Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องสนทนาประสาพี่น้อง => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 16 ตุลาคม 2552, 21:55:08



หัวข้อ: "เพิ่มSupplyให้พอกับDemandมี ร.พ.ให้เลือกเองได้ทุกที่,เหมือนNetworkธนาคารออนไลน์"
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 16 ตุลาคม 2552, 21:55:08

        จุดเปลี่ยนการแพทย์ ด้วยการที่ ทุก ร.พ. เชื่้่อมต่อ เข้าเป็น Network โดยมี ระบบรักษา

ความปลอดภัยของข้อมูล เหมือน ที่ ธนาคารทำได้สำเร็จ เป็นตัวอย่าง

         ทำให้สะดวกกับผู้ใช้บริการ ใช้บริการได้ทุกสาขาในประเทศและ ให้บริการได้รวดเร็วขึ้น

ผลของการมี เครือข่าย ร.พ. จะทำให้ประชาชน ที่ป่วยไข้ สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย  ทุกที่ไม่

จำกัดสถานพยาบาลเหมือนการบังคับให้รักษาเฉพาะ แำห่งแบบเก่า ทำให้ประชาชนเกิด

         สุขภาพดีถ้วนหน้าตาม Ottawa Charter ของ WHO ที่จะใช้

สาธารณสุขมูลฐาน : Primary Health Careเป็นกลวิธี ตามบล็อกแก็งค์

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samrotri (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samrotri)

         โครงการสาธารณสุขมูลฐาน มีมาตั้งแต่ พ.ศ.2529 ผ่านมา 23 ปีแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ

ประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้สะดวก ต้องมารอคิวยาว

การรักษาก็ยังมีการฟ้องร้องกันให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ ให้สลดใจ

แต่ขณะนี้มีข่าวดี ด้านสุขภาพ มีโครงการไทยเข้มแข็ง ของกระทรวงสาธารณสุข

พณฯ ท่านวิทยา แก้วภราดัย ร.ม.ต.ว่าการ ฯ กำลังดำเนินการให้เกิดขึ้นแล้ว

ตามข่าวข้างล่าง

         (http://img199.imageshack.us/img199/7246/59199143.jpg)

         รมว.สธ. ชี้แจงการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับในโครงการไทยเข้มแข็ง

ให้ผู้บริหารสาธารณสุขใน 19 จังหวัด

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วันศุกร์ที่  9 ต.ค. 52 16.25 น.  

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจง

การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับในโครงการไทยเข้มแข็ง

ให้แก่ผู้บริหารสาธารณสุขใน 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เน้นย้ำการใช้งบประมาณอย่างโปร่งใส

         (http://img88.imageshack.us/img88/5592/93962709.jpg)

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เรียกประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ และ

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ใน 19 จังหวัด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เพื่อชี้แจงแนวทางดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาสาธารณสุขภายใต้

โครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ.2553-2555 โดย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า

จะเดินหน้าปรับปรุงสถานีอนามัย 9,762 แห่งทั่วประเทศ ให้เป็น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ทั้งประเทศ 9,762 โรงพยาบาล  


 ทำหน้าที่เป็นปราการของการรณรงค์ส่งเสริมการมีสุขภาพดีให้แก่ประชาชน

ป้องกันการเจ็บป่วย และ ประชาชนในชนบท จะมีโอกาสได้พบแพทย์

ทั้งโดยตรงและผ่านทางคอมพิวเตอร์ สามารถซักถามอาการ พูดคุยได้เช่นกัน

โดยในปีงบประมาณ 2553 มีเป้าหมายดำเนินการ จำนวน 2,151 แห่ง

ใช้งบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็งทั้งหมด 4,449 ล้านบาท

โดยงบร้อยละ 25 จะใช้ปรับปรุงอาคารสถานที่

ที่เหลืออีกร้อยละ 75 เป็นงบจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และ

จะปรับปรุงสถานีอนามัยครบทั้งหมด ในปี 2553

โดยใช้งบประมาณกว่า 14,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ โครงการไทยเข้มแข็ง จะมีการจัดซื้อรถพยาบาล 1,000 คัน

ให้โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ เพื่อใช้รับส่งต่อผู้ป่วยจาก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยเฉพาะด้วย  โดย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ำว่า

การใช้งบประมาณทุกอย่างจะใช้นโยบายให้พื้นที่ที่เป็นเจ้าของงบประมาณ

ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินการ ไม่มีการจัดจ้างหรือสั่งการจากส่วนกลาง

เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกันตรวจสอบการใช้งบประมาณให้โปร่งใส

ไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด

ที่มาของข่าวดีข้างบนนำมาจาก

http://news.sanook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%98-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%81-833543.html (http://news.sanook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%98-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%81-833543.html)

 emo28:win: emo28:win: emo28:win:

      (http://img245.imageshack.us/img245/9104/healthpublicoption.jpg)

การเข้าถึงบริการของรัฐปัจจุบันมีขั้นตอนมาก ดังภาพข้างบน

ขอชื่นชม พณฯท่านวิทยา แก้วภราดัย ร.ม.ต.สาธารณสุข นิติศาสตร์ จุฬาฯ รหัส 16

ที่ พัฒนาระบบสาธารณสุข ให้มีบริการคุณภาพใกล้บ้าน ด้วยการจัดให้มี

ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ทำให้ประชาชนเข้าถึงได้ด้วยการใช้วิดิโอคอนเฟอเรนซ์

พบแพทย์ทางอ้อมผ่านทางคอมพิวเตอร์ ในสถานการณ์ ที่ขาดแคลนแพทย์ คือ

จุดเปลี่ยนที่จะทำให้การรักษาพยาบาลมีคุณภาพเหมือนกัน

(http://img88.imageshack.us/img88/3148/doctoronit.jpg)

แพทย์ใช้วิดิโอคอนเฟอเรนซ์ ให้บริการร่่วมกับพยาบาลเวชปฏิบัติ ที่ ร.พ.ตำบลได้

emo43 emo43 emo43

จุดเปลี่ยนทางการแพทย์ที่สำคัญ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ

การใช้วิดิโอคอนเฟอเรนซ์ ให้มีพยาบาลเวชปฏิบัติ อยู่ ที่

ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล

เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถเข้าถึงบริการโดยแพทย์ ที่่อยู่ในที่อื่น เช่น

ที่ ร.พ.อำเภอ หรือ ที่ ร.พ.ใด ๆ ก็ได้ที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องพบ

โดยไม่ต้องเดินทางมาพบกันที่ ร.พ.ที่แพทย์ท่านที่ต้องการปรึกษาอยู่

ทำให้สามารถแก้

ปัญหาขาดแคลนแพทย์ แต่ใช้พยาบาลเวชปฏิบัติ เป็น

ผู้เชื่อมโยง ระหว่าง ผู้ป่วย กับ แพทย์ โดยมีวิดิโอคอนเฟอเรนซ์

ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่นำระบบเทเลเฮลธ์ไปใช้ตามโรงพยาบาลแล้ว ได้แก่

อินเดีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และฮ่องกง

ขณะที่ตลาดใหญ่ระดับโลกยังอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และแคนาดา

โดยมีส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจอีเฮลธ์ราว 55%

ขณะที่ตลาดอีเฮลธ์ในภูมิภาคเอเชีย มีส่วนแบ่งรายได้กว่า 10%

จากรายได้รวมของบริษัท

"การสื่อสารด้วยเสียง และวีดิโอในโซลูชั่นเทเลเฮลธ์จะเพิ่มความสะดวก และ

ลดค่าใช้จ่ายให้แก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ

ซึ่งสามารถขยายขอบเขตครอบคลุมนอกพื้นที่ไปสู่โรงพยาบาลอื่นๆ

รวมถึงคลินิกชุมชน และแพทย์"

ปัจจุบันแนวโน้มความต้องการบริการสุขภาพทางไกลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ไม่ต่ำกว่า 20-40% ต่อปี ตามข่าว
  http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20091010/81079/%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%A5%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%9E..html (http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20091010/81079/%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%A5%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%9E..html)

นอกจากมี คอมพิวเตอร์ใช้ซอฟแวร์ รักษาทางไกล แล้ว

ต้องเสริมโปรแกรม ที่ ธนาคารพาณิชย์ เชื่อมแต่ละสาขาเข้าดัวยกัน

เมื่อมีการทำบัญชี ต่างสาขา ข้อมูลจะไปรวมที่แฟ้มของผู้ฝากทันทีเป็นข้อมูลปัจจุบัน

เช่นเดียวกัน เมื่อมารักษา ร.พ.ออนไลน์เปิดดูข้อมูลสามารถดึงข้อมูลไฟล์ของคนไข้

มาดูข้อมูลการรักษา ต่าง ร.พ.ได้ และ สามารถ พิมพ์ข้อมูลเพิ่มได้ แบบเดียวกัน

เป็น ร.พ.ออนไลน์ ไม่ว่าไปรักษาที่ใด ก็ดูและเพิ่มข้อมูลลงได้

โดยต้องมีรหัสผ่าน เพื่อการเข้าถึงข้อมูลได้เฉพาะ ผู้มีรหัสผ่านเท่านั้น

เพื่อรักษาข้อมูลของคนไข้เป็นความลับ บุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ไม่สามารถเข้าได้

เหมือนธนาคารออนไลน์ ที่ต้องรักษาความลับทางการเงินของลูกค้าด้วย

 emo2:) emo2:) emo2:)

(http://img194.imageshack.us/img194/6585/37982791.jpg)

จะเกิดมีได้ ต้องเรียนเสนอ ท่าน ร.ม.ต.วิทยา แก้วภราดัย

นิติศาสตร์จุฬาฯ รหัส 16 เพื่อทราบและพิจารณา

เพื่อสั่งการให้กระทรวงสาธารณสุข ในความดูแลนำไปปฏิบัติ ให้เกิดขึ้น

จะให้ท่าน ร.ม.ต.ทราบได้เพื่อพิจารณา ต้องอาศัยพวกเราจุฬาฯ รหัส 16 รุ่นเดียว

กับท่าน ร.ม.ต.นำไปเสนอ เพื่อทำ ให้เกิด การรักษาทางไกล และ ร.พ.ออนไลน์

สามารถไปรักษาได้ทุก ร.พ.เหมือน ธนาคารออนไลน์เบิก ถอน ทำบัญชี

ต่างสาขา ได้

 emo28:win: emo28:win: emo28:win:

สิ่งที่นำเสนอข้างต้น เป็นไปตามนโยบายของท่าน ร.ม.ต.วิทยา ที่ต้องการ

ให้ใช้บัตรรักษาได้สะดวกทุกที่ ไม่ใช่ต้องรักษาเฉพาะ ร.พ.เดียวตามระบุในบัตร

ไม่ใช่เฉพาะภายในจังหวัด แต่เป็นใช้ได้ทั้งประเทศ

ผลดีของคนไข้เลือกใช้บริการที่สถานพยาบาลใดก็ได้ และ มี ร.พ.ออนไลน์

เชื่อมโยงข้อมูลของคนไข้ ไม่ว่าไปรักษาที่ใด ก็ดูประวัติการรักษาก่อนหน้าได้

ผลจากการทำให้มีดังกล่าวข้างต้น มีผลดี ต่อไปนี้ คือ

1.คนไข้ มีอำนาจในการเลือกสถานพยาบาลเอง แทนถูกบังคับ ต้องจำใจใช้

ถ้าบริการไม่ดี ก็เปลี่ยนสถานบริการเองไม่ได้ ต้องขอใบส่งตัวซึ่งอาจไม่ออกให้

2.ร.พ.ต้องแข่งกันด้านคุณภาพในการบริการ และ รักษาพยาบาล

ร.พ.ใดไม่มีคุณภาพ จะไม่มีผู้เข้ามาใช้บริการ ไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย จะล้มไปในที่สุด

3.ทำให้มีการบันทึกข้อมูลการรักษาลงในไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของคนไข้

ผู้ให้การรักษาเมื่อดึงประวัติผู้ป่วยออกมาจากคอมพ์ สามารถได้เรียนรู้

จากการดูวิธีการรักษาของแต่ละแห่งได้

ทำ่ให้เกิดการเรียนรู้ด้านการรักษาพยาบาลระหว่าง ร.พ.โดย

ร.พ.ที่มีความสามารถสูงกว่า ให้ตัวอย่างการรักษากับ ร.พ.ที่มีความรู้น้อยกว่าได้

ที่สำคัญที่สุด คือ การใช้คอมพิวเตอร์ บันทึกการมาใช้บริการไว้ สามารถทำให้

การตรวจคนไข้ และ คนไข้ได้ยาเร็วขึ้น เมื่อใช้คอมพ์คล่องขึ้นแล้ว เนื่องจาก

การส่งข้อมูลทางระบบสาย LAN ไปห้องยา และ พิมพ์สติกเกอร์ยา ให้เภสัชจัดยา

ตามแพทย์สั่งชัดเจนกว่าการใช้ลายมือเขียน กดใช้ยาเดิมได้ นำมาปรับได้ตามต้องการ

4.ทำให้มีการว่าจ้างองค์กรอิสระเข้ามาพัฒนา และ ให้ใบรับรองคุณภาพ ร.พ.เพื่อ

ให้ผู้ใช้บริการมั่นใจในมาตรฐานขององค์กรอิสระ ที่ให้ใบรับรอง

ถ้ามีใบรับรองคุณภาพ ผู้มาใช้บริการจะมากกว่า ไม่มีใบรับรองคุณภาพ

องค์กรอิสระที่มารับรองมีคุณภาพเยี่ยม ๆ จะมีแรงจูงใจมากกว่า ไม่มีุคุณภาพเท่า

และ ตัวชี้วัดที่สำคัญ ของ ร.พ.คุณภาพ คือ ประชาชนพึงพอใจ ไม่มีการร้องเรียนเลย

5.สามารถแยกว่ารักษาที่สถานพยาบาลใด เพื่อจ่ายค่าบริการให้ โดยดูจากเนตได้

มีเกณฑ์มาตรฐานของราคา ยุติธรรม ไม่มีการคิดค่าบริการสูงเกินจริง โดยคิด

ตาม  DRG : Diagnosis Related Groups การวินิจฉัยกลุ่มโรคร่วม

ที่มีหลักการคิดค่าบริการที่แน่นอน มีเหตุ มีผล เพื่อจ่ายให้สถานบริการ

 emo4:)) emo4:)) emo4:))

สุดท้ายนี้ เมื่อประชาชน ได้ สิทธิรักษาไม่ต้องจ่ายเงิน ต้องมีหน้าที่

ดูแลสุขภาพตามสุขบัญญัติ 10 ประการด้วย

http://www.thaigoodview.com/node/3208 (http://www.thaigoodview.com/node/3208)

ถ้าไม่ทำหน้าที่ ไม่ควรได้สิทธินี้ ต้องให้ร่วมจ่าย อาจให้ร่วมจ่าย 20% ของค่ารักษา

เพื่อให้ประชาชนดูแลสุขภาพ ทำให้ป่วยน้อยลง ผลทำให้ค่ารักษาลดลง

นำเงินมาตรวจร่างกายประชาชนได้ฟรี ปีละ อย่างน้อย 1 ครั้ง ตามที่โพสท์เสนอไว้ที่

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3959.0.html (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3959.0.html)

 emo43 emo43 emo43


หัวข้อ: Re: จุดเปลี่ยนการแพทย์ด้วย ร.พ.ออนไลน์ รักษาฟรีได้ทุกที่ ที่เข้าโครงการเหมือนธนาคารออนไลน์
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 22 ตุลาคม 2552, 07:06:28

             (http://img194.imageshack.us/img194/7343/80388305.jpg)

         การมี ร.พ.ออนไลน์ ที่นำ เทคโนโลยี่ คอมพิวเตอร์ มาอำนวยความสะดวก

         เลือก ร.พ.เองได้ ตามคุณภาพของ ร.พ.ที่เราพอใจ ไม่ถูกบังคับให้รักษาตามที่ระบุให้

ยังสามารถมีจองคิวตรวจทางอินเตอร์เนต ผ่านทางคอมพ์เหมือนจองตั๋วหนังอีกด้วย

                             (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yy1o-1a7229.jpg)

         ไม่ต้องมานั่งรอคิว ให้เสียเวลาเลือกเวลามาตรวจตามความพอใจ เหมือนดูหนัง

จะเกิดได้ท่าน ร.ม.ต.วิทยา ต้องให้ทางกระทรวงสาธารณสุข จัดทำ

โปรแกรมจองคิวตรวจ ทางเนตเหมือนโรงหนังเพิ่มอีกด้วย

          emo43 emo43 emo43


                      (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yxy2-bd14da.jpg)

         สปสช.ติดตั้งระบบเทเล-เมดิซีน เพิ่มศักยภาพ10โรงพยาบาลใต้

         สำนัก งานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ติดระบบเทเล-เมดิซีน 10 โรงพยาบาลพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง แก้ปัญหาแพทย์น้อย พื้นที่ห่างไกล ไม่ต้องส่งต่อผู้ป่วย

                        (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yxs9-728eb8.jpg)

                  นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

         เมื่อวันที่ 1 กันยายน นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (รองเลขาธิการ สปสช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สปสช. ได้เริ่มติดตั้งระบบเครือข่ายการตรวจรักษาสื่อสารเพื่อให้คำปรึกษาและประสาน งานการส่งต่อผู้ป่วยทางไกลผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร (Tele-medicine) ในโรงพยาบาล 10 แห่ง ของพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง รวม 11 จุดสื่อสาร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 8 ล้านบาท ทั้งนี้การติดตั้งระบบดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านบุคลากรและความห่าง ไกลของพื้นที่ โดยระบบเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดปัญหาของโรงพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วย การให้คำปรึกษาและการส่งต่อผู้ป่วย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

         นพ.วีระวัฒน์กล่าวว่า ระบบเทเล-เมดิซีน มีมานานแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่เป็นที่นิยม แต่ปัจจุบันค่าใช้จ่ายลดลงจึงคุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งในอนาคต สปสช. มีโครงการจะขยายการติดตั้งระบบเทเล-เมดิซีน ไปในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยเช่นกัน เพราะเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาความห่างไกลมาก

         "ระบบเทเล-เมดิซีน อำนวยความสะดวกให้โรงพยาบาล สามารถขอคำปรึกษาการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกันได้ทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อมูลอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่น คลื่นหัวใจ เป็นต้น จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลแม่ข่าย ซึ่งแพทย์ที่ให้คำปรึกษาสามารถเห็นสภาพจริงของผู้ป่วย ซึ่งเหมาะกับกรณีการรักษาผู้ป่วยวิกฤตและผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินในพื้นที่ ห่างไกล หรือการเดินทางลำบาก โดยเฉพาะโรงพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่มีปัญหาความไม่สงบอยู่ในปัจจุบัน" นพ.วีระวัฒน์กล่าว

         ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สปสช.จะได้ติดตั้งระบบเทเล-เมดิซีน ที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลทั้ง 11 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาล (รพ.) สงขลานครินทร์ (2 จุดสื่อสาร) และ รพ.หาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย คอยให้คำปรึกษาในการรักษาผู้ป่วย ส่วนโรงพยาบาลอีก 8 แห่ง จะเป็นโรงพยาบาลลูกข่าย ได้แก่ รพ.ควรขนุน จ.พัทลุง รพ.เบตง จ.ยะลา รพ.นราธิวาส รพ.ปัตตานี รพ.สงขลา รพ.สตูล รพ.ตรัง และ รพ.พัทลุง (กรอบบ่าย)

          ที่มา:

http://hia.anamai.moph.go.th/?name=news&file=readnews&id=25 (http://hia.anamai.moph.go.th/?name=news&file=readnews&id=25)

         emo6::)) emo6::)) emo6::))

จาก "สปสช.การกระจายบริการที่มีคุณภาพ สู่ ร.พ.ห่างไกล ขาดแคลนแพทย์"

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3276.0.html (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3276.0.html)

         emo43 emo43 emo43


หัวข้อ: "ร.พ.ที่จะให้เข้ารักษาได้ต้องเป็น ร.พ.ที่มีป้ายรับรองเป็น ร.พ.คุณภาพทุกแห่ง"
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 05 พฤศจิกายน 2552, 20:49:29

               ร.พ. ทุกแห่งที่เปิดบริการประชาชนจะต้องมีป้ายรับรองการเป็น ร.พ.คุณภาพ

               (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yw7s-a9b051.jpg)

         โดยใช้วงจรคุณภาพ ของเดมมิงส์  PDCA : Plan Do Check Act

ไม่เว้น ร.พ.ของรัฐ ก็ต้องได้ป้ายด้วย

         มิฉะนั้น กระทรวงสาธารณสุข จะไม่ให้ เปิดบริการ

ดังนั้น ร.พ.ทุกแห่งต้องพัฒนา ร.พ. เพื่อให้ได้รับ

การรับรอง จนได้ป้าย เป็น ร.พ.คุณภาพ เพื่อ

มาประกาศให้ผู้ใช้บริการได้มั่นใจ คุณภาพ

ขบวนการ การได้เป็น ร.พ.คุณภาพ จะต้องมี การว่าจ้าง

                    (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ywbf-bb9063.jpg)

         สถาบันรับรองคุณภาพ สถานพยาบาล(องค์กรมหาชน)

เมื่อสถานพยาบาลคิดว่าพร้อมที่จะได้รับการตรวจ รับรองฯ แล้ว

เมื่อสถาบัน ฯ รับเข้ามาตรวจสอบ และ ให้ใบรับรอง จะให้

ผู้อำนวยการ ร.พ. และ กรรมการบริหาร ร่วมกันคิดนโยบายคุณภาพของ ร.พ.ขึ้นมา

เมื่อ สถาบันฯ เห็นด้วยว่า นโยบายจะครอบคลุมคุณภาพได้จะรับให้เป็นนโยบายได้

ขั้นต่อไป ให้แต่ละหน่วยงานใน ร.พ.ไปเขียน

วิธีดำเนินงานเป็นเอกสารให้เป็นไปตามนโยบายคุณภาพ

เมื่อสถาบันฯ เห็นว่าเอกสารที่เขียนวิธีดำเนินการเป็นวิธีคุณภาพได้

จะให้การรับรองเป็นเอกสารอ้างอิง

ในด้านการรักษาพยาบาล ก็ต้องมีแนวทางการวินิจฉัยโรค และ

วิธีการรักษาเป็นเอกสารอ้างอิงด้วย เพื่อให้เกิดคุณภาพ

         คนป่วยคนเดียวกัน ถ้าเป็น ร.พ.คุณภาพที่มีมาตรฐานจริง

จะต้องได้รับคำวินิจฉัย และ ให้การรักษาเหมือนกันทุกประการ ไม่ขึ้นกับแพทย์

แต่จะขึ้นกับเอกสารแนวทางการวินิจฉัย และ แนวทางการรักษาข้างต้น

         ถ้ามีวิธีวินิจฉัย หรือ วิธีรักษาแบบใหม่ๆ ก็สามารถขอแก้ไขกับสถาบันฯได้

เมื่อสถาบันฯรับรองว่ามีประโยชน์มีคุณภาพดีกว่าเดิมก็จะให้เปลี่ยนได้

ในต่างประเทศ จะมีเวบไซด์เรื่องการวินิจฉัย และ วิธีรักษา ให้เข้าดูได้ที่

http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/encyclopedia_H.htm (http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/encyclopedia_H.htm)

         เมื่อทุก ๆ หน่วยงานเขียนเอกสารวิธีดำเนินงานคุณภาพ และ

ได้รับรองเป็นเอกสารอ้างอิงแล้ว

         จะให้ ร.พ.คัดเลือกเจ้าหน้าที่ภายใน ร.พ.นั้นเอง

มาเข้ารับการอบรมเป็นกรรมการตรวจสอบ จาก สถาบันฯ

เมื่อผ่านการประเมินจากสถาบันฯว่าเป็นกรรมการตรวจสอบภายในได้จริง

จะให้ขึ้นทะเบียนเป็นกรรมการตรวจสอบภายใน ร.พ.เอง

แล้วให้ ร.พ.ดำเนินการ ไปจนมั่นใจว่า ทุกๆ จุดดำเนินงานตามเอกสารได้จริง

โดยมีกรรมการตรวจสอบภายใน รับรอง

         เมื่อพร้อม ทาง ร.พ.จะเรียนเชิญสถาบันฯ เข้ามาตรวจสอบทุกหน่วยใน ร.พ.

