16 พฤษภาคม 2567, 04:40:05
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 81 82 [83] 84 85 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3260238 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 8 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2050 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 15:51:30 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก
            ความสำคัญอยู่ที่ "จิตเดิมแท้" เป็นจิตที่ว่างเปล่า บริสุทธ์ และมีอยู่แล้วในคนทุกคนไม่ละเว้น ใครๆก็สามารถเป็น "พุทธ" ได้ทั้งนั้น แต่ด้วย "อวิชชา" จึงไม่สามารถค้นพบ "จิตเดิมแท้" ของตนเองได้พบ

" กายของเราคือต้นโพธิ์
  ใจของเราคือกระจกเงาอันใส
  เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุกๆ ชั่วโมง
  และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ"

ชิงเชา ไม่ได้เป็น "พุทธ" จึงไม่รู้ว่า "จิตเดิมแท้" ของคนทุกคนนั้นเป็นอย่างไร? จึงต้องคอยชำระจิตให้บริสุทธ์ทุกชั่วโมง จะได้พ้นจากกิเลส

"ไม่มีต้นโพธิ์
  ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
  เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
  ฝุ่นจะลงจับอะไร?"

ส่วนเว่ยหล่าง นั้น รู้ว่า "จิตเดิมแท้" นั้น มีแต่ความว่างเปล่า เท่านั้น จึงไม่ต้องชำระจิต และจิตเดิมแท้ กิเลสก็ไม่มีให้ชำระ
"จิตเดิมแท้" มีแล้วในคนทุกคน ไม่ยกเว้น เพียงแต่เพราะ "อวิชชา" เราจึงไม่สามารถค้นพบได้

ขอเพียงมีผู้รู้ ใจอารีย์ แนะนำให้ถูกจุด อึดใจเดียวเท่านั้น ก็สามารถบรรลุเป็น "พุทธ" ได้ จาก "จิตเดิมแท้"
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมวิปัสสนาภาวนา จึงให้ดูกาย ดูใจ ของเราให้รู้ตัวทั่วพร้อม ให้เห็น "จิตเดิมแท้" ให้ได้ เท่านั้น ก็เป็น "พุทธ"

ท่านเว่ยหล่าง บอกว่า "จิตเดิมแท้" นั้นมีแต่ความว่างเปล่า ดังนั้น เราไม่ควรที่จะไปยึดมั่นถือมั่นกับมัน เพราะมันไม่มีตัวไม่มีตน  
ท่านเว่ยหล่าง พยายามจะอธิบายตามหลักการสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "สังขารและธรรมทั้งหลายนั้น เป็นอนิจจัง(ไม่เที่ยง) เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" นั่นเอง คือ "จิตเดิมแท้ หรือ ธรรมญาณ" นั้น มันไม่มีอะไรเลย มันว่างเปล่า เมื่อว่างเปล่าก็อย่าไปยึดมั่นถือมั่น เลย

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2051 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 16:18:14 »

ปฏิบัติธรรมเดินจงกรม ได้ทั้งจิตและร่างกายที่แข็งแรง เป็นฉันท์ใด?

           พี่สิงห์ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้นานแล้วก็ลืม พอดีกำลังจะไปปฏิบัติธรรมเดินจงกรมที่หน้าบ้าน ได้ทั้งการดูกาย ดูจิต และร่างกายแข็งแรง ซึ่งพี่สิงห์ทำมานานแล้วและได้ผลดี คือถ้าอยู่นครศรีธรรมราช พี่สิงห์จะทำตอนหกโมงเช้า และห้าโมงเย็น เป็นเวลามากกว่าหนึ่งชั่วโมงระยะทางในการเดินหนึ่งร้อยเมตร แต่ถ้าอยู่ที่บ้านจะใช้ถนนหน้าบ้านยาวห้าสิบเมตร เดินจงกรมไปมาอย่างเร็ว โดยเวลาเดินเอามือไขว้หลังเช่นมือขวาจับข้อมือซ้าย เที่ยวที่หนึ่งก็ใช้มือซ้ายกำ-แบให้เข้ากับการเดิน เที่ยวที่สองก็นิ้วโป้งกับนิ้วชี้สัมผัสกัน พอถึงนิ้วโป้งกับนิ้วก้อยก็ครบห้าเที่ยวสลับมือซ้ายจับข้อมือขวาแล้วทำเหมือนเดิม การสัมผัสนิ้วมือ และกำ-แบ เป็นตัวล่อสติให้มาอยู่ เช่นเดียวกับการมีสติที่เท้าเวลาเดิน ถ้าเหมื่อยก็ปล่อยแขนแต่ยังทำเหมือนเดิมทุกประการ จนครบห้าสิบเที่ยวหรือหนึ่งชั่วโมง เมื่อมีสติก็เอาสติมาดูกาย มาดูใจ รักษาให้รู้ตัวทั่วพร้อม ไม่เผลอ ไม่เพ่ง ทำสบายๆ จิตมันคิดก็ให้คิดแต่มีสติเป็นลูกตุ้มถ่วงให้รู้ตัวไม่ให้เผลอและเพ่ง ทำอยู่อย่างนี้ พอครึ่งชั่วโมงผ่านไปเหงื่อจะออกซิบๆ ครบชั่วโมงรับรองท่านได้เหงื่อขอให้เดินเร็วๆ รับรองชีพจรเต้นประมาณ 120-130 ครั้งต่อนาที ก็เพียงพอสำหรับผู้สูงอายุแล้วครับ
            ได้ทั้งจิต ได้ทั้งการออกกำลังกาย เทคนิคสำคัญคือท่านต้องรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่กับปัจจุบัน มิฉนั้นท่านจะทำไม่ได้เพราะ จิตมันจะให้เลิกทำเพราะจิตจะทำให้ ปวด เหมื่อย กระหายน้ำ แดดร้อน คิด.......มาก กระวนกระวายจนท่านเลิกทำ แต่ถ้ารู้ตัวทั่วพร้อม จิตมันจะไม่คิด ก็กลายเป็นการปฏิบัติธรรม สามารถกระทำได้นานเท่าที่เราต้องการ
            รับรองได้ผลดีครับ พี่สิงห์ทำทุกวันแทน สกายวอคเกอร์และวิ่งบนสายพานเพราะกายเห็นสิ่งรอบข้างที่มากระทบสัมผัสทางอายตะน ๖ แต่ปล่อยวางมันเพียงรับรู้เท่านั้นแต่ไม่คิดใดๆทั้งสิ้น ทำให้ไม่เบื่อหรือเซ็ง ครับ
            สวัสดี

ภายหลังเดินจงกรมเสร็จจะปวดเหมื่อย อย่าลืมรำ TAI CHI และโยคะ ด้วยนะครับ  
 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2052 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 19:40:50 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                       วันนี้คุณสุภาณี   โทรศัพท์มาหาพี่สิงห์บอกว่า เดือนกรกฎาคม ศกนี้ ที่ศูนย์วัฒนธรรม จะมีการแสดงโขน คุณสุภาณี จะไปซื้อตั๋วจองไว้วันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม เวลา บ่ายสองโมงเย็น ราคา ๔๐๐ บาทจะจองไว้สิบที่ ใครสนใจจะไปดูโขนด้วยกันกรุณาติดต่อคุณสุภาณีด้วยครับ ดูโขนเสร็จแล้ว แวะไปรับประทานอาหารเย็นต่อที่ร้านเขาค้อทะเลภู หรือที่อื่นที่เห็นสมควร ครับ
                       ดร.สุริยา  ผมจองเผื่อให้หนึ่งที่ ครับ
                       วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ พฤษภาคม พี่สิงห์เดินทางไปทำงานที่นครศรีธรรมราช Boarding 08:00 น.
                       ทุกท่านที่ติดตามอ่านพระสูตรของปรมาจารย์เว่ยหลาง ค่อยๆทำคงวามเข้าใจ ด้วยปัญญา พรุ่งนี้ผมจะเอามาลงต่อให้ครับ
                       ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2053 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2554, 19:59:23 »

วันพืชมงคล

วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔











วันพืชมงคล

ที่มา : หนังสือวันสำคัญ โครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม
โดย : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก

ความหมาย

                      วันพืชมงคล หมายถึง วันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณ เพื่อเป็นศิริมงคลแด่พืชพันธ์ธัญญาหารบำรุงขวัญเกษตรกรและเตือนให้เริ่มเพาะปลูกข้าวและพืช ไร่อันเป็นธัญญาหารหลักในการดำรงชีวิตของชาวไทย

ความเป็นมา
                       พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในสมัยโบราณคงจะเป็นพิธีที่มีความมุ่งหมายเพื่อบำรุง ขวัญและเตือนให้เริ่มเพาะปลูกพืชผลโดยเฉพาะคือการทำนาซึ่งเป็นธัญญาหารหลักสำคัญยิ่งของการดำรงชีวิต ผู้ปกครองหรือผู้เป็นประมุขของประเทศเมื่อถึงฤดูกาลทำ ก็ควรจะเริ่มลงมือเพาะปลูกพืชผลจึงต้องประกอบกรณียกิจเป็นผู้นำโดยลงมือไถ หว่าน พืชพันธุ์ธัญญาหารเป็นตัวอย่างเพื่อเตือนว่าถึงเวลาประกอบการเพาะปลูกตามฤดูกาล

                     ต่อมากาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงไป ได้มีการพิธีเรียกว่า จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิส่งเสริมการให้มีอำนาจแล ะความสวัสดีต่าง ๆเป็นผู้แนะนำประกอบพิธีตามลัทธิไสยศาสตร์ของพราหมณ์ในพิธีนี้พระมหากษัตริย์หรือประมุขของประเทศ อาจจะทรงมีพระราชภารกิจอื่น จึงโปรดแต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดให้ทำ แทนพระองค์ เรียกว่า พระยาแรกนา ทำหน้าที่ไถ หว่านธัญญพืช พระมหาสีหรือชายาที่เคยร่วมการไถ หว่านก็เปลี่ยนเป็นจัดให้นางใน คือท้าวนางในราชสำนักออกไปทำหน้าที่หาบกระบุงพันธุ์พืชช่วยพระยาแรกนาไถ หว่าน เรียกว่า เทพี

                     พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญมีมานานนับพัน ๆ ปี และมีเกือบทุกชาติ เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น สำหรับประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสืบต่อมาในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่ทำในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ เป็นพิธีพราหมณ์ตามแบบในสมัยอยุธยาไม่มีพิธีสงฆ์ประกอบ

                      ครั้งถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริโปรดให้มีพิธีสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาร่วมประกอบในพิธีด้วยเพื่อเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาห ารที่นำเข้ามาตั้งในมณฑลพิธี แล้วจึงนำไปไถหว่านในการแรกนาขวัญ เรียกพระราชพิธีในตอนนี้ว่า พืชมงคลเมื่อรวม ๒ พิธีแล้ว เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นราชประเพณีสืบมาโดยจัดเป็นงาน ๒ วัน วันแรกเป็นพระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีสงฆ์วันรุ่งขึ้นเป็นพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญซึ่ง เป็นพิธีพราหมณ์

                      พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีสิริมงคล เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกร จึงเป็นวันที่มีความสำคัญ โบราณจารย์จึงได้วางหลักเกณฑ์ให้ประกอบพิธีในวันดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้นแรม ฤกษ์ยาม ให้ได้วันอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน ๖ โดยมีประเพณีต้องหาฤกษ์ตามตำราทางจันทรคติพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจึงไม่ได้กำหนดวันเวลาไว้ตายตัวตามปรกติแล้วจะตกอยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม การที่ต้องกำหนดให้อยู่ในเดือน ๖ ก็เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าฤดูฝนเป็นระยะเวลาเหมาะสม สำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนาอันเป็นอาชีพหลักสำคัญของชาวไทยมาแต่โบราณเมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลพระฤกษ์ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะได้ลงไว้ในปฏิทินหลวงที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปี และได้ลงกำหนดไว้ว่า วันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันแรกนาขวัญเป็นวันสำคัญของชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติให้หยุดราชการ ๑ วัน และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบทางราชการ

                       พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้ปฏิบัติเป็นราชประเพณีตลอดมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ แล้วได้เว้นว่างไป ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๓ทางรัฐบาลสั่งให้กำหนดมีการพระราชพิธีเฉพาะแต่พืชมงคล ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา

                       พระราชพิธีพืชมงคลเป็นส่วนประกอบเพื่อสิริมงคลแก่พันธุ์พืชสำหรับนำไปใช้ในการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กำหนดงานก่อนวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ๑ วันมีอ่านประกาศถึงความสำคัญที่จะเริ่มพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในประกาศนั้นอ้างหลักธรรมทางพุทธศาสนาสมัยพุทธกาลคราวเกิดฝนแล้ง ด้วยพุทธานุภาพทรงบันดาลให้ฝนตก ทำนา ทำไร่ หว่านพืชผลได้ตามปรกติและกล่าวถึงตำนานการสร้างพระคันธาราษฎร์อันเกี่ยวด้ว ยพุทธานุภาพที่ทรงบันดาลให้มีฝนตกจึงได้สร้างขึ้น ณ เมืองคันธาราษฎร์ครั้งอดีตกาล แล้วประกาศสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกองค์ปฐมกษัตริย์ ที่ได้ทรงสร้างพระพุทธคันธาราษฎร์ขึ้นไว้เพื่อประกอบ การพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตามตำนานที่มีมาแต่โบราณกาล ซึ่งเป็นราชประเพณีที่ พระมหากษัตริย์ทรงอนุวัติจัดงานพระราชพิธีนี้สืบมา สุดท้ายประกาศถวายพระพรชัยมงคล และขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาเทพยดาทั้งปวงประสิทธิประสาทให้พืชพันธุ์ธัญญาหารในราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์งอกงามเจริญดี ตลอดจนขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จบประกาศแล้ว พระสงฆ์ ๑๑ รูปเจริญพระพุทธมนต์เป็นคาถาพิเศษสำหรับพืชมงคลโดยเฉพาะเพื่อเสกพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่ได้นำมาตั้งเข้าพิธีมณฑล มีข้าวเปลือกพันธุ์ต่าง ๆ ถั่วทุกชนิด ข้าวโพด งา ฟักแฟง แตงกวา เผือก มัน ฝ้าย เป็นต้น

                       ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เลขาธิการพระราชวังพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่าพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แต่เดิมจัดเป็นงาน ๒วันแล้วได้ระงับไปคงได้แต่พิธีพืชมงคลจัดเป็นงานประจำทุกปี สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทางรัฐบาลเห็นควรจัดให้มีการแรกนาขวัญขึ้นอย่างเดิมเพื่อรักษาบูรพประเพณีอันเป็นมิ่งขวัญของการเกษตรไว้สืบต่อไป สำนักพระราชวังและกระทรวงเกษตรจึงได้กำหนดงานพระราชพิิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตามราชประเพณีเดิมขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบันนี้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานการพระราชพิธีทุกปี ทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพระราชพิธีเพื่อความเหมาะสมตามยุคสมัยด้วยพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแต่่เดิมมาทำที่ทุ่งพญาไท เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ขึ้นใหม่ จึงจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวงซึ่งเคยเป็นที่ประกอบ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓

                     ส่วนผู้ที่จะเป็นพระยาแรกนาในสมัยก่อนเคยโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เป็นพระยาแรกนา และผู้ที่เป็นเทพีหาบกระบุงทองกระบุงเงิน บรรจุข้าวเปลือกหว่านนั้นโปรดเกล้าฯ ให้จัดท้าวนางฝ่ายใน เมื่อเวลาได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ตำแหน่งไปแล้วเช่นนี้

                     เมื่อเริ่มฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาใหม่ พระยาแรกนาจึงได้แก่ อธิบดีกรมการข้าวกระทรวงเกษตรเทพีได้คัดเลือกจากข้าราชการสตรีผู้มีเกียรติในกระทรวงเกษตร ในปีต่อมาจนถึงปัจจุบันผู้เป็นพระยาแรกนาได้แก่ผู้ดำ รงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีนั้นคัดเลือกจากข้าราชการสตรีโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระดับ ๓ – ๔ คือชั้นโทขึ้นไป

                      พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีเพื่อสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหารสนับสนุนส่งเสริมชาวไร่ชาวนาในการประกอบอาชีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างดี ได้เสด็จฯ มาทรงเป็นประธานอธิษฐานขอความสมบูรณ์ของพืชพันธัญญาหารให้มีแก่อาณาจักรไทยและได้ทรงปลูกพันธุ์ข้าวทดลองในนาทดลองบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นพระราชฐานที่ประทับ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วพระราชทานนำมาเข้าในพระราชพิธีประมาณ ๔๐ - ๕๐ กิโลกรัม เมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระราชทานมาเข้าพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แบ่งไปหว่านที่ลานประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจัดบรรจุซองส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรสำหรับแจกจ่ายแก่เกษตรกรเพื่อเป็นสิริมงคลตามพระราชประสงค์ที่ทรงส่งเสริมการเกษตร
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2054 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2554, 06:45:18 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                        เช้านี้ท่านออกกำลังกาย หรือเจริญสติหรือยังครับ
                        พี่สิงห์ตื่นตีห้ามานั่งเจริญสติ ดูกาย - ดูใจตนเอง ให้รู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ส่งจิตออกนอก และคอยสำรวจใจตัวเอง ตลอดเวลา พอหกโมงเช้าก็อาบน้ำแต่งตัวเดินทางมาที่สนามบินดอนเมือง รับประทานอาหารเช้าที่ร้านสีลมวิลเลียจ นั่งคอยเครื่องบินขึ้น ก็เปิดเครื่อง Computer เพื่อจะอ่านพระสูตรของปรมาจารย์สังฆปรินายก เว่ยหล่าง ครั้งที่สาม เพราะไม่มีอะไรจะอ่าน เป็นการฆ่าเวลา และนั่งเจริญสติไปด้วย
                        พี่สิงห์นำพระสูตร หมวดที่ ๒ มาลงไว้ให้อ่านกัน ค่อยๆอ่านแบบใช้ปัญญา นะครับ
                        สวัสดี

พระสูตรเว่ยหล่าง
 
พุทธทาสภิกขุแปล

หมวดที่ 2
ว่าด้วย-ปรัชญา
***********

วันต่อมา ข้าหลวงไว่ ได้นิมนต์ขอให้พระสังฆปริณายกแสดงธรรมอีก เมื่อพระสังฆปริณายกได้ขึ้นธรรมาสน์ และได้ขอร้องให้ที่ประชุมทั้งสิ้นทำจิตให้ผ่องใสและสวดข้อความแห่งมหาปรัชญาปารมิตาสูตรดัง ๆ พร้อมกันจบลงแล้ว ท่านได้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้:-

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ปัญญาทำสัตว์ให้ลุถึงการตรัสรู้นั้น มีอยู่ในตัวเราทุกๆ คนแล้ว แต่เป็นเพราะมีอวิชชาความมืดบอดที่ครอบงำใจของเราไว้ เราจึงไม่มองเห็นมันด้วยตนเอง จนเราต้องเที่ยวเสาะแสวงคำแนะนำตักเตือนจากผู้อื่น ที่เขาได้เห็นแจ้งแล้วก่อนหน้าที่เราจะรู้จัก จิตเดิมแท้ ของเราเอง ท่านทั้งหลายควรจะทราบเอาไว้ว่า ถ้าธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ยังถูกห่อหุ้มเกี่ยวพันอยู่เพียงใดแล้ว มันไม่มีความแตกต่างอะไรกันระหว่างผู้ที่เห็นแจ้งกับผู้ที่มืดบอด ข้อที่แตกต่างกันนั้น มันอยู่ที่คนหนึ่งได้ตรัสรู้แจ่มแจ้ง (เพราะพุทธสภาวะอันเกี่ยวกับผู้นั้นถูกเพิกถอนเครื่องห่อหุ้มได้หมดจดแล้ว) ส่วนอีกคนหนึ่งยังมืดมิดอยู่ เอาละ บัดนี้อาตมาจะได้กล่าวถึงเรื่อง มหาปรัชญาปารมิตากะท่านทั้งหลาย เพราะท่านทุกๆ คนสามารถบรรลุถึงปัญญาอันนั้น.

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย บรรดาพวกคนที่สวดร้องถึงคำว่า "ปรัชญาๆ" (*5) อยู่ตลอดทั้งๆ วัน ก็ดูเหมือนว่าเขาเหล่านั้นไม่ได้ทราบเลยว่าปรัชญานั้น

*5 คำว่าปรัชญา เป็นคำสันสกฤต ตรงกับคำว่า ปัญญา ในภาษาบาลี หรือภาษาไทย แต่ในภาษาไทยนำคำนี้ไปใช้มีความหมายเป็นอย่างอื่นจากคำว่าปัญญา ตามที่ใช้กันอยู่โดยมากใช้หมายถึงหลักความคิด ที่แสดงภูมิแห่งปัญญาอันสูงสุดสายใดสายหนึ่ง แล้วแต่เรียกว่าปรัชญาอะไร หรือปรัชญาของใคร แต่ในสูตรนี้ใช้คำนี้ หมายถึงปัญญาชนิดที่เพียงพอในการที่จะช่วยตัวให้พ้นทุกข์ทั้งปวง และถือว่าปรัชญานั้น มีตามธรรมชาติติดมาในคนทุกๆ คนแล้วแต่ดั้งเดิม หากแต่ว่ามีโมหะมาปกคลุมเสีย คนจึงไม่รู้จักปัญญาชนิดนี้ของตนเอง ทั้งที่มีอยู่แล้ว กลับไปหลงหาปัญญาจากภายนอก ซึ่งเปรียบกับปัญญานี้ไม่ได้ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

มันมีอยู่ในธรรมชาติเดิมของเขาเองแล้ว ก็การที่เพียงแต่พูดกันถึงอาหาร ย่อมไม่อาจบำบัดความหิวได้ฉันใด ในกรณีของบุคคลผู้เอ่ยถึงปรัชญาแต่ปาก ก็ไม่อาจขจัดความมืดบอดได้ฉันนั้น เราอาจพูดกันถึงเรื่องศูนยตา(ความว่าง) เป็นเวลาตั้งแสนกัลป์ก็ได้ แต่ว่าลำพังการพูดอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เราเห็นแจ่มแจ้งในจิตเดิมแท้ได้ และในที่สุดก็ไม่ได้อะไร ตามที่ตนประสงค์เลย

คำว่า "มหาปรัชญาปารมิตา" นี้ เป็นคำสันสกฤต มีความหมายว่า "ปัญญาอันใหญ่หลวง เพื่อให้ลุถึงฝั่งฟากโน้น (แห่งทะเลสังสารวัฏ) สิ่งที่เราต้องทำนั้น คือต้องปฏิบัติมันด้วยใจของเรา จะท่องบ่นมันหรือไม่นั้นไม่ใช่ข้อสำคัญ การท่องบ่นกันเฉยๆ โดยปราศจากการปฏิบัติด้วยใจนั้น จะได้ผลเหมือนกะเราไปเล่นกับอสูรกาย หรือเหมือนกับหยาดน้ำค้างตามใบหญ้า แต่อีกทางหนึ่งนั้น ถ้าเราทำทั้งสองอย่าง(คือทั้งท่องบ่นและปฏิบัติด้วยใจ) แล้วใจของเราก็จะประเสริฐสมคล้อยกับสิ่งที่ปากของเรากำลังท่อง ธรรมชาติแท้ของเรานั้น คือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ และนอกไปจากธรรมชาติอันนี้แล้วหามีพุทธะที่ไหนอีกไม่เลย

คำว่า "มหา" หมายความว่าอะไร? หมายความว่า "ใหญ่หลวง" ขนาดใจนั้นใหญ่หลวงเหมือนกันกับอวกาศ(*6) มันเป็นสิ่งบัญญัติไม่ได้คือมันไม่ใช่

*6 อวกาศ (space) ในสูตรนี้ หมายถึงเนื้อที่ทั้งหมด ที่สกลจักรวาลนี้ไปบรรจุอยู่ และรวมทั้งที่ยังมีเหลือเป็นที่ว่างเปล่า เช่นท้องฟ้าระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวทั้งหลายเป็นต้น หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง เท่ากับเนื้อที่ของพาหิรากาศ(Ether) ทั้งหมดนั่นเอง (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

ของกลมหรือของเป็นเหลี่ยม ไม่ใช่ของซึ่งมีบนมีล่าง ไม่ใช่ของสั้นหรือยาว ไม่ใช่ความชังหรือความชื่น ไม่ใช่ความถูกหรือความผิด ไม่ใช่ของดีหรือของชั่ว ไม่ใช่ของอันแรกหรือของอันสุดท้าย พุทธเกษตร(คือขอบเขตของพุทธะหนึ่งๆ) ทุกๆเกษตรนั้น ว่างเหมือนกันกับอวกาศ อย่างที่จะเป็นอื่นไปไม่ได้เลย แม้ธรรมชาติ (แห่งความเป็นพุทธะ) อันประเสริฐของเรา ก็ว่างเช่นเดียวกัน และไม่ใช่เป็นภูมิธรรมอันเดียวเรื่องเดียวนี้เท่านั้น ที่เราลุถึงด้วยการตรัสรู้ (เพราะว่าธรรมชาติอันนั้น) มันเป็นของสิ่งเดียวกันกับจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นภาวะแห่ง "ความว่างเด็ดขาด" (กล่าวคือความว่างของสิ่งซึ่งมีอยู่แท้ๆ)

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายได้ฟังอาตมากล่าวถึงความว่างอันนั้น ขอท่านทั้งหลายอย่าเข้าใจดิ่งไปจับเอาลัทธิที่ว่าขาดสูญไม่มีอะไรขึ้นมาว่าเป็นอันเดียวกัน (เพราะว่าความเห็นว่า ขาดสูญเช่นนั้น รวมอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ พวกอุจเฉททิฏฐิ) มันเป็นสิ่งสำคัญอย่างที่สุด ที่เราจะต้องไม่ตกดิ่งลงไปในมิจฉาทิฏฐิอันนี้ เพราะว่าเมื่อคนเรานั่งอยู่เงียบๆ ทำใจของเขาให้ว่างๆ เขาก็จะตั้งอยู่ในภาวะแห่ง "ความว่างเพราะว่างเฉย" ได้เหมือนกัน

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ความว่างอันไม่มีขอบเขตจำกัดของสกลจักรวาล เป็นสิ่งที่มีความจุมากพอที่จะรวมเอาสิ่งต่างๆ ตั้งแสนๆ สิ่ง ซึ่งมีรูปและสัณฐานแปลกๆ กันเข้าไว้ในตัวมันได้ สิ่งเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวทั้งหลาย ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน น้ำพุ ลำธาร พุ่มไม้ ป่าไม้ คนดี คนชั่ว ธรรมะฝ่ายดี ธรรมะฝ่ายชั่ว เมืองสวรรค์ เมืองนรก มหาสมุทร ภูเขาทั้งหลายในเทือกเขามหาเมรุ(หิมาลัย) อวกาศนั้น ซึมเข้าไปมีอยู่ทั่วในสิ่งต่างๆ ที่กล่าวนามมาแล้วทั้งหมดนี้ และ "ความว่าง" แห่งธรรมชาติแท้ของเรา ก็เข้าไปมีอยู่ในสิ่งต่างๆ อย่างเดียวกัน เรากล่าว จิตเดิมแท้ ว่าเป็นใหญ่หลวง ก็เพราะว่ามันรวมสิ่งต่างๆเข้าไว้หมด โดยที่สิ่งทุกสิ่งนั้นมันอยู่ในตัวธรรมชาติแท้ของเรา เมื่อเราพบเห็นความดี หรือความชั่วก็ตามของบุคคลอื่น เราไม่ถูกดึงดูดให้ชอบ หรือไม่ถูกมันผลักดันให้ชัง หรือเราไม่เกาะเกี่ยวกับมัน เมื่อนั้นลักษณะแห่งจิตใจของเราเป็นของว่างเท่ากันกับอวกาศ ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ใจของเราใหญ่หลวง (ไม่มีขอบเขตเหมือนอวกาศ) เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกมันว่า "มหา"

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย สิ่งใดที่พวกคนเขลาพากันเพียงแต่พูดถึง เปล่าๆ ปลี้ๆ สิ่งนั้นคนมีปัญญาได้นำเอามาปฏิบัติด้วยจิตใจของเขาเกิดมรรคเกิดผลจนได้ ยังแถมมีคนเขลาอีกพวกหนึ่ง ซึ่งนั่งนิ่งๆเงียบๆและพยายามที่จะทำจิตให้ว่าง เขาเว้นการคิดถึงสิ่งใดๆหมด แล้วก็เรียกตัวเขาเองว่า "มหา" เมื่อเขามีความเห็นนอกลู่นอกทางเช่นนี้ ก็เป็นการยากที่เราจะกล่าวถึงเขาว่าอย่างไรให้ถูกตรงได้

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ท่านควรจะทราบไว้ว่า ใจนั้นมีขนาดแห่งความจุอันใหญ่หลวง โดยเหตุที่ใจนั้นสิงซึม (*7) (ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันอยู่

*7 คำว่าใจในสูตรนี้ หมายถึงวิญญาณธาตุที่ประจำอยู่ในที่ทั่วไป มีอยู่ทั่วไปทำนองเดียวกับที่ฝ่ายรูปธาตุ ย่อมถือว่า มีอีเธ่อร์อยู่ในที่ทั่วไป ไม่ว่าในที่นั้นกำลังมีแต่อวกาศหรือมีวัตถุอื่นใดตั้งอยู่ด้วย โดยถือว่าสรรพสิ่งตั้งอยู่ในอีเธ่อร์อีกทีหนึ่ง ใจในสูตรนี้ทำหน้าที่เหมือนกับอีเธ่อร์โดยเปรียบเทียบ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

ทั่วไป) ตลอดสากลธรรมธาตุ (คือวงแห่งธรรมาณาจักร กล่าวคือสกลจักรวาล) เมื่อเรานำมันมาใช้ เราก็สามารถจะทราบอะไรได้หลายสิ่งจากบรรดาสิ่งที่มีอยู่ทั้งหมด แต่เมื่อใดเราใช้มันเต็มขนาดของมัน เมื่อนั้นเราก็ทราบได้สารพัดสิ่งไม่มีอะไรเหลือ รู้ทุกๆ สิ่งภายในสิ่งหนึ่ง และหนึ่งสิ่งภายในทุกๆสิ่ง เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันโดยไม่ติดขัด และเป็นอิสระที่จะ "ไป" หรือ "มา" เมื่อนั้นชื่อว่ามันอยู่ภาวะแห่ง "ปรัชญา"

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ปรัชญาทั้งสิ้นย่อมมาจากจิตเดิมแท้ และมิได้มาจากวิถีภายนอกเลย ท่านทั้งหลายจงอย่างได้มีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ ข้อนี้เรียกว่า "การใช้ประโยชน์ในตัวมันเอง" ของสิ่งที่เป็นตัวธรรมชาติเดิมแท้" ตถตา (ความเป็นแต่อย่างนั้นอย่างเดียวเท่านั้น เป็นอย่างอื่นไม่ได้ กล่าวคือจิตเดิมแท้) ปรากฏขึ้นครั้งเดียวเท่านั้น แก่ผู้นั้นแล้วเขาก็เป็นอิสระจากโมหะ ไปชั่วนิรันดร.

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เพราะเหตุที่ใจนั้นมีรัศมีทำงานกว้างขวางใหญ่หลวง เราจึงไม่ควรใช้มันทำงานกะจิริดไร้เดียงสา (เช่นการนั่งเงียบๆ ทำใจว่างๆเฉย) อย่างพูดกันถึง "ความว่าง" เป็นวันๆ โดยไม่ได้ทำจิตให้พบกับความว่างนั้น คนที่ (พร่ำแต่ปากว่าว่างๆ แต่จิตไม่ได้สัมผัสความว่างจริงๆ เลย) ทำเช่นนี้ ควรถูกเปรียบกันกับคนที่ประกาศตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์ด้วยปากของเขา แต่ที่จริงเขาก็เป็นราษฎรธรรมดา โดยวิถีทางปฏิบัติเช่นนี้จะไม่ได้ลุถึงปรัชญาเลย และผู้ที่ปฏิบัติทำนองนี้ จะเรียกว่าเป็นศิษย์ของอาตมาไม่ได้.

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย คำว่า ปรัชญา หมายความว่าอะไร? คำนี้หมายถึง "ปัญญาความรู้รอบแจ้งชัด" คือเมื่อใดเราสามารถรักษาจิตของเรา ไม่ให้ถูกพัวพันด้วยความทะเยอทะยานอันโง่เขลาได้ทุกกาละเทศะ ทำอะไรด้วยความฉลาดไปทุกโอกาส เมื่อนั้นชื่อว่าเรา กำลังประพฤติอบรมปรัชญาอยู่ ทีเดียว ความรู้สึกที่โง่เขลาข้อเดียวเท่านั้น ก็สามารถผลักปรัชญาให้หายวับไป แต่ความคิดที่ปรีชาฉลาด เป็นสิ่งที่อาจดึงเอาปรัชญากลับมาได้อีก บุคคลพวกที่ตกอยู่ใต้อำนาจอวิชชา หรือโมหะ ย่อมไม่มองเห็นปรัชญา เขาพูดถึงปรัชญาด้วยลิ้น (ไม่ใช่พูดด้วยใจ) ส่วนในใจของเขานั้นยังคงงมงายอยู่ตามเดิม เขาพูดเสมอไปว่า เขาประพฤติปรัชญา และพูดถึง "ความบาดสูญ(อุจเฉทะ) ไม่หยุดปาก แต่เขาไม่ได้ทราบถึง "ความว่างเปล่าเด็ดขาด" (ศูนยตา) เลย "หฤทัยแห่งความรอบรู้ชัดแจ้ง" นั้นแหละคือตัวปรัชญาอันเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีท่าทางเครื่องให้สังเกตเสียเลย ถ้าเราตีความหมายของคำว่าปรัชญากันโดยทำนองนี้ เมื่อนั้นชื่อว่าพูดกันถึงความรอบรู้แจ้งชัดของปรัชญาตัวจริง. อย่างถูกแท้

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย คำว่า ปารมิตา หมายความว่าอะไร? คำนี้เป็นสันสกฤต มีความหมายว่า "สู่ฝั่งข้างโน้น" โดยกิริยาจริงมันหมายถึง "พ้นการเกิดและการดับ" โดยอุปทานการยึดถือในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นวัตถุที่ตั้งของความรู้สึกทางวิญญาณ เมื่อนั้นย่อมมีความเกิด และมีความดับผลุบโผล่เหมือนทะเลที่มีคลื่น ภาวะเช่นนี้ เราเรียกโดยอุปมาว่า "ฝั่งข้างนี้" แต่เมื่อใดตัดอุปทานเสียได้เด็ดขาด และลุถึงภาวะที่พ้นจากการเกิดและการตาย สงบเงียบเหมือนน้ำไหลนิ่ง นั่นแหละเรียกว่า "ฝั่งโน้น" การพ้นจากการเกิดและการดับนี้แหละ ที่ทำให้ปรัชญานี้ได้นามว่า "ปารมิตา"

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย คนเป็นอันมาก ซึ่งอยู่ภายใต้โมหะ พากันท่องบ่น "มหาปรัชญาปารมิตา" ด้วยลิ้นเท่านั้น และเมื่อเขากำลังท่องอยู่นั้นความคิดที่งมงายเป็นอกุศลกลับเกิดขึ้นแก่เขา แต่ถ้าเขาจะได้ปฏิบัติมันด้วยใจโดยไม่หยุดหย่อน ดังกล่าวจริงๆ เขาย่อมเห็นประจักษ์ชัดซึ่ง "ตัวจริง" ของมหาปรัชญาปารมิตา การรู้ธรรมะอันนี้ ก็คือการรู้ธรรมชาติของปรัชญา การปฏิบัติธรรมะอันนี้ ก็คือการปฏิบัติปรัชญา ผู้ที่ไม่ประพฤติธรรมะอันนี้ คือปุถุชน บุคคลผู้ตั้งจิตจดจ่อเพื่อปฏิบัติธรรมะอันนี้ แม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง เขาเป็นผู้เทียบเท่ากับพุทธะ

คนสามัญนี้เอง คือพระพุทธเจ้า และกิเลส ก็คือโพธิ (ปัญญาสำหรับการตรัสรู้) (*Cool ความคิดที่โง่เขลา ที่ผ่านเข้าออกทางจิตนั้น ทำให้คนเป็นคน

*8 คนธรรมดาคือพุทธะ กิเลสคือโพธิ เช่นนี้ เป็นอภิโวหารของนิกายนี้ ซึ่งพยายามอธิบายว่าความเป็นพระพุทธเจ้านั้น มีอยู่แล้วในทุกๆคน หากแต่ว่าของคนส่วนมากนั้น ถูกความมืดห่อหุ้มเสีย หรือยังไม่ได้เจียรนัยออกมา ทำนองเพชรทุกเม็ดมีน้ำเพชรมาแล้วด้วยกันทั้งนั้น แต่บางเม็ดไม่มีโอกาสได้เจียระไน เพชรทุกเม็ดทั้งที่เจียระไนแล้ว และยังไม่ได้เจียระไนแล้วก็ตาม ล้วนแต่เป็นเป็นเพชรเหมือนกัน ทำนองเดียวกับที่คนทุกคนเป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยกันทั้งสิ้น เป็นแต่บางคน เจ้าตัวไม่มีโอกาสทำให้ปรากฏออกมาได้ในเวลานี้ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

ธรรมดาสามัญ แต่ความคิดที่หายโง่ ประกอบด้วยความแจ่มแจ้งที่ตามมาทีหลัง ทำให้คนเป็นพระพุทธเจ้า ความคิดที่ผ่านเข้าออก ที่ทำจิตให้ติดในอารมณ์นั้นคือกิเลส แต่ความคิดที่มาเปลื้องจิตเสียจากความติดแน่น อันเป็นความคิดซึ่งเกิดทีหลัง นั้นคือโพธิ.

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย มหาปรัชญาปารมิตา (กล่าวคือปัญญาอันใหญ่หลวง ที่ทำสัตว์ ให้ข้ามถึงฝั่งโน้น) นั้นเป็นของสูงสุด ใหญ่ยิ่ง และเด่นดวง มันไม่หยุด ไม่ไป และไม่มา โดยอำนาจของปัญญา อันชื่อว่า มหาปรัชญาปารมิตานี้เอง ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายในปัจจุบัน ในอดีต และในอนาคต ได้บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า เราควรใช้ปัญญาอันสูงสุดดวงนี้ เพื่อทำลาย (ความยึดถือใน) ขันธ์ทั้งห้าเสีย (*9) เพราะเหตุว่าการทำเช่นนี้ย่อมช่วยให้การ

*9คำว่า ใช้ปัญญาทำลายความยึดถือในขันธ์ทั้งห้าเสีย ประโยคนี้ มักพูดกันสั้นๆ แต่เพียงว่า ทำลายขันธ์ทั้งห้าเสีย แม้ในต้นฉบับเดิมของสูตรนี้ก็ใช้สั้นๆ เช่นนั้นเหมือนกัน จงเติมเข้าให้ความชัด กันความเข้าใจผิดสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับคำประเภทนี้ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

ได้บรรลุถึงพุทธภูมิ เป็นสิ่งที่แน่นอน แล้วอกุศลมูลทั้งสาม (โลภะ โทสะ โมหะ) ก็จะกลายเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ไปเอง

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ตามวิถีปฏิบัติแบบของอาตมานี้ ปัญญาดวงเดียวเท่านั้น จะสร้างความรอบรู้ขึ้นถึงแปดหมื่นสี่พันวิถี คือเท่ากับจำนวนของกิเลสที่เราจะต้องผจญ แต่ว่าเมื่อผู้ใดพ้นจากอำนาจของกิเลส. ปัญญาย่อมแสดงตัวปรากฏให้เห็นเอง ที่ตัว จิตเดิมแท้ ไม่แยกจากกันได้ ผู้ใดเข้าใจหลักธรรมปฏิบัติอันนี้ ผู้นั้นจะมีจิตปราศจากความคิดอันท้อแท้ เฉื่อยชาการเป็นอิสระ จากการหลงรักเพราะความคิดหมกมุ่น สยบจากการยึดติดในอารมณ์อันเร้าจิตให้ทะเยอทะยาน และจากสิ่งอันเป็นของหลอกลวงมายา การให้ตัวตถตา (ความคงที่แต่อย่างนั้น เท่านั้น เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้) ทำหน้าที่ของมัน การใช้ปัญญาพิจารณาหาความจริงในสิ่งทั้งปวง และการมีท่าทีที่ (อันสงบ) ซึ่งไม่เป็นทั้งการผลักดัน หรือดึงดูดต่อสรรพสิ่งทั้งมวล เหล่านี้ คือการรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งตัว จิตเดิมแท้ เพื่อ การบรรลุถึงพุทธภูมิ (ความเป็นพุทธะ)

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ถ้าท่านปรารถนาจะแทงตลอดความลึกซึ้งของธรรมธาตุ และสมาธิที่เป็นฝ่ายปัญญา ท่านจะต้องอบรมปรัชญาโดยการท่องบ่น และศึกษาไตร่ตรองในวัชรัจเฉทิกสูตร อันเป็นพระสูตรที่สามารถทำให้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งจิตเดิมแท้ ท่านควรจะทราบไว้ว่า กุศลผลความดีอันเกิดจากการศึกษาพระสูตรนี้ ตามที่ปรากฏชัดเจนอยู่ในพระบาลีนั้นมีมากเหลือประมาณ ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่สามารถพรรณาให้ละเอียด พระสูตรๆนี้เป็นของฝ่ายนิกายสูงสุดในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้ เฉพาะแก่บุคคลที่มีปัญญาแก่กล้า และสามารถเข้าใจอรรถอันลึกได้ในทันที (*10) ถ้า

*10 ทางฝ่ายมหายาน ยึดเป็นหลักอันแน่นแฟ้นว่า พระสูตรบางพระสูตร ตรัสเฉพาะแก่บุคคลพวกอุคคติตัญญู คืออาจเข้าใจได้ในทันทีทันใดนั้น แม้ในฝ่ายเถรวาท หรือหินยาน ก็ยอมรับหลักอันนี้ เช่นอนุปุพพิกถา ตรัสเฉพาะผู้จะบรรลุโสดาในที่นั่งอันนั้นเอง ไม่ตรัสแก่คนที่ยังหนาเป็นปุถุชนเกินไปเป็นต้น ด้วยเหตุนี้เอง นิกายบางนิกายจึงยืนยันหลักธรรมของตน ว่าเป็นคำที่ตรัสเฉพาะคนพวกหนึ่งประเภทหนึ่ง (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

หากว่าคนมีปัญญาน้อย และทึบต่อการเข้าใจอรรถอันลึก เผอิญมาได้ฟังพระสูตรชนิดนี้เข้า เขาจะเกิดความสงสัยไม่เชื่อข้อความในพระสูตรนั้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ข้อนี้อุปมาได้ว่า ถ้าหากว่าเกิดฝนตกหนักในชมพูทวีปนี้ ด้วยอำนาจพญานาคในสวรรค์แล้ว นคร เมือง และหมู่บ้าน จะพากันไหลลอยไปตามกระแสน้ำ เช่นเดียวกับใบของต้นอินทผลัม แต่ถ้าหากว่า ฝนนั้นไปตกในมหาสมุทร โดยทั่วๆ ไป ก็เหมือนกับไม่ได้รับความกระทบกระเทือนอะไรเลย เมื่อนักศึกษาฝ่ายมหายาน ได้ฟังพระสูตรชื่อวัชรัจเฉทิกนี้แล้ว ใจของเขาจะใสสว่าง เขาทราบได้ว่าปัญญา (ที่จะทำให้สัตว์ลุถึงฝั่งโน้น) นั้น มีอยู่ใน จิตเดิมแท้ ของเขาแล้ว และเชื่อตัวเองว่า เขาไม่ต้องอาศัยพระไตรปิฎก เพราะว่าเขาสามารถใช้ปัญญาในตัวเขาเอง ให้เป็นประโยชน์ โดยการเจริญวิปัสสนาภาวนาเป็นนิจ นั่นเอง

ปรัชญาซึ่งมีประจำอยู่ใน จิตเดิมแท้ ของทุกๆ คนนั้นแล้ว อาจจะเปรียบกันได้กับฝน ซึ่งความชุ่มชื่นของมัน ย่อมทำความสดชื่นให้แก่สิ่งที่มีชีวิตทุกๆสิ่ง รวมทั้งต้นไม้และพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตลอดถึงสัตว์ทุกชนิด เมื่อแม่น้ำและลำธารไหลไปถึงทะเล น้ำฝนที่มันพาไป ย่อมผสมเป็นอันเดียวกันกับน้ำในมหาสมุทร นี่คือข้ออุปมาอีกข้อหนึ่ง ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ที่นี้หากว่าฝน (ที่ทำความสดชื่นให้แก่สิ่งมีชีวิตนั่นเอง) ได้ตกกระหน่ำลงมาขนาดใหญ่ต้นไม้ซึ่งมีรากไม่ลึกพอ ก็จะถูกน้ำพัดชะถอนรากขึ้นลอยตามน้ำ และสูญหายไปในที่สุดไม่มีเหลือ ข้อนี้เปรียบกันได้กับคนที่มีปัญญาทึบเข้าใจอะไรได้ยาก ที่ได้ฟังคำสอนของชั้น "นิกายฉับพลัน" แท้ที่จริง ปรัชญาซึ่งมีอยู่ในบุคคลจำนวนนี้ ก็เป็นอย่างเดียวกันกับที่มีอยู่ในบุคคลจำพวกปัญญาไว หากแต่ว่าเขาไม่สามารถทำตนให้ตรัสรู้ได้ ในขณะที่มีผู้สอนเขาด้วยธรรมะนั้น เพราะเหตุใด? เพราะว่าเขาถูกปกคลุมเสียหนาแน่น ด้วยความคิดเห็นผิด และกิเลสซึ่งได้ลงรากลึกแล้ว ทำนองเดียวกับดวงอาทิตย์ถูกบดบังด้วยเมฆ ไม่สามารถส่องแสงของตนลงมา (ทั้งที่แสงนั้นมีอยู่) จนกว่าจะมีลมมากวาดเอาเมฆนั้นไปเสีย ฉันใดก็ฉันนั้น

ปรัชญานั้น ไม่แตกต่างกัน แม้ว่าตัวบุคคลจะแตกต่างกัน ข้อที่แตกต่างกันนั้น อยู่ตรงที่ว่าใจของเขาสว่างไสว หรือมืดมนเท่านั้นเอง คนที่ไม่รู้จักจิตเดิมแท้ ของตนเอง และยังแถมมีความเขลาไปว่า การบรรลุพุทธธรรมนั้น มีได้ด้วยศาสนาพิธีต่างๆ ที่กระทำกันทางภายนอก (ไม่เกี่ยวกับจิต) นี้แหละ คือคนจำพวกที่เข้าใจอะไรได้ยาก คนจำพวกที่เข้าใจคำสอนของ "นิกายฉับพลัน" ไม่รู้ลึกว่าพิธีรีตองต่างๆ เป็นของสำคัญ และใจของเขาก็ทำหน้าที่พิจารณาอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิอย่างเดียว จนกระทั่งเขาหลุดพ้นเด็ดขาดจากกิเลสหรือมลทินต่างๆ คนชนิดนี้แหละกล่าวว่า เป็นผู้ทีได้รู้จัก จิตเดิมแท้ ของตนเองแล้ว

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าใจ เป็นสิ่งที่ควรได้รับการจัดวางไว้ในกรอบของการปฏิบัติ ชนิดที่มันจะเป็นอิสระจากอารมณ์ ทั้งที่เป็นภายนอกและภายใน ให้มีอิสระที่จะมาหรือจะไป ไม่ถูกพัวพัน และใสสว่างโดยทั่วถึงปราศจากสิ่งบดบังแม้แต่นิดเดียว บุคคลที่สามารถทำได้เช่นนี้ ถือว่าดีถึงขนาดที่บัญญัติไว้ในสูตรทั้งหลายของนิกายมหาปรัชญาปารมิตา

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย สูตรและปิฎกทั้งสิ้น ทั้งฝ่ายมหายานและหินยาน รวมทั้งคัมภีร์อรรถกถาทั้งสิบสองภาค ทั้งหมดถูกจำแนกไว้เป็นชั้นๆ ก็เพื่อให้เหมาะกับความต้องการและอุปนิสัย ของบุคคลผู้มีอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากันเป็นชั้นๆนั่นเอง โอวาทต่างๆ มีสอนที่อยู่ในพระคัมภีร์เหล่านั้น บัญญัติขึ้นมาโดยยึดหลักใหญ่ว่า ตัวปรัชญามีแฝงอยู่ภายในบุคคลทุกคนแล้ว ถ้าไม่มีคน ก็ไม่จำเป็นต้องมีธรรมะ เหตุนั้น เราจึงทราบได้ว่าธรรมะนั้นๆ บัญญัติขึ้นสำหรับคนโดยตรง และสูตรต่างๆ นั้น เกิดขึ้นเพราะศาสดาผู้ประกาศสูตรนั้นๆ นั่นเอง เพราะเหตุที่คนบางพวกเป็นคนฉลาด ซึ่งเราเรียกกันว่า คนเด่น และคนบางพวกเป็นคนโง่เขลา ในเมื่อคนเขลาประสงค์จะให้สอนด้วยการทำเช่นนี้ คนเขลาก็อาจลุถึงความสว่างไสวชนิดรวดเร็วได้ และใจของเขาก็แจ่มแจ้งได้ด้วยเหตุนั้น แล้วคนเขลาเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรแตกต่างจากคนฉลาดอีกต่อไป

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ถ้าเอาการตรัสรู้ออกเสียแล้ว ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันระหว่างพระพุทธเจ้ากับคนสามัญอื่นๆ ความสว่างไสววาบเดียวเท่านั้น ก็เพียงพอแล้ว ที่จะทำใครก็ได้ให้กลายเป็นคนเสมอกันกับพระพุทธเจ้า เพราะเหตุที่ธรรมะทั้งหลาย เป็นของมีประจำอยู่ในใจของเราแล้ว จึงไม่มีเหตุผลในข้อที่ว่า เราไม่สามารถเห็นซึมซับแจ้งชัด ในสภาวะแท้ของ ตถตา (สภาพที่มีแต่ความเป็นเช่นนั้น จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ) มีข้อความกล่าวไว้ในสูตรชื่อ โพธิสัตว์ศีลสูตร ว่า "จิตเดิมแท้ของเรา เป็นของบริสุทธิ์โดยเด็ดขาด และถ้าเราได้รู้จักใจของเราเอง และรู้แจ้งชัดว่าตัวธรรมชาติแท้ของเราคืออะไรแล้ว เราจะลุถึงพุทธภาวะได้ทุกๆคน (ที่มีความรู้เช่นนั้น)" ข้อความในสูตรชื่อ วิมลกิรตินิเทศสูตร ก็ได้กล่าวว่า "ทันใดนั้น เขาตรัสรู้แจ่มแจ้งสว่างไสว และได้รับใจของเขาเองกลับคืนมา" (*11)

*11 คำว่าได้รับใจของเขาเองกลับคืนมา นี้หมายความว่า ใจเดิมที่บริสุทธิ์และสว่างไสว ไม่ได้ถูกกิเลสหุ้มห่อ นั้นเรียกว่าใจของเขาแท้ ในปัจจุบันนี้ กิเลสหุ้มห่อจนไม่เป็นใจของเขาเสียแล้ว เขาสู้รบกับกิเลส กันเอากิเลสออกไปเสีย และเอาใจของเขาแท้กลับคืนมาได้ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เมื่อพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า ได้เทศน์ให้อาตมาฟัง อาตมาได้เกิดความรู้แจ้งสว่างไสว ตรัสรู้ข้อธรรมะนั้น ในทันทีที่ท่านพูดจบ และทันใดนั้นเอง ได้เห็นแจ้งประจักษ์ชัดในตัวธรรมชาติแท้ของ ตถตา ด้วยเหตุนี้เอง อาตมาจึงมีความมุ่งหมายโดยเฉพาะ ในการที่จะประกาศคำสอนแห่ง "นิกายฉับพลัน" นี้ต่อไป เพื่อว่าผู้ศึกษาจะได้ประสบกับโพธิ และเห็นแจ้งชัดในตัวธรรมชาติแท้ของตนเอง ด้วยการอบรมจิตในวิปัสสนาภาวนา

ถ้าหากว่า เขาไม่สามารถช่วยตัวเองให้เกิดความสว่างไสวได้ เขาก็จะได้ขอร้องต่อเพื่อนพุทธบริษัทผู้คงแก่เรียนและใจอารี ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจคำสั่งสอนของสำนักชั้นสูง ให้ช่วยชี้หนทางถูกให้แก่เขา สำนักหลักแหล่งของพุทธบริษัทผู้คงแก่เรียนและมีใจอารี ทำหน้าที่นำจูงผู้อื่นให้เห็นแจ้งในจิตเดิมแท้นั้น เป็นสำนักซึ่งอยู่ในตำแหน่งสูงสุด ด้วยความช่วยเหลือของบุคคลชนิดนี้ผู้อื่นจะถูกชักจูงเข้ามาสู่ธรรมะอันเป็นฝ่ายกุศลทุก ๆ ประการ บรรดาปัญญาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งความรู้ที่เป็นหลักคำสอน ในพระคัมภีร์ทั้งสิบสองหมวดนั้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในใจของเรามาแต่เดิมแล้ว ในกรณีที่เราเองไม่สามารถปลุกให้สว่างไสวขึ้นมาได้ด้วยตนเองนั้น เราจำต้องแสวงคำแนะนำจากบุคคลผู้คงแก่เรียน และมีใจอารีเหล่านั้น แต่ในทางที่ตรงกันข้าม พวกที่ทำความสว่างไสวให้แก่ตนเองได้โดยลำพังนั้น ย่อมไม่ต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก มันเป็นของผิดในการที่จะไปถือคติว่า ถ้าปราศจากคำแนะนำของผู้คงแก่เรียน และมีใจอารีแล้ว เราไม่สามารถจะลุถึงวิมุติ เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า มันเป็นเพราะปัญญาภายในของเราเองต่างหาก ที่ทำให้เราเกิดความสว่างไสวได้ ถึงแม้ความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก และคำพร่ำสอนของเพื่อนผู้คงแก่เรียน และใจอารี ก็ยังอาจเป็นหมันไร้ประโยชน์ได้เหมือนกัน ถ้าหากว่าเราทำถูกหลงงมงายเสียแล้วโดยคำสอนที่ผิดและความเห็นผิด เราควรเพ่งจิตของเราด้วยปัญญาตัวจริง ความเห็นผิดทั้งมวลก็จะถูกเพิกถอนไปในขณะนั้น และในทันทีทันใดที่เราได้รู้จักตัว จิตเดิมแท้ เราย่อมลุถึงสถานะแห่งความเป็นพุทธะในทันใดนั้น

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เมื่อเราใช้ปรัชญา (ปัญญาดั้งเดิม) ของเราในการเพ่งพิจารณาในภายใน เราย่อมมีความสว่างแจ่มแจ้ง ทั้งภายในและภายนอก และเราอยู่ในฐานะที่จะรู้จักใจของเราเอง การรู้จักใจของเราเองคือการลุถึงวิมุติ (การหลุดเป็นอิสระ) การลุถึงวิมุติ ก็คือการลุถึงสมาธิฝ่ายปรัชญา ซึ่งเป็น "ความไม่ต้องคิด" "ความไม่ต้องคิด" คืออะไร? "ความไม่ต้องคิด" คือการเห็นและการรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง (ตามที่เห็นจริง) ด้วยใจที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มพัวพัน เมื่อเราใช้มัน มันแทรกเข้าไปได้ในทุกสิ่งแต่ไม่ติดแจอยู่ในสิ่งใดเลย สิ่งที่เราจะต้องทำนั้น มีเพียงการชำระจิตให้ใสกระจ่าง เพื่อว่าวิญญาณทั้งหกเมื่อแล่นไปตามอายตนะทั้งหก (*12) จะไม่ถูกทำให้เศร้าหมองโดยอารมณ์ทั้งหก เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันได้โดยอิสระ

*12 วิญญาณทั้งหกคือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ได้แก่จิตส่วนที่ไปทำหน้าที่รู้สึกตามทวารต่างๆ คือ ตา หู เป็นต้น
อายตนะหก หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มโน ที่ยังมีประสิทธิภาพ คือให้วิญญาณทำหน้าที่ได้ เป็นสื่อระหว่างวิญญาณกับอารมณ์
อารมณ์หก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ได้แก่ของข้างนอก ที่จะเข้าไปพบของข้างใน คือวิญญาณโดยอาศัยอายตนะเป็นสนาม (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

ปราศจากอุปสรรค และอยู่ในสถานะที่จะ "มา" หรือ "ไป" ได้โดยอิสระเมื่อนั้น ชื่อว่าเราได้บรรลุ สมาธิฝ่ายปรัชญา หรืออิสรภาพ สถานะเช่นนี้มีนามว่า การทำหน้าที่ของ "ความไม่ต้องคิด" แต่ว่า การหักห้ามความคิดถึงสิ่งใดๆ ให้ความคิดทั้งหมดถูกกดเอาไว้ ย่อมเป็นการกดธรรมะไว้ (ไม่ให้ปรากฏหรือเป็นไปตามที่ควรจะเป็นไป) และข้อนี้ย่อมเป็นความเห็นผิด

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย บรรดาบุคคลผู้เข้าใจในวิถีทางแห่ง "ความไม่ต้องคิด" เหล่านั้น จะรู้แจ้งสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทุกสิ่ง จะได้ดื่มรสที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้เคยดื่มมาแล้ว และย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า ในกาลข้างหน้าต่อไป ถ้าหากผู้ที่ได้รับคำสอนจากสำนักของอาตมาคนใด จะให้สัจจปฏิญาณในท่ามกลางหมู่เพื่อนศิษย์ด้วยกันว่าจะอุทิศชีวิตของตนทั้งหมดเพื่อปฏิบัติตามคำสอนแห่ง "สำนักฉับพลัน" นี้ โดยไม่ย่อท้อถอยหลัง ตั้งใจขนาดเดียวกันกับความตั้งใจที่จะปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้าแล้วไซร้ เขาก็จักลุถึงวิสุทธิมรรคา โดยไม่มีการล้มเหลวเป็นแน่แท้ เขาจักถ่ายทอดคำสอนที่พระสังฆปริณายกองค์หนึ่ง ได้มอบหมายลงมายังพระสังฆปริณายกองค์ต่อๆ มา ออกจากดวงใจของเขา แล้วส่งลงไปยังดวงใจของบุคคลอื่น ซึ่งสมควรแก่การนี้เป็นช่วงๆ กันไป และพยายามที่จะไม่ปิดบังซ่อนเร้นคำสอนที่ถูกต้องไว้แม้แต่น้อย สำหรับบุคคลพวกที่อยู่ในสำนักอื่นในนิกายอื่น ซึ่งความเห็นและจุดมุ่งหมายของเขาผิดไปจากของพวกเรานั้น ไม่ควรจะถ่ายทอดหลักธรรมะอันนี้ไปให้เลยเพราะจะมีแต่ผลร้ายโดยประการต่างๆ ไม่มีผลดี การที่มีข้อยกเว้นไว้ดังนี้ ก็โดยเกรงว่า พวกคนเขลาซึ่งไม่สามารถเข้าใจหลักคำสอนอย่างของเรา จะมีคำกล่าวตู่ป้ายร้ายให้แก่คำสอนระบอบนี้ และข้อนั้นเองจะเป็นการทำลายเมล็ดพืชแห่งความเป็นพุทธะ ซึ่งมีอยู่ในคนพวกนั้นให้เหือดแห้งเป็นหมันไป ตลอดเวลาหลายร้อยกัลป์พันชาติ

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย อาตมามีโศลกอันกล่าวถึง "นิรรูป"(*13)อยู่หมวดหนึ่ง สำหรับท่านทั้งหลายท่องบ่นกัน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตควรปฏิบัติตามคำสอนซึ่งมีอยู่ในโศลกนั้น ซึ่งถ้าปราศจากการปฏิบัติเสียแล้วมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร ในการที่จะจำเอาถ้วยคำของอาตมาไปเปล่าๆ ท่านทั้งหลายจงคอยฟังโศลก ดังต่อไปนี้:-

"อาจารย์ผู้บัญญัติคัมภีร์พุทธธรรม รวมทั้งคำสอนในสำนักนิกายธยานนี้ด้วย
อาจเปรียบกันได้กับดวงอาทิตย์ ซึ่งกำลังแผดแสงจ้า อยู่ ณ กึ่งกลางนภากาศ
บุคคลเช่นนี้จักไม่สอนอะไร นอกจากธรรมะเพื่อให้เห็นแจ้ง จิตเดิมแท้ อย่างเดียว
และความมุ่งหมายในการที่ท่านมาสู่โลกนี้ ก็เพื่อขจัดพรรคมิจฉาทิฏฐิฯ
เราจะแบ่งแยกธรรมปฏิบัติ ออกเป็นชนิด "ฉับพลัน" และชนิด "เชื่องช้า" ได้โดยยากก็จริง
แต่ก็ยังมีคนบางพวก ที่จะรู้แจ้งได้เร็วกว่าคนพวกอื่นมากฯ
ตัวอย่างเช่นธรรมปฏิบัติระบอบนี้ ที่สอนมุ่งให้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้เป็นระบอบที่คนโฉดเขลา จะเข้าใจไม่ได้ฯ
เราอาจจะอธิบายหลักธรรมะระบอบนี้ได้โดยวิธีต่างๆ ตั้ง 10,000วิธี
แต่ว่าคำอธิบายทั้งหมดนั้น อาจจะลากให้หวนกลับมาสู่หลักดุจเดียวกันได้ฯ
การที่จะจุดไฟให้สว่างขึ้น ในดวงหฤทัยอันมืดมัว เพราะเกรอะกรังไปด้วยกิเลสนั้น
เราจักต้องดำรงแสงสว่างแห่งปรัชญา ไว้เนืองนิจฯ
มิจฉาทิฏฐิ ย่อมทำเราให้ติดจมอยู่ในห้วงกิเลสฯ
ส่วนสัมมาทิฏฐิ ย่อมเปลื้องเราออกจากกองกิเลสนั้นฯ
แต่เมื่อใด เราอยู่ในฐานะที่เหนือไปกว่าทิฏฐิทั้งสองอย่างนี้
เมื่อนั้น เราย่อมบริสุทธิ์ โดยเด็ดขาดฯ
โพธิ เป็นสิ่งมีประจำอยู่แล้วภายใน จิตเดิมแท้ ของเรา
การพยายามมองหาโพธิจากที่อื่นนั้น เป็นความเขลาฯ
จิตที่บริสุทธิ์นั้น จะหาพบได้ภายในจิตอันไม่บริสุทธิ์ของเรา นั่นเอง
ในทันใดที่เราดำรงจิตถูกต้อง เราย่อมเป็นอิสระจากสิ่งบดบัง 3 ประการ
( คือ กิเลส บาปกรรม และการต้องทนใช้บาปอยู่ในนรก)
ถ้าเราเดินอยู่ในมรรคาแห่งการตรัสรู้
เราไม่จำต้องกลุ้มใจด้วยสิ่งที่จะทำให้เราสะดุดล้มฯ
ถ้าเราคอยสอดส่ายตา ระวังความผิดของเราเองอยู่เสมอ
เราก็เดินไถลออกไปนอกหนทางที่ถูกไม่ได้ฯ
เพราะเหตุที่ชีวิตทุกๆแบบ ย่อมมีวิถีทางแห่งความรอดพ้นเฉพาะของมันเอง ทุกแบบ
ฉะนั้น ชีวิตทั้งหลายจะไม่ก้าวก่าย หรือกระทบกระทั่งซึ่งกันและกันฯ
แต่ถ้าเราผละไปจากทางชนิดที่เป็นของเรา ไปแสวงหาทางอื่นเพื่อจะรอดพ้น
เราจะไม่พบความรอดพ้นได้เลย
แม้ว่าเราจะหาเรื่อยไป จนกระทั่งความตายมาถึงเราก็ดี
ในที่สุด เราจะพบแต่ความรู้สึกเสียใจภายหลังว่า เราทำพลาดไปแล้วฯ
ถ้าท่านปรารถนาจะค้นหางทางที่ถูกต้อง
การทำให้ถูกวิธีจริงๆ เท่านั้น ที่จะนำท่านดิ่งไปถึงได้
แต่ถ้าท่านไม่มีการดิ้นรนเพื่อลุถึงพุทธภูมิ
ท่านก็จะมัวคลำคว้าอยู่ในที่มืด และไม่มีโอกาสพบเลยฯ
ผู้ที่ด่วนเดินมุ่งแน่วไปตามทางที่ถูกต้องนั้น
ย่อมไม่มองเห็นความผิดต่างๆ ในโลกนี้
ถ้าเราพบความผิดในบุคคลอื่น
เราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกันฯ
เมื่อผู้อื่นทำผิด เราไม่จำต้องเอาใจใส่
เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเอง ในการที่จะไปรื้อหาความผิดฯ
โดยการสลัดนิสัยที่ชอบค้นหาความผิดของคนอื่น ออกไปเสียจากสันดาน
เราย่อมตัดวิถีทางการมาของกิเลส ได้เป็นอย่างดีฯ
เมื่อใดความชัง (คนเกลียด) และความรัก (คนรัก) ไม่กล้ำกรายใจของเรา
เราหลับสบายฯ
บุคคลใด ตั้งใจจะเป็นครูสอนคนอื่น
เขาเองควรจะมีความคล่องแคล่วในวิธีเหมาะสมนานาประการ ที่จะนำผู้อื่นเข้าถึงความสว่างฯ
เมื่อศิษย์พ้นจากความสงสัยสนเท่ห์ โดยประการทั้งปวง
มันย่อมแสดงว่า เขาได้พบ จิตเดิมแท้ ของเขาแล้วฯ
จักรวรรดิของพระพุทธเจ้า(*13) อยู่ในโลกนี้

*13 จักรวรรดิของพระพุทธเจ้า หรือ Kingdom of the Buddha หมายถึงพุทธเกษตร หรือเขตที่อยู่ในอำนาจของพระพุทธเจ้า ในการที่สิ่งทั้งหลายจะได้เป็นไปตามกฎแห่งธรรมะ เช่นปฏิบัติเช่นนี้ ได้ผลเช่นนี้ ปฏิบัติถึงนิพพาน ได้ผลถึงนิพพานเป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องรับประกันให้หายห่วง ในการที่จะเกิดกลัวไปว่ากรรมจะไม่ให้ผลเป็นต้น หรือคำสอนของพระองค์ใช้ไม่ได้ในที่นี้ (ทำนองกฏหมายในเมืองไทย ใช้บังคับที่เมืองจีนไม่ได้เป็นต้น) แม้ว่าจะมีคำกล่าวในที่อื่น ว่าพุทธเกษตรมีหลายเกษตรเพราะพระพุทธเจ้ามีหลายองค์ แต่ในที่นี้พิจารณากันแต่ในแง่ว่า พระพุทธเจ้าทุกองค์มีปัญญาอย่างเดียวกัน ตรัสรู้และสอนอย่างเดียวกัน หรือเป็นองค์เดียวกัน นั่นเอง การแบ่งเป็นองค์ๆ เป็นความเข้าใจผิด หรือมิฉะนั้นก็เป็นการกล่าวอย่างสามัญตามสมมุติ ผู้แปลไทยพุทธทาส)

ซึ่งเราจะพบความสว่างไสวได้ ในเขตนั้นฯ
การเสาะแสวงหาความสว่างไสว ในที่อื่นจากโลกนี้
เป็นของพิลึกกึกกือ เหมือนการเที่ยวหาเขากระต่ายฯ
สัมมาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า "เลิศเหนือโลก"
มิจฉาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า "ข้องอยู่ในโลก"
เมื่อใดทิฏฐิทั้งสองอย่าง ไม่ว่าสัมมาหรือมิจฉา ถูกสลัดพ้นออกไป
เมื่อนั้นโพธิแท้ ย่อมปรากฏ ฯ
โศลกนี้มีไว้สำหรับพวก "นิกายฉับพลัน"
และโศลกนี้ ยังถูกขนานนามว่า "มหาธรรมนาวา" (เพื่อแล่นข้ามฝั่งสังสารวัฏ)
กัลป์แล้วก็กัลป์เล่า คงตกอยู่ภายใต้ความมืดบอด
แต่ครั้นถึงคราวตรัสรู้ มันกินเวลาแวบเดียวเท่านั้น เขาก็เข้าถึงพุทธภูมิฯ

ก่อนจบเทศนา พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "บัดนี้ในวิหารแห่งไทฟันนี้ อาตมาได้แสดงธรรมให้ท่านฟัง ถึงคำสอนแห่ง "นิกายฉับพลัน" แล้ว ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงซึ่งล้วนแต่มีธรรมธาตุอันนั้นประจำอยู่ ในตัวทุกคนแล้วจงเข้าใจธรรมะนี้ และลุถึงความเป็นพุทธะเถิด"

เมื่อได้ฟังธรรมกถาที่พระสังฆปริณายากล่าวจบลงแล้ว ข้าหลวงไว่ แห่งชิวเจา พวกข้าราชการ นักศึกษาฝ่ายเต๋า และชาวบ้านเหล่านั้นได้เข้าถึงความสว่างไสว ทั่วถึงกัน เขาเหล่านั้น พร้อมกันทำความเคารพและออกอุทานเป็นเสียงเดียวกันว่า "สาธู สาธุ ใครจะนึกไปถึงว่า พระพุทธเจ้าได้มาอุบัติขึ้นในนครกวางตุ้ง"
      บันทึกการเข้า
lek_adisorn
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,595

« ตอบ #2055 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2554, 08:17:48 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 07 พฤษภาคม 2554, 13:40:20
มารับธรรม ตอนบ่ายค่ะพี่สิงห์

ยินดี กับหลานนะด้วย ยินดีต้อนรับน้องใหม่ จุฬาค่ะ

 น้องติ๋ม พี่ตกข่าวค่ะ เพิ่งเห็นข่าว และได้อ่าน วันนี้เอง เพิ่งทราบว่าเป็นแถวบ้านน้องติ๋มด้วย เป็นอย่างไรบ้างค่ะ
เอาใจช่วยนะคะ  ขนข้าวของหายเหนื่อยบ้างหรือยัง
หากกลับบ้านปลอดภัย เก็บข้าวของเรียบร้อยดีแล้ว  หายเหนื่อยแล้วก็ส่งข่าวมาบ้างนะคะ เป็นห่วงค่ะ
พี่รู้ดีว่าขนของหนีน้ำท่วมมันสาหัส และทุกข์ใจค่ะ

สวัสดีครับพี่เอมอร, พี่ติ๋ม จันทร์ฉาย ขอพระคุณมากครับ ป้าน้องนะก็คือพี่มุกดา บัญชี 15 ครับ พี่มุกดาได้เข้ามาดูอยู่เรื่อยครับแต่คงจะไม่ได้โพส์ท  งานคงยังยุ่งอยู่ครับ
      บันทึกการเข้า
lek_adisorn
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,595

« ตอบ #2056 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2554, 08:34:05 »

สวัสดีครับพี่สิงห์ ผมก็ติดตามอยู่เรื่อยๆจนเป็นกิจวัตรไปแล้ว คือเข้ามาที่ทำงานเปิดคอมมาก็ต้องแวบมาอ่านกระทู้ของพี่ครับ แต่ไม่ได้เข้ามาพูดคุยครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2057 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2554, 13:09:27 »

พระสูตร หมวดที่ ๒ ปรัชญา ของสังฆปรินายก องค์ที่ ๖ ปรมาจารย์เว่ยหล่าง

ผู้ปฏิบัติธรรม ควรจะทำความเข้าใจ ให้มากไว้ ด้วยปัญญาของท่าน

ถ้าเข้าใจแล้ว จะเป็นกำลังใจที่จะเอาชนะความเพียรทางจิตได้

อย่าลืมเคล็ดลับในการปฏิบัติธรรม คือ การทวนกระแสความคิด

ต้องไม่ตกเป็นทาษของความคิด(จิต) พยายามสละมันทิ้งให้หลุด

กิเลศ-ตัณหา ที่ห่อหุ้มจิต ซึ่งเป็น "อวิชชา" ก็จะหลุดออกไปเอง ความเป็น "พุทธ" หรือ "จิตเดิมแท้" ก็จะปรากฎออกมา "ฉับพลัน"

แต่หน้าเศร้า ที่พี่สิงห์ ก็ยังเป็นปุถุชนม์ธรรมดา แม้แต่เปลือกไม้ ก็ยังสลัดไม่ออก ครับ

(เปลือก กระพี้ เนื้อ และแก่น)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2058 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2554, 21:14:21 »


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
              วันวิสาขบูชา นี้ถ้าว่างเรียนเชิญครับ
              ราตรีสวัสดิ์ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2059 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2554, 21:26:04 »

พี่สิงห์

ผมลองโพสต์ เพื่อเช็คความเร็วของเว็ปครับ
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #2060 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 03:19:00 »

ขอบพระคุณพี่สิงห์ค่ะ นี่คือจุดมุ่งหมายหลักที่ติ๋มกำลังหามาเป็นเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาค่ะ
"ลืมระเบียบพิธีต่างๆทางพุทธศาสนา ลืมความคิดดิ่งๆด้านเดียว ที่ตนเคยยึดถือ กระทั่งลืมความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย คงเอาไว้แต่ใจล้วนๆของมนุษย์ ซึ่งไม่จำกัดว่าชาติใดภาษาใด หรือถือศาสนาไหน เป็นใจซึ่งกำลังทำการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า "ทำอย่างไร จิตของมนุษย์ทุกคนในลักษณะที่เป็นสากลนี้ จักหลุดพ้นจากความบีบคั้นหุ้มห่อพัวพันได้โดยสิ้นเชิง?" เท่านั้น"

      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2061 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 08:18:21 »

อ้างถึง
ข้อความของ ติ๋ม จันทร์ฉาย เมื่อ 13 พฤษภาคม 2554, 03:19:00
ขอบพระคุณพี่สิงห์ค่ะ นี่คือจุดมุ่งหมายหลักที่ติ๋มกำลังหามาเป็นเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาค่ะ
"ลืมระเบียบพิธีต่างๆทางพุทธศาสนา ลืมความคิดดิ่งๆด้านเดียว ที่ตนเคยยึดถือ กระทั่งลืมความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย คงเอาไว้แต่ใจล้วนๆของมนุษย์ ซึ่งไม่จำกัดว่าชาติใดภาษาใด หรือถือศาสนาไหน เป็นใจซึ่งกำลังทำการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า "ทำอย่างไร จิตของมนุษย์ทุกคนในลักษณะที่เป็นสากลนี้ จักหลุดพ้นจากความบีบคั้นหุ้มห่อพัวพันได้โดยสิ้นเชิง?" เท่านั้น"


สวัสดีค่ะ คุณน้องจันทร์ฉาย ที่รัก
                   คำว่า "พุทธ" หรือ "ธรรมญาณ" หรือ "จิตเดิมแท้" หลวงพ่อเทียน ปรมาจารย์เว่ยหล่าง ยืนยันว่า มีแล้วในคนทุกคนไม่ยกเว้น ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด นับถือศาสนาไหน เพียงแต่ "อวิชชา" มาห่อหุ้มจิตไว้ ทำให้เรามองไม่เห็น "จิต" ที่แท้จริงของเรา ที่เป็นจิตบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลศ เป็นจิตที่ว่างเปล่า ดังนั้นเราปฏิบัติธรรมเพื่อกลับไปสู่จุดนั้น ด้วยตัวของเราเอง เป็นการทวนกระแสความคิด คือ ไม่กระทำตามที่จิตมันปราถนา เราเป็นทาษความคิด(โมหะ) มานานมากแล้ว พยายามสลัดมันให้หลุด ใช้ความเพียร และปัญญา เอาชนะมันให้ได้ ศาสนพิธีมันเป็นเพียงรูปแบบที่ปฏิบัติกันมา หามีความสำคัญไม่ การทำให้เรารู้ตัวทั่วพร้อมทั้งกาย-ใจ โดยเฉพาะจิตของเรา สำคัญที่สุด
                    อย่าลืมหลวงพ่อเทียน ปรมาจารย์เว่ยหล่าง ไม่รู้หนังสือทั้งสองท่าน แต่ท่านสามารถพบ "พุทธ" เพียงอึดใจเดียวเท่านั้น จากการเฝ้าดูจิตตัวเองอย่างเดียว จนค้นพบได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า เพียงแต่เป็นปราชญ์ต่างกันเท่านั้น
                    พี่สิงห์ยินดีด้วยที่เธอสามารถที่จะค้นพบสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองได้ พี่สิงห์ได้รับ mail จากท่านขุน เป็นหนังสือ ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ To One  That Feels ของหลวงพ่อเทียน ภ้าเธอส่ง Email มาที่ singhamanop@gmail.com พี่สิงห์จะส่งไปให้เธอเพื่อให้คนรอบกายเธอที่เป็นอเมริกันสามารถอ่านได้ครับ
                    การปฏิบัติธรรมนั้น มีรูปแบบหลากหลายวิธี เราต้องหาให้พบรูปแบบที่เหมาะกับจริตของเรา หรือคิดวิธีขึ้นมาสำหรับตัวเรา พี่สิงห์ก็หาวิธีให้ตัวเอง อย่าไปยึดติดกับหลวงพ่อองค์นั้น องค์นี้ ที่ถูกจริตคือ เราทำแล้วสบายใจ จิตเป็นสมาธิ มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม สบายทั้งกายและใจ จิตผ่องใส นั่นละเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด อย่าไปเชื่อใครทั้งสิ้น จงเชื่อปัญญาตัวเอง ผู้อื่นเป็นเพียงผู้แนะนำตามที่เขาเคยปฏิบัติมา ได้ผลหรือไม่เราไม่รู้ เราต้องรู้ด้วยตัวเอง จาก ความเพียร ปัญญา ของเราเอง เพราะเราจะทราบผลด้วยตัวเอง ครับ
                    สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2062 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 08:26:19 »


พระสูตรเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุแปล

หมวดที่ 3
ว่าด้วยข้อปุจฉา-แลวิสัชนา
********************

วันหนึ่ง ท่านข้าหลวงไว่ ได้จัดให้มีการประชุมกันถวายภัตตาหารเจแด่ พระสังฆปริณายก และขอร้องให้ท่านแสดงธรรมแก่ประชุมชนที่กำลังประชุมกันคับคั่ง เมื่อเสร็จจากการฉันแล้ว ท่านข้าหลวงไว่ได้อาราธนาให้ท่านขึ้นธรรมมาสน์ (ซึ่งท่านได้ตกลงรับ) เมื่อได้โค้งคำนับด้วยความเคารพ 2 ครั้ง 2 ครา พร้อมๆกับบรรดาข้าราชการ นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ได้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั่นแล้ว

ข้าหลวงไว่ได้กล่าวขึ้นว่า กระผมได้ฟังบทธรรมที่พระคุณเจ้าแสดงแล้ว รู้สึกว่าเป็นของลึกซึ้งเกินกว่ากำลังความคิดและถ้อยคำของกระผมจะบรรยายได้ และกระผมมีปัญหาอยู่บางประการ ซึ่งหวังว่าพระคุณเจ้าคงจะกรุณาชี้แจงให้เห็นกระจ่าง

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ถ้าท่านมีความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ก็ขอให้ท่านถามมา อาตมาจะได้ชี้แจง

ข้าหลวงไว่ได้ถามขึ้นว่า หลักธรรมต่างๆ ที่พระคุณเจ้าได้แสดงไปแล้วนี้ เป็นหลักที่พระสังฆปริณายกโพธิธรรม ได้วางไว้บัญญัติไว้มิใช่หรือ?
พระสังฆปริณายก ตอบว่า ใช่

