28 มีนาคม 2567, 22:22:56
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 6 7 [8]  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อคิด คำคม ปรุงผสมเป็น " ยาใจ "  (อ่าน 226773 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #175 เมื่อ: 22 เมษายน 2554, 03:29:37 »


The Power of Words‏

กิตติกรณ์ - วิศวะ 16 ... ส่งมา


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=Hzgzim5m7oU" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=Hzgzim5m7oU</a>
      บันทึกการเข้า
eutronium
Newbie
*

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3

« ตอบ #176 เมื่อ: 24 เมษายน 2554, 13:50:44 »

ภาพเด็กๆน่ารักดี
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #177 เมื่อ: 25 เมษายน 2554, 23:25:25 »


อ้างถึง
ข้อความของ Jiab16 เมื่อ 22 เมษายน 2554, 03:29:37

The Power of Words‏

กิตติกรณ์ - วิศวะ 16 ... ส่งมา


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=Hzgzim5m7oU" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=Hzgzim5m7oU</a>

Love it so much kah.  Thanks !
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #178 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2554, 12:25:55 »


เหมือนกันค่ะ ติ๋ม ... คราวนี้มาอ่านข้อคิดดีๆ ที่โด่งส่งมาให้ บ้างนะคะ


จะเสียดายถ้าไม่ได้อ่าน

พรชัย - นิติ 16 ... ส่งมา

" เหลียงจี้จาง ” เป็นพิธีกรดังของ TVB ในฮ่องกง และเป็นนักเขียนด้วย  บันทึกช่วยจำที่เขาเขียนให้ " ลูก " ได้รับการเผยแพร่เป็นวงกว้าง  นอกจากแสดงถึงความห่วงหาอาทรที่พ่อมีต่อลูกเฉกเช่นคุณพ่อทั่วๆ ไป  มุมมองของเขาบางเรื่อง ( ในแบบสังคมฮ่องกง )  บางคนก็เคยประสบมาบ้างเหมือนกัน

อ่านแล้วก็ยังอดอึ้งไม่ได้

.................................................................

ลูกรัก ...

ที่พ่อเขียนบันทึกช่วยจำฉบับนี้ให้ลูก มีเหตุผลอยู่ 3 ประการ คือ

1. สรรพสิ่งล้วนอนิจัง จะมีชิวิตอยู่ได้อีกนานเท่าใดไม่มีใครบอกได้ พ่อจึงคิดว่า บางเรื่องพ่อน่าจะสั่งเสียไว้แต่เนิ่นๆ ย่อมจะดีกว่า

2. เพราะพ่อเป็นพ่อของลูก ถ้าพ่อไม่บอกลูก ไม่มีใครหรอกที่เขาจะบอกลูกแบบที่พ่อบอก

3. สิ่งที่พ่อบันทึกไว้นี้  ล้วนเป็นประสบการณ์อันแสนเจ็บปวดที่พ่อได้เรียนรู้มา  มันจะทำให้ลูกไม่ต้องเสียเวลาไปเรียนรู้มันอีก



ในชีวิตของลูก ขอให้จำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ให้ดี

1. คนที่ไม่ดีต่อเรา ไม่ต้องไปใส่ใจนัก  ในชีวิตคนเรา ไม่มีใครมีหน้าที่ที่จะต้องมาดีต่อเรา  ยกเว้นพ่อกับแม่ของลูก สำหรับคนที่ดีกับลูก นอกจากลูกต้องหวงแหน และขอบคุณเขาแล้ว  ยังต้องคอยระวังตัวไว้ด้วย  เพราะคนเราทุกคนทำอะไรย่อมมีจุดประสงค์  เขาทำดีกับลูก  ใช่ว่าเขาจะทำเพราะชอบลูกเสมอไป  ลูกต้องตระหนักจุดนี้ให้ดี  อย่าเพิ่งรับเขาเป็นเพื่อนเร็วเกินไป
 
2. ไม่มีคนที่ทดแทนกันไม่ได้ และไม่มีสิ่งใดที่ต้องมีให้ได้  ถ้าเข้าใจจุดนี้ หากวันใดคนข้างกายของลูกไม่ต้องการลูกอีกต่อไป  หรือวันใดที่ลูกต้องเสียสิ่งที่รักที่สุดไป  ลูกจะได้เข้าใจว่านี่ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอะไรเลย
 
3. ชีวิตนี้แสนสั้น  หากลูกยังใช้ชีวิตอย่างไม่เห็นคุณค่า  พรุ่งนี้ลูกจะพบว่าชีวิตจะหลุดลอยไปไกลยิ่งขึ้น  ดังนั้นยิ่งรู้จักถนอมชีวิตเร็วเท่าใด  เวลาที่ลูกจะได้รับความสุขจากชีวิตก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น  หาความสุขเสียแต่วันนี้ ดีกว่านั่งหวังให้มีอายุยืนนาน
 
4. ในโลกนี้ไม่มีเรื่องรักนิรันด์กาล  ความรักเป็นเพียงความรู้สึกชั่ววูบ  โดยความรู้สึกนี้ย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา และอารมณ์  หากสิ่งที่ลูกรักมากที่สุดจากลูกไป  ขอให้รอคอยอย่างอดทน  ให้เวลาช่วยชะล้าง ให้จิตใจค่อยๆ ตกตะกอน  แล้วความทุกข์ของลูกจะค่อยๆจางหายไป ... อย่าวาดหวังความรักให้สวยเกินไป และอย่าซ้ำเติมการอกหักให้ทุกข์เกินเหตุ

5. แม้ว่าคนหลายคนที่ประสบความสำเร็จในโลกนี้ไม่ได้เรียนมาสูง แต่ไม่ได้หมายความว่า หากไม่ขยันเรียน แล้วจะได้ดี  ความรู้คืออาวุธ คนเราอาจสู้แล้วรวย แต่ไม่มีทางรวยได้ หากปราศจากอาวุธสู้ ...
 
6. พ่อจะไม่ขอให้ลูกเลี้ยงดูครึ่งชีวิตหลังของพ่อ  เพราะพ่อก็จะไม่เลี้ยงดูครึ่งชีวิตหลังของลูกเช่นกัน  เมื่อลูกโตพอจนเป็นอิสระได้แล้ว  พ่อก็หมดหน้าที่แล้วเช่นกัน  หลังจากนั้นไป  ลูกจะนั่งรถเมล์ หรือจะนั่งรถเบ๊นซ์  จะกินหูฉลาม หรือจะกินบะหมี่ยำๆ  ต้องเลือกเอง

7. ต้องทำดีต่อผู้อื่น  แต่อย่าหวังว่าผู้อื่นต้องทำดีต่อเรา  เราปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไร  มิได้หมายความว่าผู้อื่นก็จะปฏิบัติตอบต่อเราในแบบเดียวกัน ... ลูกต้องเข้าใจในข้อนี้  จะได้ไม่หาทุกข์ใส่ตัวโดยไม่จำเป็น
 
8. พ่อซื้อล๊อตเตอรี่มาตลอดชีวิต ยังยากจนเหมือนเดิม  แม้แต่รางวัลเลขท้ายยังไม่เคยถูกเลย  นี่เป็นบทพิสูจน์ว่า คนเราจะเจริญก้าวหน้าได้ ต้องขยันขันแข็งอย่างเดียวเท่านั้น  ในโลกนี้ไม่มีมื้อเที่ยงที่ไม่ต้องเสียตังค์ ( No free lunch )

9. ญาติ มิตร หรือสหาย ล้วนเป็นกันชาตินี้ชาติเดียว  ฉะนั้นจงหวนแหนโอกาสที่ได้อยู่ด้วยกัน และแสนมีค่านี้  เพราะในชาติหน้า ไม่ว่าท่านจะรักใครหรือชังใคร  ท่านก็จะไม่มีโอกาสได้พบกันอีก

      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #179 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2554, 12:47:21 »


ความสุขเกิดขึ้นเมื่อใด

พี่ชรินทร์ - รัฐศาสตร์ 07 ... ส่งมา

ความสุข เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง  ความสุขไม่ได้อยู่ที่จุดหมายปลายทางที่ไปถึง

คุณบอกกับตัวเองว่า เมื่อได้แต่งงาน และมีลูก ชีวิตของคุณก็จะดีขึ้น

แต่เมื่อมีลูก และลูกของคุณยังเล็กอยู่  คุณก็เกิดความรู้สึกว่า เมื่อเขาโตขึ้นเราคงมีความสุข และสบายขึ้น

แต่เมื่อลูกโตมากขึ้น จนย่างเข้าสู่วัยรุ่น  คุณกลับรู้สึกไม่ได้ดั่งใจอีกครั้ง

และเมื่อลูกๆ ผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไปได้  คุณคิดว่า คุณจะมีความสุขมากขึ้น  แต่คุณกลับบอกกับตัวเองอีกว่า จะรอให้ลูกๆ  จัดการกับตัวของเค้าเองให้เรียบร้อยดีเสียก่อน

บางครั้งคุณคิดว่า ถ้าคุณมีบ้าน มีรถ มีวันหยุดพักร้อนนานๆ  และเมื่อถึงวันเกษียณอายุการทำงาน  ชีวิตของคุณจะมีความสุขมากที่สุด

แต่เมื่อเกษียนแล้วก็จริง  แต่ทำไมถึงยังไม่มีความสุขสักที

ความสุขของชีวิตอยู่ที่ไหนกัน ?

แท้จริงแล้ว ความสุขของชีวิต อยู่ ณ ช่วงเวลาขณะนี้ ช่วงเวลาปัจจุบัน ไม่ต้องรอให้ความสุขมาหาเราในอนาคต
 
เราควรมีความสุข และพึงพอใจกับความสุขอยู่ในปัจจุบัน

ชีวิตของมนุษย์ทุกคน ต้องมีสิ่งท้าทายเข้ามาอยู่ตลอดเวลา ทั้งอุปสรรคต่างๆ หรือบททดสอบชีวิตอันยากเข็ญ  แต่ในที่สุดเราก็จะต้องก้าวผ่านไป อุปสรรคกับชีวิตเป็นของคู่กัน

ดังนั้น เป็นหน้าที่ของเรา ที่ต้องหาความสุข และความพึงพอใจจากการเดินทางบนถนนแห่งชีวิตนี้ ซึ่งจะทำให้ชีวิตมีความสุขมากกว่าที่จะรอให้ถึงจุดหมายปลายทางก่อน  แล้วถึงจะมีความสุขได้


เริ่มหยุดพูดกับตัวเองเสียทีว่า

ถ้าฉันลดน้ำหนักได้สัก 5 กิโล ฉันถึงจะมีความสุข
ถ้าฉันได้แต่งงาน ฉันถึงจะมีความสุข
ถ้าผมได้ซื้อบ้าน ผมถึงจะมีความสุข
ถ้าผมได้เกิดเป็นลูกคนรวย ผมถึงจะมีความสุข
ถ้าคุณหยุดพูดถึงสิ่งเหล่านี้ได้  ชีวิตของคุณก็จะมีความสุข  และคุณจะรู้สึกพึงพอใจกับชีวิต

ตอบคำถาม ต่อไปนี้

1. บอกชื่อคน 3 คน ที่รวยที่สุดในโลก
2. บอกชื่อนางงามจักรวาล 3 คนล่าสุด
3. บอกชื่อ ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล 3 คนล่าสุด
4. บอกชื่อนักแสดงนำชาย 3 คนล่าสุด ที่ได้รับรางวัลออสการ์

นึกไม่ออกใช่ไหม ? ไม่ใช่เรื่องแปลก  ไม่มีใครหรอกที่จะจดจำคนเหล่านี้ได้ทั้งหมด  คนที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ก็ล้วนล้มหายตายจากไปตามกาลเวลา  รางวัลต่างๆ เมื่อวางไว้นาน ก็จะถูกฝุ่นจับ แม้แต่ผู้ชนะก็จะถูกลืมในไม่ช้า

ตอบคำถาม ต่อไปนี้

1. บอกชื่ออาจารย์ 3 ท่านที่เคยช่วยเหลือคุณในเรื่องการเรียน
2. บอกชื่อเพื่อน 3 คนที่ช่วยเหลือคุณในยามที่คุณต้องการ
3. นึกถึงคน 3 คนที่ทำให้คุณรู้สึกว่า คุณได้เป็นคนพิเศษ
4. บอกชื่อคน 3 คนที่คุณอยากใช้เวลาด้วย

นึกออกง่ายกว่าใช่ไหม ?  นั่นเป็นเพราะว่า คนที่มีความหมายต่อชีวิตคุณ ไม่ได้เป็นคนที่ต้องเป็นที่สุด  ไม่ได้มีเงินมากที่สุด ไม่ต้องได้รับรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  เพราะยังมีคนใกล้ตัวคุณอีกหลายคนที่ห่วงใยคุณ  คอยให้การดูแลคุณ และเวลาที่มีอะไรเกิดขึ้น ก็จะคอยอยู่เคียงข้างคุณ

... ไม่มีช่วงเวลาไหนที่จะมีความสุขมากกว่าช่วงเวลา ณ ปัจจุบันนี้ ... ใช้ชีวิตให้มีความสุขกับช่วงเวลาปัจจุบัน

สูตรเกี่ยวกับบุคลิกของตัวเอง ที่ควรไปจะคู่กับสูตรสุขภาพ มีอย่างนี้

           ๑.  อย่าเปรียบเทียบชีวิตของตัวเองกับคนอื่น  คุณไม่รู้หรอกว่าคนที่คุณอิจฉานั้นเขา  มีความทุกข์ยิ่งกว่าคุณอย่างไรบ้าง
 
           ๒.   อย่าคิดทางลบเกี่ยวกับเรื่องที่คุณควบคุม หรือกำหนดไม่ได้ แทนที่จะมองโลกในแง่ร้าย, ก็ทุ่มเทกำลัง และพลังงานให้กับความคิด ทางบวก ณ ปัจจุบันเสียดีกว่า
 
          ๓.  อย่าทำอะไรเกินกว่าที่ตัวเองทำได้ ... รู้ว่าขีดจำกัดของตัวเองอยู่ที่ไหน

          ๔.  อย่าเอาจริงเอาจังกับตัวเองนัก  เพราะคนอื่นเขา ไม่ได้ซีเรียสกับคุณเท่าไหร่หรอก
 
          ๕.  อย่าเสียเวลา และพลังงานอันมีค่าของคุณกับเรื่องหยุมหยิม หรือเรื่องซุบซิ ....นอกเสียจากว่ามันจะทำให้คุณ ผ่อนคลายได้อย่างจริงจัง

          ๖.  จงฝันตอนตื่นมากกว่าตอนหลับ
 
          ๗. ความรู้สึกอิจฉาริษยาเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่าๆ ปลี้ๆ ... คิดให้ดีก็จะรู้ว่าคุณมีทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องมีแล้ว

          ๘. ลืมเรื่องขัดแย้งในอดีตเสีย  และอย่าได้เตือนสามี หรือภรรยาคุณเกี่ยวกับความผิดพลาดในอดีตของอีกฝ่ายหนึ่งเลย  เพราะมันจะทำลายความสุขปัจจุบันของคุณ

          ๙.  ชีวิตนี้สั้นเกินกว่าที่เราจะไปโกรธเกลียดใคร ... จงอย่าเกลียดคนอื่น
 
          ๑๐ .ประกาศสงบศึกกับอดีตให้สิ้น, จะได้ไม่ทำลายปัจจุบันของคุณ
 
          ๑๑.ไม่มีใครกำหนดความสุขของคุณได้ นอกจากคุณเอง
 
          ๑๒.จงเข้าใจเสียว่าชีวิตก็คือโรงเรียน  คุณมาเพื่อเรียน รู้ และปัญหาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักสูตรซึ่งมาแล้วก็หายไป ... เหมือนโจทย์วิชาพีชคณิต ... แต่สิ่งที่คุณเรียนรู้นั้นอยู่กับคุณตลอดชีวิต
 
          ๑๓. จงยิ้ม และหัวเราะมากขึ้น
 
           ๑๔. คุณไม่จำเป็นต้องชนะทุกครั้งที่ถกเถียงกับคนอื่นหรอก ... บางครั้งก็ยอมรับว่าเราเห็นแตกต่างกันได้ ...เ ห็นพ้องที่จะเห็นต่าง ก็ไม่เห็นเสียหายแต่อย่างไร


แล้วเราควรจะมีทัศนคติอย่างไรต่อชุมชน และคนรอบข้างเราล่ะ ?

           ๑.     อย่าลืมโทรฯหาครอบครัวบ่อยๆ
 
           ๒ .    จงหาอะไรดีๆ ให้คนอื่นทุกวัน
 
           ๓.     จงให้อภัยทุกคนสำหรับทุกอย่าง
 
           ๔.     จงหาเวลาอยู่กับคนอายุเกิน 70 และต่ำกว่า 6ขวบ
 
           ๕ .    พยายามทำให้อย่างน้อย 3 คนยิ้มได้ทุกวัน

           ๖.     คนอื่นเขาคิดอย่างไรกับคุณ ไม่ใช่เรื่องของคุณสักหน่อย

          ๗.  งานของคุณไม่ดูแลคุณตอนคุณป่วยหรอก  แต่ครอบครัว และเพื่อนคุณต่างหากเล่า ที่จะดูแลคุณในยามคุณมีปัญหาสุขภาพ  ดังนั้น ,  อย่าได้ห่างเหินกับคนใกล้ชิดเป็นอันขาด

และถ้าหากสามารถดำรงชีวิตให้มีความหมายได้, ก็ควรจะทำ ดังต่อไปนี้

๑.   ทำสิ่งที่ควรทำ
 
๒.   อะไรที่ไม่เป็นประโยชน์, ไม่สวย , ไม่น่ารื่นรมย์, จงทิ้ง ไปเสีย ... เก็บไว้ทำไม ?
         
๓ .   เวลา..ย่อมรักษาแผลทุกอย่างได้
         
๔.   ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือเลวปานใด, เดี๋ยวมันก็เปลี่ยน
 
๕.  ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรในตอนเช้าของทุกวัน, จงลุก จากเตียง, แต่งตัว และ ปรากฎตัวต่อหน้าคนที่เราร่วมงาน  ด้วย ... get up, dress up and show up.

๖.   สิ่งที่ดีที่สุดยังมาไม่ถึง
 
๗.   ถ้าคุณยังลุกขึ้นตอนเช้าได้, อย่าลืมขอบคุณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุณนับถือเสียด้วย
 
๘.  เชื่อเถอะว่าส่วนลึกๆ ในใจของคุณนั้นมีความสุขเสมอ ... ดังนั้น, ส่วนนอกของคุณ จะทุกข์โศกไปทำไมเล่า
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #180 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2554, 21:48:12 »

ดีจังค่ะเจี๊ยบ ขอบคุณมาก
คนมีความสุขในใจเสมอ จะสวยเสมอ อย่างเจี๊ยบไงคะ
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #181 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2554, 22:25:02 »


จ้าติ๋ม ... สมพรปาก เด้อ ค่ะ เด้อ !


ครึ่งวัน กับการไม่มีเงินติดตัวเลยซักบาท

เสรษฐวิทย์ - นิเทศ 16 ... ส่งมา

ถ้าคุณต้องโดนทดสอบกับหลักสูตรแบบนี้  คุณคิดว่า คุณจะได้เรียนรู้อะไรจากหลักสูตรนี้บ้าง ?

ชื่อหลักสูตร " ลองใช้ชีวิตในเมืองใหญ่โดยไม่มีเงิน และไม่มีมือถือ " ระยะเวลา 8 ชั่วโมง ระหว่าง 09.00-17.00 น. ในวันเสาร์ต้นเดือน
 
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ประกอบด้วยคนทำงานออฟฟิศ หรือมนุษย์เงินเดือน 20 คน ซึ่งถูกกำหนดเงื่อนไขให้ได้เรียนรู้แบบแสบๆ คันๆ  หัวเราะไม่ออก  โดยขอให้ทุกคนโปรดงดอาหารเช้า  แล้วมาพบกันที่หน้าห้างใหญ่ ย่านสยามสแควร์  เงินทอง  บัตรเอทีเอ็ม  มือถือที่พกมา โปรดฝากไว้ที่อาจารย์  ตอนเย็นจะคืนให้ ... แต่ทุกคนต้องหาวิธีไปถึงจุดนัดพบ ที่หน้าห้างใหญ่ตรงแยกลาดพร้าวในเวลา 17.00 น.
                     
ทุกคนปฏิบัติการด้วยท้องที่หิว  ต่างนำพาตัวเองสู่จุดนัดหมาย ด้วยประสบการณ์เฉพาะตนที่ยากจะลืมเลือน           
 
แดง เล่าว่าเธอพยายามรวบรวมความกล้าไปขอเงินค่ารถเมล์ แต่ใจไม่กล้าพอ เพราะรูปร่างหน้าตาแบบเธอนี่ ใครเขาจะเชื่อว่าไม่มีเงินเลยสักบาท  แต่ด้วยความมุ่งมั่น แดงเดินจากสยามไปถึงแยกลาดพร้าว โดยไม่มีอาหารและน้ำ ตกถึงท้อง
แดง สรุปวีรกรรมของเธอว่าเป็นเรื่อง " ศักดิ์ศรี " ล้วนๆ  เพื่อนๆ จึงแถมด้วยว่า " ไม่ฉลาด " เพราะไม่รู้จักขึ้นรถเมล์ฟรีสำหรับประชาชน

 
ต้อย แก้โจทย์แรกทำอย่างไรจึงหายหิว  ต้อยเล็งแม่ค้าหมูปิ้งท่าทางมีเมตตา  ต้อยเริ่มบรรยายว่าเธอไม่ได้กินข้าวเช้า กำลังจะเป็นลมแล้ว  แม่ค้าสงสารยื่นหมูปิ้งให้สองไม้ แถมข้าวเหนียวอีกห่อ  ณ นาทีนั้น ต้อยสัญญากับตัวเองว่า ทันทีที่ภารกิจเสร็จ ได้กระเป๋าสตางค์ของตนคืน  จะมาเหมาหมูปิ้งหมดเลย  แต่พอถึงตอนเดินไปขอใช้โทรศัพท์มือถือ จากผู้ที่เดินผ่านไปมา  สายตาที่มองต้อยหัวจรดเท้า หรือท่าทีธุระไม่ใช่ของคนเหล่านี้
ต้อย  สรุปว่า น้ำใจแห้งแล้งกว่าแม่ค้าหมูปิ้งยิ่งนัก  ต้อยบากหน้าขอยืมมือถือกว่าสิบราย  แต่สุดท้ายมีหญิงวัยกลางคนให้เธอยืมมือถือมาโทรฯ ได้สำเร็จ                                           
ต้อยสัญญากับตัวเองเป็นคำรบสองว่าต่อจากนี้ไป ใครมาขอยืมใช้โทรศัพท์มือถือ  เธอจะเต็มใจให้ใช้โดยไม่เกี่ยงงอนใดๆ เลย  นี่คือ คำสัญญาจากต้อย         
                                                                   
เอก พยายามทดสอบน้ำใจผู้คน  แต่ไม่มีใครเชื่อว่าชายครบสามสิบสอง ไม่พิกลพิการจะมีหน้ามาแบมือขอเงิน  เอกต้องทนหิวถึงบ่ายแก่ๆ ไปขอเงินจากนักศึกษาสาวที่มองเอกอย่างพินิจพิเคราะห์อยู่ครู่หนึ่ง แล้วเดินจากไป  ราวสิบนาทีต่อมา เธอยื่นถุงจากร้านสะดวกซื้อให้เอกโดยไม่พูดสักคำ  เอกรับมาเปิดดู  มีเครื่องดื่มเย็นๆ สองขวด  แซนวิช  และธนบัตรหนึ่งร้อยบาทในถุงนั้น  เอกเล่าว่าอยากจะวิ่งไปขอบคุณนักศึกษาสาวผู้นั้น  แต่เธอเดินลับหายไปในฝูงชน  บุญคุณครั้งนี้เอกจะไม่ลืม  เงินร้อยบาทที่ได้มาเป็นเงินที่มีค่ากว่าเงินเดือนหลายหมื่น ที่ฝ่ายการเงินโอนเข้าบัญชีของเอกทุกเดือนซะอีก
เอกกำลังคิดว่า ตนจะตอบแทนสังคมที่มีผู้มีน้ำใจได้อย่างไร
   
                                     
วิทยา เป็นวิทยากรกระบวนการหลักสูตรนี้  แต่ต้องใช้ชีวิตโดยไม่มีเงิน และมือถือเช่นเดียวกันกับคนอื่น
วิทยาปล่อยวาง และเล่น " เกม " นี้อย่างไม่กดดันตัวเอง  แต่พยายามเข้าใจปฏิกิริยาของคนที่เขาไปขอเงิน และพยายามเชื่อมโยงเหตุผลที่ทำให้บางคน " มีน้ำใจ " กว่าคนอื่น  วิทยาได้รับความช่วยเหลือจากคนที่ใส่ใจรับฟัง หรือจ้องมองดวงตาของวิทยา  แต่ผู้คนที่เร่งรีบ ไม่มีเวลาแม้แต่หยุดฟัง  มักเชิดหน้าผ่านไปพร้อมส่งสัญญาณอำมหิต แปลความได้ว่า ... ชีวิตใคร  ชีวิตมัน  อย่ามายุ่งกับข้า …     
                             
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 20 คนมาถึงจุดนัดหมายด้วย " ตัวช่วย " ต่างกัน  แต่ทุกคนสรุปตรงกันว่า ต่อไปตนจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้อย่างเต็มใจเมื่อมีผู้ร้องขอ  เพราะถ้าเราไม่ให้  ไม่ช่วยคนในสังคมแล้ว  สังคมที่เราอยู่ร่วมกันนี้ก็คงไม่มีการให้  มีแต่ความเป็นตัวใคร ตัวมัน
               
หลักสูตรครึ่งวันนี้ได้ชี้ทางว่า เราควรใช้ชีวิตที่เหลืออย่างไร ?                                      
 
