29 มีนาคม 2567, 16:35:47
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 2 3 [ทั้งหมด]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"  (อ่าน 42502 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« เมื่อ: 11 ตุลาคม 2551, 09:22:38 »

ผมใคร่ขอให้ช่วยพิจารณาแนวคิด การใช้ระบบการเงินซึ่งผมจะเรียกว่า "ระบบเงินคู่"(เงินสองระบบ)

แนว คิดนี้เกิดจากการที่ผมมองว่า เมื่อสังคมโลกยอมรับวิธีการจัดสรรทรัพยากรระหว่างกันโดยใช้"เงิน" และด้วยการที่ปริมาณเงินของโลกในอดีต(ซึ่งยึดโยงกับทองคำ)มีไม่เพียงพอ จึงเกิดภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองทั่วโลกเป็นช่วงๆ

แต่เมื่อสหรัฐ อเมริกาได้กล้าส่งออกดอลลาร์(โดยไม่ยึดกับทองคำ) ก็ทำให้โลกมี"ปริมาณเงิน"เพียงพอที่จะดึงทรัพยากรของโลกให้ขับเคลื่อนได้ อย่างลื่นไหล ซึ่งสอดรับกับกติกาสังคมโลก(ทุนนิยม)ที่ใช้เงินตัวกลาง

ทุกวันนี้ ค่าเงินและปริมาณของดอลลาร์กระทบกับค่าเงินและปริมาณของเงินประเทศต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศต่างๆด้วย

ทำไม ในเมื่อเงินเป็นเพียงตัวกลางแลกเปลี่ยนทรัพยากร เราจึงควรวางกติกาของเรา ให้เงินบาทเป็นเงินหลักของประเทศใช้แลกเปลี่ยนกับเงินประเทศต่างๆได้และใช้ ทั่วประเทศ และมีเงินรองไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับเงินประเทศต่างๆและใช้เฉพาะพื้นที่ แต่ค่าเงินรองนี้ต้องสัมพันธ์กับค่าเงินบาท (บางครั้งอาจมีค่ามากกว่าเงินบาท บางครั้งอาจมีค่าน้อยกว่าเงินบาท..แล้วแต่เป้าหมายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ)

1.บ้านเราก็แปลกนะครับ ทรัพยากรที่มีของเราคือสินค้าเกษตร แต่พอสินค้าเกษตรแพงคนส่วนใหญ่(ซึ่งมีรายได้น้อย)ก็เดือดร้อน
ซึ่งความจริงเพราะสินค้าเกษตรราคาถูกจึงทำให้คนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย (ปัญหานี้ระบบการเงินภายใต้กติกาเดิมแก้ไม่ได้เพราะข้อ2)

2. แม้สินค้าเกษตรจะมีราคาถูก ค่าแรงงานคนไทยต่ำ แต่เพราะเป็นทรัพยากรที่แท้จริง เมื่ออดทนไประยะหนึ่งก็สามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่งขึ้นได้ แต่เพราะความที่เงินดอลลาร์ไม่ได้รองรับด้วยทรัพยากรที่แท้จริง เมื่อมีการปรับสมดุลดอลลาร์ ย่อมกระทบเงินบาท ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียความมั่งคั่งที่สะสมมา สินค้าเกษตรและแรงงานก็ต้องเข้ามาแบกรับอีก

หากใช้ ระบบเงินเดี่ยว แบบที่เป็นอยู่ วงจร 1และ2 จะต้องเกิดโดยที่เราไม่มีทางชนะได้ เพราะประเทศเราไม่ใหญ่โต

อันที่จริงผมเชื่อว่า ปัญหาของสหรัฐจะไม่เกิดเร็วเช่นนี้ ถ้าไม่มีเงินยูโร

ขอบคุณครับ
[/color]


4-5-2556 ได้แนวคิดหลักการระหว่างเงินหลักกับเงินรองว่า อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหลักกับเงินรองนั้น ธนาคารจะไม่ซื้อเงินรองในราคาที่ต่ำลงกว่าราคาซื้อล่าสุด ทิศทางที่จะเกิดคือ เงินรองจะมีทิศทางแข็งค่าในทุกกรณีเมื่อเทียบกับเงินบาท(เงินหลัก) เงินบาท(เงินหลัก)จะมีทิศทางไปในทางอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์...
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #1 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2551, 08:37:17 »

เอาแนวคิดส่วนหนึ่งซึ่งน่าจะนำมาพัฒนาต่อยอดเป็น "ระบบเงินคู่"
ในความเห็นของผมแล้ว "ระบบเงินคู่" น่าจะเหมือนกับเงินปกติ เพียงแต่วางระบบเป็นคู่สัมพันธ์ ที่แปรเปลี่ยนตามเป้าหมายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ(ซึ่งต้องสัมพันธ์กับเศรษฐกิจโลก) เพื่อให้เงินรับใช้คนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน


หัวข้อ : บุญกุดชุม” กับชีวิตที่ลิขิตเอง
ข้อความ : บุญกุดชุม” กับชีวิตที่ลิขิตเอง

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2547


สินค้าจากชุมชนในตลาดนัดบุญกุดชุมทุกเช้าวันอาทิตย์ ที่บ้านสันติสุข

29 มีนาคม 2543 ในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ยุคที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลทางเศรษฐกิจของ IMF

“เบี้ยกุดชุม” ได้ถือกำเนิดขึ้นมาจากกลุ่มชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ภายใต้แนวคิดที่ต้องการจะสร้างระบบแลกเปลี่ยนขึ้นใช้เองใน 5 หมู่บ้านคือ บ้านสันติสุข บ้านโสกขุมปูน บ้านท่าลาด บ้านกุดหิน อ.กุดชุม และบ้านโคกกลาง อ.สันทรายมูล จ.ยโสธร ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการพึ่งพาตัวเอง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย ภายใต้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

นับจากวันนั้น “เบี้ยกุดชุม” ได้รับการกล่าวขานถึงในวงกว้าง

สื่อมวลชนหลายสำนักต่างก็ให้ความสนใจ ในขณะที่ภาครัฐก็เฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิด(หนึ่งในนั้นคือธนาคารแห่งประเทศไทย : ธปท.)

14 เมษายน 2543 หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่งได้ลงข่าวบิดเบือนออกไปว่า เบี้ยกุดชุมได้ขยายออกไปไกลถึง 5 อำเภอ(ทั้งที่ความจริงมีเพียง 5 หมู่บ้าน) รวมไปถึงการบอกว่าชาวบ้านกลุ่มที่ใช้เบี้ยกุดชุมพยายามที่จะตั้งตนเป็นรัฐอิสระ เนื่องจากมีการผลิตเงินขึ้นใช้เอง

21 เมษายน 2543 ธปท.หรือแบงก์ชาติได้วินิจฉัยว่าเบี้ยกุดชุมเข้าข่ายละเมิดกฎหมาย

ใช้บุญคู่กับเงินบาท

13 สิงหาคม 2543 ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคำสั่ง 2543 ให้ระงับการใช้เบี้ยกุดชุมอย่างเป็นทางการ แต่ในความเป็นจริงชาวบ้านได้หยุดใช้เบี้ยกุดชุมหลังจากวันที่ 29 เมษายน 2543 เนื่องจากความไม่มั่นใจในภาครัฐ

แล้ว เรื่องราวของเบี้ยกุดชุมก็ค่อยๆเงียบหายไป...
..........................................

“ผักบุ้งขายกำละเท่าไหร่ป้า” -ลูกค้า

“กำละ 5 บาทจ๊ะ เอาบุญด้วยนะ” –แม่ค้า

“ซื้อ 1 กำ จ่าย 3 บาท กับ 2 บุญ ได้มั๊ย” –ลูกค้า

“ได้จ๊ะ” –แม่ค้า

นั่นคือหนึ่งในบทสนทนาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ในทุกๆเช้าวันอาทิตย์ ที่ตลาดนัดบุญกุดชุม แห่งบ้านสันติสุข ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร ซึ่งหากมองเผินๆก็จะเหมือนกับตลาดนัดทั่วไป แต่ว่าหากใครได้ลองลงเดินดูวิธีการซื้อ-ขาย ของชาวบ้านที่นี่ก็จะพบว่า ลักษณะการแลกเปลี่ยนสินค้าในตลาดนัดบุญกุดชุมนั้นมีบางส่วนต่างจากทั่วไป

ทั้งนี้ก็เพราะชาวบ้านที่มาร่วมในตลาดนัด ส่วนใหญ่จะซื้อขายกันด้วยเงินบาทผสมกับ “บุญกุดชุม” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆว่า “บุญ” ซึ่งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่พัฒนามาจาก “เบี้ยกุดชุม” ที่เคยเปิดใช้ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งในปี 2543 ก่อนที่จะถูกแบงก์ชาติระงับใช้ในไม่กี่เดือนต่อมา

