11 พฤษภาคม 2567, 16:03:52
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 105 106 [107] 108 109 ... 131   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามครูไปเที่ยว  (อ่าน 870140 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2650 เมื่อ: 29 มกราคม 2557, 19:26:20 »

มาสวนผักและแปลงดอกไม้







      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2651 เมื่อ: 29 มกราคม 2557, 19:43:41 »




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2652 เมื่อ: 29 มกราคม 2557, 19:50:48 »










      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2653 เมื่อ: 30 มกราคม 2557, 19:31:47 »

สองภาพก่อนกลับ..อาคารที่เป็นศิลปปาย




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2654 เมื่อ: 30 มกราคม 2557, 19:38:05 »

ปาย - เชียงใหม่ - รังสิต




      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2655 เมื่อ: 30 มกราคม 2557, 19:45:23 »

แปลงดอกไม้สีสดใสค่ะ
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #2656 เมื่อ: 31 มกราคม 2557, 00:48:08 »




สวย สวย สวย
อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 29 มกราคม 2557, 19:50:48










      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2657 เมื่อ: 31 มกราคม 2557, 14:14:18 »



ถนนเยาวราชเป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามโครงการถนนอำเภอสำเพ็งซึ่งเป็นนโยบายสร้างถนนในท้องที่ที่เจริญแล้วเพื่อส่งเสริมการค้าขาย สำเพ็งเป็นย่านการค้าที่เจริญมากแห่งหนึ่งนอกเหนือจากบริเวณถนนเจริญกรุงแล้ว ทำให้มีพระราชดำริที่จะสร้างถนนให้มากขึ้น ถนนเยาวราชเป็น 1 ใน 18 ถนนที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ขณะดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ) เสนอให้สร้าง เช่น ถนนจักรวรรดิ ถนนราชวงศ์ ถนนอนุวงศ์

ถนนเยาวราชเริ่มตั้งแต่คลองรอบกรุงตรงข้ามกับป้อมมหาไชย ตัดลงไปทางทิศใต้บรรจบกับถนนราชวงศ์ซึ่งสร้างแยกจากถนนเจริญกรุงตรงไปฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (ท่าราชวงศ์) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กราบบังคมทูลว่าจะสร้างถนนใน พ.ศ. 2434 โดยให้ชื่อถนนว่า "ถนนยุพราช" ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "ถนนเยาวราช" และในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 ได้มีพระบรมราชโองการให้ออกประกาศกรมโยธาธิการแจ้งให้ราษฎรทราบว่า การตัดถนนเยาวราชเนื่องจากมีพระราชประสงค์จะให้บ้านเมืองเจริญและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปเพื่อมิให้ราษฎรพากันตกใจขายที่ดินไปในราคาถูก เพราะเข้าใจว่าจะซื้อเป็นของหลวง หรือบางทีเข้าใจว่าการชิงขายเสียก่อน ถึงจะได้ราคาน้อยก็ยังดีกว่าจะสูญเปล่า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตึกที่ยื่นล้ำเข้ามาในแนวถนนไม่เกินกว่า 1 วา ไม่ต้องรื้อถอนด้วย

ปรากฏในเอกสารของกรมโยธาธิการว่าเมื่อเจ้าพนักงานไปวัดที่ตัดถนนบริเวณตำบลตรอกเต๊านั้น ราษฎรร้องเรียนว่าเจ้าพนักงานไม่ยุติธรรม เพราะถ้าวัดปักไม้ถูกบ้านของผู้มีบรรดาศักดิ์ก็จะเลี่ยงไปปักที่ใหม่ ถูกแต่ที่ราษฎรทั้งสิ้น ทำให้แนวถนนไม่ตรง ราษฎรที่ตรอกเต๊าจึงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์จึงเสนอให้มีเงินค่าเวนคืนที่ดินหรือคำทำขวัญขึ้นเช่นเดียวกับที่คนในบังคับต่างประเทศได้รับ โดยได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเมื่อ พ.ศ. 2437 และได้มีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าปรึกษาในที่ประชุมรัฐมนตรีสภา ซึ่งมีพระราชดำรัสว่า "ถนนสายเดียวซึ่งผู้ที่ไม่ได้ขัดขวางยอมให้ทำล่วงไปแล้วจะไม่ได้รับรางวัล จะได้แต่ผู้ที่ร้องขัดขวางเช่นนี้ก็เป็นที่น่าสงสารอยู่" แต่อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเห็นชอบในการจ่ายค่าที่ดินแก่คนไทยเช่นเดียวกับคนในบังคับต่างประเทศ เพื่อคนไทยจะได้ไม่เสียเปรียบคนต่างประเทศ





