Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องสนทนาประสาพี่น้อง => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 20 มกราคม 2554, 11:41:48



หัวข้อ: นำร่อง 'อุเทน-ปทุมวัน'โมเดลสางปัญหานักเรียน-นักเลง
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 20 มกราคม 2554, 11:41:48

                                โดยเวบเดลินิวส์ วันพุธ ที่ 19 มกราคม 2554
                    http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=560&contentID=116274 (http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=560&contentID=116274)

                        นำร่อง 'อุเทน-ปทุมวัน'โมเดลสางปัญหานักเรียน-นักเลง  

         ปัญหานักเรียนนักศึกษาต่างสถาบัน ยกพวกห้ำหั่นทำร้ายกันที่เกิดขึ้นอยู่ในสังคมไทย ยิ่งนานวันปัญหาที่เกิดขึ้นก็ยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเริ่มมีการนำทั้งอาวุธปืน บางครั้งก็เป็นระเบิดพกมาใช้ในการก่อเหตุ ในช่วงหลัง ๆ หลายครั้งก็ทำให้ประชาชนทั่วไปถูกลูกหลงได้รับบาดเจ็บ ถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้วนับไม่ถ้วน ปัจจุบันปัญหานี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นทางสถาบัน ตำรวจ รวมไปถึงผู้ปกครองต้องร่วมมือกันเร่งหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

         อย่างไรก็ดีทางทีมข่าวเฉพาะกิจเดลินิวส์ มีโอกาสได้ติดต่อสัมภาษณ์แนวคิดการแก้ปัญหาเรื่องนี้จาก พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. เจ้าของฉายา “เดอะกิ๊ก” โดยมี นายแซม คาโร่ (Film maker documentaries) จากสำนักข่าว CAPA Presse TV ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และสารคดีข่าวอาชญา   กรรม ประเทศฝรั่งเศส ได้ให้ความสนใจในเรื่องการแก้ปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาทในเมืองไทย เดินทางมาร่วมเกาะติดทำข่าว   ด้วยเช่นกัน

        พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ซึ่งมีองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคงานสืบสวนสอบสวนระดับสากลเป็นอย่างดี ได้มองเห็นปัญหานี้จึงได้คิดนำทฤษฎีการแก้ไขปัญหานักเรียนตีกันจากต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทยเพื่อต้องการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการและยั่งยืน

        เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ตนได้ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นทำให้รับรู้ว่าปัญหาบางส่วนเกิดจากภาวะร่างกาย, อารมณ์, ความคิดการตัดสินใจ เพราะว่าอยู่ในวัยนี้กำลังจะก้าวข้ามจากวัยรุ่นไปสู่ผู้ใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมาการแก้ปัญหาบางครั้งผิดทำให้ปัญหายิ่งเพิ่มมากขึ้น แถมยังไปสร้างความกดดันในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา

        ดังนั้นการแก้ปัญหาบางครั้งจะใช้วิธีการจัดการแบบผู้ใหญ่ไม่ได้ ต้องใช้วิธีการใช้เด็กเป็น “ศูนย์กลาง” ในการแก้ปัญหา โดยใช้

        ทฤษฎีหลักงานตำรวจพัฒนาและแก้ปัญหาที่พลิกผันไปตามแนวทางของชุมชน (C.O.P.P.S.) มาปรับใช้เป็นโครงสร้างการทำงานเพื่อใช้ในการ แก้ไขปัญหานักเรียนตีกัน  

        ชื่อว่า “อุเทน-ปทุมวันโมเดล”  

        (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfb0lk-6f5c74.jpg)

        สาเหตุที่เลือก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตอุเทนถวาย และ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน  ขึ้นมาเป็นโครงการนำร่องนั้นก็เนื่องจาก

1.ทั้งสอง แห่งเป็นสถาบันวิชาชีพชั้นนำและมีชื่อเสียงของประเทศไทย ทำให้ประชาชนมักจะจับตาดูอยู่เสมอเวลาเกิดเหตุไม่ดีไม่งามขึ้นมา

2.นอกจากนี้สถานที่ตั้งก็อยู่ใกล้กับสำนักงานกองบัญชาการสอบสวนกลางจึงเป็นการง่ายในการที่จะเดินทางไปดูแลตรวจเยี่ยมอย่างใกล้ชิด จึงมอบหมายให้ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. คัดเลือกตำรวจกองปราบปราม ผบ.หมู่ กก.1 บก.ป. จำนวน 4 นาย ไปดูแล ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ

        โดยตำรวจที่ประจำอยู่ที่ ม.เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย 2 นาย คือ ด.ต.ปราโมทย์ ทัศนีย์ไตรเทพ และ ด.ต.พรต เบิกแสง ส่วนสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน คือ ด.ต.ส่งศักดิ์ พรหมกามินทร์ และ ด.ต.ส่องแสง ทีปิเนตร

        ที่สมัครใจและมีใจที่จะแก้ปัญหาในครั้งนี้อย่างจริงจัง ส่งไปอบรมทฤษฎีในการทำงาน เพื่อเข้าไปประสานงานแก้ปัญหาโดยตรงกับนักศึกษาและอาจารย์ของสถาบัน   ทั้งสองแห่ง รวมถึงเข้าไปสร้างความคุ้นเคยพูดคุยกับนักศึกษาทั้งในรูปแบบของงานมวลชนสัมพันธ์ โดยใช้การปรากฏตัวให้นักศึกษาเห็นในสถานที่เดิมและเวลาเดิมเป็นประจำทุกวันบริเวณที่ด้านหน้าของสถาบัน จนถึงกิริยาท่าทางและการตอบสนองของตำรวจ ที่ต้องสดงออกถึงความเป็นมิตรอย่างจริงใจและเป็นกันเองฉันพี่น้อง เพื่อทำให้นักศึกษาเกิดความศรัทธาและไว้วางใจ สามารถแลกเปลี่ยน   ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในและนอกเวลาเรียน รวมถึงจัดรถวิทยุกองปราบฯไปจอดสร้างความอุ่นใจในความปลอดภัยเมื่อเวลาตำรวจอยู่ด้วย

        “โครงการนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี มีการประเมินผลทุก 1 เดือน ผมได้ใช้เงินส่วนตัวเป็นงบประมาณในการจัดทำโครงการ ถึงแม้จะเป็นจำนวนเงินที่มากพอสมควรก็ไม่ได้รู้สึกเสียดาย แต่ในทางกลับกันรู้สึกมีความภูมิใจเป็นอย่างมากที่จะได้ช่วยแบ่งเบาภาระ แทนความห่วงใยของพ่อแม่ และครอบครัวเด็ก ๆ ในการที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนให้เกิดความสบายใจ ที่สำคัญเป็นการช่วยปรับทัศนคติของสังคมที่มองเด็ก ๆ กลุ่มนี้ให้ดีขึ้นด้วย หลังจากที่โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นมาประมาณ 2 เดือนเศษ ตั้งแต่ปลายปี 2553 เท่าที่ประเมินผลก็ได้ผลตอบรับอย่างดี สามารถลดการเผชิญหน้ารวมถึงการทะเลาะวิวาท แต่ทั้งนี้โครงการ “อุเทน-ปทุมวันโมเดล” จะสำเร็จลงไปได้ ก็ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนถึงจะสัมฤทธิผล” พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ กล่าวอย่างมั่นใจ

                 ศาสนะ ศิริลาภ : รายงาน

                      emo26:D emo26:D emo26:D

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

         นำความพยายามหารูปแบบแก้ปัญหานักเรียนยกพวกตีกัน
                เพื่อไว้ใช้แก้ปัญหาเรื่องเดียวกันนี้  ทั้งประเทศ

                     emo28:win: emo28:win: emo28:win: