Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 22 ตุลาคม 2552, 16:04:28



หัวข้อ: นักวิชาการชี้รัฐวิสาหกิจ ถึงเวลายกเครื่องบอร์ดกันใหม่แล้ว
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 22 ตุลาคม 2552, 16:04:28

นักวิชาการแนะ ถึงเวลายกเครื่องบอร์ด รัฐวิสาหกิจ : รสก.

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 22 ตุลาคม 2552

 นักวิชาการชี้ รสก. ไร้ความโปร่งใส ถึงเวลายกเครื่องบอร์ดใหม่พ้นเงาการเมือง

พร้อมประเมินเม็ดเงินรั่วไหล อย่างต่ำ 4 หมื่นล้าน/ปี

(http://img16.imageshack.us/img16/9629/15238008.jpg)

นายสังศิต  พิริยะรังสรรค์ ผู้อำนวยการโครงการดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เผยถึงปัญหาที่มักพบในรัฐวิสาหกิจไทยทั้ง 58  แห่ง

ซึ่งแม้ว่ารัฐวิสาหกิจในภาพรวมจะสามารถสร้างรายได้และเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้

เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง แต่ผลสำรวจและจากการวิเคราะห์หลายประเด็นมีเพียง

รัฐวิสาหกิจไม่กี่แห่งที่มีการปรับปรุงด้านการบริหารงานและธรรมาภิบาล เช่น

การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

การประปานครหลวง (กปน.) ซึ่งรัฐวิสาหกิจเหล่านี้มีธรรมาภิบาลดี

แต่ก็มีอีกหลายแห่งที่อยู่ระหว่างปรับปรุง เพราะเท่าที่คำนวณ ในการแต่งตั้ง

คณะกรรมการบริหารในรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งมักมีการเมืองเข้าไปล้วงลูกและ

มีการแต่งตั้งคนในฝ่ายการเมืองเข้าไปเป็นคณะกรรมการบริหาร

จึงถูกมองว่าเป็นแหล่งหาผลตอบแทน ซึ่งหากคิดคำนวณการรั่วไหลในการบริหารงาน

จากการหาผลประโยชน์แต่ปีร้อยละ10

ก็จะเท่ากับจำนวนเงินที่สูญไปมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท และ

หากประมาณการเม็ดเงินที่รั่วไหล ไว้ที่ร้อยละ 20

ก็จะเท่ากับรัฐและประเทศต้องสูญไปมากกว่า 8 หมื่นล้านบาทต่อปี

นายสังศิต กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

โดยเฉพาะการแต่งตั้งบอร์ด ซึ่งตนเห็นว่าที่ผ่านมาการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีดูแล

ก็จะปรับเปลี่ยนบอร์ดทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง เห็นว่าควรมีผู้ทรงคุณวุฒิอิสระและ

มาจากการสรรหาอย่างน้อยในบอร์ดจะต้องมีอย่างละครึ่ง เพื่อถ่วงดุลอำนาจ และ

บอร์ดจะต้องมีความเป็นอิสระ  

หากสามารถป้องกันสิ่งเหล่านี้ได้ลดลงการรั่วไหลร้อยละ1 ต่อปี รสก.ทั้งระบบจะประหยัด

งบประมาณได้กว่า  10,000 ล้านบาท

ส่วน รสก.บริการยังสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น

การสื่อสาร การประปา การรถไฟถ้าปรับปรุงได้ก็เชื่อว่าจะทำให้มีเม็ดเงินเพิ่มขึ้น

พร้อมกันนี้ นายสังศิต ยังได้เอ่ยถึงความไม่โปร่งใสที่มักเกิดขึ้นโดยเป็นการหาผลประโยชน์

ของนักการเมืองในรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ ว่า มักจะมาในรูปของ การสร้างถนน เพราะ

การสร้างถนนระบบการตรวจสอบยาก แต่ให้ผลตอบแทนกับประชาชนมากกว่า

โดยในเรื่องของการรถไฟฯ นั้นเป็นส่วนน้อย

ดังนั้น รัฐบาลต้องวางกรอบป้องกันการหาผลประโยชน์ทับซ้อนต่อไป

ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีทั้งสิ้น 58 แห่ง

มีรายได้รวม ประจำปี 2551 มากกว่า 3.3-3.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50

ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งถือว่าสูงและมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจไทย

โดยหากดูทรัพย์สินรวมมีมากกว่า  7.3  ล้านล้านบาท

มีการลงทุนมากกว่า  400,000  ล้านบาท  แต่ละปีมีการจ้างงานทั้งระบบ  260,000  คน   

โดยรัฐวิสาหกิจใหญ่ ๆ เช่น 

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  บริษัท  การบินไทย  จำกัด (มหาชน)

มีอัตราการจ้างงานมากกว่า  20,000-30,000  คน

แต่ ตั้งแต่ปี  2547  เป็นต้นมา กำไรของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งปรับตัวลดลง 

เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันที่มีความผันผวน  ทำให้รัฐวิสาหกิจ 11  แห่ง 

ขาดทุนสะสมค่อนข้างมาก  เห็นได้ชัดปี  2551 

การบินไทยขาดทุนมากกว่า  22,000  ล้านบาท 

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  ขาดทุน 10,000  ล้านบาท 

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขาดทุน กว่า  8,000  ล้านบาท 

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)  ขาดทุนกว่า  7,000  ล้านบาท 

รวม  11  แห่ง ขาดทุนมากกว่า  50,000  ล้านบาท

นำมาจาก

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20091022/82881/นักวิชาการแนะ-ถึงเวลายกเครื่องบอร์ด-รสก..html (http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20091022/82881/นักวิชาการแนะ-ถึงเวลายกเครื่องบอร์ด-รสก..html)

 emo45:( emo45:( emo45:(