Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องสุขภาพและความงาม => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 20 ธันวาคม 2552, 15:15:43



หัวข้อ: 'โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ'
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 20 ธันวาคม 2552, 15:15:43

           (http://img706.imageshack.us/img706/7632/74488141.jpg)

'โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ'

น.ส.พ.เดลินิวส์ วันอาทิตย์ ที่ 20 ธันวาคม 2552

         จะทราบได้อย่างไรว่า ท่านเป็นโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ?

         หากท่านมีอาการนอนกรนดังเป็นประจำ หรือมีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ควรจะไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรักษาต่อไป

         การตรวจวินิจฉัยจำเป็นต้องมาตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการการนอนหลับ (Sleep Laboratory) โดยจะมีการติดอุปกรณ์หลายอย่างเพื่อวัดคลื่นสมองขณะนอนหลับ วัดระดับออกซิเจน และ ลมหายใจ เป็นต้น

การรักษาโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ มีทางเลือกอะไรบ้าง? หากท่านมีโรคนี้
    
         ผู้ป่วยแต่ละรายมีความรุนแรงและอาการแตกต่างกันได้มาก การรักษาในแต่ละรายมีดังนี้

         (http://img20.imageshack.us/img20/2867/75082312.jpg)    
1.เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก หรือ ซีแพ็พ (CPAP)
    
         เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในการเปิดขยายและถ่างทางเดินหายใจส่วนต้น ไม่ให้ตีบแคบขณะที่เรานอนหลับ โดยตัวเครื่องจะเป่าลมผ่านท่อสายยางไปสู่จมูกผู้ป่วยผ่านจากหน้ากาก (ดังรูป) เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายต้องการแรงดันที่แตกต่างกัน เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการจะ  ค่อย ๆ ปรับแรงดันที่เหมาะสมจนไม่มีอาการกรนหรือหยุดหายใจให้แต่ละคน ปัจจุบันเครื่องและหน้ากากนี้มีหลายรูปแบบและหลายบริษัท เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีความ แตกต่างกัน จึงสามารถลองเลือกใช้เครื่องหรือหน้ากากที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
ปัญหาที่อาจพบได้บ่อยขณะที่ใช้เครื่องมีดังนี้
    
-คัดจมูก
    
- ปากแห้ง คอแห้ง
    
- ลมรั่วจากหน้ากาก
    
- ลมแรงเกินไป เป็นต้น

         เมื่อเริ่มต้นใช้เครื่องหากพบปัญหาเหล่านี้ ผู้ป่วยไม่ควรละทิ้งเครื่องควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยแก้ไข เพราะการใส่เครื่องในช่วงแรกอาจยังไม่คุ้นเคยต้องอาศัยการปรับตัวให้ชินกับเครื่อง ระยะหนึ่งแล้วจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อหลับได้ดีขึ้น ไม่มีนอนกรนหรือหยุดหายใจแล้ว
    
         การรักษาด้วยเครื่องซีแพ็พจึงถือเป็นมาตรฐานการรักษาโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในผู้ป่วยเกือบทุกราย แต่จะเป็นผลสำเร็จในระยะยาวหรือไม่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้ป่วย
    
2.การใส่ฟันยาง หรือ Oral Appliance
        
         ผู้ป่วยบางราย อาจรักษาได้ผลดีด้วยการใส่ฟันยาง การใส่ฟันยางนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจและประดิษฐ์ฟันยางให้ผู้ป่วยแต่ละคน จะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีระดับโรคเล็กน้อย และปานกลาง แต่ผู้ป่วยที่เป็นระดับโรครุนแรงมักไม่ได้ผลเท่าที่ควร ฟันยางนี้จะช่วยเปิดทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้น โดยการยื่นขากรรไกรล่างและลิ้นมาทางด้านหน้า ปัญหาที่พบได้จากการใส่ฟันยางนี้ เช่น ปวดขากรรไกร การสบฟันเปลี่ยนไป น้ำลายไหลมาก
    
3.การผ่าตัด เพื่อรักษาโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ผลในบางราย  เช่น  

         การผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์ในเด็ก จะสามารถช่วยเด็กได้มากถือเป็นมาตรฐานการรักษาในเด็ก แต่ในผู้ใหญ่ควรพิจารณาเป็น   ราย ๆ ไปตามความเหมาะสม

การผ่าตัดมีอะไรบ้าง

3.1 การผ่าตัดจมูก เช่น แก้ไขจมูกคด หรือจี้เยื่อบุโพรงจมูกที่บวม จะช่วยลดอาการคัดจมูกหรือกรนได้บ้าง แต่มักไม่ช่วยทำให้โรคหายได้จึงมักเป็นการรักษาเสริมกับการรักษาอื่น

3.2 การผ่าตัดในระดับลิ้นไก่ เพดานอ่อน(เช่น Uvulopharyngopalatoplasty, UPPP)
ได้ผลดีในครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย จึงควรปรึกษาแพทย์ทาง หู คอ จมูก ก่อนว่า ผู้ป่วยรายนี้เหมาะสมที่จะได้รับการผ่าตัดหรือไม่ และอาจมีภาวะแทรกซ้อนจาก  การผ่าตัดได้  เช่น พูดไม่ชัด สำลักน้ำขึ้นจมูก เป็นต้น

3.3 การผ่าตัดอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดระดับโคนลิ้น การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ซึ่งก็อาจได้ผลดีกว่าการผ่าตัดระดับลิ้นไก่อย่างเดียว แต่ก็จะมีภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า  

         โดยมากการผ่าตัดมักจะทำให้เสียงกรนดีขึ้น แต่อาจยังไม่สามารถรักษาให้การหยุดหายใจขณะหลับหายไปได้หมด จึงควรติดตามอาการและตรวจการนอนหลับซ้ำในห้องปฏิบัติการภายหลังได้รับการผ่าตัดแล้ว   ระยะหนึ่ง

ก่อนที่จะตัดสินใจผ่าตัดควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนถึงข้อดีและข้อเสียการรักษาอย่างอื่น ๆ
    
-นอกจากนี้ ในบางรายที่เป็นมากจนอันตรายถึงชีวิต อาจต้องทำการเจาะคอบริเวณหลอดลม เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย
    
-การยิงฝังพิลลาร์ (Pillar implantation) ที่บริเวณเพดานอ่อน มักไม่ได้ผลในรายที่เป็นปานกลางถึงรุนแรง แต่จะสามารถลดเสียงกรนได้ในผู้ป่วยเป็นน้อยมากที่มีแต่อาการกรนอย่างเดียว
    
-ส่วนออกซิเจนไม่ใช่การรักษาหลักในโรคนี้ไม่สามารถทำให้หายได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีโรคปอดร่วมด้วยอาจต้องใช้ร่วมกับเครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก

การปฏิบัติตนทั่วไป
    
1.การลดน้ำหนัก ในรายที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน จะช่วยให้โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับดีขึ้น อาการกรนน้อยลงและนอนหลับได้ดีขึ้น การรักษาอื่นที่ได้รับได้ผลมากขึ้น
    
2.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ช่วง 4 ชั่วโมงก่อนนอนเพราะแอลกอฮอล์จะทำให้การนอนหลับแย่ลงและยังกดการหายใจ ทำให้กรนมากขึ้น และโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับจะเป็นมากขึ้น
    
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานยานอนหลับ  เพราะยานอนหลับกดการหายใจ ทำให้กรนมากขึ้น และโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับจะเป็นมากขึ้น หากผู้ป่วยมีนอนไม่หลับร่วมด้วยควรจะปรึกษาแพทย์มากกว่า
    
4.พยายามนอนตะแคง อาการจะน้อยกว่านอนหงาย
    
5.หากง่วงนอนขณะขับรถ ควรหยุดขับ จอดข้างทางเพื่อพัก หรือเปลี่ยนคนขับ พึงระวังไว้ว่ามีอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนร่วม ถ้าง่วงไม่ควรขับ
    
ข้อมูลจาก แพทย์หญิงวิสาข์สิริ ตันตระกูล ภาควิชาอายุร ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี    

นำมาจาก

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=518&contentId=38303 (http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=518&contentId=38303)
         นำมาให้พวกเราที่นอนกรน เมื่อรักษาแล้วคนนอนข้างๆ จะได้หลับสบาย emo40::

 emo20:)):) emo20:)):) emo20:)):)