บุญกุดชุมจะมีค่าก็ต่อเมื่อใช้ในกลุ่มสมาชิก

“แบงก์ชาติเขาตีความว่า‘เบี้ย’นั้นหมายถึง‘เงิน’ ซึ่งทางแบงก์ชาติกลัวว่าชาวบ้านในกลุ่มเบี้ยกุดชุมจะนำเบี้ยไปใช้แทนเงินบาท แต่ในความจริง‘เบี้ย’ที่พวกเราใช้นั้น หมายถึง‘กล้าไม้’ในภาษาอีสาน ซึ่งพวกเราในสมัยนั้นก็ต้องการสื่อความหมายออกมาว่า‘เบี้ยกุดชุม’เปรียบดังต้นกล้าที่ค่อยๆเติบโต รอวันเป็นต้นไม้ใหญ่ คล้ายดังกลุ่มของเรา”

ปราณี ศรีมันตะ หรือ “แม่ปราณี” หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มเบี้ยกุดชุม อธิบายเรื่องราวเมื่อครั้งหนหลัง ก่อนที่จะเล่าต่อว่า เมื่อแบงก์ชาติตีความหมายของเบี้ยผิด ก็สั่งไม่ให้พวกเราใช้เบี้ยกุดชุม ซึ่งพวกเราก็เลิกใช้ไปพักหนึ่ง

“หลังจากที่ทางกลุ่มมาทบทวนดู ก็เห็นว่าเบี้ยกุดชุมนั้นเป็นผลดีต่อชุมชนของเรา และไม่กระทบต่อชุมชนภายนอก เนื่องจากเบี้ยจะใช้แลกเปลี่ยนเฉพาะในชุมชนและไม่สามารถนำไปใช้นอกชุมชนได้ ก็เลยไปขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความ ซึ่งสภาทนายความก็แนะนำว่า เบี้ยกุดชุม ควรจะเป็นโครงการเพื่องานวิจัยและชื่อเบี้ยนั้นก็ต้องเปลี่ยนเนื่องจากผิดกฎหมายของแบงก์ชาติ ต้องเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นแทน พวกเราจึงตกลงเรียกเป็น ‘บุญกุดชุม’ เนื่องจากว่าชื่อเรียกง่าย และสื่อไปในทางที่ดี นอกจากนี้สภาทนายความยังแนะนำว่า เบี้ยกุดชุม ควรจะเป็นโครงการเพื่องานวิจัยมากกว่า”แม่ปราณี อธิบายที่มาของบุญกุดชุม

หลังจากนั้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2545 บุญกุดชุมก็ถือกำเนิดขึ้นมาแทนเบี้ยกุดชุม “ภายใต้โครงการวิจัยระบบแลกเปลี่ยนชุมชน” โดยวิธีการปฏิบัติสำหรับบุญกุดชุมก็ยังคงยึดเอาแนวทางจากเบี้ยกุดชุม ซึ่งสมาชิกได้นำธนบัตรเบี้ยกุดชุมไปประทับตราใหม่กลายเป็น “ธนบัตรบุญกุดชุม” ที่ชาวบ้านมักเรียกกันสั้นๆว่า“บุญ”

“พวกเราไม่เอาบุญเทียบกับบาท และจะไม่เอาบุญไปแลกกับบาท โดยจะกำหนดอัตราไว้เท่ากัน คือ 1 บาท เท่ากับ 1 บุญ เวลาใช้ก็จะใช้ร่วมกับเงินบาท แต่บุญจะใช้กันเพราะในสมาชิก แล้วก็ใช้กันเฉพาะในชุมชนสมาชิก ถ้าเอาบุญออกไปนอกชุมชนจะใช้ไม่ได้ และบุญก็จะไม่มีค่าเลย”

พ่อเลาะ หรือเลาะ ศรีมันตะ หนึ่งในแกนนำคนสำคัญโครงการบุญกุดชุม เล่าให้ฟัง พร้อมกับชูธนบัตรบุญกุดชุมให้ดู โดยมีใบละ 1 บุญ 5 บุญ 10 บุญ 20 บุญ และ 50 บุญ ส่วนรูปที่ประกอบในธนบัตรนั้นก็จะเป็นรูปที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต และประเพณี ที่ดีงามของชาวอีสาน ซึ่งเป็นผลงานการวาดของเหล่าเด็กๆในชุมชน

หมอนใบนี้ขาย 30 บาทขอ 5 บุญ

จากนั้นพ่อเลาะก็อธิบายต่อว่า หลังจากเบี้ยกุดชุมถูกรัฐสั่งห้าม ทำให้ชาวบ้านกลัว จากสมาชิกกว่า 100 รายก็เลิกไปเกือบหมด แต่พอมามีบุญกุดชุม ก็เริ่มมีคนกลับมาใช้อีก ตอนนี้มีสมาชิกเกือบ 50 ราย ใน 5 หมู่บ้านเดิม

“ทุกๆเช้าวันอาทิตย์สมาชิกจะนัดกันเอาของมาขายในตลาดนัดบุญกุดชุม ของที่นำมาขายส่วนมากก็จะเป็น ผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าจากชุมชน โดยสมาชิกบุญกุดชุมจะเป็นผู้ตกลงสัดส่วนกันเอง เช่น แม่ค้าขายกล้วยหวีละ 10 บาท ถ้าเราไม่มีบุญเราก็ซื้อกล้วย 1 หวีในราคา 10 บาทไปเลย แต่ถ้าเรามีบุญก็จะตกลงกับแม่ค้าว่า กล้วย 1 หวี จ่าย 7 บาท 3 บุญได้มั๊ย ถ้าได้ก็ซื้อกันเลย แต่ถ้าไม่ได้ก็ตกลงกันใหม่จนกว่าจะพอใจทั้งคู่ ส่วนวันที่ไม่มีตลาดนัด บุญก็ยังใช้ได้ตามปกติ แต่ต้องใช้บุญกับสมาชิกที่มีบุญเท่านั้น สำหรับวิธีการก็เหมือนเดิมคือใช้บุญคู่กับเงินบาท ” พ่อเลาะเล่า

ด้านแม่ปราณี คนเดิมได้อธิบายสมทบว่า การที่จะมีบุญได้นั้น ก็ต้องสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มพัฒนาชุมชนบุญกุดชุม(เดิมชื่อ ธนาคารเบี้ยกุดชุม) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ต้องผ่านกรรมการพิจารณาคุณสมบัติ และสิทธิของการใช้บุญ ทั้งนี้สมาชิกทุกคนจะได้รับกันคนละ 100 บุญ เพื่อเอาไปจับจ่ายใช้สอยคู่กับเงินบาท

“ทุกๆปีในวันที่ 27 ตุลาคม สมาชิกก็จะมาเช็คบุญหรือมาสรุปบุญกันว่าใครได้บุญมากขึ้น ใครได้น้อยลง คนได้ขึ้นเกินร้อยก็ให้พยายามรักษาไว้ ส่วนคนที่ได้น้อยกว่าร้อยหรือบุญติดลบก็ต้องทำการใช้บุญ ด้วยวิธีการนำพืช ผัก หมู ไก่ ปลา มาทำอาหารเลี้ยงสมาชิก แต่บุญก็ยังติดลบอยู่ ซึ่งวิธีการแบบนี้จะช่วยให้ผู้ที่ได้บุญขยันเพิ่มผลผลิตขึ้น ส่วนคนที่เก็บบุญไว้เยอะๆ นั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะว่าบุญไม่มีดอกเบี้ย ฉะนั้นทางที่ดีก็คือมีบุญอย่างพอดี ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง”

ในความความพยายามพึ่งตนเองของชาวบุญกุดชมนั้น นักวิชาการอย่าง ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง ได้มองว่า บุญกุดชุม นั้นเกิดจากการที่ชาวบ้านตระหนักในความสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการพึ่งพาตนเอง โดยมองว่าบุญกุดชุม ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างกัน และยังช่วยสกัดกั้นการไหลออกนอกชุมชนของเงินบาทโดยไม่จำเป็น

ธนบัตรบุญทั้ง 5 แบบ

“นอกจากนี้บุญกุดชุมยังมีส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชน ก่อให้เกิดการผลิตที่หลากหลาย เพราะชุมชนได้เรียนรู้ความต้องการและความสามารถในการผลิตของตน สามารถออมเงินบาทได้มากขึ้น สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับมหภาคนั้นยังมองไม่เห็น เนื่องจากกลุ่มมีขนาดเล็กและใช้กันเฉพาะสมาชิก” ศ.ดร.อภิชัย ให้ความเห็น

ณ วันนี้ ต้นกล้าของเบี้ยกุดชุมได้เติบโตเป็นบุญกุดชุม และกลายเป็นแนวทางของระบบแลกเปลี่ยนชุมชน 45 กลุ่มทั่วประเทศ ซึ่งก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของชาวสมาชิกบุญกุดชุม ที่ยึดมั่นในแนวทางของการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และการพึ่งตนเองภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่ชาวบุญกุดชุมขอเลือกเดินในเส้นทางของตัวเอง โดยไม่ได้เอาชีวิตไปผูกไว้กับกลไกการตลาดของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ หรือ เอาชีวิตไปผูกไว้กับนโยบายขายฝันอันสวยหรูของรัฐบาลแต่อย่างใด

จาก : อีสาน จุฬาฯ - E-mail : isanclub@chula.com - 31/03/2004 15:23
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #2 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2551, 14:49:33 »

"ระบบเงินคู่" นี้ สหรัฐไม่จำเป็นต้องใช้ และไม่สมควรใช้ เพราะ ทุกวันนี้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นต้นทางของเงินโลก หากสหรัฐใช้ระบบเงินคู่ จะยิ่งสร้างปัญหาให้กับสหรัฐ

และมีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่จะใช้ "ระบบเงินคู่" ได้

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถใช้ระบบเงินคู่ เพื่อทำให้คนไทยมีความสุข มั่นคง และยั่งยืน
บันทึกการเข้า
veekung
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,361

« ตอบ #3 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2551, 20:54:35 »

อ่านแล้ว งง เล็กน้อยครับ ผมว่าในชุมชนเล็ก ๆ อย่่างที่เสนอมาก็น่าจะ OK ครับ แต่จะให้ขยายผลออกเป็นระดับที่ใหญ่ขึ้น ท่าทางปัญหาจะมากนะครับ ตัวผมเองก็ไม่มีความรู้เรื่องเศษฐกิจเท่าไหร่นะครับ อาจจะเข้าใจผิดก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า

quot;อยากทำได้ให้ถามหญิงต่ำหูก อยากทำถูกให้ถามเด็กเลี้ยงควาย คนหลายคนกินน้ำบ่อเดียว เดินทางเดียวไม่ซ้ำรอยกัน" หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
<img src="[url]http://images.veejang.multiply.com/badge/U2FsdGVkX1.NpQZsTXem61w2P0GWCkA-bbo-041zLltmdDT.VkgnNuJu42GDLoxDzp2qkya
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #4 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2551, 08:29:27 »

ผมอ่านบทความและแนวคิดของ คุณเจ้าจอมแล้วชอบมาก
อยากให้ประเทศไทยมีคนแบบคุณเจ้าจอมมากๆ
 ทำให้รู้สึกว่าสังคมไทยยังมีความหวัง ยังเห็นแสงสว่างในอนาคต
มาแสดงความคิดเห็นบ่อยๆนะครับ จะตามอ่านทุก กระทู้ Cheesy
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #5 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2551, 10:33:49 »

ขอบคุณคุณ veekungครับ แล้วจะขยายแนวคิดนี้เพื่อแลกเปลี่ยนในภายหลัง
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #6 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2551, 11:04:30 »

ขอบคุณพี่สมชาย17 สำหรับคำนิยมครับ

หากเปรียบประเทศเป็นแก้วน้ำ(ไม่เปรียบเป็นถังน้ำ เพราะถังน้ำอาจจะทึบ มองด้านข้างไม่เห็น โลกโลกาภิวัฒน์ สามารถมองเห็นกันได้ไม่ยาก  จึงเหมาะกับ แก้ว เพราะใส มองเห็นได้) ประเทศไทยก็เป็นแก้วใบย่อม ไม่ใหญ่โต

เปรียบเงินดอลลาร์เป็นน้ำ เขาใส่เข้ามาไม่ต้องมากเราก็สำลักแล้ว  เขาเอาออกไม่มากเราก็คอแห้ง

ประเทศที่ใหญ่กว่า  ปริมาณดอลลาร์ที่ใส่ลงมา อาจเหมือนเทแม่น้ำลงทะเล 

เราจำต้องสร้างเกราะให้ตัวเอง

โลกยุคนี้ ไม่ต้องใช้ช้างม้าใช้ปืนแย่งชิงดินแดนแย่งชิงทรัพยากรกันแล้ว  เขาใช้อาวุธทางการเงิน

หากไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้จักสร้างอาวุธ(ทางการเงิน)เองบ้าง รบอย่างไรก็แพ้

ประเทศไทยเรา เป็นแดนทองครับ แต่คนไทยเรายิ่งนับวันยิ่งมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง

ชาวซีมะโด่ง  คือ ช้างเผือกจากป่า ที่มีโอกาสสัมผัสความศิวิไลซ์ ต้องช่วยกันเท่าที่ช่วยได้ครับ
บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #7 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2551, 16:30:41 »

น้องเจ้าจอม
ผมไม่มีความรู้เรื่องการเงินมากนัก แต่ได้อ่านที่น้องยกตัวอย่างก็พอจะจับ
เค้าโครงได้บ้าง  ที่ว่าจับได้บ้าง แต่อาจตีความไปคนละทางก็ได้

ระบบเงินคู่  เช่น แก้วน้ำใส  ใส่กรวดให้เต็ม(กรวดถือว่าเป็นเงินหลักของชาติ)
ในแก้วนั้น ใส่ทรายหยาบ ทรายละเอียดเข้าไป แทรกตัวลงระหว่างกรวด
(ทรายหยาบทรายละเอียด เปรียบเหมือนเงินท้องถิ่น ทุกถิ่น เช่น้ดียวกับเบ้ยกุดชุม)

แล้วเงิน ดอลล์หรือเงินตราต่างประเทศ ให้เป็นน้ำ ใส่ลงไปในแก้ว ที่มีกรวดและทรายเต็มแล้ว
น้ำก็ยังเข้าไปได้แต่ถูก จำกัดปริมาณ  ประเทศไทยจะไม่ถูกต่างชาติใช้เงินเป็นอาวุธมากระหน่ำ
ถ้าเรา กำหนดปริมาณเม็ดเงินต่างชาติทำนองเดียวกับแก้วนี้
น้ำเติมในแก้วที่ไม่ว่างเปล่า มีอะไรอยู่ในแก้วบ้าง ไว้เป็นยันต์กันผี
Shocked

ไม่รู้ว่าผมเข้าใจระบบเงินคู่ ของน้องเจ้าจอมถูกหรือเปล่า




บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #8 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2551, 08:42:38 »

 
อ้างถึง   
ระบบเงินคู่  เช่น แก้วน้ำใส  ใส่กรวดให้เต็ม(กรวดถือว่าเป็นเงินหลักของชาติ)
ในแก้วนั้น ใส่ทรายหยาบ ทรายละเอียดเข้าไป แทรกตัวลงระหว่างกรวด
(ทรายหยาบทรายละเอียด เปรียบเหมือนเงินท้องถิ่น ทุกถิ่น เช่น้ดียวกับเบ้ยกุดชุม)

แล้วเงิน ดอลล์หรือเงินตราต่างประเทศ ให้เป็นน้ำ ใส่ลงไปในแก้ว ที่มีกรวดและทรายเต็มแล้ว
น้ำก็ยังเข้าไปได้แต่ถูก จำกัดปริมาณ  ประเทศไทยจะไม่ถูกต่างชาติใช้เงินเป็นอาวุธมากระหน่ำ
ถ้าเรา กำหนดปริมาณเม็ดเงินต่างชาติทำนองเดียวกับแก้วนี้
น้ำเติมในแก้วที่ไม่ว่างเปล่า มีอะไรอยู่ในแก้วบ้าง ไว้เป็นยันต์กันผี Shocked

สุดยอดเลยครับพี่สมชาย  คนคนเดียวคิดย่อมสู้หลายๆคนคิดไม่ได้  ตัวอย่างที่ยกมา เข้ากับหลักการเลยครับ แต่ระบบเงินคู่ไม่เหมือนเบี้ยกุดชุมนะครับ เพราะเบี้ยกุดชุม ไม่สัมพันธ์กับเงินบาท

รายละเอียดการจัดการ วิธีการใช้ระบบเงินคู่ ผมมีตุ๊กตาที่คิดไว้ แต่คงต้องช่วยกันคิดช่วยกันตบแต่ง

วันนี้มีข่าว ดร.สุชาติ(รมว.คลัง)เสนอให้ทำให้เงินบาทอ่อน แต่ผู้ว่าการแบงค์ชาติไม่เห็นด้วยบอกว่าต้องสอดคล้องกับค่าเงินของประเทศต่างๆ(แต่ก็เอาเงินบาทไปสู้ ทำให้ไทยเสียหายไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบแล้ว)

ที่ดร.สุชาติต้องการทำอาจเป็นผลดีโดยรวมก็ได้(สถานการณ์นี้ผมคิดว่าเป็นผลดี) และที่ดร.ธาริษาผู้ว่าแบงค์ชาติพูดก็ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะผู้ว่าแบงค์ชาติบอกว่าเดี๋ยวนี้เงินไหลถึงกันหมด......นี่แหละครับ ปัญหาของระบบเงินเดี่ยว

ความจริงหมดยุคที่แบงค์ชาติจะต้องเข้าไปยุ่งกับค่าเงินบาทแล้ว เพราะเรายังไม่แข็งแกร่งพอที่จะสู้เขา ต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทเป็นไปตามที่กลุ่มทุนนิยมโลกต้องการ(กำหนด) เรามาสู้กับเขาด้วยการจัดการภายในของเรา ปรับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินพื้นที่ (หลักการระบบเงินคู่คือ เงินบาทใช้ทั่วประเทศและแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศได้  เงินพื้นที่ใช้เฉพาะพื้นที่แลกเปลี่ยนกับเงินบาทได้แต่เปลี่ยนเป็นเงินต่างประเทศไม่ได้)

วันนี้แค่นี้ก่อนนะครับ พี่สมชาย(หรือคนอื่นๆด้วย)ช่วยแสดงความคิดเห็น มุมมองด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #9 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2551, 10:49:33 »

ก่อนอื่นเลย  ต้องเปิดความคิดก่อนนะครับว่า  เงิน เป็นเพียงเครื่องมือที่คนเราสร้างขึ้นเพื่อใช้แลกเปลี่ยนทรัพยากร(ทรัพยกรหมายรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่แต่ละคนต้องการ)

เงินภายในประเทศ(ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม)  ก็คือเครื่องมือทางเศรษฐกิจของรัฐที่สร้่างขึ้น เพื่อเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับประชาชน ประชาชนกับประชาชน และประชาชนกับรัฐ

โดยที่ในปัจจุบัน ประเทศเราต้องสัมพันธ์กับต่างประเทศ เพราะต้องการทรัพยากรจากต่างประเทศ และโชคดีที่เรามีทรัพยากรที่ต่างประเทศต้องการ(ที่ว่าโชคดีนั้น...ผมประชดครับ เพราะความจริงผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรของเราเก่งและอดทนมาก ทั้งที่ไม่เคยได้รับการดูแลจากรัฐอย่างจริงใจ แต่พวกเขาก็ยังสร้างทรัพยากรที่ต่างประเทศต้องการให้กับเราได้...อย่างนี้ต้องเรียกว่าโชคดีของประเทศเราครับ)

ซึ่งเราก็แลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างประเทศด้วยเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐ

จบเรื่องเงินเป็นเครื่องมือนะครับ...ต่อไปเรามาดูคุณสมบัติของเงิน

คุณสมบัติพื้นฐานของเ้งินคือ เงินจะแสดงค่าเมื่อมีการเปลี่ยนมือ  นั่นคือ ถ้าเงินหยุดนิ่งเมื่อไรเงินก็เหมือนไร้ค่า  ข้อนี้ถือเป็นหัวใจนะครับ ฝรั่งเรียกเงินว่า CURRENCY เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่เก่งต้องพยายามทำให้เงินเคลื่อนที่

เมื่อเราจุดตะเกียงน้ำมัน แสงสว่างก็ตามมา การเกิดแสงและความร้อนทำให้น้ำมันสูญหายไป  แต่เงิน กลับไม่เป็นเช่นนั้น  เงินนั้นเมื่อได้แสดงบทบาทแล้ว กลับไม่สูญหายไป เพียงแต่ย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง..คุณสมบัติข้อนี้ก็สำคัญครับ..2ข้อแล้ว

คุณสมบัติข้อที่3 เงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ที่ใช้แลกเปลี่ยนทรัพยากร  ทำให้ตัวมันเองกลายเป็นทรัพย์สิน(ทรัพย์สินนะครับไม่ใช่ทรัพยากร)ที่มีค่า  และจัดเป็นสุดยอดของทรัพย์สิน  เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายในการดูแลน้อยหรือไม่มีเลย  มีมากเท่าไรก็ไม่เป็นภาระ  มีได้อย่างไม่รู้เบื่อ (ต่างกับทรัพย์สินอื่น ยังไงก็มีจุดอิ่ม)

ทั้ง3ข้อคือคุณสมบัติของเงิน ที่ไม่เปลี่ยนแปร  ใครมีข้ออื่น แนะนำเพิ่มด้วยนะครับ

ด้วย หน้าที่และคุณสมบัติของเงินดังกล่าว  ปัจจุบันได้มีการพัฒนาส่วนควบทางการเงินซับซ้อนขึ้น  จนวันนี้ วันที่ดอลลาร์มีการปรับฐานขนานใหญ่ จึงเป็นช่วงที่เหมาะยิ่งที่จะใช้ "ระบบเงินคู่"  แล้วมาแลกเปลี่ยนกันต่อครับ.....






บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #10 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2551, 12:18:57 »

 
อ้างถึง   
    มาตรา 30* ให้สินทรัพย์ต่อไปนี้เป็นสิ่งอันชอบด้วยกฎหมายที่จะ ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา
    (1) ทองคำ
    (2) เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราที่พึงเปลี่ยนได้ หรือเงินตรา ต่างประเทศอื่นใดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ ต้องเป็นรูปเงินฝากใน ธนาคารนอกราชอาณาจักรหรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
    (3) หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ ที่ระบุไว้ใน (2)
    (4) ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงิน ทั้งนี้ ที่นำส่งสมทบกองทุนการเงิน
    (5) ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง
    (6) ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน
    (7) หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ ที่ระบุไว้ใน (2) หรือเป็นบาท

    (Cool ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับช่วง ซื้อลดได้ แต่ต้องมีค่ารวมกันไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนธนบัตรออกใช้
    สินทรัพย์ตาม (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) นั้น ธนาคาร แห่งประเทศไทยจะต้องจัดดำรงไว้ให้มีค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ หกสิบของจำนวนธนบัตรออกใช้
    *[มาตรา 30 แก้ไขโดย พรก.แก้ไขเพิ่มเติม พรบ.เงินตรา พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2521]

เอา พรบ.เงินตรา พ.ศ. 2501 มาตารา30 มาให้อ่านครับ

การมีส่วนควบทางการเงินหลากหลายและระบบดอลลาร์ภิวัฒน์ ได้ทำให้ เงินไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือแลกเปลี่ยนทรัพยกรพื้นฐานอีกต่อไป
แต่ได้เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนทรัพย์สินเชิงซ้อนด้วย(ผม..เรียกตราสารทางการเงิน เป็นทรัพย์สินเชิงซ้อน...แล้วจะมาวิเคราะห์ว่า ทำไมผมจึงเรียกตราสารทางการเงินเป็นทรัพย์สินเชิงซ้อน และคุณสมบัติของทรัพย์สินเชิงซ้อน ที่เกิดจากส่วนควบทางการเงินด้วยแรงขับของระบบดอลลาร์ภิวัฒน์เป็นอย่างไร)






บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #11 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2551, 13:10:55 »

อ่านแล้วได้ความรู้เยอะขึ้น น่าติดตามมาก
กำลังรออ่านบทความต่อไป ของน้องเจ้าจอม ปิ๊งๆ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #12 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2551, 07:21:21 »

ว่าจะเริ่มเขียน ตุ๊กตาระบบเงินคู่เสียที แต่ก็อดไม่ไ่ด้ที่จะเขียนถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่ต้องมี "ระบบเงินคู่" 

เงินบาทกำลังสูญเสียความมั่งคั่งที่สะสมมาให้กับระบบดอลลาร์ภิวัฒน์ โดยรัฐไม่มีเครื่องมือใดๆช่วยได้ มีแต่เครื่องมือที่ช่วยชลอเท่านั้น
บางทีใช้ผิด กลับยิ่งทำให้ความมั่งคั่งสูญเ้สียเร็วขึ้นด้วย

เข้าใจธรรมชาติของโลกนะครับ ธรรมชาติดำรงอยู่ได้ด้วยระบบคู่ทั้งสิ้น หยิน-หยาง(โบราณ) ร้อนคู่เย็น ดีคู่เลว หญิงคู่ชาย  แม้แต่ ระบบดิจิตอล(สมัยใหม่) ยังใช้ 0คู่1 การมีระบบคู่ช่วยขับเคลื่อนและดำรงไว้ซึ่งสาระของสิ่งนั้น หากมีแต่ร้อน ร้อนก็ไม่มีความหมาย  หากมีแต่ดีอะไรคือเลว และภายใต้ระบบแต่ละคู่ ก็ยังมีคู่ย่อยแฝงอยู่ในคู่ใหญ่ แม้แต่ หญิงคู่ชายนั้น เมื่อชายบางคนมีใจแบบชอบชายก็ยังเกิดชายที่มีใจแบบหญิง ขณะเดียวกันก็มีหญิงที่ใจแบบชายและมีหญิงที่มีใจชอบหญิง นี่คือส่วนหนึ่งของปรัชญาความขัดแย้งของเหมาเจอตุง 

ในเรื่องการเงิน เดิมที เราใช้ทองคำเ้ป็นตัวอิงค่าเงิน(เป็นตัวอิงค่าเดี่ยว) เมื่อเศรษฐกิจระหว่างกัน(ระหว่างคนในประเทศด้วยกัน,ระหว่างประเทศต่อประเทศ)ยังสมดุล ปัญหาก็ไม่เกิด เมื่อไม่สมดุลก็เกิดปัญหา จนในที่สุด สหรัฐตัดสินใจไม่อิงดอลลาร์กับทองคำ ทำใ้ห้ตัวอิงค่าเงินเกิดระบบคู่ คือ ทองคำคู่ดอลลาร์  (ก่อนหน้านี้ จะเ็ป็นระบบการเงิน  เงินบาทคู่ทองคำ  เงินดอลลาร์คู่ทองคำ....) ระบบการเงินจึงขับเคลื่อนอย่างมากมาย

จริงแล้วการไม่สมดุล การเกิดปัญหา นั้น เข้าหลักปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษวิธีที่ว่า สรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง และจะเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพ  การเกิดระบบดอลลาร์ไม่อิงทองคำ ก็คือคุณภาพใหม่ของระบบการเงิน

วันนี้ ดอลลาร์กระจายไปทั่วโลก และสร้างคุณูปการให้กับคนทั่วโลก แต่แล้วก็ถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนคุณภาพของระบบการเงิน เป็นการเปลี่ยนในส่วนย่อยบนโครงสร้างใหญ่ของตัวอิงค่าเงิน  "ทองคำคู่ดอลลาร์" ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคุณภาพใหม่นี้ จะช่วยให้เศรษฐกิจโลกยั่งยืนมากขึ้น

วันนี้ รัฐต้องมองให้ออกครับ  ต้องแยกเรื่องเศรษฐกิจให้แตก ต้องเข้าใจว่า เป้าหมายสูงสุดของการบริหารประเทศคือ ทำให้ประชาชนของตนมีความผาสุกยั่งยืน และความผาสุกยั่งยืนภายใต้ระบบทุนนิยมคือการมีเศรษฐกิจที่มั่นคง 

วันนี้ เงินบาทคือตัวเชื่อมความั่นคงทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศอื่น  การที่รัฐมีนโยบายไม่ค้ำประกันเงินฝาก(เงินบาท)นั้น นับเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
เพราะหากค้ำประกัน อาจเกิดปัญหาแบบปี2540 (แต่ในขณะนี้ถ้าจะต้องค้ำเพื่อป้องกันการตื่นตระหนก..ก็ไม่ว่ากัน...แต่เสี่ยง...) หากมีการเงิน ระบบเงินคู่ รัฐไม่ค้ำประกันเงินฝากที่เป็นบาท แต่รัฐอาจค้ำประกันเงินฝากที่เป็นเงินพื้นที่ เพราะเงินพื้นที่ รัฐสามารถควบคุมเองได้เต็มที่

หวังว่า ผมจะเลิกบ่นได้แล้ว จะได้เริ่มเขียน รูปธรรมของระบบเงินคู่เสียที







บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #13 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2551, 09:18:36 »

ผมขอเสนอตุ๊กตา สำหรับ "ระบบเงินคู่" ในความคิดของผม
เอาเป็นว่า ทุกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้ปรับแก้เพื่อการสร้าง "ระบบเงินคู่" เรียบร้อยแล้ว

1. กำหนดพื้นที่ที่จะให้มีการใช้เงินรอง (เงินหลัก คือเงินบาท ใช้ทั่วประเทศอยู่แล้ว)

    -กรุงเทพมหานคร ไม่มีเงินรองใช้  ใช้เงินบาทอย่างเดียว

    -พื้นที่ที่จะมีการใช้เงินรอง กำหนดโดยขนาดพื้นที่  การผลิตทรัพยากร(ทรัพยากรหมายถึง การเกษตร วัฒนธรรม และสิ่งที่ก่อเกิดจากต้นทุนธรรมชาติพิ้นฐาน)
      สมมติผมแบ่งตามภาค ภาคเหนือ ภาคกลาง(ไม่รวมกรุงเทพ) ภาคอีสาน ภาคใต้
      ทุกภาคมีเงินรองสกุลเงินเดียวกัน แต่รูปแบบเงินที่แตกต่างกัน คือต่างมีคณะกรรมการดูแลเรื่องเงินรองแต่ละภาค ธนบัตรจะไม่เหมือนกัน
      (เหตุผลที่ต้อง แบ่ง เพื่อให้บทบาทของเงินรองมีจำกัดในระดับหนึ่ง  มิฉะนั้น จะกระทบกับค่าและความมั่นคงของเงินหลัก คือ เงินบาท  ต้องไม่ลืม คุณสมบัติ ที่สำคัญของเงิน คือ ต้องหมุนเวียนเปลี่ยนมือ)






บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #14 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2551, 10:05:48 »

2.กำหนดสกุลเงิน

สมมติว่า เรียกสกุลเงินนี้ว่า  "ด้วง" (ที่ชอบเพราะ 1. พดด้วง คือ เงินสมัยโบราณ 2.พระนามเดิมของรัชกาลที่1 คือ ทองด้วง)

3. กำหนดค่าเงิน

ขณะนี้เงินบาทเรายังพอแข็ง ให้ 1 ด้วง เท่ากับ 1บาท (ค่าเงินนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดตามเป้าหมายเศรษฐกิจของประเทศ)

4. กำหนดสิ่งค้ำประกันค่าเงินด้วง

     1.ทองคำ  2. เงินบาท
 
     โดยจะพิมพ์เงินด้วงออกใช้ ต้องมีทองคำหรือเงินบาท ค้ำประกันค่าเงิน

จะต้องจัดดำรงไว้ให้มีค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ หกสิบของจำนวนธนบัตรเงินด้วงที่ออกใช้
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #15 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2551, 21:54:11 »

  5.กำหนดการขับเคลื่อน

             หัวข้อนี้สำคัญอย่างยิ่ง  เพราะจะเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ เงิน เป็นเครื่องมือเพื่อความมั่นคงมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เพื่อให้มีการขับเคลื่อนที่เหมาะสม
           
            ตุ๊กตาที่ผมขอนำเสนอคือ
            5.1 มีธนาคารเงินด้วงเป็นการเฉพาะ แยกจากธนาคารเงินบาท มีหน้าที่รับฝากเงินด้วง ให้กู้เงินด้วง  มีดอกเบี้ยฝากและดอกเบี้ยกู้
            5.2 ธุรกรรมของเงินด้วง มีเพียงฝากถอน  ให้กู้ แลกเปลี่ยนกับเงินบาท  ส่วนควบทางการเงินคืออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินด้วงกับเงินบาท  ดอกเบี้ยคิดเป็นเงินด้วง  ไม่ควรสร้างส่วนควบทางการเงินอื่นๆอีก
            5.3 ......................... 

อยากขอความคิดเห็นจากชาวซีมะโด่ง เพื่อกระตุ้นต่อมคิดของผมด้วยครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #16 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2551, 08:34:15 »

5.3 หลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันเงินกู้ ควรเป็นหลักทรัพย์ที่ใช้หรือสามารถสร้างทรัพยากรพื้นฐาน เช่น ที่ดินเปล่า  จำนวนคน  พืชผลทางการเษตร  อุตสาหกรรมการเกษตรต่างๆ ฯลฯ และไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ไม่ใช่รถยนต์ (ทรัพย์สินประเภทนี้ก็ไปกู้เป็นเงินบาท อย่างที่ทำกันอย่างบ้่าคลั่งในขณะนี้ และเมื่อต้องการเงินด้วง ก็ค่อยมาแลกเปลี่ยนเอา) 

5.4.............................(ช่วยกันเติมหน่อยครับ)
บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #17 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2551, 14:13:59 »

น้องเจ้าจอม
อ่านแล้วชอบมาก จะรออ่านต่อไป win
ไม่มีความสามารถที่จะแสดงความคิดเห็น
ประเทศไทย ถ้าจะปกป้องตัวเอง อนาคตผู้รับผิดชอบ เค้าไม่ยอม
น่าจะเอาแนวคิดของ น้องเจ้าจอม ไปประยุกต์ใช้ น่าจะดี


บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #18 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2551, 17:01:02 »

ขอบคุณพี่สมชายมากครับ ที่เข้ามาสะท้อนความเห็น

ผมจะว่าของผมไปเรื่อยๆ เอาสาระเป็นหลักนะครับ ลำดับหัวข้ออาจโยนไปโยนมา ใครมีมุมคิดอย่างไรขอเชิญครับ....


