churaipatara
|
 |
« ตอบ #16250 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 14:51:30 » |
|
 น้ำตกห้วยจันทร์อ.ขุนหาญ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16251 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 12:00:01 » |
|
สวัสดีค่ะ
เช้านี้อากาศหนาวเย็น ..แต่กลางวันมักจะร้อน ร้อนมาก ต้องระวังสุขภาพกันเชียวละอากาศแบบนี้..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16253 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 12:11:49 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
การทำงานล่วงเวลาเพิ่มเติมในกรณีพิเศษ กระทำได้โดยการขออนุญาตจากกระทรวงแรงงาน เมื่อ-
กระทรวงแรงงานรับพิจารณาเรื่องแล้ว ก่อนที่จะมีการอนุญาต ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นของการ
ทำงานล่วงเวลา การทำงานเพิ่มเติม และการเจรจากับตัวแทนสมาชิกลูกจ้าง...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16255 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 12:18:24 » |
|
แสดงให้เห็นว่า การทำงานล่วงเวลาโดยปกติมีเวลาจำกัด หากจะมีการเพิ่มเติมหรือขยายเวลาของ-
การทำงานล่วงเวลา ต้องมีการทำข้อตกลงกับสมาชิกตัวแทนลูกจ้าง หรือโดยการอนุญาตจากกระ
ทรวงแรงงานในกรณีพิเศษ ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ทำงานล่วงเวลาจนเกินกว่า...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16257 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 12:25:51 » |
|
ความจำเป็นโดยเฉพาะลูกจ้างที่มีบัตรซึ่งยังเล็ก การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุดใน-
ประเทศญี่ปุ่น ตามพรบ.มาตรฐานแรงงานของญี่ปุ่น กำหนดไว้ในมาตรา ๓๓ ว่า ในกรณีที่มีความ
จำเป็นชั่วคราวเพราะเหตุแห่งภัยพิบัติหรือเหตุผลอื่นๆที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นายจ้างอาจ...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16259 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 12:30:49 » |
|
ขยายเวลาทำงานตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๒-๕ ถึงมาตรา ๔๐ และอาจมีลูกจ้าง
ทำงานในวันหยุดตามที่กำหนดในมาตรา ๓๕ โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานบริหารภายในขอบ -
เขตของความจำเป็นดังกล่าวได้ แต่ในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนไม่มีเวลาพอที่จะต้องได้รับการอนุญาต...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16261 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 12:35:16 » |
|
จากสำนักบริหาร นายจ้างต้องรายงานตามความเป็นจริงโดยไม่ชักช้า เมื่อได้รับรายงานแล้ว แต่สำ-
นักงานบริหารเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะขยายเวลาทำงานหรือมีการทำงานในวันหยุด สำนักงานบริหาร
อาจสั่งให้นายจ้างต้องอนุญาตให้ลูกจ้างได้รับการพักผ่อน หรือวันพักผ่อนที่สอดคล้องกับการทำงาน...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16263 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 13:37:59 » |
|
หลักการที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๒๔ วรรคสอง แห่งกฏหมายคุ้มครองแรงงานของไทย ก่อให้เกิด -
ปัญหากรณีพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เพราะนายจ้างกับลูกจ้างอาจมีความเห็นไม่ตรงกัน
ปัญหานี้ตามพรบ.มาตรฐานแรงงานของญี่ปุ่น มาตรา๓๒-๒ กำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างได้กำหนด...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16265 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 13:44:37 » |
|
ข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับสหภาพแรงงาน หรือกับบุคคลที่เป็นตัวแทนของเสียงส่วนใหญ่ของ
คนงาน นายจ้างอาจทำตามข้อตกลงดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงเวลาทำงานปกติ และให้พนักงานปฏิบัติ
งานในส่วนที่เกินจากชั่วโมงการทำงาน ส่วนการทำงานล่วงเวลา กฏหมายแรงงานของญี่ปุ่นฉบับนี้...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16267 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 13:57:10 » |
|
ยังกำหนดไว้ในมาตรา๓๒-๕อีกว่า ต้องมีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับสหภาพแรงงานหรือบุค-
คลที่เป็นตัวแทนของคนงาน และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา๓๗ ต้องได้รับอนุญาต
จากสำนักงานบริหารภายในขอบเขตของความจำเป็น แต่ในกรณีที่จำเป็นเพื่อให้เร่งด่วนและ...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16269 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 14:03:26 » |
|
และไม่มีเวลาพอที่จะได้รับอนุญาตจากสำนักงานบริหาร นายจ้างต้องรายงานตามความเป็นจริงโดย
ไม่ล่าช้า จะเห็นได้ว่าการทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุดตามกฏหมายแรงงานของญี่ปุ่น จะ -
ต้องทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน หลักการนี้คล้ายกับกรณีฉุกเฉิน...
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16270 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 14:04:24 » |
|
 วัดล้านขวด
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16271 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 14:09:11 » |
|
ของกฏหมายแรงงานไทย แต่อย่างไรก็ดีแม้จะเร่งด่วนไม่มีเวลาที่จะได้รับอนุญาต ก็ต้องรายงานให้
ทราบโดยไม่ชักช้า และเมื่อสำนักงานบริหารเห็นว่ามันไม่เหมาะสมที่จะให้ทำงานล่วงเวลา และทำ-
งานในวันหยุดสำนักงานบริหารอาจสั่งให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างได้พักผ่อน หลักการดังกล่าว ...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16273 เมื่อ: 07 มกราคม 2559, 14:14:07 » |
|
เห็นว่า เป็นหลักการที่ดีช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีองค์กรของรัฐช่วยพิจารณาว่า
การทำงานล่วงเวลาดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนจริงหรือไม่ ปัญหาที่เกิดขึ้นใน-
ชั้นต้น จึงไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเหมือนกับกฏหมายคุ้มครองแรงงานของไทย...
|
|
|
|
|
|