Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 30 พฤศจิกายน 2553, 07:47:51



หัวข้อ: ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ธ.ก.ส.-ออมสิน ปั้นหมอหนี้ให้คำปรึกษาช่วยแก้หนี้ปชช.
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 30 พฤศจิกายน 2553, 07:47:51

              ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2553 สนับสนุนเนื้อหาข่าว
              http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=310&contentID=107089 (http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=310&contentID=107089)

                                (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lcoa4u-3b27d4.jpg)

         ธ.ก.ส.-ออมสิน เปิดตัวโครงการอาสาสมัครที่ปรึกษาทางการเงินครัวเรือน หรือ
          “หมอหนี้” พร้อมให้คำแนะนำการทำบัญชีครัวเรือนแก่ประชาชน แก้ไขหนี้สิน

         วันนี้ (29 พ.ย.) นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า

         ธ.ก.ส.ได้เปิดตัวโครงการอาสาสมัครที่ปรึกษาทางการเงินครัวเรือน (หมอหนี้) โดย

         ให้ชุมชนคัดเลือกผู้มีจิตอาสา ซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ยอมรับนับถือและไว้วางใจของคนในชุมชน โดยจะเน้นหนักไปที่สุภาพสตรี เนื่องจากละเอียดรอบคอบ เข้าใจพื้นฐานการทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการหนี้ในอนาคต มาทำหน้าที่

         ให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านการจัดการทางการเงินในครอบครัวและการแก้ไขปัญหาหนี้สินในครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยบัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือ

         ขณะนี้ได้คัดเลือกหมอหนี้แล้ว 650 ราย จาก 13 จังหวัด ได้แก่  เชียงรายเชียงใหม่ กำแพงเพชร หนองคาย ขอนแก่น สกลนคร จากนั้นอบรม และเริ่มปฏิบัติงานในพื้นที่ทันที จากนั้นจะทยอยอบรมชุดต่อ ๆ ไป จนครบตามเป้าหมาย ตามพื้นที่ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง 26,000 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ ภายในปี 54

         นอกจากนี้ หมอหนี้ยังทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างคนในชุมชนกับองค์กรทางการเงินชุมชนหรือสถาบันการเงินในระบบ เช่น กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารชุมชน และ ธ.ก.ส. ตลอดจนสนับสนุนการสร้างกลุ่มอาชีพ การเชื่อมโยงด้านการตลาดของชุมชน การรวมกันซื้อรวมกันขายของชุมชน เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบควบคู่กับการบูรณาการในการเสริมสร้างอาชีพและการแก้ไขหนี้อย่างครบวงจร

         ทั้งนี้ หมอหนี้ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนของชุมชน ธ.ก.ส. จะมีให้ดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และ ประเมินผลงานทุกปี หากมีประสิทธิภาพ เช่น หมอหนี้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ถ่ายทอดความรู้ในการทำบัญชีครัวเรือนได้เป็นอย่างดี ก็ต่ออายุได้ตามความเหมาะสม

         ซึ่งสิ่งที่ ธ.ก.ส. จะช่วยสนับสนุนให้กับหมอหนี้ คือ อุปกรณ์การปฏิบัติงาน เงินช่วยเหลือค่าใช้จ่าย เสื้อสัญลักษณ์หมอหนี้ สวัสดิการด้านประกันชีวิตระหว่างดำรงตำแหน่ง เป็นต้น

         ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ออมสินได้เปิดตัวโครงการหมอหนี้ไประยะหนึ่งแล้ว จากการฝึกอบรมของสถาบันการเงินชุมชน ซึ่งโดยมีเป้าหมายภายใน 3 ปีจะมีสถาบันการเงินชุมชน 30,000 แห่ง และ มีหมอหนี้ให้ครบแห่งละ 2-3 คน จากเดิมที่คาดว่าจะมีเพียง 10,000 แห่ง เพราะ

         หลังจากที่ได้ลงพื้นที่แล้ว พบว่าประชาชนให้ความสนใจกับโครงการนี้มาก และ ขณะนี้มีหมอหนี้แล้วกว่า 1,000 คน มีสถาบันการเงินชุมชนแล้ว 1,097 แห่ง ซึ่งออมสินจะต้องปรับโครงสร้างด้วยการเพิ่มทั้งพนักงาน เพิ่มสาขาทั้งแบบเต็มรูปแบบ ธนาคารโรงเรียน ธนาคารชุมชน โดยใช้งบประมาณให้เปล่าแห่งละ 25,000 บาท

         ทั้งนี้ยืนยันว่า หมอหนี้ของออมสินจะไม่ซ้ำซ้อนกับธ.ก.ส. เพราะ ออมสินจะเข้าไปทำธนาคารชุมชน 63,000 แห่ง จากหมู่บ้านทั้งหมดเกือบ 80,000 แห่ง ที่เหลืออีกเกือบ 20,000 แห่งนั้น เป็นหน้าที่ของธ.ก.ส. พร้อมกันนี้ได้เตรียมงบประมาณอีก 170 ล้านบาทในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์คอลแบงก์กิ้งของธนาคารชุมชนเข้ากับที่สำนักงานใหญ่ด้วย

                            emo28:win: emo28:win: emo28:win:


หัวข้อ: Re: ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ธ.ก.ส.-ออมสิน ปั้นหมอหนี้ให้คำปรึกษาช่วยแก้หนี้ปชช.
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 20 ธันวาคม 2553, 08:26:13

                                  โดยเวบสนุกดอทคอม วันจันทร์ 20 ธ.ค. 53
                       http://news.sanook.com/989387-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A.html (http://news.sanook.com/989387-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A.html)

                         รัฐบาลผุด หมอหนี้ และ บัตรลดหนี้ แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ      
                            
        โครงการอาสาสมัครที่ปรึกษาการเงินภาคครัวเรือน หรือ โครงการหมอหนี้ ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวานนี้ (19ธ.ค.) โดย

                                (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/ldpi7t-652dda.jpg)                              

                   นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เปิดเผยว่า

         จะเดินหน้าดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบรอบ 2 หลังโครงการรอบแรกสามารถโอนลูกหนี้เข้ามาอยู่ในระบบได้กว่า 500,000 คน จากจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนทั้งหมด 1,000,000 คน คิดเป็นมูลหนี้กว่า 40,000 ล้านบาท

                                           (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/ldpd4q-6b377f.jpg)

         ส่วน บัตรลดหนี้วินัยดีมีวงเงิน ที่จะมอบให้กับประชาชนที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อใช้ในการชำระหนี้ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารภายใน 1 เดือนหลังจากนี้ และเมื่อนำไปผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนครบ 1 ปี จะถือว่าเป็นผู้มีวินัยทางการเงินดี

         ธนาคารจะเตรียมวงเงินสำรองฉุกเฉินให้ลูกหนี้ โดยสามารถนำ บัตรลดหนี้ ไปเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็มธนาคารที่ร่วมโครงการเพื่อใช้จ่ายในยามจำเป็น ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการนอกจากจะสามารถชำระคืนหนี้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดร้อยละ 1 ต่อเดือน ผ่อนชำระนาน 8 ปี ยังได้รับประกันชีวิตฟรีทุกรายด้วย

        นอกจากนี้จะเปิดโอกาสให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินให้ง่ายขึ้น ผ่านการเข้ารับคำปรึกษาการบริหารเงินภาคครัวเรือนกับหมอหนี้ ซึ่งจะได้รับสิทธิ์กู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้านรายละไม่เกิน 1-2 หมื่นบาท โดยใช้สมุดบันทึกรายรับรายจ่ายมาเป็นหลักฐานการค้ำประกันแทนได้

       ขณะที่นายจิติภัทร จิระพันธ์พัฒนา ชาวชุมชนการเคหะท่าทราย เขตหลักสี่ กทม. เผยว่าแม้โครงการแก้ไขปัญหานี้นอกระบบ อาจช่วยลดจำนวนผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบลงได้ แต่ชาวบ้านบางส่วนยังไม่สามารถเข้าร่วมโครงการของรัฐบาลได้ เพราะไม่มีเอกสารหลักฐานและผู้ค้ำประกันการกู้เงิน จึงตั้งกองทุนภายในชุมชนเอง พร้อมวางระบบสวัสดิการตามต้องการของชุมชน

                          (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/ldpd7x-f9ae9c.jpg)

        ด้านน.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่าแม้จะมีความพยายามแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ แต่ก็ยังคงมีปัญหาหนี้ในระบบ ที่ปัจจุบันมูลนิธิยังได้รับข้อมูลร้องเรียนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการติดตามทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม การจัดเก็บค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยที่สูงเกินจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าประชาชนยังขาดความรู้เรื่องการจัดการบริหารหนี้สิน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการใช้บัตรเครดิตที่ปัจจุบันยังมีการร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง

                     emo28:win: emo28:win: emo28:win: