29 มีนาคม 2567, 15:26:39
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 519 520 [521] 522 523 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3207874 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13000 เมื่อ: 13 กันยายน 2557, 06:03:03 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องจันทร์ฉาย ที่รัก

ไม่ใช่ค่ะ ต้องเป็น เวทีสาธารณะ ของ ไทย Pbs ประมาณ หนึ่งชั่วโมง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #13001 เมื่อ: 13 กันยายน 2557, 07:53:27 »

สวัสดีครับ พี่สิงห์. พี่เหยง  พี่จันทร์ฉาย

เข้ามาอ่าน ธรรมะ ดีๆ ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13002 เมื่อ: 13 กันยายน 2557, 08:05:38 »

พระวัดป่าสุคะโต บิณฑบาต ๒๕๕๗






      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13003 เมื่อ: 13 กันยายน 2557, 08:16:39 »





      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13004 เมื่อ: 13 กันยายน 2557, 09:02:52 »







      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13005 เมื่อ: 13 กันยายน 2557, 12:51:46 »







การบิณฑบาตเป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งของภิกษุ ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติเช่นนี้ก็เพราะทรงประสงค์จะให้ภิกษุมีชีวิตด้วยอาหารของคฤหัสถ์ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตนให้เป็นที่ศรัทธาของญาติโยม พร้อมกันนั้นก็พึงทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่ก่อความรำคาญหรือเดือดร้อนแก่ญาติโยม การเลี้ยงชีวิตเช่นนี้เท่านั้นที่จัดว่าเป็นสัมมาอาชีวะของพระสงฆ์

การบิณฑบาตยังเป็นโอกาสที่ภิกษุสงฆ์จะได้สงเคราะห์ญาติโยม เช่น เปิดโอกาสให้ญาติโยมได้ทำบุญ ส่วนพระก็ได้ไต่ถามรับรู้ทุกข์สุขของญาติโยม รวมทั้งน้อมนำญาติโยมให้มีใจใฝ่ธรรม ชาวบ้านที่มีความทุกข์ใจ หากได้เห็นภิกษุสงฆ์ที่ตนศรัทธามาบิณฑบาตแต่เช้า ย่อมเกิดปีติปราโมทย์ หรือความอบอุ่นใจ คลายความกังวลไปได้ไม่มากก็น้อย การบิณฑบาตจึงเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงวัดกับบ้าน พระกับโยม ธรรมกับโลกให้ใกล้ชิดกันเพื่อเกื้อกูลกันและกัน

พระไพศาล วิสาโล


https://archive.org/details/PhraPaisalVisalo2014Salana
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13006 เมื่อ: 14 กันยายน 2557, 06:26:01 »







อยากเห็นภาพเหล่านี้ในสังคมคนเมือง เพระาความตระหนี่-ริษยา เป็นเหตุปัจจัยให้ทุกข์ ตามมา

ถ้าเยาวชนม์ไทย เป็นผู้ให้ตั้งแต่ยังเล็ก เขาจะเป็นคนที่่มีจิตใจดีงาม เป็นผู้เสียสละ มันจะเกิดขึ้นเอง เพราะได้รับการฝึกมาตั้งแต่เด็ก

น่าเสียดาย สังคมคนเมือง เด็กติดเกมส์ จะเป็นแต่ผู้ชนะ ไม่ยอมเสียสละ สังคมในอนาคต มีแต่ความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น เพราะถูกฝึกมาตั้งแต่เด็กๆ นั่นเอง

สวัสดี

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13007 เมื่อ: 14 กันยายน 2557, 09:35:56 »

ยมฑูตส่งจดหมายมาเตือน !



เมื่อคืนได้ไปเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพ พระสมพงษ์  มานิตโต อำเภอเมือง  จังหวัดพังงา ก่อนสวดพระอภิธรรม มีการเทศนาโปรดญาติโยม จึงขอนำคำสอนนั้นมาฝากให้ทุกท่านได้พิจารณา

พระท่านเริ่มต้นจาก คนเราทุกคนเกิดมาต้องตาย ไม่มีทางหลีกพ้นไปได้  ดังนั้นขอทุกท่านจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด ตามคำสอนของพระพุทธองค์ คืออยู่อย่างมีสติ-สัมปชัญญะ นั่นเอง

แต่ก่อนที่จะตายนั้น โดยปกติธรรมชาติ จะส่งความแก่มาเตือนให้ท่านที่หลงผิด ยังอยู่ด้วยความประมาทในกามราคะ ให้พึงระลึกว่าเหลือเวลาไม่มากแล้ว จงกลับใจเสียเถิด  จึงได้ส่งจดหมายมาเตือน ๖ ฉบับ ด้วยกัน โดยส่งตรงมาที่บ้านเลย

บ้าน ที่รับจดหมายจากยมฑูตนั้น ก็คือ รูป หรือร่างกายของคนเรานี่ละ

- จดหมายฉบับที่ ๑ ที่ยมฑูตส่งมาเตือนนั้น ยมฑูตจะเอามาวางไว้บนหลังคา นั้นหมายถึงผมบนศรีษะของเรานั่นเอง  เมื่อความชรามาเยือน ผมจะเริ่มหงอก เป็นสีขาว เพิ่มขึ้น ตามอายุที่มากขึ้น ท่านต้องรู้ตัวแล้วว่าใกล้ถึงเวลาตายแล้ว เหลือเวลาไม่มากแล้ว

-  จดหมายฉบับที่ ๒ ที่ยมฑูตส่งมาเตือนนั้น  ยมฑูตจะเอามาวางไว้ที่ประตูหน้าบ้าน นั้นหมายถึงปากของเรานั่นเอง เมื่อความชรามาเยือน ฟันจะเริ่มหักไปทีละซี่สองซี่ เป็นฟันหลอ หรือหมดปากเวลายิ้มมีแต่เหงือก ตามอายุที่มากขึ้น ท่านต้องรู้ตัวแล้วว่าใกล้ถึงเวลาตายแล้ว เหลือเวลาไม่มากแล้ว

- จดหมายฉบับที่ ๓ ที่ยมฑูตส่งมาเตือนนั้น  ยมฑูตจะเอามาวางไว้ที่หน้าต่างบ้าน นั้นหมายถึงหูของเรานั่นเอง เมื่อความชรามาเยือน หูจะเริ่มตึงฟังอะไรไม่ได้ยิน ต้องให้ตะโกนใกล้ ๆ และจะไม่ได้ยินมากขึ้นเมื่ออายุที่มากขึ้น ท่านต้องรู้ตัวแล้วว่าใกล้ถึงเวลาตายแล้ว เหลือเวลาไม่มากแล้ว

- จดหมายฉบับที่ ๔ ที่ยมฑูตส่งมาเตือนนั้น  ยมฑูตจะเอามาวางไว้ที่หลอดไฟหรือตะเกียงที่ให้แสงสว่างในบ้าน นั้นหมายถึงตาของเรานั่นเอง เมื่อความชรามาเยือน ตาจะเริ่มฝ้าฟาง มองอะไรไม่ค่อยเห็น มีต้อเกิดขึ้น และจะมองไม่เห็นมากขึ้นเมื่ออายุที่มากขึ้น ท่านต้องรู้ตัวแล้วว่าใกล้ถึงเวลาตายแล้ว เหลือเวลาไม่มากแล้ว

- จดหมายฉบับที่ ๕ ที่ยมฑูตส่งมาเตือนนั้น  ยมฑูตจะเอามาวางไว้ที่เสาบ้าน นั้นหมายถึงขาที่ใช้ในการเดินนั่นเอง เมื่อความชรามาเยือน ขาจะเริ่มงอ เดินเหิรไม่คล่องตัว เวลาจะลุกจากการนั่งก็ต้องทำให้ก้นชี้ฟ้า อยากลำบากเพิ่มมากขึ้น และจะลุก จะเดินไม่ได้มากขึ้นเมื่ออายุที่มากขึ้น ท่านต้องรู้ตัวแล้วว่าใกล้ถึงเวลาตายแล้ว เหลือเวลาไม่มากแล้ว

- จดหมายฉบับที่ ๖ ที่ยมฑูตส่งมาเตือนนั้น  ยมฑูตจะเอามาวางไว้ที่ฝาบ้าน นั้นหมายถึงผิวหนังตามร่างกายจะเริ่มเหี่ยวยาน ไม่มีกล้ามเนื้อ ไม่สวยงามเลย ผิวหนังจะเหี่ยวยานมากขึ้นเมื่ออายุที่มากขึ้น ท่านต้องรู้ตัวแล้วว่าใกล้ถึงเวลาตายแล้ว เหลือเวลาไม่มากแล้ว

ดังนั้น บัดนี้ท่านต้องสำรวจตัวเองให้บ่อยขึ้น ว่าจดหมายที่ทางยมฑูตส่งมานั้น ท่านได้รับกี่ฉบับแล้ว  ถ้าครบทุกฉบับ ท่านต้องเตรียมตัวตาย  ต้องปลงสังขารทุกวัน ให้จิตมันรับรู้ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา  จะได้ไม่ประมาท เพราะเราไม่รู้ว่าความตายจะมาเยือนเมื่อไร

หลวงพ่อคำเขียน  ท่านแสดงให้เราดูแล้วว่า  ความตายไม่น่ากลัว ขอเพียงฝึกสติให้มาก ก็สามารถที่จะตายอย่างมีสติ-สัมปชัญญะได้ เป็นความตายที่งดงาม ไม่กลัวความตาย นั่นเอง

ก็เก็บมาเล่าสู่กันฟังเป็นการเตือนตัวเองครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13008 เมื่อ: 14 กันยายน 2557, 14:47:24 »





หลวงพ่อพระไพศาล  วิสาโล  ท่านเทศนาออกมาจากใจ

 
อยู่ด้วยสติ ป่วยด้วยสติ ตายด้วยสติ

พระไพศาล วิสาโล
ธรรมเทศนาวันปลงสรีระสังขารหลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ
วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๗


วันนี้อาตมาเชื่อแน่ว่าพวกเราทั้งหลายมาคารวะสรีระหลวงพ่อคำเขียน ไม่ใช่เพราะเห็นว่าท่านเป็นพระขลัง พระศักดิ์สิทธิ์ หรือเห็นว่าท่านมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ แต่พวกเรามากราบคารวะท่านเพราะเคารพในคุณธรรมของท่าน นับถือในภูมิจิตภูมิปัญญาของท่าน หลายคนที่ได้พบหรือรู้จักหลวงพ่อคำเขียนด้วยตัวเอง ย่อมพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามีความประทับใจในความเมตตากรุณาของท่าน เมื่อได้มาพูดคุยสนทนากับท่านก็จะรู้สึกถึงความสงบเย็นที่ปรากฎออกมาทางน้ำเสียงและอากัปกริยาของท่าน

สำหรับผู้ที่ได้ใกล้ชิดกับท่านก็คงจะประจักษ์ด้วยตาตัวเองว่าหลวงพ่อเป็นผู้ที่มีความหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อลาภสักการะ หรือต่อโลกธรรมทั้งฝ่ายบวกและฝ่ายลบ ไม่ว่าอะไรมากระทบท่านก็ไม่มีอาการขึ้นลงหรือฟูแฟบ ท่านมีความอ่อนน้อมถ่อมตนราวกับว่าไม่มีความยึดติดถือมั่นในตัวตนเลย น้อยคนนักที่เคยเห็นท่านแสดงความโกรธ แสดงความไม่พอใจ ราวกับว่าไม่มีอะไรที่จะทำให้จิตใจของท่านกระเพื่อมได้เลย  และก็เชื่อแน่ว่าหลายคนได้เห็นถึงความสม่ำเสมอเป็นปกติของท่านราวกับไม่มีความทุกข์เลย  จะพูดว่าท่านเป็นพระที่ไม่มีตัวตนหรือไม่มีความทุกข์เอาเลยก็ว่าได้  หลายคนแม้ไม่มีโอกาสสนทนากับท่าน หรือได้อยู่ใกล้ชิดท่าน แต่ก็มีศรัทธาในตัวท่านก็เพราะประทับใจในคำสอนของหลวงพ่อ

หลวงพ่อได้ให้ธรรมะที่สามารถเปลี่ยนจิตเปลี่ยนชีวิตของผู้คนจำนวนมากมายทั้ง ๆ ที่ไม่ได้พบท่านด้วยตัวเองเลยก็ตาม  แม้ว่าหลวงพ่อไม่เคยแสดงฤทธิ์หรือบันดาลโชคให้ลาภแก่ใคร แต่สิ่งที่ท่านให้แก่พวกเรานั้นมีคุณค่ายิ่งกว่าโชคและลาภมากนัก  เพราะว่าธรรมะที่ได้รับจากท่านนั้น สามารถช่วยให้เราเข้าถึงความไม่มีทุกข์หรือไกลจากความทุกข์ สิ่งนี้ต่างหากที่มีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทอง ความมั่งมีหรือโลกธรรมฝ่ายบวกทั้งปวง

คำสอนของหลวงพ่อมุ่งให้เราหันมาพึ่งพาตัวเอง ไม่ใช่พึ่งพาหลวงพ่อ หรือพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์  ทั้งๆ ที่ในสมัยที่หลวงพ่อยังเป็นหนุ่ม ท่านก็มีความสันทัดจัดเจนในเรื่องเหล่านี้มาก ท่านเคยเป็นหมอธรรม  รักษาโรคและไล่ผีด้วยเวทมนต์คาถา นั่งทางใน ทำเครื่องรางของขลัง บำบัดทุกข์ด้วยไสยศาสตร์ แต่เมื่อท่านได้มาปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อเทียน จนเข้าใจธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ท่านก็ตระหนักว่า อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หรือไสยศาสตร์นั้นไม่สามารถจะเป็นที่พึ่งของใครได้อย่างแท้จริง ท่านเล่าว่าเมื่อท่านได้มาพบธรรมหลังจากปฏิบัติตามคำสอนของหลวงพ่อเทียน เรื่องไสยศาสตร์อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ก็จืดชืดไปจากจิตใจของท่าน  ในที่สุดท่านได้ละทิ้งสิ่งเหล่านี้โดยสิ้นเชิง หันมานำพาผู้คนให้รู้จักธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยอาศัยแนวทางการปฏิบัติของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ซึ่งเป็นอาจารย์ทางธรรมคนเดียวของท่านก็ว่าได้

คนเราทุกคน ล้วนแล้วแต่หนีความทุกข์ไม่พ้น เราต้องพบกับความเกิด ความเจ็บ ความตาย และความพลัดพรากสูญเสีย แต่ถึงแม้เราจะหนีภาวะดังกล่าวไม่พ้น  แต่เราสามารถรักษาจิตใจไม่ให้ความทุกข์ทั้งปวงบีบคั้นได้  หลวงพ่อคำเขียนได้สอนพวกเราว่า คนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นทุกข์ แต่เพี่อเป็นอิสระจากความทุกข์  จนทุกข์บีบคั้นไม่ได้ 

คำสอนของหลวงพ่อไม่เคยพาเราออกนอกตัว ไปหลงใหลในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หรือแสงสีนิมิตต่าง ๆ แต่ท่านสอนให้เราหันกลับมาที่ตัวเอง มารู้กายรู้ใจ เห็นความจริงของกายและใจ ทั้งนี้ด้วยการสร้างสติและความรู้สึกตัว   เพราะว่าความรู้แจ้งในความจริงกายและใจโดยอาศัยสติและความรู้สึกตัวจะสามารถนำพาเราให้พ้นจากความทุกข์ได้

คนเราถ้าหากขาดความรู้สึกตัวแล้วก็หนีความทุกข์ไม่พ้น แม้แต่การทำความดี ถ้าปราศจากความรู้สึกตัว ความดีก็อาจจะกลายเป็นความชั่วหรือก่อทุกข์ให้กับเราได้  เช่นถ้าเราให้ทานโดยไม่มีความรู้สึกตัว การให้ทานนั้นอาจจะเป็นการต่อเติมเสริมแต่งกิเลสของเราให้มากขึ้น ทำให้เป็นทุกข์เพราะการให้ทานนั้น เช่นทุกข์เพราะว่าทำบุญน้อยเกินไป  ทุกข์เมื่อเห็นคนอื่นบริจาคเงินมากกว่าเรา หรือว่าทุกข์เพราะมีคนมาทำบุญตัดหน้าเรา อยากจะทำบุญแต่แถวยาวเหลือเกินก็รู้สึกหงุดหงิด อันนี้เรียกว่าไม่มีความรู้สึกตัว ก็ทำให้การทำบุญกลายเป็นการสั่งสมอกุศลจิตในจิตใจ

การรักษาศีลก็เช่นเดียวกัน ถ้าปราศจากความรู้สึกตัวแล้วก็อาจจะเกิดความยึดมั่นถือมั่น หลงตัวว่าเป็นผู้เคร่งในศีลและดูถูกคนอื่นที่มีศีลน้อยกว่า  ความรู้สึกตัวยังเป็นสิ่งสำคัญในการเจริญภาวนา หรือการบำเพ็ญทางจิต เพราะเมื่อใดที่มีความรู้สึกตัว มีสติอยู่กับตัว ก็จะเห็นกายและใจแต่ละขณะตามความเป็นจริง และจะพบว่าแท้จริงแล้วความทุกข์ใจของคนเราเกิดจากการหลงหลุดเข้าไปในความคิด ในอารมณ์ ในความรู้สึก

หลวงพ่อคำเขียนสอนให้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญของสติ  ใช้สติประหนึ่งตาในที่ทำให้เรารู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดที่ปรุงแต่งขึ้นมาในจิตใจ  คนเราส่วนใหญ่ทุกข์เพราะความคิด หรือถ้าจะพูดให้ถูกก็คือ ทุกข์เพราะไม่เห็นความคิด ทุกข์เพราะไม่รู้ทันความคิด ปล่อยให้ความคิดที่ปรุงแต่งขึ้นมาด้วยความหลง ด้วยความไม่รู้ตัว นำพาความทุกข์มาย่ำยีบีฑาจิตใจของเรา  เราทุกข์ทุกครั้งที่เผลอนึกไปถึงเหตุร้ายในอดีต หรือกังวลกับเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นแต่ปรุงแต่งไปในทางเลวร้าย หรือทุกข์เพราะคิดฟุ้งปรุงแต่งด้วยอำนาจของความโลภ ความโกรธ และความหลง

หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่าเมื่อยี่สิบปีก่อน เคยมีพระหนุ่มมาปฏิบัติกับท่าน พี่ชายเป็นคนพามา พระหนุ่มท่านนั้นสีหน้าท่าทางไม่มีความสุขเลยเพราะไม่ได้มีเจตนาจะบวชแต่พี่ชายขอให้บวช เมื่อมาอยู่กับท่านหลวงพ่อก็ให้ฝึกปฏิบัติด้วยการเดินจงกรมและสร้างจังหวะ พระหนุ่มรูปนั้นอยู่ได้เพียงแค่วันสองวัน ก็มาขอสึกกับหลวงพ่อ ให้เหตุผลว่าเขาไม่ได้มาบวชเพื่อปฏิบัติ  แต่มาบวชเพราะพี่ชายขอร้อง  ตอนนี้บวชแล้วก็อยากสึก  แต่หลวงพ่อไม่สึกให้ บอกให้เขาไปเดินจงกรมต่อ เขาหายไปสักพัก แล้วก็กลับมาขอสึกอีก หลวงพ่อก็ปฏิเสธ เขาไม่พอใจ หายไปสักพักแล้วกลับมาอีก รบเร้าดึงดันว่าจะสึกให้ได้  หลวงพ่อจึงถามว่า “อะไรพาให้คุณมาหาผม” เขาคิดสักพักแล้วก็ตอบว่า “ความคิดครับ” หลวงพ่อก็เลยถามเขาว่า“ มันคิดแล้วต้องทำตามความคิดทุกอย่างหรือ ถ้าคุณทำตามความคิดทุกอย่าง ไม่แย่หรือ” ว่าแล้วหลวงพ่อก็ให้เขากลับไปปฏิบัติต่อ 

เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พอเขาเห็นหลวงพ่อเดินมา ก็ตรงเข้ามาหาหลวงพ่อ แต่แทนที่จะขอสึกกลับกราบหลวงพ่อด้วยความเคารพ แล้วก็บอกว่าขอบคุณหลวงพ่อที่ทักท้วงเขาไม่ให้สึก เพราะถ้าเขาสึกไปตั้งแต่เมื่อวาน ก็จะต้องฆ่าคนแน่ เพราะว่าสองวันที่ผ่านมาเขาคิดถึงการวางแผนฆ่าคนสองคน เข้าใจว่าคงจะหมายถึงภรรยาและชู้ เขาคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะหาปืนจากไหน และจะฆ่าอย่างไร ฆ่าเสร็จแล้วจะหลบหนีอย่างไรไม่ให้ตำรวจจับได้  แต่เมื่อหลวงพ่อทักท้วงเขาว่าอย่าไปเชื่อความคิด ทำให้เขาได้สติขึ้นมา ไม่ทำตามความคิดนั้น สุดท้ายก็เลยไม่สึกและบวชต่ออีกหลายปีจนกระทั่งมรณภาพในผ้าเหลือง

หลวงพ่อได้ชี้แล้วชี้เล่าว่าให้เราหมั่นมีสติ รู้ทันความคิด เห็นความคิด เห็นอารมณ์ อย่าเข้าไป “เป็น” ถ้าเราเข้าไปเป็นเมื่อไรความทุกข์ก็จะครอบงำจิตใจเราได้ง่าย  หลวงพ่อสอนให้เรารู้เท่าทันความคิดด้วยใจที่เป็นกลาง ดังท่านได้พูดอยู่เสมอว่าให้ “รู้ซื่อๆ”  รู้ซื่อๆ ก็คือ รู้เฉยๆ โดยไม่ผลักไส โดยไม่ใฝ่หาหรือยึดติดหลงเพลิน การรู้ซื่อๆ ทำให้เห็นกายและใจตามความเป็นจริง แล้วก็จะเห็นจนทะลุทะลวงมายาที่จิตปรุงแต่งขึ้นมา โดยเฉพาะมายาภาพเกี่ยวกับตัวตน ที่ทำให้เราหลงคิดว่ามีตัวมีตน แต่แท้จริงแล้ว มันไม่มีตัวเรา มันมีแต่รูปกับนาม มีแต่กายกับใจ แต่เป็นเพราะความไม่รู้ตัว เป็นเพราะความหลง จึงปรุงแต่งตัวตนขึ้นมาบดบังความจริงเกี่ยวกับกายและใจ หากว่าเรามีสติและมองสิ่งต่างๆ ด้วยใจที่เป็นกลาง หรือรู้ซื่อๆ ก็จะเห็นความจริงเป็นลำดับ ไม่ใช่เพียงแค่กายใจ รูปนาม แต่ยังเห็นความเกิดดับของนามรูป เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มองทะลุสมมติจนเห็นถึงปรมัตถ์คือความจริงขั้นสูงสุด ซึ่งจะทำให้ปล่อยวางจากความยึดมั่นในตัวตนได้  ตรงนี้เองเป็นหนทางสู่ความพ้นทุกข์ ทำให้จิตเป็นอิสระ จนกระทั่งอยู่ในภาวะที่หลวงพ่อชอบใช้คำว่า“ไม่เป็นอะไร กับอะไร”  ก็คือไม่สำคัญมั่นหมายว่าฉันเป็นนั่นเป็นนี่ เพราะความสำคัญมั่นหมายดังกล่าวเกิดจากความยึดติดถือมั่นในตัวตน เป็นความยึดติดเพราะหลงว่ามีตัวกูของกู  เราจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าหากว่าไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นในความเป็นนั้น ๆ หรือหลงคิดว่านั่นคือตัวกู  จะไม่มีทุกข์เกิดขึ้นเลย  แต่เมื่อไรก็ตามที่เราสำคัญมั่นหมายว่า เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก เป็นคนไทย เป็นพระ เป็นนักปฏิบัติ เป็นคนเก่ง เป็นคนไม่เก่ง ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้นได้ เพราะความสำคัญมั่นหมายที่ว่านั้นเจือด้วยกิเลส และถูกครอบงำด้วยอุปาทาน

สมัยหนึ่ง เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่ มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อโทณพราหมณ์ ได้เห็นพระพุทธเจ้าเดินอย่างสง่า สงบสำรวม มีราศี ก็มีความประทับใจ จึงถามพระองค์ว่า ท่านเป็นเทวดาใช่ไหม พระพุทธเจ้าปฏิเสธ เขาก็เลยถามว่าท่านเป็นคนธรรพ์ใช่ไหม พระองค์ก็ปฏิเสธเช่นเดียวกัน เขาถามต่อไปว่าท่านเป็นยักษ์ใช่ไหม พระองค์ก็ปฏิเสธอีก สุดท้ายโทณพราหมณ์ถามพระองค์ว่า ท่านเป็นมนุษย์ใช่ไหม พระองค์ก็ปฏิเสธอีก โทณพราหมณ์งุนงงว่าตกลงพระองค์เป็นใคร  พระองค์ก็อธิบายว่า “อาสวะใด ๆ ที่จะทำให้เราเป็นเทพเจ้า เป็นคนธรรพ์ เป็นยักษ์ เป็นมนุษย์  อาสวะเหล่านั้นเราละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้วจนหมดสิ้น ไม่มีทางเกิดขึ้นได้อีกต่อไป”  แล้วพระองค์อธิบายต่อไปว่า “ดอกบัวเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ แต่ตั้งอยู่พ้นน้ำไม่ถูกน้ำฉาบติด ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เกิดในโลก เติบโตในโลก แต่เป็นอยู่เหนือโลกและไม่ติดในโลก” จากนั้นพระองค์ได้ตรัสกับโทณพราหมณ์ว่า “นี่แน่ะ พราหมณ์ จงถือว่าเราเป็น “พุทธะ” เถิด”  คือถ้าจะเรียกพระองค์ ก็เรียกว่า พุทธะเถิด  แต่พระองค์ไม่ได้สำคัญมั่นหมายว่าเป็นพุทธะตามคำเรียกของเขา

กล่าวอีกนัยหนึ่ง พระพุทธองค์ก็ไม่เป็นอะไรกับอะไรเช่นเดียวกัน ไม่เป็นทั้งเทวดา ไม่เป็นทั้งยักษ์ ไม่เป็นทั้งคนธรรพ์ ไม่เป็นทั้งมนุษย์ เพราะนั่นเป็นแค่สมมติ ถ้าไปยึดถือมั่นเมื่อไรว่าเราเป็นสิ่งเหล่านั้น เราก็จะเป็นทุกข์ เพราะเป็นอะไรก็ทุกข์ทั้งนั้นหากเป็นด้วยความยึดติดถือมั่น หรือเพราะยึดถือด้วยอุปาทาน

หลวงพ่ออยู่กับความไม่เป็นอะไรกับอะไร ท่านจึงอยู่อย่างสงบ เย็น นิ่ง มั่นคง หนักแน่น ไม่หวั่นไหวต่อความผันผวนแปรปรวนใดๆ หลวงพ่อเป็นแบบอย่างให้แก่ศิษยานุศิษย์  ท่านไม่เพียงสอนธรรมด้วยภาษาที่สามัญ เข้าใจง่ายแต่มีความลึกซึ้งเท่านั้น หากท่านยังทำให้ดู อยู่ให้เห็น และเย็นให้เราสัมผัสได้  กล่าวได้ว่าหลวงพ่อคำเขียนอยู่ด้วยสติ อยู่ด้วยความรู้สึกตัวตลอด ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำกิจการงานหรือเวลาอยู่ในอิริยาบถปกติ ท่านแสดงให้เห็นถึงความมีสติความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าในยามปกติหรือเมื่อเจอการกระทบกระแทก เจอการใส่ร้ายป้ายสี เจออุปสรรคขัดขวาง ท่านก็ยังสงบนิ่ง มั่นคง ทำให้อาตมาอดไม่ได้ที่จะคิดถึงข้อความตอนหนึ่งในมงคลสูตร ที่ว่า “จิตของผู้ใด โลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก ไร้ธุลีกิเลส เป็นจิตเกษมศานต์ ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด” ในยามปกติท่านสงบนิ่ง ในยามได้รับคำสรรเสริญท่านไม่มีอาการฟู ในยามถูกติฉินนินทาท่านไม่มีอาการแฟบ อย่างน้อยก็เท่าที่ได้เห็นจากการที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับท่าน

ใช่แต่เท่านั้น เวลาท่านล้มป่วย อาพาธ ท่านก็แสดงให้เราเห็นว่าความป่วยนั้นเกิดขึ้นแต่กับกายเท่านั้น ส่วนใจไม่ได้ป่วยด้วย  ตอนที่ท่านป่วยหนักครั้งแรกอยู่ในห้องไอซียู มีลูกศิษย์หลายคนมายืนดูท่านผ่านหน้าต่างกระจก แต่ละคนมีสีหน้าเศร้าโศกเสียใจที่เห็นหลวงพ่อนอนอยู่บนเตียง ท่านชี้ไปที่คนเหล่านั้นแล้วบอกพระที่ดูแลท่านว่า นั่นคนป่วยทั้งนั้นเลย แต่หลวงพ่อไม่ได้ป่วยด้วย และเมื่อท่านอาพาธครั้งสุดท้าย ท่านก็สามารถอยู่กับความเจ็บป่วยได้  โดยไม่เคยแสดงอาการหงุดหงิด ขุ่นเคืองหรือหวั่นไหว อยู่กับทุกขเวทนาได้โดยใจไม่ทุกข์ และพร้อมที่จะเผชิญกับความตายได้ตลอดเวลา จนกระทั่งพระที่ดูแลท่านบอกว่า การดูแลหลวงพ่อนั้นสบายอย่างหนึ่งก็คือไม่ต้องดูแลจิตใจท่านเลย ปกติแล้วในการดูแลผู้ป่วย การดูแลกายอย่างเดียวย่อมไม่พอ ต้องดูแลใจด้วย  แต่กับหลวงพ่อ ดูแลแค่กายก็เพียงพอแล้ว ส่วนจิตใจไม่ต้องดูแลเลย ตรงกันข้ามท่านต่างหากที่คอยเป็นห่วงผู้ที่อุปัฏฐากท่าน  ดังท่านเขียนบันทึกว่า “ไม่กลัวตาย แต่คนอื่นลำบากกับเรา เวลานอนก็ไม่ได้นอน”

หลวงพ่อรู้ดีว่าสังขารของท่านอยู่ในสภาพใด ดังเขียนบอกพวกเราว่า “ธาตุขันธ์เหมือนล้อเกวียนชำรุดมาก ซ่อมไม่ขึ้น ก็อยู่ได้ด้วยความไม่เป็นอะไรกับอะไร”  บางครั้งท่านก็พูดว่าตอนนี้ท่าน “มีธรรมนำพา”  เพราะว่าธาตุขันธุ์พึ่งอะไรแทบไม่ได้แล้ว ได้แต่อาศัยธรรมนำพา ท่านยังบอกลูกศิษย์อีกว่า“เวลานี้เหลือแต่ธรรมที่หลวงพ่อเทียนได้สั่งสอน  อาการดับไม่เหลือของรูปนาม สี่สิบกว่าปี มันก็คือวันนี้ไม่เปลี่ยนแปลง  เพื่อนไม่ต้องเป็นห่วง”

เมื่อถึงเวลาที่ท่านต้องละสังขาร สิ้นลม ท่านก็แสดงให้ศิษยานุศิษย์ได้เห็นว่าท่านพร้อมที่จะจากไปโดยไม่มีความห่วงหาอาลัยหรือมีความวิตกกังวล ตรงกันข้ามท่านกลับมีความรู้สึกตัวตลอด  ในชั่วโมงสุดท้ายของการอาพาธ ก่อนที่จะละสังขาร ท่านมีปัญหาเรื่องการหายใจมาก เพราะว่าก้อนเนื้อที่คอของท่านขยายจนเกือบจะอุดหลอดลม และอุดท่อช่วยหายใจ ช่วงที่การหายใจกำลังติดขัดและลูกศิษย์กำลังเยียวยาเพื่อที่จะลดอาการบวมของก้อนเนื้อนั้น  ท่านรู้แล้วว่าท่านเห็นจะไม่รอดแน่ แต่ท่านไม่ตื่นตระหนก ท่านขอไปเข้าห้องน้ำ ไปถ่ายอุจจาระ เสร็จแล้วก็ล้างหน้าล้างมือให้สะอาด แล้วมานอนบนเตียงโดยไม่มีใครพยุงท่านเลย ระหว่างที่หายใจติดขัด ลูกศิษย์ก็พยายามช่วยกันคนละไม้คนละมือรอบตัวท่านสามสี่คน ท่านก็ขอกระดาษเพื่อเขียนข้อความสั้นๆ ว่า“พวกเรา ขอให้หลวงพ่อ ตาย”   ที่ท่านเขียนเช่นนี้คงเพราะท่านไม่อยากให้ลูกศิษย์เหนื่อยเพราะท่านอีกต่อไปแล้ว จึงเขียนบอกลูกศิษย์ผู้ดูแลว่า หลวงพ่อพร้อมจะไปแล้ว อย่าเหนื่อยอีกเลย อย่าขวนขวายอีกเลย ท่านรู้ตัวว่านี่คือวาระสุดท้ายของท่าน เมื่อยื่นกระดาษให้ลูกศิษย์ท่านก็พนมมือเหมือนกับขอบคุณลูกศิษย์ที่ดูแลท่าน และเป็นการอำลาไปด้วยในตัว สักพักท่านก็หลับตา ไม่นานหลังจากนั้นลมหายใจก็สิ้นเสียง แล้วสัญญาณชีพทั้งหมดของท่านก็หายไปในราวตีห้าของวันที่ ๒๓ สิงหาคม คือเมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว

หลวงพ่อแสดงให้เราเห็นอย่างแจ่มชัดว่าท่านอยู่ด้วยสติ ป่วยด้วยสติ และเมื่อถึงวาระสุดท้ายก็ตายด้วยสติ ด้วยความรู้ตัว นี่คือคำสอนสำคัญที่ท่านมอบให้กับเราเป็นครั้งสุดท้ายว่า แม้ไม่มีใครหนีพ้นความตาย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทุกข์ เพราะเราสามารถตายได้ด้วยใจสงบ ด้วยสติและความรู้สึกตัวได้  เราไม่จำเป็นต้องทุกข์เพราะความตาย สามารถจะยกจิตเหนือความตาย จนกระทั่งพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตายได้  ดังที่พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้สอนและได้ทำเป็นแบบอย่าง แต่สำหรับพวกเรา นั่นเป็นคำพูดที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎกและเรื่องเล่า แต่เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหคม ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดได้เห็นด้วยตาว่า การจากไปอย่างสงบ มีสติและความรู้สึกตัวนั้น เป็นไปได้ อันนี้เป็นทั้งคำสอนและการบ้านที่ลูกศิษย์ควรน้อมเข้ามาพิจารณาเพื่อทำให้ได้อย่างท่านเมื่อวันนั้นมาถึง

เราทุกคนต้องตาย แต่เราปรารถนาที่จะตายอย่างไร  เราอยากจะตายด้วยความทุรนทุราย กระสับกระส่าย หรือตายด้วยความสงบ  เราอยากจะตายด้วยความหลงลืมสติ หรือตายด้วยการมีสติจนวินาทีสุดท้าย  ถ้าหากว่าเราต้องการตายอย่างมีสติ ไม่ทุรนทุราย เราก็ควรใส่ใจกับการเตรียมตัว ด้วยการใช้ชีวิตอย่างมีสติ ทำกิจการงานด้วยความรู้สึกตัว และเมื่อถึงเวลาที่จะต้องตายเราก็จะพร้อมจะตายโดยไม่มีความวิตกใด ๆ   เมื่อถึงตอนนั้นอาจจะพร้อมกระทั่งว่าไม่ต้องเตรียมใจแล้ว ดูแลแค่กายก็พอ  อย่างหลวงพ่อคำเขียน ในวาระสุดท้ายของท่าน ท่านไม่ต้องเตรียมใจอะไรเลย ท่านเพียงแต่รักษากายให้สะอาดเป็นกิจสุดท้ายของท่าน เพราะเรื่องการรักษาใจหรือการฝึกใจ ท่านทำนานแล้ว แล้วก็จบไปนานแล้ว พวกเราต่างหากที่อาจจะยังไม่ได้ทำเลยหรือทำเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงควรเพียรพยายามนำคำสอนของท่านไปปฏิบัติ  รวมทั้งนำเอาปฏิปทาของท่านเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต และเป็นแบบอย่างในการเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความตายด้วยใจไม่ทุกข์

หลายคนอาจจะบอกว่า  ฉันไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม แค่ทำมาหากินก็เหนื่อยแล้ว  เคยมีคนพูดกับหลวงพ่อทำนองนี้ หลวงพ่อจึงถามกลับไปว่า แล้วทำไมมีเวลาทุกข์ ทำไมมีเวลาโกรธ เราเคยถามตัวเองไหมว่าในเมื่อเราอ้างว่าไม่มีเวลาปฏิบัติ ไม่มีเวลาเจริญสติ แต่ทำไมเรามีเวลาทุกข์ เรามีเวลาโกรธ วันหนึ่ง ๆ เราเสียเวลาโกรธไปกี่ชั่วโมง แต่ละวันเราเสียเวลาทุกข์ไปกี่ชั่วโมง ทำไมเรามีเวลาโกรธ เรามีเวลาทุกข์ แต่ทำไมเราจึงบอกว่าไม่มีเวลาปฏิบัติ

หลายคนมาบอกกับอาตมาหลังจากที่หลวงพ่อได้ละสังขารไปว่าเสียดายมาไม่ทัน  คือมากราบหลวงพ่อไม่ทันตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ อันที่จริงถึงจะมากราบหลวงพ่อไม่ทันก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งที่เราควรจะตระหนักก็คือ ยังมีหลายอย่างที่เราสามารถทำทันได้  หนึ่งในสิ่งสำคัญที่เรายังมีเวลาทำทัน ก็คือ ปฏิบัติตามคำสอนของท่าน  ด้วยการฝึกตนให้เป็นผู้มีสติ ตื่นรู้ ไม่เพียงแค่ทำความดีเท่านั้น แต่พากเพียรปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสัจธรรมความจริงของโลก เพื่อปล่อยวางและให้จิตใจเป็นอิสระจากความทุกข์ แม้จะอยู่ในโลกแต่ใจนั้นอยู่เหนือโลกได้ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเปรียบเทียบกับดอกบัวว่าอยู่เหนือน้ำ  นี่คือสิ่งที่เราควรจะใส่ใจ

แทนที่เราจะเสียเวลาไปกับความทุกข์ เสียเวลาไปกับความโกรธ เสียเวลาไปกับการคร่ำครวญโดยเฉพาะการคร่ำครวญเสียใจที่หลวงพ่อคำเขียนได้จากไป เราควรจะตระหนักว่าแท้จริงแล้วหลวงพ่อจากไปแต่ตัว แต่ท่านไม่ได้เอาสติไปกับท่านด้วย ท่านไม่ได้เอาความรู้สึกตัวไปด้วย คำสอนของท่านยังอยู่กับเรา อันนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก

สมัยที่พระพุทธเจ้าใกล้จะปรินิพพาน วันหนึ่งสามเณรจุนทะ ซึ่งเป็นน้องชายของพระสารีบุตรเข้ามาแจ้งข่าวกับคณะสงฆ์ว่าพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว พระอานนท์มีความเศร้าเสียใจเมื่อรับทราบข่าวนี้ พระพุทธเจ้าจึงถามพระอานนท์ว่า ““ดูก่อนอานนท์  สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์  สมาธิขันธ์   ปัญญาขันธ์  วิมุตติขันธ์  วิมุตติญาณทัสสนขันธ์  ไปด้วยหรือ” พระอานนท์ก็ตอบว่าไม่ได้เอาไปเลย พระเจ้าข้า  พระพุทธเจ้าก็เลยพูดให้สติกับพระอานนท์ว่า“ สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว  ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ย่อมมีความทำลายเป็นธรรมดา   การปรารถนาว่า   ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย มิใช่ฐานะที่จะมีได้” หลังจากนั้นพระองค์ก็ตรัสว่า  “เพราะฉะนั้น   เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ   มีตนเป็นที่พึ่ง  อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง   คือ   มีธรรมเป็นเกาะ  มีธรรมเป็นที่พึ่ง  อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง”

เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่เศร้าโศกเสียใจเพราะหลวงพ่อได้ล่วงลับไป พึงตระหนักว่าท่านจากไปแต่ตัว แต่ว่าศีล สมาธิ ปัญญา รวมทั้งคำสอนของท่านก็ยังอยู่  สติ ความรู้สึกตัว หนทางสู่ความไม่ทุกข์ และ ความหลุดพ้นจากความทุกข์ ก็ยังอยู่ ยังรอการเข้าถึงจากเรา ไม่ได้หายไปไหน นี่คือสิ่งที่เราพึงตระหนัก ดังนั้นจึงพึงทำความเพียรเพื่อให้ภาวะดังกล่าวปรากฎแก่เรา จนสามารถมีตนเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง ถ้าหากว่าเราทำเช่นนั้นได้เราก็จะสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าเราเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อคำเขียน เป็นบุตรของพระพุทธองค์อย่างสมภาคภูมิ

ฉะนั้นเมื่อเราได้มาคารวะสรีระของหลวงพ่อคำเขียนในวันนี้ ขอให้เราพิจารณาว่าในความสูญเสียที่บังเกิดกับเราอันเป็นศิษย์ของท่าน เราพึงน้อมรับสัจธรรมที่เกิดกับท่านมาเป็นเครื่องเตือนใจในการเจริญอัปปมาทธรรมคือความไม่ประมาทในชีวิต เพื่อเร่งทำความเพียรในขณะที่ยังมีเวลา  เริ่มต้นด้วยการมีสติ ความรู้สึกตัว  ไม่ใช่เพียงเพื่อทำใจให้สงบเท่านั้น แต่เพื่อทำใจให้สว่าง มีปัญญาเห็นความทุกข์ของชีวิต ของกายและใจ ของรูปและนาม เห็นความจริงของพระไตรลักษณ์เพื่อที่เราจะได้ไม่หลงติดอยู่ในสิ่งทั้งปวงอันเป็นทุกข์ และทำให้เกิดทุกข์

