Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องสุขภาพและความงาม => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 18 พฤศจิกายน 2553, 19:43:29



หัวข้อ: คลังไฟเขียวข้าราชการตรวจสุขภาพ ร.พ.เอกชน เบิกได้เพื่อนำเวชศาสตร์ป้องกันมาใช้
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 18 พฤศจิกายน 2553, 19:43:29

         วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4242  ประชาชาติธุรกิจ
         http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02p0101060953&sectionid=0201&day=2010-09-06

                 รพ.เอกชนชิงเค้ก6หมื่นล้าน คลังไฟเขียวขรก.ป่วย-ตรวจสุขภาพเบิกได้

                                    (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l8fhd1-bf2ef8.jpg)

        โรงพยาบาลเอกชนขานรับกรมบัญชีกลางปรับระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลใหม่ ไฟเขียว "ข้าราชการ-ครอบครัว" ใช้บริการ

         ดีเดย์ 1 ตุลาคม เผยนำร่องด้วยการผ่าตัด "ไม่ฉุกเฉิน" ก่อนขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น พร้อมเปิดช่องให้ผู้ป่วยร่วมจ่ายส่วนต่าง คาดเสนอตัวเข้าร่วมโครงการเพียบ โรงพยาบาลใหญ่ "สมิติเวช-พญาไท" เร่งศึกษาเงื่อนไข รายละเอียดก่อนโดดลุย "กรณ์" ยันงบฯไม่บานปลาย

        นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของรัฐ ให้สอดคล้องกับการให้บริการทางการแพทย์และระบบประกันสุขภาพที่ใช้ในปัจจุบัน

        กรมบัญชีกลางได้ขยายสิทธิ์การรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน ให้กว้างขึ้นจากเดิมตามระเบียบของกรมบัญชีกลางเดิมกำหนดให้ข้าราชการและสมาชิกในครอบครัว สามารถเข้ารับการรักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น ยกเว้นกรณีฉุกเฉินที่อันตรายถึงชีวิตที่สามารถใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนได้

         ที่ผ่านมากรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบในการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลใหม่ โดยนำเสนอพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป

         ทั้งนี้ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการฉบับนี้ ได้กำหนดขอบเขต "การรักษาพยาบาล" ไว้ค่อนข้างกว้าง ทั้งการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ข้าราชการและครอบครัว สำหรับการรักษาโรค การตรวจวินิจฉัย การฟื้นฟูสมรรถภาพ

รวมถึง การตรวจสุขภาพ การเสริมสร้างสุขภาพ และ การป้องกัน ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
                               แต่ไม่รวมถึงเรื่องของความสวยงาม

         ส่วนค่ารักษาพยาบาลรวมถึง

1.ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเลือด ค่าออกซิเจน

2.ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดโรค

3.ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการพยาบาล ค่าตรวจวินิจฉัย

แต่ไม่รวมค่าธรรมเนียมแพทย์พิเศษ ค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ

4.ค่าตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตรและการดูแลหลังคลอดบุตร

5.ค่าห้องและค่าอาหาร

6.ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค เป็นต้น

                  emo43 emo43 emo43

SSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSSs

                          (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l8fi0e-6f65f9.jpg)

         ความต้องการเข้ารับบริการสุขภาพ หรือ Demand มากกว่า ปริมาณโรงพยาบาล หรือ Supply

รัฐบาล จึงได้หาทางเพิ่มโรงพยาบาลให้สมดุลย์กับความต้องการ มีโรงพยาบาลมากขึ้น ได้แก่

         โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล ที่พัฒนามาจากสถานีอนามัย ในปี 2555 จะมีกว่า 9 พันแห่ง

แล้ว ยังเพิ่ม โรงพยาบาลเอกชนให้เข้ารับบริการได้อีกด้วย ปัญหาเข้าพบแพทย์ยากจะได้ลดลง และ

         เพิ่มคุณภาพ การให้บริการด้วยการเป็นโรงพยาบาล 3 ดี หรือ โรงพยาบาล 3 S ได้แก่

ดีด้านสถานที่ ดีด้านบริการ และ ดีด้านระบบ ประชาชนจะมีสุขภาพดีถ้วนหน้าเป็นจริงในปี 2555

                               2emo20:)):) emo20:)):) emo20:)):)(2555)


หัวข้อ: รพ.รุกตลาด"ป้องกัน"ก่อนเจ็บป่วย สร้างฐานรายได้ใหม่-จับจุดคนไทยหันใส่ใจสุขภาพ
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 18 พฤศจิกายน 2553, 19:52:30

       ขอขอบคุณเวบ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ทีี่เือื้อเฟื้อข่าว
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1290070898&grpid=00&catid=no (http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1290070898&grpid=00&catid=no)

                                  (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lc2zkz-a5115a.jpg)

         ร.พ.เอกชนพลิกเกม เบนเข็มเพิ่มน้ำหนักรุกตลาด "การป้องกัน" รับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ เดินหน้าจัดกิจกรรมควบคู่ชูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ ราคาพิเศษกระตุ้นตลาด-ดึงลูกค้าใหม่สัมผัสบริการ หวังสร้างรายได้เสริม "การรักษา"

         เผยลงทุนน้อยได้ผลคุ้มค่า "สมิติเวช-กรุงเทพ-เปาโล" เดินหน้าปูพรมเต็มพิกัด ขนโปรดักต์ใหม่ ราคาเร้าใจเพิ่มทางเลือก

