19 เมษายน 2567, 23:36:29
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "สิงห์อมควันไอคิวต่ำ-สูบจัดยิ่งฉลาดน้อยลง" ข่าวจาก นสพ.  (อ่าน 7371 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 14:28:46 »

สิงห์อมควันไอคิวต่ำ-สูบจัดยิ่งฉลาดน้อยลง




เคยไปทานข้าวกับพวกน้องๆซีมะโด่งหลายท่าน เมื่อเดือน พย. 2552 ที่ผ่านมา พอทานข้าวเสร็จ น้องบางท่านก็ออกมาข้างนอกมาสูบบุหรี่กัน ด้วยความเป็นห่วง แต่ก็ไม่กล้าตักเตือนใดๆ เพราะก็เป็นผู้ใหญ่กันแล้ว หลายๆคนก็มีการงานที่ดีกว่ารุ่นพี่ๆซะอีก อยากจะหาบทความดีๆมาฝากให้น้องๆได้อ่าน เผื่อจะได้เปลี่ยนใจ เลิกสูบบุหรี่ จะได้มีชีวิตที่ยืนยาว สามารถที่จะประโยชน์ให้กับครอบครัว และประเทศชาติได้อีกมาก

เคยประสบเรื่องราว กับพ่อตาของเพื่อนสนิทกัน แกสูบบุรี่จัดตั้งแต่หนุ่มจนแก่  ต่อมาก็เป็นโรคถุงลมโป่งพอง (Pulmonary Emphysema) เจ็บทรมานมาก ไอเป็นเลือด เสียชีวิตเมื่อตอนอายุได้ 65 ปี
ชาวอาเมเนี่ยน ที่อาศัยอยู่ในคอนโดเดียวกันที่แอลเอ อยู่ห้องถัดกันไป เพิ่งจะปลดเกษียณได้ไม่นาน (ที่เมกา full retirement 65 ปี) ก็สูบบุหรี่จัดคนหนึ่ง ชาวอเมเนี่ยน เป็นชนชาติที่ถูกรัสเซียยึดครองมาก่อน เพิ่งจะได้เอกราชไม่นาน อพยพมาอยู่เมกากันมาก คนไทยจะเรียกว่า แขกขาว แต่นับถือศาสนาคริสต์ ผู้ชายอเมเนี่ยน 90% จะสูบบุหรี่  คนข้างห้องอายุได้ราวๆ 67 ปี สูบมาต้ังแต่หนุ่ม ก็เป็นมะเร็งที่ปอด ไปฉายแสง ทำคีโม ได้แค่ 3 เดือน ก็เสียชีวิต แกเจ็บทรมาณมาก บางคืนแกนอนไม่หลับ นอนได้แต่ 2-3 ชม.  ต้องออกมายืนเกาะรั้ว สูดอากาศข้างนอก และสูบบุหรี่ไปด้วย เห็นแกแล้ว น่าสงสาร ตอนนี้ก็พ้นทุกข์ไปแล้ว

บังเอิญไปอ่านพบบทความเรื่องนี้เข้า เลยอยากเอามาให้พี่น้องซีมะโด่งได้อ่านกัน

เอเจนซี – งานวิจัยจากอิสราเอลระบุสิงห์อมควันไอคิวต่ำกว่าคนไม่สูบบุหรี่ ที่สำคัญยิ่งสูบจัดเท่าไหร่ ความเฉลียวฉลาดยิ่งน้อยลง
ดร.มาร์ก ไวเซอร์ และนักวิจัยจากศูนย์การแพทย์ชีบาในเทล แฮสโฮเมอร์ อิสราเอล พบว่าชายหนุ่มที่สูบบุหรี่วันละหนึ่งซองเป็นอย่างน้อย มีระดับไอคิวต่ำกว่าคนไม่สูบบุหรี่เฉลี่ย 7.5%

“หนุ่มสาวที่มีระดับสติปัญญาต่ำ อาจเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับโปรแกรมป้องกันการสูบบุหรี่” ทีมนักวิจัยยิวสรุปไว้ในวารสารแอ็ดดิกชัน
ไวเซอร์ตั้งข้อสังเกตว่า แม้มีหลักฐานเชื่อมโยงระหว่างการสูบบุหรี่และระดับสติปัญญาที่ลดลง ทว่า การศึกษาหลายชิ้นกลับอ้างอิงการทดสอบสติปัญญาในเด็ก อีกทั้งยังรวมคนที่มีปัญหาจิตใจและพฤติกรรม ซึ่งมีแนวโน้มสูบบุหรี่และไอคิวต่ำไว้ด้วย

ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับระดับไอคิวดีขึ้น นักวิจัยจึงเล็งกลุ่มเป้าหมายไปที่ชายหนุ่มอายุ 18 ปีในกองทัพอิสราเอลจำนวน 20,211 คน ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่มีคนที่มีปัญหาทางจิตรุนแรง

จากข้อมูลการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง 28% สูบบุหรี่อย่างน้อยวันละหนึ่งมวน และราว 3% บอกว่าเคยสูบ ส่วนอีก 68% ไม่เคยสูบมาก่อน
ผลปรากฏว่า สิงห์อมควันได้คะแนนทดสอบสติปัญญาต่ำกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ และผลลัพธ์นี้ยังคงเป็นจริงอ แม้เมื่อนักวิจัยพิจารณาสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย โดยวัดจากระยะเวลาที่พ่อของกลุ่มตัวอย่างใช้ในการเรียนจนสำเร็จการศึกษาภาคปกติ

ทั้งนี้ ระดับไอคิวเฉลี่ยของคนไม่สูบบุหรี่อยู่ที่ 101 และ 94 สำหรับผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ก่อนเข้าประจำการ
นักวิจัยยังพบว่า ระดับไอคิวลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องจากปริมาณการสูบที่เพิ่มขึ้น จาก 98 สำหรับผู้ที่สูบวันละ 1-5 มวน เหลือ 90 สำหรับผู้ที่สูบเกินวันละหนึ่งซอง

อนึ่ง ระดับไอคิวจาก 84-116 ถือว่ามีความเฉลียวฉลาดในระดับปานกลาง
กลุ่มตัวอย่างไม่ได้รับอนุญาตให้สูบบุหรี่ระหว่างการทดสอบสติปัญญา ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าอาการถอนยามีผลต่อคะแนนการทดสอบของผู้สูบบุหรี่
เพื่อให้ได้ความชัดเจนในเรื่องนี้ นักวิจัยจึงพิจารณาระดับไอคิวของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สูบบุหรี่ขณะอายุ 18 ปี แต่มาเริ่มสูบเมื่อเข้ารับใช้ชาติ

นักวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ทำคะแนนต่ำกว่าคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลยเช่นเดียวกัน (ได้คะแนนเฉลี่ย 97) บ่งชี้ว่าอาการถอนนิโคตินไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่าง

นอกจากนั้น นักวิจัยยังเปรียบเทียบไอคิวของพี่ชาย-น้องชาย 70 คู่ที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง โดยที่มีคนใดคนหนึ่งสูบบุหรี่และอีกคนไม่สูบ และผลลัพธ์ออกมาเช่นเดิมคือ ไอคิวเฉลี่ยสำหรับคนที่ไม่สูบบุหรี่สูงกว่าคนที่สูบ

ไวเซอร์และทีมนักวิจัยสรุปว่า การค้นพบนี้บ่งชี้ว่า คนที่มีระดับสติปัญญาต่ำมีแนวโน้มเลือกสูบบุหรี่ มากกว่าที่การสูบบุหรี่ทำให้คนเราฉลาดน้อยลง



      บันทึกการเข้า

เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520

« ตอบ #1 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 14:30:16 »

 เหนื่อย
      บันทึกการเข้า

ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #2 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 14:46:59 »

ภาพที่บริษัทผลิตมะเร็งโรคปอด อยากให้ดู Sexy, Manny เมื่อสูบบุหรี่





      บันทึกการเข้า

Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #3 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 15:06:58 »

ภาพที่บริษัทผู้ผลิตมะเร็งปอด แม้กระทั่งโรงงานผลิตมะเร็งปอด ไม่อยากคนสูบให้เห็น









คุณหมอสำเริง จะมีอะไรเพิ่มเติม เชิญเลยครับ

      บันทึกการเข้า

Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #4 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 15:25:18 »

35%ของผู้ชาย  และ 25% ของผู้หญิง เป็นมะเร็งปอด

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=Kvmoj_xEeUs" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=Kvmoj_xEeUs</a>
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=MlAL7YuuQIM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=MlAL7YuuQIM</a>

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=aktIMBQSXMo" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=aktIMBQSXMo</a>
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=ttdma8PnFJI" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=ttdma8PnFJI</a>
      บันทึกการเข้า

Pae
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,047

« ตอบ #5 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553, 18:47:59 »

ดื่มสุรา ก็ทำลายเซลล์สมอง
เคยมีงานวิจัยไหมครับว่าทำให้ ไอคิว ลดลงไปเท่าไรจากการดื่ม
      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #6 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553, 04:20:27 »



รณรงค์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบเพศชายเสี่ยงสูงเป็นอันดับ 3 

การกินอาหารจำพวกอาหารขยะ หรือที่เรียกว่า ฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) อาหารที่มีกากใยน้อย มีไขมันมาก ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์


สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ร่วมกับ สมาคมโครมะเร็งแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เปิดตัว “โครงการรรณรงค์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก” ฉลองโอกาสที่หลายประเทศไทยกำหนดให้เดือนมีนาคม เป็นเดือนแห่งการรณรงค์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยมี นายแพทย์วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานเปิดงาน ที่ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ

 นายแพทย์ ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตเรียและนิวซีแลนด์ พบว่ามีอุบัติการของโรคมะเร็งลำไส้สูงขึ้น ส่วนในประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 11,500 ราย เสียชีวิตปีละ 3,000 ราย และพบว่าเพศชายเป็นมะเร็งชนิดนี้สูงเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งตับและปอด ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และในเขตเมืองใหญ่ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายท่าน โดยปัจจัยเสี่ยง โรคนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งชนิดนี้ การกินอาหารจำพวกอาหารขยะ หรือที่เรียกว่า ฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) อาหารที่มีกากใยน้อย มีไขมันมาก ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

 “โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ หากรู้ตัวได้เร็วเท่าทัน โดยโรคนี้ ในระยะแรกจะไม่มีอาการ แต่ต่อมาจะมีความผิดปกติของระบบขับถ่าย เช่น อุจจาระมีเลือดออกปนกับมูก หรืออุจจาระก้อนเล็กลง หรือมีอาการท้องผูก ปวดท้อง ลำไส้ใหญ่อุดตัน และหากคลำพบก้อนในบริเวณท้องก็มักจะมีการกระจายของโรคมะเร็งออกไปสู่ต่อมน้ำเหลืองหรือไปที่ตับแล้ว ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ทุกราย

 ดังนั้น การรักษาที่ได้ผลดี คือรักษาตั้งแต่ตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นระยะที่มักจะไม่มีอาการใดๆ โอกาสหายขาดสูงถึงร้อยละ 95”

 ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวอีกว่า หากผู้ที่สงสัยว่าตนเองจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักหรือไม่ สังเกตุได้จากอาการเบื้องต้น เช่น มีอาการ ท้องเสีย ท้องผูก อุจจาระมีเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำปน ซึ่งมักทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก ลักษณะของอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ รู้สึกไม่สบายท้อง รวมทั้งมีอาการปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อยและปวดเกร็ง น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลียไม่มีแรง ซีด หรือมีไขมันต่ำๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาการทั้งหมดนี้แพทย์มักวินิจฉัยได้ถูกต้องเพียงร้อยละ 35 เนื่องจากร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยเท่านั้น ที่มีอาการตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ริดสีดวงทวารหนัก หรือธาตุพิการ มักรักษาด้วยตนเอง หรือเปลี่ยนที่รักษาตามสถานพยาบาลต่างๆ ทำให้ไม่ได้รับการสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริงอย่างจริงจัง

 “หากพบว่าตนเอง หรือคนใกล้ชิดที่มีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ก่อนที่โรคจะลุกลามต่อไป สำหรับวิธีการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักนั้น ทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ กินอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้เป็นประจำ และอาหารที่มีแคลเซียมมาก มีไขมันน้อย ลดอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรามากเกินไป

 ที่สำคัญสำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการตรวจเลือดในอุจจุระ ซึ่งสามารถบอกได้ว่ามี เนื้องอกหรือเป็นมะเร็งในลำไส้หรือไม่ หากตรวจทุกปีจะลดการเสียชีวิตจากโรคนี้ได้ร้อยละ 30”

 เพื่อลดการสูญเสีย ป้องกันก่อนที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ จึงได้ร่วมกัย สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัด “โครงการรรณรงค์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคมะเร็งสำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยภายในงานมีบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น นิทรรศการให้ความรู้มากมาย พร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา แนะนำ เบื้องต้น ซึ่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จะได้มีการขยายกิจกรรมออกไปให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

ทีมา: http://www.naewna.com/news.asp?ID=203770
      บันทึกการเข้า

Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #7 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553, 22:49:41 »

 ดีใจที่ไม่สูบบุหรี่ค่ะ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><