การสร้างถนนเยาวราชประสบอุปสรรคหลายประการนับแต่เริ่มกรุยทางในปี พ.ศ. 2435 จนถึงปี พ.ศ. 2438 ก็ยังไม่เสร็จ เพราะนอกจากราษฎรจะขัดขวางแล้วยังปรากฏว่า เจ้าของที่ดินหลายรายขวนขวายที่จะขายที่ดินให้กับคนในบังคับต่างประเทศ ทำให้การก่อสร้างค่อนข้างล่าช้า เพราะกระทรวงนครบาลไม่อาจจัดการเรื่องที่ดินที่ถนนจะต้องตัดผ่านให้กับกรมโยธาธิการได้ ปรากฏว่าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาลเกี่ยวกับการมอบที่ดินที่อยู่ในแนวถนนให้กระทรวงโยธาธิการ ขอให้กระทรวงนครบาลจัดการในกรณีที่คนในบังคับต่างประเทศจะมาทำหนังสือซื้อขายหรือจำนำที่ดินที่ได้กรุยทางสร้างถนนเยาวราชไว้โดยสั่งให้เจ้าพนักงานหรืออำเภอกำนันให้ทราบว่าเป็นที่ทำถนนอย่าให้รับทำหนังสือซื้อขาย "ขอกระทรวงเมืองได้โปรดประทานพระอนุญาตให้ราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำเนินไปโดยสดวกด้วย" แต่กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ทรงอ้างว่าต้องทรงรอคำวินิจฉัยจากที่ประชุมเสนาบดีในเรื่องที่ราษฎรร้องเรียนกันขึ้นมาว่าการตัดถนนผ่านที่ดินเป็นไปอย่างไม่เป็นธรรม และปรากฏหนังสือโต้ตอบกันระหว่างเสนาบดีทั้ง 2 กระทรวงนี้ เพราะกระทรวงโยธาธิการก็ต้องการสร้างถนนให้เสร็จสิ้น ขณะที่กระทรวงนครบาลพยายามที่จะให้ราษฎรได้รับเงินค่าที่ดินจากรัฐบาล จึงรอพระบรมราชโองการเกี่ยวกับเรื่องนี้ และยังไม่มอบที่ดินให้กระทรวงโยธาธิการ ถึงกับกรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดาทรงระบุว่า กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ทรงพระเมตตากับราษฎรบริเวณถนนเยาวราชกว่าราษฎรในแนวถนนอื่น ๆ กรมโยธาธิการจึงต้องดำเนินการสร้างถนนส่วนที่ไม่มีปัญหาและที่ดินที่เป็นของหลวงก่อน

 
ถนนเยาวราชเมื่อมีการจัดเป็นพื้นที่ถนนคนเดินจนกระทั่งใน พ.ศ. 2441 ปัญหาเรื่องที่ดินซึ่งจะต้องตัดถนนผ่านก็ยังไม่ยุติ ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้กระทรวงโยธาธิการดำเนินการตัดถนนต่อไป เพราะมีพระราชดำริว่าที่ดินซึ่งถูกตัดถนนผ่านไปนั้น ย่อมทวีราคาขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายสิบเท่าเป็นประโยชน์แก่เจ้าของมาก ไม่ควรจะเสียดายที่ดินซึ่งเป็นท้องถนนแต่เพียงเล็กน้อย เพราะรัฐบาลที่ลงทุนทำถนนก็ไม่ได้เก็บเงินค่าคนหรือรถม้าที่เดินบนถนนเลย เพื่อบำรุงการค้าขายให้สะดวก เจ้าของจึงไม่ควรหวงแหน และโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์และกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดาปรึกษากันต่อหน้าพระที่นั่งว่าจะทำอย่างไรให้การตัดถนนสายนี้สำเร็จลงได้ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์จึงทรงรับที่จะออกประกาศให้เจ้าของที่ดินออกจากที่ดิน หากเจ้าของที่ดินไม่ยอมรื้อก็ให้กระทรวงโยธาธิการแจ้งไปที่กระทรวงนครบาล และให้กระทรวงนครบาลเป็นผู้ให้กรมอัยการฟ้องทำให้การตัดถนนเยาวราชดำเนินการต่อไปได



