Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องสนทนาประสาพี่น้อง => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 05 มกราคม 2554, 07:50:17



หัวข้อ: เฟ้นหัวกะทิชนบทเข้าจุฬาภรณราชวิทยาลัย ร.ร.วิทยาศาสตร์ภูมิภาค-รัฐออกค่าใช้จ่ายให้
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 05 มกราคม 2554, 07:50:17

                  โดยเวบบล็อกโซนดอทคอมวันอังคาร ที่ 4 มกราคม 2554
                     http://blog.eduzones.com/nisitchulatutor/78678 (http://blog.eduzones.com/nisitchulatutor/78678)

                 (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lehhgn-e1d86c.jpg)

         ดร.กฤษณ พงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการบริหารโครงการพัฒนา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ให้เป็นโรงเรียน วิทยาศาสตร์ภูมิภาค เปิดเผยว่า

         ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้พัฒนา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง ให้เป็น โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อกระจายโอกาสสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยา ศาสตร์ ระดับชั้น ม.1-ม.6 ในลักษณะโรงเรียนประจำโดยรัฐออกค่าใช้จ่ายให้นั้น

         สำหรับแนวทางการรับ

นักเรียนชั้น ม. 4 ประจำปีการศึกษา 2554 จะขยายการรับเป็น 2 ห้องเรียน รวม 48 คน โดยใช้ หลักเกณฑ์และรับรวมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว

ส่วนชั้น ม.1 จะแบ่งการรับเป็น 2 ส่วน คือ ร้อยละ 60 รับจากนักเรียนประถมศึกษาในทุกสังกัดที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน และร้อยละ 40 จะรับนักเรียนที่มาจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์และโรงเรียนดีประจำตำบลเพื่อค้นหาหัวกะทิจากชนบท

         โดยจะพิจารณาจากผลการเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาเฉลี่ย 3.5 เกรดเฉลี่ยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ 3.5 และวิชาวิทยาศาสตร์ 3.5

         จะรับสมัครวันที่ 24-29 ม.ค.นี้
สอบข้อสอบปรนัยรอบแรก วันที่ 5 ก.พ. และ
รอบที่ 2 สอบด้วยข้อสอบอัตนัย วันที่ 19 ก.พ.นี้

         อย่างไรก็ตาม จะเป็นการคัดเด็กตามความสามารถ ซึ่งหากดำเนินการไปแล้ว 1 ปีพบว่ารูปแบบดังกล่าวไม่เหมาะสม ก็สามารถปรับเปลี่ยนในปีต่อไปได้.

                                   emo28:win: emo28:win: emo28:win:

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

         เป็นข่าวดี ของการพัฒนาทรัพยากร ที่มี 3 M ซึ่ง M-Man เป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญที่สุด
         แม้ M อื่นขาดแคลน แต่ถ้ามี M บุคคลที่มีคุณภาพ จะสามารถประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด
                                           ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

                                              emo20:)):) emo20:)):) emo20:)):)