
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #133 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 12:26:14 »


บิ๊วอารมณ์ได้ที่รึยัง?........ท่านจุ๊ง

กรู...รออ่านต่อ.
      บันทึกการเข้า
Khun28
Full Member
**


ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2528
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 784

« ตอบ #134 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 13:42:38 »

อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 08 ตุลาคม 2553, 12:26:14

บิ๊วอารมณ์ได้ที่รึยัง?........ท่านจุ๊ง

กรู...รออ่านต่อ.


อั๊วก็รออ่านอยู่




ขอโทษครับพี่จุ๊ง   อินไปหน่อย   ฮา ฮา ฮา
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #135 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 14:55:17 »

อ้างถึง
ข้อความของ Khun28 เมื่อ 08 ตุลาคม 2553, 13:42:38
อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 08 ตุลาคม 2553, 12:26:14

บิ๊วอารมณ์ได้ที่รึยัง?........ท่านจุ๊ง

กรู...รออ่านต่อ.


อั๊วก็รออ่านอยู่




ขอโทษครับพี่จุ๊ง   อินไปหน่อย   ฮา ฮา ฮา

ขุนอินก็จริง แต่อินแค่กระพี้ ถ้าอินถึงแก่นต้องบอกว่า "เร็วซิท่าน ผู้น้อยรออ่านอยู่" 555 เอิ๊กกกก เค้าไม่ยอม เค้าไม่ยอม

เอาล่ะ แควนๆเรียกร้อง ไอ้เรา"ผู้วณิพกน้อย" ก็กินข้าว อาบน้ำ ขัดสีฉวีวรรณ แถมกรึ๊บมาอีกหนึ่งจอก บิ๊วอารมณ์มาเต็มที่ ก็มาว่ากันต่อ

ยุคโบราณสมัยนึง ตำราก็ไม่ได้บอกไว้ว่าสมัยไหนเสียด้วย มีชายคนหนึ่งแซ่สวี่ เจ้าเกลอคนนี้พูดจาฉาดฉาน คนฟังยกย่องกันอยู่ เลยนึกกำเริบ เวลาคุยกับใครล้วนไม่มีสัมมาคารวะ ดูถูกดูหมิ่นเจ้าหน้าที่รัฐเป็นประจำ ชอบใช้สรรพนามแทนตัวเองว่าอั๊วหรือหว่อ ผู้คนก็ถือว่าเป็นคนที่แปลกมาก อยู่ๆกล้าใช้สรรพนามแทนตัวเองโต้งๆแบบนี้ เลยตั้งชื่อให้เชิงเสียดสีและล้อเลียนว่าสวี่หว่อ หรือจะใช้ภาษาสามก๊กก็ต้องเรียกว่าเคาอั๊ว
ตอนนั้นเจี่ยเว่ยกงเป็นอัครมหาเสนาบดีอยู่ รู้เรื่องเข้า ก็อยากเจอชายคนนี้ เลยเรียกคนให้ไปเชิญตัวมาพบ เกลอเป็นตายยังไงก็ไม่ยอมมา ในที่สุดเลยให้ลูกศิษย์ไปเชิญตัวมา ถึงจะยอมมา เจ้าเกลอขี่ลาอาดๆมาถึงจวนของเจี่ยเว่ยกง จะขี่ลาตรงดิ่งเข้าไปเลย คนเฝ้าประตูบอกว่า "นี่จวนของอัครมหาเสนาบดีนะ แม้แต่บุตรชายท่านยังต้องเดินเท้าเปล่าเข้ามาเลย " เจ้าเกลอกสวี่บอกว่า "อั๊วไม่มีอะไรที่จะมาขอร้องต่อท่านเสนาบดี ท่านเสนาบดีอยากจะพบอั๊ว เรียกอั๊วมา ถ้าต้องลงจากหลังลา อั๊วไปดีกว่า" จากนั้นก็ขี่ลากลับออกไป คนเฝ้าประตูรีบห้าม ก็ไม่ยอมหยุด ไปเฉยเลย คนเฝ้าประตูหมดปัญญา เลยไปแจ้งให้เจี่ยเว่ยกงทราบ เจี่ยเว่ยกงจึงใช้คนไปขอโทษและเชิญให้มาใหม่ ยังไงก็ไม่ยอมมา เจี่ยเว่ยกงถอนใจบอกว่า "เกลอสวี่เป็นแค่ชาวบ้านร้านตลาดแค่นั้นเอง เมื่อไม่มีอะไรจะขอร้องใคร ก็หยิ่งทนงได้ถึงขนาดนี้ อย่าว่าแต่ผู้ที่ถือว่าตัวเองมีคุณธรรมเมตตาธรรมเลย"
ไม่ว่าจะเจอใคร เกลอสวี่คนนี้ก็ใช้สรรพนามแทนตัวว่า"อั๊ว" เรื่องนี้ในสมัยนั้นสามารถสร้างความฮือฮาได้ จากอุทาหรณ์นี้พวกเราสามารถเห็นได้ว่าการเรียกตัวเองว่า"อั๊ว" เป็นเรื่องที่น่าแตกตื่นตกใจเพียงใดในสมัยนั้น และสะท้อนให้เห็นว่าการเรียกตัวเองว่า"อั๊ว" เป็นเรื่องที่หาได้ยาก และสามารถสร้างกิตติศัพย์ให้ตัวเองได้


