20 เมษายน 2567, 16:39:43
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "การประเมินผล การศึกษาไทย"  (อ่าน 12285 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2552, 07:49:33 »


                        

การประเมิน ด้วยข้อสอบปรนัย เลือกข้อถูก เป็นการประเมินความรู้

แต่การประเมินด้วยข้อสอบอัตนัย เป็นการประเมินการจินตนาการ


เป็นการฝึกให้สามารถนำ ความรู้ ที่ได้รับรู้ นำมา จินตนาการ เพื่อแก้ปัญหาได้

จินตนาการ สำคัญกว่า ความรู้

                              

นำมาจาก รายการ รู้รักษ์แผ่นดิน โดย วิทยากร พันเอก หลักแก้ว อัมโรสถ

ทางช่อง 5 เวลา 5.30 น.วันพุธ ที่่ 18 พ.ย.

ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

นำมาบอกพวกเรา เพื่อให้รู้ว่า

ควรประเมินการเรียน ด้วยข้อสอบ อัตนัย แทน ปรนัย

พวกเราคิดว่าอย่างไรกันบ้าง

 gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
TAE2540
Full Member
**


ไม่มีคำว่าสายเสียแล้ว สำหรับความรักที่แท้จริง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2540
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 507

เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2552, 20:49:37 »

เห็นด้วยครับกับการประเมินการเรียนรุ้ โดยออกข้อสอบอัตนัย

ทุกวันนี้ผมก็ออกข้อสอบแบบอัตนัย เป็นแบบเขียนตอบ อธิบาย วิเคราะห์ อ่านของเด็กๆ แล้วก็มีทั้งสนุกๆ เศร้าๆ กับคำตอบ และการเขียนของเด็กๆ ก็ต้องค่อยๆ ให้เด็กได้ฝึกฝนกันต่อไป

แต่การเขียนตอบแบบอัตนัย ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการตรวจ การให้คะแนนครับ คงไม่ต้องอธิบายว่าเป็นข้อจำกัดยังไง

ถ้าคนตรวจคนเดียว ก็ดีครับ ถ้าเป็นทีมก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนตรวจ มีเกณฑ์ที่แน่นอน

แต่ถ้าเป็นการทดสอบระดับชาติ ยากครับที่จะหาความยุติธรรมกับคำตอบของเด็กได้

ยังไงก็แล้วแต่ ทำได้เท่าที่ทำครับ
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2552, 06:19:10 »

อ้างถึง
ข้อความของ โอ้ลั่นทม เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2552, 20:49:37
เห็นด้วยครับกับการประเมินการเรียนรุ้ โดยออกข้อสอบอัตนัย

ทุกวันนี้ผมก็ออกข้อสอบแบบอัตนัย เป็นแบบเขียนตอบ อธิบาย วิเคราะห์ อ่านของเด็กๆ แล้วก็มีทั้งสนุกๆ เศร้าๆ กับคำตอบ และการเขียนของเด็กๆ ก็ต้องค่อยๆ ให้เด็กได้ฝึกฝนกันต่อไป

แต่การเขียนตอบแบบอัตนัย ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการตรวจ การให้คะแนนครับ คงไม่ต้องอธิบายว่าเป็นข้อจำกัดยังไง

ถ้าคนตรวจคนเดียว ก็ดีครับ ถ้าเป็นทีมก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนตรวจ มีเกณฑ์ที่แน่นอน

แต่ถ้าเป็นการทดสอบระดับชาติ ยากครับที่จะหาความยุติธรรมกับคำตอบของเด็กได้

ยังไงก็แล้วแต่ ทำได้เท่าที่ทำครับ

                                                                                            โอ้ลั่นทม


ข้อจำกัดในการตรวจข้อสอบอัตนัย นี้ ถ้ากำหนดเกณฑ์การตรวจให้ชัดเจน

ให้ตรวจแบบ วิชาเรขาคณิต ที่ต้องอ้างอิง ทฤษฎีบท,สัจพจน์,นิยาม ฯลฯ

        

เพื่อพิสูจน์ คำตอบของผู้ตอบ

ถ้้าพิสูจน์คำตอบ โดยอ้างอิงความรู้ได้ดี ก่อน ซตพ.(สิ่งซึ่งต้องพิสูจน์)

ก็ควรได้คะแนนดีด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นคำตอบ เพียงคำตอบเดียวเท่านั้นที่ได้คะแนน


 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #3 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2552, 17:59:03 »


ระบบคิดเด็กไทย

ข่าวสดรายวัน วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6931

เลาะเลียบคลองผดุงฯ

ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com

องค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) เป็นองค์กรหนึ่งที่มีความสำคัญระดับโลก สมาชิกประกอบด้วยประเทศในยุโรปและเอเชียบางประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