                             พลิกเกมเจาะตลาด "ป้องกัน"

         น.พ.โชคชัย จารุศิริพิพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท เปิดเผยว่า ตลาดสุขภาพเป็นขนาดใหญ่ และมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อีกมาก หลาย ๆ แห่งจึงหันมาโฟกัสกับตลาดนี้มากขึ้น และมีการทำตลาดอย่างจริงจังมากขึ้น มีการจัดแคมเปญร่วมกับพันธมิตร อาทิ บริษัทเครื่องมือแพทย์ บริษัทประกัน บริษัทยา จัดแพ็กเกจรวม อาทิ ตรวจตับ รับวัคซีนตับอักเสบในราคาพิเศษ

         พร้อมกันนี้ยังให้ข้อมูลว่า แพ็กเกจตรวจสุขภาพมีอัตราเติบโตปีละ 20-30% โดยกลุ่มลูกค้าเฮลท์คอนเชียสจะมีการตรวจประจำทุกปี และบอกต่อปากต่อปากไปยังกลุ่มญาติ คนรู้จัก

         นอกจากการให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพที่มีมากขึ้นแล้ว ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ โดยเฉลี่ยมีอายุลดลง 30-40 ปี จากเดิมเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ขณะเดียวกัน จากสถิติพบว่าผู้หญิงให้ความสนใจตรวจสุขภาพมากกว่าผู้ชาย

         จากการสำรวจพบว่าขณะนี้โรงพยาบาลหลาย ๆ แห่งอยู่ระหว่างการจัดแคมเปญตรวจสุขภาพราคาพิเศษ อาทิ เปาโลฯ จัดแคมเปญแพ็กเกจตรวจสุขภาพเจาะกลุ่มครอบครัว "แฮปปี้ เฮลตี้ แฟมิลี่ สุขภาพดียกครัว 16 รายการ" ราคาเริ่มต้น 3,900 บาท ขณะที่แพ็กเกจครอบครัวเล็ก (พ่อ แม่) 7,490 บาท ครอบครัวใหญ่ (พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย) 13,900 บาท ซึ่งเป็นการกระตุ้นการซื้อแพ็กเกจ เพื่อมอบให้กับคนอื่น ๆ ตั้งแต่วันนี้-15 ธันวาคม

          emo26:D emo26:D emo26:D


หัวข้อ: คลังไฟเขียวข้าราชการตรวจสุขภาพ และ รักษาพยาบาล ร.พ.เอกชน ได้ด้วย
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554, 09:39:26

บัญชีกลางเร่ง ให้ขรก.รักษา ในรพ.เอกชน
โดยเวบไทยโพสต์วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554 - 00:00
http://www.thaipost.net/news/190211/34582 (http://www.thaipost.net/news/190211/34582)

(http://www.cmadong.com/imgup/pics/cmd474893.jpg)

นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า
ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลางเร่งพิจารณาความพร้อมของโรงพยาบาลเอกชน
เพื่อเปิดให้สิทธิ์ข้าราชการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ หลังจากเรื่อง
ล่าช้ามาพอสมควรแล้ว จากเดิมที่จะให้เริ่มตั้งแต่ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับ
รายงานว่าโรงพยาบาลไม่พร้อม

ดังนั้น จึงโดยได้ให้นโยบายใหม่ไปว่า หากโรงพยาบาลใดพร้อม ให้เริ่มก่อนได้เลย
"ที่ผ่านมามีเสนอขอเข้าร่วมโครงการมา 80 แห่ง ซึ่งต้องให้สำนักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)
กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาคัดกรอง และสอนเรื่องการส่งข้อมูลค่ารักษาพยาบาลที่ต้องเบิกกับ
ทางกรมบัญชีกลางก่อนด้วย โดยตอนนี้อยู่ระหว่างให้เช็กว่าพร้อมจริงกี่โรงพยาบาล
ถ้าโรงพยาบาลไหนพร้อม ผมอยากให้เริ่มก่อนเลย" นายรังสรรค์กล่าว

ทั้งนี้ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่จะได้รับสิทธิ์ จะต้องเป็นการรักษาโรคที่
ต้องนัดผ่าตัดล่วงหน้า รวมถึงการคลอดบุตร โดยจะใช้ระบบเหมาจ่ายตามโรคด้วยระบบ

 (http://www.cmadong.com/imgup/pics/cmd349916.jpg)

การวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ซึ่งรวมถึงค่าห้อง แต่จะจ่ายตามอัตราที่ราชการเบิกได้ เช่น
กรณีค่าห้องไม่เกิน 600 บาทต่อคืน ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกินผู้ป่วยจะต้องจ่ายเอง.

emo28:win: emo28:win: emo28:win:

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เมื่อมีราคากลาง ให้แข่งขันกัน ร.พ.เอกชน จะต้องปรับตัวให้คนไข้พึงพอใจเข้ารักษา

โดยคิดราคา-ให้ใกล้ราคากลางที่สุด โดย ผู้รับบริการ ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม หรือ เพิ่มน้อยที่สุด
ประโยชน์ จะตกมาถึง ผู้ใช้บริการ  emo43 ที่จะได้รับบริการที่ดี และ ในราคาไ่ม่แพงอีกด้วย

 emo20:)):) emo20:)):) emo20:)):)