กวีการเมือง

<< < (2/4) > >>

seree_60:
บทกวีอื่นๆ​ในหนังสือ ใบไม้​ที่หาย​ไป

สานทราย

ตรงรอยต่อสีขาวเส้นยาวเหยียด
ทรายละเอียดพบสายแดดแผดรังสี
ระยับไหวในละอองทองธาตรี
ลามสุรีย์สุดระยะทะเลทราย

คนสัญจรอ่อนล้า กร้านกว่ากร้าน
เดิน​โดยสารเวลาหาจุดหมาย
​ความหวังตรงเส้นขาว ยาว, ท้าทาย
อาจละลายหลอมร้อนก่อนถึงมัน

แล้ว​สีเขียวแสนงามยามร้อนจัด
ปรากฏชัด, ธารใสเหมือนในฝัน
คนใกล้ตายตะกายวิ่งหาสิ่งนั้น​
ภาพอาถรรพณ์พลันดับ​ไป​กับตา

ทะเลทรายรูปขวานกร้านลมแดด
วนในแวดวงเก่า-เขลา, ไร้ค่า
ผู้แสวงหวั่นไหวไกลเกินคว้า
มี​แต่ล้ารอตายรอสายธาร

มิถุนายน ๒๕๑๖

Intania๑๖:


จิระนันท์ พิตรปรีชา ไปชมการวาดภาพ ณ เขาดิน วนา ถ่ายร่วมกับ ศิลปิน 3 ท่าน เมื่อ 19 พย. 2552

seree_60:



วันนี้ ขอเสนอ บทเพลง ของคาราวาน และคนแต่งคือ มงคล อุทก สมาชิกคนหนึ่งของวงคาราวาน

  เนื้อหา น่าจะทันสมัย ที่สท้อนให้เห็น สภาพสังคมในปัจจุบัน

--------------------------------------------------------------------------------

                    มารครองเมือง

คำร้อง-ทำนอง         มงคล  อุทก

      G
อยู่กลางไพรมันไร้เงินตรา   อยู่กลางนาข้าวปลาไม่ได้ทำ
        D                 G 
ฝนฟ้าแล้งทุ่งแดงเป็นไฟ    เหลียวมองทางไหนเมืองไทยช่างเหมือนกัน

ข้าวปลูกทำพันธุ์อดกลั้นต้องใช้กิน    มันไม่มีกินหนี้สินเต็มตัว
            D                         G
อดกันแท้หนอข้าวโพดปอก็แห้งตาย  การพนันมากหลายโจรผู้ร้ายก็มากมี

ประสากินอยู่กับโคลน        หม่นหมองมองไปก็หน้าดำ
       Em           G
เป็นอยู่อย่างนี้ประจำ         คนสร้างคนทำถูกย่ำยีด้วยความจน

ตกระกำทนช้ำมานาน        รัฐบาลไม่เคยเหลียวแล
         D                 G
ได้แต่ร้องว่าให้สามัคคีกัน    แต่ปล่อยให้ใครนั้นมาฆ่าฟันแต่ประชาชน

ชอบหลอกชอบลวงทวงถามก็บิดเบือน  ชอบลวงชอบเลื่อนทั้งเดือนทั้งปี
               D            G
เก็บดองเอาไว้ใครใครก็รู้ดี    พอหมดหนทางที่จะหนีปลุกผีขึ้นมาปราบ

โลกหมุนก้าวไป                 เมืองไทยกำลังจะก้าวตาม
                                             Am         G
สังคมที่แสนงาม                จักเกิดทั่วแผ่นดินไทย

จะอดจะกลืนทนฝืนอยู่ทำไม  จะต้องเข้าใจว่าใครเป็นตัวมาร
           D                   G
มาเถิดพี่น้องร่ำร้องกันอยู่นาน  มาชูมือขึ้นประสานโค่นหมู่มารที่ครองเมือง

seree_60:





ขอบฟ้าขลิบทอง

          มิ่งมิตร---

เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่นำรื่น     

ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน

ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม

           ที่จะร่ำเพลงเกี่ยวโลมเรียวข้าว

ที่จะยิ้มกับดาวพราวผสม

ที่จะเหม่อมองหญ้าน้ำตาพรม

ที่จะขมขื่นลึกโลกหมึกมน

            ที่จะแล่นเริงเล่นเช่นหงส์ร่อน

ที่จะถอนใจทอดกับยอดสน

ที่จะหว่านสุขไว้กลางใจคน

ที่จะทนทุกข์เข้มเต็มหัวใจ

             ที่จะเกลาทางกู้สู่คนยาก

ที่จะจากผมนิ่มปิ้มเส้นไหม

ที่จะหาญผสานท้านัยน์ตาใคร

ที่จะให้สิ่งสิ้นเธอจินต์จง

              ที่จะอยู่เพื่อคนที่เธอรัก

ที่จะหักพาลแพรกแหลกเป็นผง

ที่จะมุ่งจุดหมายปรายทะนง

ที่จะคงธรรมเที่ยงเคียงโลกา

              เพื่อโค้งเคียวเรียวเดือนและเพื่อนโพ้น

เพื่อไผ่โอนพลิ้วพ้อล้อภูผา

เพื่อเรืองข้าวพราวแพร้วทั่วแนวนา

เพื่อขอบฟ้ขลิบทองรองอรุณ

              (2495)