กระผมได้สดับตรับฟังมาว่า เมื่อพระโพธิธรรมได้พบปะและสังสนทนากันเป็นครั้งแรกกับ พระจักรพรรดิวู่แห่งราชวงศ์เหลียง นั้น ท่านสาธุคุณองค์นั้นได้ถูกพระจักรพรรดิถามถึงข้อที่ว่า พระองค์จะได้รับกุศล (Merits) อะไรบ้าง ในการที่พระองค์ได้กระทำการก่อสร้างพระวิหาร การอนุญาตให้คนบวช(ซึ่งในสมัยนั้นพระบรมราชานุญาตเป็นของจำเป็นมาก) การโปรยทานและการถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ในราชกาลของพระองค์ และท่านสาธุคุณองค์นั้น ได้ถวายพระพรว่า การกระทำเช่นว่านั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย ในเรื่องนี้ กระผมไม่เข้าใจเลยว่า ทำไมพระสังฆปริณายกโพธิธรรม จึงได้ถวายพระพร เช่นนั้น ขอพระคุณเจ้าโปรดชี้แจงด้วยเถิด

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ถูกแล้ว การกระทำเช่นว่านั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใด ท่านอย่าได้มีความสงสัยในถ้อยคำของพระมุนีองค์นั้นเลย พระจักรพรรดิเองต่างหาก มีความเข้าพระทัยผิด และพระองค์ไม่ได้ทรงทราบถึงคำสอนอันถูกต้อง ตามแบบแผน ก็การกระทำเช่นสร้างวิหาร การอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจ เช่นกล่าวนี้จะนำมาให้ได้ก็แต่เพียงความปีติอิ่มใจต่างๆ เท่านั้น ซึ่งไม่สมควรจะถือว่าเป็นกุศล กุศลจะมีได้ก็แต่ในธรรมกาย ไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันกับการทำเพื่อความปีติอิ่มใจ ดังกล่าวมานั้นเลย (*14)

*14 เราจะเห็นได้ว่า แม้ในสมัยโบราณ นิกายเซ็นแห่งประเทศจีน ก็ยังคงมีการถือคำว่ากุศลกันอย่างถูกต้องตามความหมายเดิมของคำว่า "กุศล"(กุศล-ตัดความชั่วสิ่งห่อหุ้ม สันดานเหมือนหญ้ารก) ซึ่งในที่นี้ หมายความถึงสิ่งที่จะช่วยขจัดเครื่องกางกั้น มิให้ลุถึงความรอดพ้นจากอำนาจกิเลส หรือกล่าวโดยตรง กุศล ก็ได้แก่เครื่องช่วยให้จิตหลุดรอดไปจากสิ่งครอบคลุมห่อหุ้ม จนไม่เห็นโพธินั่นเอง ฉะนั้น จึงไม่หมายความไปถึงวัตถุภายนอก เช่น การให้ทาน หรือการสร้างวิหารเป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ควรจะเรียกว่า "บุญ" มากกว่าที่จะเรียกว่า "กุศล" (ปัญญาเครื่องให้ฟูใจ) ครั้นตกมาถึงสมัยพวกเรานี้ คำว่ากุศล ใช้ปนเปไปกับคำว่าบุญ จนอ่านข้อความตอนนี้เข้าใจได้ยาก (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

พระสังฆปริณายกได้กล่าวต่อไปว่า การเห็นแจ้งชัดในจิตเดิมแท้ นั้น เรียกว่า กุง (กุศลวิบาก) และความคงที่สม่ำเสมอ นั้น เรียกว่า แต๊ก (กุศลสมบัติ) และเมื่อใด ความเป็นไปทางฝ่ายจิตของเรา มีการเคลื่อนไหวคล่องแคล่วไม่มีติดขัด จนทำให้เราทราบไม่ขาดสาย ถึงภาวะที่แท้จริง พร้อมทั้งการทำหน้าที่อย่างประหลาดลึ้ลับของใจของเราเอง เมื่อนั้น เรียกว่า เราเข้าถึงแล้วซึ่ง กุงแต๊ก (กุศล)

ที่เป็นภายใน การระวังจิตของตนไว้ ให้คงอยู่ในภาวะที่ปราศจากความเผยอผยองพองตัวเรียกว่า กุง ที่เป็นภายนอก การวางตัวไว้ในสภาพที่เหมาะสมทุกวิถีทาง เรียกว่า แต๊ก รู้ว่าทุก ๆ สิ่ง คือการแสดงออกของจิตเดิมแท้ เรียกว่า กุง และรู้ว่าส่วนที่เป็นประธานของจิต เป็นอิสระแล้วจากความคิดอันเป็นเครื่องถ่วงทั้งหลาย นี้เรียกว่า แต๊ก การไม่แล่นเพริดเตลิดไปจากจิตเดิมแท้ เรียกว่า กุง และการที่เมื่อใช้จิตนั้นทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่เผลอทำจิตนั้นให้มืดมัวเสียรูปไป นี้เรียกว่า แต๊ก ถ้าท่านแสวงหากุศลภายในธรรมกาย และทำตามที่อาตมาได้กล่าวนี้จริงๆแล้ว กุศลที่ท่านได้รับ จะต้องเป็นกุศลจริง ผู้ปฏิบัติเพื่อกุศล จะไม่หมิ่นผู้อื่น และในที่ทุกโอกาสเข้าปฏิบัติต่อทุกๆ คนด้วยความยำเกรงนับถือ ผู้ซึ่งมีการดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปรกตินิสัย ย่อมไม่สามารถขจัดมานะอหังการออกไปเสียได้ ซึ่งส่อว่าเขา ยังขาดกุง เพราะความถือตัว และความดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปรกตินิสัยเขาย่อมไม่เห็นแจ้งต่อจิตเดิมแท้ และนี่ส่อว่าเขา ยังขาดแต๊ก

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เมื่อใดความเป็นไปทางฝ่ายจิตทำหน้าที่ของมันได้โดยไม่มีที่ติดขัด เมื่อนั้นเรียกว่า มีกุง เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันในลักษณะที่ตรงแน่ว เมื่อนั้นเรียกว่า มีแต๊ก การฝึก การฝึกทางจิต จัดเป็น กุง การฝึกทางที่เกี่ยวกับกาย จัดเป็น แต๊ก

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย กุศลนั้นเป็นสิ่งที่ต้องแสวงหาภายในจิตเดิมแท้ และเป็นสิ่งที่หาไม่ได้จาการโปรยทาน การถวายภัตตาหาร ฯลฯ และอื่นๆ เหตุฉะนั้น เราต้องรู้จักแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างความปีติอิ่มใจกับตัวกุศลแท้ คำที่พระสังฆปริณายกของเรากล่าวไปนั้นไม่มีอะไรผิด พระจักรพรรดิวู่เองต่างหาก ที่ไม่เข้าใจในหนทางอันแท้จริง

ข้าหลวงไว่ ได้เรียนถามปัญหาข้อต่อไปอีกว่า กระผมได้สังเกตเห็นเขาทำกันทั่วไป ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ในการออกนามพระอมิตาภะและตั้งอธิษฐานจิตขอให้ไปบังเกิดในดินแดนอันบริสุทธิ์ ทางทิศตะวันตก เพื่อขจัดความสงสัยของกระผม ขอพระคุณเจ้าจงกรุณาตอบให้แจ้งชัด ว่ามันจะเป็นได้หรือไม่ ที่เขาเหล่านั้นจะพากันไปเกิดที่นั้น

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอาตมาอย่างระมัดระวังสักหน่อย แล้วอาตมาจะได้อธิบาย เมื่อกล่าวตามสูตรที่สมเด็จพระภควันต์ได้ตรัสไว้ที่นครสาวัตถี เพื่อนำประชาสัตว์ไปสู่แดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตกนั้น มันก็เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า แดนบริสุทธิ์นั้นอยู่ไม่ไกลไปจากที่นี่เลย เพราะตามระยะทางคิดเป็นไมล์ ก็ได้ 108,000 ไมล์เท่านั้น ซึ่งโดยแท้จริงแล้วระยะทางนี้ หมายถึงอกุศล 10 และมิจฉัตตะ 8 ภายในตัวเรานั่นเอง (*15) สำหรับ

*15 อกุศล 10 อย่าง (ซึ่งหมายถึงอกุศลกรรมบท) คงกำหนดให้อย่างละหมื่นไมล์ ส่วนมิจฉัตตะ 8 อย่างนั้น คงกำหนดให้อย่างละพันไมล์ จึงได้แสนแปดหมื่นไมล์

มิจฉัตตะนั้น คือความผิดตรงกันข้ามกับมรรคมีองค์แปด (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

คนพวกที่ยังมีใจต่ำ มันก็ต้องอยู่ไกลอย่างแน่นอน แต่สำหรับพวกที่มีใจสูงแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า มันอยู่ใกล้นิดเดียว

แม้ว่าพระธรรมจะเป็นของคงเส้นคงวารูปเดียวกันทั้งนั้น แต่คนนั้นๆย่อมแตกต่างกันโดยจิตใจ เพราะขนาดแห่งความฉลาดและความเขลาของมนุษย์มีอยู่แตกต่างกันนี่เอง จึงมีคนบางคนเข้าใจในพระธรรมได้ก่อนคนเหล่าอื่น เมื่อพวกคนไร้ปัญญากำลังพากันท่องนามของพระอมิตาภะ และอ้อนวอนของให้ได้เกิดในแดนบริสุทธิ์อยู่นั้น คนฉลาดก็พากันชำระใจของเขาให้สะอาดแทน เพราะเหตุว่า ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้นั้นมีอยู่ว่า "เมื่อใจบริสุทธิ์ แดนแห่งพระพุทธเจ้า ก็บริสุทธิ์พร้อมกัน

แม้ว่าพวกท่านทั้งหลายจะเป็นชาวตะวันออก ถ้าใจของท่านบริสุทธิ์ท่านก็เป็นคนไม่มีบาป อีกทางหนึ่งตรงกันข้าม ต่อให้ท่านเป็นชาวตะวันตกเสียเอง ใจที่โสมมของท่าน หาอาจช่วยให้ท่านเป็นคนหมดบาปได้ไม่ เมื่อคนชาวตะวันออกทำบาปเข้าแล้ว เขาออกนามอมิตาภะ แล้วอ้อนวอนเพื่อไปเกิดทางทิศตะวันตก ที่นี้ถ้าในกรณีที่คนบาปนั้นเป็นชาวตะวันตกเสียเองแล้ว เขาจะอ้อนวอนให้ไปเกิดที่ไหนเล่า? คนสามัญและคนเขลา ไม่เข้าใจในจิตเดิมแท้และไม่รู้จักแดนบริสุทธิ์อันมีอยู่พร้อมแล้วในตัวของตัว ดังนั้นเขาจึงปรารถนาที่จะไปเกิดทางทิศตะวันออกบ้าง ทางทิศตะวันตกบ้าง แต่สำหรับคนที่มีปัญญาแล้วที่ไหนๆก็ไม่สำคัญ เขาคงเป็นสุข และบันเทิงเริงรื่นอยู่เสมอ

ท่านทั้งหลาย เมื่อใจของท่านบริสุทธิ์จากบาปแล้ว ทิศตะวันตกก็อยู่ไม่ไกลจากที่ตรงนี้ มันลำบากนักก็อยู่ตรงที่ว่า คนใจโสมมต้องการจะไปเกิดที่นั่นด้วยการตะโกนร้องเรียกหาพระอมิตาภะเท่านั้น

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สิ่งที่จะต้องทำเป็นข้อแรกก็คือจัดการกับอกุศล 10 ประการเสียให้หมดสิ้นไป เมื่อนั้นก็เป็นอันว่าเราได้เดินทางเข้าไปแล้ว 100.000 ไมล์ ขั้นต่อไป เราจัดการกับมิจฉัตตะ 8 เสียให้สิ้นสุดก็เป็นอันว่าหนทางอีก 8.000 ไมล์นั้น เราเดินผ่านทะลุไปแล้ว (เมื่อเป็นดังนี้แดนบริสุทธิ์จะหนีไปข้างไหน) ก็ถ้าเราสามารถเห็นแจ้งขัดในจิตเดิมแท้อยู่เสมอและดำเนินตนตรงแน่วอยู่ทุกขณะแล้ว พริบตาเดียวเท่านั้นเราก็ไปถึงแดนบริสุทธิ์ได้และพบพระอมิตาภะอยู่ที่นั่น (นะโมอมิตาพุทธ)

ถ้าท่านทั้งหลายเพียงแต่ประพฤติกุศล 10 ประการเท่านั้น ท่านก็หมดความจำเป็นที่จะต้องไปเกิดที่นั่น ในฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าท่านไม่จัดการกับอกุศล 10 ประการให้เสร็จสิ้นไปแล้ว พระพุทธเจ้าองค์ไหนเล่าที่จะพาท่านไปยังที่นั่น? ถ้าท่านเข้าใจในหลักธรรม อันกล่าวถึงธรรมชาติที่ไม่มีการเกิด (ซึ่งหักเสียซึ่งวงกลมแห่งการเกิดและการตาย) ของนิกาย "ฉับพลัน" แล้ว มันจะพาท่านไปให้เห็นทิศตะวันตกได้ในอึดใจเดียว แต่ถ้าท่านไม่เข้าใจ ท่านจะไปถึงที่นั้นด้วยลำพังการออกนามอมิตาภะได้อย่างไรกันหนอ เพราะหนทาง 108,000 ไมล์นั้นมันไกลไม่ใช่เล่น เอาละท่านทั้งหลายจะพอใจไหม ถ้าอาตมาจะยกเอกแดนบริสุทธิ์มาวางไว้ตรงหน้าท่านในเดี๋ยวนี้?

ที่ประชุมได้ทำความเคารพ แล้วตอบพระสังฆปริณายกว่า ถ้าเราทั้งหลายอาจเห็นแดนบริสุทธิ์ได้ ณ ที่ตรงนี้แล้ว เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรารถนาไปเกิดที่โน่น ขอพระคุณเจ้าจงได้กรุณาให้เราทั้งหลายได้เห็นแดนบริสุทธิ์นั้น โดยยกมาวางที่นี่เถิด

พระสังฆปริณายกได้กล่าวตอบว่า ท่านทั้งหลาย เนื้อกายของเรานี้เป็นนครแห่งหนึ่ง ตา หู จมูก ลิ้นของเราเป็นประตูเมือง ประตูนอกมี 4 ประตู ประตูในมีหนึ่งประตู ได้แก่อำนาจปรุงแต่งสำหรับคิดนึก ใจนั้นเป็นแผ่นดิน จิตเดิมแท้เป็นเจ้าแผ่นดิน ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลแห่งใจ ถ้าจิตเดิมแท้อยู่ข้างใน ก็แปลว่าเจ้าแผ่นดินยังอยู่ แล้วกายและใจของเราก็ชื่อว่ายังมีอยู่ เมื่อจิตเดิมแท้ออกไปเสียแล้ว ก็ชื่อว่าเจ้าแผ่นดินไม่อยู่ กายและใจของเราก็ชื่อว่าสาบสูญไปแล้ว เราต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นพุทธะในภายในจิตเดิมแท้ และต้องไม่เสาะหาจิตเดิมแท้ในที่อื่นนอกจากตัวเราเอง ผู้ที่ถูกความเขลาครอบงำมองไม่เห็นจิตเดิมแท้นั้น จัดเป็นคนสามัญ ผู้ที่มีความสว่างมองเห็นจิตเดิมแท้ของตนเอง จัดเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ความเป็นคนมีเมตตากรุณา เป็นพระอวโลกิเตศวร (คือพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในจำนวนโพธิสัตว์สององค์ในแดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตก) การเพลินในการโปรยทาน คือพระมหาสถมะ (พระโพธิสัตว์อีองค์หนึ่ง ซึ่งคู่กัน ความสามารถทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ คือ องค์พระศากยมุนี (พระนามอีกพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้) ความสม่ำเสมอคงที่และความตรงแน่ว คือ พระอมิตาภะ ความคิดเรื่องตัวตนหรือเรื่องความมีความเป็น คือเขาพระสุเมรุ ใจที่สามานย์ ได้แก่มหาสมุทร กิเลส คือละลอกคลื่น ความชั่วคือมังกรร้าย ความเท็จคือฝีห่า อารมณ์ภายนอกอันน่าเวียนหัว คือสัตว์น้ำต่างๆ ความโลภและความโกรธ คือโลกันตนรก อวิชชาและความมัวเมา คือสัตว์เดรัจฉานทั่วไป

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ถ้าท่านประพฤติในกุศล 10 ประการอย่างมั่นคง แดนสุขาวดีก็จะปรากฏแก่ท่านในทันที เมื่อใดท่านขจัดความเห็นว่าตัวตนและความเห็นว่าเป็นนั่นเป็นนี่ออกไปเสียได้ เขาพระสุเมรุก็จะหัวคะมำพังทลายลงมา เมื่อใดจิตไม่ย้อมด้วยความชั่วอีกต่อไป เมื่อนั้นน้ำในมหาสมุทร (แห่งสังสาระ) ก็เหือดแห้งไปสิ้น เมื่อท่านเป็นอิสระอยู่เหนือกิเลส เมื่อนั้นลูกคลื่นและละลอกทั้งหลายก็สงบเงียบลง เมื่อใดความชั่วร้ายไม่กล้าเผชิญหน้าท่าน เมื่อนั้นปลาร้ายและมังกรร้ายก็ตายสิ้น

ภายในมณฑลแห่งจิตนั้น มีองค์ตถาคตแห่งความตรัสรู้ ซึ่งส่องแสงอันแรงกล้าออกมาทำความสว่างที่ประตูภายนอกทั้งหกประตู และควบคุมมันให้บริสุทธิ์ แสงนี้แรงมากพอที่จะทะลุผ่านสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้งหก และเมื่อมันย้อนกลับเข้าภายในไปยังจิตเดิมแท้ มันจะขับธาตุอันเป็นพิษทั้ง 3 อย่างให้หมดไป และชำระล้างบาปชนิดที่จะทำให้เราตกนรก หรืออบายอย่างอื่น แล้วจะทำความสว่างไสวให้เกิดแก่เราทั้งภายในและภายนอก จนกระทั่งเราไม่มีอะไรแตกต่างจากพวกที่เกิดในแดนบริสุทธิ์ ทางทิศตะวันตก ที่นี้ถ้าเราไม่ฝึกตัวเราให้สูงถึงขนาดนี้แล้ว เราจะบรรลุถึงแดนบริสุทธิ์นั้นได้อย่างไรกัน?
เมื่อที่ประชุมได้ฟังเทศนาของพระสังฆปริณายกจบลงแล้ว ต่างพากันทราบถึงจิตเดิมแท้ของตนๆอย่างแจ้งชัด ทุกคนพากันทำความเคารพ และอุทานออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า "สาธุ" เขายังได้พากันสวดมนต์ภาวนา ขอสรรพสัตว์ในสากลจักรวาลนี้ เมื่อได้ยินธรรมเทศนานี้แล้ว จงเข้าใจได้อย่างซึมซับในทันทีทันใดเถิด

พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ผู้ใดอยากทำการปฏิบัติ (ทางจิต) จะทำที่บ้านก็ได้ ไม่มีความจำเป็นสำหรับคนเหล่านั้น ที่จะต้องอยู่ในสังฆราม พวกที่ปฏิบัติตนอยู่กับบ้านนั้น อาจเปรียบกันได้กับชาวบ้านทางทิศตะวันออกที่ใจบุญ พวกที่อยู่ในสังฆราม แต่ละเลย ต่อการปฏิบัตินั้น ไม่แตกต่างอะไรกันกับชาวบ้านที่อยู่ทางทิศตะวันตก แต่ใจบาป จิตบริสุทธิ์ได้เพียงใด มันก็เป็น "แดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตก กล่าวคือ จิตเดิมแท้ของบุคคลนั้นเอง" เพียงนั้น

ข้าหลวงไว่ได้เรียนถามขึ้นว่า เราทั้งหลายควรฝึกตัวอย่างไรเมื่ออยู่ที่บ้าน ขอพระคุณเจ้าโปรดสั่งสอนเถิด

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า อาตมาจะสอนโศลก ว่าด้วย นิรรูป ให้สักหมวดหนึ่ง ถ้าท่านทั้งหลายเก็บเอาข้อความออกมาปฏิบัติตามแล้ว ท่านก็จะอยู่ในสภาพเช่นเดียวกันกับพวกที่อาศัยอยู่กับอาตมาเนืองนิจเหมือนกัน ในทางตรงข้าม ถ้าท่านทั้งหลายไม่ปฏิบัติมัน ท่านก็จะหาความเจริญในทางจิตไม่ได้ แม้ว่าท่านจะโกนหัว และสละบ้านเรือนออกแสวงบุญ (คือบวชเป็นพระ โศลกนั้น มีดังต่อไปนี้

ผู้มีใจเที่ยงธรรม การรักษาศีลไม่เป็นของจำเป็น
ผู้มีความประพฤติตรงแน่ว การปฏิบัติในทางฌานมันจะมีมาเอง (แม้จะไม่ตั้งใจทำ)
สำหรับหลักแห่งการกตัญญูกตเวทีนั้น เราอุปัฏฐากบิดามารดา รับใช้ท่านอย่างฐานลูก
สำหรับหลักแห่งความเป็นธรรมนั้น ผู้ยิ่งใหญ่กับผู้ต่ำต้อยยืนเคียงข้างอาศัยกันและกัน (ในคราวคับขัน)
สำหรับหลักแห่งความปรารถนาดีต่อกันนั้น ผู้อาวุโสกับผู้อ่อนอาวุโส ต้องสมัครสมานกัน
สำหรับหลักแห่งขันตินั้น เราไม่ให้มีการทะเลาะเบาะแว้ง แม้จะตกอยู่ในท่ามกลางของหมู่อมิตรอันกักขฬะ
ถ้าเรามีความเพียร รอคอยจนได้ไฟอันเกิดจากการเอาไม้มาสีกัน
เมื่อนั้น บัวสีแดง(พุทธภาวะ) ก็จะโผล่ออกมาเองจากตมสีดำ(ความมืดมนก่อนตรัสรู้)
สิ่งที่มีรสขม ย่อมถูกใช้เป็นยาดี
สิ่งที่ฟังแล้วไม่ไพเราะหู นั้นคือคำตักเตือนอันจริงใจของผู้เตือนที่แท้จริง
จากการแก้ไขความผิดให้กลับเป็นความถูก เราย่อมได้รับสติปัญญา
โดยการต่อสู้เพื่อรักษาความผิดของตัวไว้ เราแสดงนิมิตแห่งความมีจิตผิดปรกติออกมา
ในวันหนึ่งๆที่ชีวิตล่วงไปเราควรปฏิบัติความไม่เห็นแก่ตัวอยู่ตลอดเวลา
แต่ว่าพุทธภาวะนั้น ไม่มีหวังที่จะได้มาจากการให้เงินเป็นทาน
โพธิปัญญานั้น หาพบได้เฉพาะจากภายในใจของเราเอง
และไม่มีความจำเป็นที่จะเสาะหาความจริง อันเด็ดขาดของพระศาสนาจากภายนอก
ผู้ซึ่งได้ฟังโศลกนี้แล้ว นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
จะประสบแดนสุขาวดีอยู่ตรงเบื้องหน้าเขา นั่นแล.

พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ท่านทุกคนจงปฏิบัติตามคำสอนที่กล่าวไว้ในโศลกนี้เถิด เพื่อว่าท่านจะได้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้ และลุถึงพุทธภาวะได้โดยตรงๆ พระธรรมไม่คอยใคร อาตมาก็กำลังจะกลับไปโซกายเดี๋ยวนี้ ท่านทั้งหลายจงเลิกประชุมเถิด ถ้าท่านยังมีปัญหาใดๆ ท่านจงไปถามที่นั่นเถิด

ในการได้สมาคมกันคราวนี้ ท่านข้าหลวงไว่ ข้าราชการ คนใจบุญและสุภาพสตรีผู้อุทิศเคร่งครัดทั้งหลาย ผู้ได้มาร่วมประชุม ณ ที่นั้น ได้เกิดความสว่างไสวทุกคน เขารับคำสอนไปปฏิบัติด้วยความซื่อตรงแน่วแน่.

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2063 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 10:15:10 »

โศลก(คาถา) หมวดที่ 1
ว่าด้วย ชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง
ของ พระสังฆปริณายกองค์ที่ หก : ปรมาจารย์เว่ยหล่าง

"ไม่มีต้นโพธิ์
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับอะไร?"

อาตมาจึงไปที่ห้องท่าน ท่านใช้จีวรขึ้นขึงบังมิให้ใครเห็นเราทั้งสองแล้ว ท่านก็ได้อธิบายข้อความอันลึกซึ้งในวัชรสูตร(กิมกังเก็ง) ให้แก่อาตมา เมื่อท่านได้อธิบายมาถึงข้อความที่ว่า

"คนเราควรจะใช้จิตของตน ในวิถีทางที่มันจะเป็นอิสระได้จากเครื่องข้องทั้งหลาย" ทันใดนั้นอาตมาก็ได้บรรลุการตรัสรู้ธรรมโดยสมบูรณ์ และได้เห็นแจ้งชัดว่า "ที่แท้ทุกๆ สิ่งในสากลโลกนี้ก็คือตัว จิตเดิมแท้ นั่นเองมิใช่อื่นไกล"

อาตมาได้ร้องขึ้นในที่เฉพาะหน้าพระสังฆปริณายก ในที่นั้นว่า
 
"แหม! ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นของบริสุทธิ์อย่างบริสุทธิ์แท้จริง

ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจ ความต้องเป็นอยู่ หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง
 
ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเอง อย่างสมบูรณ์แท้จริง
 
ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเปลี่ยนแปลง อย่างนอกเหนือแท้จริง
 
ใครจะไปคิดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานี้ ไหลเทออกมาจากตัว จิตเดิมแท้"


เมื่อพระสังฆปริณายก สังเกตเห็นว่า อาตมาได้เห็นแจ้งแล้วใน จิตเดิมแท้ ท่านได้กล่าวว่า

"สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักจิตใจของตนเอง ว่าคืออะไร ก็ป่วยการที่ผู้นั้นจะศึกษาพุทธศาสนา ตรงกันข้าม ถ้าผู้ใดรู้จักจิตใจของตนเองว่าเป็นอะไร และเห็นด้วยปัญญาอย่างซึมซับว่า ธรรมชาติแท้ของตนเองคืออะไรด้วยแล้ว ผู้นั้นคือวีรมนุษย์(นายโรงโลก) คือครูของเทวดาและมนุษย์ คือพุทธะ"



โศลก(คาถา) หมวดที่ 2
ว่าด้วย-ปรัชญา
ของ พระสังฆปริณายกองค์ที่ หก : ปรมาจารย์เว่ยหล่าง

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย อาตมามีโศลกอันกล่าวถึง "นิรรูป" อยู่หมวดหนึ่ง สำหรับท่านทั้งหลายท่องบ่นกัน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตควรปฏิบัติตามคำสอนซึ่งมีอยู่ในโศลกนั้น ซึ่งถ้าปราศจากการปฏิบัติเสียแล้วมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร ในการที่จะจำเอาถ้อยคำของอาตมาไปเปล่าๆ ท่านทั้งหลายจงคอยฟังโศลก ดังต่อไปนี้:-

"อาจารย์ผู้บัญญัติคัมภีร์พุทธธรรม รวมทั้งคำสอนในสำนักนิกายธยานนี้ด้วย
อาจเปรียบกันได้กับดวงอาทิตย์ ซึ่งกำลังแผดแสงจ้า อยู่ ณ กึ่งกลางนภากาศ
บุคคลเช่นนี้จักไม่สอนอะไร นอกจากธรรมะเพื่อให้เห็นแจ้ง จิตเดิมแท้ อย่างเดียว
และความมุ่งหมายในการที่ท่านมาสู่โลกนี้ ก็เพื่อขจัดพรรคมิจฉาทิฏฐิฯ

เราจะแบ่งแยกธรรมปฏิบัติ ออกเป็นชนิด "ฉับพลัน" และชนิด "เชื่องช้า" ได้โดยยากก็จริง
แต่ก็ยังมีคนบางพวก ที่จะรู้แจ้งได้เร็วกว่าคนพวกอื่นมากฯ
ตัวอย่างเช่นธรรมปฏิบัติระบอบนี้ ที่สอนมุ่งให้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้เป็นระบอบที่คนโฉดเขลา
จะเข้าใจไม่ได้ฯ

เราอาจจะอธิบายหลักธรรมะระบอบนี้ได้โดยวิธีต่างๆ ตั้ง 10,000 วิธี
แต่ว่าคำอธิบายทั้งหมดนั้น อาจจะลากให้หวนกลับมาสู่หลักดุจเดียวกันได้ฯ

การที่จะจุดไฟให้สว่างขึ้น ในดวงหฤทัยอันมืดมัว เพราะเกรอะกรังไปด้วยกิเลสนั้น
เราจักต้องดำรงแสงสว่างแห่งปรัชญา ไว้เนืองนิจฯ

มิจฉาทิฏฐิ ย่อมทำเราให้ติดจมอยู่ในห้วงกิเลสฯ
ส่วนสัมมาทิฏฐิ ย่อมเปลื้องเราออกจากกองกิเลสนั้นฯ
แต่เมื่อใด เราอยู่ในฐานะที่เหนือไปกว่าทิฏฐิทั้งสองอย่างนี้
เมื่อนั้น เราย่อมบริสุทธิ์ โดยเด็ดขาดฯ

โพธิ เป็นสิ่งมีประจำอยู่แล้วภายใน จิตเดิมแท้ ของเรา
การพยายามมองหาโพธิจากที่อื่นนั้น เป็นความเขลาฯ

จิตที่บริสุทธิ์นั้น จะหาพบได้ภายในจิตอันไม่บริสุทธิ์ของเรา นั่นเอง
ในทันใดที่เราดำรงจิตถูกต้อง เราย่อมเป็นอิสระจากสิ่งบดบัง 3 ประการ
( คือ กิเลส บาปกรรม และการต้องทนใช้บาปอยู่ในนรก)

ถ้าเราเดินอยู่ในมรรคาแห่งการตรัสรู้
เราไม่จำต้องกลุ้มใจด้วยสิ่งที่จะทำให้เราสะดุดล้มฯ

ถ้าเราคอยสอดส่ายตา ระวังความผิดของเราเองอยู่เสมอ
เราก็เดินไถลออกไปนอกหนทางที่ถูกไม่ได้ฯ
เพราะเหตุที่ชีวิตทุกๆแบบ ย่อมมีวิถีทางแห่งความรอดพ้นเฉพาะของมันเอง ทุกแบบ

ฉะนั้น ชีวิตทั้งหลายจะไม่ก้าวก่าย หรือกระทบกระทั่งซึ่งกันและกันฯ

แต่ถ้าเราผละไปจากทางชนิดที่เป็นของเรา ไปแสวงหาทางอื่นเพื่อจะรอดพ้น
เราจะไม่พบความรอดพ้นได้เลย
แม้ว่าเราจะหาเรื่อยไป จนกระทั่งความตายมาถึงเราก็ดี
ในที่สุด เราจะพบแต่ความรู้สึกเสียใจภายหลังว่า เราทำพลาดไปแล้วฯ

ถ้าท่านปรารถนาจะค้นหางทางที่ถูกต้อง
การทำให้ถูกวิธีจริงๆ เท่านั้น ที่จะนำท่านดิ่งไปถึงได้
แต่ถ้าท่านไม่มีการดิ้นรนเพื่อลุถึงพุทธภูมิ
ท่านก็จะมัวคลำคว้าอยู่ในที่มืด และไม่มีโอกาสพบเลยฯ

ผู้ที่ด่วนเดินมุ่งแน่วไปตามทางที่ถูกต้องนั้น
ย่อมไม่มองเห็นความผิดต่างๆ ในโลกนี้

ถ้าเราพบความผิดในบุคคลอื่น
เราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกันฯ
เมื่อผู้อื่นทำผิด เราไม่จำต้องเอาใจใส่
เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเอง ในการที่จะไปรื้อหาความผิดฯ
โดยการสลัดนิสัยที่ชอบค้นหาความผิดของคนอื่น ออกไปเสียจากสันดาน
เราย่อมตัดวิถีทางการมาของกิเลส ได้เป็นอย่างดีฯ

เมื่อใดความชัง (คนเกลียด) และความรัก (คนรัก) ไม่กล้ำกรายใจของเรา
เราหลับสบายฯ

บุคคลใด ตั้งใจจะเป็นครูสอนคนอื่น
เขาเองควรจะมีความคล่องแคล่วในวิธีเหมาะสมนานาประการ ที่จะนำผู้อื่นเข้าถึงความสว่างฯ
เมื่อศิษย์พ้นจากความสงสัยสนเท่ห์ โดยประการทั้งปวง
มันย่อมแสดงว่า เขาได้พบ จิตเดิมแท้ ของเขาแล้วฯ

จักรวรรดิของพระพุทธเจ้าอยู่ในโลกนี้
ซึ่งเราจะพบความสว่างไสวได้ ในเขตนั้นฯ
การเสาะแสวงหาความสว่างไสว ในที่อื่นจากโลกนี้
เป็นของพิลึกกึกกือ เหมือนการเที่ยวหาเขากระต่ายฯ

สัมมาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า "เลิศเหนือโลก"
มิจฉาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า "ข้องอยู่ในโลก"
เมื่อใดทิฏฐิทั้งสองอย่าง ไม่ว่าสัมมาหรือมิจฉา ถูกสลัดพ้นออกไป
เมื่อนั้นโพธิแท้ ย่อมปรากฏ ฯ

โศลกนี้มีไว้สำหรับพวก "นิกายฉับพลัน"
และโศลกนี้ ยังถูกขนานนามว่า "มหาธรรมนาวา" (เพื่อแล่นข้ามฝั่งสังสารวัฏ)
กัลป์แล้วก็กัลป์เล่า คงตกอยู่ภายใต้ความมืดบอด
แต่ครั้นถึงคราวตรัสรู้ มันกินเวลาแวบเดียวเท่านั้น เขาก็เข้าถึงพุทธภูมิฯ



โศลก(คาถา) หมวดที่ 3
ว่าด้วยข้อปุจฉา-แลวิสัชนา
ของ พระสังฆปริณายกองค์ที่ หก : ปรมาจารย์เว่ยหล่าง

พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า อาตมาจะสอนโศลก ว่าด้วย นิรรูป ให้สักหมวดหนึ่ง ถ้าท่านทั้งหลายเก็บเอาข้อความออกมาปฏิบัติตามแล้ว ท่านก็จะอยู่ในสภาพเช่นเดียวกันกับพวกที่อาศัยอยู่กับอาตมาเนืองนิจเหมือนกัน ในทางตรงข้าม ถ้าท่านทั้งหลายไม่ปฏิบัติมัน ท่านก็จะหาความเจริญในทางจิตไม่ได้ แม้ว่าท่านจะโกนหัว และสละบ้านเรือนออกแสวงบุญ (คือบวชเป็นพระ) โศลกนั้น มีดังต่อไปนี้

ผู้มีใจเที่ยงธรรม การรักษาศีลไม่เป็นของจำเป็น

ผู้มีความประพฤติตรงแน่ว การปฏิบัติในทางฌานมันจะมีมาเอง (แม้จะไม่ตั้งใจทำ)

สำหรับหลักแห่งการกตัญญูกตเวทีนั้น เราอุปัฏฐากบิดามารดา รับใช้ท่านอย่างฐานลูก

สำหรับหลักแห่งความเป็นธรรมนั้น ผู้ยิ่งใหญ่กับผู้ต่ำต้อยยืนเคียงข้างอาศัยกันและกัน (ในคราวคับขัน)

สำหรับหลักแห่งความปรารถนาดีต่อกันนั้น ผู้อาวุโสกับผู้อ่อนอาวุโส ต้องสมัครสมานกัน

สำหรับหลักแห่งขันตินั้น เราไม่ให้มีการทะเลาะเบาะแว้ง แม้จะตกอยู่ในท่ามกลางของหมู่อมิตรอันกักขฬะ

ถ้าเรามีความเพียร รอคอยจนได้ไฟอันเกิดจากการเอาไม้มาสีกัน
เมื่อนั้น บัวสีแดง(พุทธภาวะ) ก็จะโผล่ออกมาเองจากตมสีดำ(ความมืดมนก่อนตรัสรู้)

สิ่งที่มีรสขม ย่อมถูกใช้เป็นยาดี

สิ่งที่ฟังแล้วไม่ไพเราะหู นั้นคือคำตักเตือนอันจริงใจของผู้เตือนที่แท้จริง

จากการแก้ไขความผิดให้กลับเป็นความถูก เราย่อมได้รับสติปัญญา

โดยการต่อสู้เพื่อรักษาความผิดของตัวไว้ เราแสดงนิมิตแห่งความมีจิตผิดปรกติออกมา

ในวันหนึ่งๆที่ชีวิตล่วงไปเราควรปฏิบัติความไม่เห็นแก่ตัวอยู่ตลอดเวลา

แต่ว่าพุทธภาวะนั้น ไม่มีหวังที่จะได้มาจากการให้เงินเป็นทาน

โพธิปัญญานั้น หาพบได้เฉพาะจากภายในใจของเราเอง
และไม่มีความจำเป็นที่จะเสาะหาความจริง อันเด็ดขาดของพระศาสนาจากภายนอก

ผู้ซึ่งได้ฟังโศลกนี้แล้ว นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
จะประสบแดนสุขาวดีอยู่ตรงเบื้องหน้าเขา นั่นแล.

พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ท่านทุกคนจงปฏิบัติตามคำสอนที่กล่าวไว้ในโศลกนี้เถิด เพื่อว่าท่านจะได้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้ และลุถึงพุทธภาวะได้โดยตรงๆ พระธรรมไม่คอยใคร อาตมาก็กำลังจะกลับไปโซกายเดี๋ยวนี้ ท่านทั้งหลายจงเลิกประชุมเถิด ถ้าท่านยังมีปัญหาใดๆ ท่านจงไปถามที่นั่นเถิด
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2064 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 10:28:19 »

อ้างถึง
ข้อความของ lek_adisorn เมื่อ 12 พฤษภาคม 2554, 08:17:48
อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 07 พฤษภาคม 2554, 13:40:20
มารับธรรม ตอนบ่ายค่ะพี่สิงห์

ยินดี กับหลานนะด้วย ยินดีต้อนรับน้องใหม่ จุฬาค่ะ

 น้องติ๋ม พี่ตกข่าวค่ะ เพิ่งเห็นข่าว และได้อ่าน วันนี้เอง เพิ่งทราบว่าเป็นแถวบ้านน้องติ๋มด้วย เป็นอย่างไรบ้างค่ะ
เอาใจช่วยนะคะ  ขนข้าวของหายเหนื่อยบ้างหรือยัง
หากกลับบ้านปลอดภัย เก็บข้าวของเรียบร้อยดีแล้ว  หายเหนื่อยแล้วก็ส่งข่าวมาบ้างนะคะ เป็นห่วงค่ะ
พี่รู้ดีว่าขนของหนีน้ำท่วมมันสาหัส และทุกข์ใจค่ะ

สวัสดีครับพี่เอมอร, พี่ติ๋ม จันทร์ฉาย ขอพระคุณมากครับ ป้าน้องนะก็คือพี่มุกดา บัญชี 15 ครับ พี่มุกดาได้เข้ามาดูอยู่เรื่อยครับแต่คงจะไม่ได้โพส์ท  งานคงยังยุ่งอยู่ครับ

อ้าว คนใกล้ตัวนี่เอง
 ดีใจจัง
 เป็นญาติชิดกันอีกชั้นนะคะ หลานนะ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2065 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 10:29:33 »

สวัสดี ค่ะ พี่สิงห์
 ได้รับความรู้เรื่องวันพืชมงคลอย่างมาก ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2066 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 10:53:08 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 13 พฤษภาคม 2554, 10:29:33
สวัสดี ค่ะ พี่สิงห์
 ได้รับความรู้เรื่องวันพืชมงคลอย่างมาก ค่ะ
สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
            พระสูตรของ สังฆปริณายกองค์ที่หก ปรมาจารย์เว่ยหล่าง โดยเฉพาะโศลก(คาถา) ของท่านน่าใส่ใจเอามาปฏิบัติอย่างยิ่ง ในวิถีชีวิตของเรา ถึงแม้คนละนิกาย แต่เป็น "ธรรม" จริง ครับ
            รักษาสุขภาพด้วย เมื่อเช้าพี่สิงห์บังคันให้คุณหมอสรรเสริญ ต้องมาเดินกับพี่สิงห์ รำ TAI CHI และฝึกโยคะ รวมทั้งให้ดูว่า พี่สิงห์รับประทานอาหารเช้าอย่างไร? เพราะคุณหมอสรรเสริญลูกยังเล็ก แต่ตัวเองเป็นเบาหวาน ความดัน เสียแล้ว น้ำหนักตัว 90 กิโลกรัม ชาตามนิ้วเท้า ปวดตามข้อ เคลื่อนไหวไม่คล่อง เป็นเพราะอาหาร และการไม่ออกกำลังกาย โดยมีข้ออ้างสารพัดจะอ้างกับตัวเองที่จะต้องกินแบบนั้น และไม่มีเวลาออกกำลังกาย พี่สิงห์ให้ดูตัวพี่สิงห์ ทำไม?มีเวลาให้เสมอกับการออกกำลังกาย และงดเว้นอาหารที่ไม่มีประโยชน์และกินมากเกินไปได้ เพราะพี่สิงห์ตัดใจได้ และให้ความสำคัญกับมากมากที่สุดในขณะนี้ คือ การกิน ออกกำลังกาย พักผ่อน และจิตที่ผ่องใส เรื่องอื่นๆ เป็นรองหมด ยกเว้น "แม่" เท่านั้นครับ ความรู้จักพอเพียง สามารถช่วยเราได้ ครับ
                   สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2067 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 11:18:13 »


ดีใจแทน สรรเสริญ ค่ะ
 ที่พี่สิงห์ห่วงใย ดูแลแนะนำสิ่งที่ดีๆให้ค่ะ
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2068 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 14:41:04 »


...เข้ามาตามอ่านค่ะ...พี่สิงห์...

...ตู่กำลังฝึกหายใจเข้ารูนึง...ออกรูนึงค่ะ...ตามแบบที่พี่สิงห์สอน...

...ขอบพระคุณสำหรับธรรมะดีๆที่พี่สิงห์มอบให้ค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2069 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 16:30:16 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 13 พฤษภาคม 2554, 14:41:04

...เข้ามาตามอ่านค่ะ...พี่สิงห์...

...ตู่กำลังฝึกหายใจเข้ารูนึง...ออกรูนึงค่ะ...ตามแบบที่พี่สิงห์สอน...

...ขอบพระคุณสำหรับธรรมะดีๆที่พี่สิงห์มอบให้ค่ะ...

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก
            เช้า หรือเย็น เธอควรจะชวนพี่หมอประสิทธิ์ เดินครั้งละหนึ่งชั่วโมง และฝึกหายใจจมูกเดียว ทุกวัน แต่มีข้อแม้ ห้ามเธอกินแยะ โดยเฉพาะภายหลังเดินเสร็จ เพราะจะอร่อยทุกอย่างที่ขวางหน้า เลยกินมาก ขาดความยับยั้งชั่งใจ
            สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #2070 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 20:40:48 »

พี่สิงห์ที่เคารพ
สวัสดีตอนเช้าของติ๋มค่ะ ส่ง e-mail ไปแล้วค่ะ จะตั้งตาคอยอ่านค่ะ
"เพื่อนทางธรรมนั้นเป็นเพื่อนที่ประเสริฐยิ่ง"

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 13 พฤษภาคม 2554, 08:18:21
อ้างถึง
ข้อความของ ติ๋ม จันทร์ฉาย เมื่อ 13 พฤษภาคม 2554, 03:19:00
ขอบพระคุณพี่สิงห์ค่ะ นี่คือจุดมุ่งหมายหลักที่ติ๋มกำลังหามาเป็นเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาค่ะ
"ลืมระเบียบพิธีต่างๆทางพุทธศาสนา ลืมความคิดดิ่งๆด้านเดียว ที่ตนเคยยึดถือ กระทั่งลืมความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย คงเอาไว้แต่ใจล้วนๆของมนุษย์ ซึ่งไม่จำกัดว่าชาติใดภาษาใด หรือถือศาสนาไหน เป็นใจซึ่งกำลังทำการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า "ทำอย่างไร จิตของมนุษย์ทุกคนในลักษณะที่เป็นสากลนี้ จักหลุดพ้นจากความบีบคั้นหุ้มห่อพัวพันได้โดยสิ้นเชิง?" เท่านั้น"


สวัสดีค่ะ คุณน้องจันทร์ฉาย ที่รัก
                   คำว่า "พุทธ" หรือ "ธรรมญาณ" หรือ "จิตเดิมแท้" หลวงพ่อเทียน ปรมาจารย์เว่ยหล่าง ยืนยันว่า มีแล้วในคนทุกคนไม่ยกเว้น ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด นับถือศาสนาไหน เพียงแต่ "อวิชชา" มาห่อหุ้มจิตไว้ ทำให้เรามองไม่เห็น "จิต" ที่แท้จริงของเรา ที่เป็นจิตบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลศ เป็นจิตที่ว่างเปล่า ดังนั้นเราปฏิบัติธรรมเพื่อกลับไปสู่จุดนั้น ด้วยตัวของเราเอง เป็นการทวนกระแสความคิด คือ ไม่กระทำตามที่จิตมันปราถนา เราเป็นทาษความคิด(โมหะ) มานานมากแล้ว พยายามสลัดมันให้หลุด ใช้ความเพียร และปัญญา เอาชนะมันให้ได้ ศาสนพิธีมันเป็นเพียงรูปแบบที่ปฏิบัติกันมา หามีความสำคัญไม่ การทำให้เรารู้ตัวทั่วพร้อมทั้งกาย-ใจ โดยเฉพาะจิตของเรา สำคัญที่สุด
                    อย่าลืมหลวงพ่อเทียน ปรมาจารย์เว่ยหล่าง ไม่รู้หนังสือทั้งสองท่าน แต่ท่านสามารถพบ "พุทธ" เพียงอึดใจเดียวเท่านั้น จากการเฝ้าดูจิตตัวเองอย่างเดียว จนค้นพบได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า เพียงแต่เป็นปราชญ์ต่างกันเท่านั้น
                    พี่สิงห์ยินดีด้วยที่เธอสามารถที่จะค้นพบสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองได้ พี่สิงห์ได้รับ mail จากท่านขุน เป็นหนังสือ ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ To One  That Feels ของหลวงพ่อเทียน ภ้าเธอส่ง Email มาที่ singhamanop@gmail.com พี่สิงห์จะส่งไปให้เธอเพื่อให้คนรอบกายเธอที่เป็นอเมริกันสามารถอ่านได้ครับ
                    การปฏิบัติธรรมนั้น มีรูปแบบหลากหลายวิธี เราต้องหาให้พบรูปแบบที่เหมาะกับจริตของเรา หรือคิดวิธีขึ้นมาสำหรับตัวเรา พี่สิงห์ก็หาวิธีให้ตัวเอง อย่าไปยึดติดกับหลวงพ่อองค์นั้น องค์นี้ ที่ถูกจริตคือ เราทำแล้วสบายใจ จิตเป็นสมาธิ มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม สบายทั้งกายและใจ จิตผ่องใส นั่นละเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด อย่าไปเชื่อใครทั้งสิ้น จงเชื่อปัญญาตัวเอง ผู้อื่นเป็นเพียงผู้แนะนำตามที่เขาเคยปฏิบัติมา ได้ผลหรือไม่เราไม่รู้ เราต้องรู้ด้วยตัวเอง จาก ความเพียร ปัญญา ของเราเอง เพราะเราจะทราบผลด้วยตัวเอง ครับ
                    สวัสดี
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2071 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2554, 21:35:59 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องจันทร์ฉาย ที่รัก
                       พี่สิงห์ส่งไปให้แล้ว ครับ ถ้าเธอยังหาวิธีปฏิบัติธรรมแบบไหนไม่ได้ พี่สิงห์แนะนำแนวทางเจริญสติของหลวงพ่อเทียน ครับ ไม่มีพิธีรีตองใดๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าชาติใด ศาสนาใด ปฏิบัติได้หมด เพียงรักษาจิตให้รู้ตัวทั่วพร้อม อยู่กับปัจจุบัน จนสติเป็นสมาธิแล้วเฝ้าดูจิตของเราเท่านั้น อย่าเพ่ง อย่าเผลอเป็นทาษความคิดตัวเอง ให้ "รู้ซื่อ ๆ" อย่างนี้ละสามารถที่จะค้นพบ "พุทธ" ด้วยตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องมีครูแนะนำ ทำที่บ้านได้ เพียงแต่ระวังวิปัสนู เท่านั้น ลองทำดูครับ
                       ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2072 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2554, 07:38:27 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                        เช้านี้เรามาต่อกันที่ พระสูตร หมวดที่ ๔ ว่าด้วย สมาธิ และ ปรัชญา ของท่านสังฆปริณายกองค์ที่ หก : ปรมาจารย์เจ้าลัทธิเซ็น ท่านเว่ยหล่าง กันครับ อย่าลืมท่านต้องอ่านด้วยการมีสติ(สร้างความรู้สึกตัว เช่นเอาปลายนิ้วโป้งสมผัสกับปลายนิ้วชี้ วนไปวนมา สร้างอิริยาบถย่อยให้มีสติตลอดเวลา) และใช้ปัญญาไตร่ตรอง ครับ
                        ผมเองอ่านแล้วอ่านอีกถึงแม้จะเข้าใจดี แต่ความรู้ที่ได้จากการอ่านมันจำได้อยาก จึงต้องทบทวนอ่านหลายๆ ครั้ง ไม่เหมือนกับสิ่งที่เราลงมือทำเอง หรือคิดขึ้นเองด้วยปัญญาที่มันรู้ขึ้นมา อันนั้นมันจำด้วยความรู้สึกที่ไม่รู้ลืมเลย ครับ
                        โชคดีทุกท่านครับ สวัสดี


พระสูตรเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุแปล

หมวดที่ 4
ว่าด้วย สมาธิ และปรัชญา*16
******************

*16 คำว่าปรัชญา ทางฝ่ายมหายานนั้น ตรงกับคำว่าปัญญา ในฝ่ายเถรวาท แต่คำปรัชญาในที่นี้มิได้เป็นคำเดียวกับปรัชญาในภาษาไทย ซึ่งใช้เป็นคำแปลของคำว่าคิดกัน Philosophy ในมหายานใช้รูปศัพท์สันสกฤตเช่นนั้นเอง (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

ในสมัยอื่นอีก พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ในระบบคำสอนของอาตมานั้น สมาธิ และปรัชญา นับว่าเป็นหลักสำคัญ แต่ท่านทั้งหลายอย่าได้เข้าใจผิดไปว่า ธรรมะข้อนี้แยกจากกันได้เป็นอิสระ เพราะเหตุว่ามันเป็นของรวมอยู่ด้วยกันอย่างที่จะแยกกันไม่ได้ และมิใช่เป็นของสองอย่าง ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความเป็นของตัวเอง สมาธินั่นแหละคือตัวจริงของปรัชญา ในเมื่อปรัชญาเป็นแต่เพียงอาการไหวตัวของสมาธิ ในขณะที่เราได้ปรัชญา สมาธิก็มีพร้อมอยู่ในนั้นแล้ว หรือจะกล่าวกลับกันว่า เมื่อมีสมาธิ เมื่อนั้นก็มีปรัชญา ดังนี้ก็ได้ ถ้าท่านทั้งหลายเข้าใจหลักอันนี้ ก็แปลว่าท่านเข้าใจความสัมพันธ์อันมีส่วนเสมอกันระหว่างสมาธิกับปรัชญา ผู้ศึกษาไม่ควรจะไปคิดว่า มันมีอะไรแตกต่างกันในระหว่างคำว่า "สมาธิให้เกิดปรัชญา" กับคำว่า "ปรัชญาให้เกิดสมาธิ" การถือความเห็นว่าแยกกันได้นั้น ย่อมส่อว่ามันมีอะไรที่เด่นๆ อยู่ถึงสองฝักสองฝ่าย ในธรรมะนี้

สำหรับบุคคลที่ลิ้นของเขาพูดได้ไพเราะ แต่ใจของเขาไม่สะอาดนั้น สมาธิและปรัชญาไม่มีประโยชน์อะไรแก่เขา เพราะสมาธิและปรัชญาของเขาไม่มีทางจะสมส่วนสัมพันธ์กันได้เลย อีกทางหนึ่งซึ่งตรงกันข้าม คือถ้าทั้งใจและดีทั้งถ้อยคำที่พูด ทั้งกิริยาอาการภายนอกกับความรู้สึกในใจก็ประสานกลมกลืนกันแล้ว นั่นแหละคือกรณี สมาธิและปรัชญา ได้สัมพันธ์กันอย่างสมส่วน

การโต้แย้งกันนั้น ไม่จำเป็นต้องเกิดแก่นักศึกษา ที่มีความสว่างไสวแล้ว การมัวเถียงกันว่าปรัชญาเกิดก่อน หรือสมาธิเกิดก่อนนั่นแหละ จะทำให้ผู้นั้นตกอยู่ในภาวะเช่นเดียวกับคนที่ถูกอวิชชาครอบงำทั้งหลาย การเถียงกันย่อมหมายถึงความดิ้นรนจะเป็นฝ่ายชนะ ย่อมเสริมกำลังให้แก่ความยึดมั่น ถือมั่นว่าตัวตน และย่อมจะผูกพันเราไว้กับความยึดถือ ด้วยความสำคัญ      ว่าตัวตน ว่าสัตว์ ว่าชีวะ ว่าบุคคล

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย สมาธิและปรัชญานั้น ควรจะเปรียบกับอะไรเล่า? ธรรมะสองชื่อนี้ ควรจะเปรียบกันกับตะเกียง และแสงของมันเอง มีตะเกียง ก็มีแสง ไม่มีตะเกียงมันก็มืด ตะเกียงนั่นแหละคือตัวการแท้ของแสงสว่าง และแสงสว่างเป็นแต่สิ่งซึ่งแสดงออกของตะเกียง โดยชื่อ ฟังดูเป็นสองอย่าง แต่โดยเนื้อแท้แล้ว มันเป็นของอย่างเดียวกัน และทั้งเป็นของอันเดียวกันด้วย กรณีเช่นนี้แหละ ได้กับสมาธิและปรัชญา

ในสมัยอื่นอีก พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย การบำเพ็ญ "สมาธิที่ถูกวิธี" นั้น ได้แก่การทำให้เป็นระเบียบตายตัว เพื่อให้เราเป็นคนตรงแน่วในทุกโอกาส ไม่ว่าคราวเดิน ยืน นั่ง หรือนอน วิมลเกียรฺตินิเทศสูตร มีข้อความว่า "ความเป็นผู้ตรงแน่วนั่นแหละคือเมืองอริยะ "แดนบริสุทธิ์" ท่านทั้งหลายจงอย่าปล่อยใจให้คตเคี้ยวไปมา และอย่าประพฤติความตรงแน่ว เพียงสักว่าที่ริมฝีปาก เราต้องบำเพ็ญให้ตรงแน่วจริงๆ และไม่ผูกพันตัวเองไว้กับสิ่งใดๆ คนพวกที่งมงายอยู่ภายใต้อวิชชา ย่อมเชื่ออย่างดื้อดึงไปตามตัวหนังสือ(*17) ฉะนั้นเขาจึงรั้นที่จะแปล เอาตามชอบใจของตัวเอง ในการแปลคำว่า "สมาธิที่ถูกวิธี"
 
*17คำนี้ไม่สามารถแปลไปตามต้นฉบับซึ่งมีอยู่ว่า ".....ย่อมเชื่ออย่าดื้อดึงในธรรมลักษณะ...." เพราะจะไม่ทำให้ผู้อ่านจับใจความอย่างใดได้เลย จึงถอดใจความอย่างง่ายเสียทีเดียว และแปลว่าเชื่อตามตัวหนังสือ คำว่า "ธรรมลักษณะ"นี้ หาคำแปลยากที่สุดแม้ นายว่อง มูล่ำ เองก็ถึงกับแปลแตกต่างกันทุกแห่ง ทั้งสามแห่ง แต่ข้าพเจ้าได้พยายาม ทบทวนดูแล้ว จึงแปลอย่างนี้โดยอาศัยหลักคู่แรกของ ธรรมลักษณะ คือคำพูด กับตัวธรรมจริง นายว่องมูล่ำ ไม่แปล ใช้ทับศัพท์เอาแล้ววงเล็บไว้ว่า (Thing and Form) ซึ่งไม่ทำความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านทั่วไปได้เลย (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

ซึ่งเขาเหล่านั้นพากันแปลว่า "นั่งอย่างเงียบติดต่อกันไป โดยไม่ยอมให้ความคิดอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในจิต" การแปลความหมายเช่นนี้ เป็นการจัดตัวเราเองให้ลงไปอยู่ในชั้นเดียวกับวัตถุที่ไร้ชีวิตวิญญาณทั้งหลาย และยังจะกลายเป็นสิ่งสะดุดเกะกะกีดขวางหนทางตรง อันเราพึงทำให้เปิดโล่งอยู่เสมอ ถ้าเราทำใจของเราให้พ้นจากการข้องแวะในสิ่งทั้งหลายทุกสิ่งได้แล้ว ทางนั้นก็จะเตียนโล่ง ถ้าไม่อย่างนั้น ชื่อว่าขัง(*18) ตัวเราเอง ถ้าหากว่าคำแปลที่ว่า
 
*18 ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เรียนถามพระอาจารย์ในนิกายธยาน ชื่อเช็กตาว ผู้สืบต่อมาจากศิษย์องค์หนึ่งของพระสังฆปริณายกองค์ที่หก ว่า "อะไรเป็นความหลุดรอด?" พระอาจารย์รูปนั้นได้ย้อนถามว่า "ใครเล่าที่จับท่านใส่กรงขัง?" ความเหมาะสมของคำตอบนี้เป็นอย่างเดียวกันแท้กับข้อความในตัวบทข้างบนนี้ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังฆประณายกองค์ที่หกได้เล่าว่า พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้าไม่ยอมถกด้วยเรื่อง ธยาน และ วิมุติ จะยอมถกเฉพาะเรื่องจิตเดิมแท้เท่านั้น (ในหมวดที่1) นั่นก็คือ ท่านได้แสดงแง่คิดอย่างเดียวกันกับอุทาหรณ์ข้างบน (ผู้แปลเดิม ดิปิงเซ่)

"นั่งอย่างเงียบติดต่อกันไป ฯลฯ" เป็นคำแปลที่ถูกต้อง แล้วทำไมในคราวหนึ่งท่านสารีบุตรจึงถูกท่านวิมลกีรติขนาบเอา เนื่องจากนั่งเงียบๆ ในป่านั้นเอง (*19)

*19 ท่านวิมลกีรติ กล่าวแก่ท่านสารีบุตรว่า เมื่อกล่าวถึงการนั่งเงียบๆ แล้ว มันควรจะหมายถึงว่า เขาไม่เกิดในโลกทั้งสามอีกต่อไป (คือความรู้สึกของเขามีระดับอยู่เหนือกามโลก รูปโลก และอรูปโลก) มันควรจะหมายถึงว่า ขณะที่อยู่ในนิโรธสมาบัติ (ฌานขั้นที่ดับสัมปฤตีได้) นั้นเขาก็สามารถทำการเคลื่อนไหวต่างๆทางกายได้ เช่น การเดิน การยืน การนั่ง การนอน ฯลฯ มันควรจะหมายถึงว่า โดยไม่ต้องหันเหออกจากทางแห่งบัญญัติ เขาสามารถทำกิจการต่างๆทางวิสัยโลกได้ มันควรจะหมายถึงว่า เขาคอยอยู่ข้างในก็หามิได้ ข้างนอกก็หามิได้ มันควรจะหมายถึงว่า เขาบำเพ็ญโพธิปักขิยธรรมสามสิบเจ็ดประการอยู่ โดยปราศจากความหวั่นไหวด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ มันควรจะหมายถึงว่า โดยไม่ต้องมีการทำลายล้างกิเลสอีกต่อไป เขาก็สามารถเข้า ถึงนิพพาน ผู้ที่สามารถนั่งได้เช่นนี้แหละจะได้รับความรับรองจากพระพุทธเจ้า" วิมลเกียรฺตินิเทศสูตร

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย อาจารย์สอนกัมมัฏฐานบางคน สอนศิษย์ของตัวให้เฝ้าระวังจิตข้างในให้นิ่งเงียบ ถึงกับว่าหมดความเคลื่อนไหวเป็นไปของจิตเอาเสียที่เดียว เมื่อเป็นดังนั้น พวกศิษย์ก็พากันเลิกถอนการระดมกำลังจิตเสียสิ้นเชิง คนหลงผิดเหล่านี้ก็พากันฟั่นเฟือน เนื่องจากมีความเชื่อถือในคำแนะนำนั้นเกินไป กรณีเช่นว่านี้มีอยู่ทั่วไป ใช่ว่าจะมีนานๆครั้งก็หามิได้ และนับว่าเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวงที่สอนผู้อื่นให้ทำเช่นนั้น

ในสมัยอื่นอีก พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

ในพุทธศาสนาชนิดที่เป็นไปตามคัมภีร์นั้น ความแตกต่างระหว่างนิกาย "ฉับพลับ" กับ "นิกายเชื่องช้า" มิได้มีอยู่อย่างชัดแจ้ง ความแตกต่างเท่าที่เห็นกันอยู่ก็มีแต่เพียงว่า ตามธรรมชาติที่เกิดมา คนบางพวกรู้อะไรได้เร็วในเมื่อคนอีกบางพวกที่ทึบต่อการที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆ พวกที่สว่างไสว ก็สามารถเห็นแจ้งสัจจธรรม ได้ทันที ในเมื่อพวกที่อยู่ภายใต้อวิชชาจะต้องค่อยๆฝึกตัวเองต่อไป แต่ความแตกต่างเช่นกล่าวนี้ จะไม่ปรากฏเลย ถ้าหากว่าเรามารู้จักใจของตนเอง และรู้แจ้งต่อสภาพแท้ของเราเอง เพราะฉะนั้น คำว่า "เชื่องช้า" กับคำว่า "ฉับพลัน" สองคำนี้ เป็นเพียงภาพเลือนๆมากกว่าที่จะเป็นของจริง

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย มันเป็นจารีตในนิกายของเรา ในการที่จะถือเอา "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" ว่าเป็นผลที่เราจำนงหวังถือเอา "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์" ว่าเป็นมูลรากอันสำคัญและถือเอา "ความไม่ข้องติด" ว่าเป็นหลักหรือต้นตอ อันเป็นประธานสำคัญ "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์" นั้น หมายถึงความไม่ถูกอารมณ์ดึงดูดเอาไป ในเมื่อได้สัมผัสกันเข้ากับอารมณ์ "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" นั้น หมายถึงความไม่ถูกลากเอาไปโดยความคิดอันแตกแยกแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่กำลังบำเพ็ญภาวนาทางจิต "ความไม่ข้องติด" นั้น หมายถึงลักษณะเฉพาะแห่ง จิตเดิมแท้ ของเรานั่นเอง

สิ่งทุกสิ่ง ไม่ว่าดีหรือเลว สวยงามหรือน่าเกลียด ควรจัดเป็นของว่างอย่างเดียวกัน แม้ในขณะที่โต้เถียงและทะเลาะวิวาท เราควรประพฤติต่อเพื่อนและต่อศัตรูของเราอย่างเดียวกัน และไม่มีการนึกถึงการแก้เผ็ด ในการฝึกความนึกคิดของตนเอง จะปล่อยให้อดีตเป็นอดีต ถ้าเราเผลอให้ความคิดของเรา ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มาจับติดต่อกัน เป็นห่วงโซ่ แล้วก็หมายว่าเราจับตัวเองใส่กรงขัง ให้ฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าเราไม่ยอมให้ใจของเราข้องติดอยู่ ในสิ่งใดๆ เราจะลุถึงความหลุดพ้น เพื่อผลอันนี้ เราจึงถือเอา "ความไม่ข้องติด" ว่าเป็นหลักหรือต้นตอ อันเป็นประธานสำคัญ

การทำตัวเราเอง ให้เป็นอิสระ จาการถูกดูดดึงไปตามอารมณ์ภายนอกนี้เรียกว่า "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์" เมื่ออยู่ในฐานะที่จะทำได้ดั้งนั้น สภาพธรรม(ที่มีในเรา) ก็จะบริสุทธิ์ เพื่อผลอันนี้ เราจึงถือเอา "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์" ว่าเป็นมูลรากอันสำคัญ

การดำรงใจไว้ให้เป็นอิสระจากอำนาจของกิเลส ในทุกๆลักษณะของสิ่งที่แวดล้อมรอบตัวเรา นี้เรียกว่า "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" ใจของเราลอยอยู่สูงเหนือสิ่งต่างๆ ที่แวดล้อมเรา และในทุกกรณี เราไม่ยอมให้สิ่งเหล่านั้นมามีอิทธิพลครอบงำ ในการที่ใจของเราจะทำหน้าที่ของมัน แต่ว่ามันเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวง ในการบีบบังคับใจไม่ให้คิดอะไรเสียหมด เพราะว่าแม้เราจะทำได้สำเร็จในการบังคับเช่นนั้น และเราดับจิตลงไปในขณะนั้น เราก็ยังคงต้องเกิดใหม่ ในภพใดภพหนึ่งอยู่ดี จงกำหนดความข้อนี้ไว้เถิดบรรดาท่านผู้เดินทางทั้งหลาย มันเป็นความชั่วอย่างพอตัวทีเดียว สำหรับคนที่ทำอย่างผิดพลาด เนื่องมาจากไม่เข้าใจความหมายของธรรมบัญญัติข้อนั้น แล้วมันจะเป็นความชั่วมากขึ้นไปเพียงใดอีก ในการเร้าใจให้ผู้อื่นพากันทำตามเป็นบริวารของตน เมื่อหลงเสียแล้ว เขาก็มองไม่เห็นอะไร และยิ่งกว่านั้นเขายังแถมเป็นผู้กล่าวตู่พระพุทธวจนะ ยู่ตลอดกาลเป็นนิจด้วย เหตุฉะนั้นแหละ เราจึงถือเอา "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" ว่าเป็นผลที่จำนงหวังของเรา

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย อาตมาจะอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก ว่าทำไมเราจึงถือเอา "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" มาเป็นผลที่จำนงหวังของเรา เพราะเหตุว่ามีคนเขลาบางประเภท ได้โอ้อวดว่าเห็นแจ้ง จิตเดิมแท้ แต่ก็กำลังถูกอารมณ์ที่แวดล้อมลากเอาตัวไป วิตกต่างๆ เกิดขึ้นในใจของเขา ถูกแวดล้อมอยู่ด้วยมิจฉาทิฏฐิ อันเป็นกระแสแห่งความหลงและกิเลสทุกๆชนิด ก็ใน จิตเดิมแท้ (ซึ่งเป็นตัวสำแดงแห่งความว่าง) นั้น ไม่มีอะไรสำหรับให้ใครลุถึงเสียเลย ฉะนั้น การที่มาเอ่ยอ้างว่ามีการลุถึง และกล่าวพล่อยๆถึงความดีหรือความชั่ว เหล่านั้นล้วนแต่เป็นมิจฉาทิฎฐิและกิเลส เพื่อผลอันนี้เอง เราจึงได้ถือเอา "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" ว่าเป็นผลที่จำนงหวังในนิกายของเรา

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย (ก็ในเรื่องความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตกนั้น) อะไรเล่าเป็นสิ่งที่เราควรสลัดเสียให้สิ้นเชิง และอะไรเล่า ที่เราควรปักใจของเราลงไป เราควรสลัด "ของที่เป็นคู่ๆอย่างตรงกันข้ามต่อกัน"(*20) เสียให้สิ้นเชิง พร้อมทั้งอกุศลเจตสิกทุกๆอย่าง และเราควรปักใจของเรา

*20 ของคู่ในที่นี้ คือของที่เป็นสุดโต่งฝ่ายข้างหนึ่ง ก็สุดโต่งฝ่ายข้างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น บวก-ลบ โง่-ฉลาด ร้อน-เย็น นรก-สวรรค์ ฯลฯ (พุทธทาส)
ลงไปที่ภาวะแท้จริงของ ตถตา (ความเป็นแต่อย่างนั้นอย่างเดียว เป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้) เพราะเหตุว่า ตถตา นั่นแหละเป็นตัวการแท้ของวิตก และวิตกเป็นผลแห่งการไหวตัวของ ตถตา

ตัวแท้ของ ตถตา ซึ่งเบ่งบานขึ้นถึงระดับเด่นชัดนั้นต่างหาก ที่ทำให้วิตกนั้นเกิดขึ้น หาใช่เพราะอวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์นั้นๆไม่ ตถตา ย่อมทรงไว้ซึ่งคุณลักษณะของตัวมันเอง ฉะนั้น มันจึงสามารถให้กำเนิดแก่วิตก ปราศจาก ตถตา เสียแล้ว อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์ และอารมณ์นั้น (*21) ย่อมสลายลงทันที.

*21 อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์ หรือ Sense Organs ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ใจ อารมณ์ หรือ Sense objects ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์ คำเหล่านี้เป็นคำบัญญัติเฉพาะในพุทธศาสนา อาจไม่ตรงกับที่บัญญัติเฉพาะวิชาแขนงอื่นก็ได้ (พุทธทาส)

ผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เพราะเหตุที่คุณลักษณะของ ตถตา ต่างหากที่ให้กำเนิดแก่วิตก ฉะนั้น อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์ต่างๆ ของเราไม่จำเป็นจะต้องพลอยด่างพร้อยหรือเศร้าหมองไปด้วย ในทุกๆเหตุการณ์ แม้ว่ามันจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการดู การฟัง การสัมผัส การรู้ ฯลฯ ก็ตาม, และตัวภาวะแท้ของเรา ก็อาจยัง "แสดงตัวเองให้ปรากฏได้" ทุกเวลา เพราะเหตุฉะนั้น พระสูตรนั้นจึงกล่าวว่า ผู้ทีคล่องแคล่วในการแยกแยะธรรมลักษณะนานาประการ เพื่อความเข้าใจอันถูกต้องได้ จักเป็นผู้ตั้งอยู่อย่างไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ใน "ธรรมอันเอก" (กล่าวคือ ถิ่นอันสงบเย็นของพระอริยะ หรือนิพพาน)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2073 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2554, 08:51:02 »

รายงานข่าวสุขภาพ


                      ผมขอรายงานข่าวทางด้านสุขภาพเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ บ้างนะครับ ตลอดเวลาสามปีที่ผ่านมา มีสิ่งหนึ่งทางด้านสุขภาพ อาจจะมีประโยชน์ทางวงการแพทย์สำหรับเป็นข้อมูล ต่อไป หรือสำหรับทุกท่านที่ยังลังเลใจครับ นั่นคือ
                       พี่สิงห์ยังคงทำ "Detox" ดีท๊อก โดยใช้น้ำกาแฟสวนเข้าไปทางทวรหนัก ๑๕๐๐ ซีซี ตามที่ได้เรียนรู้มาจากโรงพยาบาลจอมทอง อย่างน้อยสามครั้งต่อเดือน ติดต่อกันมาสามปีแล้ว ยังไม่พบเหตุผิดปกติใดๆ กล่าวคือ
                       - ยังสามารถถ่ายได้เป็นปกติทุกวันเวลาเช้า
                       - ท้องไม่เคยผูก และไม่เคยท้องเสีย หรืออุจาระเหลว
                       - สีของอุจจาระ เป็นเหมือนกับสิ่งที่เรารับประทาน ไม่ดำ ไม่เป็นก้อนแข็ง สีน่ารื่นรมย์
                       - ถ่ายง่าย ถ่ายคล่อง และสามารถจำความรู้สึกว่าเวลาไหนควรจะถ่ายอย่างแท้จริงได้ ไม่รู้ลืม จากการจับความรู้สึกเวลาทำดีท๊อก
                       - มีความรู้สึกโล่งท้องดี เพราะไม่มีอะไรหมักหมม
                       พูดง่ายๆ ระบบการขับถ่ายดีกว่าเดิมแยะมาก ครับ
                       ดังนั้น ทุกท่านที่มีปัญหาระบบขับถ่าย หรือกลัวว่าจะเป็นมะเร็งลำใส้ ท่านก็ต้องทำความสะอาดลำใส้เสียบ้างไม่ให้สะสมเชื้อโรค ลองทำ ดีทีอก ดูซิครับ ไม่มีอันตรายใดๆ เพราะผมทำที่บ้านเป็นปกติทุกอาทิตย์ ยังหาสิ่งผิดปกติ ไม่พบ มีแต่ผลดี ทำง่ายๆ เวลาห้าโมงเช้าทุกสัปดาห์ประมาณวันอังคาร พุธ หรือพฤหัส แล้วแต่จะจัดเวลาให้ตัวเอง ครับ
                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2074 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2554, 20:48:01 »

พระสูตรเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุแปล

หมวดที่ 5
ว่าด้วย ธฺยานะ
**********

วันหนึ่ง พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

ในระบบการเจริญกัมมัฏฐานภาวนาของเรานั้น เรามิได้กำหนดลงไปที่จิต (จิตปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างอย่างตรงกันข้าม กับจิตเดิมแท้) หรือกำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์ หรือว่าเราจะไปจับเอาตัวความหยุดนิ่ง ปราศจากความเคลื่อนไหวทุกประการ ก็หามิได้ สำหรับการกำหนดจดจ่อลงไปที่จิตนั้น ไม่ควรทำ เพราะจิตเป็นของมืดมัวมาเสียก่อนแล้ว เมื่อเรามองเห็นชัดว่ามันเป็นเพียงตัวมายาตัวหนึ่งเท่านั้นแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะไปจดจ่อกับมัน สำหรับการกำหนดลงไปที่ตัวความบริสุทธิ์นั้นเล่า ตัวธรรมชาติแท้ของเราก็บริสุทธิ์อย่างแท้จริงอยู่แล้ว และตลอดเวลาที่เราขับไล่อกุศลวิตกออกไปเสียให้สิ้นเชิง มันก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในตัวเรา นอกจากความบริสุทธิ์ย่างเดียวเพราะว่ามันเป็นด้วยอกุศลวิตก กำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์ เราก็มีแต่จะสร้าง อวิชชาอันใหม่ขึ้นมาอีกอันหนึ่ง เท่านั้น คืออวิชชาแห่งความบริสุทธิ์ เพราะเหตุที่อวิชชาเป็นสิ่งที่ไม่มีที่ตั้งอาศัย จึงเป็นความเขลาที่เราจะไปอิงอาศัยมัน, ตัวความบริสุทธิ์นั้นไม่มีสัณฐาน ไม่มีรูปร่าง แต่มีคนบางคนที่อุตริถึงกับประดิษฐ์ "รูปร่างของความบริสุทธิ์" ขึ้นมา แล้วก็กุลีกุจออยู่กับมันในฐานะเป็นปัญหาสำคัญของความหลุดพ้น เมื่อถือหลักความคิดเช่นนี้ คนเหล่านั้นก็กลายเป็น ผู้ขับไล่ไสส่งความบริสุทธิ์ เสียเองแล้ว จิตเดิมแท้ของเขาก็ถูกทำให้เศร้าหมองไปเพราะเหตุนั้น

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย พวกที่ฝึกตัวอยู่ใน "ความแน่วไม่หวั่นไหว" นั้น แม้จะได้เผชิญกับคนทุกชนิด เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็นความผิดของผู้อื่นอยู่เสมอ เขาไม่มีอะไรวิปริตผิดแปลกไปจากเดิม เมื่อประสบบุญหรือบาป ความดีหรือความชั่ว ของผู้อื่น เพราะลักษณะเช่นนี้ ย่อมอนุโลมต่อ "ความแน่วไม่หวั่นไหว" ของจิตเดิมแท้

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย คนทีมีจิตยังมืดนั้นอาจสงบเฉพาะทางร่างกายภายนอก แต่พอเผยอริมฝีปากเท่านั้น เขาก็ติชมวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นด้วยเรื่องบุญบาป ความสามารถ ความอ่อนแอ ความดีหรือความชั่ว ของคนเหล่านั้นๆ นี่แหละ เขาเฉออกไปนอกทางแห่งสัมมาปฏิบัติอย่างนี้เอง อีกฝ่ายหนึ่ง

การที่จดจ่อง่วนอยู่ ที่จิตของตนเอง หรือที่ความบริสุทธิ์ ก็กลายเป็นสิ่งสะดุดกีดขวางในหนทาง ด้วยเหมือนกัน

ในสมัยอื่นอีก พระสังฆปริณายก ได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย อย่างไรเรียกว่า การนั่ง เพื่อการกัมมัฏฐานภาวนา? ในนิกายของเรานี้ การนั่ง หมายถึงการได้รับอิสรภาพอันเด็ดขาด และมีจิตสงบได้ในทุกๆ กรณีที่แวดล้อมเข้ามาจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายข้างดี หรือเป็นอย่างใดมา

การกัมมัฏฐานภาวนา นั้น หมายถึงการเห็นชัดแจ้งในภายใน ต่อ "ความแน่วไม่หวั่นไหว" ของจิตเดิมแท้

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย อะไรเรียกว่า ธฺยาน (ฌาน) และสมาธิ? ธฺยาน หมายถึงการหลุดจากความพัวพันด้วยอารมณ์ภายนอก(*22) ทุกประการ

*22 อารมณ์ภายนอก หมายถึงสิ่งทุกสิ่งนอกจากจิต ฉะนั้นแม้แต่ความคิดในจิตหรือของจิตก็เรียกว่าอารมณ์ภายนอกในที่นี้เหมือนกัน ไม่ต้องกล่าวถึง รูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นของภายนอกชัดๆ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

และ สมาธิ หมายถึงการได้รับศานติในภายใน ถ้าเราพัวพันอยู่กับอารมณ์ภายนอก จิตภายในก็จะปั่นป่วน เมื่อเราหลุดจากการพัวพันด้วยอารมณ์ภายนอกทุกอย่างแล้ว จิตก็จะตั้งอยู่ในศานติ จิตเดิมแท้ของเราเป็นของบริสุทธิ์อยู่แล้วอย่างแท้จริง แล้วเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงปั่นป่วนนั้น ก็เพราะเรายอมตัวให้อารมณ์ซึ่งแวดล้อมเราอยู่ ลากเอาตัวเราไป ผู้ที่สามารถรักษาจิตของตนไว้ไม่ให้ปั่นป่วนได้ ไม่ว่าจะอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมชนิดไหนหมด นั่นแหละ ชื่อว่าได้บรรลุถึงสมาธิ

การเป็นอิสระไม่พัวพันด้วยอารมณ์ภายนอกทุกอย่าง ชื่อว่า ธฺยาน การลุถึงศานติในภายใน ชื่อว่า สมาธิ เมื่อใดเราอยู่ในฐานะที่จะเล่นฌาน และดำรงจิตในภายในให้ตั้งอยู่ในสมาธิ เมื่อนั้น จึงชื่อว่าเราได้ลุถึง ธฺยานและสมาธิ

ข้อความในโพธิสัตวสีลสูตร มีอยู่ว่า "จิตเดิมแท้ของเรานั้น เป็นของบริสุทธิ์แท้จริง"

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เราจงเห็นชัดความข้อนี้เพื่อตนเองทุกเมื่อเถิด เราจงฝึกตัวเอง ฝึกฝนมันด้วยตัวเอง และลุถึงพุทธภาวะ ด้วยความพยายามของตนเองเถิด
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 81 82 [83] 84 85 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><