OECD ได้ทำโครงการประเมินผลการจัดศึกษาด้านต่างๆ ของประเทศสมาชิก ภายใต้ชื่อ



โครงการ Programme for International Student Assessment หรือ PISA เพื่ออยากรู้ว่า นักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับของประเทศสมาชิกได้รับการเตรียมพร้อมทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเป็นประชาชนที่มีคุณภาพในอนาคต มากน้อยเพียงใด

การประเมินไม่ใช่เอาเนื้อหาในหลักสูตรที่เรียนอยู่มาประเมิน แต่จะดูถึงความสัมพันธ์ของวิชาที่เป็นหัวใจและถือว่าเป็นวิชาตัวแทนของการวางฐานรากชีวิตในอนาคตเด็ก ได้แก่ การอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเพิ่มเติมด้านทักษะที่ต้องใช้ในกระบวนการการเรียนรู้ คือการแก้ปัญหานั้น อยู่ในระดับใด



ผลของการศึกษาโครงการนี้ จะชี้วัดได้ว่า ระบบการจัดการศึกษาดีพอที่จะวางพื้นฐานให้แก่ประชาชนในอนาคตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลง และมีจิตสำนึกร่วมสร้างสังคมได้หรือไม่ เพียงใด

คำถามส่วนใหญ่เป็นคำถามเปิด จะพิจารณาถึงการใช้เหตุผลของการตอบ คำตอบที่ไม่เหมือนกันอาจได้คะแนนเต็มได้เช่นกัน ถ้าหากเหตุผลที่ให้สอดคล้องหรือให้คำอธิบายได้สมเหตุสมผล

นี่คือกรอบความคิดใหม่ของการวัดและประเมินผล ที่ต้องการใช้เป็นตัวบอกประสิทธิภาพของการศึกษา วิธีการเขียนและตรวจข้อสอบ ไม่เหมือนวิธีปฏิบัติอยู่โดยทั่วไป ที่ข้อสอบต้องมีคำตอบเดียว

ประเทศไทยแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของ OECD แต่ก็มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการนี้ และผลการประเมินนักเรียนไทยล่าสุด สรุปออกมาว่า

การเขียนตอบหรือให้คำอธิบายยาวๆ ของนักเรียนไทยและสิ่งใดที่ต้องให้ตีความ การคิดวิเคราะห์ และสะท้อนความคิดหรือปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อข้อความที่ได้อ่านนั้น แสดงผล ออกมาได้ไม่ดีนัก

สะท้อนถึงการเกาะจิกติดตามประเมินผลการศึกษาที่ สมศ.ทำอยู่เวลานี้ หลงทิศหลงทางไปหรือเปล่า

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

นำข่าวการประเมินผลการศึกษาระดับสากลมาให้พวกเราได้รับรู้ว่า

ในระดับสากลนั้นมุ่งเน้นการศึกษาที่จะให้นำความรู้มาใช้

แก้ปัญหาได้ โดยการวัด การจินตนา ด้วยการออกข้่อสอบอัตนัย แทน

ปรนัย ที่วัดความรู้เพียงการจำ กาผิดกาถูก

ความรู้ข้างต้นนี้ ถือเป็นด้านที่หนึ่งของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพื่อแก้ไขสิ่งยาก ๆ

เพื่อให้เกิดการ รวมตัวกัน เป็นวัฒนธรรม ทางการประเมินผลการศึกษา เป็นด้านที่สอง

และ กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้การประเมินผลการเรียนต้องใช้ข้อสอบอัตนัย เป็นหลัก

จัดเป็นด้านที่สาม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แก้ไขสิ่งยากๆ ่ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี
 

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdOakl3TVRFMU1nPT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBd09TMHhNUzB5TUE9PQ==

 gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #4 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2552, 15:39:26 »


2552 เส้นทางสู่การปฏิรูปและคุณภาพ 2553

วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11600 มติชนรายวัน



โดย สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                      ธรรมชาติของพรรคการเมือง รัฐมนตรีในปีแรกของการบริหารงานในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในระยะแรกกว่าจะปรับตัว เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร ผู้บริหารระดับสูง 5 แท่งต้องใช้เวลาไม่น้อย

                      อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ และนางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ คนนอกวงการศึกษาก็สามารถพิสูจน์ตัวเองได้เร็ว ช่วงเวลาสั้นๆ ก็สามารถสร้างผลงานที่ชัดเจน การระดมความคิดเห็นเพื่อเตรียมการเรื่องคุณภาพการศึกษามาถูกทางมากขึ้น รอบคอบตัดสินใจได้ดีในหลายประเด็นปัญหา และ การผลักดันการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เริ่มขยับเขยื้อน เป็นต้น

                      อย่างไรก็ดี ในรอบปี พ.ศ.2552 มีหลายผลงาน เหตุการณ์ปัญหาอุปสรรคที่ควรหยิบมาทบทวน สานต่อ และสร้างรอยต่อเชื่อมโยงปี 2553 ดังต่อไปนี้

1. ปี พ.ศ.2552 ผลงานที่ดีเด่น เป็นที่ยอมรับและรัฐบาลได้นำไปอ้างตลอดเวลาคือ นโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ และ โครงการ TUTOR CHANNEL ที่เปิดโอกาสให้เด็กชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเรียนผ่านโทรทัศน์ NBT กับติวเตอร์ชื่อดัง ครูพี่แนน อาจารย์อุ๊ อาจารย์ปิง และคนอื่นๆ แม้นจะมีเสียงคัดค้านบ้าง ไม่เห็นด้วย แต่ในภาพรวม 80-90% ถือว่าอยู่ในระดับพึงพอใจค่อนข้างมาก
                     นอกจากนั้น มีการเตรียมการเรื่องยกระดับคุณภาพการศึกษาทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูปการศึกษา วาระแห่งชาติด้านการอ่าน โรงเรียน 3 D การกระจายอำนาจการศึกษาลงสู่จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน ด้วยการอนุมัติแผนการศึกษา 76 จังหวัด โรงเรียน ดี เด่น ดัง ระดับสากล อำเภอ และตำบล มีการกำหนดตัวชี้วัดด้านคุณภาพ 7 ตัวชี้วัด ทั้งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เกณฑ์มาตรฐานของ สมศ. เป็นต้น
                     รัฐมนตรีทั้ง 3 ท่าน ยังทุ่มเทกับโจทย์ ปัญหาที่นายกรัฐมนตรีแสดงความเป็นห่วงและต้องการคำตอบที่ชัดเจนจนนำไปสู่การตั้งประเด็นคำถาม 5 ข้อทั้งในเรื่อง
      การลดเวลาเรียนให้น้อยลง ทำกิจกรรมมากขึ้น
      การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา (แอดมิสชั่นส์) ที่จะทำอย่างไรให้เด็กเครียดกดดันน้อยลง ลดการกวดวิชา
      การส่งเสริมให้ผู้เรียนนิยมเรียนอาชีวะและสายสามัญในสัดส่วน 50 : 50
      การส่งเสริมระบบการผลิตครู โดยเน้นคนดีคนเก่งมาเรียนครูมากขึ้น
      มาตรฐานของข้อสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) เป็นต้น
                    โจทย์ 5 ข้อ มีการระดมความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและเป็นเสมือนพิมพ์เขียวของการดำเนินงานรอยต่อของปีการศึกษา 2553 และปีต่อๆ ไป
                     กล่าวได้ว่า ในปี พ.ศ.2552 ศธ.ลดความกดดันลงไปมาก การเมืองฝ่ายค้านเข้ามาแตะต้อง ยุ่มย่าม ตรวจสอบไม่มากนัก รัฐมนตรี 3 ท่านมีเวลาทำงานเต็มที่ นักวิชาการเอาใจช่วยให้ฟันฝ่าแก้ปัญหาทางการศึกษาให้ได้ การดำเนินงานในรอบปี 2552 จึงถือได้ว่าสอบผ่านระดับดี สร้างผลงานดีกว่ากระทรวงอื่นๆ และรัฐมนตรีก็ไม่มีปัญหามากนักในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม คอร์รัปชั่น ไม่โปร่งใส การปรับคณะรัฐมนตรีที่กำลังจะเกิดขึ้นจึงไม่จำเป็นสำหรับกระทรวงนี้

2. ในเวลาเดียวกัน ปัญหาใหญ่ อุปสรรคที่สื่อมวลชนนำมาตีแผ่อย่างยาวนาน แต่ไม่ได้รับความร่วมมือและการแก้ไขมากเท่าที่ควร

อันดับแรกคือ โครงการให้สมาชิก ช.พ.ค.กู้เงินโครงการ 5 ของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่มีผลสรุปออกมาชัดเจนถึงผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้อง แต่โยนกลับไปกลับมาจนในขณะนี้แทบไม่มีอะไรคืบหน้า

อันดับสองคือ เรื่อง แอดมิสชั่นส์กลาง GAT และ PAT และระบบรับตรง โจทย์ข้อนี้นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญต่อคอขวดการศึกษาไทยทั้งระบบ ในข้อเท็จจริงคือ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย ปัญหาอื่นๆ ยังมีอีกหลายด้าน เช่น การวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งระดับสูง ระดับผู้อำนวยการเขตพื้นที่ฯ ผู้แทนครูในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) การจ่ายเงินตอบแทนผู้อ่านเพื่อขอเป็นครูผู้ชำนาญการ การปล่อยให้มีการหาผลประโยชน์ "ครูกินครู" ในปี พ.ศ.2553 ข่าวคราวเรื่องการทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็งจะเป็นข่าวใหญ่และต้องระมัดระวังเป็นที่สุด

3. การปฏิรูปการศึกษารอบแรกที่ผ่านมาในยุคผูกขาดโดยกลุ่มบุคคลได้ทิ้งร่องรอยผลงาน ความเสียหายและความล้มเหลวไว้มากมาย นับแต่
                    ออกแบบเชิงโครงสร้าง ระบบวัฒนธรรมองค์กรมาจากทฤษฎีตะวันตกแทบทั้งสิ้น ใหญ่โตเทอะทะอุ้ยอ้าย รวมศูนย์ใช้ทรัพยากร งบประมาณสูงมากแต่เชิงคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ที่ตกกับผู้เรียนต่ำลงทุกปี
                    การเพิ่มเงินเดือน ค่าวิทยฐานะครู ทำให้ครูมุ่งทำเอกสาร งานวิจัย ละเลยทิ้งเด็กจนด้อยคุณภาพทั้งประเทศ สภาพปัจจุบันแทบไม่มีใครแตะต้อง แต่กลับเพิกเฉยเดินหน้าปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ด้วยวิธีการที่เบา ประนีประนอม และ
                    ขาดการรื้อปรับเชื่อมโยงกับครั้งแรกโดยสิ้นเชิง คือมาเน้นเรื่อง ครูยุคใหม่ โรงเรียนยุคใหม่ การบริหารจัดการยุคใหม่ การจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 ชุด ในระดับนโยบาย และการขับเคลื่อนมีวาระ 5 ปี เป็นต้น
                    เราแทบไม่เรียนรู้ถูกผิด จุดแข็งจุดอ่อน เรื่องที่ควรแก้ไขปรับปรุง การเดินหน้าทศวรรษการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เราอาจหลงทาง ปฏิรูปยิ่งแย่ลงเหมือนคราวแรกจึงน่าจะคิดรอบคอบกว่านี้ถ้าเป็นไปได้
                    อยากให้รัฐบาลเปิดกว้างรับฟังความคิดที่หลากหลายมากกว่านี้ ข้อมูลบางชุดดีแต่ต้องฟังหูไว้หู สภาพกลุ่มผูกขาดการศึกษา 4-5 คน ยังมีอิทธิพลในวงการการศึกษาทุกระดับเพราะเป็นทั้งอดีตรัฐมนตรี นักมาตรฐานการศึกษา ผู้บริหารระดับสูงที่ล้วนมีชื่อเสียง นักล็อบบี้ เข้าหาศูนย์อำนาจเร็ว ตัวอย่างที่ชัดเจนเรื่องนี้ ได้แก่ การจัดตั้งสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติที่มีความพยายามทุกทางแต่ไม่สำเร็จเป็นอุทาหรณ์ที่เห็นได้เมื่อเร็วๆ นี้แม้นจะดูเป็นความตั้งใจที่ดีก็ตามที

                    รัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านน่าจะมีบทบาททั้งการสร้างผลงาน แก้ปัญหาอุปสรรคเชื่อมรอยต่อในปี พ.ศ.2552 และ พ.ศ.2553 ให้ไปด้วยกันได้ ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาได้เตรียมตัว เรียนรู้งาน สร้างผลงานเชิงการเมืองได้สำเร็จแล้ว 2-3 เรื่อง

                    ในปี พ.ศ.2553 จึงไม่ใช่เรื่องประชานิยมการศึกษาต่อไป แต่เป็นฝีมือล้วนๆ ในเรื่องคุณภาพการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาที่ ศธ.ล้วนไม่ถนัดยิ่งในรอบ 100 กว่าปีที่ผ่านมา


 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

พี่สมพงษ์ จิตระดับ รุ่นพี่ซีมะโด่งของผม และ รหัส 15 ของพวกเรา นำมาจาก

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01edu01131252&sectionid=0107&day=2009-12-13

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #5 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552, 20:16:36 »


    

วารินทร์ พูนศิริวงศ์
ประธานกรรมการ หนังสือพิมพ์แนวหน้า


          ขึ้นอยู่กับการศึกษา และคุณภาพของตัวเอง (วารินทร์ พูนศิริวงศ์)

           การเมืองคือ การรวมตัวของบุคคลที่ควรจะมีความซื่อสัตย์สุจริตและความรู้ พร้อมด้วยประสบการณ์ต่างๆ ที่มีคุณต่อสังคม เพื่อเข้าไปบริหารประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ โดยเฉพาะความสะดวก ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตของประชาชน และสำคัญที่สุดคือ การให้การศึกษาต่อเยาวชน อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นบุคคลที่ประกอบไปด้วยความรู้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยปราศจากความหลงตัว ลืมตัว ที่จะประพฤติชั่ว หาแต่ผลประโยชน์ใส่ตนเองและพรรคพวก เมื่อเขาได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งจะเป็นเจ้าของประเทศต่อจากบรรพบุรุษในช่วงต่อไป

           จึงไม่ใช่ทุกคนจะเป็นนักการเมืองที่ดีได้

          ถ้าเยาวชนไทยทั้งหลายได้รับการศึกษาที่มีหลักสูตร หลักเกณฑ์ที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีชีวิตอยู่ในสภาพของสังคมที่ดีดังกล่าวแล้ว ทั้งมีความพร้อมไปด้วยความซื่อสัตย์ต่อสังคมที่ประกอบไปด้วยขนบประเพณีที่ดี งดงาม

          พวกเขาเหล่านี้แหละที่จะเป็นผู้มีโอกาสบุกเบิก สร้างสภาพการเมืองที่ดีต่อสังคมได้ต่อไปในอนาคต โดยไม่คิดถึงแต่ตัวเองเป็นสิ่งแรก แล้วลูกหลานเหลนเราก็มีโอกาสที่จะภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ไปด้วยวัฒนธรรมที่ดีและงดงามอย่างเป็นรูปธรรม

          มิใช่เป็นแต่นามธรรมหลอกกันอยู่อย่างทุกวันนี้ จากพวกโจรการเมืองผู้ไร้มนุษยธรรม มีแต่ใจที่เป็นโจรซึ่งมีอยู่มากมายในขณะนี้ ได้ใช้โอกาสในฐานะที่เป็นนักการเมืองโจร ปอกลอกปล้นทรัพย์สมบัติของชาติไปอย่างไม่มีความละอายใจแม้แต่น้อย ซ้ำยังลอยหน้าลอยตาอยู่ในสังคมจอมปลอม ขึ้นชั้นไฮโซอย่างหน้าด้านหน้าหนาเกลื่อนไปหมดบนจอทีวีแทบทุกคืนวัน

          ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ระบบการศึกษาของประเทศไทย ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้มีศักยภาพที่จะสอนให้คนมีความรู้ที่แท้จริง ให้โอกาสนักเรียนที่จะสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถ มีความคิดเห็นส่วนตัวกับตำราและการสอนของครูอาจารย์ที่มุ่งสอน
         ด้วยสติปัญญา ไม่ใช่สอนตามตัวหนังสือที่พิมพ์อยู่ในตำราเท่านั้น หรือสอนจากความทรงจำของเรื่องไร้สาระ ที่ท่องจำมาถ่ายทอดสู่นักเรียน ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้นกับการเรียนแต่อย่างใด

          คุณภาพเด็กไทยที่จบจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยเวลานี้ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นอย่างมากมาย เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์เวลามาสมัครงาน ของเด็กที่จบจากวิทยาลัยต่างจังหวัด พบว่า มีความรู้น้อยมาก โดยเฉพาะความรู้ทั่วไปหรือความรู้รอบตัว แม้แต่ภาษาอังกฤษง่ายๆ ก็ยังไม่เข้าใจ การใช้ภาษาก็พิมพ์สะกดตัวผิดมากอย่างน่ากลัว!

         แล้วเรายังหวังที่จะมีนักการเมืองที่มีคุณภาพและไม่โกงกินในอนาคตได้อย่างไร ถ้าหลักสูตรของการศึกษาของประเทศไทย ยังย่ำอยู่กับที่ ตราบเท่าทุกวันนี้!!

วันที่ 15/12/2009

นำมาจาก

http://www.naewna.com/news.asp?ID=191482

 gek gek gek

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Ron Samyan
Cmadong พันธุ์แท้
****


ล้อมวงเข้ามา จะเล่าให้ฟัง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU 32 ( Cologne )
คณะ: Science ( Physics )
กระทู้: 2,666

เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553, 10:16:56 »

กระทู้นี้ ดีนะครับ
อยากมาร่วมแจมด้วย

แต่อยากหาอีกสักกระทู้ที่ว่าด้วย
ความเท่าเทียมทางการศึกษาของเด็กไทยในชนบทและในเมือง
      บันทึกการเข้า
บ่าวหน่อ เมืองพลาญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2540
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 490

เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553, 11:15:57 »

เห็นด้วยกับพี่รอน ครับ
      บันทึกการเข้า

RCU80 จงเจริญ
Ron Samyan
Cmadong พันธุ์แท้
****


ล้อมวงเข้ามา จะเล่าให้ฟัง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU 32 ( Cologne )
คณะ: Science ( Physics )
กระทู้: 2,666

เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553, 12:47:38 »

อย่างเช่น โรงเรียนในตัวอำเภอ จะมีงบประมาณนั่น ประมาณนี่ มากมาย
คุณภาพการศึกษาก็ดีกว่า

แต่พอห่างตัวอำเภอออกไป  งบประมาณก็น้อย ขาดแคลนบุคลากร
ทั้งที่ เป็นการศึกษาพื้นฐานภาคบังคับ
แต่การจัดสรรงบประมาณ ไม่เท่าเทียมกัน
คุณภาพการศึกษา ก็ต่างกัน...

กลายเป็นว่า..ถ้าผมเกิดในชนบท ก็ถือเสียเปรียบทางด้านการศึกษา
ที่รัฐจัดให้เสียแล้ว
แล้วอย่างนี้ สิทธิที่ประชาชนที่ได้รับในชนบทก็ไม่เท่าเทียมกับคนในเมือง..นะซิ

ปัญหานี้ เห็นมาตั้งแต่เด็กจนโต
และก็เป็นข้ออ้างมาตลอดว่า เรามีปัญหาเรื่องการศึกษาของคนที่อยู่ในชนบท
ก็รัฐจัดให้เขาอย่างนั้น..นี่...
กลายเป็นว่าเด็กในชนบทจะมีโอกาสคือ พ่อแม่ มีตังค์หน่อย แล้วมีโอกาสได้เข้ามาเรียนในเมือง


      บันทึกการเข้า
บ่าวหน่อ เมืองพลาญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2540
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 490

เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553, 11:21:03 »

เราจะทำยังไงดีน๊อ เพื่อให้การศึกษาไทย เท่าเทียมกัน เลยขออาสาวิเคราะห์ตามหลักการนะครับ
หลักการระบบแก้ปัญหาทางอุตสาหกรรม ง่ายๆ 4 M (man machine material method) และสามารถประยุกต์เข้าสู่ระบบการศึกษาไทย
Man = ครูผู้สอน
Machine = สื่อการสอน รวมทั้ง Infrastructure
Material = เด็กนักเรียน
Method = วิธีการสอน

ผมจะพูดปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันให้ก่อนนะครับ แล้วค่อยแก้ปัญหา ปัญหานี้อาจจะไม่ใช่ว่าจะเหมือนกันทุกที่ แต่ต้องบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาให้ จะได้พัฒนาและปิดช่องโหว่ ผมเลยขอยกตัวอย่างที่ผมประสบมาบ้านผมก็แล้วกัน
Man = ครูผู้สอนหรือบุคคลากรทางการศึกษา
   ไม่มีครูผู้สอน หรือขาดแคลนครูผู้สอน
   งานเยอะเกินไป
   ไม่มีการกำหนด spec ครูผู้สอน
   ครูผู้สอน สอนแบบตามหลักสูตรเกินไป ไม่ได้สอนเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
   ครูเงินเดือนน้อย ต้องขวนขวาย
   สังคมครูชนบท ต้องเด่นต้องโก้ เลยสร้างภาระ เพื่อสร้างฐานะตัวเอง
   มีระบบศักดินาในระบบราชการเกินไป


(ช่วยเติมหน่อยครับ)
   
   
Machine = สื่อการสอน รวมทั้ง Infrastructure
   ปัจจุบันนี้มีแค่ หนังสือ ชอล์ค และกระดานดำ
   ข้อมูลใน internet ยากที่จะทำการเข้าใจ
   เมืองไทยเมืองร้อน เด็กคิดไม่ออกเมื่อเจออากาศร้อน
   
(ช่วยเติมหน่อยครับ)

Material = เด็กนักเรียน
   เด็กนักเรียนชอบความสะบาย อยากเล่นตามวัยของเขา
   นักเรียนมีสิ่งเร้าภายนอกมากเกินไป ทำให้เสียสมาธิในการเรียน
   ปัญหาสังคม
   เด็กไม่สนใจเรียน
   เด็กนักเรียนถูกยัดเยียดให้เรียนรู้มากๆก่อน เพราะเด็กตัดสินใจไม่ได้ว่าโตขึ้นจะเป็นอะไร เลยต้องเอาให้เยอะไว้ก่อน แล้วค่อนตัดออกตอนมหาวิทยาลัย
   เด็ก ตจว มองไม่เห็นตัวอย่างทางความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมที่ดี ความหลากหลายทางอาชีพมีน้อย

(ช่วยเติมหน่อยครับ)

Method = วิธีการสอน
   แผนการสอนที่ใช้ เมื่อสิบปีที่แล้ว ตอนนี้ยังใช้อยู่หรือเปล่า
   หลักศูตรและโครงสร้างหลักสูตร เพื่อให้เด็กเรียนรู้
   วิธีการสอนยังเป็นวิธีเดิมๆ ขาดนวัตกรรมใหม่ๆ หรือรูปแบบการสอนใหม่
   เนื้อหาหลักสูตรแน่นเกินไป เด็กไม่มีเวลาคิด เพราะการสอนของไทยเป็นแบบป้อน

(ช่วยเติมหน่อยครับ)

บางหัวข้อ เป็นที่บางแห่งนะครับ รวมๆๆมา เลยดูเหมือนการศึกษาไทยช่างเลวร้ายเหลือเกิน
      บันทึกการเข้า

RCU80 จงเจริญ
Ron Samyan
Cmadong พันธุ์แท้
****


ล้อมวงเข้ามา จะเล่าให้ฟัง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU 32 ( Cologne )
คณะ: Science ( Physics )
กระทู้: 2,666

เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553, 11:37:36 »

วิเคราะห์ ได้ตรงใจพี่เลยนะครับ...เป็นอย่างที่น้องว่านั่นละ
ถ้าเป็นโรงงานอุตสาหกรรม...เหนื่อยกันแน่ครับ
ไม่ว่าจะใช้  4M   ANONA  DOE  หรือแม้แต่ 6 Sigma..ตายอย่างเขียดครับ

เห็นไหมละครับ..ว่าการศึกษาบ้านเรามีปัญหาเยอะครับ
ทางออกของการแก้ไข..ก็เห็นมีจัดสัมนากันบ่อยนะครับ

แต่ผมว่าปัญหา มันถูกมองมาจากข้างบน แล้วแก้ปัญหาแบบนั่งเทียน
แต่ถ้ามองปัญหาจากด้านล่างขึ้นไป  จะเห็นชัดครับ

หรืออย่างในโรงงานอุตสาหกรรม ถ้ามัวนั่งแก้ปัญหาในห้องประชุม ...เดี้ยงครับ
ต้องลงเข้าไปเก็บข้อมูลในไลน์การผลิตครับ..ถึงจะเข้าใจปัญหาที่แท้จริงครับ
      บันทึกการเข้า
บ่าวหน่อ เมืองพลาญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2540
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 490

เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553, 12:06:54 »

เอาไงดีพี่รอน หรือเราจะเสนอไปเรื่อยๆ เพื่อให้เห็นแก่นแท้
      บันทึกการเข้า

RCU80 จงเจริญ
Ron Samyan
Cmadong พันธุ์แท้
****


ล้อมวงเข้ามา จะเล่าให้ฟัง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU 32 ( Cologne )
คณะ: Science ( Physics )
กระทู้: 2,666

เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553, 12:19:07 »

พี่มองว่า... อย่างนี้นะครับ
เวบบอร์ดของเราก็เป็นเด็กจุฬาฯ เป็นผู้มีความรู้และผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย หลากหลายสาขาอาชีพ
หากเรามองเห็นปัญหาเรื่องใด เรื่องหนึ่ง
ช่วยกันเสนอความคิด วิจารณ์ ในสิ่งที่เราเห็น...เหมือนๆกับว่าเรากำลังจัดสัมนาวิชาการผ่านเวบบอร์ด

หากความคิดไหนดีๆ ก่อประโยชน์ที่สร้างสรรค์ขึ้นมา
อย่างน้อยๆ คงจะมีผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจ ในจุฬาฯของเรา
นำเรื่องต่างๆเหล่านี้ ไปศึกษาและทบทวน

หลายๆเรื่องครับ ไม่ใช่เรื่องการศึกษาเรื่องเดียว
ระดับชาวจุฬาฯแล้ว...คิดอะไรที่สร้างสรรค์สังคมได้อีกตั้งมากมายครับ



      บันทึกการเข้า
บ่าวหน่อ เมืองพลาญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2540
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 490

เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553, 14:06:01 »

อ้างถึง
ข้อความของ เจษฎา เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2553, 13:02:33
ลำปลายมาศโมเดล ไปถึงไหนแล้ว ใครรู้บ้างครับ


มี Model นี้ด้วยเหรอครับ เห็นมีแต่"อาจสามารถโมเดล"
      บันทึกการเข้า

RCU80 จงเจริญ
Ron Samyan
Cmadong พันธุ์แท้
****


ล้อมวงเข้ามา จะเล่าให้ฟัง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU 32 ( Cologne )
คณะ: Science ( Physics )
กระทู้: 2,666

เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553, 14:51:59 »

นั่นซิ ไม่มีนี่..เพื่อนเจษ
ส่วนอาจสามารถโมเดล ...  บ่าวหน่อ เมืองพลาญ  หนุ่มบึงพลาญชัย คงรู้จักดีแน่

      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #15 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2553, 09:11:45 »


ขอขอบคุณเวบแคนนอทอินโฟ 1 กรกฏาคม 2553 ที่ีเอื้อเฟื้อข่าว
http://cannot.info/feed/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99
 


ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

ปรับวิธีสอนสร้างเด็กไทยคิดเป็น หลังพบคะแนนสอบโอเน็ต ความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะ
ได้คะแนนต่ำซึ่งเป็นภาพสะท้อนของเด็กทั้งประเทศว่ายังขาดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์

สมศ.ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ 2

สถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ 9 ประเภท ได้แก่

1.ร.ร.ส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์,           2.ร.ร.ในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้,
3.ร.ร.พระปริยัติธรรมฯ,                                    4. ร.ร.ส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านกีฬา,
5.ร.ร.นานาชาติ,                                                                6.ร.ร.ศึกษาสงเคราะห์,
7.ร.ร.เฉพาะความพิการ,                                                  8.ร.ร.ตำรวจตระเวนชายแดน,
9.ศูนย์การศึกษาฯนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ซึ่งภาพรวมสถานศึกษาในกลุ่มนี้ได้รับการรับรองร้อยละ 80 ขึ้นไป ถือว่าค่อนข้างดี

ยกเว้น

มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และมีทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ซึ่งเชื่อมโยงกับคะแนนสอบโอเน็ต

มาตรฐาน 4 ความสามารถคิดวิเคราะห์จะได้คะแนนต่ำซึ่งเป็นภาพสะท้อนของเด็กทั้งประเทศว่า
ยังขาดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ซึ่งคงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่

ส่วนเกณฑ์มาตรฐานอื่นๆ จะมีการปรับให้เหมาะสมกับประเภทของสถานศึกษาพิเศษมากขึ้น
ในการประเมินรอบ 3 ต่อไป.
 
ที่มา : www.thairath.co.th
วันที่ 01 Jul 2010 - 05:15

 win win win

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX



 การประเมินสถานศึกษาตามข่าว คือ Check ซึ่งอยู่ใน 1 ใน 4 ของวงจรคุณภาพ ของเดมมิงส์ PDCA

ประเทศเรากำลังมุ่งเน้นปฏิรูปประเทศใหม่ ให้เป็นประเทศคุณภาพ

ประเทศคุณภาพมีวงจรคุณภาพ เป็นแนวทาง

การวางแผน Plan จากข้อมูลโดยรอบด้าน

การทำตามแผน Do ตามแผนทุกประการ อย่างไม่ออกนอกแผน

การประเมิน Check มีคณะกรรมการตรวจสอบภายในและภายนอกมาตรวจว่าทำตามแผนทุกประการ

การแก้ไข Act เพื่อให้เข้าสู่แผนที่ต้องการ เมื่อพบปัญหา ก็กลับมาเริ่มต้นแก้ไขใหม่ ให้วงจรหมุนต่อไปได้

เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ไม่หยุดนิ่ง

ตัวอย่าง ที่ผมทำงานอยู่ ที่ ร.พ.พนมสารคาม ได้รับการประเมินเป็น ร.พ.คุณภาพแล้ว

และ ทำ ชา SHA : Sustainable Hospital Accreditation การรักษาคุณภาพอย่างยั่งยืน

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4376.0.html

กรรมการตรวจสอบทั้งภายใน และ ภายนอก ไม่ว่ามาตรวจสอบเมื่อไร จะคงคุณภาพตลอดกาล

 win win win

กระทรวงสาธารณสุข ต้องการให้ทุก ร.พ.ที่เปิดดำเนินการ จะต้องผ่านการพัฒนาและประเมิน

จนมีใบรับรอง ร.พ.คุณภาพประกาศ ให้ผู้ใช้บริการได้มั่นใจ

ถ้าไม่ได้ใบรับรอง ต้องแก้ไขให้ได้ มิฉะนั้นจะถูกสั่งปิด เพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการ

win win win

  
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><