จาก หนังสือ สานพลัง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ คอลัมน์ เล็กไปใหญ่ โดย นายแพทย์ ชาตรี  เจริญศิริ 
      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #182 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2554, 00:14:59 »


วิถีแห่งเซน ของสตีฟ จอบส์

รุจิตร - ครุ 16 ... ส่งมา


แม้จะเป็นนักธุรกิจร่ำรวยระดับแสนล้าน แต่ไม่ว่าจะปรากฏกาย ณ ที่แห่งใด หรือแม้แต่ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Apple  คนทั่วไปมักชินตากับภาพ สตีฟ จอบส์ ในชุดแต่งกายเรียบง่าย สวมเสื้อยืดคอเต่าแขนยาวสีดำ ยี่ห้อ St. Croix กางเกงยีนส์ลีวายส์ รุ่น 501 และสวมรองเท้ากีฬายี่ห้อ New Balance รุ่น 992 เป็นประจำ  จนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของเขา

สตีฟ จอบส์ หรือสตีเฟน พอล จอบส์ ( Steven Paul Jobs ) เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน ซีอีโอใหญ่แห่งค่าย Apple Inc. ยักษ์ใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกของโลก  รวมทั้งเป็นผู้บริหารระดับสูงของค่ายพิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ( Pixar Animation Studios )ด้วย

กว่าจะถึงวันนี้ ชีวิตของซีอีโอใหญ่ได้เผชิญปัญหามานับครั้งไม่ถ้วน แต่ด้วยหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนานิกายเซน ที่เขาได้ศึกษาเรียนรู้ ช่วยให้เขาก้าวผ่านอุปสรรคทั้งปวงมาได้


• ชีวิตช่วงแรก ไม่ได้ปริญญา แต่ได้วิชา ... เริ่มสนใจศึกษาพุทธศาสนา

สตี เฟน พอล จอบส์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1955 ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรนอกสมรสของนักศึกษาสาวมหาวิทยาลัย กับศาตราจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ มารดาแท้ๆ ยกเขาให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ครอบครัว “จอบส์” ซึ่งมีหัวหน้าครอบครัวเป็นช่างเครื่อง โดยขอสัญญาว่า บุตรชายของเธอจะต้องได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย

เมื่อโตขึ้น จอบส์เข้าศึกษาต่อที่ Reed College ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ได้เพียง 6 เดือน ก็ลาพักเรียน เพราะไม่เห็นความน่าสนใจของสิ่งที่เขาเรียนอยู่ แต่เขาก็กลับเข้าศึกษาใหม่อีก 1 ปีครึ่ง โดยลงเรียนเฉพาะ คอร์สที่เขาสนใจ เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษร (ซึ่งภายหลังเขาได้นำไปใช้ประโยชน์ ในการออกแบบตัวพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ Macintosh) หลังจากนั้น เขาหยุดเรียนถาวรและไม่ได้ศึกษาจนจบมหาวิทยาลัยตามที่มารดาแท้ๆ ของเขาหวังไว้

ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยนี้เองที่จอบส์เริ่มหันมาศึกษา พุทธศาสนานิกาย เซน เขาสนใจอ่านวรรณกรรมทางพุทธศาสนาหลายเล่ม และหนังสือที่มีอิทธิพล สูงสุดกับเขาคือ Zen Mind, Beginner’s Mind ซึ่งเขียนโดยชุนริว ซูซุกิ กล่าวกันว่า หลังการศึกษาหลักธรรมของเซน จอบส์เริ่มมีความเชื่อว่า การหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณนั้น ก่อให้เกิดปัญญา เขาจึงเริ่มฝึกสมาธิในห้องนอนแคบๆ ที่แชร์ร่วมกับ “แดเนียล คอตคี” เพื่อนสนิท ท่ามกลางกลิ่นธูป

• ออกแสวงหาตัวตนที่แท้จริง

ใน ปี 1974 จอบส์ ในวัย 19 ปี ได้ขอลาพักงานประจำ ที่เขาทำอยู่ในบริษัทเครื่องเล่นวิดีโอเกมส์ Atari เพื่อเดินทางไปอินเดีย เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมกับเพื่อนรัก “แดเนียล คอตคี” เพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับการรู้แจ้งเห็นจริงด้านจิตวิญญาณ และเมื่อเดินทางกลับสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง เขาได้กลายเป็นพุทธศาสนิกชน สวมเสื้อผ้าแบบอินเดียโบราณและโกนศีรษะ

หลังจากนั้น เขาได้แวะเวียนไปที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส ในเมืองลอส อัลทอส รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นประจำ ที่นี่เขาเริ่มฝึกการบำบัดแบบกรีดร้องดังๆ และรับประทานผลไม้เป็นอาหาร และผลไม้ที่เขาโปรดปรานเป็นพิเศษก็คือ แอปเปิ้ล นั่นเอง




ในปี 1976 ขณะอายุ 21 ปี จอบส์ได้เข้าทำงานกับบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด และเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนานิกายเซนอย่างจริงจังกับ “โกบุน ชิโนะ โอโตโกวะ” พระอาจารย์ชาวญี่ปุ่น ที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส (ซึ่งภายหลัง เมื่อจอบส์เข้าพิธีแต่งงานแบบเซน กับ “ลอรีน เพาเวล” ในวันที่ 18 มีนาคม 1991 พระอาจารย์โอโตโกวะได้มาเป็นประธานในพิธี)

• เริ่มก่อตั้งบริษัท Apple ดีไซน์สินค้าด้วยแนวคิดเซน

ใน ปี 1976 จอบส์และเพื่อนสมัยเรียนที่ชื่อ “สตีฟ วอซเนียก” ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Apple Computer ขึ้นที่โรงรถในบ้านของจอบส์ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จอบส์กับวอซเนียกได้นำเสนอออกสู่สายตา ได้แก่เครื่อง Apple I และเพียง 10 ปีให้หลัง Apple ก็เติบโตจากคนเพียง 2 คนกลายเป็นบริษัทใหญ่โตที่มีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ และพนักงานมากกว่า 4,000 คน!!



จอบส์เคยกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Wired ของอเมริกาว่า

มีคำคำหนึ่งในศาสนาพุทธ คือ จิตของผู้เริ่มต้น มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะมีจิตของผู้เริ่มต้น

ซึ่งเขาอธิบายต่อไปว่า มันเป็นจิตที่มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง ซึ่งค่อยๆทำให้เราตระหนักถึงแก่นแท้ของสิ่งเหล่านั้น จิตของผู้เริ่มต้น ก็คือการนำหลักการของเซนมาปฏิบัติจริง เป็นจิตบริสุทธิ์ที่ปราศจากอคติ การคาดหวัง การตัดสิน ความลำเอียงให้คิดว่า จิตของผู้เริ่มต้น เป็นเหมือนจิตของเด็กน้อย ซึ่งเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความสงสัย และความ ประหลาดใจ

ด้วยความเชื่อดังกล่าว สตีฟ จอบส์ จึงนำแนวคิดแบบเซนมาใช้กับบริษัท Apple Inc ของเขา ในการออกแบบรูปลักษณ์และการใช้งานของสินค้าให้มีแนวทางบริสุทธิ์ ครบถ้วนสมบูรณ์ และง่ายต่อการใช้งาน


 • พบมรสุมชีวิต แต่พิชิตด้วยความรักในงาน

เมื่อ จอบส์อายุ 30 ปี หลังจากเพิ่งเปิดตัว Macintosh เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดของตัวเองได้ปีเดียว เขาถูกไล่ออกจากบริษัทที่ตนเองเป็นผู้ก่อตั้ง หลังจากทะเลาะกับผู้บริหาร และกรรมการบริษัทก็เข้าข้างผู้บริหารคนนั้น

เรื่องนี้เป็นความสูญ เสียครั้งใหญ่ในชีวิตของเขา จอบส์กล่าวว่า เขาได้สูญเสียสิ่งที่ได้ทำมาตลอดชีวิตไปในพริบตา ถึงกับคิดจะออกจากวงการคอมพิวเตอร์ไปชั่วชีวิต เขาไม่ได้ทำอะไรหลังจากนั้นอีกหลายเดือน

แต่แล้วความรู้สึกอย่าง หนึ่งก็สว่าง ขึ้นข้างในตัวของจอบส์ ซึ่งเขาค้นพบว่า ตัวเองยังคงรักในสิ่งที่ทำมาแล้ว ความล้มเหลวที่ Apple ไม่อาจเปลี่ยนแปลงความรักที่เขามีต่อสิ่งที่ได้ทำมาแล้วได้ ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งต่อมาเขาได้พบว่า การที่เขาถูกไล่ออกจาก Apple ได้กลายเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในชีวิต เพราะภาระอันหนักจากการประสบความสำเร็จในอดีตที่เขาแบกไว้นั้น ได้ถูกแทนที่ด้วยความเบาสบายในการเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ซึ่งช่วยปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ นั่นก็คือเขาได้ปล่อยวางความสำเร็จเก่านั้นลง และเริ่มต้นใหม่ด้วยใจที่เบาสบาย เบิกบาน เป็นจิตของผู้เริ่มต้นอย่างที่เขาเคยบอกไว้นั่นเอง

จอบส์กล่าวว่า ความล้มเหลวเป็นยาขม แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไข้ เมื่อชีวิตเล่นตลกกับคุณ จงอย่าสูญเสียความเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณรัก ดังนั้นคุณจะต้องหาสิ่งที่คุณรักให้เจอ เพราะวิธีเดียวที่จะทำให้คุณเกิดความพึงพอใจอย่างแท้จริง คือการได้ทำในสิ่งที่คุณเชื่อว่ามันยอดเยี่ยม และวิธีเดียวที่จะทำให้คุณสามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ก็คือ คุณจะต้องรักในสิ่งที่คุณทำ และถ้าหากคุณยังหามันไม่พบ อย่าหยุดหาจนกว่าจะพบ และคุณจะรู้ได้เองเมื่อคุณได้ค้นพบสิ่งที่คุณรักแล้ว

หลัง จากนั้น เขาได้เริ่มตั้งบริษัทใหม่ชื่อ NeXT และ Pixar ( ซึ่งขณะนี้เป็นสตูดิโอผลิตการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ) ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนจากคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องแรกของโลกนั่นคือ Toy Story



ส่วน Apple ซึ่งไร้เงาของจอบส์นั้น ไม่ได้เฟื่องฟูขึ้นเลย ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้หันมาซื้อบริษัท NeXT เพื่อทำให้จอบส์ได้กลับคืนสู่ Apple อีกครั้ง รวมทั้งเทคโนโลยีที่เขาคิดค้นขึ้นที่ NeXT ก็ได้กลายเป็นหัวใจในยุคฟื้นฟูของ Apple

• ใช้การเจริญมรณสติทุกวัน เป็นเครื่องมือช่วยการตัดสินใจในชีวิต

เมื่อ อายุ 17 ปี จอบส์ประทับใจข้อความหนึ่งที่เขาได้อ่านจากหนังสือ ซึ่งสอนให้ทุกคนมีชีวิตอยู่โดยคิดว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต และตลอดชีวิตที่ผ่านมา เขาจะถามตัวเองในกระจกทุกเช้าว่า ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายในชีวิตของเขา เขาจะยังคงต้องการทำสิ่งที่กำลังจะทำในวันนี้หรือไม่ ถ้าหากคำตอบเป็น “ ไม่ ” ติดๆ กันหลายวัน เขาก็รู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องเปลี่ยนแปลง

จอบส์เล่าว่า วิธีคิดว่าคนเราอาจจะตายวันตายพรุ่ง เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเท่าที่เขาเคยรู้จักมา ซึ่งได้ช่วยให้เขาสามารถตัดสินใจครั้งใหญ่ๆ ในชีวิตได้ เพราะเมื่อความตายมาอยู่ตรงหน้า แทบทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังของคนอื่น ชื่อเสียงเกียรติยศ ความกลัวที่จะต้องอับอายขายหน้าหรือล้มเหลว จะหมดความหมายไปสิ้น เหลือไว้ก็แต่เพียงสิ่งที่มีคุณค่ามีความหมาย และความสำคัญที่แท้จริงเท่า นั้น

“ วิธีคิดเช่นนี้ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะช่วยให้คุณไม่ตกลงไปในกับดักความคิดที่ว่า คุณมีอะไรที่จะต้องสูญเสีย เพราะความจริงแล้ว เราทุกคนล้วนมีแต่ตัวเปล่าๆ ด้วยกันทั้งนั้น ”

จอบส์พูดถึงความตายว่า กลางปี 2004  เขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนชนิดรุนแรง และไม่มีทางรักษา เขาจะมีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 3-6 เดือน แพทย์ที่รักษาแนะนำให้เขากลับบ้าน และจัดการสะสางภารกิจที่มีอยู่ให้เรียบ ร้อย ซึ่งความหมายก็คือให้ “ เตรียมตัวตาย ”