 

รู้จักบทกวีนี้มานานหลายปีแล้ว 

มักจะคิดถึงบทกวีนี้เกือบทุกครั้ง

เวลารู้สึกท้อแท้ หมดเเรงกาย และแรงใจ

มันเหมือนเป็นสิ่งที่ฝังรากลึกอยู่ในจิต

เวลาคิดถึงบทกวีนี้มักจะต้องท่องออกมา

เปล่งเสียงของตัวเองให้ตัวของเราเองได้ยินเสมอ
[/color]

seree_60:
อุชเชนี คือ เจ้าของบทกวี ขอบฟ้าขลิบทอง ที่ได้นำมาเสนอ ข้างบนนี้

มารู้จักกับเธอนะครับ
ชื่อจริง:ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา

ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา หรือ อุชเชนี เกิดในปี พ.ศ. 2462 ที่กรุงเทพมหานคร
สมรสกับหม่อมหลวงจิตรสาน ชุมสาย ณ อยุธยา พ.ศ. 2536
เรียนหนังสือที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟ คอนแวนต์ จบชั้นมัธยม 8 ทางภาษาฝรั่งเศส เมื่ออายุ 16 ปี
และเรียนซ้ำมัธยม 8 ทางภาษาอังกฤษ
 เรียนมหาวิทยาลัยที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 จบปริญญาโทเกียรตินิยม ภาษาฝรั่งเศส พ.ศ. 2488 และได้ทุนไปศึกษาต่อที่ปารีส 1 ปี

เริ่มเขียนกลอนตั้งแต่เข้าเรียนจุฬาฯ โดยมีรุ่นพี่ตั้งนามปากกาให้ว่า “อุชเชนี”. พ.ศ. 2489
 เริ่มเขียนกลอนสั้น ๆ “มะลิแรกแย้ม” ลงพิมพ์ในหนังสือ “บ้าน- กับโรงเรียน” ในนาม “มลิสด”.
 พ.ศ. 2491 เปลี่ยนแนวการแต่งจากรักเป็นเรื่องของคนทุกข์ยากคือ “ใต้- โค้งสะพาน”
 ลงในหนังสือ “การเมือง”. พ.ศ. 2499 มีการรวมพิมพ์เป็นเล่มระหว่าง “อุชเชนี” และ “นิด นรารักษ์” ชื่อ “ขอบฟ้าขลิบทอง”
 บอกเล่าเรื่องราวเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดี โดยเฉพาะเคียงความรู้สึกของชนชั้นกลาง ที่เห็นคุณค่าของชนชั้นที่ต่ำกว่า
 ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ระหว่างความรวยและความจน

กลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมรสกับหม่อมหลวงจิตรสาน ชุมสาย ณ อยุธยา พ.ศ. 2536

ระหว่างศึกษาที่ฝรั่งเศส ได้อ่านหนังสือวรรณคดีชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศสจำนวนมาก
 ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดที่จะสร้างสรรค์งานที่มีค่าต่อสังคม
 เมื่อกลับมาเป็นอาจารย์มีโอกาสได้ติดตามนายแพทย์และบาทหลวงเข้าไปทำงานที่แหล่งเสื่อมโทรม
 และมีจิตสำนึกแบบชาวคาทอลิกที่เคร่งครัดว่าควรจะต้องทำอะไรเพื่อคนจน
 ทำให้เธอเขียนบทกวีที่สะท้อนภาพสังคมในเชิงมนุษยธรรม

ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พร้อมกับ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ในปี พ.ศ. 2536


หนังสือเรื่อง ขอบฟ้าขลิบทอง เป็นหนังสือที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นงานวรรณกรรมที่น่าอ่าน
 มีคุณค่าทางศิลปวรรณกรรม ครบถ้วนตามแนวทางของวรรณกรรมโลกหรือวรรณกรรมสากล
มีเนื้อหาสาระที่แสดงออกถึงความริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยให้ผู้อ่านมีทัศนะต่อชีวิตและต่อโลกกว้างขึ้น
 ได้รับความรู้ ความคิดอ่าน ความบันเทิงทางศิลปะวัฒนธรรม ปรากฏแจ้งใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน



นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว