29 มีนาคม 2567, 12:38:01
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "มาช่วยกันทำให้ ร.พ.อำเภอ ร.พ.จังหวัด ร.พ.ศูนย์ คนไข้น้อยลงกันดีกว่า"  (อ่าน 8696 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 13 มีนาคม 2550, 23:19:36 »


              

         ปัจจุบันนี้ คนไข้ทุกระดับ ร.พ. มีผู้มาใช้บริการกันจำนวนมาก คนไข้ก็เครียด

กับการรอตรวจ แพทย์เองเมื่อปริมาณคนไข้มาก ต้องรีบให้บริการตรวจโอกาศผิดพลาด

ก็มีมากไปด้วย ดังนั้น ทำไมเราไม่มาร่วมมือช่วยกันทำให้เจ็บป่วยน้อยลงกันเองโดย

ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.ปฏิบัติตัวให้สุขภาพแข็งแรง ตาม "แนวทาง 8 อ.เพื่อสุขภาพดี"

ข้างล่าง

2.เมื่อป่วยไข้เล็กน้อย ควรไปรักษาสถานพยาบาลใกล้บ้านตามสิทธิ

เช่น บัตรทอง บัตรประกันสังคม บัตรข้าราชการ ควรไปรักษาสถาน

พยาบาลใกล้บ้าน ปัจจุบันกำลังพัฒนาสถานีอนามัย ให้เป็น

ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล มีแพทย์ออกตรวจในวันราชการช่วงเช้า ทุกวัน

ปัจจุบันมีแนวทางใช้ระบบอินเตอร์เนตเชื่อมต่อ ระหว่าง ร.พ.ตำบล กับ ร.พ.อำเภอ จะทำให้

แพทย์ที่ ร.พ.อำเภอสามารถให้การรักษาผ่านทางวิดิโอคอนเฟอเรนซ์

โดยแพทย์ไม่ต้องออกมาเสี่ยงอันตรายในการเดินทางได้ ที่

ยกบริการปฐมภูมิออกนอก ร.พ.ที่

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3201.msg203506.html#msg203506

OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO

1.ปฏิบัติตัวให้สุขภาพแข็งแรง ตาม "แนวทาง 8 อ.เพื่อสุขภาพดี"

ของสำนักงานสาฐารณสุขจังหวัดชลบุรี ดูเพิ่มเติม ได้ที่บล็อกแก็งค์
 
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=9&gblog=13


เมื่อปฏิบัติตัวได้ก็จะทำให้สุขภาพแข็งแรงไม่ป่วยไข้ไม่ต้องมารักษา ร.พ.

ทำให้ ร.พ.คนไข้น้อยลงได้ เป็นการ

"สร้างสุขภาพ แทน การซ่อมสุขภาพ"

การจะทำตามสุขบัญญัติ 8 อ.ข้างต้น ทำได้ยาก  เหนื่อย

ต้องใช้

"สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"

มาใช้ สามเหลี่ยมมี 3 ด้าน คือ

ด้านที่ 1.ด้านให้ความรู้ว่า การป่วยไข้มีสาเหตุจาก 3 ข้อ คือ

ผู้ป่วยเอง สาเหตุให้ป่วย และ สิ่งแวดล้อม อธิบายเพิ่มเติม ดังนี้

ก.ผู้ป่วยเอง ร่างการอ่อนแอ พร้อมที่จะป่วยง่าย จากทานอาหาร

ไม่ถูกสุขลักษณะ ฯลฯ

ข.การที่มีสาเหตุให้ป่วย เช่น เชื้อโรค มากขึ้น จากมีคนในชุมชน

ป่วย จะแพร่เชื้อได้ ฯลฯ

ค.การมีสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย ให้เชื้อเจริญเติบโตมากขึ้น

ด้านที่ 2.ด้านการรวมตัวกันของผู้ได้รับความรู้ แล้วเกิดเป็นสิ่งที่

ปฏิบัติกันในกลุ่ม ใครไม่ปฏิบัติจะแปลกแยกจากกลุ่ม ฯลฯ

ด้านที่ 3.ด้านการมีกฏระเบียบบังคับ ให้ทำตามความรู้ ถ้าไม่ทำ

ตัองถูกลงโทษ ฯลฯ

ดูเพิ่มเติม สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ที่บล็อกแก็งค์ของผมที่
 
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=14&group=11&gblog=11
 
2.เมื่อป่วยไข้เล็กน้อย ควรไปรักษาสถานพยาบาลใกล้บ้านตามสิทธิ

รักษา ก่อน เนื่องจาก เมื่อเริ่มป่วย จะเป็นเล็กน้อยไม่ต้องมา ร.พ.แค่

พบแพทย์ประจำตัวที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน ที่ระบุไว้ตามสิทธิ

เพียงซักประวัติการป่วยไข้ จะวินิจฉัย ได้ ถึง 80% และ ตรวจร่างกาย

ก็วินิจฉัยได้เพิ่มอีก 10% รวมเป็น 90% หรือ เกือบทั้งหมดสามารถ

รักษาได้ใกล้บ้าน ได้ ไม่ต้องมารักษา ร.พ.

ทำให้ ร.พ.คนไข้น้อยลงได้เมื่อได้รับการรักษา และ ได้ปฏิบัติตัวตาม

คำแนะนำของแพทย์แล้ว ถ้าไม่ดีขึ้นก็กลับมาหาใหม่ได้ เพื่อวินิจฉัย

ใหม่ เพื่อให้การรักษาต่อ หรือ เขียนใบส่งตัวต่อให้สถานพยาบาลระดับ

เหนือขึ้นไป เมื่อถือใบส่งตัวไปตามที่ส่งจะได้รับบริการจากสถานพยาบาล

ทีรับส่งต่อมาได้โดยมีข้อมูลการรักษาเบื้องต้น จากด่านแรกมาให้พิจารณา
 
หมายเหตุ:ในกรณีฉุกเฉินสามารถเข้ารักษาได้ทุกสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

ได้ ดูเรื่อง การยกบริการปฐมภูมิออกนอก ร.พ.ที่บล็อกแก็งค์ของผม ที่
 
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samrotri

ผลจากการคนไข้ ที่มา ร.พ.อำเภอลดลง จะทำให้แพทย์มีเวลา ตรวจรักษาคนไข้ได้

อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คนไข้ได้รับความพึงพอใจ ลดความผิดพลาด

จากหลักความจริงที่ว่า คุณภาพ จะลดลงเมื่อ มีปริมาณคนไข้มาตรวจล้นมือ

ทำให้การฟ้องร้องแพทย์ลดลงทำให้แพทย์อยู่รักษาต่อได้ ไม่ต้องลาออก

แพทย์ที่ลาออกไปแล้วเมื่อเห็นว่างานร.พ.ลดลงก็อาจเปลี่ยนใจกลับ

เข้ามาเข้ามาสมัครทำงานเพิ่มทำให้มีแพทย์เพิ่มขึ้น ได้โดยไม่ต้องรอส่ง

เด็กไปเรียนต่อ แพทย์ 6 ปี ปีหนึ่งจะมีแพทย์จบใหม่ประมาณ 1,600 คน

มาแทนที่แพทย์เฉพาะทางที่ไม่มีคนไข้ให้ตรวจเฉพาะทางพอเปิดแผนกตรวจได้

ต้องช่วยตรวจคนไข้ทั่วไป ที่มา ร.พ.มีอยู่สาขาละ คนเดียว 4 แผนก คือ

สูติแพทย์ ศัลยแพทย์ กุมารแพทย์ และ อายุรแพทย์ ทำให้ทำงานไม่ตรงสาขา

ควรให้ย้ายไปทำงานเฉพาะที่เรียนมาในแผนกนั้น ทำให้ ร.พ.จังหวัด ร.พ.ศูนย์

ได้แพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้นทันที แลกกับแพทย์จบใหม่มาแทนตำแหน่งที่ว่าง

ดูเพิ่มเติม แพทย์เครียด ลาออก ปีละ 800 - 1,000 คน ที่
 
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=12-2006&date=17&group=11&gblog=5
 
 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 21 กันยายน 2552, 07:40:21 »


         ใกล้เป็นจริงแล้ว ที่ ร.พ.อำเภอจะคนไข้ลดลง ด้วย

การยกสถานีอนามัยให้เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล มีพยาบาลเวชปฏิบัติ

ทำหน้าที่ตรวจรักษา และ มีระบบอินเตอร์เนตเชื่อมกับ ร.พ.อำเภอ เพื่อให้

แพทย์ประจำครอบครัว ประจำพื้นที่ที่ ร.พ.ตำบลตั้งอยู่ ไม่ต้องเดินทางออกมา

เสี่ยงอุบัติเหตุ สิ้นเปลืองค่าน้ำมัน ฯลฯ โดยให้การรักษาผ่านทางอินเตอร์เนต

(ระบบ วิดิโอคอนเฟอเรนซ์)

             

         เพื่อทำให้การเข้าถึงบริการสุขภาพขอบรัฐได้ง่ายขึ้น ไม่เป็นเหมือนรูปข้างบน


             

         นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า

โครงการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในตำบลครั้งนี้ ใช้เวลาดำเนินการ 4 ปี

ระหว่างปีงบประมาณ 2552-2555 รุ่นแรกมีเป้าหมายจำนวน 4,500 แห่ง ใช้งบรวม

ทั้งหมดเกือบ 50,000 ล้านบาท ประกอบด้วย งบจากกระทรวงสาธารณสุข

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สปสช. และ สสส. 30,877 ล้านบาทเศษ และ

งบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาล พ.ศ.2553-2555 อีก

จำนวน 14,973 ล้านบาท

         โดยจะปรับปรุงอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์ และ รถพยาบาลเพื่อใช้ส่งต่อ

ผู้ป่วยเกือบ 1,000 คัน

                   

         ทางด้าน นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะมี 3 ขนาด ตามจำนวนประชากร ได้แก่

ขนาดเล็ก ดูแลประชากรไม่เกิน 3,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 5 คน

ขนาดกลาง ดูแลประชากรไม่เกิน 6,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 7 คน และ

ขนาดใหญ่ ดูแลประชากร มากกว่า 6,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 9-10 คน

         ในการปรับปรุงด้านสถานที่ จะต่อเติมชั้นล่างของสถานีอนามัยให้เป็น

ห้องตรวจรักษา จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการให้บริการ

มีเตียงนอนสังเกตอาการอย่างน้อย 3 เตียง มียา และเวชภัณฑ์ต่าง ๆเหมือน ร.พ.

รวมทั้งติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตออนไลน์เชื่อมต่อกับโรงพยาบาลชุมชน

เพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยปรึกษาการรักษากับแพทย์โรงพยาบาลชุมชน


ที่ เป็นแม่ข่ายโดยตรง สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยว่า จะได้รับการรักษา

มาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาล และหากเจ็บป่วยฉุกเฉิน

มีระบบการแพทย์ฉุกเฉินช่วยชีวิต และนำส่งโรงพยาบาลอย่างปลอดภัย

หากเกินขีดความสามารถ มีระบบส่งตัวรักษาต่อในโรงพยาบาลแม่ข่ายทันที.

http://news.sanook.com/รัฐทุ่ม-5-หมื่นล้าน-ยก-สอ.เป็น-รพสต-822028.html

          หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

  
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
iamfrommoon
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2535
คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 8,396

เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 28 กันยายน 2552, 11:15:45 »

พี่สำเริงคะ

รบกวนขอภาพพี่ประกอบตัวอักษร 1 อักษร 1 ความหมายด้วยนะคะ ส่งให้น้องทางอีเมล์ได้เลยค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
      บันทึกการเข้า

@@ธรรมชาติสร้างความขัดแย้ง เพื่อให้คนเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ดียิ่งขึ้น@@@

Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #3 เมื่อ: 09 มกราคม 2553, 18:52:43 »


                    

         โดย พญ.พจนากล่าวว่า แพทย์ใน รพศ./รพท.กว่า 9,000 คนที่ดูแลผู้ป่วยทั่วประเทศ ถือเป็นตัวแทนประชาชน จึงต้องการแถลงความจริงโครงการไทยเข้มแข็งให้ทราบ ซึ่งพูดกี่ครั้งก็เหมือนเดิมว่า

         รพศ./รพท.บริการผู้ป่วยจำนวนมากในแต่ละวัน แต่ไม่มีการลงทุนเพิ่มในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาทั้งขาดแคลนเครื่องมือแพทย์และบุคลากรทั้งระบบ ทำให้แพทย์ต้องทำงานอย่างหนัก

         ในขณะที่โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) มีการผ่าตัดน้อยมาก เพราะส่งต่อมาให้ รพศ./รพท.ทำทั้งหมด ซึ่งหากไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนก็จะกระทบต่องานบริการอย่างมาก

นำมาจาก น.ส.พ.ไทยโพสต์ ย่อหน้าที่ 3

http://www.thaipost.net/news/090110/16115

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

        จะแก้ให้คนไข้ไป ร.พ.อำเภอ ร.พ.จังหวัด และ ร.พ.ศูนย์น้อยลงได้เพื่อไม่ต้องไปลงทุน ที่่ ร.พ.ขนาดใหญ่ได้ด้วย

         การใ้ห้มีสถานพยาบาลใกล้บ้าน เป็นการดูแลด่านแรก ที่มีคุณภาพ คือ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ที่กำลัง จะมีขึ้น จากการปรับปรุง สถานีอนามัยทุกแห่งในประเทศให้เป็น ซึ่งรัฐทุ่มงบประมาณไทยเข้มแข็งในการดำเนินการ ให้เป็น ทั้งประเทศ ในปีงบประมาณ 2552-2555 และ กำลังทำ

         ระบบวิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ ให้สามารถรักษาคนไข้ที่อยู่ในต่างสถานพยาบาลได้ และ การที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ บันทึกประวัติการรักษาไว้ทุกครั้ง ที่มาใช้บริการ ทำให้สามารถดูประวัติในแต่ละสถานพยาบาล ที่คนไข้เข้ารักษา โดยอาจใช้ลายนิ้วมือคนไข้ทีี่่แสดงความยินยอมให้ดูได้ เป็นรหัสผ่านในการเข้าดูประวัติ เพื่อเป็นการรักษาความลับของคนไข้ได้

         วิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ จะทำให้ประชาชนสามารถเลือกสถานบริการที่พึงพอใจไปใช้บริการแทนการบังคับให้รักษาใกล้้บ้าน ซึ่งมีผลเสีย ทำให้สถานพยาบาลไม่มีการพัฒนาด้านบริการ เพื่อดึงดูดคนไข้ ไว้

         ถ้า ร.พ.ไม่พัฒนาการให้บริการให้เป็นที่พึงพอใจ คนไข้จะสามารถไปใช้สิทธิรักษาฟรี ร.พ.ที่บริการดีได้ โดย ระบบวิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ เชื่อมข้อมูลทุก สถานพยาบาลเข้าด้วยกัน เหมือน ธนาคาร ที่มีระบบออนไลน์ สามารถทำธุรกรรม ต่าง สาขา ได้ทั้งประเทศไทย

         ทำให้ แพทย์ ที่ได้รับการเข้ามาใช้บริการสามารถดูประวัติการรักษาก่อนหน้าได้ เพื่อพิจารณาให้การรักษาต่อ และ ไม่ต้องจ่ายยาเพิ่มถ้ารู้ว่าได้ยาอะไรมาแล้ว

         นอกจากนี้การมีวิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ สามารถทำให้เกิดแพทย์ประจำรับผิดชอบได้ในแต่ละ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล โดยทำงานที่ ร.พ.อำเภอ มาตรวจรักษาที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ทางวิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ และ อาจจะมาด้วยการออกตรวจด้วยตนเองร่วมด้วย บ้าง

         ผลจะทำให้ตัวชี้วัดการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพใกล้บ้าน ทำสำเร็จได้ มีรถพยาบาลฉุกเฉิน 1669 สามารถส่งต่อเชื่อมแต่ละสถานพยาบาลในแต่ละระดับ ให้เข้าถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ รวดเร็ว

         gek gek gek


      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><