แต่แล้วในเย็นนั้นเมื่อ แพทย์ได้ตัดชิ้นเนื้อที่ตับอ่อน ไปตรวจอย่างละเอียด ผลปรากฏว่า เขาเป็นมะเร็งตับอ่อน ชนิดที่พบเพียงแค่ 1 เปอร์เซนต์ของผู้ป่วย ซึ่งรักษาได้ด้วยการผ่าตัด  ในปี 2009 จอบส์เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายตับที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี่ และกลับไปทำงานที่ Apple อีกครั้ง หลังลาหยุดเป็นเวลา 6 เดือน


ซีอี โอใหญ่ของ Apple กล่าวว่า นี่เป็นประสบการณ์เฉียดตายที่สุดของเขา ซึ่งทำให้เขาสามารถพูดได้เต็มปากยิ่งกว่า เมื่อตอนที่ใช้ความตายมาเตือนตัวเองเป็นมรณานุสติ และเมื่อผ่านห้วงเวลานั้นมาได้ เขาบอกว่าความตายคือประดิษฐกรรมที่ดีที่สุดของ “ ชีวิต ” ความตายคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิต เขาได้พูดถึงความตายไว้ว่า

“ ไม่มีใครอยากตาย แม้ว่าคนที่อยากขึ้นสวรรค์ ก็ไม่อยากตายเพื่อจะได้ไปที่นั่น แต่เราทุกคนต้องตาย ไม่มีใครรอดพ้นไปได้ ดังนั้นความตายก็คือตัวเปลี่ยนแปลงชีวิต มันจะกำจัดคนเก่าออกไป ( ตาย ) เพื่อเปิดทางให้คนใหม่ได้เข้ามา ( เกิด )  ตอนนี้คนใหม่ก็คือพวกคุณ แต่ในไม่ช้า พวกคุณก็จะค่อยๆแก่ และถูกกำจัดออกไป ( ตาย ) นี่คือหลักความจริง ”

จอบส์ ได้เตือนว่า “ เวลาของคุณจึงมีจำกัด และอย่ายอมเสียเวลามีชีวิตอยู่ในชีวิตของคนอื่น จงอย่ามีชีวิตอยู่ด้วยผลจากความคิดของคนอื่น และอย่ายอมให้เสียงของคนอื่นๆ มากลบเสียงที่อยู่ภายในตัวของคุณ และที่สำคัญที่สุดคือ คุณจะต้องมีความกล้าที่จะก้าวไปตามที่หัวใจคุณปรารถนาและสัญชาตญาณของคุณจะพาไป เพราะหัวใจและสัญชาตญาณของคุณรู้ดีว่ คุณต้องการจะเป็นอะไร ”

ทุกวันนี้ จอบส์ในวัย 55 ปียังคงถือปฏิบัติตามแบบเซน ที่มีวิถีแห่งความเรียบง่ายแต่ลุ่มลึก และเขามักอ้างคำพูดของอาจารย์เซนหลายๆ ท่าน และหลักปรัชญาเซน ในระหว่างการแสดงสุนทรพจน์ในที่ต่างๆ



9 บทเรียนทองของสตีฟ จอบส์

9 คำพูดที่ดีที่สุดที่คัดเลือกมานี้ จะช่วยให้คุณทำงานได้สำเร็จตามสไตล์ซีอีโอแสนล้าน

1. สตีฟ จอบส์ พูดว่า “ นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างผู้นำ และผู้ตาม

นวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ เป็นสิ่งไร้ขีดจำกัด มีเพียงจินตนาการเท่านั้นที่มีขอบเขต ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องเริ่มคิดนอกกรอบ ถ้าคุณทำงานในภาคธุรกิจที่กำลังเติบโต ต้องรู้จักคิดหาทางทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และอยากจะทำธุรกรรมด้วย แต่ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจที่กำลังหดตัว ต้องรีบออกมาจากธุรกิจนั้นโดยเร็ว และเปลี่ยนแปลงก่อนที่คุณจะกลายเป็นคนตกยุค ตกงาน หรือธุรกิจล่มสลาย และต้องจำไว้เสมอว่า คุณจะผัดวันประกันพรุ่งไม่ได้ ต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวนี้

2. สตีฟ จอบส์ พูดว่า  “ จงเป็นคนที่มีคุณภาพสูง คนบางคนไม่เคยชินกับการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คาดหวังความเป็นเลิศ

ไม่ มีหนทางลัดสู่ความเป็นเลิศ คุณจะต้องตั้งใจและให้ความสำคัญ ใช้ความสามารถ ทักษะ และพรสวรรค์ที่มี พยายามทำให้มากกว่าคนอื่น มีมาตรฐานสูงกว่า และใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ความเป็นเลิศไม่ใช่เรื่องยาก แต่คุณต้องลงมือทำทันที แล้วคุณจะประหลาดใจในสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในชีวิต

3. สตีฟ จอบส์ พูดว่า “ วิธีเดียวที่จะทำงานให้ได้ผลดีเยี่ยม คือ คุณต้องรักในสิ่งที่ทำ ถ้าคุณยังไม่เจอสิ่งที่รักในตอนนี้ จงมองหาไปเรื่อยๆ อย่าด่วนสรุป เพราะมันเป็นเรื่องของหัวใจ คุณจะรู้ได้เอง เมื่อเจอสิ่งที่รัก

จงทำในสิ่งที่รัก มองหาอาชีพการงานที่ทำให้คุณมีจุดประสงค์ ทิศทาง และความพึงพอใจในชีวิต เมื่อคุณมีเป้าหมายและพยายามไปให้ถึง มันจะทำให้ชีวิตของคุณมีความหมาย ทิศทาง และความพอใจ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้มีสุขภาพดีและอายุยืนยาว แต่ยังจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นเมื่อต้องเผชิญอุปสรรค

4. สตีฟ จอบส์ พูดว่า “ คุณก็รู้ว่า อาหารส่วนใหญ่ที่เรากิน เราไม่ได้ผลิตด้วยตัวเราเอง เราสวมใส่เสื้อผ้าที่คนอื่นผลิต เราพูดภาษาที่คนอื่นพัฒนาขึ้น เราใช้คณิตศาสตร์ที่คนอื่นค่อยๆปรับปรุงมาเรื่อยๆ ผมหมายถึงว่า เราเป็นฝ่ายรับอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น คงเป็นความรู้สึกที่น่าปลาบปลื้มอย่างยิ่งที่เราสามารถสร้างสรรค์บางสิ่ง บางอย่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

จงใช้ชีวิตตามหลักศีลธรรม พยายามทำให้เกิดความแตกต่างบนโลกใบนี้และมีส่วนร่วมให้เกิดสิ่งที่ดีงามยิ่ง ขึ้น คุณจะพบว่า มันจะทำให้ชีวิตของคุณมีความหมายมากยิ่งขึ้น แถมยังเป็นยาแก้ความเบื่อหน่ายที่ได้ผลดีอีกด้วย ลองมองไปรอบๆตัว แล้วคุณจะพบว่า มีสิ่งต่างๆให้คุณทำอยู่เสมอ และจงพูดคุยกับผู้อื่นถึงสิ่งที่คุณกำลังทำ แต่อย่าพร่ำสอน หรือคิดว่าตัวเองถูกต้อง หรือหลงตัวเอง เพราะจะทำให้คนอื่นไม่อยากคุยด้วย ขณะเดียวกัน คุณต้องไม่กลัวที่จะทำตนเป็นตัวอย่าง และใช้โอกาสที่มี บอกเล่าถึงสิ่งที่คุณกำลังทำ

5. สตีฟ จอบส์ พูดว่า “ มีคำพูดในพุทธศาสนาว่า จิตของผู้เริ่มต้น มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะมีจิตของผู้เริ่มต้น

ซึ่งเขาอธิบายต่อไปว่า มันเป็นจิตที่มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความ เป็นจริง ซึ่งค่อยๆทำให้เราตระหนักถึงแก่นแท้ของสิ่งเหล่านั้น จิตของผู้เริ่มต้น ก็คือการนำหลักการของเซนมาปฏิบัติจริง เป็นจิตบริสุทธิ์ที่ปราศจากอคติ การคาดหวัง การตัดสิน ความลำเอียง ให้คิดว่า จิตของผู้เริ่มต้น เป็นเหมือนจิตของเด็กน้อย ซึ่งเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความสงสัย และความประหลาดใจ

6. สตีฟ จอบส์ พูดว่า “ เราคิดว่า โดยทั่วไปแล้ว คุณดูโทรทัศน์เพื่อพักสมอง และคุณใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อต้องการให้สมองทำงาน

ใน รอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีรายงานการศึกษาจำนวนมากที่ยืนยันหนักแน่นว่า การดูทีวีส่งผลเสียด้านจิตใจและมีอิทธิพลด้านศีลธรรม และคนที่ติดทีวีส่วนมาก แม้จะรู้ว่า มันทำให้ชินชาและเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่ก็ยังใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งอยู่หน้าจอสี่เหลี่ยม ดังนั้น จงปิดทีวีซะ เพื่อถนอมเซลล์สมอง แต่ต้องระวัง เพราะการใช้คอมพิวเตอร์ก็อาจเป็นการพักสมองได้เช่นกัน ลองเปลี่ยนมาเล่นเกมที่พัฒนาสติปัญญาดีกว่า

7. สตีฟ จอบส์ พูดว่า “ ผมสูญเงินไป 250 ล้านดอลลาร์ภายใน 1 ปี มันทำให้ผมรู้จักตนเองดีขึ้น

อย่า มองว่า การทำผิดกับความผิดเป็นเรื่องเท่าเทียมกัน เพราะคนที่ประสบความสำเร็จ โดยไม่เคยล้มเหลวหรือทำผิดเลยนั้น ไม่มีหรอก มีแต่คนที่ประสบความสำเร็จ เคยทำผิดพลาดและรู้จักเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อทำให้ถูกต้องในครั้งต่อไป พวกเขามองความผิดพลาดเป็นเครื่องเตือนสติ มากกว่าความสิ้นหวัง การไม่เคยทำผิดเลย แสดงว่า คนนั้นไม่เคยใช้ชีวิตอย่างเต็มที่

8. สตีฟ จอบส์ พูดว่า “ ในโลกนี้ไม่เคยมีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาด เราเกิดมาบนโลกใบนี้แล้วก็ได้ทำสิ่งผิดพลาดเช่นกัน ไม่งั้นแล้ว เราจะเกิดมาทำไม

คุณรู้หรือไม่ว่า มีเรื่องใหญ่ๆหลายเรื่องที่ต้องทำให้สำเร็จในชีวิต และรู้หรือไม่ว่า เรื่องสำคัญเหล่านั้นจะถูกฝุ่นจับ เมื่อคุณใช้เวลามัวแต่นั่งคิดมากกว่าลงมือทำ เราทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมของขวัญชิ้นหนึ่งที่จะมอบให้กับชีวิตของเราเอง ของขวัญที่เต็มไปด้วยความปรารถนา ความสนใจ ความหลงใหล และความอยากรู้อยากเห็น ของขวัญชิ้นนี้ แท้จริงแล้ว มันคือเป้าหมายของเรานั่นเอง และคุณตั้งเป้าหมายของคุณได้โดยไม่ต้องขออนุญาตใครทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน ครู พ่อแม่ นักบวช หรือเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจเลือกเป้าหมายให้คุณได้ คุณต้องหาจุดมุ่งหมายด้วยตัวคุณเอง

9. สตีฟ จอบส์ พูดว่า “ เวลาของคุณมีจำกัด จงอย่าเสียเวลาใช้ชีวิตตามแบบคนอื่น อย่าติดอยู่ในหลักความเชื่อ ซึ่งทำให้คุณใช้ชีวิตตามผลความคิดของผู้อื่น อย่ายอมให้เสียงความคิดของคนอื่น มากลบเสียงที่อยู่ภายในตัวของคุณ และทีสำคัญที่สุด คือ คุณต้องมีความกล้า ที่จะทำตามหัวใจปรารถนาและสัญชาติญาณ เพราะมันรู้ดีว่า จริงๆแล้ว คุณต้องการเป็นอะไร เรื่องอื่นๆกลายเป็นเรื่องรองไปโดยสิ้นเชิง ” 

คุณ เบื่อหรือเปล่าต่อการใช้ชีวิตตามความฝันของคนอื่น ไม่ต้องสงสัยเลย ก็มันเป็นชีวิตของคุณเอง คุณมีสิทธิใช้ชีวิตในแบบที่คุณต้องการ โดยไม่ต้องมีใครมาคอยขัดขวาง ลองให้โอกาสตัวเองฝึกความคิดริเริ่มในบรรยากาศที่ปราศจากความกลัวและแรงกด ดัน จงใช้ชีวิตตามแบบที่คุณเลือก และเป็นเจ้านายตัวเอง

      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #183 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2554, 03:24:08 »


ครูสอนดนตรี หัวใจสิงห์

ตะกี๊ได้ดูสารคดีสั้นๆ จาก TV ... เลยมาค้นจาก GOOgle ต่อค่ะ

อ.สมศักดิ์ สินธวานนท์ ผู้ทุ่มเท จากครูสอนดนตรี สู่เสียงเพลงบำบัดผู้ป่วย

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=QU1uAxt4tGA" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=QU1uAxt4tGA</a>


จิตอาสา ดนตรีบำบัด

“ นกน้อยคล้อยบินมาเดียวดาย คิดคิดมิวายกังวลให้หม่นฤทัยหมอง ...

   ... จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง เฝ้ามองให้เดือนชุบวิญญาณ์ สักวันบุญมาชะตาคงมี ”
 

   เสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ ผ่านเครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก ดังพอดิบพอดีแว่วมา ...

   “ พี่ขอเพลงพรานทะเลครับ .. .”

   เสียงขอเพลงจากผู้ฟังท่านหนึ่งร้องเมื่อบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ ชะตาชีวิต ” จบลง

   และแล้วบทเพลงพรานทะเลตามคำขอก็บรรเลงขึ้น

   บทเพลงอันไพเราะจับใจนี้ มีเสียงร้องคลอไปกับเสียงดนตรีที่มีต้นกำเนิดจากกีต้าร์โปร่งเพียงตัวเดียว ที่บรรเลงในท่วงทำนองเพลงคลาสสิค จากคนร้อง และคนเล่นคนเดียวกัน

   บรรดาเสียงเพลงราวหนึ่งชั่วโมง มิใช่การเล่นหรือแสดงในแหล่งบันเทิงใด ๆ กระทั่งมิใช่การแสดงเปิดหมวกตามบาทวิถี แต่อยู่ในหอผู้ป่วยชาย ชั้นสองของตึกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

   ก่อนการแสดงดนตรีจะเริ่มต้นขึ้นไม่นานนัก ...

   หนึ่งหญิงหนึ่งชายช่วยกันประคับประคอง และเข็นรถผู้ป่วยลัดเลาะไปตามทางเดิน จากอาคารโน้นลัดเลาะมาอาคารนี้ จนกระทั่งเข้าไปถึงลิฟท์ในตึกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์  รถเข็นนี้มิมีร่างผู้ป่วย มิมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่เป็นอุปกรณ์สำหรับการเล่นดนตรี ทั้งกีตาร์โปร่ง เครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก แท่นวางโน้ตดนตรี ไมโครโฟน และขาตั้ง กระทั่งกระเป๋าใบโตที่บรรจุหนังสือ และโน้ตเพลงอยู่ภายใน

   ที่ว่างด้านในของหอผู้ป่วยชาย ถูดดัดแปลงเป็นสถานที่แสดงดนตรีย่อม ๆ เก้าอี้วางอยู่ติดผนัง ถัดออกมาเป็นขาตั้งไมโครโฟน ที่วางคู่อยู่กับแท่นวางโน้ตเพลง ด้านข้างเก้าอี้มีเครื่องขยายเสียงตั้งอยู่ มีสายไมค์และสายจากกีต้าร์เสียบอยู่

   “ รุ่งนภา ศรีดอกไม้ ” หญิงสาวร่างสะโอดสะองวัยกลางคนคนนั้น แต่งกายด้วยชุดฟอร์มสำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เธอคือบุคลากรของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ท่าทางทะมัดทะแมง ช่วยชายคนนั้นผู้ซึ่งเป็นคู่ชีวิตของเธอเข็นเตียงที่บรรจุอุปกรณ์ดนตรีไปยังจุดหมายอย่างขมักเขม้น

   ชายคู่ชีวิตของเธอคือ “ สมศักดิ์ สินธวานนท์ ” เจ้าของอุปกรณ์ดนตรีบนรถเข็น ซึ่งเขาถูกร้องขอจากพยาบาลท่านหนึ่งในกลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ให้ไปเล่นดนตรีให้ผู้ป่วยในตึกฟัง ทั้งหอผู้ป่วยหญิงและหอผู้ป่วยชายในช่วงบ่ายวันหนึ่ง หลังจากที่ได้เห็นสมศักดิ์ แสดงเดี่ยวดนตรีในสวนหย่อมที่อยู่ใจกลางโรงพยาบาล ให้ทั้งผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย เรื่อยไปจนถึงบุคลากรของโรงพยาบาล ฟังเพื่อความเพลิดเพลินผ่อนคลาย ในช่วงสายเรื่อยไปจนถึงเที่ยงของเกือบจะทุกวัน

   สมศักดิ์ เลือกเพลงฟังง่ายๆ สบายๆ ไม่อึกทึกมาเล่นในการแสดงวันนี้ เสียงเพลงไม่ดังมากนัก จึงไม่เป็นการรบกวนผู้ป่วยที่ต้องการพักผ่อน แต่ก็รื่นเริงบันเทิงใจไม่น้อย สำหรับผู้ป่วยอีกหลายคนที่ชื่นชอบเสียงเพลง  ผู้ป่วยบางคนที่ขยับกายลำบากก็ยังอุตสาห์พลิกตัวเพื่อชมหน้านักดนตรีและฟังเพลงไปพร้อมกัน และคนเดียวกันนี้ที่ร้องขอเพลงพรานทะเล  เขาส่งเสียงขอเพลงข้ามเตียงผู้ป่วยคนอื่น ๆ อีกหลายเตียงอย่างลืมเกรงใจ

   ผู้ได้ยินเสียงเพลงยามนี้ หากเป็นนักฟังเพลงหรือใครก็ตามอาจคาดคะเนได้ว่า สมศักดิ์ผู้ร้องและเล่นอยู่ในขณะเดียวกันนี้หากมิใช่นักดนตรีอาชีพ ก็อาจจะเป็นครูสอนดนตรี

   คำตอบที่คาดคะเนนั้นถูกต้องเพียงส่วนเดียว

   สมศักดิ์ สินธวานนท์ เติบโตมาในครอบครัวที่สนใจดนตรี ทุกคนเล่นดนตรี สำหรับเขาทุ่มเทให้กับดนตรีมากกว่าพื่น้องคนอื่นๆ ในบ้าน เขาเลือกเรียนดนตรีที่สยามกลการตั้งแต่วัยเด็ก และเมื่อเขาอายุยังมิทันจะครบยี่สิบ เขาก็เข้าเป็นครูสอนดนตรีของโรงเรียนดนตรีสยามกลการตามการทาบทามของโรงเรียน

   แม้ฝีไม้ลายมือทางด้านดนตรีของเขาที่เรียกได้ว่าชั้นครู แต่เขาก็มิได้ประกอบอาชีพทางด้านดนตรีนอกเหนือจากการสอนที่ได้รับการทาบทาม และเมื่อเขาเรียนจบก็เข้าทำงานในบริษัทขายเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่รายหนึ่ง ไต่เต้าขึ้นมาจนกระทั่งเป็นผู้จัดการสาขา

   ประสบการณ์ทางด้านดนตรีของเขานับว่าน่าสนใจ เนื่องจากเคยร่วมเล่นกับนักดนตรีอาชีพที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศหลายครั้งหลายครา อีกทั้งยังเคยเล่นดนตรีร่วมกับนักดนตรีชาวฟิลิปปินส์ที่โรงแรมดุสิตธานีด้วย

   เขาใช้ชีวิตหลังลาออกจากงานประจำด้วยการเปิดร้านอาหารเพื่อสุขภาพ อยู่ที่หน้าโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช  ใช้ชีวิตคู่อยู่กับ “ รุ่งนภา ศรีดอกไม้ ” ผู้ประสานงานโครงการ SHA ของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นผู้ชักชวนเขาไปร่วมกิจกรรมจิตอาสากับทางโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ

   การร่วมกิจกรรมจิตอาสาของเขา ดำเนินการโดยใช้ความสามารถทางดนตรีของตนเอง  สมศักดิ์ เชื่อมั่นในศาสตร์ดนตรีว่า เป็นศาสตร์ที่ช่วยในการบำบัดเยียวยา ทั้งคนปกติธรรมดารวมไปถึงผู้ป่วย เขายืนยันความเชื่อมั่นนี้ว่ามาจากการผ่านชีวิตที่ได้พบปะผู้คนมากหน้าหลายตา รวมทั้งประสบการณ์ชีวิตของตนเอง

   สมศักดิ์เล่าว่า ชีวิตในวัยหนุ่มของเขาค่อนข้างสำมะเลเทเมา ดื่มเหล้าแทบทุกวัน ผลจากพฤติกรรมแย่ ๆ เหล่านั้นส่งผลให้เขาเป็นโรคเบาหวาน ที่มีน้ำตาลในเลือดอยู่ในราว ๒๕๐ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ขึ้นๆ ลงๆ เคยขึ้นถึงกว่า ๗๐๐ ก็มี เป็นเช่นนี้อยู่หลายปี

   “ ผมเป็นแบบนี้มาหลายปี ถ้าเป็นคอื่นป่านนี้น็อคไปแล้ว ... ”

   สมศักดิ์เอ่ย ... เขาบอกว่าที่เขายังยืนหยัดอยู่ได้ไม่ล้มหมอนนอนเสื่อ เพราะเขาเล่น และฟังดนตรี  ทุกๆ ครั้งที่เขาเล่นและฟังดนตรีเป็นช่วงเวลาที่เขามีความสุขมาก จึงเป็นที่มาหนึ่งที่สร้างความเชื่อมั่นว่า ดนตรีสามารถบำบัดและเยียวยาอาการเจ็บป่วยได้ และเป็นที่มาของการเข้าไปเล่นดนตรีให้ผู้คนในโรงพยาบาลได้ฟัง

   สมศักดิ์ เข้าไปเล่นดนตรีในสวนหย่อมของโรงพยาบาลในช่วงสายจนถึงเที่ยงแทบจะทุกวัน  หากเขาไม่ต้องเดินทางไปต่างจังหวัดหรือเข้ากรุงเทพฯ  ร้านขายอาหารของเขาอยู่หน้าโรงพยาบาลมีผู้ดูแลชนิดที่เขาหมดห่วง  เขาจึงให้เวลาเกือบจะทั้งเช้าในการเล่นดนตรีสร้างความรื่นรมย์ให้กับคนทั่วไป  รวมทั้งการเยียวยาสำหรับผู้ต้องการ  ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะป่วยกาย หรือป่วยใจก็ตามที  แน่นอนว่าได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากทั้งจากผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล

   หลังจากเขาเข้าไปใกล้ชิดกับโรงพยาบาล เริ่มจากกิจกรรมจิตอาสาของตัวเองแล้ว ก็มีส่วนรับรู้กิจกรรมจิตอาสาในลักษณะอื่นๆ ภายในโรงพยาบาล  เขาชื่นชมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุเป็นพิเศษ จึงได้นำตัวเองไปสมัครเป็นสมาชิกชมรม เป็นเพราะอายุยังไม่ถึงเกณฑ์เขาจึงได้เป็นสมาชิกวิสามัญ

   กิจกรรมที่เกิดจากความสามารถของสมศักดิ์ คือ การตั้งชมรมดนตรีโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ซึ่งริเริ่มโดยชมรมผู้สูงอายุ กิจกรรมเริ่มจากการเรียนการสอนดนตรี ทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล เขารับสอนดนตรีสากลทุกประเภท เท่าที่มีคนเรียน ตั้งแต่ ร้องเพลง กีตาร์ ไวโอลิน ไปจนถึงสอนอ่านโน้ตเพลง

   การสอนดนตรีสากลเพิ่งเริ่มต้นเมื่อไม่นานนี้ สมศักดิ์ ได้ชักชวนลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นนักศึกษาเทคนิคมาเป็นครูผู้ช่วยสอนด้วย เด็กหนุ่มเหล่านี้ราว ๔ คน มาร่วมเป็นครูผู้ช่วยด้วยจิตอาสาอย่างเต็มอกเต็มใจ เนื่องจากการร้องขอของครูของเขา

   สมศักดิ์พบเด็กคนหนึ่งในกลุ่มนี้ ในระหว่างการมาเยี่ยมญาติซึ่งนอนรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล ในขณะที่เด็กหนุ่มคนนี้มาฟังเพลงที่เขากำลังแสดง เด็กหนุ่มคนนี้มีพื้นฐานทางดนตรีมาบ้าง และได้ขอเป็นลูกศิษย์  ซึ่งเขาก็รับด้วยความเต็มใจ  วันต่อมาเด็กหนุ่มได้ชักชวนเพื่อนๆ อีกสองสามคนมาเรียนดนตรีกับ “ ครูสมศักดิ์ ” ที่ร้านค้าหน้าโรงพยาบาล วันดีคืนดีเด็กหนุ่มเหล่านี้ก็มาร่วมเล่นดนตรีกับเขาในสวนของโรงพยาบาลด้วย

   สมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ดนตรีช่วยบำบัดช่วยเยียวไม่เฉพาะคนเจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้น แต่ยังช่วยเยียวยาให้เป็นคนดีอีกด้วย สมศักดิ์ บอกว่า เด็กหนุ่มที่รับเป็นศิษย์ ก่อนหน้านั้นได้เริ่มถลำเข้าสู่วงจรยาเสพติดแล้ว แต่หลังจากที่มาเรียนดนตรีกับเขา เขาได้ชักชวนเพื่อนๆ ที่กำลังจะถลำเข้าสู่ยาเสพติดได้หลุดจากวงจรนั้นออกมา

