03 พฤษภาคม 2567, 05:23:14
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 15  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ซีมะโด่งเสวนา : เชิญน้องพี่มาแบ่งปันประสบการณ์  (อ่าน 165574 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #275 เมื่อ: 03 มีนาคม 2554, 11:47:12 »


ประวัติ และผลงานของ " แขกปราศัยรับเชิญ " อาจารย์เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี

ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ( สถาปัตยกรรมไทย ) ปี 2553



ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ jeam ในกระทู้  http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,10530.msg451178.html#msg451178
และคุณ Uncle Na ในกระทู้  http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,10879.0.html


อาจารย์เผ่า  สุวรรณศักดิ์ศรี  :  ครูช่างสถาปัตยกรรมไทย

- นิสิตเก่าดีเด่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
- อาจารย์ดีเด่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีความตั้งใจที่จะประกอบอาชีพในฐานะสถาปนิกที่รับผิดชอบต่อวิชาชีพ อย่างซื่อสัตย์สุจริต อนุรักษ์และสืบทอดงานสถาปัตยกรรมประจำชาติต่อไป ตลอดจนการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีคุณภาพ และพัฒนารูปแบบและกรรมวิธีการก่อสร้าง  การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคม และเศรษฐกิจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
   
ประวัติการศึกษา

ระดับประถมศึกษา ตอนต้น : พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๖

เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ -๔ จากโรงเรียน จารุพันธ์พิทยา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เริ่มสนใจและหัดเรียนสีน้ำกับ ครูไชยพันธ์ สิทธิพันธ์ ซึ่งเป็นครูที่สอนศิลปะคนแรกในชีวิต

ระดับประถมศึกษา ตอนปลาย : พ.ศ. ๒๕๐๗ – ๒๕๐๙

เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ - ๗ จากโรงเรียน สงเคราะห์ศึกษา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เริ่มมีความสนใจและเริ่มเรียนศิลปะไทยโดยเฉพาะลายไทย กับอาจารย์ เสถียร มุขมณี ซึ่งเป็นครูสอนศิลปะในโรงเรียน ได้ช่วยอาจารย์ประดับตกแต่งรถแห่เทียนพรรษา ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีอันยิ่งใหญ่ประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานีจึงสนใจงานศิลปะไทยตั้งแต่บัดนั้นมาและเคยได้รับ รางวัลชนะเลิศการประกวดภาพสีน้ำของจังหวัดอุบลราชธานีในช่วงที่เรียนระดับ ประถมศึกษา

ระดับมัธยมศึกษา : พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๔

ศึกษาจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อ.เมือง จ. อุบลราชธานี ขณะเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชซึ่งเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัด ได้เรียนศิลปะหลายแขนงมากขึ้น เช่น การเขียนสีน้ำมัน งานประติมากรรม และสิ่งที่มีความประทับใจและรักงานศิลปะไทยมากคือการได้ลงมือช่วยอาจารย์ทำ ต้นเทียนพรรษาในงาน ประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานีเสมอมา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ศึกษาศิลปะจากอาจารย์จุมพล ส่งศรีและอาจารย์เทอด บุญยรัตนพันธ์

ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ศึกษากับ อาจารย์ประดิษฐ์ อาธิเวช ในขณะเรียนมัธยมศึกษา ได้ส่งภาพวาดสีน้ำเข้าประกวด ในงานศิลปะประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับรางวัลชนะเลิศเสมอมา

ระดับอุดมศึกษา : พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๘

ศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จ สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ ๒
เมื่อเข้าเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่ง ได้มีโอกาสเรียนวิชา สถาปัตยกรรมไทย โดยเป็นศิษย์รุ่นแรก ของ รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี หรืออาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี ในขณะนั้น ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต จากประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อเริ่มเรียน อาจารย์ จะให้เขียนลายไทย และภาพไทย ด้วยความที่มีใจรักงานศิลปะด้านนี้อยู่แล้ว จึงตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ด้วยความทุ่มเท และยังได้ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนด้านจิตรกรรมไทยโดยไปขอความรู้จากช่างซ่อม จิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้ว เมื่อทำงานส่ง ผลงานจึงมีความโดดเด่นกว่าเพื่อนนิสิตคนอื่นๆ อาจารย์ ( รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ) จึงชักชวนให้ไปช่วยทำงานที่บ้าน ซึ่งได้เรียนรู้ การออกแบบสถาปัตยกรรมไทย การเขียนแบบก่อสร้างมากยิ่งขึ้น และยังมีโอกาสติดตามอาจารย์ ไปดูงานก่อสร้าง และได้ลงเส้นแบบขยายลายเท่าจริงให้อาจารย์ ในช่วงปิดภาค ตั้งแต่บัดนั้นจนสำเร็จการศึกษา และเนื่องจากมีปัญหาการขาดแคลนทุนทรัพย์ เพราะบิดาเสียชีวิตตั้งแต่ตนเองอยู่ในวัยเยาว์ อาจารย์ จึงให้งานให้ความอุปการะทุนเล่าเรียน และให้วิชาความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไทยอย่างเต็มใจ จึงนับว่าท่านเป็นครูช่างสถาปัตยกรรมไทย ในชีวิตจนถึงปัจจุบัน

: พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๖

ศึกษาและสำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิทยาการจัดการงานก่อสร้าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัย

ประวัติการทำงาน

พ.ศ. ๒๕๑๙ :
ทำงานในตำแหน่ง สถาปนิก กองควบคุม การเคหะแห่งชาติ ด้วยความตั้งใจที่จะรับใช้ประเทศชาติทดแทนภาษีประชาชน เนื่องจากช่วงการศึกษาในมหาวิทยาลัย ได้เกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จึงมีอุดมการณ์ ที่จะรับใช้สังคม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่เมื่อเข้าทำงานที่การเคหะแห่งชาติ เมื่อพบกับความไม่โปร่งใส จึงยอมรับไม่ได้ และไม่สามารถ ทนต่อสภาพการทำงานเช่นนั้นได้ ดังนั้นจึงลาออก เมื่อทำงานได้เพียง ๑๑ เดือน

พ.ศ. ๒๕๒๐ :
ทำงานในตำแหน่งสถาปนิก บริษัท สยามกลการ จำกัด
หลังจากลาออกจากการเคหะแห่งชาติแล้ว ตั้งใจจะรับราชการ เป็นครู แต่จังหวะนั้น ยังไม่มีการให้สอบบรรจุเข้ารับราชการจึงไปสมัครงานใน
บริษัทเอกชนเพื่อให้พอมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ และที่บริษัท สยามกลการ จำกัด นี้ ได้มีโอกาสทำงานเป็นลูกน้องของ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ รน. อดีตอธิบดีกรมศิลปากร หลังจากท่านเกษียณราชการแล้วได้ไปเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนดังกล่าว ท่านได้มอบหมายให้ไปควบคุมการก่อสร้างศูนย์จำหน่ายและบริการรถยนต์ ที่ อำเภออู่ทอง จ.สุพรรณบุรี จนงานก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ท่านจึงแนะนำให้ไปสอบบรรจุเป็นข้าราชการเพราะมีความมั่นคง

พ.ศ. ๒๕๒๑ :
รับราชการใน ตำแหน่งอาจารย์ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จากความตั้งใจที่อยากเป็นครู และอยากสร้างคนที่มีคุณภาพให้กับสังคม จึงไปสอบบรรจุเป็นอาจารย์ ที่วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี แต่เนื่องจากได้ แต่งงานเมื่อปลาย ปี ๒๕๒๑ ที่ จ.ขอนแก่น ทำให้ประสบปัญหาการเดินทาง และต้องแยกกันอยู่กับภรรยาและบุตร ประกอบกับรายได้น้อยจึงขอโอนย้ายไป จ.ขอนแก่น

พ.ศ. ๒๕๒๒ :
รับราชการในตำแหน่งสถาปนิก กองอาคารและสถานที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่นเนื่องจากในช่วงดังกล่าว ที่ จ.ขอนแก่นไม่มี ตำแหน่งอาจารย์ จึงจำเป็น ต้องขอโอนไปเป็นสถาปนิกของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และรับราชการที่นั่นจนถึงสิ้นปี 2523

พ.ศ. ๒๕๒๔ :
รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ถึงปัจจุบัน ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในปี ๒๕๒๔ ช่วงที่รับราชการอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้ชักชวนให้โอนย้ายมาเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตย-กรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีอาจารย์ที่สอนสถาปัตยกรรมไทยเพียงผู้เดียว กอปรกับที่อาจารย์เห็นว่าตั้งใจอยากเป็นครูอยู่แล้ว จึงได้ตัดสินใจรับปากอาจารย์ ทั้งที่ขณะนั้นบุตรคนที่ ๒ มีอายุเพียง ๔ เดือน และฐานะครอบครัวยังไม่มั่นคงและต้องแยกกันอยู่ เมื่อโอนมาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

แรกๆได้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านอาจารย์ จนปลายปี ๒๕๒๕  มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยอนุสาสกหอพักนิสิตจุฬาฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ดูแลปกครองนิสิตชายของหอพัก จึงได้มาพำนักอยู่ในบ้านพักของหอพักนิสิตตลอดมา และได้ดำรงตำแหน่งอนุสาสกหอพัก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน
 
ปีพ.ศ. ๒๕๓๙
รัฐบาล ได้อนุมัติให้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดสอนหลักสูตรวิชาสถาปัตยกรรมไทย เนื่องจากขณะนั้นสถาปนิกที่ สามารถออกแบบ สถาปัตยกรรมไทยประเพณีมีน้อยลง จึงได้ให้ทุนการศึกษาในการรับนิสิตโครงการดังกล่าว ๕ รุ่นแรก ตลอดการศึกษาจึงได้เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

ประวัติการสร้างสรรค์ผลงาน

นับตั้งแต่มาเป็นอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มีโอกาสเริ่มงานออกแบบสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีอย่างจริงจัง ซึ่งในระยะแรกยังทำงานร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ในฐานะ สถาปนิกผู้ช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานออกแบบและปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

หลังจากที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จึงเริ่มมีผลงานออกแบบเป็นของตนเองล้วนๆ จากการแนะนำจากคณาจารย์ในคณะ และมิตรสหายที่คุ้นเคยมาเป็นลำดับ โดยมีประวัติการสร้างสรรค์ผลงานตามลำดับเวลาดังมีรายละเอียดบางส่วน ของผลงานพร้อมแบบแปลนประกอบโปรดดูในข้อที่ ๑๐)

การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี และเผยแพร่ต่อสาธารณะชน

พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ ร่วมออกแบบเจดีย์พระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ ร่วมออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๘ ร่วมออกแบบเมรุพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐ ออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง อาคารคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อนุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม (เรือนไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๒ ร่วมออกแบบเรือนไทย เสถียรธรรมสถาน ซอยวัชรพล ถนนรามอินทรา กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๓ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๔ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารเรียนปริยัติธรรม วัดหนองแขม ซอยเพชรเกษม ๘๑ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศาลาอเนกประสงค์(ศาลา สง่า–ทองอยู่ นาควัชระ) วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙ ออกแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
พ.ศ. ๒๕๓๙ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เรือนรัชพร โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
พ.ศ. ๒๕๔๐ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หอพระประจำโรงเรียน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๑ ออกแบบปรับปรุงซ่อมแซมและควบคุมการก่อสร้างอาคารคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เรือนไทยของคุณสุวรรณาอาริยพัฒนกุล คลอง ๑๒ อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี
พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๒ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างวิหารพระพุทธโลกนารถบพิตร วัดพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่
พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดหลักสาม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๒– ๒๕๔๓ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารบรรจุอัฐิ และรูปหล่อท้าวสุรนารี วัดศาลาลอย อ.เมือง จ.นครราชสีมา
พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๖ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๖ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หอกลอง หอระฆัง วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๖ ออกแบบและติดตามงานก่อสร้าง ศาลาไทยหน้าหอประชุม กองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๗ ร่วมออกแบบและติดตามงานก่อสร้าง พระตำหนักประทับแรมในพื้นที่โครงการพระราชดำริ ลุ่มน้ำปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบวิหารรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดปทุมวนาราช ราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ( อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง )
พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบศาลา ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ( อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง )
พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบศาลาบูรพาจารย์ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ( อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง )
พ.ศ. ๒๕๔๘ ร่วมออกแบบ พระอุโบสถกลางน้ำ ในมหาวิทยาลัย มหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย ต. ลำไทร อ. วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา ( อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง )
พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกแบบอาคารธรรมสถาน ในมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย อ. ศาลายา จ.นครปฐม ( อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง )
พ.ศ. ๒๕๔๙ ร่วมออกแบบอาคาร มวก. ๔๘ พรรษา ( อาคารหอประชุม ) ในมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต. ลำไทร อ. วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา ( อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง )

การเผยแพร่ข้อมูลทางสถาปัตยกรรมแก่สาธารณชน

ผลงานด้านวิชาการ

- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๑ พ.ศ. ๒๕๔๔
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๓ พ.ศ. ๒๕๔๖
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๔ พ.ศ. ๒๕๔๗
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๕ พ.ศ. ๒๕๔๘
- วิทยากรพิเศษ หัวข้อ การนำวัสดุสมัยใหม่มาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทยแก่สถาปนิกและวิศวกร สำนักงานสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ ๑๒ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

ผลงานด้านการวิจัย

- วีระ สัจจกุล, นพนันท์ ตาปนานนท์, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการจ้างศึกษา และประชาพิจารณ์ระบบขนส่งมวลชนเสริมรางรถไฟฟ้า ในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ เสนอต่อกรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒ - ๒๕๔๓

- เดชา บุญค้ำ, วีระ สัจจกุล, สัญชัย หมายมั่น, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เลอสม สถาปิตา-นนท์, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ, ปิ่นรัชฏ์ กาญจนัษฐิติ, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการสำรวจและออกแบบ รายละเอียดตามแผนแม่บท เพื่ออนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : จัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณวัดบวรสถานสุทธาวาส เสนอต่อ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ๒๕๔๓

- เดชา บุญค้ำ, วีระ สัจจกุล, สัญชัย หมายมั่น, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เลอสม สถาปิตานนท์, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ, ปิ่นรัชฏ์ กาญจนัษฐิติ, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดตามแผนแม่บท เพื่ออนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : จัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณราชนาวีสโมสร เสนอต่อสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ๒๕๔๓

ลักษณะงานที่ดำเนินการ :

    งานสถาปัตยกรรม ( เต็มเวลา)
  
    งานผังเมือง-ชุมชน ( เต็มเวลา )
 
    งานอนุรักษ์ ( เต็มเวลา )

    งานตกแต่งภายใน ( เต็มเวลา )

    งานภูมิสถาปัตยกรรม ( เต็มเวลา )
 
    งานสิ่งแวดล้อม ( เต็มเวลา )
 
    งานศิลป์ ( เต็มเวลา )
 
    มุมนักบริหาร ( เต็มเวลา )

      บันทึกการเข้า
kingkarn boonchuay
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2529
คณะ: นิติศาสตร์
กระทู้: 103

« ตอบ #276 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 01:18:06 »


อ้างถึง
ข้อความของ Jiab16 เมื่อ 28 สิงหาคม 2553, 01:12:52

      จ้า ... นู๋เหมียว เป็นลูกค้ารายที่ 10  ทราบแล้วเปลี่ยน ( เป็นที่อยู่ทางไปรษณีย์ หลังไมค์ เด้อ ! )

ไก่ นิติ 29 ค่ะ ขอ cd ซักแผ่นนะคะ พี่คนสวยขา
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #277 เมื่อ: 14 มีนาคม 2554, 18:44:58 »


นู๋ไก่ 29 ... CD ของการเสวนา ครั้งที่เท่าไหร่ล่ะคะ ?  ยินดีจัดให้ ... ช่วย PM บอกพี่เจี๊ยบ พร้อมที่อยู่ทางไปรษณีย์ด้วยนะ
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #278 เมื่อ: 13 เมษายน 2554, 12:50:46 »


สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ สมาชิกชาวเวป cmadong.com ทุกท่าน

      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #279 เมื่อ: 15 เมษายน 2554, 16:50:28 »


ซีมะโด่งเสวนา ครั้งที่ 8 : สาระดีๆ จากพี่สิงห์


 
 
 



วันพุธที่ 27 เมษายน 2554  เวลา 19.30 - 20.30 น.

ณ ห้องประชุม สำนักงานหอพักนิสิตจุฬาฯ ( เดิม )  ชั้น 2  อาคารโรงอาหาร หอพักนิสิตจุฬาฯ



แขกปราศรัยรับเชิญ

คุณมานพ  กลับดี



วิศวกรรมศาสตร์  RCU 13


อดีตประธานชมรมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาฯ 3 สมัย  ผู้ร่วมก่อตั้งชมรมฯ และเวปไซต์ cmadong.com


ผู้ดำเนินการอภิปราย  :  คุณสุรศักดิ์ 14




ขอเรียนเชิญน้องพี่ชาวซีมะโด่งทุกท่าน เข้าร่วมกิจกรรมซีมะโด่งเสวนา ครั้งที่ 8 โดยพร้อมเพรียงกัน นะคะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #280 เมื่อ: 16 เมษายน 2554, 06:45:06 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                      ขอขอบคุณ  คุณวัฒนา   โอภานนท์อมตะ ประธานชมรมฯ ที่เชิยพี่สิงห์ให้ไปพุดในการเสวนา ก่อนการประชุม ตอนจัดงานเลี้ยงแสดงความยินดีให้ท่านอาจารย์เผ่า  ที่อาคารเรือนไทย
                      ขอบคุณ คุณเจี๊ยบ  ที่ได้ประชาสัมพันธิ์ และโทรศัพท์ไปหาพี่สิงห์เพื่อย้ำเตือน ให้ทราบ
                      ประวัติพี่สิงห์ทุกท่าน ทราบดีอยู่แล้วครับ สิ่งที่พี่สิงห์จะพุด คือสิ่งที่พี่สิงห์ได้ปฏิบัติ ได้ค้นพบด้วยตัวเองทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อตัวพี่สิงห์เอง และคิดว่ามันก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านด้วย จึงขอนำสิ่งนั้นๆ มาเล่าให้ฟังครับ
                      สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #281 เมื่อ: 22 เมษายน 2554, 12:48:02 »


เอ้อ !  พี่สิงห์ ขา ... รายการเสวนาคราวนี้  เจี๊ยบก็จะไม่มี " ประวัติ และผลงานของแขกปราศรัยรับเชิญ " แจกให้สมาชิกผู้เข้าฟัง สิคะ !   ทำไงดีน้อ ?



กำหนดการ กิจกรรมชมรมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาฯ ในวันพุธที่ 27 เมษายน 2554
            
เวลา                                 กิจกรรม

17.30 น.   รับประทานอาหารร่วมกัน

18.00 น.   พิธีแสดงมุทิตาจิตรดน้ำขอพรอาจารย์และพี่อาวุโส เนื่องในวันสงกรานต์            

18.45 น.   เข้าห้องประชุม
               รายการแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม ที่ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นใน
               พระพุทธศาสนา เนื่องในวันสตรีสากลแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554

18.55 น.   ประชุมกรรมการบริหารชมรมฯ ครั้งที่ 3 /2554

19.30 น.   รายการซีมะโด่งเสวนา ครั้งที่ 8 : สาระดีๆ จากพี่สิงห์
               โดยคุณมานพ กลับดี
               ผู้ดำเนินการอภิปราย : คุณสุรศักดิ์ 14    
              
20.30 น.  •  ถาม-ตอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
              •  ขอบคุณแขกปราศัยรับเชิญ / มอบของที่ระลึก
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #282 เมื่อ: 22 เมษายน 2554, 20:43:22 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องเจี๊ยบ ที่รัก
                       เกียรติประวัติมันเป็นอดีต ไม่จิรังยั่งยืน จะสนใจไปทำไม? กลับไปบ้านเอกสารก็โยนทิ้งลงตะกร้า ไรค่า ครับ
                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #283 เมื่อ: 22 เมษายน 2554, 22:34:43 »


เจ้าค่ะ  เจ้าค่ะ    sorry


( ส่วนนี้ พิมพ์เพิ่มเติมเมื่อ 27 เมษายน 54 )

พี่สิงห์ ขา ...

    เจี๊ยบได้รับ handout ประกอบคำบรรยายในรายการเสวนา ครั้งที่ 8 ทาง e-mail เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 23 เม.ย. เป็น PP File จำนวน 61 หน้า  แต่ ... พื้นของเอกสารเป็นสีดำ และน้ำเงินเข้ม  ตัวอักษรสีขาว  ถ้า print หน้าละ 6 blog ตามที่พี่สิงห์ต้องการ  จะทำให้อ่านไม่เห็นข้อความใดๆ เลย  เจี๊ยบจึง copy มาทีละหน้า เรียงเนื้อหาต่อๆ กันใน MS Words File แทน ได้เป็นเอกสาร A4 จำนวน 19 หน้า  เพิ่งเสร็จสดๆ ร้อนๆ แบบลวกมือเลยอ่ะค่ะ  จะทำสำเนาไว้ 30 ชุด เพื่อแจกผู้เข้าร่วมรายการซีมะโด่งเสวนาค่ำนี้ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #284 เมื่อ: 29 เมษายน 2554, 12:23:55 »


เอกสารประกอบการบรรยาย

เรื่อง

สาระดีๆ จากพี่สิงห์

 

โดย

คุณมานพ   กลับดี



วิศวกรรมศาสตร์ ( โยธา )  รุ่นที่ 54 ( พ.ศ. 2513 )

วันพุธที่  ๒๗  เมษายน  ๒๕๕๔

ชมรมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




สาระดีๆ จาก พี่สิงห์


พระพุทธรูปทองคำสมัยสุโขทัย จังหวัดสิงห์บุรี


นายมานพ กลับดี


แผนกวิชา วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ รุ่นที่ 54 ( 2513 )


หัวข้อในการบรรยายวันนี้

สาระดีๆ จากพี่สิงห์


อาสวะกิเลส



แก่นของศาสนาพุทธ




มนุษย์  พระพุทธเจ้าท่านมองว่าประกอบไปด้วย รูป และ นาม


ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์

•  รูป คือ ร่างกายมนุษย์ประกอบขึ้นด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มาประชุมพร้อมกัน รวมเป็นร่างกายมนุษย์

•  นาม คือ จิตใจ ( ไม่มีตัว ไม่มีตน ) แต่สามารถทำหน้าที่
1. เวทนา คือ ความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉย ๆ
2. สัญญา คือ ควมจำได้หมายรู้ ที่เก็บไว้ในสมองหรือจิตใต้สำนึก
3. สังขาร คือ การปรุงแต่งอารมณ์ จากวิญญาณ และสัญญา
4. วิญญาณ คือ การรับรู้ หรือสัมผัสได้ทาง อายาตนะ  ๖

รูป-นาม สัมผัสได้ทาง “ อายตนะ ”

อายตนะภายใน ๖    ตา    หู     จมูก   ลิ้น                  กาย                                   ใจ
อายตนะภายนอก ๖  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ ( สัมผัสทางกาย )   ธรรมารมณ์ ( สัมผัสทางใจ )

พุทธอุทาน ภายหลังทรงตรัสรู้

•  เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือน คือ ตัณหา   เมื่อไม่พบ  ได้ท่องเที่ยวไปสิ้นชาติสังสารเป็นอันมาก   การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์

•  ดูก่อนนายช่างผู้สร้างเรือน   เราพบท่านแล้ว  ท่านจักสร้างเรือน คืออัตภาพไม่ได้อีกต่อไป โครงเรือนทั้งปวงของท่านเราหักได้แล้ว  ยอดเรือนคืออวิชชาเราก็รื้อได้แล้ว จิตเราถึงวิสังขาร( พระนิพพาน ) อันไม่มีปัจจุบันปรุงแต่งแล้ว  เพราะเราได้ถึงความสิ้น  ตัณหา

•  สรุป ถ้าตัด “ ตัณหา”  ได้ อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ไม่บังเกิดขึ้น

คนเราทุกข์เพราะคิด  ถ้าหยุดคิดก็ไม่ทุกข์



ปฏิจจสมุปบาท
กระบวนการเกิดขึ้น และดับไปแห่งทุกข์
                         
พุทธอุทาน แรกตรัสรู้ ณ ควงต้นโพธิ์

•  พุทธอุทานคาถาที่ ๑  เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไปเพราะ รู้ธรรมที่มีเหตุ

•  พุทธอุทานคาถาที่ ๒  เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่   เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป  เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย
 
•  พุทธอุทานคาถาที่ ๓  เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่   เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมกำจัดมาร และเสนามารได้  ดุจพระอาทิตย์ส่องสว่างอยู่บนท้องฟ้า ฉะนั้น

หลักการ “ อิททัปปัจจยตา ”

เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี  เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อเหตุนี้ไม่มี  ผลนี้จึงไม่มี  เพราะเหตุนี้ดับ  ผลนี้จึงดับ

สรุป       เพราะมี เหตุ ... เป็นปัจจัย  ผล ... จึงเกิดขึ้น

ดังนั้น    ถ้า เหตุ ... แห่งปัจจัยไม่มี  ผล ... จึงไม่มี

 
ไตรลักษณ์

พุทธพจน์ แสดง กฎไตรลักษณ์

•  ตถาคต ( พระพุทธเจ้า ) ทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ ( หลัก ) นั้นก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า

๑. สังขารทั้งปวง   ไม่เที่ยง.....
๒. สังขารทั้งปวง   เป็นทุกข์.....
๓. ธรรมทั้งปวง      เป็นอนัตตา.....

•  ตถาคต ตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผยแจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า “ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ”

กฎไตรลักษณ์

•  อนิจจัง แปลว่าไม่เที่ยง หมายความว่าสิ่งทั้งหลายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไป ไม่มีความคงที่ตายตัว
 
•  ทุกขัง แปลว่าเป็นทุกข์ มีความหมายว่า สิ่งทั้งปวงมีลักษณะที่เป็นทุกข์มองดูแล้วน่าสังเวชใจ ทำให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้ที่ไม่มีความเห็นอย่างแจ่มแจ้งในสิ่งนั้นๆ

•  อนัตตา แปลว่าไม่ใช่ตัวตน หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมายแห่งความ เป็นตัวเป็นตน ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้เรายึดถือได้ว่าเป็นตัวเราของเรา ถ้าเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนถูกต้องแล้ว ความรู้สึกที่ว่า “ ไม่มีตัวตน ” จะเกิดขึ้นมาเองในสิ่งทั้งปวง แต่ที่เราหลงเห็นไปว่าเป็น “ ตัวเป็นตน ” ( นัตตา ) นั้น  ก็เพราะ ความไม่รู้อย่างถูกต้องนั่นเอง

พุทธพจน์  “ ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  ไม่ใช่ตัวตน ”

•  “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตา เป็นของไม่เที่ยง ( คืออนิจจัง ) สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ( คือทนอยู่ไม่ได้ ) สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน ( คืออนัตตา ). สิ่งใดไม่ใช่ตัวตน สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ข้อนี้ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ ”

•  “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ก็เป็นของไม่เที่ยง  สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์  สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน  สิ่งใดไม่ใช่ตัวตน สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา  เราไม่ได้เป็น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา  ข้อนี้ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ ”

•  “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  อริยะสาวก ผู้ได้สดับ เมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด ( หมายถึงความติดใจ )  เพราะคลายความกำหนัด ก็หลุดพ้น ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว  เธอย่อมรู้ว่า ชาติ ( ความเกิด ) สิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นเพื่อความอย่างนี้ ( เพื่อเกิดอีก ) ไม่มี

•  ผลคือ “ นิพพาน ”

อริยสัจ ๔  คือ ความจริง ๔ ประการ  ประกอบด้วย   ทุกข์   สมุทัย   นิโรธ   มรรค
 
ทุกข์  คือ สภาวะที่ขันธ์ ๕ ( รูป - นาม ) ทนอยู่ได้ยาก   พุทธพจน์  “ ผู้ชื่นชมทุกข์ ”

พระพุทธเจ้าท่านทรงจำแนกทุกข์ทั้งหมดในโลกนี้ได้ ๗ อย่าง คือ

๑.  ความเกิด  ก็เป็นทุกข์
๒.  ความแก่  ก็เป็นทุกข์
๓.  ความเจ็บป่วย  ก็เป็นทุกข์
๔.  ความตาย  ก็เป็นทุกข์
๕.  ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น  ก็เป็นทุกข์
๖.  ความประสบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ ก็เป็นทุกข์
๗.  ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ก็เป็นทุกข์

สมุทัย  คือ ต้นเหตุให้เกิดทุกข์  ได้แก่ “ ตัณหา ” หรือความทะยานอยาก  ความกำหนัด  ความเพลิดเพลิน  ความยินดีในอารมณ์ต่างๆ   พระพุทธเจ้าท่านทรงแบ่งตัณหา ออกเป็น ๓ ประการ คือ

๑.  กามตัณหา  คือ ความอยาก หรือไม่อยาก ที่รูป สัมผัสได้ทางอายาตนะ  ๕  ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย )
๒.  ภวตัณหา  คือ ความอยากทางนาม ( ใจ )
๓.  วิภาวตัณหา  คือความไม่อยากทางจิต หรืออยากที่จะหลุดพ้น

นิโรธ  คือ แนวทางแห่งการดับทุกข์
 
พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสว่า ถ้าจะดับทุกข์ ต้องดับที่ต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์

ต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์คือ ตัณหา หรือความทะยานอยาก  ของอุปาทานขันธ์ ๕ ( รูป-นาม )

ดังนั้น ความดับโดยสิ้นกำหนัด ( วิราคะ ) โดยไม่มีเหลือตัณหา  ความสละตัณหา  ความวางตัณหา  ความปล่อยตัณหา  ความไม่พัวพันแห่งตัณหา นั้น คือการดับทุกข์ที่แท้จริง

มรรค  คือ วิธีปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์  มี ๘ ประการ คือ

๑.  สัมมาทิฏฐิ          มีความเห็นชอบ
๒.  สัมมาสังกัปปะ    มีความคิดชอบ
๓.  สัมมาวาจา           เจรจาชอบ
๔.  สัมมากัมมันตะ    ประพฤติชอบ
๕.  สัมมาอาชีวะ        หาเลี้ยงชีพชอบ
๖.  สัมมาวายามะ      มีความเพียรชอบ
๗.  สัมมาสติ              มีความระลึกชอบ
๘.  สัมมาสมาธิ          มีใจตั้งมั่นชอบ

อุปมา อริยสัจ ๔

•  ทุกข์     เปรียบเหมือนภาระที่หนัก
•  สมุทัย  เปรียบเหมือนกับผู้แบกภาระที่หนักนั้น
•  นิโรธ    เปรียบเหมือนกับปลงภาระหนักออกจากบ่า
•  มรรค   เปรียบเหมือนกับอุบายที่ปลงภาระนั้น

ท่านจะยัง แบกทุกข์ อยู่ทำไม ?  ให้รู้จัก ปลดลงเสียบ้าง จะได้สบายตัว


อาสวะกิเลส

สติปัฏฐาน ๔


มหาสติปัฏฐานสูตร สูตรว่าด้วยการตั้งสติอย่างใหญ่

•  พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิคม ชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า หนทางเป็นที่ไปอันเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ เพื่อก้าวล่วงความโศก ความคร่ำครวญ เพื่อให้ความทุกข์กาย ทุกข์ใจตั้งอยู่ไม่ได้ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง “ พระนิพพาน ” คือ  การตั้งสติ ๔ อย่าง ได้แก่  :-

1. ตั้งสติกำหนดพิจารณา กายในกาย
2. ตั้งสติกำหนดพิจารณา เวทนาในเวทนา
3. ตั้งสติกำหนดพิจารณา ในจิต
4. ตั้งสติกำหนดพิจารณา ธรรมในธรรม
 
พุทธพจน์  “ อานิสงส์สติปัฏฐาน ๔ ”

•  ครั้นแล้วทรงสรุปผลของการปฏิบัติ ในการตั้งสติ ๔ อย่างนี้ว่า  จะเป็นเหตุให้ได้บรรลุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือบรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ถ้ายังมีเชื้อเหลือ ก็จะบรรลุความเป็นพระอนาคามี ( ผู้ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก ) ภายใน ๗ ปี หรือลดลงมาโดยลำดับถึงภายใน ๗ วัน

ทางพ้นทุกข์

ทุกข์ที่เกิดกับมนุษย์มี ๒ อย่าง คือ  ทุกข์ที่เกิดกับกาย และ ทุกข์ที่เกิดกับใจ

ทุกข์  คือ สภาวะที่ขันธ์ ๕ ( รูป - นาม ) ทนอยู่ได้ยาก

พระพุทธเจ้าท่านทรงจำแนกทุกข์ทั้งหมดในโลกนี้ได้ ๗ อย่าง คือ

๑. ความเกิด  ก็เป็นทุกข์          ( ทุกข์กาย ทุกข์ใจ )
๒. ความแก่  ก็เป็นทุกข์            ( ทุกข์กาย )
๓. ความเจ็บป่วย  ก็เป็นทุกข์   ( ทุกข์กาย )
๔. ความตาย  ก็เป็นทุกข์          ( ทุกข์กาย ทุกข์ใจ )
๕. ความปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น  ก็เป็นทุกข์        (ทุกข์ใจ )
๖. ความประสพกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ ก็เป็นทุกข์    ( ทุกข์ใจ )
๗. ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ก็เป็นทุกข์    ( ทุกข์ใจ )


วิธีแก้ทุกข์ทางกาย ( มรรค ๘ : ใช้ สติ - สมาธิ )
   
“ พุทธพจน์ ”   “ อาโรคยฺ  ปรมาลาภา ”   “ ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ ”





 
โรคเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องการคนดูแลตลอดเวลา วันนี้ท่าน “ ตระหนัก ” บ้างไว้หรือยัง ?


สาเหตุ ที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วย

•  อาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน “ กินอย่างไร   ได้อย่างนั้น ”
•  การอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ  เป็นเวลานาน ๆ  หรือลักษณะท่าทางการทำกิจวัตรประจำวันที่ไม่ถูกสุขลักษณะ  หรือการยกของหนักที่ไม่ถูกท่า
•  ทำงานหนักเกินไป   พักผ่อนไม่เพียงพอ   ภูมิต้านทานโรคลดลง
•  ไม่ออกกำลังกาย ( การทำงานหนัก ไม่ใช่เป็นการออกกำลังกาย )
•  อารมณ์ไม่ผ่องใส  ฟุ้งซ่านเดือดดาลใจ  หรือเครียดเป็นประจำ
•  ขาด “ สติ ” ในขณะทำงาน   ทำกิจวัตรประจำวัน   ผลคือเกิดอุบัติเหตุ
•  โรคจากกรรมพันธุ์  ( คือโรคที่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ให้มาแต่เกิด )
•  ร่างกายและระบบอวัยวะต่างๆ  เสื่อมโทรมลง  ตามอายุ - การใช้งาน

โรคที่เรามีโอกาสเป็นแน่ๆ ถ้าไม่ป้องกันให้ถูกวิธี

•  โรคไข้หวัด  ไข้หวัดใหญ่  โรคหลอดลมอักเสบ  เจ็บคอ  ทอลซิลอักเสบ
•  โรคทางเดินอาหาร  โรคกรดไหลย้อน  โรคกระเพาะ  โรคลำไส้
•  โรคปวดหัว ปวดมายเกรน วิงเวียนศรีษะ หน้ามืดตาลายเป็นลมหมดสติ
•  โรคปวดเมื่อยตามร่างกาย  ปวดหลัง  หมอนรองกระดูกทรุด
•  โรคข้อเสื่อม ปวดตามข้อ  ลุก-นั่ง-ยืน-เดิน-นอน ลำบากและปวดเหมื่อย
•  โรคเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล  ผลสุดท้าย คือเป็นมะเร็ง
•  โรคตับอักเสบ โรคไตวาย โรคอ้วน  โรคความดันโลหิต  โรคเบาหวาน
•  โรคชาตามแขน  ขา  นิ้วมือ  นิ้วเท้า  เพราะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
•  โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน   โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
•  โรคที่เกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ

เสียงาน เสียเวลา เสียเงิน และทุกข์

สรุป  สาเหตุหลักของการเจ็บป่วย

•  อาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน ( กินอย่างไร ? ได้อย่างนั้น )
•  ไม่ออกกำลังกาย ไม่อยู่ในอิริยาบถ และผักผ่อนไม่เพียงพอ
•  อารมณ์ไม่ผ่องใส จิตขุ่นมัว วิตกกังวล ฟุ้งซ่าน เดือดดาลใจเพราะขาด “ สติ ”
•  กรรมพันธุ์  การเสื่อมจากการใช้งานและเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น

การแก้ไข คือ  ใช้หลักการ “ นอนเร็ว ตื่นเช้า ”  และ “ 3 อ. ”  เพื่อการดำรงชีวิตให้มีความสุข และอยู่อย่างไร้โรค

หลักการ “ นอนเร็ว ตื่นเช้า ”  คือ  ร่างกายมนุษย์สามารถซ่อมแซมตัวเองได้  ถ้าพักผ่อนให้เพียงพอ
 
ช่วงเวลา 22:00 - 02:00 น. หลับให้ลึก หรือหลับให้สนิท

ยึดหลัก “  3 อ.”  ในเชิงป้องกัน  อ. “ อาหาร ”   อ. “ ออกกำลังกาย – อิริยาบถ ”   อ. “ อารมณ์ ”


 
“ You are what you eat   กินอะไรเข้าไปก็จะส่งผลต่อชีวิตของเราอย่างนั้น ”

อ. อาหาร

•  รับประทานอาหาร สูตร 2:1:1 คือ ผักสองส่วน ต่อ แป้งหนึ่งส่วน ต่อ โปรตีนหนึ่งส่วน เฉลี่ยให้ได้ทุกวัน และยุทธวิธี “ กินร้อน ช้อนกลาง ” ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
•  โปรตีน ขอให้เป็นเนื้อปลา เป็นส่วนใหญ่  ไม่กินจุบจิบ งดอาหารขยะ
•  หลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องทอด หรือผัดด้วยน้ำมันปาล์ม
•  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เช่น เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และเผ็ด
•  งดน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มปรุงรสผสมน้ำตาล ขนมหวานต่าง ๆ
•  งดเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด

พุทธพจน์  ทรงแสดงอานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการ

•  อดทนต่อการเดินทางไกล
•  อดทนต่อความเพียร
•  มีอาพาธน้อย
•  อาหารที่กิน, ดื่ม, เคี้ยว, ลิ้มรสแล้ว ย่อมย่อยไปด้วยดี
•  สมาธิที่ได้ในขณะเดินจงกรม ย่อมตั้งอยู่นาน

อ. ออกกำลังกาย

•  ออกกำลังกายทุกครั้ง ต้องให้ต่อเนื่อง อย่างน้อย 30 นาที ขึ้นไป เพื่อให้หัวใจได้ทำงานสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และช่วยให้ปอดทำงาน ได้เต็มที่ ( เป็นการออกกำลังของหัวใจ และปอด )
•  ความถี่ในการออกกำลังกาย  ให้ออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อ สัปดาห์
•  ก่อนออกกำลังกาย 3 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานอาหารหนัก
•  ผู้ที่เป็นโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิต หัวใจ แนะนำให้ ฝึก โยคะ หรือ TAI CHI เพื่อปรับลมปราณของอวัยวะภายใน ( หยินกับหยาง ) ให้สมดุลย์ ทำงานปกติ  เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น   ทำให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ  ให้ควบคุมอาหาร และลดน้ำหนักกรณีน้ำหนักตัวมาก
•  การออกกำลังกาย แบบตะวันตก
•  เดิน  วิ่ง  เต้นแอโรบิค  เต้นรำ
•  เข้าห้องฟิตเนส  เล่นกีฬา ตามที่ถนัดหรือชอบ
•  การออกกำลังกาย แบบตะวันออก เป็นการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ
•  การฝึก TAI CHI
•  การฝึกโยคะ
•  รำกระบอง 12 ท่าของป้าบุญมี ( ทดแทนการเต้นแอโรบิค สำหรับคนอ้วน )
•  เลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย หรือโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่

อ. อิริยาบถ

•  ในชีวิตประจำวันคนเรา หากเราอยู่ในท่าเดียวนานๆ ไม่มีการยืดเส้นยืดสาย  หย่อน/คลายกล้ามเนื้อ จะทำให้การหด / ยืด ของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อไปโดน ไปรัดเส้นประสาท / เส้นเลือดในที่สุด ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่ออวัยวะต่าง ๆ ตามมาภายหลังได้ ดังนั้นจึงควรรู้อิริยาบถที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้ :-
 
•  การยืน ต้องยืนให้หน้าตรง  คางไม่ยื่น ยืดอก ไม่ยกไหล่ แขม่วพุง มองด้านหน้าไม่คด มองด้านข้างไม่ค่อม พุ่งไม่ยื่น
•  การเดิน ต้องเดินหน้าตรง เดินยืดอก ไม่เดินหลังค่อม ไม่เดินเอียง หรือเดินไหล่ตก
•  การนั่ง  ให้นั่งหลังตรง - ยืดอก ไม่นั่งหลังค่อม ไม่นั่งท้าวคาง ไม่นั่งพับขา หรือนั่งไขว่ห้าง เพราะจะทำให้โลหิตไม่ไหลหมุนเวียน
•  การนอน ให้นอนหงาย ต้องนอนให้หู ไหล่ สะโพก อยู่ในแนวเดียวกัน ถ้านอนตะแคงต้องใช้หมอนหนุนศรีษะให้ได้ระดับ และพุงไม่ตก
•  การยกของหนัก ห้ามก้มตัวลงเพื่อยกของหนัก  น้ำหนักตัวและของขณะก้มจะทำให้ความดันในหมอนรองกระดูกสันหลังสูงขึ้น เป็นผลให้หมอนรองกระดุกสันหลังเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้  ทำให้ปวดร้าวลงขา หรือมากถึงขั้นอัมพาดได้ ดังนั้น ท่ายกของที่ถูกต้อง เมื่อต้องการยกของ คือ ควรย่อเข่าเพื่อเก็บและยกของ ( ท่ายกน้ำหนัก )


วิธีแก้ทุกข์ทางใจ  ( มรรค ๘ :  ใช้ สติ – สมาธิ )

พุทธพจน์ “ ธรรมที่มีอุปการะมาก ”


•  คำว่า “ อุปการะมาก ” คือ ธรรมที่มีคุณค่ามาก  หมายความถึง ผู้ใดเจริญสตินี้มีอานิสงส์มาก

•  ธรรมที่มีอุปการะมาก มี ๒ อย่างคือ

1. สติ คือ ความระลึกได้ หรือรู้สึกได้
• ต้องมี ความระลึกได้ก่อนที่จะคิด ก่อนที่จะทำ ก่อนที่จะพูด

2. สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว ( ปัญญา หรือรู้ความคิดตัวเอง )
•  ต้องมี ความรู้ตัวก่อนที่จะคิด ก่อนที่จะทำ ก่อนที่จะพูด

พุทธพจน์  “ สูตรว่าด้วยราตรีเดียวที่ดี ”

•  พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ท่ามกลางหมู่สงฆ์สาวก ทรงตรัสแสดงอธิบาย “ เกี่ยวกับบุคคลผู้มีราตรีเดียวอันดี ” โดยใจความคือ ไม่ให้ติดตามเรื่องล่วงมาแล้ว ไม่ให้หวังเฉพาะเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ให้เห็นแจ้งปัจจุบัน ให้รีบเร่งทำความเพียรเสียในวันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่ง เพราะจะผัดเพี้ยนต่อมฤตยูผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่ได้ คนที่มีความเพียรอย่างนี้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน เรียกว่า มีราตรีเดียวอันดี ( เจริญ )
 
•  การไม่ติดตามอดีต การไม่หวังเฉพาะอนาคต ตรัสอธิบายว่า ไม่ให้มีความยินดี เพลิดเพลินในอดีตและอนาคต นั้น

การเจริญสติ อิริยาบถนั่ง - เดินจงกรม เพื่อ “ ดูกาย - ดูใจ ตนเอง ” ให้รู้อยู่กับปัจจุบัน ผลคือ  “ นิพพาน ”


หลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ
 
การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว  เพื่อสร้าง “ ความรู้สึกตัว ” หรือ “ มีสติ ”

มาดูกาย มาดูใจ ให้ทำตัวเหมือนอยู่ปากถ้ำ  :  เห็นความคิด “ รู้ ”

ความคิดของ " คน "







 

หลวงปู่ดูลย์   อตุโล
 
นั่งสมาธิภาวนา “ พุทโธ ” แนวทาง หลวงปู่มั่น  ภูริทัตโต

อย่าส่งจิตออกนอก : คนเราทุกข์เพราะความคิด

" คิดเท่าไรๆ ก็ไม่รู้  ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้  แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงจะรู้ "

ลำดับความคิดที่เกิดขึ้นขณะ “ เจริญสติ ”

1. คิดเกี่ยวกับเรื่องที่เคยเกิดขึ้นหรือประสพมาใน อดีต
2. คิดกังวลไปใน อนาคต
3. คิดจากสัมผัสทางอายตนะ ๖ ณ ปัจจุบัน
4. จิต “ ว่างเปล่า ” มีสติเป็นสมาธิ ( อารมณ์เดียว )
5. คิดจาก “ ปัญญาญาณ ” ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น

1. รูป - นาม
2. รูปโรค นามโรค  
3. รูปธรรม นามธรรม ( กาย เวทนา จิต ธรรม )
4. สมมุติบัณญัติ คำว่า “ ศาสนา ”
5. ปัญญาญาณ

พุทธศาสนา ประกอบไปด้วย ไตรสิกขา ได้แก่

การไม่ทำบาปทั้งปวง ( ศิล )
การทำกุศลให้ถึงพร้อม ( สมาธิ )
การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ( ปัญญา )



กาลามสูตร เป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ ปัญญา พิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษ หรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ  มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
 
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

      บันทึกการเข้า
roong15
Full Member
**


Peaceful and Useful Life
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 514

« ตอบ #285 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2554, 09:04:53 »


สวัสดีครับน้องเจี๊ยบ
สวัสดีครับพี่น้องทุกคน

ขอบคุณน้องเจี๊ยบ ที่ช่วยประชาสัมพันธ์  จัดเตรียมเอกสารแจก และนำรายรายละเอียดในการบรรยายมาโพสท์ให้พี่น้องที่ไม่มีโอกาสเข้าฟัง หรือได้รับแจกเอกสาร ได้เข้ามาอ่านในนี้ครับ  ซึ่งก็ต้องใช้เวลาพอสมควรในการแปลงไฟล์ power point  ออกมาพิมพ์อย่างประหยัดหน้า  และนำมาโพสท์ลงกระทู้นี้  

ขอบคุณอีกครั้งครับ


 sing
      บันทึกการเข้า

Peaceful and Useful Life
Uncle Na
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2524-2201
คณะ: นิเทศ
กระทู้: 4,957

« ตอบ #286 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2554, 10:29:14 »

ขอบคุณพี่เจี๊ยบ   ที่นำสาระดีๆ ทั้งหมด ของพี่สิงห์ จากวันรดน้ำขอพรมาไว้ที่นี่...
      บันทึกการเข้า

จิตใจที่จุดประกายแล้ว คือทรัพยากรที่ทรงพลังที่สุดบนพิภพ เหนือพิภพ และใต้พิภพ/จิตวิญญาณมุ่งมั่นที่ไม่ยอมแพ้/ โดย เอพีเจ อับดุล กาลัม/สุวิทย์ วิบูลเศรษฐ์  แปล
nitty20
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,398

« ตอบ #287 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2554, 14:05:00 »

 อายจังขอบคุณพี่สิงห์ค่ะ sorry sorryเสียดายติดธุระไปไม่ทัน
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #288 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2554, 02:20:48 »


อ้างถึง
ข้อความของ roong15 เมื่อ 01 พฤษภาคม 2554, 09:04:53

สวัสดีครับน้องเจี๊ยบ
สวัสดีครับพี่น้องทุกคน

ขอบคุณน้องเจี๊ยบ ที่ช่วยประชาสัมพันธ์  จัดเตรียมเอกสารแจก และนำรายรายละเอียดในการบรรยายมาโพสท์ให้พี่น้องที่ไม่มีโอกาสเข้าฟัง หรือได้รับแจกเอกสาร ได้เข้ามาอ่านในนี้ครับ  ซึ่งก็ต้องใช้เวลาพอสมควรในการแปลงไฟล์ power point  ออกมาพิมพ์อย่างประหยัดหน้า  และนำมาโพสท์ลงกระทู้นี้  

ขอบคุณอีกครั้งครับ


 sing


ขอบพระคุณสำหรับคำชมจากพี่รุ่งค่ะ ... ที่จริงเจี๊ยบก็ตั้งใจจะบันทึกเนื้อหาสาระ  ภาพถ่าย  และ CD ( video ถ่ายทอดสด ) ของกิจกรรมซีมะโด่งเสวนาแต่ละครั้ง  มาเผยแพร่ให้สมาชิกซีมะโด่ง ทั้งที่เข้าร่วมรายการ และที่ไม่มีโอกาสได้มาร่วมรายการ ให้ได้รับความรู้ และประสบการณ์จาก " แขกปราศัยรับเชิญ " ทุกท่านด้วย  แต่ก็จนด้วยเกล้า  เพราะข้อจำกัดของเวลา / ภารกิจงานประจำ และงานของกลุ่มองค์กรอื่นๆ อีกเพียบ  เลยยังทำไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้  แต่ก็ยังใจสู้  จะค่อยๆ ทยอยทำไป  จะมีปัญหาก็ตรงที่  กว่าจะทำเสร็จ  ผู้ ( คอย ) ชมก็หมดความสนใจแระ !   ข้อมูลก็ไม่ fresh แระ !   เอวัง !

พี่รุ่ง ขา ... ( กระซิบ ) ที่จริงน้องๆ ซีมะโด่งที่น่ารัก 2-3 คน ถือว่ามีคุนูปการกับ " ป้าเจี๊ยบ " เป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ  อาทิ  น้องสน 49 สอนวิธี copy รูปจาก PowerPoint File และแปลง file เป็น JPG โดยใช้ Photoshops ... น้องบัญญัติ 38 สอนวิธี copy รูปจาก MS Words File และแปลง file เป็น JPG โดยใช้ Accessories และ Paint ... น้องตู้ 45 ก็อธิบายขั้นตอนการจัดการฐานข้อมูลชาวซีมะโด่งกว่า 4,600 item ได้ชัดเจน ( ซึ่งจะได้เล่าสู่กันฟัง soon ,  โปรดติดตามตอนต่อไป ) ...

' คุณป้าเกือบตกยุค ' เลยใช้เวลาปลุกปล้ำ handout นี้ อยู่หลายตลบเลยอ่ะค่ะ

อ้างถึง
ข้อความของ Uncle Na เมื่อ 01 พฤษภาคม 2554, 10:29:14
ขอบคุณพี่เจี๊ยบ   ที่นำสาระดีๆ ทั้งหมด ของพี่สิงห์ จากวันรดน้ำขอพรมาไว้ที่นี่...

ยินดีครับ ลุงนะ ... ดีใจจัง ที่เห็นลุงนะมาเป็น ' สมาชิกหน้าใหม่ ' ของรายการนี้เพิ่มขึ้นอีกคนนึง
      บันทึกการเข้า
บัญญัติ'38
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2538
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 268

เว็บไซต์
« ตอบ #289 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 11:41:00 »


งานนี้ผมมาช้าครับ  เก็บภาพพี่สิงห์บรรยายได้เล็กน้อย เชิญชมครับ



      บันทึกการเข้า

มีคนมากมายเหลือเกิน ใช้เงินซึ่งเขาไม่มี ไปซื้อสิ่งที่เขาไม่ได้ต้องการ เพื่อไปอวดคนที่เขาก็ไม่ได้ชอบ (วิล สมิธ)
บัญญัติ'38
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2538
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 268

เว็บไซต์
« ตอบ #290 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 11:44:26 »






      บันทึกการเข้า

มีคนมากมายเหลือเกิน ใช้เงินซึ่งเขาไม่มี ไปซื้อสิ่งที่เขาไม่ได้ต้องการ เพื่อไปอวดคนที่เขาก็ไม่ได้ชอบ (วิล สมิธ)
บัญญัติ'38
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2538
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 268

เว็บไซต์
« ตอบ #291 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 11:48:29 »





      บันทึกการเข้า

มีคนมากมายเหลือเกิน ใช้เงินซึ่งเขาไม่มี ไปซื้อสิ่งที่เขาไม่ได้ต้องการ เพื่อไปอวดคนที่เขาก็ไม่ได้ชอบ (วิล สมิธ)
บัญญัติ'38
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2538
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 268

เว็บไซต์
« ตอบ #292 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2554, 11:53:06 »





ขอขอบพระคุณพี่สิงห์สำหรับสาระธรรมและเคล็ดลับการดูแลสุขภาพกายและจิต ที่คัดสรรมาฝากพี่น้องชาวซีมะโด่ง หวังว่าโอกาสต่อไปพี่สิงห์จะกรุณามาบรรยายให้พวกเราฟังอีกนะครับ

      บันทึกการเข้า

มีคนมากมายเหลือเกิน ใช้เงินซึ่งเขาไม่มี ไปซื้อสิ่งที่เขาไม่ได้ต้องการ เพื่อไปอวดคนที่เขาก็ไม่ได้ชอบ (วิล สมิธ)
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #293 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2554, 12:51:13 »


ซีมะโด่งเสวนา ครั้งที่ 9  :  ธรรมะสำหรับชาวหอฯ



 



วันพุธที่ 15  มิถุนายน  2554  เวลา 19.30 - 21.00 น.

ณ ห้องประชุม 4  สำนักงานหอพักนิสิตจุฬาฯ ( เดิม )  อาคารโรงอาหาร หอพักนิสิตจุฬาฯ



แขกปราศรัยรับเชิญ

รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา  อ่อนค้อม



อักษรศาสตร์  RCU 2512

ประธานหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา

หัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

เจ้าของรางวัล " สตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา เนื่องในวันสตรีสากลแห่งสหประชาชาติ  8 มีนาคม 2554 "



ผู้ดำเนินการอภิปราย  :  คุณสุรศักดิ์ 14




ขอเรียนเชิญน้องพี่ชาวซีมะโด่งทุกท่าน เข้าร่วมกิจกรรมซีมะโด่งเสวนา ครั้งที่ 9 โดยพร้อมเพรียงกัน นะคะ
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #294 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2554, 12:51:29 »


กำหนดการ กิจกรรมชมรมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาฯ ในวันพุธที่ 15 มิถุนายน 2554
            
เวลา                          กิจกรรม

17.30 น.   รับประทานอาหารร่วมกัน

18.00 น.   ประชุมกรรมการบริหารชมรมฯ ครั้งที่ 5 /2554
                 ๑. รับรองรายงานการประชุม
                 ๒. สรุปผลกิจกรรมแข่งขันโบว์ลิ่ง ( ฝ่ายหาทุน )
                 ๓. รายงานการเงิน ( ฝ่ายการเงิน )
                 ๔. มอบทุนการศึกษา ภาคต้น ให้นิสิตหอพักฯ ( ฝ่ายซีมะโด่งเพื่อสังคม ... ขอเรียนเชิญพี่
                      เก่าผู้บริจาคทุนการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 มาร่วมทำพิธีมอบทุนให้แก่นิสิต )
                 ๕. การเตรียมการจัดงานคืนสู่เหย้า ( ทุกฝ่าย )
                 ๖. การระดมเงินบริจาคเพื่อการสร้างอาคารหอพักหล้งใหม่ ( ทุกฝ่าย )
                 ๗. อื่นๆ

19.30 น.    รายการซีมะโด่งเสวนา ครั้งที่ 9 : ธรรมะสำหรับชาวหอฯ
                โดย รศ.ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม  เจ้าของรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา เนื่องในวันสตรี
                สากลแห่งสหประชาชาติ 8 มีนาคม 2554
                ผู้ดำเนินการอภิปราย : คุณสุรศักดิ์ 14    
              
20.45 น.  •  ถาม-ตอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
              •  ขอบคุณแขกปราศัยรับเชิญ / มอบของที่ระลึก

      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #295 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2554, 13:09:15 »


ประวัติ และผลงานของแขกปราศัยรับเชิญ " รศ.ดร. สุจิตรา อ่อนค้อม "



ชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา อ่อนค้อม

คุณวุฒิ  Ph.D.( Philosophy )

ตำแหน่งทางวิชาการ  รองศาสตราจารย์ ระดับ 9

ตำแหน่งทางบริหาร  ประธานหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา ระดับ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ที่อยู่ปัจจุบัน  33/45 ซอยร่มไทร ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160  โทร. 0-2445-5407

การศึกษา

พ.ศ. 2512 - 2515 อ.บ. ( ภาษาอังกฤษ ) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2520 - 2523 อ.ม. ( ปรัชญา ) บัณฑิตวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2521 - 2522 พ.ม. ( สังคมศึกษา ) กองส่งเสริมวิทยฐานะ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2533 - 2535 Ph.D. ( Philosophy ) มหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย
พ.ศ. 2547 Certificate of Supervising Research, University of Sydney Australia
พ.ศ. 2547  ธรรมศึกษาชั้นตรี สำนักเรียนวัดดุสิดาราม
พ.ศ. 2548 ธรรมศึกษาชั้นโท สำนักเรียนวัดดุสิดาราม
พ.ศ. 2549 ธรรมศึกษาชั้นเอก สำนักเรียนวัดประยุรวงศาวาส
พ.ศ. 2549 Certificate of English, London House School of English, Kent, England

ประวัติย่อ  ดร. สุจิตรา อ่อนค้อม แห่งสถาบันราชภัฏธนบุรี  เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2494 ทีหมู่บ้านดงน้อย ต.ช่องแค อ.ตาคลี จ. นครสวรรค์  จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดช่องแค  พ.ศ. 2503 จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ( ม.ศ. 3 ) จากโรงเรียนประดับวิทย์  พ.ศ. 2509 จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  พ.ศ. 2511 อ.บ. จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2515 และ 2523 Ph.D จากมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอันเดีย  พ.ศ. 2535  ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี  เป็นนักเขียนประจำนิตยสารกุลสตรี มาตั้งแต่ ปี 2532 - ปัจจุบัน

รศ.ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม ได้รับรางวัล International Award แห่งเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2546 จากควาเรียงเรื่อง " Creating sustainable World Peace " โดยใช้หลักทางพุทธศาสนาเป็นเหตุผลสนับสนุนความคิด

ประวัติ ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม ในคำนำ จากหนังสือ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
 
ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวที่บรรพบุรุษนับถือพระพุทธศาสนา พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย พาเข้าวัดตั้งแต่เล็ก ๆ โดยเฉพาะเทศกาล " เทศน์มหาชาติ " จะพากันไปวัดตั้งแต่ตีสี่ตีห้า เพื่อจะได้ฟังพระสวด " คาถาพัน " ได้ครบ 1,000 คาถา ด้วยความเชื่อว่าเมื่อตายจะได้ขึ้นสวรรค์ ก่อนนอนคุณพ่อคุณแม่ก็จะเล่านิทานที่เกี่ยวกับนรกสวรรค์ให้ฟังเสมอ ๆ เช่น เรื่องเทพบุตร เทพธิดา ที่มีความสุขอยู่ในวิมานสวย ๆ หรือเรื่องพระมาลัยไปเทศน์โปรดสัตว์ที่เมืองนรก เป็นต้น ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความคิดคำนึงและจินตนาการไปต่าง ๆ ตามประสาเด็ก ทรรศนะที่มีต่อพระพุทธศาสนาในวัยขนาดนั้น คือ ต้องทำความดีจึงจะได้ขึ้นสวรรค์ แล้วไม่อยากทำความชั่ว เพราะกลัวจะไปตกนรก ความเชื่อเรื่องกรรมจึงมีมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

เมื่อจบมัธยมต้นจากต่างจังหวัด ได้เข้ามาสอบเรียนต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ( รุ่น ๒๙ ) ในกรุงเทพฯ อาศัยอยู่กับครอบครัวมุสลิมซึ่งเขารักเหมือนลูกสาว คุณยายของบ้านเป็นชาวพุทธและไปฟังเทศน์ที่วัดทุกวันอาทิตย์ ไปวัดโพธิ์บ้าง วัดพระแก้วบ้าง ข้าพเจ้าก็จะตามคุณยายไปแล้วก็สังเกตว่าคนที่ไปวัด มีแต่คนแก่ ๆ ข้าพเจ้าตอนนั้นอายุ ๑๘ ปี จึงเป็นคนเดียวที่อายุน้อยที่สุด

จบโรงเรียนเตรียมฯ ก็สอบเข้าเรียนที่คณะอักษรศาสตร์จุฬา พักที่หอพักนิสิตหญิงจุฬา ฯ ( ปัจจุบันเป็นศูนย์การค้ามาบุญครอง ) วันอาทิตย์ก็ได้ไปเรียนพระทุทธศาสนาวันอาทิย์ที่วัดบวรนิเวศ เป็นลูกศิษย์ ท่านเจ้าคุณธฺมมสาโร ภิกขุ

จบปริญญาแล้ว ทรรศนะที่มีต่อพระพุทธศาสนาก็ยังอยู่ในระดับนรกสวรรค์ ต่อเมื่อเรียนปริญญาโท สาขาปรัชญา ที่คณะและมหาวิทยาลัยเดิม ทำให้ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนากว้างขวางขึ้น  อาจารย์ผู้ใ้ห้ความรู้และเป็นแรงจูงใจให้หันมาศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง คือ ท่านศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สุนทร ณ รังษี  ส่วนพระสงฆ์นั้น ข้าพเจ้าเคารพและศรัทธา ท่านเจ้าคุณอาจารย์พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ. ปยุตฺโต ) ในความเป็นปราชญ์ทางด้านพระพุทธศาสนาของพระึคุณท่าน และท่านก็ได้ประสิทธิ์ประสาทควา่มรู้ด้านปริยัติแ่ก่ข้าพเจ้าด้วยความเมตตาอย่างหาที่เปรียบมิได้ ในด้านการปฏิบัติ ข้าพเจ้าเริ่มปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังเมื่อปี ๒๕๒๖  เมื่อทางวิทยาลัยส่งให้เข้าอบรมปฏิบัติธรรมที่ วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี ข้าพเจ้าได้เป็นศิษย์ของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ตั้งแต่ บัดนั้น ( ปััจจุบันหลวงพ่อได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ พระราชสุทธิญาณมงคล ) และชีวิตก็พลิกผันหันเข้าหาธรรมะอย่างเต็มภาคภูมิ นับตั้งแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้ ทรรศนะที่มีต่อพระพุทธศาสนาได้ก้าวพ้นระดับนรกสวรรค์ขึ้นมา ข้าพเจ้าไม่อยากเกิดในสวรรค์ เพราะเป็นภูมิที่ยังต้องเวียนว่าย  ข้าพเจ้ามีความใฝ่ฝันที่จะข้ามพ้นจากสงสารสาคร แต่ก็คงจะเป็นได้เพียงความฝัน เพราะยิ่งปฏิบัติ ก็ยิ่งพบว่าการจะเข้าถึงมรรค ผล นิพพานนั้นยากแสนยาก และหากผู้ปฏิบัติขาดความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ก็อาจหลงทางได้ง่าย

การไปวัดอย่างสม่ำเสมอ เรื่องได้ฟังธรรมเทศนาจากท่านเจ้าคุณหลวงพ่อหลายต่อหลายครั้งบางเรื่องก็ฟังซ้ำถึงหกเจ็ดครั้ง ( แต่ข้าพเจ้าก็ไม่เคยเบื่อ ) และความที่เป็นคนช่างจดช่างจำ เรื่อง " ไฟไหนเล่าร้อนเท่าไฟนรก " และ " สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม " จึงเกิดขึ้น ความปลาบปลื้มใจพูนทวีจนสุดจะพรรณนา เมื่องานเีขียนที่ข้าพเจ้าได้รับความนิยมจากท่านผู้อ่านมากมายเกินความคาดหมาย ข้าพเจ้ารู้สึกปิติที่ได้ทำหน้ัาที่ช่วยเผยแผ่คำสอนของท่านเจ้าคุึณหลวงพ่อผู้ซึ่งดำเนินตามรอยบาทขององค์ พระศาสดาอย่างแน่วแน่ ข้าพเจ้าจึง " ได้บุญ " จากธัมมัสสวนมัย ในเวลาเดียวกัน

ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อผู้มีพระคุณต่อข้าพเจ้า ท่านเมตตาช่วยเหลือข้าพเจ้าทุกอย่าง และยังสนับสนุนส่งเสริมให้ข้าพเจ้าไปเรียน ปริญญาเอกที่ประเทศอินเดีย การได้ใช้ชีวิตใน " แดนพุทธภูมิ " ทำให้ข้าพเจ้าได้ควา่มรู้และประสบการณ์ด้านพระพุทธศาสนา ลึกซึ้ง ท่านอาจารย์ เขมานันทะ ( ดร.พระมหาบาง สิมพลี ) ได้เมตตาช่วยเหลือในเรื่องการสมัครเรียนที่ มหาวิทยาลัียมคธ ตลอดจนช่วยสงเคราะห์ให้ได้พำนักในวัดทิเบต อันเป็นวัดของฝ่ายมหายาน ข้าพเจ้าจึงได้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นกำไรชีวิต

ท้ายที่สุดนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณนิตยสาร กุลสตรี โดยเฉพาะ คุณยุพา งามสมจิตร ผู้ซึ่งข้าพเจ้าเคารพนับถือดุจครู อาจารย์  ด้วยท่านทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เกิดในบรรณพิภพ  ข้าพเจ้าถือโอกาสนี้ แสดงคารวะและกตัญญูกตเวทิตาธรรม ต่อท่านผู้มีพระคุณทุกท่านที่กล่าวข้างต้น และต่อท่านผู้อ่านที่ได้เมตตาช่วยค้ำจุนให้ข้าพเจ้ายืนหยัดอยู่ในโลกของตัวหนังสือได้อย่างมั่นใจ

ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านเทอญ

สุจิตรา อ่อนค้อม

ข้อมูลจาก  :  http://www.sudassa.com/sujitra.html

ประวัติการทำงาน และการสอน
    
พ.ศ. 2516 - 2517   อาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทเวศร์วิทยาลัย กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2517 - 2518   อาจารย์อัตราจ้างภาควิชาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยครูเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
พ.ศ. 2518 - 2522   อาจารย์ 1 ระดับ 3 ภาควิชาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
พ.ศ. 2523 - 2524   อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ รายวิชาที่สอน ได้แก่ พุทธศาสน์ ปรัชญาเบื้องต้น ศาสนาเปรียบเทียบ
พ.ศ. 2525 - 2538   อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา สถาบันราชภัฏธนบุรี รายวิชาที่สอน ได้แก่ พุทธศาสน์ จริยศึกษา การฝึกสมาธิ จริยธรรมกับชีวิต ศาสนาเปรียบเทียบ ปรัชญาและศาสนา ตรรกวิทยา ปรัชญาเบื้องต้น
พ.ศ. 2532 - 2538   - ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจผลงานทางวิชาการ สภาการฝึกหัดครู
- อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมพุทธศาสน์
พ.ศ. 2535 - 2539   - ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจและประเมินความชำนาญการและผลงานทางวิชาการของ ข้าราชการครูผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 2
พ.ศ. 2536 - 2538   - หัวหน้าภาควิชาปรัชญาและศาสนา สถาบันราชภัฏธนบุรี
พ.ศ. 2537 - 2540   - ผู้ริเริ่มและกรรมการร่างหลักสูตร โปรแกรมวิชาพระพุทธศาสนา ระดับปริญญาตรี กรรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- กรรมการจัดทำหลักสูตร และคู่มือการฝึกอบรมบุคลากรผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- อนุกรรมาธิการประสานงานและส่งเสริม เร่งรัดโครงการพัฒนาโปรแกรมวิชา พระพุทธศาสนา คณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
- กรรมการโครงการพัฒนากระบวนการฝึกหัดครูโดยใช้มิติทางพุทธธรรม กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2539 - 2541   -กรรมการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา โครงการบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฏธนบุรี
พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน   - ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา โครงการบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฏธนบุรี
- อาจารย์สอนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี หลักสูตร ศศ.ม ไทยศึกษา หลักสูตร ศศ.ม สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และหลักสูตร ค.ม.บริหารการศึกษา
 
พ.ศ. 2543 - 2544   อาจารย์ทีปรึกษาวิทยานิพนธ์ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา สถาบันราชภัฏธนบุรี
พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน   - ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) กระทรวงศึกษาธิการ
- ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการ กรมสามัญศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2546 - 2548   - กรรมการตรวจประเมินคุณภาพหนังสือการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
- อนุกรรมการจัดทำหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
- อนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อพิจารณาจัดทำหนังสือ "คำถาม - คำตอบ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา" คณะกรรมการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
- คณะทำงานยกร่างแนวทางปฏิบัติของคนไทยในวันสำคัญทางศาสนา สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.)
- คณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (Ph.D) สาขาวิชาศาสนศึกษา (หลักสูตรนานาชาิติ) มหาวิทยาลัยมหิดล
- กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น (Saint John's University)
พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน   - ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน   - ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจและประเมินผลงานทางวิชาการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์) มหาวิทยาลัยราชภัฏ
- ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจและประเมินผลงานทางวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน   - ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการกฎหมายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา รัฐสภา
    - ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการคุณธรรม และจริยธรรม รัฐสภา

งานแต่ง / เรียบเรียง / แปล

ผลงาน
  
  1. การฝึกสมาธิ ( พิมพ์ครั้งที่ 10 )
  2. ปรัชญาเบื้องต้น ( พิมพ์ครั้งที่ 8 )
  3. พระมหากษัตริย์ไทยกับศาสนาประจำชาติ ( พิมพ์ครั้งที่ 2 )
  4. ศาสนาเปรียบเทียบ ( พิมพ์ครั้งที่ 7 )
  5. หนังสือสวดมนต์ บาลี - อังกฤษ - ไทย ( พิมพ์ครั้งที่ 5 )
  6. รู้อย่างนี้เป็นคนดีตั้งนานแล้ว เล่ม 1-3 ( พิมพ์ครั้งที่ 3 )
  7. Creating Sustainable World Peace 5 th edition
  8. การสร้างสันติภาพโลกแบบยั่งยืน ( พิมพ์ครั้งที่ 2 )
  9. เหนื่อยนักพักใต้ร่มมณฑารพ
  10. คู่มือพุทธบริษัท ทำวัตร์เช้า - เย็น บาลี - ไืทย - อังกฤษ
    
ธรรมนิยาย ( นามปากกา สุทัสสา อ่อนค้อม )
 
  1. คนเหมือนกัน ( พิมพ์ครั้งที่ 5 )
  2. ไฟไหนเล่าร้อนเท่าไฟนรก ( พิมพ์ครั้งที่ 22 )
  3. มักกะลีผล ( พิมพ์ครั้งที่ 14 )
  4. นารีผล ( พิมพ์ครั้งที่ 10 )
  5. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ( พิมพ์ครั้งที่ 29 )  
  6. วัฏจักรชีวิต ( พิมพ์ครั้งที่ 9 )
  7. ความหลงในสงสาร ( พิมพ์ครั้งที่ 6 )
    
เรื่องสั้น ตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ
  
  1. พรสวรรค์ฟ้าประทาน ( ศรีสัปดาห์ 2515 )
  2. ศาลเตี้ย ( สกุลไทย 2526 )
  3. กลิ่นกุหลาบ ( เดลิเมล์ 2526 )
  4. ลูกป้องของแม่ ( ลูกรัก 2527 )
  5. ไร้สำนึก ( วรา 2527 )
  6. ทางออก ( สกุลไทย 2527 )
  7. ปูเป้ลูกพ่อ ( ดิฉัน 2527 )
  8. ราคาชีวิต ( กุลสตรี 2528 )
  9. แท็กซี่ที่รัก ( คัทลียา 2528 )
  10. ทำกรรมใดจึงไปนรก ( กุลสตรี 2529 )
  11. ที่รักของยาย ( กุลสตรี 2530 )  
  12. ความหวังของคำพัน ( ลลนา 2532 )
  13. หล่อนชื่อบัวลา ( สกุลไทย 2532 )
    
บทความตีพิมพ์ลง ในวารสารทางวิชาการ
  
ภาษาไทย
 
  1. หลักการของพระพุทธศาสนา ( มนุษย์สาร 2530 )
  2. ลัทธิมโนธรรมสัมบูรณ์ ( มนุษย์สาร 2530 )
  3. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : พุทธปฐมเทศนา ( ยุวพุทธสัมพันธ์ 253 Cool
  4. พุทธอัครสาวก ( มนุษย์สาร 2530 )
  5. วัฏจักรชีวิต ( ยุวพุทธสัมพันธ์ 2539 )
  6. การฝึกปฏิบัติ : บำบัดทางจิตแนวพุทธธรรม ( เอกสารประกอบการบรรยาย วิทยาลัยพยาบาล เกื้อการุณย์ 2540 )
  7. สติเป็นธรรมสำคัญยิ่ง ( ยุวพุทธสัมพันธ์ 2541 )
  8. ความกตัญญูกตเวที ( ยุวพุทธสัมพันธ์ 2541 )
  9. การบริหารจิตและเจริญปัญญา ( ยุวพุทธสัมพันธ์ 2542 )
  10. มาฆบูชา : โอวาทปาติโมกข์ ( ยุวพุทธสัมพันธ์ 2542 )
  11. อบายมุข 4 ( ยุวพุทธสัมพันธ์ 2542 )
  12. ความรักของแม่ ( ยุวพุทธสัมพันธ์ 2543 )
  13. พระแม่เจ้าของชาวไทย ( ยุวพุทธสัมพันธ์ 2544 )
  14. หลวงพ่อจรัญกับวันแม่ ( ยุวพุทธสัมพันธ์2544 )
  15. จริยธรรมนักปกครอง ( มนุษย์สาร 2550 )

งานพิเศษ และการให้บริการสังคม
 
งานพิเศษ
    
พ.ศ. 2524 - 2545   อาจารย์สอนเสริม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. 2531 - 2534   อาจารย์พิเศษ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน   นักเขียนนวนิยายอิงธรรมะ นามปากา สุทัสสา อ่อนค้อม ประจำนิตยสารกุลสตรี
พ.ศ. 2538 - 2545   อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ สอนวิชาตรรกวิทยา ปรัชญาเบื้องต้น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศา่สนา
พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน   อาจารย์พิเศษ วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สอนวิชาสมาธิในศาสนา การฝึกปฏิบัติสมาธิในพุทธศาสนา
พ.ศ. 2544 - 2547   อาจารย์พิเศษ โรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ สอนวิชาตรรกวิทยา ปรัชญาเบื้องต้น
พ.ศ. 2546 - 2547   อาจารย์พิเศษสาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยากรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ( วปอ. )  
      
การให้บริการแก่สังคม
    
พ.ศ. 2530 - ปัจจุบัน   - บรรณาธิการหนังสือกฏแห่งกรรม - ธรรมปฏิบัติของพระธรรมสิงหบุราจารย์ ( จรัญ ฐิตธมฺโม ) วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. 2537 - 2540   - กรรมการผู้ก่อตั้งชมรมสื่อมวลชนเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- บรรณาธิการวารสารยุวพุทธสัมพันธ์
- บรรณารักษ์ห้องสมุดธรรมธีรราชมหามุนี ยุวพุทธิกสมาคม แ่ห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. 2538 - 2542   - ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2539 - 2541   - กรรมการอำนวยการ สภายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. 2539 - 2543   - กรรมการบริหารยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน   - บรรณาธิการหนังสือ The Law of Karma - Dhamma Practice ของพระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. 2542 - 2544   - วิทยากรบรรยายและสอนวิปัสสนากรรมฐาน ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช ณ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน   - นักเขียนเจ้าของคอลัมน์ ศาลาธรรมโอสถ (แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตด้วยธรรมะ) ใต้ร่มมณฑารภ ร่มพระศรีชินบัญชร สิกขสาวิกา ประจำนิตยสารกุลสตรี
พ.ศ. 2543 - 2546   - วิทยากรบรรยายและสอนวิปัสสนากรรมฐาน วัดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
- รองประธานสหพันธ์ศาสนสัมพันธ์เพื่อสันติภาพโลก
- วิทยาำกรรายการ " สนามความรู้ " โครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ. 2544 - 2547   - ที่ปรึกษาโครงการพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติอักษรโรมันกองทุนสนทนาธรรมนำ สุข ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์
- วิทยากรบรรยายธรรมทางวิทยุกระจายเสียงรายการ "สายด่วนเพื่อชีวิต"
- ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ โรงเรียนยุวพุทธพิทยา ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. 2546 - 2548   - ผู้อำนวยการจัดอบรมครูศิลธรรม วัดสามชุด อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน   - วิทยากรถวายความรู้แด่พระนักเรียนสี่เหล่า ณ วัดถ้ำวัฒนมงคล กิ่งอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง
พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน   - ที่ปรึกษาอิสระ ประเภท B หมายเลข 1383 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน   - ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการกฎหมายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา รัฐสภา
- ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการคุณธรรม และจริยธรรม รัฐสภา

ผลงานวิจัย

1. ทรรศนะเรื่องความสุขในพุทธปรัชญา ( 2523 )
    
2.  The Concept of Man in Buddhism and Existentialism : A Study in Comparetive Philosophy ( 1992 )
    
3. An Analytical Study of Karma and Rebirth in Buddhism ( 1995 )
    
4. รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษา วัดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ( 2546 ) ได้รับทุนการวิจัยจากสภาการศึกษาแห่งชาติ 70,000 บาท
    
5.  การวิจัยและส่งเสริมวัดเพื่อการพัฒนาโครงการอบรมศีลธรรม " การเข้าค่ายพุทธบุตร " กรณีศึกษาวัดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ( 2547 ) ได้รับทุนการวิจัยจากสภาการศึกษาแห่งชาติ 60,000 บาท  
    
6.  การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพระพุทธศาสนา ( 2547 ) ได้รับทุนการวิจัยจากโครงการบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 100,000 บาท
    
7. คู่มือกลยุทธ์การบริหารและจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัด : ประสบการณ์ จากการปฏิบัติงาน ( 2548 ) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสภาการศึกษาแห่งชาติ 70,000 บาท
    
8.  นโยบายส่งเสริมศาสนาในการพัฒนาสังคม ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 1,000,000 บาท

รางวัล

  1. ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา พุทธศักราช 2538
      
  2. ได้รับรางวัลชนะเลิศการเขียนบทความเรื่อง Building Peace in the New Millennium จากองค์การสหประชาชาติ เป็นเงิน 250 เหรียญสหรัฐฯ ปี 2543
      
  3. ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดความเรียงระดับนานาชาติ เรื่อง Creating Sustainable World Peace จาก Rethinkers'Organization, Toronto. CANADA เป็นเงิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ปี 2546
      
  4.  ได้รับการคัดสรรจากนิตยสารกุลสตรี เป็น 9 ยอดกุลสตรีประจำปี 2546 ( สายงานข้าราชการประจำ )


ผลงานการประพันธ์

๑. ไฟไหน ร้อนเท่าไฟนรก

๒. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

๓. มักกะลีผล

๔. ศาลาธรรมโอสถ

๕. คนเหมือนกัน

๖. การฝึกสมาธิ

๗. ศาสนาเปรียบเทียบ

๘. ปรัชญาเบื้องต้น

๙. พระมหากษัตริย์ไทยกับศาสนาประจำชาติ

๑๐. การสร้างสันติภาพโลกแบบยั่งยืน

      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #296 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2554, 13:23:46 »


สัมภาษณ์ รศ.ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม

คัดลอกจาก http://www.praphansarn.com/talk/ttalk84.asp


ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร. สุจิตรา อ่อนค้อม หัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา ในวันสตรีสากลองค์การสหประชาชาติ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554 ณ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยกย่องคุณงามความดีของสตรีชาวพุทธให้ผู้อื่นได้รับรู้ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม ( รูป และคำบรรยาย จาก  :  http://dit.dru.ac.th/home/002_2011/news/2011-03-09/  )

การเขียน เป็นเพียงหนทางหนึ่งในการบอกเล่าความรู้และความคิดของคนคนหนึ่ง ซึ่งในการเขียนแต่ละครั้งจะมีคุณค่าต่อผู้อ่านมากเพียงใด ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของผู้อ่าน และขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้เขียน " ให้ " กับเรา อาจเป็นสาระ อาจเป็นความรู้ หรืออาจเป็นความบันเทิงและสิ่งประโลมใจ

แต่งานเขียนของ ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม มีความหมายมากกว่านั้น ด้วยเป็นงานเขียนที่ช่วยชี้แนะให้เห็นทางของการดำเนินชีวิตอย่างพุทธศาสนิกชน เป็นงานเขียนรับใช้พระพุทธศาสนา ที่หากผู้อ่านเปิดใจเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งที่อาจารย์บอกแล้ว ย่อมได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน

ทุกวันนี้ชื่อของ ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม หรือในนามปากกาว่า สุทัสสา จึงไม่เพียงประสบความสำเร็จในฐานะนักเขียนในประเทศไทย หากมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก จากการชนะเลิศการประกวดบทความสันติภาพโลกเมื่อปีที่ผ่านมา หนังสือของอาจารย์ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา

แต่กว่าจะมาถึงวันแห่งความสำเร็จเช่นนี้ อาจารย์ต้องใช้ความมานะพยายามมาไม่น้อยเลย

และนี่คือสิ่งที่อาจารย์เล่าให้เราฟัง ถึงเส้นทางการเป็นนักเขียน นับจากวันแรกจนถึงปัจจุบัน


" ดิฉันเริ่มสนใจเรื่องการเขียนมาตั้งแต่เด็กๆ ตอนนั้นอ่านหนังสือสกุลไทย แล้วก็ใฝ่ฝันลมๆ แล้งๆ ว่าอยากเป็นนักเขียน ก็เริ่มลงมือเขียนนะคะ แต่เขียนแล้วก็ทิ้ง เขียนแล้วก็ทิ้ง ไม่ได้เก็บเอาไว้เลย จนวันหนึ่งพี่สาวมาขโมยอ่าน แล้วเขาก็มาว่าดิฉันว่า เรื่องที่ดิฉันเขียนลอกมาจาก "ไผ่ลอดกอ" ของเพ็ญแข วงศ์สง่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ลงในสกุลไทยสมัยนั้น ดิฉันก็ดีใจใหญ่เลยนะ เพราะเราไม่รู้หรอกว่ามันเหมือนกัน ไม่เคยอ่านเรื่องนี้เลย ตอนนั้นยังไม่รู้จักคุณเพ็ญแขด้วย ก็เลยดีใจว่า เออ เราไม่เคยอ่านไผ่ลอดกอนะ เราเขียนของเราขึ้นมาเองแต่มันไปเหมือน แสดงว่าของเราก็มีแววนะ ก็เก็บความดีใจไว้เงียบๆ แล้วก็เขียนเล่นมาเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องเป็นราว "

" จนเมื่อปี 2515 ตอนที่เรียนอักษรศาสตร์ จุฬา ชั้นปีที่สี่ ตอนนั้นดิฉันจะไปเรียนพระพุทธศาสนาที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทุกวันอาทิตย์ เรียนกับ ท่านเจ้าคุณธัมมสาโรภิกขุ ทุกคนจะเรียกท่านว่าหลวงตานะคะ ท่านเป็นชาวเมืองระยอง และเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ท่านก็จะเขียนกลอนธรรมะ เขียนคอลัมน์ธรรมะลงในนิตยสาร ศรีสัปดาห์ ซึ่งมี หม่อมหลวงจิตติ นพวงศ์ เป็นบรรณาธิการ หลวงตาท่านมีคอลัมน์ประจำเกี่ยวกับธรรมะลงอยู่ ก็เลยลองเขียนเรื่องแรกส่งไปให้หลวงตา ตอนนั้นเขามีการประกวดร้องเพลงทางทีวี ดิฉันก็เอามาเขียนว่าตัวเองเป็นนางเอกไปประกวดร้องเพลงได้รางวัลมาเป็นค่าเรียนอะไรอย่างนี้ แต่ไม่ได้ตั้งชื่อเรื่อง ใช้นามปากกาว่า สุทัสสา ปรากฏว่าพอให้หลวงตาอ่าน ท่านก็เอาไปลงศรีสัปดาห์ให้เลย แล้วก็ตั้งชื่อเรื่องให้ตามชื่อนางเอกว่า พรสวรรค์ ฟ้าประทาน โอ้โห ดิฉันดีใจใหญ่เลย พอได้ค่าเรื่องมาหนึ่งร้อยบาทก็เอามาเลี้ยงเพื่อนหมดเลย "

" ต่อมาก็เขียนเรื่องใหม่อีกเรื่องหนึ่ง เนื้อเรื่องประมาณว่านิสิตจุฬา สอบตก โดนรีไทร์ แล้วก็ไปฆ่าตัวตาย ส่งไปที่ศรีสัปดาห์อีก แต่คราวนี้ไม่ได้ลง เพราะว่า บ.ก.ไม่ต้องการให้เรื่องจบลงด้วยการฆ่าตัวตาย ท่านบอกว่า สำนวนดีนะ ขอให้เปลี่ยนตอนจบเท่านั้น แต่ว่าช่วงนั้นเรียนหนักไม่มีเวลาแก้ก็เลยไม่ได้ลงน่ะค่ะ ไม่มีเวลาทำ แต่ที่จริงส่วนหนึ่งที่ไม่แก้เพราะตอนนั้นมีอัตตาสูงนะ รู้สึกว่าไม่เอาหรอก ก็เขียนอยากให้จบแบบนี้ ก็เลยไม่แก้ ก็เลยไม่ได้ลง "

" หลังจากเรียนจบ ถัดไปอีกสิบปี ตอนนั้นสอนอยู่ที่วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ถึงได้เขียนเรื่องที่สอง ใช้ชื่อเรื่องว่า ศาลเตี้ย เอาชีวิตตัวเองมาเขียน ตอนนั้นมีคดีความอยู่ ที่บ้านถูกเขาโกง แต่เขาร่ำรวยกว่า เขาใช้เงินสู้คดี ส่วนเราไม่มีเราก็แพ้ พอเราแพ้ศาลก็แค้นใจ เลยจินตนาการผูกเรื่องขึ้นมาว่า ในเมื่อเราแพ้ศาลทั้งที่เราเป็นฝ่ายถูก เราเลยเอาปืนไปยิงคนนั้นให้ตาย เรื่องนี้เขียนตั้งแต่ 2524 ส่งไปที่สกุลไทย ปรากฏว่าที่นั่นเขามีคิวยาวมาก จนปี 2525 ดิฉันแต่งงานแล้วย้ายตามสามีเข้ากรุงเทพฯ มีน้องที่จบอักษรโทรมาบอกว่าเรื่องนี้จะได้ลงในเดือน ก.พ. 2525 คราวนี้ได้ค่าเรื่องสองพันบาท เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สอง ที่ได้ลง โอ้โห ดิฉันดีใจมาก จำได้ว่าวันนั้นเดินไปซื้อหนังสือกุลสตรีที่สามย่าน เจอขอทานก็ให้เงินขอทานไปตั้งสิบบาท ขอทานงงเลยว่าทำไมให้เยอะ เพราะตอนนั้นเรากำลังดีใจมากนะคะ "
 
" พอหลังจากนั้นก็เขียนมาเรื่อยๆ มีหนังสือที่ไหนรับเรื่องสั้น ดิฉันก็ส่งไปทุกเล่มเลย เรื่องที่สามที่ได้ลงคือ น้ำหอมกลิ่นกุหลาบ ลงใน หนังสือเดลิเมล์วันจันทร์ แล้วก็ได้ลงที่สกุลไทยอีกหลายเรื่อง เป็นเรื่องสั้นตลอดเลย ลงในหนังสือลลนา ดิฉัน หนังสือวรา ตอนหลังได้เขียนลงกุลสตรีด้วย "

" แต่ที่ส่งไปแล้วไม่เคยได้ลงเลยคือ สตรีสาร กับฟ้าเมืองไทย บ.ก. สตรีสารคือ คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง เคยให้ข้อเสนอแนะมานะคะว่าเรื่องของดิฉันนั้นสำนวนดีอะไรดีหมด แต่เรื่องมันไม่ตื่นเต้น ส่วนอาจารย์อาจิณ ปัญจพรรค์ บ.ก. ฟ้าเมืองไทยท่านก็เขียนมาให้กำลังใจ แต่ที่ไม่ได้ลงเพราะเรื่องที่ส่งไปไม่ตรงกับแนวของหนังสือฟ้าเมืองไทย ซึ่งเน้นไปในเชิงบู๊ ทรหดแบบลูกผู้ชาย เลือดนักสู้อะไรทำนองนี้ "

" ดิฉันเขียนเรื่องสั้นมาทั้งหมด 13 เรื่อง แล้วก็หยุด เริ่มมาเขียนเรื่องยาว ที่เขียนเป็นเรื่องแรกเลยคือ คนเหมือนกัน เป็นเรื่องที่แปลงมาจากเรื่อง ราคาชีวิต ที่เป็นเรื่องสั้นเคยลงในกุลสตรีแล้ว บ.ก. บอกว่าดีมาก ดิฉันก็เอามาขยายเป็นเรื่องยาว 20 ตอนจบ แล้วก็พิมพ์รวมเล่มเองครั้งแรก ประมาณปี 2526 หรือ 2528 จำไม่ได้นะคะ แต่เรื่องนี้ไม่ดังเท่าไหร่ เพราะเรื่องนี้เราพิมพ์รวมเล่มเองโดยที่ไม่เคยลงในวารสารมาก่อนเลย แต่ตอนนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ 5 แล้วนะคะ "

" หลังจากนั้นดิฉันก็เขียนเรื่อง ไฟไหนเล่าร้อนเท่าไฟนรก เป็นเรื่องสั้นขนาดยาว สิบสองตอนจบ ส่งไปที่นิตยสารกุลสตรี หลังจากส่งเรื่องสั้นขนาดยาวไปที่กุลสตรี พอลงไปได้สักตอนสองตอน จดหมายจากผู้อ่านเข้ามาเยอะมากเลยค่ะ คนชอบมาก จน บ.ก. คือ คุณยุพา งามสมจิตร มาดูตัวที่บ้านเลย แล้วบอกว่าให้พล็อตเรื่องใหม่ได้แล้ว โอ้โห ดีใจมากเลยค่ะ ก็คิดว่า เอ จะพล็อตเรื่องอะไรดี ทีนี้นึกว่าเขียนเรื่องนรกแล้ว เอาเรื่องสวรรค์บ้างก็แล้วกัน แต่ก็นึกอีกว่าเรื่องสวรรค์จะไม่ค่อยมีคนเชื่อกัน เราก็มีข้อมูลมากพอสมควร แต่ก็ยังไม่เอาดีกว่า เราอย่าเขียนอย่างนั้นเลย ก็ยังตัดสินใจไม่ได้ "

" พอดีช่วงนั้นมีเหตุวิกฤติเกิดขึ้นในชีวิตด้วย คือเมื่อปี 2530 ดิฉันสอบเรียนปริญญาเอกสาขาปรัชญาได้ ที่จุฬาฯ เรียนไปหนึ่งปีก็ถูกรีไทร์ ตอนนั้นเสียใจมากนะคะ แต่มีรุ่นน้องคือ ดร. รุ่งธรรม สุจิธรรมรักษ์ มาปลอบใจว่า 'โอ๊ย ถ้าผมมีความสามารถในการเขียนอย่างพี่นะ ผมไม่เรียนหรอกปริญญาเอกน่ะ ผมจะเขียนนิยาย จะเอาดีทางนี้ไปเลย' ดิฉันก็รู้สึกได้กำลังใจ จนวันหนึ่งก็เหมือนมีเสียงในใจบอกว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ก็เลยเขียนเรื่องนี้ "

" พอเขียน สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ลงในกุลสตรีไปได้สักสองสามปักษ์ ก็มีจดหมายมาเยอะมากเลยค่ะ ดิฉันก็เขียนเพลินมาก เขียนจนลืมตัวละคร ลืมจบ ลืมอะไรไปหมดเลย จนเรื่องนี้ยาวไปถึง 80 บท รวมเล่มนี่ต้องทำเป็นสองเล่มนะคะ แต่ก็ขายดีมาก ตอนนี้พิมพ์รวมเล่มอย่างเป็นทางการเป็นครั้งที่ 22 แล้วนะคะ แต่ถ้าไม่เป็นทางการก็ประมาณครั้งที่ 26 เพราะว่าบางทีมีคนมาขอพิมพ์โดยที่ทางเราไม่ได้แจ้งครั้งที่ เขาก็เอาเพลทเก่าพิมพ์ เรื่องนี้คนติดกันมากเลยค่ะ ทุกวันนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วนะคะ "

" เรื่องนี้เขียนจากชีวประวัติและงานเผยแผ่ศาสนธรรมของ หลวงพ่อจรัญ ฐิตะธัมโม หรือปัจจุบันคือ พระเทพสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี เหตุการณ์ในเรื่องนี้ก็จะเริ่มตั้งแต่ปี 2516 ซึ่งมีเหตุการณ์ 14 ตุลา แล้วมาจบที่หลวงพ่อได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ คอหัก เมื่อวันที่ 14 ตุลา 2521 ปรากฏคนติดมากเลย พอจบแล้วก็ต้องเขียนต่อเพราะหลายคนเข้าใจว่าหลวงพ่อมรณภาพไปแล้ว และคนก็ถามถึงกันมากเลยอยากจะอ่านต่อ "

" ถ้าจะอ่านต่อตามเหตุการณ์ ก็ต้องอ่านเรื่อง วัฏจักรชีวิต ซึ่งในเรื่องนี้จะเปิดเผยว่าหลวงพ่อรถคว่ำแต่ไม่ได้มรณภาพนะ แต่ว่าตอนที่เขียนจริงๆ ไม่ได้เขียนเรื่องนี้ก่อน เพราะตอนนั้นมีข่าวฮือฮาเรื่องมักกะลีผล หรือว่านารีผล เนื่องจากหลวงพ่อมีมักกะลีผลอยู่แล้วนักข่าวมาเจอ แล้วเอาไปลงหนังสือพิมพ์ ก็กลายเป็นเรื่องฮือฮามาก ทีนี้พออะไรกำลังดังเราก็เขียนเรื่องนั้นก่อน ก็เลยเขียนเรื่อง มักกะลีผล ขึ้นมา เอาประวัติของหลวงพ่อเป็นฉาก เริ่มตั้งแต่ปี 2477 หลวงพ่ออายุ 6 ขวบ จนกระทั่งถึงบวชอยู่ที่วัดพรหมบุรีแล้วกำลังจะย้ายมาอยู่ที่วัดอัมพวัน ปรากฏว่าเขียนเพลินอีกแล้ว เพราะชีวประวัติของหลวงพ่อมีเรื่องราวเยอะมาก จนยาวไป 96 ตอน จน บ.ก. ต้องบอกว่า อาจารย์ เยอะไปแล้วนะ จบได้แล้ว ก็เลยต้องจบ แต่เหตุการณ์มันยังมาต่อกับตอนต้นของสัตว์โลกฯ ไม่ได้เลยนะ เพราะเรื่องมันต้องมาต่อกันให้ได้ ปี 2516 แต่มันจบแค่ปี 2500 เท่านั้นเอง สุดท้ายก็เลยต้องเขียนต่อเรื่องเดิม แต่เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น นารีผล ซึ่งก็จะเริ่มตั้งแต่ปี 2500 ไปจบในปี 2516 พูดถึงประวัติของหลวงพ่อตั้งแต่มาอยู่วัดอัมพวันว่าท่านสร้างอะไรบ้าง ออกธุดงค์ การพบกับหลวงพ่อในป่า การใช้กรรมที่ทำไว้สมัยเมื่อเป็นเด็ก ฯลฯ "

" แต่ทีนี้คนไปติดเรื่องสัตว์โลกฯ กันมาก แล้วก็ไม่ค่อยรู้จักสองเรื่องนี้ พอดีมี รศ.ดร.ธวัชชัย บุญโชติ อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านอ่านเรื่องสัตว์โลกฯ แล้วชอบมาก ก็เที่ยวสืบหาเบอร์โทรของดิฉัน จนไปได้เบอร์จาก 13 เขาก็โทรมาคุยด้วยตั้งนานสองนาน ดิฉันบอกท่านว่าตอนนี้เขียนถึง นารีผล แล้ว ท่านก็เลยไปหามาอ่าน แล้วก็มาบอกว่า ผมอ่านแล้วนะ แล้วผมก็เอาไปให้เพื่อนที่ธรรมศาสตร์อ่านด้วย เพื่อนบอกว่าเรื่องนี้ดีกว่าสัตว์โลกฯ อีก ดิฉันก็ โอ้โห ดีกว่าเชียวหรือ แต่ทำไมเรื่องนี้ขายไม่ดีล่ะ เพิ่งพิมพ์ไปได้ครั้งเดียวเอง ท่านเลยแนะว่าให้เปลี่ยนชื่อเป็นสัตว์โลกให้หมดเลย ดิฉันก็ไปปรึกษากับทางโรงพิมพ์ ก็แก้ปัญหาเรื่องชื่อว่าเป็น ธรรมนิยายชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม แล้วจะเป็นชื่ออะไรก็ใช้เขียนถัดลงไปอีก 1 บรรทัด เช่น ธรรมนิยายชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม บรรทัดต่อมาก็เป็น มักกะลีผล อะไรอย่างนี้ "

" พอเขียนนารีผลจบก็มาต่อเหตุการณ์กับสัตว์โลกฯ ได้ จากนั้นก็เริ่มเขียน วัฏจักรชีวิต ตอนนี้ก็เขียน มาได้ 33 ตอนแล้วนะคะ แต่ดิฉันเป็นคนที่มีปัญหาในการเขียน ดิฉันเขียนยาวมาก พิมพ์รวมเล่มออกมาเรื่องหนึ่งสองเล่ม คนอ่านก็จะเสียเงินเยอะ บ.ก. ก็แนะว่าให้เขียนทีละเล่ม เพราะที่เคยเขียนมาแต่ละเรื่องยาวมาก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม 80 บท มักกะลีผลกับนารีผล อีกเรื่องละ 96 บท ทีนี้ต่อไปวัฏจักรชีวิตจะเหลือ 48 บทก็จะจบแล้ว แล้วค่อยเปลี่ยนเรื่องใหม่ และจากนี้จะพิมพ์เป็นเล่มเดียวๆ แล้ว แต่จะใช้ชื่อเดียวกันหมดคือ ธรรมนิยายชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม "

" นอกจากเขียนหนังสือแล้วดิฉันยังมีงานวิชาการที่ต้องทำอีกมากมาย เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ด้วย เป็นกรรมการทำหลักสูตร แปลหนังสือ ฯลฯ และมีงานที่ทำอยู่โดยไม่เป็นทางการอีกสองงานใหญ่ๆ งานหนึ่งคือ เป็น ที่ปรึกษาโครงการพระไตรปิฎกอักษรโรมัน แบับฉัฏฐสังคีติ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชทานไปยังห้องสมุดของสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 1000 ชุด ชุดหนึ่งมี 40 เล่ม ส่วนอีกงานคือ งานทำหนังสือของหลวงพ่อ ซึ่งเราจะนำคำสอนของท่านมาถอดเทปพิมพ์เป็นหนังสือถวายท่านทุกวันที่ 15 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของท่าน ปีละ 1 เล่ม ทำมาตั้งแต่ปี 2530 ถึงตอนนี้ 2546 ก็เป็นเล่มที่ 17 แล้ว "

" การทำหนังสือของหลวงพ่อ ตั้งแต่เล่มแรกถึงปัจจุบัน ดิฉันจะเป็นบรรณาธิการ เมื่อก่อนงานยังไม่มากก็จะอ่านทั้งเล่ม คือนอกจากคำสอนของหลวงพ่อแล้วก็ยังมีงานเขียนของลูกศิษย์ ประสบการณ์การปฏิบัติธรรมของลูกศิษย์ ทีนี้ยิ่งทำไป เล่มก็จะอ้วนขึ้นๆ ดิฉันเริ่มจะอ่านไม่ไหว ก็จะรับผิดชอบตรวจเฉพาะส่วนของหลวงพ่อ พันเอกพิเศษทองคำ ศรีโยธิน ซึ่งเป็นประธานคณะบรรณาธิการเขียนคำนำให้ "

" ทีนี้พอต่อมาเกิดมีฝรั่งมาสนใจ อยากรู้ว่าหลวงพ่อสอนอะไร ดิฉันเลยเริ่มต้นแปลหนังสือ กฎแห่งกรรม ธรรมปฏิบัติ เล่ม 1ของหลวงพ่อเป็นภาษาอังกฤษ งานนี้เป็นบรรณาธิการเองเลย ตอนนี้ก็พิมพ์เป็นครั้งที่ 5-6 แล้ว ได้รับความสนใจมากค่ะ โดยเฉพาะที่ มหาวิทยาลัย Wright's ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นั่นติดต่อผ่านทาง รศ.ดร.พินิจ รัตนกุล ซึ่งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ดิฉันเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาสมาธิในศาสนา อาจารย์พินิจก็พาศาสตราจารย์จากที่นั่นมาสัมภาษณ์หลวงพ่อ เขาก็สนใจมากเลย แล้วก็ขออนุญาตแปลงานของหลวงพ่อเป็นภาษาอังกฤษ "

" พอแปลก็เกิดปัญหา มีอุปสรรคตรงที่หาคนแปลไม่ได้ เพราะว่าคนที่จะมาแปลนี่จะต้องมีคุณสมบัติคือ หนึ่ง ต้องเคยปฏิบัติธรรมเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อ สองจะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษ สามต้องมีความรู้ภาษาไทย แล้วก็จะต้องมีความรู้ศัพท์ทางพระพุทธศาสนาด้วย เป็นอันว่าเขาเอาไปแปลแล้วทำไม่สำเร็จ เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจ หลวงพ่อก็เลยยกงานตรงนี้มาให้ดิฉันแปล ตอนหลังก็มีคนอื่นๆ มาช่วยแปลด้วย ตอนนี้ที่พิมพ์เป็นเล่มแล้วก็มีเล่ม 1 เล่ม 2 เล่ม 3 เล่ม 7 ส่วนเล่ม 4 เล่ม 5 เล่ม 6 เล่ม 8 อยู่ระหว่างการตรวจ ผู้ช่วยแปลมีสามท่านคือ ดร.นราพร รังสิมันตกุล คุณปราณี รัตนวรรณ คุณอรุณี ศิริวัฒน์ ผู้ตรวจคืออาจารย์ Donald W. Sandage "

" อันที่จริงกว่าจะประสบความสำเร็จได้ ทุกอย่างใช้เวลาก่อตัว อย่างการที่ดิฉันต้องทำงานเขียนทางศาสนา ก็ทำให้ได้เรียน ได้ค้นคว้าพระไตรปิฎก ค้นคว้าอรรถกถา จนได้มาเปิดคอลัมน์ ศาลาธรรมโอสถ ที่กุลสตรี ได้ตอบปัญหาท่านผู้อ่าน ซึ่งก็เป็นปัญหาชีวิตบ้าง ปัญหาธรรมะบ้าง ก็ทำให้ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่เสมอ ซึ่งปกติก็จะค้นคว้าอยู่แล้วตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาโท ปริญญาเอก คือหลังจากที่รีไทร์ไปแล้วตอนหลังดิฉันก็ได้ทุนจากอินเดีย ไปเรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศอินเดีย การไปเรียนที่นั่นทำให้พบขุมทรัพย์อันมหาศาลอย่างหาประมาณมิได้ ความรู้ทางพระพุทธศาสนาเราจะแน่น อีกอย่างคือเรื่องการปฏิบัติธรรม ดิฉันได้รู้จักหลวงพ่อเป็นครั้งแรกเมื่อไปปฏิบัติธรรม ปี 2526 ตรงนั้นเป็นจุดเริ่มในทางปฏิบัติ ทุกอย่างก็สะสม ฟักตัวมานาน การที่เป็นนักเขียนได้ก็เพราะจุดนี้ "

" การทำคอลัมน์ ศาลาธรรมโอสถ เป็นงานที่ดิฉันชอบมากจริงๆ เพราะได้ใช้ความรู้ความสามารถเต็มที่ และจะได้ช่วยแก้ในการที่คนเข้าใจพระพุทธศาสนาผิดๆ เช่น การเชื่อโชคลางอะไรอย่างนี้ ดิฉันจะตอบคอลัมน์โดยยึดพระไตรปิฎกหมดเลย เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องและแท้จริงกับคนอ่าน "

" ที่มาของการส่งบทความเข้าประกวดจนได้รับรางวัล คือเมื่อปีที่แล้ว ประมาณเดือนกรกฎาคม ดิฉันไปสอนที่วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลตามปกติ ดร.พินิจ ท่านก็ให้เจ้าหน้าที่เอาโน้ตมาให้ แจ้งว่าเพื่อนที่แคนาดาส่งเมลมา บอกว่าเขามีการประกวดเขียนเกี่ยวกับสันติภาพอย่างนี้ๆ ถ้าอาจารย์สนใจก็เขียนไป ดิฉันเอามาอ่านแล้วก็เฉยๆ ไม่คิดจะเขียน เพราะเราไม่มีเวลา และมันก็คงเป็นเรื่องที่ยากมากเลย เพราะเขาตั้งรางวัลไว้ตั้งหนึ่งแสนดอลลาร์ มันก็ต้องเป็นเรื่องที่ยากมาก ดิฉันอ่านกติกาเขาให้เขียนขนาดตัวพิมพ์ 12 point ความยาวประมาณ 50-70 หน้า A4 มันก็เท่ากับหนังสือเล่มหนึ่งละ ดิฉันก็ไม่เอาเลย ไม่เขียน เพราะไม่มีเวลา เพราะไหนจะคอลัมน์ในกุลสตรี แล้วยังมีงานแปลที่ต้องทำให้กับสำนักนายก มีงานแปล มีงานเกี่ยวกับตรวจงานของกระทรวงเยอะมากเลย อ่านแล้วก็ตัดสินใจไม่ทำ 100% "

" จากวันนั้น ผ่านไปได้เดือนหนึ่ง ระหว่างที่ดิฉันปฏิบัติธรรม เดินจงกรมอยู่ ก็รู้สึกมีเสียงมาบอกที่หู อาจเป็นจิตใต้สำนึกของตัวเองบอกว่า ต้องทำนะ เพราะว่างานนี้เป็นงานสำคัญกับพระพุทธศาสนามาก ดิฉันก็เลยตอบไปในใจว่าทำก็ทำ แต่ทำแล้วต้องชนะนะ แล้วดิฉันก็นั่งสมาธิต่อ ระหว่างนั่งก็คิดว่าเราจะเขียนอย่างนี้ๆ นะ พอนั่งเสร็จก็เอากระดาษมาโน้ตไว้ว่าจะเขียนแบบนี้ๆ ทุกอย่างไหลออกมาจากความคิด เพิ่งมารู้ทีหลังนะว่าที่เราเขียนไปมันเป็นกระบวนการของอริยสัจทั้งหมด มารู้หลังจากได้รางวัลนะ "

" พอโน้ตไว้แล้ว สองอาทิตย์ผ่านไปก็ยังไม่ได้ลงมือเขียน เพราะงานเยอะมาก แล้วพอจะเขียนจริงๆ กลับหาโน้ตไม่เจอ ดิฉันก็ เอ้อ ไม่เจอก็ไม่เจอ ก็ลงมือเขียนไปเรื่อยๆ เสาร์ อาทิตย์บ้าง วันศุกร์บ้าง เขียนอยู่ประมาณเดือนหนึ่งก็เสร็จ แต่ก็ไปมีปัญหาเรื่องพิมพ์อีก เพราะคอมพิวเตอร์ติดไวรัส จนถอดใจแล้วว่าคงไม่ทันแล้ว แต่หลานก็จัดการแก้ไขให้จนเสร็จจนได้ ใช้ชื่อเรื่องว่า Creating Sustainable World Peace "

" ก่อนส่ง ดิฉันเอาต้นฉบับกับแผ่นดิสก์ ไปถวายหลวงพ่อจรัญ หลวงพ่อท่านมองดู ไม่ได้อ่าน แล้วก็บอกว่า "เขียนหลายเรื่อง" พูดเท่านี้แล้วก็ไม่ได้ว่าอะไร ดิฉันก็ส่งไป การประกวดครั้งนี้มีคนส่งงานไปทั้งหมดประมาณ 300 กว่าเรื่อง แต่ทางเวบเขาจะเลือกมาแค่ 30 เรื่อง ลงเฉพาะเนื้อหาให้อ่าน ให้คนโหวตว่าจะเชียร์เรื่องไหน มีเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับปิรามิดที่คนอ่านเชียร์มากที่สุด แต่ปรากฏว่าสุดท้ายเขาไม่ได้ตัดสินจากการโหวตหรอกนะคะ แต่มีกรรมการตัดสิน จากหลายประเทศ ทุกคนเป็น ดร. หมด มีชาวอเมริกัน 5 คน อินเดีย 1 คน บัลกาเรีย 1 คน บราซิล 1 คน ในเวบไซต์เขาบอกจะประกาศผลเดือนมกราคม ดิฉันเข้าไปดูเรื่อยๆ ก็ยังไม่เห็นสักที จนเดือนกุมภา ก็ไปเจอว่าเขาตกลงเลือกให้งานเราชนะ "

" การตัดสินตามเกณฑ์ของเขาจริงๆ คือจาก 30 เรื่อง เขาจะเลือกไว้ 3 เรื่อง ที่ดีที่สุด ให้เป็นสามสำนวน และจะให้นามคนเขียนว่าเป็น Rethinker แต่ปรากฏว่ากรรมการทั้งแปดคนลงคะแนนให้ดิฉันคนเดียวเลย เขาเลยประกาศว่าเลือกงานของดิฉัน งานเดียว ตอนนั้นดีใจมาก "

" แต่ตอนหลังมามีปัญหากันนิดหน่อยกับเรื่องการให้รางวัล ซึ่งกลายเป็นว่าดิฉันไม่ได้เงินทั้งหมดในคราวเดียวอย่างที่คิด ตอนแรกที่เกิดเรื่องขึ้น ดิฉันไม่พอใจมาก แต่มาคิดได้ภายหลังว่า งานเขียนชิ้นนี้ เราทำแล้วได้อะไร ดิฉันถือว่าดิฉันได้เผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทให้โดดเด่นขึ้นมาในโลก มีคนที่เขาได้อ่านแล้วเขาเขียนเมลมาหาดิฉัน บอกว่าเขาขอบคุณดิฉันมากเลยที่ทำให้เขาได้รู้จักวิถีของเถรวาท เพราะคนทั่วโลกจะรู้จักแต่นิกายมหายาน ซึ่งเน้นแต่สมาธิ ไม่ทำให้เกิดปัญญา ไม่ได้ตัดกิเลส เขาก็ขอบคุณในสิ่งที่ดิฉันทำ เพราะว่าไม่เคยมีใครเขียนหรือแปลงานแบบนี้ออกมาสู่โลกเลย พอดิฉันอ่านแล้วก็ภูมิใจมาก "

" ดิฉันก็มาทบทวนว่า อะไรคือสิ่งที่เราได้จากการทำงานนี้ คือ หนึ่ง เราได้เผยแผ่พระพุทธศาสนา สอง เรามีชื่อเสียงไปทั่วโลก แล้วที่สำคัญคือเราได้ทำให้คนเข้าใจพระพุทธศาสนาในแง่ที่พระพุทธเจ้าสอนจริงๆ ในขณะที่สิ่งที่ดิฉันเสียไปคือเวลาในการเขียน กับค่าพิมพ์สองพันบาท ดังนั้นดิฉันก็ถือว่าดิฉันได้สิ่งตอบแทนที่คุ้มค่าแล้ว "

สำหรับผู้ที่สนใจงานเขียนของ ดร. สุจิตรา อ่อนค้อม อาจารย์มีคอลัมน์ประจำและเขียนธรรมนิยายชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ลงประจำอยู่ที่นิตยสารกุลสตรี และถ้าหากอยากอ่านบทความของอาจารย์ที่ได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้ว ก็คลิกเข้าไปดูได้ที่ http://www.rethinkers.org แต่ถ้าท่านไม่ชอบอ่านจาก Monitor จะหาซื้อฉบับเต็มมาอ่านก็ย่อมได้ มีจำหน่ายที่เอเชียบุคส์ มหาจุฬาบรรณาคาร มหามกุฎราชวิทยาลัย หรือจะสั่งซื้อที่ซีเอ็ดทุกสาขาก็ได้ ส่วนภาคแปลเป็นภาษาไทย อ่านได้ในนิตยสารกุลสตรีค่ะ

ข้อมูลจาก  :  http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:v5rxIKeoWGkJ:www.dharma-gateway.com/ubasika/suchittra/ubasika-suchittra-04.htm+%E0%B8%94%E0%B8%A3+%E0%B8%AA%E0%B8%B8+%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2+%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th&source=www.google.co.th

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #297 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2554, 19:48:54 »

ซื้อมาจากศูนย์หนังสือ วัดพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สัปดาห์ที่แล้วนี่เอง
ส่วน"มักกะลีผล" เหลือชุดสุดท้าย ทางวัดขอเอาไว้เปิด และให้ไปซื้อในครั้งหน้าแทน



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #298 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2554, 19:18:13 »

มาติดตามข่าวและภาพการสนทนาธรรมของ พี่ รศ. ดร. สุจิตรา อ่อนค้อม ในการประชุมประจำเดือนนี้ครับ

หากมี ซ๊ ดี ชุดนี้ ผมขอรับด้วยนะครับ 1 แผ่น
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #299 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2554, 19:46:08 »

ฝากถามด้วย 1 เรื่องครับว่า

นารีผล ที่เคยมีข่าวอยู่ที่วัดอัมพวัน ยังอยู่หรือไม่, พี่ รศ. ดร. สุจิตรา เคยเห็นหรือไม่ครับ ??
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 15  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><