อาตมาได้กล่าวพอสมควรแก่เวลาแล้ว ท้ายที่สุดนี้จึงขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย อำนวยอวยผลให้ทุกท่านได้เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ เพื่อเป็นพละปัจจัยในการทำความดีให้ถึงพร้อมทั้งด้วยทาน ด้วยศีล ด้วยภาวนา  ขอให้ทุกท่านถึงพร้อมด้วยความเพียร เพื่อให้มีสติและความรู้สึกตัวอันจะนำพาไปสู่ปัญญา เห็นความจริงของชีวิต จนจิตสว่าง เห็นทางพ้นทุกข์ เข้าถึงสุขเกษมศานต์ มีพระนิพพานเป็นที่หมายด้วยกันทุกคนเทอญ


ทำให้ดู  อยู่ให้เห็น และเย็นให้เราสัมผัสได้

คำว่าเย็นในที่นี้ คือความใจเย็น หรือวางเฉย หรืออุเบกขา ในเวทนาที่เกิดกับท่านได้แม้กระทั่งความตายขณะที่มาเยือน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13009 เมื่อ: 16 กันยายน 2557, 14:14:03 »



ในทุกข์  มีความไม่ทุกข์

พระไพศาล วิสาโล

แสดงธรรม ณ วัดป่าสุคะโต ๕ กันยายน ๒๕๕๗

สิบวันที่ผ่านมาอาตมาได้ไปช่วยงานของหมู่สงฆ์เพื่อเตรียมงานให้กับหลวงพ่อ ได้มีโอกาสฟังธรรมะของหลวงพ่อเป็นระยะ ๆ เพราะมีการเปิดซีดีคำบรรยายของท่านอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เช้าจดเย็น  การที่ได้ฟังเสียงของท่านแม้จะไม่ใช่เสียงสดๆ ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าท่านยังอยู่กับเรา ก็คงคล้ายๆ กับที่หลวงพ่อได้เขียนเอาไว้ในช่วงอาพาธว่า “ธาตุขันธ์คงอยู่อีกได้ไม่นาน แต่ความเป็นกัลยาณมิตรยังอยู่ตลอดไป”

หลวงพ่อยังอยู่กับเรา การได้ฟังธรรมทำให้มีความรู้สึกแบบนี้อยู่เป็นระยะๆเมื่อได้ฟังธรรมของท่านติดต่อหลายวัน  ก็เกิดข้อสังเกตประการหนึ่งขึ้นมาว่า หลวงพ่อมักพูดบ่อยครั้งว่า“ในทุกข์มีความไม่ทุกข์ ในโกรธมีความไม่โกรธ ในหลงมีความไม่หลง เปลี่ยนทุกข์ให้กลายเป็นความไม่ทุกข์ เปลี่ยนโกรธให้กลายเป็นความไม่โกรธ เปลี่ยนหลงให้กลายเป็นความไม่หลง ความทุกข์ทำให้ไม่ทุกข์ ความโกรธทำให้ไม่โกรธ ความหลงทำให้ไม่หลง”

พวกเราที่ฟังคำบรรยายของท่านเป็นประจำคงเห็นเหมือนอาตมาว่า นี่เป็นข้อความที่ท่านพูดบ่อยมาก และถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามีครูบาอาจารย์น้อยคนที่พูดแบบนี้ หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ 

คงไม่ผิดถ้าจะบอกว่าข้อความแบบนี้เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อคำเขียนเลยทีเดียว  แต่มันเป็นมากกว่าเอกลักษณ์ เพราะมันมีสาระที่ลึกซึ้ง แฝงอยู่ในข้อความในคำพูดเหล่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มาจากความคิดของท่าน แต่เกิดจากประสบการณ์การปฏิบัติ เกิดจากสภาวธรรมที่ท่านได้เห็นและเข้าถึง“ในทุกข์มีความไม่ทุกข์ ในโกรธมีความไม่โกรธ ในหลงมีความไม่หลง” ข้อความนี้บอกอะไรเราบ้าง

มันบอกเราว่า ความทุกข์ก็ดี ความหลงก็ดี ความโกรธก็ดี มันไม่ใช่เป็นสิ่งที่ต้องกำจัด  ถ้าเราต้องการแสวงหาความไม่ทุกข์  แสวงหาความไม่โกรธ แสวงหาความรู้ตัว ก็หาได้จากความทุกข์ ความโกรธ และความหลงนั้นเอง ผู้คนมักจะเข้าใจว่าความทุกข์ ความโกรธ และความหลงเป็นสิ่งที่ต้องกำจัด แต่หลวงพ่อพูดอีกแบบหนึ่งว่า ไม่ต้องกำจัดมันหรอก เพียงแค่ดูให้ดีๆ  ในความทุกข์จะพบความไม่ทุกข์ ในความโกรธจะพบความไม่โกรธ ในความหลงจะพบความไม่หลง 

นักปฏิบัติธรรมจำนวนมากมักมองความทุกข์ ความโกรธ และความหลงว่าเป็นสิ่งที่ต้องกำจัด ต้องทำลาย  จึงนำไปสู่การกดข่มผลักไส  วิธีนี้มีประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการทำความดีและต้องการรักษาศีล เวลามีความโกรธ ความโลภ ความหลงเกิดขึ้นก็ต้องกดข่มเอาไว้ เช่นอยากจะทำร้ายใคร อยากจะด่าใคร อยากจะขโมยของใคร ก็ต้องกดต้องข่มความอยากเอาไว้โดยอาศัยขันติ คือความอดทน ความอดกลั้น  อันนี้เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการทำความดี

แต่หลวงพ่อสอนให้เราก้าวไปไกลกว่านั้น คือไม่ใช่แค่ทำดีและเว้นชั่ว แต่ควรฝึกจิตให้เห็นความจริง เพราะปัญญาที่เห็นความจริงอย่างแจ่มแจ้งเท่านั้นที่จะช่วยให้พ้นทุกข์ได้ การที่จะมีปัญญาเช่นนั้นได้ก็ต้องเริ่มต้นจากการเห็นความจริงที่ปรากฎในลักษณะต่างๆ รวมทั้งความจริงที่มาในรูปของทุกข์ มาในรูปของความโกรธ มาในรูปของความหลง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมที่สามารถสร้างปัญญาให้แก่เราได้เมื่อมีทุกข์ แทนที่จะกำจัดทุกข์ ก็มาพิจารณาทุกข์ ก็จะเห็นความไม่ทุกข์ซ่อนอยู่ เหมือนกับผลไม้ มันมีเปลือก มีเนื้อที่ห่อหุ้มเมล็ดเอาไว้  ถ้าเราต้องการเมล็ด เราไม่ควรทิ้งผลไม้   เราเพียงแต่ปอกเปลือกและคว้านเอาเนื้อออกมา ก็จะได้เมล็ด ถ้าเมล็ดนั้นคือความไม่ทุกข์หรือความพ้นทุกข์ เราจะพบได้ก็จากความทุกข์ซึ่งเป็นประหนึ่งเปลือกและเนื้อที่ห่อหุ้มเท่านั้น ไม่ใช่จากที่ไหนเลยความทุกข์กับความไม่ทุกข์มันอยู่ด้วยกัน

เมื่อเราพิจารณาความทุกข์ก็จะเห็นว่าอะไรคือสาเหตุของความทุกข์ และเมื่อเห็นสาเหตุของความทุกข์ ก็จะรู้ว่าสาเหตุของความไม่ทุกข์คืออะไร

เวลาเราโกรธ แทนที่จะกดข่มมัน เราลองดูความโกรธ ก็จะเห็นว่าจิตกำลังร้อนรนเหมือนถูกไฟเผา  ไฟนั้นคืออะไร คือความโกรธ ความรู้สึกอยากผลักไสอยากทำลาย เมื่อมองให้ลึกลงไปก็จะเห็นว่าที่โกรธก็เพราะรู้สึกว่าตัวกูถูกกระทบถูกบีบคั้น  ความยึดติดถือมั่นในตัวกูทำให้ไม่พอใจขัดเคืองกลายเป็นความโกรธ

เวลาเรามีความอยากแล้วเรารู้สึกรุ่มร้อน อันนี้เป็นเพราะตัณหา อยากได้มาเป็นของกู  ความยึดมั่นว่าจะต้องเอามาเป็นของกูให้ได้ ทำให้จิตใจรุ่มร้อนเป็นทุกข์   เมื่อมองให้ลึกลงไปจะพบว่า ที่ทุกข์ใจก็เพราะความยึดติดถือมั่นในตัวกูไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง 

ในทำนองเดียวกันเวลาเรารู้สึกหนักอกหนักใจ ถ้าเราดูความหนักอกหนักใจ เราก็จะพบว่าที่มันหนักก็เพราะแบกเอาไว้  ถ้าไม่แบกไม่ยึดก็ไม่รู้สึกหนักอกหนักใจหรือเป็นทุกข์ 

สาเหตุเหล่านี้เราจะไม่เห็นเลยถ้าเรามัวแต่จะกำจัดมันหรือผลักไสความทุกข์

ความทุกข์มีหลายแบบ แสดงออกมาหลายอาการ ทุกข์บางอย่างคือความหนักอกหนักใจ ทุกข์บางอย่างคือความร้อนรุ่ม ถ้าเรารู้ว่าตอนนี้กำลังหนักอกหนักใจ ก็จะพบต่อไปว่าที่มันหนักก็เพราะแบก ถ้าไม่แบกจะหนักได้อย่างไร ทันทีที่เรารู้ว่ากำลังหนักอกหนักใจ มันก็บอกในตัวว่าเป็นเพราะกำลังแบก  และเฉลยต่อไปว่า ถ้าไม่อยากหนักอกหนักใจ ก็ต้องปล่อยวาง

ในทำนองเดียวกันทันทีที่รู้ตัวกำลังร้อนรุ่ม มันก็บอกในตัวว่ากำลังถูกเผาด้วยไฟแห่งความโกรธหรือความโลภ  และที่ไฟมันยังเผาลนอยู่ได้ก็เพราะไปเติมฟืนเติมเชื้อให้มัน  เพียงแค่ไม่เติมฟืนเติมเชื้อ ไฟก็ดับมอดไป ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นทุกข์ ก็ต้องวางฟืนวางเชื้อลงเสีย 

กล่าวโดยสรุปก็คือ  เมื่อรู้ทุกข์ก็เห็นสมุหทัย  เมื่อเห็นสาเหตุของทุกข์ ก็จะพบว่าสาเหตุของความไม่ทุกข์นั้นคืออะไร มันเฉลยในตัวอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าอธิบายอริยสัจ ๔ ว่า ได้แก่ทุกข์ และสาเหตุแห่งทุกข์   จากนั้นก็ตรัสถึงสิ่งที่ตรงข้ามกับทุกข์ คือนิโรธ ได้แก่ความไม่มีทุกข์  สิ่งที่น่าสนใจก็คือ อริยสัจข้อที่ ๔ แทนที่จะเป็นสาเหตุแห่งความไม่ทุกข์  ตรงข้ามกับอริยสัจข้อที่ ๒ พระพุทธองค์กลับพูดถึงการสร้างเหตุปัจจัยแห่งความไม่ทุกข์ คืออริยมรรคมีองค์ ๘ 

คำถามคือทำไมพระพุทธองค์ไม่ยกเอาสาเหตุแห่งความไม่ทุกข์หรือสาเหตุแห่งนิโรธ มาเป็นอริยสัจข้อที่ ๔  คำตอบก็คือ เพราะมันเฉลยอยู่ในตัวแล้วจากสมุทัย  สมุทัยคือสาเหตุแห่งความทุกข์ เมื่อเห็นสาเหตุแห่งทุกข์ มันก็บอกในตัวว่าแล้วว่า สาเหตุแห่งความไม่ทุกข์คืออะไร คือสิ่งที่ตรงข้ามกับสาเหตุแห่งทุกข์นั้นเอง  กล่าวคือ เมื่อรู้ว่าทุกข์เพราะโลภ โกรธ หลง  ฉะนั้น ถ้าไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ก็ไม่ทุกข์  ดังนั้น อริยสัจข้อที่ ๔ พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้พูดถึงสาเหตุแห่งความไม่ทุกข์หรือสาเหตุแห่งนิโรธ แต่พูดไปถึงวิธีการที่จะทำให้สาเหตุแห่งนิโรธนั้นเกิดขึ้นได้ นั่นคืออริยมรรคมีองค์ ๘

ฉะนั้น ที่หลวงพ่อพูดอยู่เสมอว่าในทุกข์มีความไม่ทุกข์จึงมีความสำคัญมาก มันเป็นการเชื้อเชิญให้เรามองความทุกข์ ไม่ใช่กำจัดทุกข์ ซึ่งตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าทุกข์ไม่ใช่สิ่งที่ต้องละ ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้  กำหนดรู้ ในที่นี้ท่านใช้คำว่า “ปริญญา” ปริญญาก็คือการรู้รอบ รู้รอบได้ก็เพราะเห็นความจริง เมื่อเห็นความจริงก็เกิดปัญญาเวลาเรามีความทุกข์ใจ อย่าคิดแต่จะกำจัดมันตะพึดตะพือ ให้ลองกลับมาดูหรือมองมันบ้าง เราก็จะเห็นมัน และเห็นไปถึงรากเหง้าหรือสาเหตุของมัน  เมื่อเรามีความโกรธอย่าคิดแต่จะกดข่มมันเอาไว้ ลองมองดูความโกรธก็จะเห็นความไม่โกรธอยู่ด้วยกัน ความโกรธกับความไม่โกรธ  ความทุกข์กับความไม่ทุกข์ ความหลงกับความไม่หลง เหมือนกับทุเรียนที่มีหนามแหลมแต่มีเม็ดอร่อยอยู่ข้างใน  อย่างแรกที่เราควรทำเมื่อได้ทุเรียนมาก็คือ อย่าทิ้งหรือกำจัดมัน ใครที่ได้ทุเรียนแล้วทิ้งมันไปเพราะเห็นว่าหนามมันแหลม ทิ่มมือทิ่มตัว ทำให้เจ็บ  อย่างนี้เรียกว่าไม่ฉลาด  คนฉลาดจะไม่ทิ้งทุเรียน แต่จะเอามันมาเฉาะ ทะลวงเปลือกที่หนาและคม ในที่สุดก็จะได้เม็ดที่อร่อย ของอร่อยซ่อนอยู่ในผลไม้ที่มีหนามแหลมฉันใด  ธรรมก็ซ่อนอยู่ในทุกข์ฉันนั้น  ทุกข์ไม่ใช่สิ่งที่ต้องละหรือกำจัด เช่นเดียวกับทุเรียนแม้จะมีเปลือกคมอย่างไรก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทิ้ง ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกำจัด

การที่หลวงพ่อพูดว่าเปลี่ยนทุกข์ให้กลายเป็นความไม่ทุกข์ เปลี่ยนโกรธให้กลายเป็นความไม่โกรธ เปลี่ยนหลงให้กลายเป็นความไม่หลง เป็นการบอกเป็นนัยว่าทุกข์และความไม่ทุกข์ไม่ได้อยู่ตรงข้ามกันแบบที่เรียกว่าอยู่คนละขั้วหรืออยู่คนละที่  อาจเปรียบได้กับหน้ามือกับหลังมือที่อยู่ด้วยกันตลอดเวลา ความจริงสิ่งทั้งปวงที่ดูเหมือนตรงข้ามกันก็เป็นอย่างนั้น 

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความแก่มีอยู่ในความเป็นหนุ่มสาว ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค ความตายก็มีอยู่ในชีวิต” ขาวกับดำ มืดกับสว่างก็อยู่ด้วยกัน  อาศัยกัน เงาเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีแสงหรือความสว่าง  ดังพระพุทธเจ้าตรัสว่า “แสงสว่างต้องอาศัยความมืดจึงปรากฏ  ความงามต้องอาศัยความไม่งามจึงปรากฏ” ขณะเดียวกันในความมืดก็มีความสว่างอยู่  เวลากลางคืนเรานึกว่าไม่มีแสง แต่ที่จริงมันมีความสว่างอยู่ หนูและสัตว์ต่าง ๆ จึงหากินได้สบายในเวลากลางคืน

ทุกข์กับความไม่ทุกข์อยู่ด้วยกัน เปรียบได้เหมือนกับหน้ามือกับหลังมือ  ถ้าเรากำจัดหน้ามือ หลังมือก็หายไปด้วย ถ้าเรากำจัดทุกข์เราก็ไม่พบความไม่ทุกข์ คือไม่พบธรรมะ  สิ่งที่เราควรทำก็คือเพียงแต่พลิกเปลี่ยนมันเท่านั้นเอง เปลี่ยนทุกข์ให้กลายเป็นไม่ทุกข์ก็คงไม่ต่างจากพลิกหน้ามือให้กลายเป็นหลังมือ หรือการพลิกหลังมือให้กลายเป็นหน้ามือ

อันนี้เป็นการย้ำให้เราตระหนักว่าทุกข์ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำลาย เราเพียงแต่เปลี่ยนมัน เหมือนกับที่เราเปลี่ยนแป้งให้กลายเป็นขนมปัง ถ้าเราทิ้งแป้งลงถังขยะเราก็อดกินขนมปัง  หรือเปลี่ยนข้าวสารให้เป็นข้าวสุก ถ้าเราทิ้งข้าวสารเราก็อดกินข้าวสุก แต่เราจะเปลี่ยนข้าวสารให้กลายเป็นข้าวสุกได้ก็ต้องอาศัยความร้อน 

ในทำนองเดียวกันความทุกข์จะกลายเป็นความไม่ทุกข์ก็ต้องอาศัยสติและปัญญา  ตัวอย่างที่ชัดเจนกว่านั้นก็คือขยะกับดอกไม้  สองอย่างนี้มีความเกี่ยวเนื่องกันมาก  ขยะสามารถกลายเป็นดอกไม้ได้  ถ้าเราอยากได้ดอกไม้  เราก็ต้องพึ่งขยะ คือรู้จักเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นดอกไม้  ขยะนั้นสามารถช่วยให้ดอกไม้เจริญงอกงามได้  เช่นเดียวกับทุกข์ก็ทำให้ธรรมเจริญงอกงาม จนเข้าถึงความไม่ทุกข์ได้เราจะเปลี่ยนทุกข์ให้กลายเป็นไม่ทุกข์ก็ต้องมีสติ ต้องมีความรู้สึกตัว  สติและความรู้สึกตัวช่วยให้ความทุกข์เปลี่ยนเป็นความไม่ทุกข์ ทำให้ความโกรธเปลี่ยนเป็นความไม่โกรธได้  ถ้าไม่มีความรู้สึกตัว ไม่มีความรู้ตัว หรือสติแล้ว โกรธก็ยังเป็นโกรธอยู่ ทุกข์ก็ยังเป็นทุกข์อยู่  อันนี้มีนัยยะที่สำคัญมาก หลวงพ่อชี้ชวนให้เรารู้จักใช้ประโยชน์จากทุกข์ จากความโกรธ จากความหลง แทนที่จะมองมันว่าเป็นของเลวร้ายที่ต้องกำจัด ที่ต้องทำลาย ท่านจึงพูดว่า  “ความทุกข์ทำให้ไม่ทุกข์ ความโกรธทำให้ไม่โกรธ ความหลงทำให้ไม่หลง”

อันนี้เป็นคำสอนที่แตกต่างจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ที่ท่านพูดเช่นนี้ก็เพื่อไม่ให้เรารู้สึกลบต่อความทุกข์ ต่อความโกรธ ต่อความหลง  เพราะถ้ารู้สึกลบแล้วการวางใจเป็นกลางหรือว่า “รู้ซื่อๆ” ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้  รู้ซื่อๆ หรือการมองด้วยใจเป็นกลาง เกิดขึ้นได้เพราะไม่มีความชัง ไม่มีความรู้สึกลบ ไม่มีความรู้สึกผลักไสต่อทุกข์ ต่อความโกรธ ต่อความหลง ตลอดจนกิเลสตัวอื่นๆ  ท่านสอนว่าอย่าชังหรือกดข่มมัน เมื่อเจอมัน ก็อย่ากลัวหรือหนีมัน แต่เผชิญกับมัน ดูมัน และใช้มันให้เป็นประโยชน์ เปลี่ยนทุกข์ให้กลายเป็นความไม่ทุกข์ เหมือนกับที่เราเจอขยะแล้วแทนที่จะทิ้ง เราเอามาทำเป็นปุ๋ยจนเกิดดอกไม้ขึ้น ทุกข์ก็เป็นปุ๋ยที่ทำให้เกิดธรรมแจ่มแจ้งในใจของเรา

สาระตรงนี้สำคัญมากที่อาตมาอยากจะให้พวกเราพินิจพิจารณา มันเป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อทีเดียว “ความทุกข์ทำให้ไม่ทุกข์ ความโกรธทำให้ไม่โกรธ ความหลงทำให้ไม่หลง” เวลาเราปฏิบัติเราจะหลงอยู่บ่อยๆ แต่การหลงบ่อยๆ นั่นแหละจะช่วยทำให้เรารู้บ่อยขึ้นๆ ถ้าเราหมั่นดู  เวลาเจอความหลงบ่อยๆ เราจะรู้ชัดขึ้นเรื่อย ๆ ว่าความหลงหน้าตาเป็นอย่างไร อาการเป็นเป็นอย่างไร  เวลามีความโกรธเกิดขึ้นแล้วเราดูมันบ่อยๆ เราก็จะเห็นหน้าค่าตามันชัดขึ้น จำได้ดีขึ้นว่า ความโกรธเป็นอย่างนี้ มีอาการอย่างนี้  ความทุกข์มีหน้าตาอย่างนี้   ทำให้ใจมีอาการแบบนี้ คือ ร้อนบ้าง รู้สึกถูกบีบคั้นบ้าง รู้สึกถูกเสียดแทงบ้าง หรือว่าหนักอึ้งบ้าง  การที่เราเจอมันบ่อย ๆ ทำให้เราจำมันได้แม่น  ดังนั้นเมื่อมันเกิดขึ้นอีก เราก็จะไม่หลงเชื่อตามมันง่าย ๆ  เหมือนกับคนที่มาหลอกเอาเงินเรา แล้วเราก็เชื่อ ให้เงินเขาไป เขาหลอกเราทีแรก เราก็เชื่อ  มาหลอกอีกเราก็เชื่อ ยอมให้เขาหลอก ไม่จดไม่จำเสียที แต่หลังจากที่เขาหลอกเราหลายครั้งๆ เราก็เริ่มจำได้ว่าหมอนี่วางใจไม่ได้ เชื่อถือไม่ได้ ครั้งต่อไปพอเขามาหลอกอีก เราก็ไม่หลงเชื่อแล้ว   เพราะรู้ว่าเป็นคนไม่ซื่อ

กี่ครั้งที่ความโกรธมันหลอกให้เราทุกข์ ความหลงมันหลอกให้เราทุกข์ ทั้งนี้ก็เพราะเราไม่รู้จักมัน เพราะเราจำมันไม่ได้ จำลักษณะอาการของมันไม่ได้ แต่เมื่อเจอมันบ่อย ๆ เห็นมันบ่อย ๆ เราก็จำลักษณะอาการของมันได้ ภาษาบาลีเรียกว่า ถิรสัญญา เมื่อเราจำได้ พอมันมาอีก เราก็ไม่เชื่อมัน ไม่คล้อยตามมัน ไม่หลงตามมันอีกต่อไป อาจเชื่อประเดี๋ยวประด๋าว สักพักก็จำได้ แล้วถอยออกมา สลัดมันทิ้ง ทำให้ใจเราเป็นอิสระ ใจกลับมาเป็นปกติ 

ฉะนั้นจึงอย่ากังวลเวลาปฏิบัติแล้วเกิดความฟุ้งหรือเกิดความหลง  หลายคนเป็นทุกข์ว่าทำไมฟุ้งเยอะเหลือเกิน ทำไมหลงเยอะเหลือเกิน ให้รู้ว่านั่นเป็นสิ่งดีที่จะช่วยทำให้ใจเราเป็นอิสระจากความฟุ้งความหลงได้ เพราะจะจำลักษณะอาการของมันได้แล้วก็จะไม่หลงเชื่อมันต่อไป  ถึงแม้จะเผลอใจ ถูกมันหลอกไป แต่แล้วก็จะจำมันได้ รู้ตัวขึ้นมา ก็สลัดมันทิ้ง  แต่ก่อนฟุ้งเป็นวรรคเป็นเวร คิดไปเจ็ดแปดเรื่องแล้วถึงจะรู้ตัว ตอนหลังแค่เผลอคิดเรื่องเดียว ไม่ทันจบ ก็รู้ตัว ไม่คล้อยตามมันต่อไป ใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว กลับมาอยู่กับปัจจุบัน

เห็นได้ว่าความโกรธ ความฟุ้ง ก็มีประโยชน์  เจอมันบ่อย ๆ ก็ทำให้เราไม่โกรธ ไม่ฟุ้งง่าย ๆ อีกต่อไป  ถ้าเห็นอย่างนี้ก็จะเข้าใจว่าทำไมหลวงพ่อจึงบอกว่า “ความทุกข์ทำให้ไม่ทุกข์ ความโกรธทำให้ไม่โกรธ ความหลงทำให้ไม่หลง”

ทุกข์กับความไม่ทุกข์นั้นอยู่ด้วยกัน ความโกรธกับความไม่โกรธอยู่ด้วยกัน ความหลงกับความไม่หลงอยู่ด้วยกัน เหมือนกับสวิทช์ไฟ สวิทช์ที่ทำให้มืดกับสว่างก็เป็นสวิทช์ตัวเดียวกัน สวิทช์ที่ทำให้เกิดความมืด กับสวิทช์ที่ทำให้เกิดความสว่าง ไม่ใช่คนละตัวกัน  มันเป็นตัวเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน  รูกุญแจที่ขังเราเอาไว้ กับรูกุญแจที่ทำให้เราเป็นอิสระ ก็เป็นรูเดียวกัน ไม่ใช่คนละรูกัน  ตรงที่วางรองเท้าข้างหอไตร เราจะเห็นภาพหยินหยางอยู่ด้านหลัง  สัญลักษณ์นี้สะท้อนความจริงที่พูดมาทั้งหมดได้เป็นอย่างดี   ในสัญลักษณ์นี้ดำกับขาวอยู่ด้วยกัน เช่นเดียวกับทุกข์กับความไม่ทุกข์อยู่ด้วยกัน  มันบอกเราว่า  สิ่งที่ดูเหมือนตรงข้ามกันนั้นแท้จริงอยู่ด้วยกัน เหมือนหน้ามือกับหลังมือ   ใช่แต่เท่านั้นมันยังอยู่ในกันและกัน   แสดงให้เห็นจากสัญลักษณ์นี้ ที่ขาวอยู่ในดำ และดำอยู่ในขาว  เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความแก่มีอยู่ในความเป็นหนุ่มสาว ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค ความตายก็มีอยู่ในชีวิต”  สั้นอยู่ในยาว และยาวก็อยู่ในสั้น  ไม้บรรทัดนั้นสั้นเมื่อเทียบกับไม้เมตร แต่ยาวเมื่อเปรียบกับดินสอ 

ในทำนองเดียวกัน  ในทุกข์มีความไม่ทุกข์  ในโกรธมีความไม่โกรธ ในหลงมีความไม่หลง   สัญลักษณ์หยินหยางยังมีอีกแง่หนึ่งที่น่าพิจารณาก็คือ  ส่วนหัวของสีขาว คือหางของสีดำ และส่วนหัวของดำคือหางของสีขาว  หมายความว่า ขาวนั้นเปลี่ยนเป็นดำ และดำเปลี่ยนเป็นขาวได้  ทำนองเดียวกันทุกข์ก็เปลี่ยนเป็นความไม่ทุกข์ได้  โกรธก็เปลี่ยนเป็นความไม่โกรธได้  หลงก็เปลี่ยนเป็นความไม่หลงได้ที่หลวงพ่อพูดมาว่า  “ในทุกข์มีความไม่ทุกข์ ในโกรธมีความไม่โกรธ ในหลงมีความไม่หลง  เปลี่ยนทุกข์ให้กลายเป็นความไม่ทุกข์ เปลี่ยนโกรธให้กลายเป็นความไม่โกรธ เปลี่ยนหลงให้กลายเป็นความไม่หลง ความทุกข์ทำให้ไม่ทุกข์ ความโกรธทำให้ไม่โกรธ ความหลงทำให้ไม่หลง”  ทั้งหมดนี้แสดงอยู่ในสัญลักษณ์หยินหยางอย่างชัดเจน   

ถ้าเราพิจารณาดูให้ดี มันจะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมมาก  มันไม่ใช่แค่เรื่องปรัชญาสำหรับการครุ่นคิด แต่ยังเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติอีกด้วย  อันนี้เองคือเหตุผลที่หลวงพ่อพูดทำนองนี้อยู่บ่อยๆ  ข้อความเหล่านี้ไม่ใช่เป็นแค่สำนวนหรือพูดให้ดูหรู แต่มันมีนัยยะสำหรับการปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อความพ้นทุกข์ ถ้าเราไม่เข้าใจเราก็อาจจะปฏิบัติผิดพลาดได้  แต่ถ้าเราเข้าใจ ก็จะช่วยให้เราปฏิบัติอย่างถูกทิศถูกทางมากขึ้น




สาธุ  เป็นการแสดงธรรม "อริยสัจจ ๔" ได้งดงามยิ่ง ในอีกลักษณะหนึ่ง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13010 เมื่อ: 16 กันยายน 2557, 18:02:55 »




วาระสุดท้ายของชีวิตในทัศนะของพุทธศาสนา
 

พระไพศาล วิสาโล

ในทัศนะของพุทธศาสนา ความทุกข์เป็นความจริงของชีวิตที่ไม่มีใครหนีพ้น เมื่อเกิดมาแล้ว สิ่งที่ทุกคนต้องประสบก็คือ ความแก่ ความเจ็บป่วย ความพลัดพรากสูญเสีย และความตาย ทั้งนี้เพราะสรรพสิ่งล้วน     ไม่จีรังยั่งยืน มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา (อนิจจัง) เต็มไปด้วยความบีบคั้นทั้งจากภายในและภายนอก ทำให้ไม่อาจทนอยู่ในสภาพเดิมได้ ในที่สุดต้องเสื่อมทรุดและดับสลายไป (ทุกขัง) ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นสารอันเที่ยงแท้หรือเป็นอิสระ (อนัตตา) สภาวะดังกล่าว อันได้แก่ ความแก่ ความเจ็บป่วย ความพลัดพรากสูญเสีย และความตายนั้น เราทำได้อย่างมากก็คือ หน่วงเหนี่ยวให้เกิดขึ้นช้าลง แต่ในที่สุดก็ต้องเกิดขึ้นกับเรา ถึงตอนนั้นทำได้อย่างมากก็แค่บรรเทาผลกระทบให้น้อยลง

อย่างไรก็ตามสภาวะดังกล่าวแม้จะก่อให้เกิดความทุกข์ทางกาย แต่ไม่จำเป็นต้องบีบคั้นจิตใจให้เป็นทุกข์ พุทธศาสนามองว่ามนุษย์ทุกคนสามารถฝึกฝนพัฒนาจิตใจจนสามารถเป็นอิสระจากความทุกข์ คือ แม้ต้องแก่ เจ็บป่วย สูญเสีย และตาย แต่จิตใจหาได้เป็นทุกข์ไม่ การยอมรับว่ามันเป็นธรรมดาของชีวิต ไม่ปฏิเสธ ไม่ต่อต้านขัดขืนมัน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้จิตใจไม่เป็นทุกข์เมื่อสภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นกับเรา นอกจากไม่เป็นทุกข์แล้ว เรายังสามารถหาประโยชน์จากมันได้ด้วย กล่าวคืออาศัยสภาวะดังกล่าวเปิดใจให้เห็นความจริงจนเกิดปัญญาแจ่มแจ้งว่า ไม่มีอะไรที่ยึดติดถือมั่นได้อย่างแท้จริง ปัญญาดังกล่าวจะทำให้จิตใจเป็นอิสระจนความทุกข์ไม่อาจแผ้วพานได้ ดังมีพระและฆราวาสจำนวนไม่น้อยบรรลุธรรมในขณะที่เจ็บป่วยและใกล้ตาย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความแก่ ความเจ็บ ความพลัดพรากสูญเสีย และความตายนั้นเป็นตัวเร่งให้เห็นธรรมจนจิตหลุดพ้นได้

ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการดูแลในระยะสุดท้ายหรือไม่ โดยไม่เลือกว่าจะเป็นศาสนาใด?

ว่าเฉพาะวาระสุดท้ายของชีวิต พุทธศาสนามองว่า ความสุขใจในเวลาสิ้นชีวิตนั้นเป็นไปได้ ไม่จำเป็นที่เราจะต้องทุกข์ทรมานเมื่อความตายใกล้มาถึง นี้เป็นศักยภาพที่มีอยู่ในคนทุกคน ไม่เลือกว่านับถือศาสนาใด หรือแม้จะไม่นับถือศาสนาก็ตาม กล่าวได้ว่าความสงบในวาระสุดท้ายของชีวิตนั้น เป็นสิทธิของทุกคน

ชีวิตที่ดีคืออะไร?
ชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มีสุขภาวะ ไม่ถูกเบียดเบียนด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ความยากจนข้นแค้น หรือการเอารัดเอาเปรียบ ขณะเดียวกันก็เป็นชีวิตที่ตั้งมั่นอยู่ในธรรม นอกจากไม่เอาเปรียบเบียดเบียนใครแล้ว ยังสร้างสรรค์คุณประโยชน์ทั้งแก่ผู้อื่นและส่วนรวม มีจิตใจที่สงบเย็น เปี่ยมด้วยเมตตากรุณา ไม่ถูกครอบงำด้วยความโลภ โกรธ หลง และไม่ถูกบีบคั้นด้วยความทุกข์ เพราะเห็นความจริงของชีวิต อีกทั้งยังมีปัญญาสามารถแก้ทุกข์ให้แก่ตนเองได้

ตายดีคืออะไร?

ตายดีในทัศนะของพุทธศาสนา ไม่ได้อยู่ที่ว่า ตายด้วยสาเหตุใด ที่ไหน หรือตายในวัยใด แต่อยู่ที่คุณภาพจิตเป็นสำคัญ กล่าวคือตายอย่างสงบ จิตใจไม่ทุกข์ทรมาน ไม่ทุรนทุรายในวาระสุดท้ายของชีวิต เพราะยอมรับความตายและปล่อยวางสิ่งทั้งปวง ไร้ความห่วงใยหรือหวงแหนในสิ่งใดๆอีก ทั้งเมื่อตายไปแล้วก็ไปสุคติ คือไปเกิดในภพที่ดี (เช่น เกิดในโลกมนุษย์ หรือสวรรค์) ดียิ่งกว่านั้นก็คือ เมื่อจะตายใจก็สว่าง เกิดปัญญาเห็นสัจธรรม จนจิตหลุดพ้นจากความทุกข์ เป็นอิสระจากวัฏสงสาร ไม่ไปเกิดในที่ใดอีกต่อไป

ชีวิตที่ดีทำให้ตายดีเสมอไปหรือไม่?

ชีวิตที่ดีนั้นเอื้อให้เกิดการตายดีหรือตายสงบได้ แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะหากว่าตอนใกล้ตายนั้น จิตเกิดอารมณ์ที่เศร้าหมอง เนื่องจากยังมีความห่วงใยในลูกหลาน พ่อแม่ คนรัก ปล่อยวางทรัพย์สินหรืองานการที่คั่งค้างไม่ได้ หรือยังมีความรู้สึกผิดติดค้างใจ ก็จะรู้สึกต่อต้านขัดขืนต่อความตาย มีอาการทุรนทุราย กระสับกระส่าย และเมื่อสิ้นลมก็อาจไปอบายได้หากจิตสุดท้ายยังถูกอารมณ์อกุศลดังกล่าวครอบงำ นอกจากนั้นความเจ็บปวดจากโรคภัยไข้เจ็บอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดโทสะ จิตกระสับกระส่าย จนตายไม่สงบก็ได้

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะตายดีแม้ไม่ได้มีชีวิตทีดี?

การตายดีสามารถเกิดขึ้นได้แม้ไม่ได้มีชีวิตที่ดี แต่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากความชั่วที่ได้ทำ มักทำให้รู้สึกหวาดหวั่นต่อความตาย เพราะกลัวจะไปอบาย หรือถูกหลอกหลอนด้วยภาพแห่งความผิดที่ทำในอดีต ส่วนโลภ โกรธ หลงที่สะสมไว้ตลอดชีวิต ก็ทำให้ปล่อยวางสิ่งต่างๆ ได้ยาก ไม่ว่าทรัพย์สินเงินทอง หรือความโกรธแค้นพยาบาท จึงมักจะตายด้วยความทุรนทุราย อย่างไรก็ตามหากมีผู้นำทางที่ดี สามารถน้อมใจให้ ระลึกถึงสิ่งดีงามอันน่าศรัทธา หรือความดีที่ตนได้ทำ จิตก็จะเป็นกุศล และช่วยให้ไปดีได้

เราจะเตรียมตัวรับมือกับความตายได้อย่างไร?

การเตรียมตัวเผชิญกับความตายเป็นสิ่งที่เราไม่ควรละเลย เนื่องจากเราทุกคนต้องตายอย่างแน่นอน เมื่อจะต้องตาย จึงควรรับมือกับความตายให้ดีที่สุด เพื่อไม่ทุกข์ทรมานและไปดี วิธีที่ช่วยให้เรารับมือกับความตายได้ดีก็คือ การระลึกถึงความตายอยู่เสมอ เรียกว่ามรณสติ กล่าวคือเตือนตนเป็นนิจว่าสักวันหนึ่งเราต้องตายอย่างแน่นอน แต่จะตายเมื่อไหร่มิอาจรู้ได้ อาจจะตายวันนี้วันพรุ่งก็ได้ จากนั้นก็ถามตนเองว่าหากต้องตายวันนี้วันพรุ่ง เราพร้อมตายหรือยัง กล่าวคือทำความดีมาพอหรือยัง ทำหน้าที่ครบถ้วนสมบูรณ์หรือยัง และพร้อมจะปล่อยวางทุกสิ่งหรือยัง หากไม่พร้อมก็ต้องเร่งทำความดี ทำหน้าที่ที่สำคัญให้เสร็จสิ้น และฝึกปล่อยวางอยู่เสมอ การทำความดี ไม่มีความชั่วให้ต้องเสียใจ และพร้อมปล่อยวาง ช่วยให้เราพร้อมเผชิญความตายได้ทุกเมื่อ

จะจัดการกับความกลัวอย่างไร?

ความกลัวตายเกิดขึ้นเพราะไม่เคยนึกถึงความตายหรือเตรียมตัวตายเลย อีกทั้งยังมีสิ่งค้างคาใจ ห่วงคนรัก และหวงแหนทรัพย์สมบัติ นอกจากนั้นความกลัวตายยังเกิดจากความไม่มั่นใจว่าตายแล้วจะไปไหน หรือกลัวว่าจะไปอบาย ความกลัวตายจะบรรเทาได้ เมื่อเจริญมรณสติเป็นนิจ พยายามทำดีที่สุดกับคนรัก จนสามารถปล่อยวางได้ ไม่มีเรื่องติดค้างใจ ไม่มีภารกิจที่ค้างคา พูดง่าย ๆ คือมีการเตรียมตัวอยู่เสมอ ยิ่งถ้าได้เจริญภาวนา ก็จะช่วยให้จัดการกับความกลัวตายได้อย่างดี รวมทั้งเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดา สามารถยอมรับมันได้ โดยไม่ปฏิเสธผลักไสมัน

สมาธิภาวนาจะช่วยลดความเจ็บปวดในระยะสุดท้ายได้หรือไม่ โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่เคยฝึกสมาธิมาก่อนเลย?

สมาธิภาวนาช่วยลดความเจ็บปวดในระยะสุดท้ายของชีวิตได้ กล่าวคือเมื่อมีความเจ็บปวด ก็น้อมจิตมาอยู่ที่ลมหายใจ เมื่อจิตแนบอยู่กับลมหายใจอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดสมาธิคือความสงบ ความสงบนั้นช่วยทำให้เกิดสารเคมีบางอย่างที่บรรเทาปวดได้ นอกจากนั้นการที่จิตไม่ไปรับรู้ความเจ็บปวดในร่างกาย ก็อาจทำให้ลืมปวด หรือรู้สึกปวดน้อยลง

นอกจากสมาธิแล้ว การเจริญสติ ก็ช่วยบรรเทาความปวดได้ กล่าวคือเมื่อมีความเจ็บปวด สติช่วยให้ใจไม่ปักตรึงอยู่ในความปวด แต่จะถอนตัวออกมาเห็นความปวด ทำให้ใจไม่รู้สึกปวด แม้กายจะยังปวดอยู่ คือ เห็นความปวด แต่ไม่เป็นผู้ปวด ผู้ที่ไม่เคยทำสมาธิภาวนามาก่อน หากได้รับการแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ ก็สามารถลดความเจ็บปวดลงได้ สภาพแวดล้อมที่เกื้อกูล เช่น สงบ หรือน้อมใจให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนศรัทธาหรือความดีที่ตนได้ทำ ก็ส่งเสริมให้การทำสมาธิภาวนาของผู้ป่วยเกิดผลดีเช่นกัน
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #13011 เมื่อ: 17 กันยายน 2557, 00:37:57 »

สวัสดีค่ะพี่สิงห์ที่เคารพ
ขอบคุณค่ะ สำหรับโพสต์ธรรมะให้อ่านเสมอ
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13012 เมื่อ: 17 กันยายน 2557, 05:05:07 »

เดี๋ยวนี้แก่มากจริง ๆ เขาถึงต้องให้เป็นประธาน ในพิธีฌาปนกิจศพ พระปลัดสมพงษ์   มานิตโต  รองเจ้าอาวาส และอดีตเลขา เจ้าคณะอำเภอเมือง แล้ว เพราะไม่มีนักการเมือง นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านใด ๆเลย จึงต้องน้อบรับด้วยความยินดี ยิ่ง




เมรุลอยภาคใต้มันเป็นอย่างนี้ ตัวศพยาวกว่าถังเหล็ก
ไม่เป็นไร ศพต้องคว่ำหน้า จะได้ไม่ลุกมานั่งเวลาเส้นเอ็นถูกไฟ
ส่วนท้องจะเผาก่อน แล้วสามารถที่จะพับเอาศรีษะ  ขา มารวมกันอยู่ในถังเหล็กได้
มันอุจจาดตา  ก็อย่าไปดูมัน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสัปปาเร่อเขาจัดการ สามชั่วโมงก็เก็บกระดูกได้เลย

















ชีวิตมีเพียงเท่านี้เอง

เนื่องจากต้องหนีฝน  เลยเปลี่ยนกำหนดการเอาแบบสะดวก เป็นหลัก

พระปลัดสมพงษ์  มานิโต  สิริอายุ 76 ปี เท่ากับ หลวงพ่อคำเขียน  สุวัณโณ

อยู่สนามบินภูเก็ต  กำลังรอขึ้นเครื่องไปดอนเมือง boarding 15:25 น.




ยามมีชีวิตอยู่ ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และวิญญาณธาตุ

เมื่อตายเหลือเพียง ธาตุดิน น้ำ ลม

ภาพที่เห็นสุดท้ายเหลือเพียงธาตุดิน

ผ่านไปหนึ่งปีคนก็ลืมหมดแล้ว  นี่ละชีวิตมนุษย์ ที่มีแต่ริษยา-ตระหนี่ ที่ตามมาซึ่งทุกข์

พี่สิงห์  อยู่บ้านแล้วครับเดินทางปลอดภัย 
วันนี้เกือบเห็นความโกรธ  พนักงานนกแอร์ที่ภูเก็ต  พูดจาไม่รับแขกเลย ทั้งที่เราเป็นสมาชิก Nok smile plus นั่ง Nok Air มาเกินพันเที่ยวแล้ว ไม่ดีเลย บริการอย่างนี้ เห็นว่าเราเป็นลุงแก่ ๆ คงไม่เคยเดินทางโดยเครื่องบินเท่าไร  แท้จริงเขาไม่รู้ เรานั่งจนจำชื่อกัปตัน จำชื่อเครื่องบิน ที่นั่งที่เคยนั่ง และแอร์เป็นส่วนใหญ่ วันนี้ขอเป็นผู้เป็นสักวันหนึ่ง 

แต่ก็ไม่เผลอจนลืมสติ เพราะสติมันไว้กว่า ความโลภ ความโกรธ คามหลง และความคิด

พรุ่งนี้ ต้องไปทำงานที่สระบุรี โรงงาน PSTC ไปนอนค้างคืนที่สิงห์บุรี เพื่อทำบุญ-รักษาศีลอยู่วัด วันพระสาทไทยพอดี ต้องซื้อกระยาสาท จากอำเภอเสาให้  สระบุรี ไปทำบุญ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13013 เมื่อ: 17 กันยายน 2557, 10:46:40 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

วันนี้วัันพระ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ พี่สิงห์ ทำบุญอยู่วัดพระนอน

วันพระหน้าก็สารทเดือนสิบ มีเทศน์มหาชาติ พี่สิงห์ เป็นเจ้าภาพเทศน์มหาชาติกัณฑ์ทศพร

คงไปทำบุญ  อยู่วัดพระนอนสองวัน และเป็นเจ้าภาพถวายอาหารเพลแด่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาที่อยู่วัด เป็นก๋วยเตี๋ยวหมู  เณรชอบ

อีกสามวันพระก็ครบตามที่ตั้งใจเอาไว้ อยู่วัดทุกวันพระตลอดพรรษา นี้

จิตไม่ลำบาก  แต่การขับรถทางไกล แย่ลง ต้องเตือนตนเองตลอดเวลา มีสติ แวะปั้มทุกหนึ่งชั่วโมงเป็นอย่าช้า คือต้องแวะปั้มสองครั้ง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13014 เมื่อ: 17 กันยายน 2557, 20:45:47 »



เย็นนี้ได้แวะไปฟังบรรยายธรรมของหลวงพ่อพระไพศาล  วิสาโล

การทำบุญครั้งสุดท้าย ด้วยร่างกาย

เลยได้รับทราบว่า ประเทศไทยนั้น มีการบริจาคร่างกายให้แร้งกิน เป็นอาหาร เป็นความประสงค์ของผู้ตายที่ได้สั่งเอาไว้ ก่อนการแล่เนื้อจะมีพีธีกรรม มีการสวดทำพิธีขณะแล่ศพ ให้แร้ง เสร็จแล้วก็เผาแต่กระดูก เก็บอัฏฐิ ดีกว่าเผาทั้งร่างเพราะไม่ก่อประโยชน์ มายกเลิก หลังจาก พ.ศ. 2475 นี่เอง จะเป็นวัดนอกกำแพงพระนคร เช่นวัดสระเกษ  จึงเป็นที่มาของแร้งวัดสระเกษ ที่จะมาล้อมวงครึ่งวงกลมรอกินเนื้อศพ  ไม่แย่งแบบหมา เป็นระเบียบ

ทั้งหมดเป็นบัญทึกของฑูตอังกฤษประจำสยามประเทศ  แต่คนไทยเห็นเป็นเรื่องธรรมดา  จึงไม่มีการบันทึก

ในภาพเป็นแร้งที่ฑิเบธ ที่เขาจะไม่เผา หรือฝังศพ  แต่จะหามเอาไปให้แร้งกินเป็นอาหาร

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13015 เมื่อ: 18 กันยายน 2557, 07:46:07 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องจันทร์ฉาย ที่รัก

ขอบคุณมาก

บางทีอยากเขียนหลาย ๆ เรื่อง แต่เมื่อเป็นผู้ดู ก็จะบอกว่า เรามันฟุ้งไปหรือเปล่าถึงอยากเขียน ไปเป็นผู้เป็น ก็จะเอาชนะจิตด้วยการ อุเบกขา ดูความหวั่นไหวของมัน ดูความอยากของมัน ก็เลยไม่เขียน

ชีวิตของเราที่ยังอยู่ในสังคม ในเบื้องต้น ถ้ามีอารมณ์เวทนา หรือเสวยเวทนา เช่น จะพอใจหรือไม่พอใจ เราต้องเป็นผู้เห็น อย่าไปเป็นผู้เป็น  ขอให้พิจารณาอย่างนี้ให้มาก ๆ เราก็เป็นผู้ดูได้ ไม่หลงเข้าไปในความคิด  ยิ่งฝึกสติเอาไว้มาก ๆ มันตื่นตัวของมันอยู่แล้ว

ยกเว้นเพื่อการดำรงชีวิตในปัจจัย ๔ การทำงาน  การติดต่อผู้คนเราก็ต้องเป็นผู้เป็น คือหลงในการคิด แต่ไม่ได้หลงในอารมณ์ที่่เกิดขึ้น  สิ่งที่ต้องระวังในการปฏิบัติธรรม คืออย่าหลงไปเป็นผู้เป็น ในอารมณ์ต่าง ซึ่งเป็นปรมัตถ์ธรรม เป็นเพียงผู้ดู

หลงคิดในการทำงาน-ปัจจัย ๔ กับ หลงคิดในอารมณ์มันต่างกัน หลงคิดในอารมณ์ นำทุกข์มาให้ต้องเป็นผู้เห็น อย่าลืมตน หลงในการทำงาน-ปัจจัย มันเป็นกิริยาอย่างหนึ่งของธรรมชาติในการดำรงชีวิต

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13016 เมื่อ: 18 กันยายน 2557, 09:55:54 »



ได้มีโอกาสฟังธรรมบรรยาย ของหลวงพ่อคำเขียน  สุวัณโณ ในระยะสุดท้ายของชีวิตท่าน  ก่อนที่ท่านจะพูดไม่ได้เนื่องจากมีก้อนเนื้อร้ายอุดลำคอ จะพบว่า ท่านกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว  ได้ทำพรหมจรรย์ให้สิ้นสุดลงแล้ว และหลวงพ่อ จะพยายามบอกให้เรารู้ว่า มาถูกทางแล้ว ท่านทำให้ดูแล้ว ในการฝึกสติ ไม่พาหลงทาง จะสามารถกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ จริงทุกคน

และภายหลังจากที่ท่านพูดไม่ได้ แต่ท่านเขียนได้ ท่านก็ยังคงย้ำเตือนให้ศิษย์ทราบว่า ทุกคนสามารถกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ เช่นท่าน ได้จริง ขอให้มีความเพียร ศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่หลวงพ่อสอน  ย้ำเตือนให้กระทำ

หลวงพ่อ "ไม่เป็นอะไร กับอะไร" นั้นเป็นความจริง กายหลวงพ่อป่วย แต่ใจของหลวงพ่ออยู่เหนือความป่วย เพราะหลวงพ่อไม่เป็นอะไร กับอะไร หลวงอยู่ด้วยสติ-สัมปชัญญะ หรือความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง นั่นเอง

หลวงพ่อได้ "ทำให้ดู  อยู่ให้เห็น และเป็นให้เรียนรู้" และ
หลวงพ่อไพศสาล  ท่านบอกว่า หลวงพ่อ "ทำให้ดู  อยู่ให้เห็น และเย็นให้สัมผัสได้"

คำสองคำนั้นความหมายแตกต่างกันบ้างแต่จุดประสงค์เดียวกัน

หลวงพ่อ "ทำให้ดู" เริ่มต้นตั้งแต่วิธีการฝึกสติของท่าน การดูแลชุมชนชาวบ้าน  การรักษาป่า-ปลูกป่า อยู่กับธรรมชาติ การสอนธรรมของท่าน และการดำรงชีวิตของท่าน ทั้งก่อนป่วย หลังป่วย และตอนละสังขาร ท่านก็ทำให้เราเห็นแล้ว สมควรที่เราจะเอาท่านเป็นตัวอย่างได้

หลวงพ่อ "อยู่ให้เห็น" ทุกคนสามารถเห็นการดำรงอยู่ของหลวงพ่อ ในเวทนาที่เกิดขึ้นจากการป่วย  แต่หลวงพ่อไม่ได้ป่วยใจเลย

หลวงพ่อ "ให้เป็นที่เรียนรู้" คือท่านเป็นตัวอย่างให้เราได้ศึกษา อย่าลืมว่าท่านเป็นมะเร็ง  รู้ว่าต้องตาย  แต่ท่านสุขใจยิ่งพร้อมเผชิญ ทุกสิ่งแม้กระทั่งความตายมาเยือนในวินาทีสุดท้าย

ส่วน หลวงพ่อ "เย็นให้เราได้สัมผัส" นั่นหมายความว่า เวทนาที่เกิดขึ้นกับหลวงพ่อ  หลวงพ่อไม่ได้เป็น หลวงพ่อเป็นเพียงผู้ดู หลวงพ่อวางอุเบกขาลงได้ ผลอันนี้เราสามารถเห็นได้จากการกระทำของหลวงพ่อ ที่ทำให้ดู อยู่ให้เห็น นั่นเอง

หลวงพ่อ ท่านเน้น ทุกคนสามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้จริง โดยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เน้นที่กายซึ่งเป็นสติปัฏฐานใหญ่ สร้างการรู้สึกตัวจากทวารทั้ง ๖ เปลี่ยนหลงเป็นรู้  ให้รู้ซื่อ ๆ เปลี่ยนจากผู้เป็น มาเป็นผู้เห็น และไม่เป็นอะไร กับอะไร  นี่ละ ไม่ทำให้ผิดทาง หลงทาง  สามารถไปถึงซึ่งพระนิพพานได้จริง

หลวงพ่อทำให้ดู ทำให้ได้ศึกษาแล้ว

ดังนั้น เราชนรุ่นหลัง ควรจะกระทำตามที่หลวงพ่อเฝ้าย้ำเตือน ก่อนที่ท่านจะละสังขารไป

เราจงมากระทำให้ถึงซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ ในชาตินี้เถิด  มิฉนั้นเราก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่อีก ซึ่งไม่รู้ว่าจะกลับมาอีกเมื่อไร  อย่าลืมการเกิดทุกครั้งมีแต่ทุกข์

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13017 เมื่อ: 18 กันยายน 2557, 10:20:56 »

ดอกบัว สระน้ำวัดป่าสุคะโต



รู้ซื่อ ๆ

รู้อย่างไม่ต้องถามเหตุ ถามผล ไม่ถามอะไรทั้งสิ้น ไม่หวังผลอะไรทั้งสิ้น ไม่เอาผิด-ไม่เอาถูก รู้อย่างกลาง ๆ ธรรมดา ๆ ไม่มีปีติ  ไม่มีเวทนา ไม่มีการคิด ไม่มีวิตก-วิจารณ์ ทั้งสิ้น

ความสุข ก็อารมณ์หนึ่ง ที่ท่านจำได้ และเข้าใจได้
ความทุกข์ ก็อีกอารมณ์หนึ่ง ที่ท่านจำได้ และเข้าใจได้
ความโกรธ ก็อีกอารมณ์หนึ่ง ที่ท่านจำได้ และเข้าใจได้
ความโลภ ก็อีกอารมณ์หนึ่ง ที่ท่านจำได้ และเข้าใจได้
ปีติ ก็อีกอารมณ์หนึ่ง ที่หลายท่านยังจำไม่ได้  ท่านต้องหาให้พบในอารมณ์นี้ แต่เพียงแค่รู้เฉย ๆ อย่าไปติดใจมัน
ความสงบก็เช่นเดียวกัน  อย่าไปติดใจมัน

แต่สติ หรือการรู้สึกตัวนั้น ท่านต้องหามันให้พบ ด้วยการเจริญสติ สร้างความรู้สึกตัว เมื่อพบแล้วต้องทำความคุ้ยเคยกับมัน ให้จิตมันจำได้ และให้ดำรงอยู่ตลอดไป ต้องมีความเพียรในการฝึกฝน จนความรู้สึกตัวนั้น เป็นอันเดียวกับจิต เช่นเดียวกับเมื่อท่านหลงอยู่ในความคิดตั้งแต่เกิดนั่นเอง

เมื่อมีสติแล้ึึวท่านจะพบความจริงในรูป-นาม เห็นความคิด เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของความคิด เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับจิต เพราะท่านจะเป็นผู้ดู  ไม่ได้เป็นผู้เป็น ท่านจะปล่อยวางได้ก็ต่อเมื่อจิตมันเห็นความจริงในธรรมต่าง ๆ ด้วยตัวของมันเองเท่านั้น จึงจะปล่อยวางได้

หลวงพ่อคำเขียน ท่านสั่งนักสั่งหนา ให้มีความรู้สึกตัว รู้ซื่อ ๆ เท่านั้น เพราะรู้ซื่อ ๆ นี่ละมันจะเป็นทางสายเอก แห่งการพ้นทุกข์ถาวรได้

ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13018 เมื่อ: 18 กันยายน 2557, 10:38:13 »






หลวงพ่อพระไพศาล กระทำเนสัชชิก ตลอดทั้งคืน ขณะที่สรีระธาตุขันธ์ของหลวงพ่อคำเขียน  สุวัณโณ  ก็กำลังมอดลงด้วยธาตุไฟ

หลวงพ่อพระไพศาล  วิสาโล อยูกับหลวงพ่อคำเขียน  สุวัณโณ  ตั้งแต่พรรษาแรก จนถึงปัจจุบันก็ ๓๐ กว่าพรรษาแล้ว ทั้งที่ครั้งแรกท่านตั้งใจบวชเพียงพรรษาเดียว เพราะได้พบกับหลวงพ่อคำเขียน จึงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

วัดป่าสุคะโต  มีผู้มาบวชจำพรรษา และจากไปมากมาย แต่พระไพศาล  อยู่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก กับหลวงพ่อคำเขียน ตั้งแต่วัดป่าสุคะโต เป็นวัดเล็กๆ อยู่กลางป่า  จนปัจจุบัน เป็นสถาบันสติปัฏฐาน ๔

หลวงพ่อคำเขียน ท่านระลึกถึงคุณของหลวงพ่อเทียน      มาก ในช่วงสุดท้ายของชีวิต เพราะหลวงพ่อเทียน  เป็นผู้ชักนำ สอนธรรมให้ท่าน  จนท่านสามารถพ้นทุกข์ได้ ท่านจึงระลึกถึงคุณหลวงพ่อเทียน  ยิ่ง

เช่นเดียวกัน หลวงพ่อคำเขียน สอนธรรมให้หลวงพ่อพระไพศาล  อยู่ด้วยกันมายาวนาน ท่านย่อมระลึกถึงบุญคุณของหลวงพ่อคำเขียน ยิ่ง

คืนวันปลงสรีระสังขารของหลวงพ่อคำเขียน  พระไพศาล  ได้ทำเนชสัชชิก เดินจงกรม สลับกับการนั่งสร้างจังหวะอยู่บนเมรุ ขณะที่สรีระธาตุของหลวงพ่อคำเขียน ก็กำลังมอดลง ๆ อยู่ในเมรุ จนดับสนิท ท่านก็เก็บสรีระธาตุ ตามที่หลวงพ่อคำเขียน  สั่งท่านไว้ทุกประการ

นั่นละความผูกพันระหว่าง ครู กับ ศิษย์

ขออนุโมทนา

วันนี้ ต้องเดินทางไปทำงานที่นครศรีธรรมราช  เดือนที่ผ่านมาไม่ได้ไปเลย ไปวันนี้ boarding 17:05 น. กลับวันเสาร์ boarding 15:45 น.  

ไปนครศรีธรรมราช  ก็ตรงกับการจัดงานสารทเดือนสิบ ของชาวนครศรีธรรมราช ที่ลูกหลานต้องกลับบ้านไปทำบุญให้้ปู่-ย่า  ตา-ยาย พ่อ-แม่ ญาติ ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งท่านจะกลับมาเยื่ยมลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ ตามคติความเชื่อ ที่สืบทอดกันมา เป็นการทำความดี  ระลึกถึงพระคุณท่าน  ทำแล้วจิตใจสบาย  แต่ไม่ได้หลงงมงายอะไร  เป็นใช้ได้

สวัสดี


      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13019 เมื่อ: 18 กันยายน 2557, 15:54:09 »



เปลี่ยนจาก "ผู้เป็น" มาเป็น "ผู้เห็น"

ครั้งหนึ่ง มีอุบาสิกาผู้ปฏิบัติธรรม ได้เดินมาถามหลวงพ่อคำเขียนว่า "หลวงพ่อเจ้าขา วันนี้หนูเครียด จังเลย" หลวงพ่อคำเขียน พูดว่า "นักกรรมฐานเขาไม่พูดอย่างนั้น  ลองพูดใหม่ซิ"  อุบาสิกาท่านนั้นหยุดคิดนิดหนึ่ง แล้วก็พูดกับหลวงพ่อ ใหม่ว่า "วันนี้หนูเห็นความเครียด" หลวงพ่อ ท่านบอกว่า เอาละต้องพูดอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว เห็นไหม ความเครียดไม่มีแล้ว

เมื่อใดที่ท่านมีความเครียด มีความทุกข์ มีความโกรธ มีความโลภ มีความหลง มีความพยาบาท ขอเพียงท่านเปลี่ยนทัศนคติหรือเปลี่ยนความคิดของท่าน จาก "ผู้เป็น"  มาเป็น "ผู้เห็น หรือผู้ดู" ง่าย ๆ เพียงแค่นี้ความทุกข์  ความโกรธ  ความโลภ  ความหลง ความพยาบาท มันก็ทำอะไรเราไม่ได้เลย ความโกรธ ความโลภ  ความหลง ความพยาบาท มันก็เป็นเพียงอารมณ์หนึ่ง ที่มากระทบจิตของเราเท่านั้น ถ้าเราระลึกอยู่ด้วยความรู้สึกตัว ไม่ไปเป็นผู้เป็น  มาเป็นผู้เห็นเสีย อารมณ์ต่าง ๆนั้น มันก้ดับไปเองของมันอยู่แล้ว

อย่าลืม "อย่าไปเป็น ผู้เป็น"  ให้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกตัว "ซื่อ ๆ" และเป็น "ผู้เห็น" นั่นละพระนิพพาน ละ เพราะจะอุเบกขาลงเสียได้ ไม่ตกอยู่ในอารมณ์ ที่เกิดขึ้นนั้น

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #13020 เมื่อ: 18 กันยายน 2557, 16:14:28 »

พี่สิงห์


บรรยายได้ถูกต้องครับ
เด็กที่มีจิตใจใฝ่ในธรรม โตไปไม่โลบ ไม่เกเร รู้จักให้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13021 เมื่อ: 19 กันยายน 2557, 07:56:03 »

นิทานเซนเรื่อง “คุณธรรมเหนือการแพ้ชนะ”



มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อว่าอากิก รู้สึกเบื่อหน่ายในความไร้สาระของชีวิตตนเองอย่างมาก จึงเดินทางไปที่วัดเซนแห่งหนึ่ง ครั้นพบอาจารย์เซนผู้เป็นเจ้าอาวาสและกล่าวว่า

“ผมรู้สึกเบื่อหน่ายต่อชีวิต จึงปรารถนาจะแสวงหาการรู้แจ้ง เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทางจิตใจนี้ แต่ผมไร้ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งใดติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ผมไม่อาจใช้เวลานั่งสมาธิได้นานเป็นปีๆ หรืออดทนจากกิเลสเย้ายวนต่างๆ ผมคงอาจกลับไปเลวอย่างเก่าได้อีก คนอย่างผมนี้จะพอมีหนทางสั้นๆ เพื่อเข้าถึงธรรมะได้ไหมครับ”

อาจารย์เซนตอบว่า “มีสิ ถ้าเจ้าตั้งใจจริง จงบอกข้าหน่อยว่า เจ้าศึกษาค้นคว้าอะไรมาบ้าง เจ้าได้ตั้งสมาธิและชอบสิ่งใดมากที่สุดในชีวิตของเจ้า”

อากิกตอบว่า “ผมไม่ได้ศึกษาหรือตั้งสมาธิเรื่องใดหรอกครับ ครอบครัวของผมร่ำรวย ผมจึงไม่ต้องทำงาน ผมคิดว่า สิ่งที่ผมสนใจและชอบมากที่สุดก็คือ หมากรุก ผมใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการเล่นหมากรุก เท่านั้นครับ”

อาจารย์เซน นิ่งคิดอยู่ครู่หนึ่ง แล้วสั่งลูกศิษย์ว่า “จงไปตามตัวพระฮุยมาหาข้าที่นี่ บอกให้นำเอากระดานหมากรุก และตัวหมากรุกมาด้วย” สักครู่หนึ่งพระฮุยก็เดินถือกระดานหมากรุกมาวางลง อาจารย์เซนจึงจัดวางตัวหมากรุก และบอกให้ลูกศิษย์หยิบดาบมาให้ และชูดาบให้พระฮุยและอากิกดู และพูดขึ้นว่า

“พระฮุยท่านนี้เคยได้ให้คำมั่นสัญญาว่า จะเชื่อฟังข้าในฐานะที่เป็นอาจารย์ บัดนี้ ข้าขอให้ท่านพิสูจน์ตัวตามคำสัญญา ท่านจงเล่นหมากรุกกับชายหนุ่มคนนี้ ถ้าท่านเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ข้าจะตัดศีรษะของท่านด้วยดาบเล่มนี้ แต่ข้าสัญญากับท่านว่า ท่านจะได้ไปเกิดใหม่ในสรวงสวรรค์ แต่ถ้าท่านเป็นฝ่ายชนะ ข้าก็จะตัดศีรษะของชายหนุ่มคนนี้เช่นกัน เพราะชายหนุ่มผู้นี้พยายามอยู่อย่างเดียวคือการเล่นหมากรุกเท่านั้น ถ้าเขาเล่นแพ้ เขาก็ควรสูญเสียศีรษะของเขาด้วย”

พระฮุยกับอากิกมองหน้าอาจารย์เซน และเห็นว่า ท่านมีทีท่าเอาจริงในคำพูด......ถ้าใครเป็นฝ่ายแพ้ คนนั้นจะต้องถูกตัดศีรษะด้วยดาบ พระฮุยกับอากิกเริ่มต้นเล่นหมากรุกแข่งขันกัน

เมื่อเริ่มเล่น อากิกรู้สึกว่า เหงื่อของเขาไหลย้อย หยดลงไปจนถึงปลายเท้า ขณะที่เขาเล่นเพื่อเอาชีวิตรอด กระดานหมากรุกกลายเป็นโลกทั้งโลกสำหรับเขา อากิกมุ่งสมาธิอยู่ที่กระดานหมากรุกเท่านั้น ในช่วงแรก อากิกทำท่าว่าจะสู้ไม่ได้ แต่เมื่อพระฮุยเดินแต้มเพลี่ยงพล้ำ อากิกจึงฉวยโอกาสบุกอย่างหนัก ขณะที่คู่ต่อสู้เขาเสียที อากิกก็ลอบมองดูหน้าพระฮุย เขาเห็นใบหน้าซึ่งแสดงความฉลาดและจริงใจ มีริ้วรอยแห่งกาลเวลาของความสมถะและพากเพียร แล้วเขาก็นึกถึงชีวิตอันไร้ค่าของตนเอง อากิกรู้สึกเมตตาสงสารพระฮุยอย่างสุดซึ้ง เขาจึงจงใจแสร้งเดินหมากรุกให้ตัวเองเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ......ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และไม่อาจป้องกันตัวเองได้อีกต่อไป แต่พระฮุย ก็ไม่ยอมเผด็จศึกเพราะสงสารอากิกเช่นกัน ทันใดนั้น อาจารย์เซน ก็ชะโงกหน้ามาพลิกกระดานหมากรุกล้มคว่ำ คู่แข่งขันทั้งสองต่างตกตะลึงนิ่งงงงัน..Huh?

อาจารย์เซนพูดว่า “ตกลงว่า ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ไม่ต้องมีใครเสียศีรษะ ต้องการเพียงสองอย่างเท่านั้น คือสมาธิที่มุ่งมั่น และความเมตตาสงสาร.......” แล้วหันไปทางอากิกและบอกเขาว่า

“วันนี้เจ้าก็ได้เรียนรู้ทั้งสองอย่างนี้แล้ว เจ้าตั้งสมาธิมุ่งมั่นในการเล่นหมากรุก แต่ในสมาธินั้นเอง ก็เกิดเมตตาสงสาร และยอมอุทิศชีวิตของตัวเอง เอาละ.....เจ้าจงอยู่ที่วัดนี้สักสอง-สามเดือน เพื่อติดตามการฝึกการรู้จักตัวเองต่อไป แล้วการรู้แจ้งก็จะเป็นผลแน่ๆ” อากิกก็ปฏิบัติตามที่อาจารย์เซนบอก และได้รับสิ่งที่เขาปรารถนาคือการรู้จักตัวเอง

นิทานเรื่องนี้ให้แง่คิดว่า บางครั้งคุณธรรมความเมตตาก็อยู่เหนือการแพ้-ชนะ


เขียนเล่าเรื่องพระสุรินทร์ ก่อนการคิด ( ดัดแปลงจากนิทานเรื่อง นักหมากรุกผู้แสวงหา )
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13022 เมื่อ: 19 กันยายน 2557, 13:57:31 »

ดอกบัวบานวัดป่าสุคะโต

ผู้มีส่วนร่วม: พระสุรินทร์ ก่อนการคิด (เจ้าของ) และ วัดป่าสุคะโต. ธรรมชาติที่พักใจ

ธรรมะจากดอกบัว









      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #13023 เมื่อ: 19 กันยายน 2557, 14:47:28 »


ชอบนิทานธรรมะ ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #13024 เมื่อ: 19 กันยายน 2557, 15:05:57 »







      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 519 520 [521] 522 523 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><