   เด็กหนุ่มที่เกือบจะเสียผู้เสียคนกลายมาเป็นคนจิตอาสา ช่วยเหลือสังคม ควบคู่กับการใช้เวลาว่างในการฝึกฝนพัฒนาตนเองทางด้านดนตรีที่เป็นความสนใจของตนเอง เป็นผลพวงจาก “ ดนตรีบำบัด ” นั่นเอง

   และนี่คืออีกหนึ่งเรื่องราวดีๆ จากโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ขอบคุณข้อมูลจาก  :  http://www.gotoknow.org/blog/kiat12/332083

      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #184 เมื่อ: 23 ตุลาคม 2554, 22:04:32 »


อริยสัจ 4 ของ ... ดร.โสรีช์  โพธิแก้ว

โดย : เรื่อง มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ ... ภาพ ฐานิส สุดโต

จาก  http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20111023/415317/อริยสัจ-4-ของ...โสรีช์-โพธิแก้ว.html


คนเราส่วนใหญ่ทุกข์ แต่ไม่รู้ตัวว่าทุกข์ ยิ่งไปกว่านั้นไม่รู้ว่า สาเหตุของความทุกข์นั้นมาจากไหน และจะจัดการกับความทุกข์เหล่านั้นได้อย่างไร

รศ.ดร. โสรีช์ โพธิแก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้นำพุทธศาสตร์จากตะวันออกมาประยุกต์ในสาขาจิตวิทยาตะวันตก จนเกิดเป็นวิชาจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ ได้สร้างลูกศิษย์ออกมาไม่น้อยในการเข้าไปช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้คนในสังคมไทยมาตลอดยี่สิบกว่าปีมานี้ โดยอาศัยหลักอริยสัจสี่ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเมื่อสองพันกว่าปีก่อนมาเป็นหัวใจในการให้คำปรึกษา มีคำตอบ  

แต่กว่าจะพบคำตอบที่ลึกซึ้งที่นำมาเยียวยาผู้คนได้ อาจารย์เองก็ค้นพบด้วยตัวเองก่อน

บทเรียนแรกที่สวนโมกข์

อาจารย์โสรีช์เล่าให้ฟังว่า เมื่อปี พ.ศ. 2529 ลงไปสวนโมกข์ ไปพบท่านอาจารย์พุทธทาส ตอนนั้นความรู้ทางพุทธศาสนาทำให้มองตัวเองอย่างชัดเจนขึ้น

" เมื่อก่อนผมคิดว่า ความรู้ทางพุทธศาสนาอยู่ข้างนอก เรารู้จักมันทางตัวหนังสือ รู้มาก ก็ได้ประโยชน์มาก ท่องกันไป ว่ากันไป ใครจำได้มากก็ได้ประโยชน์มาก ครั้งแรกที่ผมมาหาท่านพุทธทาส ผมเข้าไปกราบท่าน ไปบอกท่านว่า มาถึงแล้วครับ คาดหวังให้ท่านทักเราบ้าง เหมือนกับท่านเป็นเจ้าของบ้านแล้วเราเป็นแขก ปรากฏว่า ท่านไม่ทักผมสักคำ ไปกราบท่านที่หน้ากุฏิ ที่ม้าหิน ผมก็นั่งคอยว่าท่านจะทักเมื่อไหร่ ท่านนั่งเงียบสนิท และตาจ้องออกไปข้างหน้า เหมือนกับไม่มีผมอยู่ในสายตา ช่วงนั้นผมรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ มีความโกรธ ไม่พอใจ ปั่นป่วนพึ่บพับขึ้นมาในใจอย่างเห็นได้ชัด เป็นอย่างนี้ได้ครู่หนึ่ง มันก็มีคำถามผุดขึ้นมาในใจของผมว่า โสรีช์ เอ็งเป็นอะไรน่ะ ตอนนั้นผมเพิ่งเริ่มเห็นอะไรบางประการในใจผมที่เป็นตัวเรียกร้องให้ผู้อื่นสนใจ "

" เดิม ผมรู้สึกว่า ผมเป็นคนอ่อนน้อม ไม่ถือตัวถือตน แต่ที่ไหนได้ วันนั้น ต่อหน้าความเงียบที่หนักแน่นอยู่ต่อหน้าผมของท่านพุทธทาส  ทำให้ผมพบว่า จริงๆ เลย มันมีตัวตนที่เรียกร้องหาความชื่นชมยินดี ให้ความสำคัญอยู่ตลอดเวลา ผมรู้สึกเข้าใจอะไรบางประการขึ้น แล้วผมก็กราบท่าน วันนั้น ท่านเทศนาธรรมเรื่องความเห็นแก่ตัว ให้ลูกศิษย์ที่ผมพาไปด้วยฟังสัก 50 คน ผมเข้าใจแล้ว ที่เรียกว่า วิปัสสนา หรือ ความเห็นแจ้งที่ว่า ทุกข์ คือการกำหนดรู้ อย่างนี้เอง มันเป็นความแน่น จุก ร้อนผ่าวขึ้นมา เมื่อมันเกิดขึ้น เฝ้าดูมัน แล้วมันก็จางหายไปเอง วันนั้น มันเหมือนกับมีตาที่เห็นอะไรชัดเจนขึ้น "

เมื่อถูกถามกลับไปว่า หากวันนั้น ท่านพุทธทาสทักอาจารย์ล่ะ จะเป็นอย่างไร  

" ถ้าท่านทัก ผมคงจะเรียกว่า ยาพิษหวาน แต่ท่านไม่ทัก ทำให้ผมเห็นอะไรบางอย่าง เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาก ในการศึกษาของผมตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ผมเริ่มเข้าใจแล้วว่า เนื้อหาทางพุทธศาสนาอยู่ตรงนี้เอง ทำให้ผมเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าชัดเจนขึ้น เป็นสันทิฐิโก หมายถึง เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ผู้ศึกษาจะเข้าใจด้วยตนเอง เรื่องลึกลับมันอยู่ในตัวเอง มันซ้อนกันอยู่ บางอย่างหยาบ บางอย่างละเอียด บางอย่างเราคิดว่าอยู่ข้างนอก แต่จริงๆ มันอยู่ในตัวเรา สิ่งเหล่านี้ เราต้องค่อยๆ สังเกต และทำความรู้จักมัน "

อาจารย์โสรีช์ เรียนจบปริญญาตรีทางด้านจิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2510 การเรียนจิตวิทยาสมัยนั้น อาจารย์เล่าว่า น่าตื่นตาตื่นใจ เพราะจิตวิทยาทำให้เข้าใจชีวิต การได้พบกับงานของนักจิตวิทยาตะวันตก เช่น ซิกมุนด์ ฟรอยด์  คาร์ล จุง  และอีกหลายท่าน ช่างเป็นนักจิตวิทยารุ่นใหญ่เหลือเกิน

" แต่ผมก็สงสัยเล็กๆ ว่า นักจิตวิทยาไทยมีไหม คุณแม่ผม ที่ไม่ได้เรียนจิตวิทยา เลี้ยงผมด้วยหลักอะไร คำถามเหล่านี้ผุดขึ้นมาตอนเรียนเสมอ พอไปเรียนปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหลักสูตรจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ ก็ตื่นตาตื่นใจกับเทคโนโลยีด้านนี้ทางด้านแบบวัดผลที่ทำการทดลองกับผู้คนประมาณ 1,800 คน ซึ่งเป็นแบบวัดที่น่าเชื่อถือได้ แต่ก็มีคำถามเล็กๆ เสมอ เวลานั่งรถเมล์ผ่านเยาวราช ผมมักคิดเล่นๆ ว่า จิตวิทยาที่เรียนมาจะไปใช้กับอาซิ้ม อาม้าที่กำลังแบกหามที่เขาไปไหว้ศาลเจ้าก็อธิษฐานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ให้การงานค้าขายดีได้อย่างไร ถ้าผมออกแบบวัดผลไปให้อาม้าทำ ผมจะโดนไม้คานตีไหม เพราะอาม้าอาจจะมีคำถามว่าถามไปทำไม แต่ผมก็ไม่ได้ไปแสวงหาคำตอบด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง "

" กระทั่งสอบได้ทุนฟูลไบรท์ ไปเรียนที่ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาเกี่ยวกับการเยียวยารักษาพัฒนาจิตใจของผู้ป่วย ( Ed.D. in Counselor Education ) ในอเมริกาทำให้ผมรู้สึกตัวของตัวเองชัดขึ้น เราแปลกหน้าสำหรับเขา แนวคิดของเขาก็สอดคล้องกับชีวิตเขา เหมือนกับเขาเป็นเจ้าข้าวเจ้าของแนวคิดเหล่านี้ แล้วเราล่ะ มีอะไรไปอวดเขา ผมก็นึกถึงพุทธศาสนานี่แหละ ที่ผมเติบโตมากับสิ่งนี้ บ้านผมอยู่ที่เชียงใหม่ พ่อผมก็เคยบวชจนเป็นเจ้าอาวาสวัด ลาสิกขาออกมาก็แต่งงานกับแม่ ชีวิตก็ใกล้วัด พระสงฆ์ก็แวะมาที่บ้าน เวลาพระมาทีไรก็เกิดความอบอุ่น  พอจะเอาอะไรไปอวดเพื่อนชาวอเมริกันได้บ้าง แต่ตอนนั้น เรารู้ว่า เราไม่รู้อะไรเลย ถ้าจะอธิบายการตักบาตร และการทำบุญวันพระอย่างเดียว ก็ไม่น่าจะหนักแน่นพอที่จะเป็นวิชาการอะไรได้ เลยต้องเริ่มต้นศึกษาพระพุทธศาสนาแล้วตอนนี้ "

ด้วยความที่อาจารย์โสรีช์สนใจพุทธศาสนาอยู่บ้าง เคยอ่านหนังสือ "คู่มือมนุษย์ " ของท่านพุทธทาส และ "พุทธธรรม" ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต )  แล้วก็อ่านเรื่องพุทธศาสนาจากชาวต่างชาติ ตรงนี้ทำให้อาจารย์ยิ่งอึ้งว่า ชาวตะวันตกเขาสนใจพุทธศาสนามาเป็นร้อยปีแล้ว

" มีเล่มหนึ่งชื่อว่า จิตวิทยาทางพุทธศาสนา ( Buddhist Psychology )  เขียนโดย รีด เดวิท ( Rsys Davids ) ว่ากันว่าเป็นบาทหลวงคาทอลิก แล้วก็มาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อจะเข้าใจพระพุทธศาสนาและหาจุดอ่อน ในที่สุดก็ปวารณาตัวเป็นพุทธศาสนิกชนด้วย เพราะแทบจะหาจุดบกพร่องไม่ได้เลย หนังสือเล่มนี้ ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2457 ผมก็ตื่นตะลึงไปกับเขาด้วย พอได้แนวคิดเบื้องต้นสำหรับปริญญาเอกของผมในเรื่อง การนำหลักอริยสัจสี่มาใช้ในกระบวนการรักษาจิตใจ จึงเกิดขึ้นและเป็นไปได้ อาจารย์ที่ดูแลวิทยานิพนธ์ท่านก็ดีมาก ให้กำลังใจ ท่านบอกกับผมว่า ชัดเจนแล้วนี่ว่า ศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อในพระเจ้า แต่พุทธศาสนาเป็นเรื่องของสัจจะ ธรรมชาติ ไม่มีพระเจ้า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกระทำของมนุษย์ อย่างเช่นคำว่า อิทัปปัจจยตา หมายถึง เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี อธิบายทุกอย่างครบถ้วน ต้องมีปัญญาในการเข้าใจในสิ่งที่ปิดกั้นปัญญาที่เราเรียกว่า อวิชชา ซะก่อน แล้วความจริงจะปรากฏ  ทำให้ผมเข้าใจว่า พุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องคิดเอา เดาเอา คาดคะเนเอาไม่ได้ "

" ครั้งหนึ่ง มีนักศึกษาถามผมว่า  ไม่มีตัวตน แล้วนี่คืออะไร เขาก็ชี้มาที่ผม แต่ผมตอบไม่ได้ นี่เป็นคำถามที่ท้าทายมาก  ผมก็ศึกษาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้พบคำตอบที่สวนโมกข์ ต่อหน้าท่านพุทธทาสนี่แหละ "

รากเหง้าของความทุกข์

จากนั้นอาจารย์ก็พัฒนาหลักสูตรการสอนมาเรื่อยๆ วิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษาแนวพุทธ ทำให้นักศึกษาที่จบไปนำไปช่วยเหลือผู้คนได้มาก กระทั่งปี พ.ศ. 2523 คุณแม่ของอาจารย์เสียชีวิต สองปีต่อมาคุณพ่อก็เสียชีวิตอีก

" ช่วงนั้นกระเทือนใจผมอย่างยิ่ง ก็เลยแปลหนังสือของท่านกฤษณมูรติ เรื่อง แห่งความเข้าใจชีวิตและการศึกษาที่แท้ หนังสือเล่มนี้เป็นคล้ายๆ ค้อน ช่วยทุบก้อนหินเรื่องพุทธศาสนาให้เข้าที่ เหมือนการศึกษาพุทธศาสนาของผมที่ผ่านมา รู้ระเกะระกะไม่รวมกัน การแปลหนังสือเล่มนี้ทำให้เนื้อพุทธศาสนาเป็นอันเดียวกัน ยิ่งเมื่อได้พบกับท่านพุทธทาสในเวลาต่อมา ก็ยิ่งทำให้ผมเข้าใจว่า ความเข้าใจเชิงหนังสือ ไม่เหมือนการเข้าใจตนเอง การเข้าใจตนเอง คือกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การค้นพบชีวิตที่แท้จริง "

หลักสูตร จิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ ในระดับปริญญาเอกจึงเกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรง  

" ผมพยายามหาเอกลักษณ์ของการเรียนการสอนในประเด็นนี้ ที่น่าจะศึกษาร่วมกันและนำไปใช้ อย่างน้อยที่สุดก็นำไปใช้กับคนที่ไม่สบายใจได้ เราพยายามไม่ใช้คำผู้ที่มาหาเรา ว่าป่วยเป็นโรคจิตโรคประสาท แต่เราพยายามหาเรื่องที่เขาปั่นป่วนภายในใจ แล้วเดินเข้าไปในใจกับเขา หาต้นตอของโจทย์ ที่ทำให้ไม่สบายใจ ซึ่งเราหาเจอแล้วล่ะ ก็คือ ความยึดมั่น ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นแหละเป็นทุกข์ เป็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นความเศร้า ความเครียด เหล่านี้มีที่มาจากความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ทั้งนั้น "

" สังเกตดู ส่วนใหญ่เรามักจะโกรธคนใกล้ชิดมากกว่าคนไกลตัว โกรธแล้ว บางทีแสดงออกไม่ได้ ความโกรธจะย้อนเข้าไปภายใน พลังงานเริ่มลดลง กลายเป็นความซึมเศร้า ทั้งหมด ก็เพราะมันไม่ได้เป็นไปอย่างใจตน ความคาดหวังคำเดียวทำให้คนไม่มีความสุข ทุกคนอยู่บนความคาดหวัง ถูกโจมตีละลอกแล้วละลอกเล่าของชีวิต แต่ไม่รู้ตัว"

เทคนิค กระบวนการสอนนักศึกษาก็เพื่อให้เรารู้ตัวว่าเรากำลังถูกความคาดหวังจู่โจมแล้วนะ และจะหาทางรู้ทันมันอย่างไร  

อาจารย์โสรีช์ให้โจทย์กับนิสิตนักศึกษาทุกคนก่อนจบไปทำงานว่า จะต้องรู้จักอริยสัจสี่ โดยการพิจารณาตัวเองอย่างต่อเนื่องตลอด 1 ปี

" คือจะต้องรู้จักอริยสัจสี่ที่ตนเอง ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่ไม่ง่าย ผมสังเกต นิสิต มีแนวโน้มการศึกษาที่อยากจะจดจำเนื้อหา ท่องจำ มากกว่าที่จะนำหลักการสำคัญไปพิจารณาตนเอง ดูตนเอง เพื่อตนเอง ที่ให้บันทึกเรื่องนี้ ก็เพราะเรื่องสำคัญที่สุดที่จะช่วยแก้ทุกข์ให้เราได้คือ อริยสัจสี่ ผมยกตัวอย่างวันแล้ววันเล่า ในแง่มุมต่างๆ ตามประสบการณ์ผู้สอนที่จะนำพาไปได้ ยกตัวอย่างอาการความทุกข์ของคนที่เกิดขึ้นจากความคาดหวัง การถูกอวิชชาครอบงำ แต่เข้าใจได้ไม่ยาก ในระดับ  ในขั้นปฏิบัติการ เราให้เขาลงมือเลย เช่นว่า เมื่อมีคนแบกความทุกข์มาหาให้เราช่วยแก้ เราจะต้องรู้สึกร่วมไปกับเขาให้ได้ รับรู้ว่าเขาเป็นอย่างไร โดยเอาตัวเราเข้าเชื่อมกับเขาด้วย ตัวเราในฐานะที่ติดตามโลกของเขาอยู่ ในเรื่องที่เขาเล่า แล้วเราก็เอกซเรย์ หาความคาดหวังที่เขาซ่อนอยู่ มันเหมือนกับว่า เราต้องคิดค้นหลักการบางประการโครงสร้างของกองขยะ "

" เราต้องมีการฟังเทปของผู้มาให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ที่จุฬาฯ เรามีให้นักศึกษาฝึกงานประมาณ 1 ปี ให้เขาทำงานเป็นทีม บางทีมต้องเข้าไปฝึกฟังผู้ต้องขัง ร่วมกันค้นหาเหตุแห่งความทุกข์ของเขา ไปจนถึงทำให้เขาค้นพบทางออกด้วยตนเอง หน้าที่ของเราคือ พาเขาเดินไปด้วยกันกับเรา เพราะถ้าเห็นเหตุของปัญหา คือความคาดหวัง แล้วไม่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ยากแล้ว เพราะทุกคนต้องกลับมาอยู่กับความจริง ยอมรับความจริง และอยู่กับความจริงก็จะค่อยๆ พบทางออกเอง และจะเริ่มมีความมั่นใจในตัวเอง รู้ว่าชีวิตของตนเองมีค่า "

สำหรับอาจารย์โสรีช์เอง ก็เจอโจทย์ในเรื่องความคาดหวังกับลูกศิษย์ไม่น้อย  

" ผมพบว่า ไม่มีใครสักคนที่สามารถจะเท่าความคาดหวังของเราได้ ผมเลยเห็นว่า เมื่อเราปลูกต้นไม้ เอาใจใส่รดน้ำ พรวนดินแล้วให้เขาเติบโตของเขาเอง เรามีหน้าที่ทำสวน ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของต้นไม้ ไม่กลัวว่าจะต้องประสบกับอะไรในชีวิต เพราะทุกคนก็ต้องเจอ ความเคราะห์ร้าย สมหวัง ผิดหวังสลับกันไปเสมอ "

นี่คือ กุญแจดอกสำคัญที่จะไขปริศนาของชีวิต ที่เราต่างมีอยู่แล้ว  แต่มักจะมองหากุญแจที่อยู่ข้างนอกเสมอ

Tags : รศ.ดร. โสรีช์ โพธิแก้ว


      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #185 เมื่อ: 26 เมษายน 2556, 21:13:02 »

ขอโทษค่ะ ขอแซวเพื่อนก่อนอ่าน "อริยสัจ ๔ ของพุทธเจ้า" มิใช่หรือ แต่เดี๋ยวอ่านแล้วคงเข้าใจว่าชื่อเรื่องนี้เป็นมาอย่างไร ทำไมจึงเป็น อริยสัจ 4 ของ ... ดร.โสรีช์  โพธิแก้ว

อ้างถึง
ข้อความของ Jiab16 เมื่อ 23 ตุลาคม 2554, 22:04:32

อริยสัจ 4 ของ ... ดร.โสรีช์  โพธิแก้ว

โดย : เรื่อง มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ ... ภาพ ฐานิส สุดโต

จาก  http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20111023/415317/อริยสัจ-4-ของ...โสรีช์-โพธิแก้ว.html


คนเราส่วนใหญ่ทุกข์ แต่ไม่รู้ตัวว่าทุกข์ ยิ่งไปกว่านั้นไม่รู้ว่า สาเหตุของความทุกข์นั้นมาจากไหน และจะจัดการกับความทุกข์เหล่านั้นได้อย่างไร

รศ.ดร. โสรีช์ โพธิแก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้นำพุทธศาสตร์จากตะวันออกมาประยุกต์ในสาขาจิตวิทยาตะวันตก จนเกิดเป็นวิชาจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ ได้สร้างลูกศิษย์ออกมาไม่น้อยในการเข้าไปช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้คนในสังคมไทยมาตลอดยี่สิบกว่าปีมานี้ โดยอาศัยหลักอริยสัจสี่ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเมื่อสองพันกว่าปีก่อนมาเป็นหัวใจในการให้คำปรึกษา มีคำตอบ 

แต่กว่าจะพบคำตอบที่ลึกซึ้งที่นำมาเยียวยาผู้คนได้ อาจารย์เองก็ค้นพบด้วยตัวเองก่อน

บทเรียนแรกที่สวนโมกข์

อาจารย์โสรีช์เล่าให้ฟังว่า เมื่อปี พ.ศ. 2529 ลงไปสวนโมกข์ ไปพบท่านอาจารย์พุทธทาส ตอนนั้นความรู้ทางพุทธศาสนาทำให้มองตัวเองอย่างชัดเจนขึ้น

" เมื่อก่อนผมคิดว่า ความรู้ทางพุทธศาสนาอยู่ข้างนอก เรารู้จักมันทางตัวหนังสือ รู้มาก ก็ได้ประโยชน์มาก ท่องกันไป ว่ากันไป ใครจำได้มากก็ได้ประโยชน์มาก ครั้งแรกที่ผมมาหาท่านพุทธทาส ผมเข้าไปกราบท่าน ไปบอกท่านว่า มาถึงแล้วครับ คาดหวังให้ท่านทักเราบ้าง เหมือนกับท่านเป็นเจ้าของบ้านแล้วเราเป็นแขก ปรากฏว่า ท่านไม่ทักผมสักคำ ไปกราบท่านที่หน้ากุฏิ ที่ม้าหิน ผมก็นั่งคอยว่าท่านจะทักเมื่อไหร่ ท่านนั่งเงียบสนิท และตาจ้องออกไปข้างหน้า เหมือนกับไม่มีผมอยู่ในสายตา ช่วงนั้นผมรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ มีความโกรธ ไม่พอใจ ปั่นป่วนพึ่บพับขึ้นมาในใจอย่างเห็นได้ชัด เป็นอย่างนี้ได้ครู่หนึ่ง มันก็มีคำถามผุดขึ้นมาในใจของผมว่า โสรีช์ เอ็งเป็นอะไรน่ะ ตอนนั้นผมเพิ่งเริ่มเห็นอะไรบางประการในใจผมที่เป็นตัวเรียกร้องให้ผู้อื่นสนใจ "

" เดิม ผมรู้สึกว่า ผมเป็นคนอ่อนน้อม ไม่ถือตัวถือตน แต่ที่ไหนได้ วันนั้น ต่อหน้าความเงียบที่หนักแน่นอยู่ต่อหน้าผมของท่านพุทธทาส  ทำให้ผมพบว่า จริงๆ เลย มันมีตัวตนที่เรียกร้องหาความชื่นชมยินดี ให้ความสำคัญอยู่ตลอดเวลา ผมรู้สึกเข้าใจอะไรบางประการขึ้น แล้วผมก็กราบท่าน วันนั้น ท่านเทศนาธรรมเรื่องความเห็นแก่ตัว ให้ลูกศิษย์ที่ผมพาไปด้วยฟังสัก 50 คน ผมเข้าใจแล้ว ที่เรียกว่า วิปัสสนา หรือ ความเห็นแจ้งที่ว่า ทุกข์ คือการกำหนดรู้ อย่างนี้เอง มันเป็นความแน่น จุก ร้อนผ่าวขึ้นมา เมื่อมันเกิดขึ้น เฝ้าดูมัน แล้วมันก็จางหายไปเอง วันนั้น มันเหมือนกับมีตาที่เห็นอะไรชัดเจนขึ้น "

เมื่อถูกถามกลับไปว่า หากวันนั้น ท่านพุทธทาสทักอาจารย์ล่ะ จะเป็นอย่างไร 

" ถ้าท่านทัก ผมคงจะเรียกว่า ยาพิษหวาน แต่ท่านไม่ทัก ทำให้ผมเห็นอะไรบางอย่าง เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาก ในการศึกษาของผมตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ผมเริ่มเข้าใจแล้วว่า เนื้อหาทางพุทธศาสนาอยู่ตรงนี้เอง ทำให้ผมเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าชัดเจนขึ้น เป็นสันทิฐิโก หมายถึง เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ผู้ศึกษาจะเข้าใจด้วยตนเอง เรื่องลึกลับมันอยู่ในตัวเอง มันซ้อนกันอยู่ บางอย่างหยาบ บางอย่างละเอียด บางอย่างเราคิดว่าอยู่ข้างนอก แต่จริงๆ มันอยู่ในตัวเรา สิ่งเหล่านี้ เราต้องค่อยๆ สังเกต และทำความรู้จักมัน "

อาจารย์โสรีช์ เรียนจบปริญญาตรีทางด้านจิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2510 การเรียนจิตวิทยาสมัยนั้น อาจารย์เล่าว่า น่าตื่นตาตื่นใจ เพราะจิตวิทยาทำให้เข้าใจชีวิต การได้พบกับงานของนักจิตวิทยาตะวันตก เช่น ซิกมุนด์ ฟรอยด์  คาร์ล จุง  และอีกหลายท่าน ช่างเป็นนักจิตวิทยารุ่นใหญ่เหลือเกิน

" แต่ผมก็สงสัยเล็กๆ ว่า นักจิตวิทยาไทยมีไหม คุณแม่ผม ที่ไม่ได้เรียนจิตวิทยา เลี้ยงผมด้วยหลักอะไร คำถามเหล่านี้ผุดขึ้นมาตอนเรียนเสมอ พอไปเรียนปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหลักสูตรจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ ก็ตื่นตาตื่นใจกับเทคโนโลยีด้านนี้ทางด้านแบบวัดผลที่ทำการทดลองกับผู้คนประมาณ 1,800 คน ซึ่งเป็นแบบวัดที่น่าเชื่อถือได้ แต่ก็มีคำถามเล็กๆ เสมอ เวลานั่งรถเมล์ผ่านเยาวราช ผมมักคิดเล่นๆ ว่า จิตวิทยาที่เรียนมาจะไปใช้กับอาซิ้ม อาม้าที่กำลังแบกหามที่เขาไปไหว้ศาลเจ้าก็อธิษฐานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ให้การงานค้าขายดีได้อย่างไร ถ้าผมออกแบบวัดผลไปให้อาม้าทำ ผมจะโดนไม้คานตีไหม เพราะอาม้าอาจจะมีคำถามว่าถามไปทำไม แต่ผมก็ไม่ได้ไปแสวงหาคำตอบด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง "

" กระทั่งสอบได้ทุนฟูลไบรท์ ไปเรียนที่ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาเกี่ยวกับการเยียวยารักษาพัฒนาจิตใจของผู้ป่วย ( Ed.D. in Counselor Education ) ในอเมริกาทำให้ผมรู้สึกตัวของตัวเองชัดขึ้น เราแปลกหน้าสำหรับเขา แนวคิดของเขาก็สอดคล้องกับชีวิตเขา เหมือนกับเขาเป็นเจ้าข้าวเจ้าของแนวคิดเหล่านี้ แล้วเราล่ะ มีอะไรไปอวดเขา ผมก็นึกถึงพุทธศาสนานี่แหละ ที่ผมเติบโตมากับสิ่งนี้ บ้านผมอยู่ที่เชียงใหม่ พ่อผมก็เคยบวชจนเป็นเจ้าอาวาสวัด ลาสิกขาออกมาก็แต่งงานกับแม่ ชีวิตก็ใกล้วัด พระสงฆ์ก็แวะมาที่บ้าน เวลาพระมาทีไรก็เกิดความอบอุ่น  พอจะเอาอะไรไปอวดเพื่อนชาวอเมริกันได้บ้าง แต่ตอนนั้น เรารู้ว่า เราไม่รู้อะไรเลย ถ้าจะอธิบายการตักบาตร และการทำบุญวันพระอย่างเดียว ก็ไม่น่าจะหนักแน่นพอที่จะเป็นวิชาการอะไรได้ เลยต้องเริ่มต้นศึกษาพระพุทธศาสนาแล้วตอนนี้ "

ด้วยความที่อาจารย์โสรีช์สนใจพุทธศาสนาอยู่บ้าง เคยอ่านหนังสือ "คู่มือมนุษย์ " ของท่านพุทธทาส และ "พุทธธรรม" ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต )  แล้วก็อ่านเรื่องพุทธศาสนาจากชาวต่างชาติ ตรงนี้ทำให้อาจารย์ยิ่งอึ้งว่า ชาวตะวันตกเขาสนใจพุทธศาสนามาเป็นร้อยปีแล้ว

" มีเล่มหนึ่งชื่อว่า จิตวิทยาทางพุทธศาสนา ( Buddhist Psychology )  เขียนโดย รีด เดวิท ( Rsys Davids ) ว่ากันว่าเป็นบาทหลวงคาทอลิก แล้วก็มาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อจะเข้าใจพระพุทธศาสนาและหาจุดอ่อน ในที่สุดก็ปวารณาตัวเป็นพุทธศาสนิกชนด้วย เพราะแทบจะหาจุดบกพร่องไม่ได้เลย หนังสือเล่มนี้ ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2457 ผมก็ตื่นตะลึงไปกับเขาด้วย พอได้แนวคิดเบื้องต้นสำหรับปริญญาเอกของผมในเรื่อง การนำหลักอริยสัจสี่มาใช้ในกระบวนการรักษาจิตใจ จึงเกิดขึ้นและเป็นไปได้ อาจารย์ที่ดูแลวิทยานิพนธ์ท่านก็ดีมาก ให้กำลังใจ ท่านบอกกับผมว่า ชัดเจนแล้วนี่ว่า ศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อในพระเจ้า แต่พุทธศาสนาเป็นเรื่องของสัจจะ ธรรมชาติ ไม่มีพระเจ้า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกระทำของมนุษย์ อย่างเช่นคำว่า อิทัปปัจจยตา หมายถึง เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี อธิบายทุกอย่างครบถ้วน ต้องมีปัญญาในการเข้าใจในสิ่งที่ปิดกั้นปัญญาที่เราเรียกว่า อวิชชา ซะก่อน แล้วความจริงจะปรากฏ  ทำให้ผมเข้าใจว่า พุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องคิดเอา เดาเอา คาดคะเนเอาไม่ได้ "

" ครั้งหนึ่ง มีนักศึกษาถามผมว่า  ไม่มีตัวตน แล้วนี่คืออะไร เขาก็ชี้มาที่ผม แต่ผมตอบไม่ได้ นี่เป็นคำถามที่ท้าทายมาก  ผมก็ศึกษาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้พบคำตอบที่สวนโมกข์ ต่อหน้าท่านพุทธทาสนี่แหละ "

รากเหง้าของความทุกข์

จากนั้นอาจารย์ก็พัฒนาหลักสูตรการสอนมาเรื่อยๆ วิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษาแนวพุทธ ทำให้นักศึกษาที่จบไปนำไปช่วยเหลือผู้คนได้มาก กระทั่งปี พ.ศ. 2523 คุณแม่ของอาจารย์เสียชีวิต สองปีต่อมาคุณพ่อก็เสียชีวิตอีก

" ช่วงนั้นกระเทือนใจผมอย่างยิ่ง ก็เลยแปลหนังสือของท่านกฤษณมูรติ เรื่อง แห่งความเข้าใจชีวิตและการศึกษาที่แท้ หนังสือเล่มนี้เป็นคล้ายๆ ค้อน ช่วยทุบก้อนหินเรื่องพุทธศาสนาให้เข้าที่ เหมือนการศึกษาพุทธศาสนาของผมที่ผ่านมา รู้ระเกะระกะไม่รวมกัน การแปลหนังสือเล่มนี้ทำให้เนื้อพุทธศาสนาเป็นอันเดียวกัน ยิ่งเมื่อได้พบกับท่านพุทธทาสในเวลาต่อมา ก็ยิ่งทำให้ผมเข้าใจว่า ความเข้าใจเชิงหนังสือ ไม่เหมือนการเข้าใจตนเอง การเข้าใจตนเอง คือกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การค้นพบชีวิตที่แท้จริง "

หลักสูตร จิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ ในระดับปริญญาเอกจึงเกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรง 

" ผมพยายามหาเอกลักษณ์ของการเรียนการสอนในประเด็นนี้ ที่น่าจะศึกษาร่วมกันและนำไปใช้ อย่างน้อยที่สุดก็นำไปใช้กับคนที่ไม่สบายใจได้ เราพยายามไม่ใช้คำผู้ที่มาหาเรา ว่าป่วยเป็นโรคจิตโรคประสาท แต่เราพยายามหาเรื่องที่เขาปั่นป่วนภายในใจ แล้วเดินเข้าไปในใจกับเขา หาต้นตอของโจทย์ ที่ทำให้ไม่สบายใจ ซึ่งเราหาเจอแล้วล่ะ ก็คือ ความยึดมั่น ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นแหละเป็นทุกข์ เป็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นความเศร้า ความเครียด เหล่านี้มีที่มาจากความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ทั้งนั้น "

" สังเกตดู ส่วนใหญ่เรามักจะโกรธคนใกล้ชิดมากกว่าคนไกลตัว โกรธแล้ว บางทีแสดงออกไม่ได้ ความโกรธจะย้อนเข้าไปภายใน พลังงานเริ่มลดลง กลายเป็นความซึมเศร้า ทั้งหมด ก็เพราะมันไม่ได้เป็นไปอย่างใจตน ความคาดหวังคำเดียวทำให้คนไม่มีความสุข ทุกคนอยู่บนความคาดหวัง ถูกโจมตีละลอกแล้วละลอกเล่าของชีวิต แต่ไม่รู้ตัว"

เทคนิค กระบวนการสอนนักศึกษาก็เพื่อให้เรารู้ตัวว่าเรากำลังถูกความคาดหวังจู่โจมแล้วนะ และจะหาทางรู้ทันมันอย่างไร 

อาจารย์โสรีช์ให้โจทย์กับนิสิตนักศึกษาทุกคนก่อนจบไปทำงานว่า จะต้องรู้จักอริยสัจสี่ โดยการพิจารณาตัวเองอย่างต่อเนื่องตลอด 1 ปี

" คือจะต้องรู้จักอริยสัจสี่ที่ตนเอง ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่ไม่ง่าย ผมสังเกต นิสิต มีแนวโน้มการศึกษาที่อยากจะจดจำเนื้อหา ท่องจำ มากกว่าที่จะนำหลักการสำคัญไปพิจารณาตนเอง ดูตนเอง เพื่อตนเอง ที่ให้บันทึกเรื่องนี้ ก็เพราะเรื่องสำคัญที่สุดที่จะช่วยแก้ทุกข์ให้เราได้คือ อริยสัจสี่ ผมยกตัวอย่างวันแล้ววันเล่า ในแง่มุมต่างๆ ตามประสบการณ์ผู้สอนที่จะนำพาไปได้ ยกตัวอย่างอาการความทุกข์ของคนที่เกิดขึ้นจากความคาดหวัง การถูกอวิชชาครอบงำ แต่เข้าใจได้ไม่ยาก ในระดับ  ในขั้นปฏิบัติการ เราให้เขาลงมือเลย เช่นว่า เมื่อมีคนแบกความทุกข์มาหาให้เราช่วยแก้ เราจะต้องรู้สึกร่วมไปกับเขาให้ได้ รับรู้ว่าเขาเป็นอย่างไร โดยเอาตัวเราเข้าเชื่อมกับเขาด้วย ตัวเราในฐานะที่ติดตามโลกของเขาอยู่ ในเรื่องที่เขาเล่า แล้วเราก็เอกซเรย์ หาความคาดหวังที่เขาซ่อนอยู่ มันเหมือนกับว่า เราต้องคิดค้นหลักการบางประการโครงสร้างของกองขยะ "

" เราต้องมีการฟังเทปของผู้มาให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ที่จุฬาฯ เรามีให้นักศึกษาฝึกงานประมาณ 1 ปี ให้เขาทำงานเป็นทีม บางทีมต้องเข้าไปฝึกฟังผู้ต้องขัง ร่วมกันค้นหาเหตุแห่งความทุกข์ของเขา ไปจนถึงทำให้เขาค้นพบทางออกด้วยตนเอง หน้าที่ของเราคือ พาเขาเดินไปด้วยกันกับเรา เพราะถ้าเห็นเหตุของปัญหา คือความคาดหวัง แล้วไม่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ยากแล้ว เพราะทุกคนต้องกลับมาอยู่กับความจริง ยอมรับความจริง และอยู่กับความจริงก็จะค่อยๆ พบทางออกเอง และจะเริ่มมีความมั่นใจในตัวเอง รู้ว่าชีวิตของตนเองมีค่า "

สำหรับอาจารย์โสรีช์เอง ก็เจอโจทย์ในเรื่องความคาดหวังกับลูกศิษย์ไม่น้อย 

" ผมพบว่า ไม่มีใครสักคนที่สามารถจะเท่าความคาดหวังของเราได้ ผมเลยเห็นว่า เมื่อเราปลูกต้นไม้ เอาใจใส่รดน้ำ พรวนดินแล้วให้เขาเติบโตของเขาเอง เรามีหน้าที่ทำสวน ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของต้นไม้ ไม่กลัวว่าจะต้องประสบกับอะไรในชีวิต เพราะทุกคนก็ต้องเจอ ความเคราะห์ร้าย สมหวัง ผิดหวังสลับกันไปเสมอ "

นี่คือ กุญแจดอกสำคัญที่จะไขปริศนาของชีวิต ที่เราต่างมีอยู่แล้ว  แต่มักจะมองหากุญแจที่อยู่ข้างนอกเสมอ

Tags : รศ.ดร. โสรีช์ โพธิแก้ว



      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #186 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2556, 12:04:07 »


เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

อ้างถึง
ข้อความของ NickkY37 เมื่อ 11 พฤษภาคม 2556, 17:11:53
อ่านคำคมพวกนี้  ก็ช่วยให้เรามีสติมากขึ้นน่ะค่ะ   สะใจจัง
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
  หน้า: 1 ... 6 7 [8]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><