  5.4 ถึงที่สุดแล้ว รัฐต้องไม่ค้ำประกันเงินบาทที่ฝากไว้กับธนาคารหรือจำกัดการค้ำประกันแบบที่ได้ประกาศเป็นกฎหมายแล้ว
         แต่รัฐต้องค้ำประกันเงินรอง(เงินด้วง)ที่ฝากอยู่กับธนาคารเงินรองเต็มจำนวน


                                  ประเด็น 5.4 นี้ น่าถกเถียงกันนะครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #19 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2551, 19:14:21 »

ขอพักเรื่อง  "กำหนดการขับเคลื่อน" ไว้ที่ข้อ 5.4 ก่อน

มาพูดถึงความจำเป็นที่ต้องมีระบบเงินคู่เพื่อความกินดีอยู่ดีมั่นคงของคนไทยกันอีกรอบ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในวันนี้ 16 พย. 2551 วันที่ราคาน้ำมันโลกราคาต่ำลงมาก แต่ราคาสินค้าทั่วไปยังไม่ปรับราคาลงตาม มีก็แต่สินค้าเกษตรที่ราคาเริ่มลดต่ำลง....ทำไมจึงเป็นเช่นนี้

ต้องตั้งคำถามกันก่อนสักหน่อย

1.ราคาน้ำมันจะต่ำเช่นนี้ไปนานเพียงใด
2.ราชการและธุรกิจ ได้มีการปรับเพิ่มค่าจ้างค่าแรงในช่วงน้ำมันแพงไปแล้วจะทำอย่างไร
3.อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์จะเป็นเช่นไรในอนาคต
4.อัตราดอกเบี้ยในอนาคตเป็นเช่นไร

เราไม่สามารถบอกได้เลย เพราะทั้งหมดถูกกำหนดโดยสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ซึ่งเราสัมพันธ์กับโลกโดยอาศัยเงินบาทผ่านทางเงินดอลลาร์

สินค้าทุติยภูมิ สินค้าตติยภูมิ มีองค์ประกอบในแง่ต้นทุนและการจัดการหลากหลาย  การปรับราคาไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นภายในเวลาสั้นๆ
ในขณะที่สินค้าปฐมภูมิ(สินค้าเกษตร สินค้าพื้นฐานอื่น) ราคาถูกกำหนดเป็นดอลลาร์โดยผู้ซื้อรายใหญ่  เกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาจึงหนีไม่พ้น ที่ต้องเข้ามาเป็นยารักษาแผลเศรษฐกิจโลก

ระบบเงินคู่ จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้รัฐ ปรับสมดุลเศรษฐกิจ ไม่ให้หวือหวา  แต่จะเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

การที่เราจะทำมาค้าขายกับใคร เราดูอะไรเป็นหลักครับ เราดูว่า เขาจะให้สิ่งที่เราต้องการได้หรือเปล่าใช่ไหมครับ
เราจะให้เงินเขา เพราะเรามั่นใจว่าเงินของเราจะไม่สูญเปล่า

การใช้เงินหลักเงินรองเป็นเครื่องมือ เพื่อปรับแรงสะเทือนจากเศรษฐกิจโลก จะช่วยให้ ผู้ประกอบการไทย(ซึ่งรวมเกษตรกรด้วย)ทุกระดับ สามารถมีความมั่นคงในการสร้างผลิตภัณฑ์ต่อไป โดยไม่ล้มหายตายจาก

เมื่อมั่นคง ไม่ล้มง่าย ความเชื่อมั่นก็เกิด และยังสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ คิดไปข้างหน้า ซึ่งจะทำให้มีจำนวนผู้ประกอบการที่จะมุ่งสู่ต่างประเทศมากขึ้นด้วย  ซึ่งจะส่งผลขับเคลื่อนกันระหว่างเงินบาทกับเงินรอง สร้างความมั่งคั่งอย่างมั่นคงให้กับประเทศไทยได้



บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #20 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2551, 23:21:33 »

มาว่ากันต่อเรื่องน้ำมันราคาต่ำลง แต่สินค้าไม่ยอมลดราคานะครับ

ในสถานการณ์เยี่ยงนี้ นับเป็นจังหวะที่ดียิ่งของประเทศไทยทีเดียว

การสร้างประโยชน์จากสถานการณ์นี้ ไม่ใช่การทำให้สินค้าลดราคาลง(เพราะความจริง ค่าเงินโลกต่ำลงทุกวัน สินค้าจึงต้องราคาสูงขึ้น และสถานการณ์น้ำมันราคาถูก ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นไปนานเพียงไร)
ทางที่ถูกคือ ปล่อยให้สินค้ามีราคาเป็นไปตามกลไกตลาด  รัฐบาลไม่ต้องไปยุ่งกับราคาสินค้า

แต่ควรเอาสมองและเวลาไปหาทางเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนแทน

วันนี้เป็นโอกาสดียิ่งที่จะนำหลักการ 2สูง ที่คุณธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าพ่อซีพีเคยแสดงวิสัยทัศน์ไว้มาใช้

ทรัพยากรพื้นฐาน เช่น น้ำมัน เหล็ก...ราคาต่ำลง ยิ่งเป็นโอกาสที่จะเร่งสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้กับคนไทย

การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจเวลานี้ ไม่ใช่ทำให้สินค้าราคาต่ำลง  แต่ต้องเพิ่มรายได้ให้กับคนไทย



และระบบเงินคู่ จะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งสำหรับการนี
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #21 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2551, 23:40:45 »

ขอต่ออีกนิดครับ ที่ว่า ทางที่ถูกคือ ปล่อยให้สินค้ามีราคาเป็นไปตามกลไกตลาด

คำว่า เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปตามบุญตามกรรมนะครับ  เพราะกลไกตลาดสามารถควบคุมได้ โดยกำหนดองค์ประกอบที่มีผลกระทบกับตลาด

ดังนั้น หากต้องการให้พืชผลทางการเกษตรราคาดี  ต้องกำหนดองค์ประกอบที่เหมาะสมขึ้น กลไกตลาดก็จะทำงานของมันเอง

แต่ไม่ใช่การเรียกร้องหรือบังคับต่อราคา

หากมีข้อคิดเห็นแย้งจากข้างต้น  รบกวนแลกเปลี่ยนด้วยครับ

ขอบคุณทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #22 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2551, 14:18:51 »

สิ่งที่ต้องคิดเกี่ยวกับ "ระบบเงินคู่" ยังมีอีกหลายส่วนครับ โดยเฉพาะ ส่วนเศรษฐกิจที่ต้องเชื่อมโยงกับรัฐซึ่งก็คือ ภาษี
เรื่อง ภาษี เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งครับ เพราะ คือความมั่งคั่งของรัฐบาล (แต่สัีมพัทธ์กับความมั่นคงของประชาชน)

เบี้ยกุดชุม เกิดในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์  และถูกรัฐบาลประชาธิปัตย์ห้ามใช้ แทนที่จะใช้เป็นกรณีศึกษา

วันนี้...วันที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหาด้วยระบบการเงินของดอลลาร์

พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นรัฐบาลอีกครั้ง

ผมได้แต่ภาวนาให้ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ซึ่งเรียนวิชาเศรษฐศาษตร์มา  จะเข้าใจการเงินของโลก

ขอส่งกำลังใจให้ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่27ครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #23 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2551, 08:48:38 »

ผมยังไม่ได้เริ่ม ข้อ 5.5 ในหมวด "กำหนดการขับเคลื่อน" ซักที  หากใครจะช่วย ผมก็จะขอบพระคุณมากครับ

ระยะนี้มีกระแสแบงค์ปลอมระบาด เมื่อวานไปเดินคลองถมมา เครื่องตรวจแบงค์ปลอมขายดีมาก บางร้านของหมด

หากเอากระแสแบงค์ปลอมมาคิดผูกโยงกับระบบเงินคู่ จะมีแง่มุมหลายอย่างให้ต่อยอด

เงินในระบบเงินคู่ทุกชนิด ต้องยากแก่การปลอมแปลง

เงินจริงจึงเหมือนสินค้าของรัฐ ที่ต้องทำให้ประชาชนเชื่อถือ

จากกรณีเงินปลอม บางร้านค้าไม่กล้ารับแบงค์พัน เพราะกลัวเงินปลอม นั้่นหมายความว่า แม้จะเป็นเงินจริง ถ้าขาดความเชื่อมั่น เงินจริงก็ไร้ความหมาย

หากเปิิดใจให้กว้าง  เข้าใจเรื่องเงินอย่่างแท้จริง  เข้าใจการเปลี่ยนไปของระบบการเงินโลก  ผู้มีอำนาจควรถกเรื่อง "ระบบเงินคู่" อย่างจริงจัง

กำหนดเขตพื้นที่เพื่อทดลองเพื่อศึกษา  แทนที่จะปล่อยเวลาให้ผ่านเลยอย่างไร้ทางแก้ และปล่อยให้ประชาชนไทยที่ขยันขันแข็ง เผชิญกับทุนนิยมโลกครั้งแล้วครั้งเล่า จนแก่ตัวหมดแรง หรือบางคนอาจฆ่าตัวตายเพราะพ่ายแพ้กระแสทุนนิยมโลก
บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #24 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2551, 19:33:02 »

รัฐบาลใหม่ จะมองเห็นระบบเงินคู่ แบบที่ น้องเจ้าจอมเห็นหรือเปล่าก็ไม่รู้
ถ้ามีผู้มองเห็น จะเป็น นายกอภิสิทธิ์ หรือ รมต.กรณ์ ก็ได้ และศึกษา
อาจจะเห็นแนวทาง ภูมิคุ้มกัน ระบบเศรษฐกิจ บ้านเรา โดยใช้ ระบบเงินคู่ ปิ๊งๆ
อย่างที่น้องเจ้าจอม เสนอแนวคิดไว้(ไม่อยากให้แนวคิดดีๆอย่างนี้ หายไปกับสายลม)

บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #25 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2551, 07:32:23 »

ขอบคุณพี่สมชายอีกครั้งครับ

วันนี้มีข่าว รมต.กรณ์กระตุ้นอสังหาฯ โดยให้นำดอกเบี้ยมาหักลดหย่อนภาษี

ผมไม่ตำหนิ รมต.กรณ์หรอกครับ เครื่องมือดูแลเครื่องยนต์ที่ชื่อว่าประเทศไทยมีเท่านี้ ก็คงทำได้แค่นี้ แต่ใครได้ประโยชน์ครับ ใครเสียประโยชน์ครับ...มีฝ่ายได้ ต้องมีฝ่ายเสีย  ซึ่งถ้าเป็นการจัดการที่ถูกต้อง เมื่อปรับเข้าสู่จุดสมดุล โดยรวมแล้วประเทศต้องได้มากกว่าเสียครับ
ฝ่ายได้ที่แน่นอนที่สุดคือ นักธุรกิจอสังหาฯ (ซึ่งไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไรมักไม่เคยสูญเสียอย่างแท้จริง เวลาเศรษฐกิจดีมากก็โกยทั้งบนดินและใต้ดิน..ใต้ดินก็เช่นเหตุการณ์ต้มยำกุ้ง ร่วมมือกับธนาคารจนเกิดฟองสบู่  และเหตุการณ์ที่กำลังส่อเค้าในช่วงปลายปี47ที่บ้านราคาเริ่มเกินจริงอย่างมาก ดีที่เกิดกรณีคุณสนธิลิ้มไม่พอใจคุณทักษิณ...เมื่อเศรษฐกิจแย่ก็เป็นผู้เก็บเกี่ยวรายต้นๆ เลวร้ายที่สุดก็ล้ม...แต่ล้มบนฟูกครับ)
ฝ่ายได้ต่อมาก็คือธนาคาร แต่ธนาคารได้ก็ส่งผลให้เงินเคลื่อนที่ (ซึ่งคือคุณสมบัติข้อสำคัญของเงิน)  เมื่อเงินเคลื่อนที่ เศรษฐกิจก็ขยับขึ้น

ฝ่ายเสียละครับ เกษตรกรครับ เมื่อเงินในมือผู้บริโภคน้อยลง ก็ต้องประหยัด กินน้อย ใช้น้อย ราคาพืชผลเกษตรก็ต้องตกต่ำลง เพราะสินค้าเกษตรมีอายุจำกัด

ระบบเงินคู่...จึงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นครับ เพื่อใช้ปรับสมดุลระหว่างเงินบาทที่ผูกติดกับทรัพย์สินอย่างอสังหาฯ เครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์
ต้องใช้ระบบเงินคู่ ให้เงินรองผูกติดกับเกษตรกร สินค้าเกษตร รวมทั้งเครื่องมือสร้างสินค้าเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร

ระบบเงินคู่ ไม่เพียงช่วยเกษตรกรนะครับ แต่ช่วยทั้งประเทศอย่างสมดุล รวมทั้งช่วยภาคอสังหาฯได้อย่างแท้จริงด้วย ระบบเงินเดี่ยวในปัจจุบัน...อย่างกรณีช่วยอสังหาฯ ก็ทำให้อสังหาฯเติบโตแบบไม่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลเสียโดยรวมในที่สุด ( ผลเสียเช่น ในส่วนนักธุรกิจอสังหาฯก็ขยายงานจนเกินพอดี  ในส่วนผู้ซื้อก็อาจขาดการวางแผนที่ดีพอ  เมื่อส่วนใดเกิดปัญหาก็ส่งผลเสียต่อธนาคาร)

คราวหน้า คงได้ เริ่มข้อ 5.5 ว่าด้วยการขับเคลื่อน  น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษีครับ
[/size]
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #26 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2551, 08:29:58 »

เสี่ยขายส่งไอศกรีมคิดสั้น ผูกคอดับ-หนีพิษเศรษฐกิจ [25 ธ.ค. 51 - 08:15]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เมื่อเวลา 06.30 น. ที่ผ่านมา (25 ธ.ค.) เกิดเหตุ นายสมชาย ฉายวงศ์สว่าง  อายุ 55 ปี ประกอบกิจการขายส่งไอศกรีมใช้เชือกไนล่อนสีแดงผูกคอตัวเองเสียชีวิตอยู่ภายในห้องครัวของบ้านพักตึกแถว 2 ชั้น หลังโรงแรมตะวันนา ย่านสุรวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (กทม.)

 

จาก การสอบถามภรรยาผู้เสียชีวิตทราบว่า ก่อนเกิดเหตุช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา ตนเองได้พูดคุยกับสามี ทราบว่ามีปัญหาเรื่องธุรกิจ ก่อนจะออกไปตลาดเมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. และกลับมาถึงบ้านพักเวลาประมาณ 06.30 น. เมื่อเปิดประตูห้องครัวเข้าไปจึงพบว่า สามีได้เสียชีวิตแล้ว คาดว่ามีปัญหาเรื่องธุรกิจ

เอาที่เป็นข่าวมาให้อ่านครับ เป็นข่าวจากไทยรัฐ  ที่ไม่เป็นข่าวไม่ทราบครับ

ผมมองว่านี่คือการสูญเสีย ผู้มีอำนาจมักรู้สึกเป็นเรื่องเล็กๆ แต่สำหรับผม  นี่คือเรื่องใหญ่มาก  การสูญเสียคนที่ตั้งใจทำมาหากินถือเป็นการสูญเสียยิ่งกว่าทรัพย์สิน
เป็นการขาดทุนยิ่งกว่าขาดทุน  คนเราเก่งไม่เท่ากัน แต่ผู้ที่พ่ายแพ้แล้วถึงกับฆ่าตัวตายไม่น่าจะเกิดจากการแพ้เพราะฝีมือตัวเอง ส่วนใหญ่ถ้าฆ่าตัวตายในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ ผมโยนให้แพ้ในภาพแมคโครไม่ใช่ไมโคร

ขอแสดงความอาลัยกับผู้จากไปครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #27 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2551, 21:01:07 »

กำหนดการขับเคลื่อน

ข้อ 5.5 ว่าด้วยเรื่องภาษี

มีความจำเป็นที่ต้องมีการเก็บภาษีจากธุรกรรมใดๆที่เกิดด้วยการใช้เงินด้วง(เงินรอง)....ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกับภาษีอันเกิดจากธุรกรรมของเงินบาท  จะใช้แนวทางใดขึ้นกับนโยบายขณะนั้นๆและภาวะเศรษฐกิจโลก 

โจทย์ที่ผมยังไม่ตกผลึกก็คือ ภาษีที่รัฐบาลอาจเก็บจากธุรกรรมเงินด้วง(เงินรอง)โดยตรงนั้น ควรเก็บในรูปของเงินด้วง(เงินรอง) หรือ เก็บในรูปเงินบาท  แต่ถ้าเป็นภาษีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกเก็บจากธุรกรรมเงินด้วง ควรเป็นภาษีในรูปเงินด้วง หรือเงินบาทก็ได้ แต่ถ้าต้องนำภาษีจากธุรกรรมเงินด้วงส่งต่อให้รัฐบาล ต้องส่งในรูปเงินบาทเท่านั้น

ทั้งนี้ เพราะเงินงบประมาณใดๆที่ออกจากรัฐบาล รวมทั้งเงินเดือนที่ต้องจ่ายให้องค์กรทางราชการ หรือเอกชนที่รับงานจากรัฐบาล ต้องจ่ายในรูปเงินบาท
ส่วนเงินที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ่ายให้กับข้าราชการหรือลูกจ้างหรือผู้รับงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจเป็นในรูปของเงินบาทหรือเงินด้วง(เงินรอง) ก็แล้วแต่ กลไกการขับเคลื่อนระหว่างเงินบาทกับเงินรองในขณะนั้น
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #28 เมื่อ: 01 มกราคม 2552, 14:36:46 »

“รัฐบาลต้องเข้าไปแทรกแซงราคาให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น ถ้าถามว่าจะเอาเงินมาจากที่ไหนให้พิมพ์เงินออกมาเลย เพราะเรามีสินค้า มีข้าวอยู่ก็เหมือนกับมีทองคำสำรอง ไม่ใช่พิมพ์เงินออกมาโดยไม่มีของ นั่นคือเงินเฟ้อที่แท้จริง ถ้ามีเงินมากขึ้นและมีของให้ซื้อได้ ถือว่าสมดุลกัน ราคาสินค้าเกษตรสูงแล้วก็ต้องมีการปรับเงินเดือนให้สอดคล้องกัน เป็นนโยบายสองสูงซึ่งยังมีความมั่นใจมากว่าจะไปรอดได้”

