churaipatara
|
 |
« ตอบ #16300 เมื่อ: 19 มกราคม 2559, 14:06:57 » |
|
งบประมาณด้านอื่นๆรัฐสามารถทำได้โดยใช้งบประมาณเป็นพันล้านหมื่นล้าน ถ้าจะให้เงินสงเคราะห์
เด็กอีกคนละ๒๐๐๐บาท หรือ ๓๐๐๐บาท เป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวส่วนหนึ่งเท่านั้น ...การพักให้นม -
บุตรในระหว่างการทำงาน ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ไม่มีกำหนดไว้แม้แต่มาตราเดียว...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16302 เมื่อ: 19 มกราคม 2559, 14:16:59 » |
|
..ว่าให้สิทธิพักเพื่อให้นมบุตรในระหว่างการทำงาน แต่ตามอนุสัญญาฉบับที่๑๘๓ ว่าด้วยการคุ้มครอง
หญิงมีครรภ์คศ.๒๐๐๐ กำหนดไว้ในมาตรา๑๐ ว่า การพักเพื่อให้นมบุตร ให้สตรีได้รับสิทธิในการพัก -
เพื่อให้นมบุตรไม่น้อยกว่าวันละ๑ครั้ง หรือมีการลดชั่วโมงการทำงานเพื่อให้นมบุตร ระยะเวลาพักเพื่อ...
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16303 เมื่อ: 19 มกราคม 2559, 14:19:58 » |
|
 ไปอยุธยากับลูกๆ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16304 เมื่อ: 19 มกราคม 2559, 14:23:15 » |
|
..ให้นมบุตรหรือลดจำนวนชั่วโมงในการทำงาน ให้กำหนดไว้ในกฏหมายหรือข้อบังคับแห่งชาตินั้นๆ
กฏหมายแรงงานของลาว กำหนดไว้ในมาตรา๓๕ ว่าในระหว่าง๑๒เดือนหลังการคลอด ลูกจ้างหญิง
มีสิทธิลาพักเพื่อเลี้ยงดูบุตรเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง หากบุตรอยู่ในสถานดูแลเด็กอ่อนหรือพาบุตรมาที่...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16306 เมื่อ: 19 มกราคม 2559, 14:35:10 » |
|
...ทำงานด้วย พรบ.มาตรฐานแรงงานของญี่ปุ่น กำหนดไว้ในมาตรา ๖๗ ว่าลูกจ้างหญิงที่กำลังเลี้ยง
ดูบุตรที่มีอายุต่ำกว่า ๑ ปีเต็ม มีสิทธิขอเวลาเพื่อดูแลบุตร อย่างน้อย ๓๐ นาที๒ครั้งต่อวัน ห้ามมิให้-
นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในเวลาที่เป็นเวลาเลี้ยงดูบัตรดังกล่าว เห็นว่า กฏหมายแรงงานของลาวและ....
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16308 เมื่อ: 19 มกราคม 2559, 14:46:06 » |
|
...ญี่ปุ่นบัญญัติไว้ได้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ตรงกับหลักการพัฒนาคน
เพราะหากไม่มีการบัญญัติหลักการดังกล่าวไว้ เมื่อสิ้นสุดการลาคลอดของลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างต้องรีบ
กลับเข้าทำงาน บุตรของลูกจ้างจะอยู่กับใคร หากไม่มีใครช่วยดูแลจะตกอยู่ในภาวะที่ลำบาก...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16310 เมื่อ: 19 มกราคม 2559, 15:54:14 » |
|
การคุ้มครองนมมารดาเพื่อประโยชน์ของเด็ก
ลูกจ้างที่มีบุตรซึ่งยังเล็ก นอกจากจะต้องมีเวลาในการดูแลบุตรของตนแล้ว การเลือกให้นมบุตรว่า
จะให้ดื่มนมผงหรือนมของตน ก็มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก เพราะว่าทารกที่ดื่มนมมารดา...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16312 เมื่อ: 20 มกราคม 2559, 12:05:32 » |
|
...จะได้รับสารอาหารที่ดีกว่า และป่วยด้วยโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้น้อยกว่ากลุ่มที่ถูกเลี้ยงด้วยอา-
หารอื่น และเติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดีกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผงหรือนมผสม ดังนั้น ควรวางข้อ
จำกัดในการโฆษณานมผงสำหรับเลี้ยงทารกเพื่อไม่ให้มีอิทธิพลเหนือนมมารดา ...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16314 เมื่อ: 20 มกราคม 2559, 14:07:57 » |
|
...แต่ตามพรบ.คุ้มครองผู้บริโภค กำหนดไว้ในมาตรา๒๒ ว่าการโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็น
การไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่า
ข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือลักษณะของสินค้า...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16316 เมื่อ: 20 มกราคม 2559, 14:28:28 » |
|
...หรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบการจัดหาหรือการใช้สินค้าหรือบริการ ข้อความดังต่อไปนี้ ถือว่า
เป้นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม -
เป็นส่วนรวม (๑) ข้อความที่เป็นเท็จ หรือเกินความจริง (๒) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16318 เมื่อ: 20 มกราคม 2559, 14:35:04 » |
|
...ในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการหรือ
สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริง หรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม (๓) ข้อความที่เป็นการ -
สนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้มีการกระทำผิดกฏหมาย หรือศีลธรรมอันดี หรือนำไปสู่ความเสื่อม
เสียในวัฒนธรรมของชาติ...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16320 เมื่อ: 20 มกราคม 2559, 14:39:43 » |
|
...(๔) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน (๕) ข้อ -
ความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บัคคลทั่วไปสามารถรู้
ได้ว่า เป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้ ไม่เป็นข้อความที่ต้องห้ามในการโฆษณา
ตาม(๑)...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16322 เมื่อ: 20 มกราคม 2559, 14:47:51 » |
|
...จะเห็นได้ว่า การโฆษณาผลิตภัณฑ์ประเภทนม ตามรายการโทรทัศน์หรือที่ติดไว้ที่กระป๋องหรือ
กล่องนม โดยทั่วไปจะใช้ถ้อยคำหรือภาพที่ค่อนข้างหมิ่นเหม่ จะตีความว่าจะก่อให้เกิดความเข้า -
ใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าก็ยังไม่ถนัดนัก และเท่าที่ศึกษาค้นคว้ายังไม่มีกฏกระทรวงตาม...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16324 เมื่อ: 20 มกราคม 2559, 15:00:02 » |
|
...(๕) กำหนดข้อจำกัดในการโฆษณานมผง เพื่อไม่ให้มีอิทธิพลเหนือนมมารดาแต่อย่างใด เมื่อ -
เครื่องมือในส่วนที่เรียกว่ากฏหมายในการปกป้องนมมารดาขาดหายไป ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญใน
การพัฒนาเด็ก จึงส่งผลให้เด็กไทยดื่มนมมารดาในอัตราที่ต่ำที่สุดในเอเชีย(ปี๒๕๕๕)...
|
|
|
|
|