14 พฤษภาคม 2567, 04:59:20
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม"  (อ่าน 7230 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 05 ตุลาคม 2552, 15:44:08 »




ซีพีเอฟ รับCSR-DIW มาตรฐาน จากกระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมพัฒนาสู่ ISO26000

จาก น.ส.พ.มติชน วันอาทิตย์ที่  4 ต.ค. 52

ดร.สมหมาย เตชะศิรินุกูล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ

เปิดเผยว่า ซีพีเอฟโดยโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำแกลง อ.แกลง จ.ระยอง

ได้รับเลือกจากกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ได้รับเกียรติบัตร

CSR-DIW

(Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Works: CSR-DIW)

หรือ มาตรฐานกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยการ

แสดงความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมต่อสังคม


ดำเนินกิจกรรม CSR หลากหลายรูปแบบ เช่น

การแจกทุนการศึกษาและอุปกรณ์การเรียนให้แก่โรงเรียนในชุมชน

การร่วมกิจกรรมด้านพระพุทธศาสนา การจัดโครงการอาหารกลางวัน และ

ร่วมปลูกข้าวเพื่อประโยชน์ด้านโภชนาการ

ดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานรัฐ

ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและรักษาระบบนิเวศน์ เพื่อประโยชน์

ด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพและสร้างความปลอดภัยให้ชุมชน เป็นต้น

ค่านิยมองค์กร หรือ CPF Way ข้อที่ 6 ว่าด้วย

การตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ตลอดจนการดำเนินนโยบายด้านความปลอดภัย

อาชีวะอนามัย และสิ่งแวดล้อม (CPF SHE)


เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งปลูกฝังจิตสำนึกของพนักงานซีพีเอฟให้ตระหนักถึงสังคม

ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

ดูข่าวทั้งหมดที่

http://news.sanook.com/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9Acsr-diw-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88-is-831875.html

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

นำมาบอกพวกเราให้เห็นคุณค่าของ มาตรฐานต่าง ๆ เพื่อบังคับให้เกิดการปฏิบัติ

ถ้าไม่ได้ใบรับรองมาตรฐาน ก็จะไม่มีผู้ซื้อบริการ

ทำให้สามารถคุมการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องคำนึงถึง

ผลข้างเคียงต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมด้วย


 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2553, 09:03:07 »



ลงทะเบียนสัมมนาได้ที่

http://info.matichon.co.th/pcc_summana/csr2010/detail.html

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 11 กันยายน 2553, 09:23:44 »


          อุตสาหกรรมแร่ 11 แห่งของไทยก้าวสู่การเป็นองค์กร
                 ที่ดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

         ขอขอบคุณเวบฐานเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 11 กันยายน 2010
         กอง บก.ออนไลน์    ข่าวประชาสัมพันธ์   
         http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=41243:-11-&catid=171:pr&Itemid=512

                 

         กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอได้ดำเนินโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรม เหมืองแร่

                         ให้มีมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม

         เพื่อส่งเสริมให้อุตสากรรมแร่ของไทยดำเนินงานด้วยการผสมผสานความรับผิดชอบ ต่อสังคม ตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ พ.ศ. 2553 (CSR-DPIM 2553)

         ซึ่งในวันที่ 3 กันยายน 2553 นายปณิธาน จินดาภู รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรและสรุปผลการดำเนินงานของสถาน ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ 11 แห่ง ที่ปฎิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ พ.ศ. 2553 (CSR-DPIM 2553) ได้แก่           

1.) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด

2.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (เหมืองแม่เมาะ)

3.) บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)

4.) บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

5.) บริษัท เคมีแมน จำกัด

6.)บริษัท บ้านปูมินเนอรัล จำกัด

7.) บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน)

8.) บริษัท เหล็กสยาม (2001) จำกัด

9.) บริษัท ศิลาเลิศจิต จำกัด

10.) ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงโม่หินชุมแพรุ่งเรือง

11.) บริษัท ศิลาอารี จำกัด

                 win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #3 เมื่อ: 30 กันยายน 2553, 08:24:35 »


               เกตส์ และบัฟเฟตต์ ตั้งโต๊ะจีนรอ เศรษฐีเจ้าถิ่นยังประปราย
                      โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   29 กันยายน 2553
               http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9530000136931

              
      
       วอร์เรน บัฟเฟตต์ (ซ้าย) กับบิล เกตส์ สองมหาเศรษฐีอเมริกัน ไปร่วมในงานแสดงรถยนต์พลังงานสะอาดของ BYD ตามคำเชิญของ หวัง เฉินฟุ ผู้ก่อตั้งฯ ชาวจีน เมื่อวันที่ 28 ก.ย. (ภาพเอเอฟพี)

       เอเอฟพี - บิล เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ สองมหาเศรษฐีชาวอเมริกันเดินทางมาเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยง พบปะบรรดามหาเศรษฐีจีน ในวันที่ 29 ก.ย.ท่ามกลางกระแสข่าวความลังเลเข้าร่วมงานของผู้รับเชิญชาวจีนทั้งหลาย
       
       เกตส์และบัฟเฟตต์ ซึ่งประสบความสำเร็จจากการชวนเศรษฐีอเมริกัน 40 คน เข้าร่วมทำบุญ ในโครงการ "The Giving Pledge" ได้ยืนยันว่าการจัดงานเลี้ยงนี้เพื่อพบปะหารือและขอคำแนะนำจากแขกชาวจีนในการทำกิจกรรมการกุศล
       
       โกลบอล ไทมส์ สื่อของทางการจีน รายงานวันที่ 29 ก.ย.ว่า ผู้ตอบรับการเข้าร่วมงานเลี้ยงในวันพุธนี้ แน่นอนแล้วว่ามี พาน สืออี้  และ จัง ซิน ประธานและซีอีโอ ของบริษัทพัฒนาที่ดิน SOHO China และ ยังมี หนิว เกินเซิง ผู้ก่อตั้ง เหมิ่งหนิว เดลี่
       
       นอกจากนั้น เจ็ตลี นักแสดงใจบุญ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ The One กล่าวว่า เขาจะไปร่วมพบปะกับเกตส์และบัฟเฟตต์ก่อนงานเลี้ยงเพื่อพูดหารือเรื่องกิจกรรมการกุศล
       
       รายงานข่าวกล่าวว่า งานเลี้ยงครั้งนี้ได้รับความสนใจในประเทศจีนมาก ทั้งนี้ จากข้อมูลของนิตยสารฟอร์บส์ ประเทศในกลุ่มอาเซียน มีจำนวนมหาเศรษฐีพันล้าน 64 คน เป็นรองสหรัฐฯ ที่มี 403 คน และในปีล่าสุด 2552 มีจำนวนเศรษฐีเงินล้านเพิ่มขึ้น 31 % เทียบจากปีก่อนหน้า
       
       ก่อนหน้านี้สำนักข่าวซินหัว ได้รายงานว่า อาจมีผู้ตอบรับเข้าร่วมงานนี้ไม่มากนัก เนื่องจากไม่คุ้น และเกรงว่าจะถูกกดดันให้ต้องทำบุญ
       
       โกลบอลไทมส์ กล่าวว่า การบริจาคเงินในจีนจำนวนมากๆ ยังเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยนิยมในหมู่นักธุรกิจจีน โดยมีเหตุผลหลักคือ ไม่มีความไว้ใจในการบริหารเงินว่ามีความโปร่งใสและใช้ไปเพื่อการสาธารณะกุศลจริงหรือไม่
       
       แต่กระนั้น ก็มีมหาเศรษฐีชาวจีนมากมายที่ทำบุญอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดอันดับคนใจบุญโดย สำนักสำรวจความมั่งคั่ง "หูรุ่น" เป็นประจำมานาน 7 ปีแล้ว โดยรวมๆ ยอดเงินบริจาคเหล่านั้นในแต่ละปี ก็มีมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยส่วนใหญ่เพื่อการศึกษา สาธารณสุข และบรรเทาภัยพิบัติ

               
       
       ล่าสุด เฉิน กวงเปียว ก็เป็นอีกคนที่ประกาศยกทรัพย์สินมากกว่า 700 ล้านดอลลาร์ของตนเพื่อการกุศลภายหลังจากตนเองเสียชีวิต และเขาเป็นผู้กล่าวว่า มีคนจีนอีกมากกว่า 100 คน ให้คำมั่นในเจตจำนงค์นี้เช่นเดียวกับเขา เฉิน กล่าวว่า ถ้าเรามีน้ำหนึ่งแก้ว ก็คงพอดื่มสำหรับคน ๆ เดียว แต่ถ้าเรานำน้ำทุกๆ แก้วมาเทรวม ก็จะได้น้ำหนึ่งถัง ที่พอดื่มสำหรับครอบครัว

       ดังนั้น ถ้าเรารวมจนได้มากดังแม่น้ำ ทุกคนในสังคมก็จะได้ประโยชน์ทั้งหมด

                         win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #4 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2553, 07:55:03 »


วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4257  ประชาชาติธุรกิจ
                 http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02sup02281053&sectionid=0218&day=2010-10-28

                       สถานการณ์ CSR ในสังคมไทย ณ ปัจจุบัน

                                      

                                    "สฤณี อาชวานันทกุล"

             ในหนังสือชื่อ "ทุนนิยมมีชีวิต ธุรกิจมีหัวใจ" ของ "สฤณี อาชวานันทกุล" ซึ่งสำนักพิมพ์มติชนเพิ่งตีพิมพ์ออกมาเมื่อกันยายน 2553 ได้กล่าวถึงสถานการณ์ซีเอสอาร์ไทยในปัจจุบันได้อย่างถึงพริกถึงขิงในตอนหนึ่งว่า

             "ถึงแม้วงการซีเอสอาร์ต่างประเทศจะรุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง วงการซีเอสอาร์ในประเทศไทยกลับดูไม่คืบหน้ามากนัก"

            โดยสฤณีอธิบายคำวิพากษ์วิจารณ์นี้ไว้ว่า กล่าวโดยรวม ภาคธุรกิจ

ยังจมปลักอยู่กับความเข้าใจผิดๆ ว่า ซีเอสอาร์คือรูปแบบใหม่ของการโฆษณาประชาสัมพันธ์เท่านั้น

           อีกทั้งยังไม่เข้าใจว่า ซีเอสอาร์ที่ดีจะต้องมีกระบวนการบริหารจัดการความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ไม่ใช่ลิดรอนสิทธิหรือเบียดบังผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพื่อนำไปสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอื่น เช่น

           กดดันให้พนักงานเสียสละเวลาพักผ่อนช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์มาทำโครงการจิตอาสาของบริษัท หรือลดขนาดสินค้า แต่ตั้งราคาเท่าเดิมแล้วอ้างว่า "ช่วยลดโลกร้อน"

          อีกทั้งยังได้ชี้แจงปัญหาหลักที่เป็นอุปสรรคต่อการยกระดับซีเอสอาร์ในประเทศไทย ว่ามีด้วยกัน 3 ข้อ กล่าวคือ

1.การขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียภายนอก

           ซึ่งเห็นได้จากกระแสกิจกรรมซีเอสอาร์ ที่ทำประโยชน์ให้สังคมหรือชุมชนแบบผักชีโรยหน้าหรือม้วนเดียวจบ โดยบริษัทไม่ได้เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินธุรกิจให้รับผิดชอบกว่าเดิม

2.ความอ่อนแอของภาครัฐและภาควิชาการ

            โดยมีสภาพความเป็นจริงที่ต้องยอมรับ คือ รัฐบาลไทยหลายสิบปีที่ผ่านมายังอ่อนแอ ย่อหย่อน และเข้าข้างธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ มากเกินกว่าที่จะสามารถผลักดันให้ธุรกิจทำตัวตามหลักซีเอสอาร์ที่ถูกต้อง

           ส่วนภาควิชาการโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญในสาขาบริหารธุรกิจ ซึ่งควรจะมีบทบาทนำในการวิพากษ์วิจารณ์วิถีปฏิบัติของภาคธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา และเป็นอิสระนั้น ก็ขาดความเป็นผู้นำและความกล้าหาญทางวิชาการ

          นักวิชาการหลายคนมีความกล้าหาญแต่ติดผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากรับเงินจากภาคธุรกิจมาทำงานวิจัย

ตัวอย่าง ความอ่อนแอของภาควิชาการไทยปรากฎอย่างชัดเจนในกรณีคำพิพากษาคดีมาบตาพุดของศาลปกครอง ซึ่งเป็นโอกาสดีที่นักวิชาการจะออกมาชี้ให้เห็นอันตรายจากภาวะ "ซีเอสอาร์ล้มเหลว" และนำเสนอวิธีแก้ไข

          แต่ "กูรู" ด้านซีเอสอาร์หลายคน (ไม่ทุกคน) กลับนิ่งเงียบ จัดสัมมนาเรื่องซีเอสอาร์ในระดับกิจกรรมฉาบฉวยต่อไปโดยไม่ไยดีกับ "ของจริง" ที่เห็นอยู่ตรงหน้า

         แล้วความอ่อนแอของภาครัฐและภาควิชาการในด้านนี้ ยังทำให้สถาบันที่เป็นทางการและกึ่งทางการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น "สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม" รางวัล "บริษัทจดทะเบียนดีเด่นด้านซีเอสอาร์" หรือ "ซีเอสอาร์ คลับ" ที่เกิดจากการรวมตัวกันของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยังไม่สามารถผลักดันซีเอสอาร์แท้ให้หยั่งรากลงอย่างแท้จริงได้

3.วัฒนธรรม "ขี้เกรงใจ" และ "กลัวเสียหน้า" ของภาคธุรกิจไทยยังไปไม่พ้น "ทุนนิยมพวกพ้อง"

           ความขี้เกรงใจและกลัวเสียหน้าของนักธุรกิจส่วนใหญ่ในเมืองไทย ทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จำเป็นระหว่างบริษัทและระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะกรณีที่ประสบความล้มเหลวหรือผิดพลาด แทบจะเกิดขึ้นไม่ได้

                                            

              และเมื่อซีเอสอาร์เป็น "กระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง" ที่ไม่มีเส้นชัยหรือเป้าหมายตายตัว การไม่มีกระบวนการเรียนรู้ย่อมไม่อาจทำให้ซีเอสอาร์แท้ในไทยคืบหน้าไปได้ไกลเท่ากับที่ควรจะเป็น

              จากปัญหาหลักที่สฤณีวิเคราะห์ให้เห็นนั้น สะท้อนให้เห็นถึงการทำให้ซีเอสอาร์ในไทยส่วนใหญ่ยังเป็นการทำกิจกรรมภายนอก ห่างไกลจากซีเอสอาร์แท้ที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ "ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์" ในนิยามของ "ไมเคิล พอร์เตอร์" กูรูด้านบริหารจัดการ

              ซึ่งหมายถึงการใช้ซีเอสอาร์เป็นหัวใจในการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในทางที่สามารถทำกำไรได้อย่างยั่งยืน เช่น

             การผลิตรถยนต์ไฮบริดรุ่นพรีอุสของโตโยต้า การใช้นวัตกรรมทางการเงินบุกตลาดที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในเม็กซิโกของเออร์บี และสินเชื่อพิเศษสำหรับบ้านประหยัดพลังงานและบริการตรวจบัญชีฟาร์มออร์แกนิคของเครดิต อากรีโคล สถาบันการเงินชั้นนำของฝรั่งเศส

            โดยสฤณีอ้างถึงแนวคิดของพอร์เตอร์ต่อซีเอสอาร์ที่ว่า ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จดังเช่นกรณีข้างต้นนั้น ล้วน "ปลดล็อคคุณค่า" ที่ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมมีร่วมกัน ด้วยการลงทุนในประเด็นทางสังคมที่เสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัทไปด้วยในขณะเดียวกัน

           จากการแจกแจงปัญหาและส่องไฟคลำทาง เพื่อให้ซีเอสอาร์ไทย หลุดออกจากวังวนการคิดถึงความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมเป็นเพียง "กิจกรรมซีเอสอาร์" ในทัศนะของสฤณี

           มาสู่การวิเคราะห์สถานการณ์ในมุมของ "สยามเมนทิส" บริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารองค์กรและสื่อสารการตลาด สื่อสารซีเอสอาร์ วิจัยและพัฒนากระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

          ซึ่งได้เสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ซีเอสอาร์ในไทย ปี 2553 จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ไว้ว่า แม้ปัจจุบันองค์กรธุรกิจจะมีนโยบายซีเอสอาร์ คณะกรรมการซีเอสอาร์ มีผู้รับผิดชอบงานซีเอสอาร์ในองค์กรโดยตรง

          แต่ไม่ได้หมายความว่า การขับเคลื่อนซีเอสอาร์ในองค์กร จะสามารถตอบโจทย์ทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะองค์กรธุรกิจยังมีข้อจำกัดในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเชี่ยวชาญในเรื่องมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ยังไม่สามารถใช้ทรัพยากร ทั้งกำลังคน และงบประมาณในการดำเนินการซีเอสอาร์ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผลมากนัก

           จากการทำงานของสยามเมนทิสในปี 2553 พบความเคลื่อนของซีเอสอาร์ในเมืองไทยว่า

1) ยังมีการใช้งบประมาณกระจุกตัวอยู่ที่การบริจาค

           ดังที่รายงานของโครงการสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติทางสังคมรายไตรมาส เรื่อง ภารกิจร่วมของเอกชนในการแก้ไขปัญหาควาามยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม : CSR และ Social Enterprises ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 จากการสำรวจบริษัทต่างๆ ทั่วประเทศจำนวน 200 แห่ง

          พบว่า ธุรกิจเอกชน 97% มีการทำกิจกรรมซีเอสอาร์ และส่วนใหญ่ยังคงเป็นการบริจาคเงินและสิ่งของ 98.5% โดยให้เหตุผลว่า เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ง่ายและสะดวก (ดังแผนภูมิที่ 1)

2) มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรในการดำเนินการด้านซีเอสอาร์

          โดยมีองค์กรธุรกิจจำนวนมากก่อตั้งหน่วยงานหรือบุคลากรเข้ามารับผิดชอบงานด้านนี้โดยเฉพาะ ไปอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของฝ่ายสื่อสารองค์กรหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

3) ซีอีโอยังเป็นผู้มีอำนาจหลักในการตัดสินใจเลือกประเด็นทางสังคม

แม้ในหลักของการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร จะมีหัวใจอยู่ที่การสร้างกระบวนการของการมีส่วนร่วม

4) การให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ (Product Responsibility)

          ซึ่งมีหลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งในแง่คุณภาพและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในแง่ Green Product มากขึ้น

5) เริ่มมีการทบทวนปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมเพื่อสังคมในมิติที่ยั่งยืนขึ้น

         แม้ที่ผ่านมาจะมีขอบเขตกิจกรรมเพื่อสังคมจำกัดอยู่ในประเด็นทางสังคมไม่กี่เรื่องที่เป็นที่นิยม อาทิ ปลูกป่า บริจาคเลือด ค่ายเยาวชน ฯลฯ แต่ในปี 2553 องค์กรธุรกิจจำนวนหนึ่งกำลังพยายามทบทวนกิจกรรมที่ตัวเองทำ โดยหันมาให้ความสำคัญกับการชี้วัดในเชิงผลกระทบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

6) เพิ่มความร่วมมือในระดับกลยุทธ์ (Strategic Partner) ที่มีเพิ่มมากขึ้น

         เช่น CSR Club,คณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย, กลุ่มเพื่อนชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินกิจการในมาบตาพุด เป็นต้น

7) การขยายตัวของการสื่อสารซีเอสอาร์

         ซึ่งจะเห็นว่าในปี 2553 มีการสื่อสารกิจกรรมซีเอสอาร์เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นประเด็นการสื่อสารในระดับกิจกรรมเพื่อสังคม โครงการเพื่อสังคม ในการสร้างการรับรู้องค์กรนั้นๆ ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมใดๆ และประเด็นการสื่อสารในการเป็นบริษัทพลเมืองดี (Good Corporate Citizenship) (หน้าพิเศษ ซีเอสอาร์)

                          win win win

))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))

                          

                                      คุณคือคนสำคัญ

         ขอเชิญชวนพวกเราเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพื่อแก้ไข สิ่งที่ไม่ถูก
ให้ถูกต้องกัน อย่าคอย อัศวินม้าขาวมาแก้คนเดียว ไม่มีทางสำเร็จ ต้องคุณร่วมด้วยจึงทำได้

                                  gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #5 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2553, 18:46:36 »


                                     โดยเวบคมชัดลึก : วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2553
http://www.komchadluek.net/detail/20101217/82970/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E2%80%9D.html



        เอสซีจี จัดกิจกรรม SCG รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต “สร้างฝายในใจคน...สู่ชุมชนยั่งยืน” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และฉลองในโอกาสที่เอสซีจีครบรอบ 96 ปี มุ่งปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์น้ำ ถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้สู่ชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

                   win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #6 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 08:27:06 »


                      โดยไทยรีเซนต์ดอทคอม วันอังคาร 21 ธันวาคม 2553
                      http://thairecent.com/Business/2010/772573/

                               ใช้ภาษีล่อเอกชนคืนกำไรให้สังคม

                          

                                  นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล
              ประธานนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

         ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญภาคเอกชนจาก 5 สถาบัน ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาหารือเรื่องแผนปฏิรูปประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อปฏิรูปประเทศไทย (กรอ.ปฏิรูป)

         นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ภาคเอกชนไปรวบรวมกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท (ซีเอสอาร์) ที่ภาคเอกชนได้จัดทำมานำเสนอต่อที่ประชุมครั้งหน้าเป็นเรื่องๆ เพื่อจะประสานให้กระทรวงการคลังไปดำเนินการ

         หาแนวทางให้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนทางภาษี หลังจากที่ประชุมได้หารือกันแล้ว พบว่า

         มาตรการทางภาษีที่จะสนับสนุนซีเอสอาร์ของกระทรวงการคลังยังไม่มีเป็นรูปธรรม

         นายกรัฐมนตรีจึงสั่งให้เอกชนกลับไปทำการบ้าน กลับมานำเสนออีกครั้ง
เพื่อให้ กระทรวงการคลัง รับไปดำเนินการ พร้อมให้ความเห็นว่า

การทำกิจกรรมซีเอสอาร์ของเอกชน ควรจะจัดให้เป็นระบบและไปในทิศทางเดียวกันโดย
                                  ยึดตามกรอบของไอเอสโอ 20006


                                           win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><