      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2658 เมื่อ: 31 มกราคม 2557, 14:55:51 »





เมื่อแรกตัดถนนเยาวราชใหม่ ๆ นั้น มีชาวจีนอยู่อาศัยกันหนาแน่น แม้ต่อมาถนนเยาวราชก็ยังคงมีความสำคัญ เพราะเป็นย่านร้านอาหารชั้นนำ ตึกที่สร้างสูงที่สุดตึกแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ก็สร้างที่ถนนเยาวราชเป็นแห่งแรก ช่วงปี พ.ศ. 2500 ถนนเยาวราชรถยังวิ่งสวนทางกัน มีรถเมล์สาย 23 หรือที่เรียกกันว่า "เมล์แดง" และรถเมล์สาย 24 ที่เรียกกันว่า "ไทยประดิษฐ์" วิ่งสวนทางกัน และมีรถรางวิ่งอยู่อีกช่องทางหนึ่ง ถนนเยาวราชจะเป็นที่จัดงานประจำปีอยู่เนือง ๆ โดยจะปิดการจราจรชั่วคราว เป็น "ถนนคนเดิน" มีการขายอาหารจีนที่มีชื่อ การแสดง และออกร้านมากมายจากร้านค้าที่อยู่สองข้างทาง จนถึงทุกวันนี้
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2659 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2557, 21:41:47 »

ไปราชบุรี






สะพานจุฬาลงกรณ์ เป็นสะพานรถไฟ ทอดข้ามแม่กลอง ขนานกับสะพานธนะรัชต์ที่เป็นสะพานสำหรับรถยนต์ข้ามแม่น้ำแม่กลอง ช่วงใจกลางเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้มีกิจการรถไฟ สำหรับสายใต้ได้ก่อสร้างเชื่อมถนนรถไฟ จากสถานีรถไฟบางกอกน้อยไปถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี โปรดให้มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองสำหรับทั้ง รถยนต์ และรถไฟ และเสด็จเปิด พร้อมพระราชทานนาม "สะพานจุฬาลงกรณ์" เมื่อปี พ.ศ. 2444 หรือ ร.ศ. 120[1]








      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2660 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2557, 22:03:25 »

ย่านการค้า






สถานีตำรวจราชบุรีหลังเดิม




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2661 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2557, 22:10:55 »

และร่วมงานศพแม่ของยุทธนา  น้ำเงิน เป็นซีมะโด่ง ๒๕๒๐




      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2662 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2557, 21:52:50 »

ตรงนี้


คนราด-รี บอกว่า มีหัวรถจักร์ ตกจมน้ำไปหลายสิบปี ยังไม่มีการกู้ขึ้รมาเลย ??


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2663 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2557, 20:14:12 »

คำตอบครับ



หนังสือกรมการทหารช่างที่ 11 (2535) ได้ประสานขอข้อมูลของหัวรถจักรที่จมน้ำ จาก สำนักงาน จ.ราชบุรี (ฝ่ายอำนวยการ) นายประกิต ศรีสุทธิ์ นายสถานีรถไฟราชบุรี กองประชาสัมพันธ์การรถไฟแห่งประเทศไทย นายวรรณศักดิ์ ทรายแก้ว วิศวกรกำกับการเขตบำรุงทางหัวหิน นายสรรพสิริ วิริยะสิริ ประธานชมรมเรารักรถไฟ สรุปข้อมูลที่ได้ดังนี้

1. น้ำหนักหัวรถจักรไอน้ำ โดยประมาณ 70-80 ตัน ไม่ทราบขนาดและมิติที่แน่นอน
2. ชั้นรับน้ำหนักของสะพานจุฬาลงกรณ์ ประมาณ 150 ตัน
3. สาเหตุที่ไม่กู้ขึ้นมาเพราะไม่มีงบประมาณ

เอกสารประกอบรายงานการประชุม เรื่อง หัวรถจักรไอน้ำ (2540) กล่าวว่า

1. หัวรถจักรมีลักษณะขนานกับสะพานทั้งสอง แต่สวนหัวจะหันมาทางด้านสะพานธนะรัชต์เล็กน้อย
2. ระยะของหัวจักรห่างจากตะม่อ สะพานธนะรัตช์ ประมาณ 70 ซม.
3. ด้านท้ายของหัวรถจักรจะอยู่จะอยู่ระหว่างกลางช่องสะพาน ลักษณะการวางอยู่ใต้พื้นน้ำ จากการสอบถามผู้ที่เคยไปงมกุ้งและหาปลาบริเวณนั้น จะอยู่ในลักษณะหัวเชิดขึ้นเล็กน้อย ท้ายจะทรุดต่ำลง
4. มีทรายอยู่เฉพาะด้านในของท้ายรถจักรสูง ประมาณ 60 ซม. ส่วนด้านหัวทรายได้ถูกน้ำพัดพาไปจะเหลือน้อย
5. ในปัจจุบันน้ำจะมีระดับสูงจากแนวปล้องของหัวรถจักร ประมาณ 3-5 เมตร ถ้าน้ำลดลงมากกว่านี้ จะเห็นปล้องโผล่ขึ้นเหนือน้ำ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2664 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2557, 20:21:45 »

ทำแล้ว...แต่ยังไม่สำเร็จ

 เป็นที่กล่าวขวัญและเล่าสืบต่อกันมานานเกี่ยวกับหัวรถจักรที่จมอยู่ใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลอง ในเขตตัวเมืองราชบุรี ซึ่ง พลโทชัยยุทธ   เทพยสุวรรณ   เจ้ากรมการทหารช่าง (ในขณะนั้น) ได้พยายามที่จะรื้อฟื้นเรื่องราวของหัวรถจักรคันนี้ให้ฟื้นคืนกลับขึ้นมาเป็นหน้าประวัติศาสตร์ของ จว.ราชบุรี   เพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันได้รับทราบ และตระหนักถึงความสำคัญของ จว.ราชบุรี ในการมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2

       พิสูจน์ทราบการ จม....

       วันที่ 12 เม.ย. 2548 เวลาประมาณ 08.00 น. ผมและทีมงานปฏิบัติงานใต้น้ำของกรมการทหารช่าง รวม 4 คน   พร้อมด้วยนักดำน้ำเก็บกู้สิ่งของจากบ้านท่าเสาอีก   4 คนได้รับมอบหมายจากเจ้ากรมการทหารช่างให้ลงไปดำน้ำเพื่อพิสูจน์ทราบรูปแบบขอหัวรถจักร ลักษณะ   และสภาพการจม พร้อมกับถ่ายภาพหัวรถจักรคันนี้ ขึ้นมาเพื่อทำการประชาสัมพันธ ์   และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ขั้นต้นเพื่อวางแผนต่อไป

       ข้อมูลเบื้องต้น : ยังไม่ใครพิสูจน์ทราบได้ว่า หัวรถจักรที่จมอยู่นี้เป็นรุ่นใด จากข้อมูลเดิมจะมีอยู่ 2 รุ่น คือ รถจักรขนาดเล็ก รุ่น P- CLASS ( KITSON/NORTH BRITISH,1917,1919) สร้างในประเทศอังกฤษ หรือ รถจักร ขนาดเล็ก รุ่น C-56 ( JAPAN ) สร้างในประเทญี่ปุ่น

       วิธีที่พวกเราดำเนินการ พวกเราต้องศึกษาจากแบบแปลนของรถจักรทั้งสองรุ่น ซึ่งจะมีลักษณะล้อขับ ล้อนำ และปล่องไฟแตกต่างกัน หลังจากนั้นจึงดำน้ำลงไปพิสูจน์ทราบลักษณะที่คล้ายคลึง ซึ่งหากยืนยันได้ว่ารุ่นใดจมอยู่แล้ว พวกเราก็จะได้ข้อมูลของขนาดรูปร่าง และน้ำหนักที่แท้จริงของตัวรถจักรตามมาด้วย

       การพิสูจน์ทราบยังล้มเหลว การดำน้ำในวันนี้เราแทบไม่ได้อะไรเลย น้ำไม่ลึกเท่าใดนัก ประมาณ 8- 10 ม. กระแสน้ำเอื่อยๆ พื้นท้องน้ำเป็นทราย ทัศนวิสัยของน้ำค่อนข้างต่ำมองเห็นได้ไม่เกิน 10   ซม. แม้พวกเราจะนำไฟฉายใต้น้ำลงไปก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก พวกเราเหมือนคนตาบอดแต่ก็พยายามถ่ายรูปด้วยกล้องใต้น้ำขึ้นมาให้มากที่สุด   แล้วจึงค่อยนำมาวิเคราะห์ นอกจากนั้นเรายังไปดำน้ำ พิสูจน์ทราบลูกระเบิดที่ยังคงจมอยู่อีก 2 ลูก ก็เพียงแต่ได้ รูป คลำ แล้วนำลักษณะขึ้นวิเคราะห์เช่นกัน

       เช้าวันที่   13 เม.ย.48 พวกเราลงดำน้ำกันอีกครั้งประมาณ 07.00 น.   ซึ่งคำนวณแล้วว่าน้ำจะค่อนข้างนิ่งที่สุด   จะได้ไม่มีกระแสน้ำ และฝุ่นตะกอนที่จะรบกวนการมองเห็น   และการถ่ายภาพของพวกเรา แต่ผลยังคงเหมือนเดิม...แต่ในครั้งนี้ เราสามารถจำลองลักษณะการจมต่างๆ ว่าจมอยู่ในลักษณะใด ที่ความลึกเท่าใด หัวรถจักรวางตัวอย่างไร....แต่ยังไม่กล้าฟันธงลงไปว่าเป็นหัวรถจักรรุ่นใด

       พวกเรายังคงมีความตั้งใจที่จะลงไปดำน้ำพิสูจน์ทราบให้ได้แน่ชัดว่าเป็นหัวรถจักรรุ่นใด แน่..เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการกู้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์...ต่อไป  
 

 
  


          
      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #2665 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2557, 07:40:58 »


สวัสดีครับพี่เริงและพี่น้องสมาชิกทุกท่าน
ไม่ได้เข้าห้องนี้ซะนาน ตามชมรูปเพลินเลย
ฝีมือพี่เริงยังเฉียบคม มีรูปสวยๆ มาเผื่อแผ่พวกเราอย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณคร้าบบบบบ


 รักนะ หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2666 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2557, 19:26:20 »

ครับผม...หนุน   
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #2667 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2557, 22:00:28 »

ไปเที่ยวกับน้องเริงค่ะ
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2668 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2557, 18:17:02 »

ครับผม..ไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก  สนุกนัก ก็นำมาเล่า
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2669 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2557, 13:42:24 »

น้องเริง


คนตามมาอ่าน มาดูภาพ ไม่เบื่อหรอกน่ะ
 win
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2670 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2557, 13:45:13 »

อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 15 มกราคม 2557, 22:13:40


เรื่องเล่าของอาม่า ตำนานที่มา...ตระกูล "เจียรวนนท์"

"อาม่า" ที่อ้างถึงมีชื่อไทยว่า "คุณแม่เจียร เจียรวนนท์"หรือที่หมู่ญาติคนใกล้ชิดเรียกติดปากว่า "โซ้ยซิ้ม" มีอายุยืนยาวถึง 107 ปี ก่อนจะเสียชีวิตไปไม่กี่เดือนมานี้
คุณแม่เจียร เป็นภรรยาของ "เจี่ย เซี่ยวฮุย" น้องชาย 1 ใน 5 พี่น้องตระกูลเจี่ย (เจียรวนนท์) และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจียไต๋และเครือเจริญโภคภัณฑ์ "อาม่า" จึงถือเป็นหนึ่งในบรรพชนรุ่นบุกเบิก และวางรากฐานของตระกูลเจียรวนนท์

"เชิดชัย เจียรวนนท์" บอกเล่าถึงอาม่าว่า "ท่านเป็นกำพร้าตั้งแต่เล็ก เป็นคนไม่ค่อยบ่นอะไร ชอบทำอะไรด้วยตัวเอง พอได้เห็นความสำเร็จของลูก ๆ หลาน ๆ ก็ปลื้มใจ"

ขณะที่ "ทัศนีย์ พุ่งกุมาร" ลูกสาวของอาม่าเล่าว่า "ตอนนั้นที่อยู่ช่วยกันในเจียไต๋ส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัวด้วยกันกลางคืนก็มาช่วยกันใส่ซองเมล็ดพันธุ์ผัก เด็ก ๆ นั่งรวมกลุ่มกัน ผู้ใหญ่ก็รวมกลุ่มกันด้วย อาม่าตัดซองเมล็ดพันธุ์ผัก อาม่ากิมกี่ คุณแม่ธนินท์ อาอี๊น้องสาวคุณแม่ธนินท์ก็ทำกัน คุณหญิงเอื้อปรานีตอนนั้นก็มาแล้ว มาช่วยกันตักเมล็ดพันธุ์ผักใส่ซองแล้วก็ปิดซอง ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี เฮฮาสนุกสนานกันมาก ทำงานเสร็จ 4-5 ทุ่มก็ต้มข้าวมากินกัน บางคืนทำกันเป็นหมื่น ๆ ซองก็มี ช่วงไหนขายดีทำไม่ทัน ตื่นเช้าขึ้นมากินข้าวเสร็จแล้วก็ต้องรีบทำต่อตั้งแต่เช้าจนค่ำ กว่าจะได้เงินยากมาก ๆ..."

หนังสือบอกเล่าถึงอาม่าว่า แม้ไม่ได้มีบทบาทในเรื่องธุรกิจเป็นหลัก แต่คอยหนุนหลังดูแลครอบครัวอยู่ตลอด เพื่อให้ผู้นำครอบครัวทุ่มเทให้กับการสร้างฐานะอย่างเต็มที่เพื่อให้มั่นคงยิ่งขึ้น อาม่าคอยให้ความมั่นใจว่ามีอาหารการกินครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่ขาดตกบกพร่อง สมาชิกในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขทั่วถึงกัน การครองเรือนในครอบครัวใหญ่ที่อยู่ด้วยกันหลายครอบครัวอย่างอยู่เย็นเป็นสุขอาจไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกครอบครัวมีบางเฉพาะครอบครัวเท่านั้นที่สามารถผ่านมาถึงเส้นชัยนี้ได้สำหรับ "โซ้ยซิ้ม" หรืออาม่า เคล็ดลับของการครองเรือนที่ว่านี้คือ เรื่องน้ำจิตน้ำใจที่กว้างขวางอันเป็นปกติวิสัยของอาม่านั่นเอง

ในหนังสือนอกจากจะให้ภาพเรื่องราวของอาม่าตั้งแต่บ้านเกิดที่ซัวเถาอพยพตามสามี"เจี่ย เซี่ยวฮุย" มาอยู่เมืองไทยย่านถนนทรงวาด กระทั่งมีลูกมีหลานเติบโตแยกย้ายโดยมีอาม่าเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำและตำนานแห่งความสำเร็จของตระกูลแล้วสิ่งที่ได้เห็นอีกภาพก็คือวิถีชีวิตที่เป็นแบบอย่างของคนรุ่นบุกเบิกที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของสมาชิกตระกูลเจียรวนนท์

บางส่วนบางตอนในหนังสือเล่าถึงกิจการแรกเริ่มร้านเจียไต้(ปัจจุบันคือเจียไต๋) จึงของสองพี่น้องตระกูลเจี่ย (เจี่ย เอ็กซอ และเจี่ย เซี่ยวฮุย) ที่ตั้งขึ้นในปี 2464 เริ่มจากห้องแถวเรือนไม้สองชั้นบนถนนทรงสวัสดิ์ ย่านทรงวาด เป็นที่ขอเช่าจากวัดเกาะหรือวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร ซึ่งใช้เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและเปิดเป็นร้านค้าขายเมล็ดพันธุ์ผัก จึงนับเป็นรายแรก ๆ ที่บุกเบิกการค้าเมล็ดพันธุ์ผักของเมืองไทย

เมื่อกิจการเข้าที่เข้าทางมากขึ้น เจี่ย เซี่ยวฮุย เดินทางกลับไปรับภรรยา (อาม่า) จากเมืองจีนมาอยู่ด้วยกัน ขณะนั้นเป็นสมัยรัชกาลที่ 6 ในหมู่คนจีนย่านสำเพ็ง เยาวราช เวลานั้นมีค่านิยมใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่หรูหราฟุ่มเฟือย ไม่ว่าชายหรือหญิงนิยมใส่เสื้อผ้าแบบจีน เสื้อกุยเฮงผ้าป่าน กางเกงแพรปังลิ้น การสื่อสารก็ใช้แต่ภาษาจีน

เยาวราชนับเป็นแหล่งค้าขายที่คึกคักของกรุงเทพฯ สองฟากถนนเรียงรายไปด้วยร้านขายสินค้านานาชนิด โดยมากเป็นร้านของชำ ถัดเข้ามาตามตรอกซอยจึงเป็นร้านขายอาหาร ขณะที่สำเพ็งเป็นย่านเก่าแก่ที่สุด เป็นเมืองหลวงชุมชนชาวจีนเมื่อแรกโยกย้ายมาในสยาม จึงเป็นแหล่งเลียนแบบถนนพาณิชย์ในซัวเถา ส่วนถนนทรงวาดจะเป็นแหล่งค้าส่งเสียเป็นส่วนใหญ่

คนจีนแต้จิ๋วนั้น ได้ชื่อว่ามีความอุตสาหะที่จะทำธุรกิจด้วยทุนรอนแม้เล็กน้อยที่สุด ดังนั้นกลุ่มคนจีนในย่านนี้จึงมีทุนจำกัด แต่รู้หลักค้าขายอย่างเฉลียวฉลาด และรู้จักเก็บออมเงินทุน

ในยุคแรกเจียไต้มีสมาชิกอาศัยอยู่ด้วยกัน 2 ครอบครัว คือ ครอบครัวเจี่ย เอ็กซอ และเซี่ยวฮุย ลูกจ้างมีเพียงไม่กี่คน ส่วนใหญ่เป็นญาติ ๆ มาช่วยกันทำ ตกกลางคืนเสร็จงานก็กางเตียงนอน

เจี่ย เอ็กซอ ผู้พี่ต้องขึ้นล่องไปติดต่อซื้อหาเมล็ดพันธุ์จากเมืองจีน และหาลู่ทางเปิดตลาดใหม่ ๆ ในต่างประเทศ ดังนั้นจึงใช้ชีวิตในเมืองจีนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเซี่ยวฮุย คนน้องควบคุมดูแลงานขายหน้าร้าน หาช่องทางค้าขายและขยายกิจการในเมืองไทย รวมทั้งเป็นหลักในการดูแลสมาชิกของสองครอบครัว และบริหารคนงานในร้านทั้งหมด

อาม่าได้ช่วยดูแลครอบครัว รับภาระหุงหาอาหารเลี้ยงดูกินอยู่แบบกงสี กับข้าวที่เป็นอาหารประจำโต๊ะแทบจะขาดไม่ได้เลยสักมื้อก็คือผัดผัก ไม่ว่าผักกวางตุ้ง คะน้า ผักกาดขาว โดยเฉพาะผักกาดขาวและคะน้า ซึ่งเป็นผักที่สร้างชื่อให้กับเจียไต้ กิจการของเจียไต้จึงก้าวหน้าไปได้ดี ครอบครัวก็ขยายเป็นครอบครัวใหญ่ขึ้น จึงมาขอเช่าตึกแถวที่อยู่ฝั่งตรงข้ามเพิ่มขึ้นอีก 2 ห้อง และภายหลังต่อมาได้เช่าเพิ่มอีก 1 ห้อง รวมเป็น 3 ห้องติดกัน ซึ่งก็คืออาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 3 คูหา ใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท เจียไต๋ จำกัด มาจนถึงปัจจุบัน




ความเป็นอยู่ของครอบครัวในตอนนั้น ทุกคนต้องช่วยกันทำงาน เด็ก ๆ ลูกหลานในบ้านตอนเช้าพากันเดินไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนเผยอิง เมื่อกลับจากโรงเรียน ทำการบ้านเสร็จทุก ๆ วันราว 1 ทุ่ม หลังกินข้าวเย็นแล้วลูกจ้างจะเก็บโต๊ะอาหารพิงฝาไว้แล้วปูเสื่อตรงกลาง ช่วงเวลานี้สมาชิกทั้งหมดจะมาพร้อมหน้ากันนั่งล้อมเป็นวงใหญ่ ลงมือช่วยกันบรรจุเมล็ดพันธุ์ลงซองอย่างขะมักเขม้น

การจ่ายค่าแรงในการบรรจุซองเมล็ดพันธุ์ คนตัดกระดาษซองได้ 1 บาทต่อ 1,000 ซอง คนบรรจุเมล็ดพันธุ์ลงซองได้ 2.50 บาทต่อ 1,000 ซอง อาม่าทำหน้าที่ตัดเป็นหลักเพราะตัดเร็วและเรียบร้อยสวยงาม บางคราวรีบเร่งก็ต้องทำกันเป็นหมื่น ๆ ซอง ส่วนใหญ่แต่ละคืนที่นั่งทำกันมักจะได้คืนละ 8 บาท เป็นรายได้ดีทีเดียว เพราะในยุคนั้นก๋วยเตี๋ยวขายกันชามละ 50 สตางค์ ปลาทูเข่งละ 25 สตางค์ และข้าราชการส่วนใหญ่ยังรับเงินไม่ถึง 1,000 บาทต่อเดือน นับเป็นกงสีใหญ่ที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบทีเดียว

ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ผักของเจียไต้เมื่อเริ่มแรกใช้เครื่องหมายการค้า"ตราเรือบิน"ภายหลังเปลี่ยนมาใช้ "ตราเครื่องบิน" โดยเจี่ย เซี่ยวฮุย บอกกับลูกหลานว่า เครื่องบินเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าล้ำยุคที่สุดในช่วงเวลานั้น บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์และสินค้าของเจียไต๋มีคุณภาพและทันสมัย

มีเรื่องเล่าในหมู่ญาติใกล้ชิดว่า ความสามารถที่โดดเด่นของครอบครัวตระกูลเจี่ยในการคัดสรรและเพาะพันธุ์เมล็ดพืชนั้นมาจากฝ่ายย่าทวดในตระกูลหรือเหล่าม่าเพราะมีใจรักในการเพาะปลูกชอบปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ไม่ว่าจะปลูกอะไรก็งอกงาม ผลิดอกออกผลอย่างดี ซึ่งพืชพันธุ์ที่เหล่าม่าชอบปลูกมากที่สุดคือ "เก๊กฮวย" ไม้ดอกพื้นบ้านทั่วไปในเมืองจีนนั่นเอง นิสัยนี้ได้ตกทอดมาสู่รุ่นลูกหลานด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเจี่ย เอ็กซอ บรรพบุรุษต้นตระกูลเจียรวนนท์ ที่ได้รับพรสวรรค์นี้มา ค้นพบวิธีปลูกเก๊กฮวยให้ออกดอกนอกฤดูได้สำเร็จ

เหล่าม่าเป็นคนโอบอ้อมอารี และขึ้นชื่อในเรื่องใจบุญสุนทาน ด้วยอุปนิสัยใจคอเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เช่นนี้เหล่าม่าจึงเป็นที่รักใคร่ของคนทั้งหมู่บ้าน อาม่าเคยอยู่ด้วยกันกับเหล่าม่าที่เมืองจีนมาก่อน จึงได้ซึมซับรับเอาคุณงามความดีหลายต่อหลายอย่างของเหล่าม่าไว้ แล้วถ่ายทอดมาสู่คนรุ่นหลัง

"อาม่า" จึงเป็นสตรีเบื้องหลังความสำเร็จคนหนึ่งของตระกูลเจียรวนนท์ เพราะจนปัจจุบันใครจะเชื่อว่า "ห้างเจียไต้จึง" ที่ขายเพียงเมล็ดพันธุ์ผัก ได้พัฒนาและกลายมาเป็น "บริษัทเจียไต๋"และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ทั้งผลิตและจำหน่ายสินค้า ซึ่งมีเครือข่ายสาขากระจายอยู่และรู้จักกันไปทั่วโลก


มาแล้วครับ





      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2671 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2557, 13:50:59 »

พี่เหยง

จะสำเนาฉบับดิจิตอลได้ที่ไหน หรือมีขายที่ใดครับ

คงอ่านเพลินแน่ๆ และหลายๆครั้ง
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2672 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2557, 13:56:53 »

ศัพท์ใหม่ เบื่อและเหนื่อย   เป็น เบื่อย ๕๕๕๕๕
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2673 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2557, 11:19:57 »

อ้างถึง
ข้อความของ เริง2520 เมื่อ 06 กุมภาพันธ์ 2557, 13:50:59
พี่เหยง

จะสำเนาฉบับดิจิตอลได้ที่ไหน หรือมีขายที่ใดครับ

คงอ่านเพลินแน่ๆ และหลายๆครั้ง


จะลองดูให้ครับ
แต่ PC ของพี่ ไรท์แผ่นไม่ได้
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #2674 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2557, 17:48:35 »

ครับผม.   เจอที่ไหนช่วยบอกด้วย......ขอบคุณครับ

หากมีขายที่ร้านเซเว่น  จะขายดีมากๆเลย
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 105 106 [107] 108 109 ... 131   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><