เฮ่อ จบ เอ้า อีกกรึ๊บ
      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #136 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 17:42:46 »


หมดเรื่อง"อั๊ว" แล้วต่อไปจะเล่าเรื่อง "ลื้อ" หรือไม่
ท่านมหาเสนาบดีจุ๊ง ผู้รอบรู้
ข้าน้อยหน่อยนึง...รอสดับตรับฟังอยู่ขอรับ

กรึ๊บ กรึ๊บ


 sing sing
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #137 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 18:27:19 »

อ้างถึง
ข้อความของ หนุน'21 เมื่อ 08 ตุลาคม 2553, 17:42:46

หมดเรื่อง"อั๊ว" แล้วต่อไปจะเล่าเรื่อง "ลื้อ" หรือไม่
ท่านมหาเสนาบดีจุ๊ง ผู้รอบรู้
ข้าน้อยหน่อยนึง...รอสดับตรับฟังอยู่ขอรับ

กรึ๊บ กรึ๊บ


 sing sing

พี่หนุน เรื่องของลื้อก็เรื่องของลื้อซิ อั๊วจะไปเกี่ยวอะไรได้ด้วยล่ะ เอิ๊กๆๆ บ่ฮู้บ่หัน บ่ฮู้บ่หัน
      บันทึกการเข้า
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #138 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 19:15:20 »

เอ้า .. ข้าน้อยก็รอเหมือนกัน  ท่านพี่จุ๊ง      หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #139 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 19:16:14 »

อ้างถึง
ข้อความของ จุ๊ง2522 เมื่อ 08 ตุลาคม 2553, 18:27:19
อ้างถึง
ข้อความของ หนุน'21 เมื่อ 08 ตุลาคม 2553, 17:42:46

หมดเรื่อง"อั๊ว" แล้วต่อไปจะเล่าเรื่อง "ลื้อ" หรือไม่
ท่านมหาเสนาบดีจุ๊ง ผู้รอบรู้
ข้าน้อยหน่อยนึง...รอสดับตรับฟังอยู่ขอรับ

กรึ๊บ กรึ๊บ


 sing sing

พี่หนุน เรื่องของลื้อก็เรื่องของลื้อซิ อั๊วจะไปเกี่ยวอะไรได้ด้วยล่ะ เอิ๊กๆๆ บ่ฮู้บ่หัน บ่ฮู้บ่หัน

ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ !!
    sing
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #140 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 21:32:52 »

หักมุมจากเรื่องอั๊วๆลื้อๆ มาพูดถึงเรื่องนักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ ชาวจีนที่ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสร่วม 60ปีดีกว่า คนไทยรู้จักในนามของซำปอกง มีศาลเจ้าซำปอกงอยู่หลายแห่งในไทย ใครเคยเห็นที่ไหนก็ช่วยบอกด้วย ก่อนอื่นขอบอกว่างานนี้ copy&paste ทั้งน้าน ผู้ชมควรมีวิจารณญานในการชม ที่สำคัญห้ามเลียนแบบ เพราะอันตรายมาก เอิ๊กๆๆ  หลั่นล้า หลั่นล้า

เจิ้งเหอขันทีนักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ของชาวตะวันออก

เจิ้งเหอ เดิมแซ่เบ้ มีชื่อเล่นว่า ซานป่าว(ซำป้อ)เป็นชาวยูนนาน (เล่ากันว่าบรรพบุรุษเป็นชาวเปอร์เซีย นับถือศาสนาอิสลาม)เกิดปี คศ.1371 ปีคศ.1382ถูกทหารราชวงค์หมิงจับเป็นเชลยโดนจับไป ตอนเป็นขันที เป็นองครักษ์ของฮ่องเต้จูตี้ ปีคศ.1405 ได้รับบีญชา จากฮ่องเต้ นำกองเรือไปเปิดสัมพันธไมตรีกับ ประเทศที่อยู่ทางใต้ ของจีน กองเรือมีจำนวน200กว่าลำ พลเรือ20000กว่าคน เล่ากันว่า นำทัพเรือไปไกลถึงแหลมกู๊ดโฮปของแอฟริกาใต้ เคยไปมาลายู อินโดเนเซีย ชาวจีนที่อาศัยอยู่ที่ประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เลื่อมใสท่านมาก จึงตั้งศาลเจ้าซำปอกงมารำลึกและบูชาท่าน

การเดินเรือสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปี กองเรือของเจิ้งเหอออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง เดินทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ท่องต่างแดนมากกว่า 37 ประเทศ เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1405 (พ.ศ. 1948) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์อู่ทองปกครองกรุงศรีอยุธยา เจิ้งเหอทำหน้าที่ผู้บังคับกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ เรียกว่า "เป่าฉวน" แปลว่า "เรือมหาสมบัติ" ต่อขึ้นที่เมืองนานกิง อดีตเมืองหลวงอันเก่าแก่ของจีนเป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของ "อู่ต่อเรือ" ใช้ในการเดินเรือของเจิ้งเหอ เรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอยาว 400 ฟุต ขนาดใหญ่กว่าเรือ ซานตา มาเรีย ของโคลัมบัสที่ยาวเพียง 85 ฟุต ถึง 5 เท่า การเดินทะเลในครั้งแรกมีเรือขนาดใหญ่ตามไปด้วย 60 ลำ ขนาดเล็ก 255 ลำ มีลูกเรือทั้งหมด 27,870 คน แล่นเลียบชายฝั่งฟุเกี้ยน ผ่านไปยังอาณาจักรจามปา ชวา มะละกา สมุทรา (เซมูเดรา) และแลมบรีทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นเดินทางต่อไปยังเกาะลังกา กาลกัติ ขากลับได้นำคณะทูตจากเมืองเหล่านี้มาเข้าเฝ้าฯ จักรพรรดิหย่งเล่อ ในการเดินเรือแต่ละครั้ง ขากลับจะนำเครื่องบรรณาการจากเมืองต่าง ๆ มาถวายจักรพรรดิหย่งเล่อ โดยเฉพาะสัตว์จากหลาย ๆ เมืองที่ผ่าน อย่างเช่นขากลับจากการเดินเรือทางทะเลในครั้งที่ 5 เจิ้งเหอได้นำสิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ (โดยบอกว่าเป็น กิเลน) กลับไปถวายแด่จักรพรรดิหย่งเล่อ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบมาก และกลายเป็นของแปลกและน่าตื่นเต้นสำหรับชาวจีนที่พบเห็นเป็นครั้งแรก ต้นปีถัดมาเจิ้งเหอก็เริ่มออกเดินทางในครั้งที่ 2 เวลานั้นอายุ 36 ปี ครั้งที่ 3 อายุ 38 ปี ครั้งที่ 4 อายุ 42 ปี ครั้งที่ 5 อายุ 46 ปี ครั้งที่ 6 อายุ 50 ปี ครั้งที่ 7 อายุ 60 ปี โดยครั้งสุดท้ายมีจำนวนลูกเรือ 27,550 คน ไปไกลถึงทวีปแอฟริกา เจิ้งเหอได้เข้าเยี่ยมสุสานศาสนทูตมุฮัมมัดในมะดีนะหฺและประกอบพิธีฮัจญ์ในมักกะหฺ นอกจากนั้นเจิ้งเหอได้ผ่านเข้าไปในเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย อารเบีย ทะเลแดง และอียิปต์ ภายหลังการเดินเรือทางทะเลในครั้งที่ 7 สิ้นสุดลง จากนั้นจีนก็หยุดดำเนินการสำรวจทางทะเล ส่วนเจิ้งเหอเสียชีวิตลงในปี ค.ศ 1432 ที่อินเดีย แต่มีการสร้างหลุมฝังศพจำลองของเขาอยู่บนภูเขาในเมืองนานกิง ไม่มีศพอยู่ในนั้น มีเพียงเส้นผมและเสื้อผ้าที่เคยใช้เท่านั้น ก่อสร้างตามแบบประเพณีมุสลิม เรียกว่า เจิ้งเหอมู่ หรือ สุสานเจิ้งเหอ ซึ่งได้รับการบูรณะใหม่ในปี ค.ศ. 1985 บนสุสานมีคำว่า อัลลอหุ อักบัร แปลว่า อัลลอหฺใหญ่ยิ่ง

      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #141 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2553, 21:36:44 »

ที่เด็ดน่าสนใจยิ่งไปกว่าคือ อดีตผู้บัญชาการนาวีอังกฤษนายเมนซีส์ ได้ตะลุยรวบรวมหลักฐานไปทั่วโลก ใช้เวลาถึง 14 ปี และได้ประกาศทฤษฎีความเชื่อใหม่ว่า เจิ้งเหอ เป็นผู้ค้นพบอเมริกาก่อนนายโคลัมบัสถึง 60 กว่าปี
ปีพ.ศ.2548  เป็นปีครบรอบ 600 ปี ที่ท่านออกทะเล จีนจัดนิทรรศการใหญ่โตที่เซี่ยงไฮ้ (ปีก่อนหน้านี้ ก็มีการจัดงานครบรอบ 500 ปี โคลัมบัสพบอเมริกา)
สำหรับสยามประเทศ  เจิ้งเหอได้เดินทางมาเยือน 2 ครั้งคือ ครั้งที่ 2 และ3 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาครับ   ในแผนที่ *สีแดงชมพู คือ เส้นทางหลักที่เจิ้งเหอเดินเรือสำรวจ *สีฟ้า คือ ขบวนเรือย่อยของเจิ้งเหอออกไปสำรวจ


      บันทึกการเข้า
Khun28
Full Member
**


ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2528
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 784

« ตอบ #142 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2553, 05:31:09 »

อ้างถึง
ข้อความของ จุ๊ง2522 เมื่อ 08 ตุลาคม 2553, 14:55:17
อ้างถึง
ข้อความของ Khun28 เมื่อ 08 ตุลาคม 2553, 13:42:38
อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 08 ตุลาคม 2553, 12:26:14

บิ๊วอารมณ์ได้ที่รึยัง?........ท่านจุ๊ง

กรู...รออ่านต่อ.


อั๊วก็รออ่านอยู่




ขอโทษครับพี่จุ๊ง   อินไปหน่อย   ฮา ฮา ฮา

ขุนอินก็จริง แต่อินแค่กระพี้ ถ้าอินถึงแก่นต้องบอกว่า "เร็วซิท่าน ผู้น้อยรออ่านอยู่" 555 เอิ๊กกกก เค้าไม่ยอม เค้าไม่ยอม

เอาล่ะ แควนๆเรียกร้อง ไอ้เรา"ผู้วณิพกน้อย" ก็กินข้าว อาบน้ำ ขัดสีฉวีวรรณ แถมกรึ๊บมาอีกหนึ่งจอก บิ๊วอารมณ์มาเต็มที่ ก็มาว่ากันต่อ

ยุคโบราณสมัยนึง ตำราก็ไม่ได้บอกไว้ว่าสมัยไหนเสียด้วย มีชายคนหนึ่งแซ่สวี่ เจ้าเกลอคนนี้พูดจาฉาดฉาน คนฟังยกย่องกันอยู่ เลยนึกกำเริบ เวลาคุยกับใครล้วนไม่มีสัมมาคารวะ ดูถูกดูหมิ่นเจ้าหน้าที่รัฐเป็นประจำ ชอบใช้สรรพนามแทนตัวเองว่าอั๊วหรือหว่อ ผู้คนก็ถือว่าเป็นคนที่แปลกมาก อยู่ๆกล้าใช้สรรพนามแทนตัวเองโต้งๆแบบนี้ เลยตั้งชื่อให้เชิงเสียดสีและล้อเลียนว่าสวี่หว่อ หรือจะใช้ภาษาสามก๊กก็ต้องเรียกว่าเคาอั๊ว
ตอนนั้นเจี่ยเว่ยกงเป็นอัครมหาเสนาบดีอยู่ รู้เรื่องเข้า ก็อยากเจอชายคนนี้ เลยเรียกคนให้ไปเชิญตัวมาพบ เกลอเป็นตายยังไงก็ไม่ยอมมา ในที่สุดเลยให้ลูกศิษย์ไปเชิญตัวมา ถึงจะยอมมา เจ้าเกลอขี่ลาอาดๆมาถึงจวนของเจี่ยเว่ยกง จะขี่ลาตรงดิ่งเข้าไปเลย คนเฝ้าประตูบอกว่า "นี่จวนของอัครมหาเสนาบดีนะ แม้แต่บุตรชายท่านยังต้องเดินเท้าเปล่าเข้ามาเลย " เจ้าเกลอกสวี่บอกว่า "อั๊วไม่มีอะไรที่จะมาขอร้องต่อท่านเสนาบดี ท่านเสนาบดีอยากจะพบอั๊ว เรียกอั๊วมา ถ้าต้องลงจากหลังลา อั๊วไปดีกว่า" จากนั้นก็ขี่ลากลับออกไป คนเฝ้าประตูรีบห้าม ก็ไม่ยอมหยุด ไปเฉยเลย คนเฝ้าประตูหมดปัญญา เลยไปแจ้งให้เจี่ยเว่ยกงทราบ เจี่ยเว่ยกงจึงใช้คนไปขอโทษและเชิญให้มาใหม่ ยังไงก็ไม่ยอมมา เจี่ยเว่ยกงถอนใจบอกว่า "เกลอสวี่เป็นแค่ชาวบ้านร้านตลาดแค่นั้นเอง เมื่อไม่มีอะไรจะขอร้องใคร ก็หยิ่งทนงได้ถึงขนาดนี้ อย่าว่าแต่ผู้ที่ถือว่าตัวเองมีคุณธรรมเมตตาธรรมเลย"
ไม่ว่าจะเจอใคร เกลอสวี่คนนี้ก็ใช้สรรพนามแทนตัวว่า"อั๊ว" เรื่องนี้ในสมัยนั้นสามารถสร้างความฮือฮาได้ จากอุทาหรณ์นี้พวกเราสามารถเห็นได้ว่าการเรียกตัวเองว่า"อั๊ว" เป็นเรื่องที่น่าแตกตื่นตกใจเพียงใดในสมัยนั้น และสะท้อนให้เห็นว่าการเรียกตัวเองว่า"อั๊ว" เป็นเรื่องที่หาได้ยาก และสามารถสร้างกิตติศัพย์ให้ตัวเองได้


เฮ่อ จบ เอ้า อีกกรึ๊บ


ข้าผู้น้อยสมควรตาย
      บันทึกการเข้า
ti2521
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,987

« ตอบ #143 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2553, 07:42:39 »

