churaipatara
|
 |
« ตอบ #16350 เมื่อ: 21 มกราคม 2559, 15:46:57 » |
|
...ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการดูแลบุตรเมื่อคลอดแล้ว ส่วนการทำงานที่เสี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์
จะส่งผลให้ทารกคลอดก่อนนกำหนด อาจไม่สมบูรณ์หรือมีพัฒนาการที่ผิดปกติควรหลีกเลี่ยงการ
ทำงานดังกล่าวซึ่งจะตรงกับหลักการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่กำหนดให้...
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16351 เมื่อ: 21 มกราคม 2559, 15:48:05 » |
|
 ทานกับลูกๆอร่อยทุกอย่าง
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16352 เมื่อ: 21 มกราคม 2559, 16:07:28 » |
|
...เด็กต้องได้รับการพัฒนาทั้งก่อนและหลังการคลอด และมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่รอด การทำงานล่วง
เวลาและการทำงานในวันหยุดแม้จะส่งผลดีต่อด้านเศรษฐกิจที่กอบโกยผลประโยชน์อย่างมหาศาล
แต่ผลเสียหายต่อสังคมมีมากมายมหาศาลยิ่งกว่า เพราะนอกจากจะทำให้ลูกจ้างขาดการพักผ่อนที่...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16354 เมื่อ: 21 มกราคม 2559, 16:36:18 » |
|
...เพียงพอแล้ว จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตรลดน้อยลงไปจนแทบขาดสิ้น ความ
รักความผูกพันในครอบครัวไม่สามารถซื้อหามาได้ด้วยเงิน หากปัญหาใดมีผลกระทบต่อสังคมแล้ว -
หลักการทางกฏหมายของกฏหมายแรงงาน จะไม่ให้ลูกจ้างกับนายจ้างตกลงกันเอง อย่างเช่น ...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16356 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 12:41:15 » |
|
เช้านี้อบรมและบอกกล่าวเงื่อนไขแก่เยาวชน๑๑คนก่อนส่งไปบำเพ็ญประโยชน์ที่รพ.ศรีสะเกษ อีก
ทั้งต้องติดตามดูแลตลอดเสาร์อาทิตย์ เพื่อให้ทำตนให้ดีเป็นประโยชน์ฯ ..ขอบคุณพี่วุฒิ-นิติฯและ
เซ้ง-วิศวะฯ ที่สนับสนุนโครงการของศาล ในนามรุ่น๒๔ ด้วยดีเสมอมานะคะ..
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16358 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 12:47:11 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
...หลักความยินยอมของลูกจ้างในการทำงานล่วงเวลาที่ไม่มีองค์กรของรัฐหรือคนกลางเข้าไปแทรก
แซง กฏหมายแรงงานของหลายๆประเทศเช่น นอร์เวย์และญี่ปุ่น จึงมีบทบัญญัติให้องค์กรของรัฐ -
หรือคนกลางเข้าไปแทรกแซงการตัดสินใจเพราะถือว่าเป็นตัวแทนของสังคม
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16359 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 12:54:14 » |
|
 ครอบครัวอบอุ่น๒๔
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16360 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 12:58:04 » |
|
...และเมื่อการทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุดมีข้อจำกัดโดยถูกแทรกแซงดังกล่าวแล้ว ย่อม
มีผลทำให้ลูกจ้างขาดรายได้ไปส่วนหนึ่งจึงต้องให้เงินสงเคราะห์บุตรที่มากพอ เพื่อให้ลูกจ้างนำ -
เงินส่วนนี้ไปเลี้ยงดูบุตรของตนให้มีคุณภาพ ซึ่งถือว่าเป็นสวัสดิการสำคัญ
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16362 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 13:07:34 » |
|
...ต่อมาหลังจากสิ้นสุดการลาคลอดเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้ดื่มนมจากนมของมารดา จึงต้องมีหลัก-
การให้ลูกจ้างมีสิทธิพักให้นมบุตรในระหว่างการทำงาน อันเป็นการสร้างสายใยแห่งความผูกพันระ
หว่างแม่กับลูก นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ลูกจ้างเห็นความสำคัญของนมมารดา ว่ามีคุณค่า...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16364 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 13:12:03 » |
|
...มากกว่านมผงหรือนมผสมสำหรับเลี้ยงทารก จึงต้องมีกฏหมายสำหรับปกป้องคุ้มครองนมมารดา
ตามหลักประมวลกฏนานาชาติว่าด้วย การตลาดอาหารเสริมและอาหารทดแทนนมมารดาคศ.๑๙๘๑
เหมือนกับหลายๆประเทศที่นำไปบัญญัติไว้เป็นกฏหมาย
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16366 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 13:22:53 » |
|
...กฏหมายไทยที่ต้องได้รับการแก้ไขและบัญญัติขึ้นมาใหม่มีดังนี้ ๑.พรบ.คุ้มครองแรงงานพศ.๒๕๔๑
มาตรา๓๙ ควรแก้ไขให้สอดคล้องกับกฏหมายระหว่างประเทศและกฏหมายต่างประเทศ เช่น นอร์เวย์
และญี่ปุ่น มาตรา๓๙/๑ และมาตรา๒๔วรรคสอง ให้นำมาตรา๓๓ และมาตรา๖๖ แห่งพรบ.มาตรฐาน....
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16368 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 13:41:30 » |
|
...แรงงานของญี่ปุ่นมาเป็นแนวทางในการแก้ไข เพราะมีหลักการให้สำนักงานบริหารซึ่งเป็นหน่วย-
งานของรัฐเป็นผู้พิจารณาว่า การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุดนั้นเหมาะสมหรือไม่ มา-
ตรา๔๑ แก้ไขโดยกำหนดการลาคลอดออกเป็นสองส่วนคือ ก่อนคลอดและหลังการคลอดตามที่...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16370 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 13:49:07 » |
|
...กำหนดไว้ในอนุสัญญาขององค์การแรงงงานระหว่างประเทศ และกฏหมายแรงงานของญี่ปุ่นและ
นอร์เวย์ ให้มีบทบัญญัติเพิ่มเข้าไปเป็นมาตรา๔๑/๒ โดยกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิพักให้นมบุตรระ -
หว่างการทำงาน ๒. พรบ.ประกันสังคม พศ.๒๕๓๓ ควรแก้ไขกฏกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16372 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 13:54:53 » |
|
...เงื่อนไขและอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน ในกรณีสงเคราะห์บุตร(ฉบับที่๒)พศ.๒๕๕๔ โดยให้
ปรับเพิ่มเป็นอัตราเดือนละ๓๐๐๐บาท หรือมากกว่านี้ เพื่อให้เหมาะสมกับค่าครองชีพในปัจจุบัน ๓.
บัญญัติกฏหมายขึ้นมาใหม่โดยตราเป็นพรบ. มีหลักการสำคัญเกี่ยวกับข้อจำกัดของการโฆษณานม...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16374 เมื่อ: 22 มกราคม 2559, 14:05:14 » |
|
...และส่งเสริมการให้นมบุตรด้วยนมมารดา เพื่อให้สอดคล้องกับประมวลกฏนานาชาติว่าด้วยการตลาด
อาหารเสริมและอาหารทดแทนนมมารดา
|
|
|
|
|