ว่าดำเนินงานตามเอกสารอย่างเคร่งครัด ถ้าไม่เป็นไปตามเอกสารจะให้ใบแก้ไข

แล้วเข้ามาตรวจเมื่อพร้อม ถ้าสถาบันฯเข้ามาตรวจแล้วเป็นไปตามเอกสารคุณภาพ

ไม่มีข้อแก้ไขแล้ว ก็จะให้ป้ายรับรอง ให้ ร.พ.นำมาประกาศให้ผู้ใช้บริการได้มั่่นใจ

ระหว่างที่ได้ป้ายรับรอง ทุกๆ จุดจะต้องทำตามเอกสารที่เขียนขึ้นเองอ้างอิง

มีกรรมการตรวจสอบภายใน คอยตรวจสอบเป็นระยะ มีสุ่มตรวจ ถ้าไม่่ตามเอกสาร

จะได้ใบแจ้งให้แก้ไข ให้มีคุณภาพสม่ำเสมอตามเอกสารคุณภาพทุกประการ

สถาบันฯ จะเข้ามาตรวจเป็นระยะ ๆ ต้องเป็นไปตามเอกสารแล้วจะให้คงป้ายต่อไปได้

ถ้าไม่สามารถทำตามเอกสาร จะต้องแก้ให้ได้ มิฉะนั้น จะถูกเอาป้ายคุณภาพออก

                     (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yx2k-7fa491.jpg)

         ขบวนการคุณภาพนี้ ก็คือ นำ วงจรคุณภาพของเดมมิงส์ มาใช้

P คือ นโยบาย คุณภาพของ ร.พ.

D คือ เอกสารคุณภาพที่เจ้าหน้าที่เขียนขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย P

C คือ การตรวจสอบโดยกรรมการตรวจสอบภายใน และ ภายนอก โดยสถาบันฯเอง

A คือ การแก้ไขให้การดำเนินงานต้องเป็นไปตามเอกสารคุณภาพ

         ถ้าแก้ไม่ได้ต้องขอสถาบันฯ เปลี่ยนเอกสารคุณภาพ

ถ้ามีเหตุผล สถาบันฯจะยอมให้แก้ได้

เมื่อการดำเนินงานทุกๆ จุดเป็นไปตามวงจรคุณภาพ ประชาชนผู้มาใช้บริการ

จะได้รับบริการที่มีุคุณภาพได้จริง

นอกจาก ทำตามเอกสารคุณภาพแล้ว ร.พ.จะต้องมี

                (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yx4w-e4d5c8.jpg)

                      ตู้รับความคิดเห็น

         ให้ผู้ใช้บริการได้แสดงความคิดเห็น ต่อบริการที่ได้รับ เมื่อ มารับบริการ

ถ้าต้องการแสดงความคิดเห็น สามารถเขียนได้ทั้ง คำชม

และ คำติ ความคิดเห็น นี้จะถึงมือ ผู้อำนวยการ ร.พ.เพื่อดำเนินการ ต่อไป

การเขียนนี้ ควรเขียนรายละเอียด วันเวลา ชื่อ บุคคลที่

เกี่ยวข้อง เรื่องอะไร อยากให้ทำอย่างไร

โดย กรุณาเขียน ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น ที่อยู่ เบอร์โทรฯ

เพื่อ เรียนเชิญ เข้ามาให้ข้อมูล กับผู้อำนวยการ และ

กรรมการบริหาร ร.พ.เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

         ในกรณีคำชม จะได้ดำเนินการ ชมเชย เป็นตัวอย่างให้

เจ้าหน้าที่ ร.พ.เห็นเป็น ตัวอย่างที่ควรกระทำ หรือ

         ถ้าเป็นคำติ จะได้นำมาดำเนินการแก้ไข เพื่อให้ผู้ใช้

บริการได้รับความพึงพอใจ ตามแนวทางพัฒนาให้เป็น

              ร.พ.คุณภาพ

ความคิดเห็น ของผู้ใช้บริการจะเป็นประโยชน์เหมือน

กระจกเงา ให้ ร.พ. รับทราบ เพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไข

ให้ประชาชนผู้ใช้บริการ ได้รับความพึงพอใจ นำไปสู่การเป็น

ร.พ.คุณภาพ

ดูเพิ่มเติมสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน)

ซึ่งทำหน้าที่ พัฒนาและรับรองคุณภาพ ให้ ร.พ. ได้ป้ายรับรองคุณภาพ

ที่เวบ http://www.ha.or.th/ha2010/th/home/index.php (http://www.ha.or.th/ha2010/th/home/index.php)

            emo43 emo43 emo43


หัวข้อ: "การเบิกจ่ายสุขภาพ อย่างเหมาะสมด้วยระบบส่งข้อมูลเบิกตาม DRG ทางออนไลน์"
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 23 มกราคม 2553, 10:27:57

               ขู่ตัดงบรักษาพยาบาล เดลินิวส์ วันเสาร์ ที่ 23 มกราคม 2553

                       (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yw03-e8169b.jpg)

         นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังมอบเงินตอบแทนให้ลูกจ้างประจำกระทรวงการคลังว่า ในปี 53 นี้ กรมบัญชีกลางจะปรับลดเป้าหมายการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลลง 5,000-6,000 ล้านบาท

         ด้วยการให้โรงพยาบาลและหน่วยงานต้นสังกัดพิจารณาการเบิกจ่ายให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเบิกยาบำรุง เช่น วิตามิน หรือเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่การรักษาโดยตรง และการเบิกจ่ายยาควรให้เหมาะสมกับเวลา ไม่ให้เบิกในปริมาณที่มากเกินไป อีกทั้งให้ช่วยตรวจสอบพฤติกรรมการรักษา เพราะมีบางรายที่รักษาโรคเดียวกัน แต่ไปพบแพทย์หลายโรงพยาบาล เพื่อนำยาไปขายต่อ เนื่องจากยามีราคาแพง และที่ผ่านมาได้ลงโทษปรับไปแล้วหลายราย เป็นเงินนับล้านบาท
    
         เนื่องจากกรมบัญชีกลางตรวจสอบพบว่า ยอดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่มีอยู่ 48,000 ล้านบาท ในปี 51 ที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 60,000 ล้านบาท ในปี 52 นับว่าเป็นยอดที่เพิ่มขึ้นสูงมาก

         ดังนั้นเพื่อเข้มงวดในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกองทุนประกันสังคม กรมบัญชีกลาง เพื่อดูแลการเบิกจ่ายรักษาพยาบาลให้เป็นไปตามความเป็นจริง โดยกระทรวงการคลังเตรียมเสนอ ครม. เพื่อออกกฎระเบียบพร้อมกับกระทรวงแรงงานที่ดูแลประกันสังคมในเร็ว ๆ นี้

         นำมาจาก ข่าวทั่วไทย น.ส.พ.เดลินิวส์

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=562&contentID=44429 (http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=562&contentID=44429)

         emo4:)) emo4:)) emo4:))

         จะให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับความเป็นจริง สามารถทำได้ด้วยการให้เบิกจ่ายตามจริงส่งข้อมูลการเบิกจ่ายผ่านทางอินเตอร์เนต ใช้ การวินิจฉัยโรคร่วม Diagnostic Related Group : DRG

         ตามข้อ 5. ในบทความ เรื่อง "เพิ่มSupplyให้พอกับDemandมี ร.พ.ให้เลือกเองได้ทุกที่,มีคอมพ์ช่วยเหมือนธนาคารออนไลน์ ผลจากการทำให้มีดังกล่าวข้างต้น มีผลดี ต่อไปนี้ คือ

1.คนไข้ มีอำนาจในการเลือกสถานพยาบาลเอง แทนถูกบังคับ ต้องจำใจใช้

ถ้าบริการไม่ดี ก็เปลี่ยนสถานบริการเองไม่ได้ ต้องขอใบส่งตัวซึ่งอาจไม่ออกให้

2.ร.พ.ต้องแข่งกันด้านคุณภาพในการบริการ และ รักษาพยาบาล

ร.พ.ใดไม่มีคุณภาพ จะไม่มีผู้เข้ามาใช้บริการ ไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย จะล้มไปในที่สุด

3.ทำให้มีการบันทึกข้อมูลการรักษาลงในไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของคนไข้

ผู้ให้การรักษาเมื่อดึงประวัติผู้ป่วยออกมาจากคอมพ์ สามารถได้เรียนรู้

จากการดูวิธีการรักษาของแต่ละแห่งได้

ทำ่ให้เกิดการเรียนรู้ด้านการรักษาพยาบาลระหว่าง ร.พ.โดย

ร.พ.ที่มีความสามารถสูงกว่า ให้ตัวอย่างการรักษากับ ร.พ.ที่มีความรู้น้อยกว่าได้

ที่สำคัญที่สุด คือ การใช้คอมพิวเตอร์ บันทึกการมาใช้บริการไว้ สามารถทำให้

การตรวจคนไข้ และ คนไข้ได้ยาเร็วขึ้น เมื่อใช้คอมพ์คล่องขึ้นแล้ว เนื่องจาก

การส่งข้อมูลทางระบบสาย LAN ไปห้องยา และ พิมพ์สติกเกอร์ยา ให้เภสัชจัดยา

ตามแพทย์สั่งชัดเจนกว่าการใช้ลายมือเขียน กดใช้ยาเดิมได้ นำมาปรับได้ตามต้องการ

4.ทำให้มีการว่าจ้างองค์กรอิสระเข้ามาพัฒนา และ ให้ใบรับรองคุณภาพ ร.พ.เพื่อ

ให้ผู้ใช้บริการมั่นใจในมาตรฐานขององค์กรอิสระ ที่ให้ใบรับรอง

ถ้ามีใบรับรองคุณภาพ ผู้มาใช้บริการจะมากกว่า ไม่มีใบรับรองคุณภาพ

องค์กรอิสระที่มารับรองมีคุณภาพเยี่ยม ๆ จะมีแรงจูงใจมากกว่า ไม่มีุคุณภาพเท่า

และ ตัวชี้วัดที่สำคัญ ของ ร.พ.คุณภาพ คือ ประชาชนพึงพอใจ ไม่มีการร้องเรียนเลย

5.สามารถแยกว่ารักษาที่สถานพยาบาลใด เพื่อจ่ายค่าบริการให้ โดยดูจากเนตได้

มีเกณฑ์มาตรฐานของราคา ยุติธรรม ไม่มีการคิดค่าบริการสูงเกินจริง โดยคิด

ตาม  DRG : Diagnosis Related Groups การวินิจฉัยกลุ่มโรคร่วม

            (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yw3x-2da23c.jpg)

ที่มีหลักการคิดค่าบริการที่แน่นอน มีเหตุ มีผล เพื่อจ่ายให้สถานบริการ

         emo6::)) emo6::)) emo6::))


หัวข้อ: The Social Network ทำได้ เครือข่ายสาธารณสุข จึงสามารถให้คนไข้รักษาได้ทุกที่
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 12 ตุลาคม 2553, 11:33:39

               แรงงานไอเดียพุ่งกระฉูด หวังไกลซื้อใจผู้ประกันตน ป่วยเข้ารักษาตัวที่ไหนก็ได้ 
                          ขอบคุณเวบแนวหน้าวันพฤหัส 23/9/2010 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
                       http://www.naewna.com/news.asp?ID=229128 (http://www.naewna.com/news.asp?ID=229128)
 
                                           (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yr2m-af95e8.jpg)
 
           เมื่อวันที่ 22 กันยายน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  เปิดเผยถึงข้อเสนอให้มีการปรับปรุงระบบประกันสังคมว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้ ซึ่งนอกจากการปฎิรูปโครงสร้างประกันสังคมแล้ว ก็ควรมีการปรับโฉมของสำนักงานประกันสังคม(สปส.)ใหม่ด้วย เช่น กรณีที่ผู้ประกันตนเจ็บป่วย ซึ่งจริงๆแล้วควรเดินทางเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ ซึ่งตนเองจะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จให้ได้

           ด้านนายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการ สปส.กล่าวว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ประกันตนเข้าไปใช้บริการที่ใดก็ได้นั้น ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบหลายด้าน โดยอาจต้องแบ่งการรักษาพยาบาลเป็นกลุ่ม เช่น คนที่ป่วยเพราะปวดหัวตัวร้อนที่กินยาแล้วก็หาย หรือคนที่ต้องผ่าตัด หรือป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เป็นต้น โดยโรคทั่วไปอาจเข้าโรงพยาบาลไหนก็ได้ที่ทำสัญญาไว้กับสปส. แต่โรคร้ายแรงหรือโรคเฉพาะอาจต้องประสานกับสปส.เพื่อเบิกจ่าย อย่างไรก็ตามคงต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษารายละเอียด ซึ่งสปส.ต้องลงนามในสัญญาจ่ายเงินให้กับโรงพยาบาลในสังกัดประมาณเดือนธันวาคม

           ขณะที่ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)กล่าวว่า เห็นด้วยหากมีการปรับเปลี่ยนระบบเช่นนี้ซึ่งลูกจ้างที่เคยยื่นข้อเรียกร้องไว้แล้วให้ผู้ประกันตนเข้าโรงพยาบาลใดก็ได้ที่เป็นคู่สัญญากับสปส.เพราะหลายครั้งที่ลูกจ้างต้องเจ็บป่วยระหว่างกลับบ้านในต่างจังหวัด หากรักษาพยาบาลก็ต้องเสียเงินสำรองจ่ายไปก่อน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระบบนี้ก็จะช่วยให้ลูกจ้างได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลมากขึ้น นอกจากนี้อยากให้ลดเงื่อนไขต่างๆสำหรับโรคร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังลงด้วย 
 
                             emo28:win: emo28:win: emo28:win:

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

                     (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yvjz-f760f4.jpg)   
                         
             จะทำได้ถ้าเชื่อมสถานพยาบาลทุกแห่งให้เข้ามาใน เครือข่ายสาธารณสุข Virtual Private Network : VPN  เมื่อคนไข้ไปรักษาที่ ร.พ.ใดก็ตาม ก็ให้แพทย์ที่ ร.พ.นั้นซึ่งต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่าย มีพาสเวอร์ด ยูสเซอร์ เนมเข้าไปในเครือข่าย เข้าไปใน ร.พ.ที่ผู้ป่วยเคยรักษา และ ต้องเป็นสมาชิกเครือข่ายด้วย เมื่อเข้าไปก็จะเสมือนเข้าไปนั่งอยู่ที่ ร.พ.นั้น สามารถดึงประวัติขึ้นมาให้การรักษาเสมือนทั้งคนไข้ และ แพทย์นั่งให้การรักษาอยู่ที่ ร.พ.นั้นเลย

             เมื่อสั่งยาก็เหมือนสั่งยาที่นั่น แต่ชื่อ แพทย์ที่รักษาจะระบุเป็นแพทย์ที่ ร.พ.ที่ให้การรักษาจริง เมื่อจ่ายยาจาก ร.พ.ที่เข้ารักษาแล้วโดย ร.พ.นี้จ่ายยา ให้รับได้เลย ไม่เสียเงินค่ารักษา แต่ ร.พ.นี้จะเรียกเก็บค่ารักษาจาก สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.ได้เองเลย โดยเอาข้อมูล จาก ร.พ.ที่รักษาเสมือน แต่เป็นชื่อแพทย์ ที่รักษาจริง นี้ส่งไปเบิก ซึ่ง สปสช.จะโอนเงินให้ ร.พ.ที่ให้การรักษาจริง แต่ ร.พ.เสมือนจะได้ประวัติการรักษาโดยแพทย์จากที่อื่น บันทึกไว้

                             emo28:win: emo28:win: emo28:win: