17 พฤษภาคม 2567, 07:25:51
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: 173 เรื่องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย...  (อ่าน 16600 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« เมื่อ: 24 มิถุนายน 2551, 23:30:23 »

สีชมพูจักอยู่ในกายเจ้า พระเกี้ยวเกล้าจักสถิตเป็นมิ่งขวัญ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย(อันนี้รู้มานานแล้ว)

2.เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่ามหาวิทยาลัย

3.เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต (อยู่ 2 ที่ ที่แรกคือตรงสาธิตฯ ปทุมวัน/ เตรียมฯ หรือคณะศิลปกรรมตึกที่เพิ่งสร้างใหม่ แต่เด็กเตรียมฯ ชอบใช้เรียกว่า Black Gate อีกที่หนึ่งอยู่ข้างหลังมาบุญครอง/สนามกีฬาแห่งชาติ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา)

4.เป็นมหาวิทยาลัยที่ สถาปนาโดย พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง

5. เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือเงินบริจาคของประชาชนครับ เงินที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า "เงินหางม้า"
"หางม้าสีชมพู"

6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน ๑,๓๐๙ ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน ให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นตึกบัญชาการ นอกจากนี้ได้พระราชทานเงินทุนจำนวน ๙๘๒,๖๗๒.๔๗ บาท เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียน (ทุนที่ใช้ก่อตั้งจุฬาฯ ก็คือรัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานมา + เงินหางม้า ด้วย)

7. พระบรมรูป 2 รัชกาลศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะ

8. ลานหน้าพระบรมรูป ไว้ถวายสัตย์และถวายบังคมลา บางทีก็ใช้เล่นบอล

9. จุฬาฯ ยึดธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่าก่อนที่จะเข้ามาศึกษาชั้นปีที่ 1 ก็ต้องมีพิธีการถวายสัตย์ และพอตอนเรียนจบปริญญาตรีก็ต้องมีพิธีการถวายบังคมลา และทุก ๆ วันที่ 23 ต.ค. ของทุกปี ชาวนิสิต-คณาจารย์-บุคลากรจุฬาฯ จะไปทำพิธีเคารพสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า (เหมือนอยู่ในรั้วในวังกลาย ๆ เลย ศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ และทั้งสามพิธีการนี้ จะออกข่าวทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ internet ทุกปี )

10. ในปีการศึกษา 2548 พิธีการถวายสัตย์นั้นพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ให้เกียรติมาเป็นผู้นำถวายสัตย์ (แต่ในขณะที่มีพิธีถวายสัตย์ ท่านหญิงยังคงพระยศ ม.จ.สิริวัณวรี มหิดล)
บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #1 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2551, 23:32:06 »

11. นิสิตใหม่ปี 1 ที่ได้มาถวายสัตย์จะรู้สึกว่าเริ่มต้นชีวิตนิสิตใหม่อย่างสมบูรณ์แบบและภาคภูมิใจในจุฬาฯ และสถาบันกษัตริย์

12. เพียงท่านพลิกแบงค์ 100 บาท ท่านก็จะเห็นพระบรมรูป 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5 และ ที่ 6 ที่ประดิษฐานที่จุฬาฯ (เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในไทยด้วยที่มีพระบรมรูปแบบเดียวกับในธนบัตร)

13.สัญลักษณ์ตราพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตราประจำรัชกาลที่ 5และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯทุกคน

14.สีประจำมหาวิทยาลัยคือสีชมพู เป็นสีแห่งความรัก สีแห่งรักรมณ์ละมุนอุ่นไอหวาน สีสถานศึกษาสง่าไฉน.... สีประจำจุฬาฯ และการเทิดทูนล้นเกล้าสองรัชกาล อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

15.จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดาของพระองค์
คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เป็นสถานที่ที่เป็นอนุสรณ์ บ่งบอกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างถ่องแท้ นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระประสงค์อยากให้สถานที่แห่งนี้เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน(พ.ศ.2459)และในอนาคตกาล

16.เหตุที่ให้ชื่อมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณ์" เพราะว่า มีการสืบต่อเนื่องมาจากโรงเรียนที่รัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ชื่อแรกคือ " สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน " - - - - > "โรงเรียนมหาดเล็ก" - - - - >" โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " - - - - > " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " รัชกาลที่ 6 ทรงเล็งเห็นว่าใช้ชื่อเกี่ยวกับพระราชบิดาของพระองค์มาโดยตลอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความหมายว่า มหาวิทยาลัยของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ หรือ University of Prince Chulalongkorn

17.จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาปลูกด้วยพระองค์เองโดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เองโดยมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯทุกคน
("นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อชาวจุฬาฯ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี โดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ในวันที่ 15 มกราคม 2505 พระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอล ทางด้านขวา จำนวน 3 ต้น ด้านซ้ายจำนวน 2 ต้น และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล") และคำเรียกติดปากก็คือ ~จามจุรีสีชมพู-จามจุรี...ศรีจุฬาฯ~

18. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต(เหมารวมถึงนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย)
และนอกจากนี้ เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2498 ดังนั้นการใส่เสื้อที่มีสาบหลังและส่วนพับปลายแขนเสื้อ รวมทั้งเข็มขัดหนังกลับสีนํ้าตาลของนิสิตหญิง//ส่วนนิสิตชาย เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
กางเกงขายาวสีขาว ถุงเท้าสีดำหรือนํ้าตาลเข้ม รองเท้าหุ้มส้นสีดำหรือสีนํ้าตาลเข้ม เข็มขัดหนังสีดำ มีหัวเข็มขัดตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย เนคไทมีตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย จึงเป็นเอกสิทธิ์ของนิสิตจุฬาฯ ตามข้อบัญญัติตามกฎหมาย
( เป็นเกียรติเป็นศรีเป็นศักดิ์ - - เป็นเอกลักษณ์งามสง่า - - สวมชุดนิสิตจุฬาฯ - - ประกาศค่าจุฬาลงกรณ์)

19. และจุฬาฯ แทบจะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในไทยที่บังคับให้นิสิตแต่งกายถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เพราะถือว่าที่นี่เป็น Original เอามาก ๆ ทำกันมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2459 จนถึงปัจจุบันนี้
พอน้อง ๆ ที่เข้ามาเป็นนิสิตใหม่ พวกรุ่นพี่ก็จะต้องอบรมสั่งสอนเรื่องการแต่งกายแบบเข้มงวดมาก ๆ
โดยเฉพาะน้องปี 1 หญิง-จะบังคับให้ใส่กระโปรงพลีตและรองเท้าหนังสีขาวล้วนเท่านั้น ชาย-ต้องผูกเน็คไทด์ (แต่พวกรุ่นพี่ก็ต้องผูกเน็คไทด์เวลาเข้าสอบ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดระเบียบ)
ส่วนพวกรุ่นพี่ก็ต้องคอยดูแล ควบคุมการแต่งกายของทั้งน้องปี 1(และของตัวเอง)
ให้ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด (ยิ่งกว่าโรงเรียนมัธยมบางแห่งอีก)
ส่วนผู้ที่แต่งกายผิดระเบียบ เช่น ผู้หญิงเอาเสื้อออกนอกกระโปรง ก็จะถูกสายตาจากบุคคลรอบ ๆ ลงโทษเอง แถมยังมีกฎออกมาอีกว่าถ้านิสิตจุฬาฯแต่งกายผิดระเบียบก็จะโดนตัดคะแนนความประพฤติ
ก่อนครั้งแรก - ตักเตือน
ครั้งแรก 20 คะแนน - พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สอง 40 คะแนน - พักการเรียน 2 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สาม 60 คะแนน - พักการเรียน 3 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สี่ 80 คะแนน - พักการเรียน 4 ภาคการศึกษา
ครั้งที่ห้า ครบ 100 คะแนน - พ้นสภาพนิสิต
* สำหรับน้องปี 1 จะมีการกล่าวตักเตือนก่อนในสองสัปดาห์แรกของเทอมหนึ่ง ถ้าพ้นจากนี้ไปก็จะเริ่มหักคะแนนความประพฤติทันที ถึงแม้ว่าจะกระทำผิดเป็นครั้งแรกและไม่เคยได้รับคำตักเตือนเลยก็ตาม
พวกเราชาวจุฬาฯ ควรจะภาคภูมิใจในเครื่องแบบนิสิตซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานมาให้และรักษากฎระเบียบเพื่อความเรียบร้อย สวยงามและได้รับคำชื่นชมจากคนรอบข้าง ว่าที่นี่นิสิตมีวินัย ให้เกียรติสถาบัน ดูงามตาน่ามอง (สมกับคำขวัญที่ว่า " แต่งกายสง่างาม สมพระนามจุฬาลงกรณ์ ")

20.พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในไทยก็เกิดขึ้นที่
บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #2 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2551, 23:34:09 »

21. สมเด็จพระเทพฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

22. พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา2548

23. มิถุนายน 2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศสให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 4 และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อท่านมีภารกิจเยอะขึ้น ท่านก็เลยต้องล้มเลิกการสอนไป (ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย)

24. สมเด็จพระเทพฯ ได้รับการแต่งตั้งพระยศเป็นเจ้าฟ้า ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้นปีที่ 2 (สำหรับเรื่องนี้ก็ไปดูที่หอประวัติชั้นสองได้เช่นกัน มีพระฉายาลักษณ์ของท่านที่ติดอยู่กับบัตรห้องสมุดและบัตรประจำตัวนิสิตด้วย มีคำบรรยายประกอบพร้อมสรรพ)

25. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า " นิสิต-นิสิตา"

26.เทวาลัย หอประชุมใหญ่จุฬาฯ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานทั้งแบบตะวันออกและตะวันตก ผู้ออกแบบเป็นชาวต่างชาติ

27.ศาลาพระเกี้ยว เป็นอัครสถานที่มีความโดดเด่น เป็นแหล่งรวมกิจกรรมทุกอย่าง เป็นที่ตั้งของศูนย์หนังสือจุฬาฯ( ได้รับรางวัล ๑ ใน ๑๐ ร้านค้ายอดเยี่ยมในทศวรรษ...ด้วยนะ....) สหกรณ์ ตลอดจนที่รับประทานอาหาร
คุณสามารถทำกิจกรรมต่างๆนานาได้จากอัครสถานแห่งนี้

28.สระน้ำ จุฬาฯ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

29. สนามจุ๊บ (สนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ จารุเสถียร) เป็นที่อยู่ของ CU Band CU Chorus และ ที่ซ้อม ของเชียร์ลีดเดอร์

30. เมื่อถึงวันงานประเพณีต้อนรับน้องใหม่ทุก ๆ ปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็ก ๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้นิสิตใหม่เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาณาจักรแห่งจามจุรี
บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #3 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2551, 23:36:01 »

31.การรับน้องใหม่ของจุฬาฯที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปลายเดือนพฤษภาคม
น้องใหม่ทั้งหลายจะได้รับการคัดสรรเข้าบ้าน

32.ชื่อบ้านรับน้อง ก็จะมีหลากหลาย แต่กว่าครึ่งจะแปลได้สองแง่สองง่าม...

33.ถ้าเฟรชชี่คนไหนพลาดการรับน้องก้าวใหม่ มันยากจริงๆที่จะได้เจอเพื่อนต่างคณะ...
ในทางกลับกันถ้าเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ก็จะรู้จักเพื่อนใหม่ต่างคณะเยอะแยะ ...

34.เรื่องรับน้องก้าวใหม่ยังไม่จบ...กิจกรรมที่ทำกันก็จะเน้นการเต้น กิน เต้น และก็เต้น...
เพลงฮิตในการสันทนาการที่เด็กจุฬาฯเต้นเป็นกันทุกคนคือ เพลง"หอยจี้ลี่"

35. จุฬาฯ 2 ฝั่งนะ....อิ อิ งงหละสิ ฝั่งแรกคือฝั่งอนุสาวรีย์สองรัชกาล หน้าหอประชุมใหญ่ เป็นที่รวมของหลายๆคณะ.....
อีกฝั่งคือ ฝั่ง หอกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 4 คณะ คือ นิเทศฯ นิติฯ ครุฯ และวิทย์ฯกีฬา
นอกจากนี้ยังมีคณะทันตะ,สัตวะ,เภสัช,สหเวชและจิตวิทยา ที่เป็นคณะหรูอยู่ติดสยามสแควร์

36.เป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่รายล้อมไปด้วยย่านเศรษฐกิจและศูนย์การค้า

37.ผิดกับสมัยก่อนที่อยู่กลางทุ่งพญาไท ไกลมาก ๆ จนนิสิตต้องมาอยู่หอพักเพราะเดินทางไป-กลับไม่สะดวกและอาจไม่ปลอดภัย เป็นที่มาของคำว่า "นิสิต" แปลว่า ผู้อยู่หอ

38.การเดินจากฝั่งคณะวิทยาศาสตร์ไปนิเทศ ไปง่ายๆโดยไม่ต้องขึ้นสะพานลอย แต่จุฬาฯหรูกว่านั้น
มีอุโมงค์เชื่อมสองฟากถนนด้วย...

39. หอกลาง ไว้นอนหลับ อ่านหนังสือ เล่นเน็ท ดูหนัง ฟังเพลง MSN และจะกลายเป็นตลาดนัดในช่วง Midterm กับ Final

40.โรงอาหารที่ขึ้นชื่อในความอร่อยคงเป็น โรงอาหารคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งถือว่ามีเมนูหลักจากร้านก๋วยเตี๋ยวอดทน
ด้านโรงอาหารคณะอักษรฯคงไม่แพ้กัน งัดเมนูเด็ดๆ..ทั้งนั้น คณะวิศวะ มีความหลากหลายในอาหาร หนุ่มๆหล่อเพียบ
โรงอาหารบัญชี&เศรษฐศาสตร์ อยู่ที่ตึกใหม่ สีขาว โปร่งโล่งสบาย ลมเย็นมาก ๆ ด้วย แต่พอฝนตกทีก็
โรงอาหารคณะทันตะ แหล่งรวมอาหารอร่อยๆ...มากมายเช่นกัน ฝั่งครุฯก็ไม่ยอมแพ้มีเครื่องดื่มขึ้นชื่อคือ โอเรโอ้ปั่นใส่วีฟครีม ...
( ข้าวเหนียวไก่ย่าง อักษรฯ น้ำปั่น ครุฯ ไอติม บัญชี
บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2551, 23:37:33 »

41.กว่าร้อยละ 60 ของนิสิตจุฬาฯ ต้องเคยกินเวเฟอร์ ที่สหกรณ์จุฬาฯ ศาลาพระเกี้ยว...
เพราะกลิ่นที่ชวนไปลิ้มลองแน่ๆเลย...

42.หนุ่มที่สาวคณะต่างๆหมายปองมักจะอยู่ฝั่งในเมือง เช่น สถาปัตย์ วิดวะ หรือแม้กระทั่งหนุ่มๆสิงห์ดำ(รัฐศาสตร์)...

43.สาวๆก็ไม่แพ้กัน สาวสวยที่ขึ้นชื่อในจุฬาฯ ก็ต้องยกให้อักษรฯ รัดสาด บัญชี...ทั้ง สวย รวย เก่ง...อืม!

44. มีเรื่องเล่าขานว่า ถ้าผู้หญิงคนไหนเดินสะดุดลานเกียร์ จะได้แฟนเป็นเด็กวิศวะ (ต้องรีบไปซะแล้ว!!)

45.สถานที่ที่เหมาะแก่การไปนั่งสวีทกัน คือ หอกลาง(อาคารมหาธีรราชานุสรณ์:หอสมุดกลาง) ด้วยวิวที่ดูเป็นเมืองนอกมาก
มีวิว ตึกหอพักหญิงสีน้ำตาล ยิ่งดูยิ่งโรแมนติก...

46. หอพักนิสิตจุฬาฯ มี 5 หอ คือ จำปี พุดตาล พุดซ้อน เฟื่องฟ้า ชวนชม ++++ หอนอก หอพักพวงชมพู ยูเซ็นเตอร์ แอบไฮโซ

47.เด็ก self จัดในจุฬาฯ ต้องยกให้ นิเทศฯ ศิลปกรรมฯ(สินกำ)...แรงมากๆ...ขอบอก
สาวสวย - - อักษรฯ บัญชี
-
-
สาวหรู ไฮโซ - - รัดสาด
-
-
สาวเปรี้ยว - - นิเทศ
-
-
สาวแรง - - สินกำ
-
-
สาวห้าว - - วิดวะ
-
-
สาวดุ - - ครุ
-
-
สาวเคร่ง - - นิติ

48.คนภายนอกชอบมองว่าเด็กจุฬาฯเป็นพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ แต่จริงๆควรมองเด็กจุฬาฯจากภายในและความสามารถมากกว่า

49.คู่รักคู่แค้นของเด็กจุฬาฯคือ เด็กธรรมศาสตร์ งานบอลแต่ละครั้ง ต้องประชันกันให้เหนือกว่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงานบอล
แต่ละครั้ง สามารถซื้อบ้านหรูๆได้มากกว่า 3 หลัง....

50.เพลง เดินจุฬาฯ เป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม ในการต่อสู้ที่ดีที่สุด อ้าว....เดิน เดิน เถอะรา นิสิต มหาจุฬาลงกรณ์
บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #5 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2551, 23:39:41 »

51.บูม Baka เป็นบูมที่ไม่เคยมีใครให้เหตุผลได้ว่า ทำไมต้อง baka ทำไมต้อง bow bow....

52.โรงเรียนเตรียมอุดมฯ แต่ก่อนผู้ที่จะเข้าจุฬาฯต้องมาศึกษา ณ ที่นี่ แต่ก่อนชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมฯ ยังใช้ตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว(น้อย)-ต้นจามจุรี- สีชมพู-การบูม Baka เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันเหมือน ๆ กับชาวจุฬาฯ อีกด้วย

53. อุเทนถวาย อยู่กับเรามานานแล้ว หุหุ

54. สยาม สามย่าน มาบุญครอง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หุหุ

55. สถาบันภาษา ไว้สอบ FE หุหุ

56. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 8 ในเอเชีย อันดับที่ 60 ของโลกในด้านการแพทย์

57. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 46 ของโลกในด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (รัฐศาสตร์,นิติศาสตร์,เศรษฐศาสตร์,อักษรศาสตร์)

58. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 50 ของโลกในสายมนุษยศาสตร์ (คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์)

59.คะแนนในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จุฬาฯมีคะแนนนำมาตลอดทุกคณะ/สาขาวิชา...และที่นี่เปรียบเสมือนที่รวมหัวกะทิของประเทศ

60.กว่าร้อยละ 70 ของเด็กมัธยม กำลังกวดวิชาเพื่อความหวังในการเข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้...
 
61.จุฬาฯเป็นแหล่งรวมความหวังของเด็กมัธยมทั่วประเทศ...

62.การเรียนในจุฬาฯ หนักยิ่งกว่าการเอ็นทรานซ์เท่าตัว

63. ในปีการศึกษา 2548ไม่เคยมีคะแนนตํ่าสุดที่สูงมากเป็นประวัติศาสตร์ขนาดนี้ คือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกภาษาญี่ปุ่น มีคะแนนตํ่าสุดที่สูงที่สุดในประเทศในการสอบ 4 วิชาแบบสายศิลป์ (ไทย,eng,สังคม,ภาษาต่างประเทศที่สองหรือเลข 2) คือ 351คะแนน จาก 444.44 และรองลงมาคือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ภาคIR คือ 330 คะแนน จาก 444.44 คะแนน

64. มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงพระราชนิพนธ์ประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์

65.มีเพลงหนึ่งที่บอกเล่าการใช้ชีวิตในจุฬาฯ คือ เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ...ตอนช่วงสุดท้ายของเพลงถือเสมือนการเตือน เรื่องการเรียนที่ฟังแล้วซึ้งจริงๆ

66. สถานีรถไฟใต้ดินที่สามย่าน เขียนว่า
" สิ่งปลูกสร้างนี้ตั้งอยู่บนพิ้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "

67. รถป๊อป 55++ จอดหน้าศาลาพระเกี้ยว

68. ที่จุฬาฯ สามารถใช้พาหนะได้หลายอย่างและสะดวก คือ BTS,MRT,รถป็อป,รถยนต์,เฮลิคอปเตอร์(สภากาชาด)< - - - แต่อันนี้คงไม่สะดวกมั้ง และเรือ (ที่สะพานหัวช้าง)

69. ว่างๆก็ไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดนะ

70. ภาพยนตร์เรื่อง "มหา'ลัย เหมืองแร่" เกี่ยวข้องและเกิดขึ้นกับอดีตนิสิตวิศวะ จุฬาฯ โดยตรงในปีพ.ศ. 2492 พร้อมประโยคหนึ่งที่มาพร้อมกับเรื่องนี้ "เลือดสีชมพูไม่มีวันจาง แต่สีชมพูจะจางด้วยนํ้าลาย"/ "จุฬาฯ ไม่ต้อง
บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #6 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2551, 23:41:59 »

71.++++ จีฉ่อย ++++ มีทุกสิ่งในโลก หุหุ อยากได้ไรมาร้านนี้ 555++

72. ที่ร้านสเต็กสามย่านที่ใช้โต๊ะเหล็ก เขียนตัวนูนบนโต๊ะว่า "จุฬาฯ"

73.รู้ไหมว่าในจุฬาฯ(ฝั่งในเมือง)มีถนนมีชื่อNickName อยู่สองสาย คือ Art Street = ตั้งแต่คณะสถาปัตย์มาศิลปกรรมจนถึงอักษรฯ (เกี่ยวกับศิลป์) ส่วนอีกถนนหนึ่งก็คือ Hi-So Street = ตั้งแต่รัฐศาสตร์ไปถึงเศรษฐศาสตร์ไปสุดที่คณะบัญชีไง ส่วนสามแยกปากห-ม-า ก็ต้องที่วิศวะเท่านั้น !!!!!

74. ถ้าจะนับเวลาที่จุฬาฯ เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว โดยที่ไม่นับรวมว่าใช้ชื่อสถาบันว่าอะไรก็ตั้งแต่ปีพ.ศ.2442
ในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า "สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน" (ร้อยกว่าปีผ่านมา.....)

75. คณะก่อตั้งจุฬาฯ 4 คณะแรกคือ วิดวะ (เก่าแก่สุด) ,รัฐศาสตร์,อักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์,แพทย์

76.เหมารวมถึงคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.2435
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ ณ อาคารห้างแบดแมนเดิม (ต่อมาเป็นกรมประชาสัมพันธ์)ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนยันตรศึกษา อาคารที่ตั้งวังใหม่ หรือวังกลางทุ่งหรือวังวินด์เซอร์ (เคยเป็นวังของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามบรมราชกุมาร)

77. นอกจากนี้คณะรัฐศาสตร์มีเค้ากำเนิดมาตั้งแต่โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนพ.ศ. 2442 (ร.ศ.118 )ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5และได้ยกเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในสมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาฯ โดยใช้ชื่อว่า "รัฏฐประศาสนศาสตร์" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในปี พ.ศ.2476 ต่อมารัฐบาลได้ให้คณะดังกล่าวไปขึ้นต่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ (ก็คือว่า รัฐศาสตร์ จุฬาฯก็โดนยุบไปชั่วคราวครั้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2491 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง)และคณะเศรษฐศาสตร์ก็เคยเป็นแผนกหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์มาก่อนที่จะจัดตั้งเป็นคณะด้วย

78.คณะครุศาสตร์ มีเค้ากำเนิดมาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งแต่ พ.ศ.2435 ต่อมาได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พร้อมกับการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

79. เมื่อก่อน ศิริราช คือ คณะแพทย์ของจุฬาฯ ต่อมาเมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทย์ เภสัช ทันตะ ก็ไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงเป็นการสิ้นสุดคณะแพทย์ที่สังกัดจุฬา ต่อมา รัชกาลที่ 8 ทรงพระราชดำริสมควรมีคณะแพทย์แห่งใหม่ จึงเลือกตั้ง คณะแพทย์ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ดังนั้น คณะแพทย์ ที่สังกัดจุฬาจึงกำเนิดขึ้นอีกครั้ง(พ.ศ.2490)และนับเป็นรุ่นที่ 1(พ.ศ.2496) ตั้งแต่นั้นมา

80. จะเห็นได้ว่าชาวคณะรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ จุฬาฯ มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่ชาวคณะแพทยศาสตร์/ทันตะ/เภสัช จุฬาฯ จะมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัย
บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #7 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2551, 23:44:08 »

81.คำว่า SOTUS มีมานานประมาณปี2462 โดยนิสิตจุฬาฯรุ่นนั้นสรรหาคำที่มีความหมายลึกซึ้ง มาประกอบกันเป็นคำว่า SOTUS

82. คณะรัฐศาสตร์หรือชาวสิงห์ดำของพวกเราเป็นคณะเดียวในจุฬาฯ ที่ไม่ใช้คำว่า"Boom" แต่พวกเขาใช้คำว่า "ประกาศนาม" แทน >>>>> นี่....นัก..รัฐศาสตร์

83. ในอินเตอร์เนต หลาย ๆ คนชอบใช้ ฬ เรียกสั้น ๆ แทนจุฬาฯ ...สั้น ๆ แต่ได้ใจความ

84. นิสิตจุฬาฯ มีบัตรประจำตัวนิสิตเป็น ATM กับธนาคารไทยพาณิชย์ แต่ถ้ามีปัญหาเช่นเครื่องกินบัตรเข้าไปก็ต้องไปติดต่อที่สาขาสภากาชาดไทย(ตรงข้ามคณะรัฐศาสตร์)

85. ของที่ขายในสหกรณ์ ศาลาพระเกี้ยว ราคาถูกมาก ๆ มากกว่าใน super market-seven eleven
หรือที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป ยิ่งเป็นนิสิตเอง ยิ่งลดเข้าไปใหญ่

86. จุฬาฯ มีรายได้จากสามย่าน- Siam Square- มาบุญครอง-โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา-อุเทนถวาย คาดว่าสำนักงานทรัพย์สินแห่งจุฬาฯ คงดูแลอยู่ (ไม่แน่ใจว่ารวมถึงสาธิตฯ จุฬาฯ กับสาธิตฯ ปทุมวัน-สภากาชาดหรือเปล่า) (ทางรัฐบาลจึงไม่ค่อยให้งบ ฯ แก่จุฬาฯ เท่าไร ข้ออ้างคือ จุฬาฯ มีรายได้มากแล้ว แต่ก็ไม่มีกฎบัญญัติข้อไหนบอกว่าถ้ามีรายได้มากแต่จะได้งบฯน้อย และมาบัดนี้ทางจุฬาฯ ยืนกรานปฏิเสธแอดมิชชั่นในปี 2549 เข้าไปอีก เลยโดนขู่จะตัดงบฯ ท่านรองอธิการบดีท่านหนึ่งเลยกล่าวกลับไปว่า "ทางจุฬาฯ เองก็ไม่ค่อยได้รับงบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมานานแล้ว ถ้ามาบัดนี้ จะไม่ได้เลย ก็ไม่ได้ทำให้จุฬาฯ เดือดร้อน ถ้าจุฬาฯคิดจะหาเงินทำนาบนหลังคน ขูดรีดผู้เช่าที่จริง ๆ ล่ะก็ หาได้มากกว่าที่พวกคุณหาเอาไปให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศรวมกันด้วยซํ้าไป") < - - - แสบไหมล่ะ คงฉุนจัดอ่ะ คงอึดอัดอยากพูดมานานแล้วไง ทั้งห้องประชุมสภาอธิการบดีจะได้รู้ ๆ กันไปเลย ทางดร.ภาวิชเองก็ว่าจุฬาฯ ว่าเรื่องมากอยู่ที่เดียว ที่อื่นไม่เห็นมีปัญหา จุฬาฯ ไม่รับผิดชอบต่อสังคม หาสปิริตพี่พระเกี้ยวไม่เจอ(เราอ่านจากmanager.co.th) แต่เราคิดว่าที่อื่น ๆ เขาก็คงไม่อยากได้แอดมิชชั่นหรอก แต่เขาไม่มีอำนาจต่อรองพอ ถ้าทำแบบจุฬาฯ มีหวังได้โดนตัดงบฯ หรือโดนกีดกันต่าง ๆ นานา
~*~ขออธิบายต่อนะ เพื่อกันความเข้าใจผิดกัน ผู้เช่าที่สยามสแควร์ที่ถูกเก็บเงิน ถูกเก็บจากผู้ที่เซ้งที่จากจุฬาฯ อีกทีหนึ่ง(หรืออาจจะเช่าช่วงเป็นสิบ ๆ ทอด) จุฬาฯ ไม่ใช่ผู้เก็บค่าเช่าโดยตรง

87. บัตรจอดรถสยามสแควร์มีตราองค์พระเกี้ยวอยู่บนบัตรด้วย แสดงถึงความเป็นเจ้าของที่ดิน

88. แทบจะไม่มีนิสิตจุฬาฯ คนใดที่จำเลขประจำตัวนิสิตไม่ได้และการลืมบัตรประจำตัวนิสิตในวันหนึ่ง ๆ เหมือนกับว่าเราแทบจะหมดสิทธิ์ทำอะไรหลาย ๆ อย่างไปเลย (แอบเห็นเด็กจุฬาฯ หลายคนแล้วนะที่พอจะเข้า BTS,MRT แต่สอดบัตรผิด ใช้บัตรนิสิตสอดเข้าไป ต่อไปคงต้องขอทางกรมขนส่งให้เด็กจุฬาฯ ใช้บัตรนิสิตแทนบัตรรถไฟฟ้าแล้วล่ะมั้ง !!!)

89. BTS สถานีสยาม-สนามกีฬาฯ เป็นสถานีที่ชาวจุฬาฯ ใช้ขึ้นและลงบ่อยที่สุด แต่สถานีศาลาแดงเป็นสถานีที่ชาวคณะแพทย์ใช้บ่อยที่สุด ส่วน MRT ก็คงหนีไม่พ้นสถานีสามย่านกับสถานีสีลม

90. วงเวียนชีวิตของชาวจุฬาฯ ช่วงเช้าคือลง BTS (ส่วนมาก)ที่สยามและลงมาขึ้นรถป๊อปตรงหน้าร้าน Dunkin' Donuts ตอนช่วงเย็นก็สลับกันขึ้นรถป๊อปก่อนแล้วค่อยมาขึ้น
บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #8 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2551, 23:47:50 »

จากเว็บ:

http://gensci.igetweb.com/index.php?mo=3&art=7237
http://quezie.exteen.com/20050911/vs

ที่เหลือ 91-173 อ่านได้จากเว็บที่ลิ้งค์มานะครับ  ^_^
บันทึกการเข้า
prapasri AH
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,256

เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2551, 20:11:30 »

Cheesy ดร.มนตรีคะ
วันนี้พี่มาอ่าน เรื่องของจุฬา ชอบมากเลยค่ะ ขอsave ไว้นะคะ Cheesy
บันทึกการเข้า

ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
ชัชชัย
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2535
กระทู้: 633

« ตอบ #10 เมื่อ: 30 มิถุนายน 2551, 19:06:18 »

"   ทุกเรื่อง...ในรอยจำ...ล้ำคุณค่า
เล่าขาน....ผ่านกาลเวลา
ยังตรึงตรา....สถิตย์ใจ "
บันทึกการเข้า

ชื่อ ชัดชัย แต่ หัวใจเบลอๆ ..(เบลอ ว่ารักแถบ)
www.allseasonsstudio.com
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><