churaipatara
|
 |
« ตอบ #16225 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 12:49:33 » |
|
นอกจากนี้ตามมาตรา๒๕วรรคสอง ยังกำหนดไว้อีกว่า นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้
สำหรับกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม
สถานพยาบาล หรือกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฏกระทรวง และวรรคท้ายของมาตรานี้ยังกำหนด...
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16226 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 12:57:58 » |
|
อีกว่าเพื่อประโยชน์แก่การผลิตการจำหน่ายและการบริการ นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานนอกจากที่-
กำหนดตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ในวันหยุดเท่าที่จำเป็น โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน
เป็นคราวๆไป หลักความยินยอมตามวรรคท้ายนี้แทบไม่ได้ใช้ในสภาพของสังคมยุคปัจจุบันด้วยเหตุ
ผลที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น...
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16227 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:11:03 » |
|
 อารมณ์ดีมากทุกคนเลย
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16228 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:12:37 » |
|
 กลุ่มนี้ได้คะแนนโหวตสูงสุด
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16229 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:18:09 » |
|
และปัจจัยสำคัญที่มีส่วนให้มีการทำงานล่วงเวลาคือค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่นายจ้าง
จ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทน โดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง ในอัตราไม่น้อย
กว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า...
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16230 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:19:21 » |
|
 ได้ความรู้และสนุกสนาน
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16231 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:23:25 » |
|
หนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งได้
รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา๖๑ การจ่ายค่าล่วงเวลาในวัน
หยุดกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของ...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16233 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:28:37 » |
|
อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ เห็นว่า ค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวัน
หยุด เป็นค่าตอบแทนที่สูงจึงสามารถดึงให้ลูกจ้างต้องทำ นอกจากนี้ นายจ้างจะกำหนดอัตราให้สูง
กว่าที่กฏหมายกำหนดไว้ก็ได้ มีนักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีเพราะจะช่วยให้ลูกจ้างมี...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16235 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:32:10 » |
|
เงินเพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย แต่ผู้ศึกษาไม่เห็นด้วยเพราะแม้จะได้เงินมากเพียงใด ก็ไม่สามารถ
ปกป้องคุ้มครองสังคมได้เลย คุณค่าแห่งความดี ความรักและความผูกพันระหว่างบิดามารดาและบุตร
ไม่สามารถซื้อมาได้ด้วยเงิน และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16237 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:36:23 » |
|
การจ่ายค่าทำงานในวันหยุดประจำสุดสัปดาห์ ตามอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นอนุสัญญาฉบับที่๑๔ ว่าด้วยวันหยุดประจำสัปดาห์ในงานอุตสาหกรรม คศ.๑๙๒๑และ
อนุสัญญาฉบับที่๑๐๖ ว่าด้วยการหยุดพักผ่อนประจำสัปดาห์ในงานพาณิชยกรรมและงานสำนักงาน...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16239 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:42:43 » |
|
คศ.๑๙๕๗ ไม่ได้กำหนดให้นายจ้างว่าจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างอย่างไร ในอัตรา
เท่าไร แต่กำหนดว่าถ้านายจ้างให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ นายจ้างจะต้องงจัดให้ -
ลูกจ้างได้มีวันหยุดชดเชยเท่ากับระยะเวลาที่มาทำงานในวันหยุด แสดงให้เห็นว่า องค์การแรงงาน ...
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16240 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:44:04 » |
|
 พี่วุฒิและเซ้ง มอบทุนการศึกษาในนามรุ่น24
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16241 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:48:22 » |
|
ระหว่างประเทศ ให้ความสำคัญกับการหยุดพักผ่อนมากกว่าที่จะมุ่งทำงานเพื่อให้ได้เงินจนเกินขอบ-
เขตและล้ำเส้นต่อการคุ้มครองสังคม อนุสัญญาฉบับที่ ๑๐๖ ยังวางหลักการทำงานในวันหยุดไว้ใน
มาตรา ๘ ว่า การทำงานในวันหยุดอาจจะให้ในแต่ละประเทศกระทำได้โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเป็น...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16243 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 13:54:12 » |
|
ผู้อนุมัติในลักษณะที่สอดคล้องกันกับกฏหมายแห่งชาติและวิธีปฏิบัติ การทำงานล่วงเวลาและการ
ทำงานเพิ่มเติมในประเทศนอร์เวย์ ตามพรบ.สิ่งแวดล้อมในที่ทำงานของนอร์เวย์ กำหนดไว้ในมา -
ตรา๔๙ว่า ก่อนที่การทำงานล่วงเวลาและการทำงานเพิ่มเติมจะเริ่มขึ้น หากเป็นไปได้ นายจ้างควร...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16245 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 14:37:22 » |
|
ปรึกษากับตัวแทนลูกจ้าง ถึงความจำเป็นของการทำงานดังกล่าว การทำงานล่วงเวลาและการทำ -
งานเพิ่มเติม ถือว่าเป็นการทำงานที่ไม่เป็นไปตามปกติและไม่อาจนำมาใช้บังคับได้ ยกเว้นในกรณี
ดังต่อไปนี้ a)เปนเหตุการณ์ที่ไม่อาจล่วงรู้ได้ หรือการขาดลูกจ้างทำงานซึ่งมีผลต่อระบบการทำงาน
ปกติ...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16247 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 14:46:41 » |
|
b)เมื่อการทำงานล่วงเวลาและการทำงานเพิ่มเติม จำเป็นต้องทำเพื่อป้องกันการเสียหายของโรงงาน
เครื่องจักรวัสดุหรืออุปกรณ์ c)เมื่อมีปริมาณงานมากขึ้นโดยไม่อาจล่วงรู้มาก่อน d)เมื่อมีงานมากเนื่อง
จากไม่มีกำลังคนที่เหมาะสมพอหรือการเปลี่ยนแปลงงานไปตามฤดูกาล เป็นต้น มาตรา๕๐กำหนดว่า...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16249 เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 14:50:16 » |
|
พบกันใหม่พรุ่งนี้นะคะ บ๊ายยย
|
|
|
|
|