.....หวัดดีครับน้องจุ๊ง   cmadong discovery channel  ช่อง ที่น่าติดตามอย่างยิ่งครับ

     ขออนุญาตเอาไปให้ลูกสาว 2 เรื่องนะครับ ฉางเอ๋อ  กับ ขนมไหว้พระจันทร์  จ่อยเสี่ยๆๆ.....
      บันทึกการเข้า

เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ
สำหรับผม
อย่างไรก็ได้
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #144 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2553, 09:02:38 »

สวัสดีครับพี่ตี๋ ไม่นึกเลยว่าพี่จะมาเยี่ยมมาเยียน เรื่องราวที่ผมโพสต์ เชิญเผื่อแผ่ตามสบายนะครับ เพราะผมเองก้ไปเอาของเขามาเหมือนกัน
      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #145 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2553, 09:28:09 »



ตามเฮียตี๋มาสำรวจโลกกับท่าน เจิ้งเหอ ด้วยคน
ชอบจังเลย
รอเรื่องต่อไปเน้อ
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #146 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2553, 09:41:04 »

มาเล่าเรื่องต่อดีกว่า เรื่องที่จะเล่านี้ มิบมาจากท่านเหล่าตั๊งหรือคุณนิรันดร นาคสุริยันต์ ผู้อาวุโสแห่งมุมจีน ที่เคยโพสต์ ผมเห็นว่าให้ความรู้ดีเลยต้องให้เครดิตเขาหน่อย ท่านเหล่าตั๊งหรือคุณนิรันดร นาคสุริยันต์นี่ แกเขียนบรรยายได้ดีมากนะครับ แต่งหนังสือ "เรื่องเล่าชาวแต้จิ๋ว" "ลูกหลานชาวแต้จิ๋ว" และ"นั่งรถไฟไปลาซา" ผมได้รับหนังสือจากแกมา อ่านแล้วได้ความรู้ดีมาก โดยเฉพาะหนังสือ "นั่งรถไฟไปลาซา" พิมพ์โดยศูนย์หนังสือจุฬา อ่านแล้วเหมือนได้ไปเที่ยวทิเบตด้วยตนเองเลย ได้ของฟรีมาเยอะแล้ว ขอโฆษณาให้เพื่อนหน่อย(ลืมนึกไป มัวแต่ยั่วน้ำลาย ใครหลงกลไปศูนย์หนังสือจุฬาอาจจะได้รับแจ้งว่าหมดก็ได้ เพราะพิมพ์ออกขายนานแล้ว และบรรดาชาวมุมจีนช่วงนั้นเรียกร้องกันมาก) เอาล่ะ งานขายของผ่านไปแล้ว มาเข้าเรื่องกันเลย  
อ้อ ผมจะคงภาษาจีนดั้งเดิมอยู่ เผื่อคนที่ศึกษาภาษาจีนจะได้เปรียบเทียบไปด้วยในตัว อาจจะเกะกะสายตาไปบ้าง คงไม่ว่ากัน

ศาสนาเต๋า หลักเมตตาธรรมของขงจื๊อ และพุทธศาสนาแบบจีน

ก๊กผู้ห้าวหาญ หรือก๊กผู้กล้าหาญทั้งเจ็ด 七雄 สู้กันไปสู้กันมา ในที่สุด ก๊กฉิน 秦国 ก็สยบทุกก๊กได้สำเร็จ ในปีก่อน ค.ศ.221 (221B.C.) แผ่นดินจีนก็เป็นปึกแผ่น ฉินหวางเจิ้ง 秦王政 จึงสถาปนาตนเองเป็น “ฮ่องเต้” 皇帝 พระองค์แรกของแผ่นดินจีน ทรงพระนามว่า “ฉินสื่อหวงตี้” 秦始皇帝 รวมอำนาจการบริหารมาไว้ที่ส่วนกลาง แบ่งอาณาเขตซึ่งเดิมเป็นแว่นแคว้นต่างๆ ออกเป็นจวิ้น 郡 ถึง 36 จวิ้น ต่อมายังได้ประกาศมาตรฐาน ISO ให้ใช้ภาษาเขียนเป็นแบบเดียวกัน ใครจะพูดแต้จิ๋ว ไหหลำ กวางตุ้ง ภาษาแคะหรือภาษากลางไม่ว่ากัน แต่หนังสือเขียน ต้องเป็นแบบมาตรฐานของฉิน โดยเสนาบดีหลี่ซือ 李斯 ได้พัฒนาอักษรจีนแบบหนึ่ง เรียกว่า “เสี่ยวจ้วน” 小篆 ขึ้นใช้ทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งกำหนดให้มาตรา ชั่ง ตวง วัด และเพลาของรถม้า รถลากจูง ให้มีขนาดเดียวกัน อีกทั้งเงินตรา ซึ่งเป็นสื่อในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ก็ให้เป็นแบบเดียวกันด้วย

แต่เรื่องของคติความเชื่อ หรือเรื่องศาสนานั้น ก็ยังตั้งไข่อยู่เลยครับ ยังเป็นแบบเดิมๆ อยู่ เพียงแต่เอาแนวคิดและหลักปฏิบัติที่เด่นๆ ของสำนักทั้งหลายมายำใหญ่ เพื่อเป็นหลักปรัชญาในการปริหารบ้านเมืองและการทำพิธีบวงสรวงขอบคุณเทพเจ้า โดยในสมัยราชวงศ์ฉิน 秦 ได้ใช้หลักธรรมราชาของหวงตี้ 黄帝(จักรพรรดิเหลือง คนละคำกับคำว่าหวงตี้หรือฮ่องเต้ที่แปลว่าจักรพรรดิ) บวกกับปรัชญาของเล่าจื๊อ 道家 ผสมกับอินหยางเจีย 阴阳家 และฝ่าเจีย 法家 รวมกันเรียกว่า “หวงเหล่าซือเสี่ยง” 黄老思想 นั่นหมายถึงยึดหวงตี้และเล่าจื๊อเป็นหลักใหญ่

แต่คติความเชื่อเรื่องเทพเจ้า หรือเทวดาฟ้าดิน ยังเป็นแบบเดิมๆ เลยครับ คือยังนับถือบูชาเทพธรรมชาติ 自然崇拜 บูชาเทพยดาที่เกิดจากจินตนาการ 神灵崇拜 และบูชาผีบรรพบุรุษ 祖先崇拜

ปีก่อนค.ศ. 219 (219 B.C.) ฉินสื่อหวงตี้ 秦始皇帝 เสด็จพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขาไท่ซาน 泰山 (ปัจจุบันอยู่ ณ เมืองไท่อัน มณฑลซานตง) ซึ่งเขาไท่ซานนี้ เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่กษัตริย์ของจีนองค์ก่อนๆ เคยเสด็จมาสักการเป็นประจำ ทุกวันนี้ บนเขาไท่ซาน ยังมีอักษรจีนสลักอยู่บนแผ่นหินจำนวนมาก ต่างยุคต่างสมัย มีอยู่ชิ้นหนึ่ง มีอักษรอยู่เก้าคำครึ่ง เชื่อกันว่าเป็นลายมือสลัก 石刻 ของเสนาบดีหลี่ซือ 李斯 ในสมัยราชวงศ์ฉิน

หมายเหตุ :ไท่ซาน 泰山 คือบรรพตตะวันออก 东岳 หนึ่งในห้ามหาบรรพตของจีน
(โปรดติดตามต่อตื่นเต้นต่อไป อิอิ)
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #147 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2553, 09:50:03 »

แนวความคิดแบบหวงเหล่า 黄老思想 ของราชวงศ์ฉิน 秦 ถูกส่งต่อมาถึงราชวงศ์ฮั่น 汉 กษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นยุคต้น โดยเฉพาะสมัยฮั่นเหวินตี้ 汉文帝 และฮั่นจิ่งตี้ 汉景帝 หลักปรัชญาของสำนักเต้าเจีย ก็ยังเป็นกระแสหลักในการบริหารประเทศ แต่พอมาถึงกษัตริย์องค์ที่ 5 ทรงพระนามว่าฮั่นอู่ตี้ 汉武帝 (ครองราชย์ระหว่าง ก่อน ค.ศ. 141 ถึง ก่อน ค.ศ. 87) พระองค์ทรงเห็นด้วยกับแนวคิดของอำมาตย์ผู้ใหญ่ชื่อ ต่งจ้งซู 董仲舒 ให้ใช้แนวคิดของสำนักขงจื๊อ 儒家 ในการบริหารปกครองบ้านเมือง ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านอาจารย์ขงจื๊อ 孔子 ก็ถูกยกย่องจนกลายเป็นเทพไปในทันที ศาสนาขงจื๊อ 儒教 และศาสนาเต๋า 道教 ก็ค่อยๆ ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น เพราะมีภาพขององค์ศาสดาและคัมภีร์คำสั่งสอนที่เด่นชัดขึ้น หลังจากใช้เวลาสั่งสมหมักบ่มมาเป็นเวลานาน

ที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย ก็คือนักพรตที่มีชื่อว่าจางหลิง หรือจางเต้าหลิง 张道陵 ในสมัยฮั่นยุคหลัง 后汉 (มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.34-156) ซึ่งนักประวัติศาสตร์จีน ยอมรับพร้อมกัน ให้เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาแห่งเต๋า 道教

ในสมัยนั้น ท่านได้ตั้งระเบียบง่ายๆ ว่า หากใครต้องการเป็นสานุศิษย์ ก็ต้องยกครูด้วยข้าว 5 โต่ว (ระบบตวงของจีนสมัยก่อน) เลยเรียกลัทธิของท่านว่า “อู่โต่วหมี่เต้า” 五斗米道  ความจริงในสมัยใกล้เคียงกัน ก็มีนักปฏิวัติ นักพรตนักบวชหลายท่าน ที่ก่อตั้งคติความเชื่อแบบเต๋า เพื่อเหตุผลบางอย่าง ตัวอย่างเช่นจางเจี่ยว(เตียวก๊ก) 张角 หัวหน้าผู้ก่อการโจรโพกผ้าเหลือง บทนำของเรื่องสามก๊ก ก็เป็นผู้หนึ่งที่อ้างตนเป็นผู้วิเศษ และเรียกลัทธิของตนว่า “ไท่ผิงเต้า” 太平道 แต่เนื่องจากโจรโพกผ้าเหลืองก่อการไม่สำเร็จ เลยไม่ได้รับการจัดอันดับ

อย่างไรก็ตาม หลังจากจางเต้าหลิงแล้ว ศาสนาเต๋าก็มีองค์ศาสดา มีเทพเจ้าเป็นชั้นเป็นระดับต่างๆ อีกทั้งยังยอมให้เทพยดาและภูติผีปีศาจที่ชาวบ้านนับถือ เข้าเช็คอินอยู่ภายใต้ศาสนาเต๋าที่ก่อตัวขึ้นใหม่ ทำให้ศาสนาเต๋ามีเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นับจำนวนไม่ถ้วน อีกทั้งศาสนาเต๋ารูปแบบใหม่นี้ ยังดูดซับเอาจุดเด่นของสำนักขงจื๊อ จนภายหลัง ลัทธิบูชาขงจื๊อ ไม่อาจยืนอยู่ในฐานะศาสนาอีกต่อไป

ศาสนาพุทธ เริ่มเข้าสู่เมืองจีนในสมัยฮั่นยุคหลัง แต่กว่าจะรุ่งเรื่องเป็นที่รู้จัก ก็ต้องใช้เวลาหลายร้อยปี ถึงยุคเว่ยจิ้น 魏晋 ต่อด้วยราชวงศ์เหนือใต้ 南北朝

ศาสนาพุทธแบบจีน มักเรียกองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระศากยมุนี หรือสื้อเจียโหมวหนี 释迦牟尼 เรียกย่อๆ ว่า “สื้อ” 释 แต่ถ้าเป็นลัทธิขงจื๊อ เรียกว่า “หยู” 儒 ย่อมาจากหยูเจีย 儒家 ส่วนคติความเชื่อแบบเต๋า ใช้คำว่า “เต้า” 道 ฉะนั้น หากชาวจีนพูดถึง “หยูสื้อเต้า” 儒释道 ก็จะหมายถึง 3 ศาสน์ 三教 ที่ซึ่งคนจีนนับถือแบบรวมๆ เพราะมีการดูดซับหลอมรวมเข้าหากันมาเป็นเวลาช้านาน
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #148 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2553, 09:54:24 »

จอมเทพเง็กเซียนฮ่องเต้และเทพเจ้ากวนอู ล้วนเป็นเทพเจ้าตามคติความเชื่อแบบเต๋า ซึ่งถือเป็นลัทธิ หรือศาสนาของชนชาวจีนโดยแท้ และคนไทยเชื้อสายจีน หรือลูกหลานคนจีนในเมืองไทย ได้รับตกทอดมาเป็นอย่างมรดกทางวัฒนธรรม

การรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ การจรรโลงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของปู่ย่าตายาย เป็นสิ่งที่น่าเคารพนับถือ แต่ในขณะที่โลกหมุนไปทุกขณะจิต การรับมรดกทางวัฒนธรรมมาแบบส่งต่อเป็นทอดๆ โดยไม่ทำความเข้าใจ หรือรับเอาความเชื่อมาอย่างงมงายไร้สาระ ก็ย่อมจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

คติความเชื่อแบบเต๋านั้น ผ่านการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปมานับครั้งไม่ถ้วน เล่าจื๊อ(เหลาจื่อ) ผู้ถูกยกให้เป็นองค์ศาสดาของคติความเชื่อแบบเต๋า เป็นผู้ยึดมั่นในความเรียบง่ายแบบเป็นธรรมชาติ แต่เมื่อกาลผ่านไปเป็นร้อยเป็นพันปี ลัทธิเต๋ากลับกลายเป็นลัทธิที่มีพิธีกรรมสลับซับซ้อนอย่างที่สุด ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงศาสตร์การเล่นแร่แปรธาตุ เคล็ดลับการปรุงยาอายุวัฒนะ การเขียนยันตร์และประพรมน้ำมนต์ การสำเร็จการบำเพ็ญเต๋าจนสามารถล่องลอยไปสู่สวรรค์ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ไม่เหมาะกับยุคสมัยในปัจจุบัน

ส่วนเทพสักการบูชานั้น ก็มีการจัดชั้น จัดหมวดหมู่กันอย่างโอฬาร ครอบคลุมตั้งแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งมวลในบรรพกาล ผีสางนางไม้ ผีวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ อีกทั้งเทพในตำนานอีกนับจำนวนไม่ถ้วน ผู้มีสติและมีความรู้ในปัจจุบัน แม้อยากจะรักษาประเพณีเก่าแก่ของบรรพบุรุษ ก็ควรจะทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ ว่าอะไรควรรักษาไว้ และอะไรควรตัดทอนออกไป

ในลัทธิเต๋านั้น เมื่อมีการจัดชั้นจัดระเบียบแล้ว ก็กำหนดให้มีมหาเทพสูงสุดที่เรียกว่าซานชิง 三清 ซานชิงมีสามรูปคือ เหวียนสื่อเทียนจุน 元始天尊 หลิงเป่าเทียนจุน 灵宝天尊 และเต้าเต๋อเทียนจุน 道德天尊 แต่แม้จะมีสามรูป  ก็เหมือนมีร่างเดียว ซานชิง 三清 จึงมีนิรมานกายออกมาเป็นอวี้หวงซ่างตี้ 玉皇上帝 หรืออวี้หวงต้าตี้ 玉皇大帝 หากเป็นจีนแต้จิ๋ว ก็ต้องออกเสียงว่า “เหง็กฮ้วงเสี่ยงตี่” หรือ “เหง็กฮ้วงไต่ตี่”  ผมเองก็เดาไม่ถูกว่า เหตุใดจึงได้เพี้ยนไปเป็น “เง็กเซียนฮ่องเต้” ในภาษาไทย ทั้งๆ ที่คำว่า “หวง” 皇 กับ “ตี้” 帝 ไม่ได้เขียนติดกันเป็นหวงตี้ จะได้แปลเป็นฮ่องเต้

      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #149 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2553, 10:04:28 »

ความรู้เรื่องคติความเชื่อและศาสนาของมวลมนุษย์ กว้างใหญ่ไพศาลดั่งมหาสมุทร เหล่าตั๊งเปรียบเหมือนมดตัวน้อยนิด อาจหาญกระโดดลงไปในทะเลกว้าง พยายามอธิบายความด้วยอาการตะเกียกตะกาย เกือบหาฝั่งขึ้นไม่ได้ หากเห็นผมในสภาพเปียกปอน ผมเผ้าเปียกแฉะไม่เป็นทรง ขอเพื่อนๆ โปรดได้เข้าใจ

ที่ผมใช้เวลาอธิบายมาตั้งแต่กระทู้ก่อน ก็เพื่อให้เพื่อนๆ สามารถแยกแยะได้ว่า อะไรเป็นคติขงจื๊อ 儒 อะไรเป็นพุทธ 释  อะไรเป็นเต๋า 道 เช่นพระแม่กวนอิม หรือพระโพธิสัตว์กวนอิม 观音菩萨 ก็ต้องเข้าใจไว้ก่อนว่าเป็นคติความเชื่อแบบพุทธ แต่เป็นพุทธแบบมหายาน 大乘佛教 หรือ โพธิสัตว์ยาน

แต่ถ้ามีรูปเคารพที่เป็นเพศชาย มีมงกุฎแบบมีพู่ห้อยทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ลักษณะเหมือนฮ่องเต้ของจีนในสมัยโบราณ ก็น่าจะเป็นองค์อวี้หวงซ่างตี้ 玉皇上帝 หรืออวี้หวงต้าตี้ 玉皇大帝 ซึ่งเป็นเทพเบื้องสูงของทางเต๋า 道教 หากเพื่อนๆ เรียนรู้ภาษาจีน เพื่อนๆ ก็จะได้เปรียบ เพราะสามารถอ่านทำความเข้าใจได้ว่าเป็นเทพองค์ใด และยังสามารถถามไถ่คนดูแลสถานที่ ว่าเหตุใดจึงเคารพบูชาเทพองค์นี้ในสถานที่นี้ เพราะวัดหลายๆ แห่งของจีน ไม่ได้แยกเต๋าแยกพุทธอย่างเด่นชัด

ตัวอย่างเช่นวัดเล่งเน่ยยี่ 龙莲寺 ในกรุงเทพฯ เป็นวัดพุทธมหายาน นิกายฉาน 禅宗 โดยนอกจากจะมีพระพุทธเป็นพระประธาน 3 องค์ในพระอุโบสถใหญ่แล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านฮุ่ยเหนิง 慧能 หรือชาวแต้จิ๋วเรียก “หลักโจ้ว” 六祖 แปลว่าปรมาจารย์คนที่ 6 เนื่องจากนิกายฉาน 禅宗 ถือว่าสังฆปริณายกองค์ที่ 1 คือปรมาจารย์ตักม้อ 达摩祖师 เป็นผู้เน้นเรื่องการนั่งสมาธิ(เข้าฌาน) ฌาน ภาษาจีนเลียนเสียงว่าฉาน 禅 พอไปถึงญี่ปุ่น เรียกว่านิกาย “เซ็น”

แต่ในวัดเล่งเน่ยยี่ ก็มีรูปเคารพของขงจื๊อ 孔子 ที่ชาวแต้จิ๋วพากันไปกราบไว้ เพื่อให้ลูกหลานเรียนหนังสือเก่งๆ เพราะท่านขงจื๊อเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ของชาวจีน การกราบไหว้บูชารูปขงจื๊อนั้น ถือว่าได้กลายสภาพจาก “หยู” 儒 เป็นส่วนหนึ่งของเต้าเจี้ยว 道教 แล้ว

      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 36  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><