วันนี้ ที่น่ากลัวสุดไม่ใช่ “เงินเฟ้อแต่เป็นเงินฝืด” และที่น่ากลัวอีกอย่างคือคนไม่มีกำลังซื้อ ดังนั้น อย่ากดราคาสินค้าเกษตร ที่ผ่านมาเราให้เกษตรกรช่วยคนจนในเมือง เช่น พอข้าวราคาขึ้น รัฐก็ทำข้าวธงฟ้า ยิ่งขายราคาข้าวยิ่งตก ประเทศยิ่งจนลง ในโลกนี้มีแต่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น แต่ประเทศด้อยพัฒนาไม่เข้าใจ


ข้างต้น คือ ความคิดเห็นของ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ คัดมาจากไทยรัฐฉบับ 1 มค 2552 หน้า8

 คำว่า"ถ้ามีเงินมากขึ้นและมีของให้ซื้อได้ ถือว่าสมดุลกัน" ใครจะเข้าใจบ้าง

กลไกระบบเงินคู่ คือเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการนี้ครับ  การพิมพ์เพิ่มปริมาณเงินโดยภาครัฐเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่การพิมพ์เงินบาทออกมาแบบข้อเสนอนี้ อาจแก้ปัญหาระยะสั้นได้ แต่จะส่งผลเสียในระยะยาว เพราะกลไกอื่นๆในระบบเศรษฐกิจยังตั้งอยู่บนฐานเดิม


สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๒ ครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #29 เมื่อ: 10 มกราคม 2552, 09:24:06 »

คืนวันจันทร์ที่ 12 มค.นี้ เวลา 23.00 น. ช่อง3 คุณสรยุทธ จับเข่าคุยกับ คุณธนินท์ เจียรวนนท์

ในโฆษณา คุณสรยุทธพูดทำนองว่าหลักการ 2 สูง คงใช้ไม่ได้แล้ว แต่คุณธนินท์บอกว่ายังใช้ได้

ถ้ามีโอกาส ขอเชิญฟังร่วมกันครับ
บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #30 เมื่อ: 14 มกราคม 2552, 06:47:38 »

คืนวันจันทร์ที่ 19 มค. เวลา 23.00 น. ช่อง3 คุณสรยุทธ จับเข่าคุยกับ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ (ภาคต่อ)

หลักการ 2 สูง เป็นหนึ่งในแนวทางแก้ปัญหาที่แท้จริงให้ประเทศไทยครับ


ขอพักตุ๊กตา "ระบบเงินคู่" ไว้ก่อน

ผมอยากแลกเปลี่ยนในเรื่อง สหรัฐอเมริกา จะเห็นด้วยกับ "ระบบเงินคู่" ไหม

ผมเชื่อว่า อเมริกา จะเข้าใจระบบเงินคู่ และ จะสนับสนุน ระบบเงินคู่ด้วย

เหตุผล......
เคยเผากระดาษไหมครับ สมมตินะครับว่า เราจะเผาสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง...หนาดี 
หากใช้ไม้ขีดไฟจุดโดยไม่ฉีกออกมาเป็นแผ่น จุดอย่างไรก็คงไม่ติด หรืออาจเผาได้แผ่นปกด้านบนแผ่นเดียว
แต่ถ้าสามารถใช้ไฟที่แรงพอแล้วจุดกระดาษทั้งเล่มให้เริ่มติดไฟได้ กระดาษของสมุดโทรศัพท์ก็จะยิ่งเพิ่มความร้อนแรงขึ้น และเมื่อโยนอีกเล่มลงไปก็คงไหม้หมด(ถ้าไม่หนาเกิน)
ปริมาณกระดาษของสมุดโทรศัพท์ เปรียบได้กับปริมาณเงินดอลลาร์ของโลก  เปลวไฟ คือ พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เปลวไฟทางเศรษฐกิจจะร้อนแรงมากน้อย ขึ้นกับความมั่นคงของการบริโภค..ปริมาณการบริโภค

ในโลกทุนนิยม การบริโภคเกิดได้โดยกลไกการเงิน โดยอาศัยปริมาณคนที่มีเงิน

การใช้ระบบเงินคู่ เท่ากับการเพิ่มเงินในระบบ โดยมีเงินรอง เหมือนเชื้อเพลิงอื่นที่จะช่วย เผาสมุดโทรศัพท์ ซึ่งจะช่วยให้ พลังความร้อนการเผาไหม้ลุกโชนยิ่งขึ้น
นั่นเท่ากับ ช่วยให้เงินดอลลาร์หมุนได้ หมุนได้ หมุนได้

ทุกวันนี้ เงินดอลลาร์มากเกินไป คล้ายสมุดโทรศัพท์ที่หนาเกินกว่า ความร้อนที่เกิดจากปริมาณคนมีเงินในขณะนี้จึงไม่อาจสร้างพลังจากเงินดอลลาร์ได้

ระบบเงินคู่ จะช่วยให้ ระบบดอลลาร์ขยายตัวอย่างมั่นคงไปได้อีกนาน

ประเทศใด ที่สร้างระบบเงินคู่ได้ สหรัฐยิ่งควรสนับสนุน (เพราะ ปริมาณเงินดอลลาร์ในขณะนี้มากจนสหรัฐน่าจะพอใจไปอีกนาน ซึ่งสังเกตจากหนี้สินที่สหรัฐมีต่อประเทศต่างๆ...ซึ่งก็คิดเป็นดอลลาร์สหรัฐ)

อย่างที่ผมเรียนไว้แล้วครับว่า  มีไม่กี่ประเทศในโลก ที่ใช้ระบบเงินคู่ได้


บันทึกการเข้า
ตุ๋ย 22
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2522
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 20,173

« ตอบ #31 เมื่อ: 03 เมษายน 2552, 19:46:24 »

เสียดายข้อความที่โพสต์ไว้หายหมดเลยครับ
บันทึกการเข้า

น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #32 เมื่อ: 05 เมษายน 2552, 08:40:33 »

เนื่องจากระบบขาดหาย จึงนำส่วนที่ขาดไปมาลงไว้ครับ

กระทู้ต่อเนื่อง ถึงวันที่ 8 มีนาคม 52
............................
chaojom
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #31 เมื่อ: วันอังคาร 20 มกราคม 2552, 08.38 »
   
ในรายการจับเข่าคุย คืนวันจันทร์ที่19มค. คุณธนินท์ เจียรวนนท์ พูดได้เห็นภาพมากครับ
ข้าว ยางพารา มัน อ้อย
ความยากจนของเกษตรกร คนจนในเมือง และโอกาสที่ดียิ่งขึ้นของคนที่ดีอยู่แล้ว

ทั้งหมด ยิ้มแย้มใจใสพร้อมกันได้ ด้วยหลักการ 2 สูง

ซึ่งผมยังเชื่อว่า หลักการ 2 สูง จะเป็นจริงและยั่งยืนได้ ต้องภายใต้ ระบบเงินคู่ ครับ

หมายเหตุ : ก. 2 สูง จะเป็นไปไม่ได้ ถ้า ค่าเงินยังผูกติดกับทองคำเช่นในอดีต
             ข. หากประเทศไทยไม่ใช้ระบบเงินคู่  เมื่อเดิน 2 สูงแล้ว อาจส่งผลให้ค่าเงินบาทของเราอ่อนตัวลงอย่างมากได้
                และอาจถูกถล่มด้วยอัตราแลกเปลี่ยน  
        

...................................   
chaojom

Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #32 เมื่อ: วันจันทร์ 16 กุมภาพันธ์ 2552, 08.26 »
   
แล้วช่วงทองของไทยก็กำลังหมดลง....

ความจริงเราโชคดีมาก..ที่เกิดเหตุประท้วงยุคยามเฝ้าแผ่นดิน(ไม่ใช่ยุคพันธมิตรนะครับ...)
ทำให้ธนาคารเรายังคงแข็งแรง  ในขณะที่หลายประเทศกระทบ...(อ่านเหตุผลได้ในห้องปรัชญาและการเมือง
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,2700.0.html)

และแล้ว  เราก็ไม่ได้กำไรจากโอกาสทอง  และเราต้องขาดทุนแน่  ยิ่งไม่เข้าใจความเป็นไปที่กำลัง
จะเกิดขึ้น อันได้แก่การดูดซับความมั่งคั่งจากเศรษฐกิจรวมของโลกเพื่อการคงอยู่อย่างมั่นคงของดอลลาร์...
เราอาจขาดทุนมากๆ..น่าเสียดาย...น่าเสียดาย

ขออภัย...แล้วจะมาขยายต่อครับ
   
.......................
chaojom

Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #33 เมื่อ: วันอังคาร 03 มีนาคม 2552, 11.15 »
   
ปัญหาเศรษฐกิจโลกเวลานี้ พื้นปัญหาไม่ได้เกิดเหมือนเช่นในอดีต

ครั้งหนึ่งโลกเคยขาดแคลนปัจจัยการดำรงชีพ  ข้าวของจึงแพง  รายได้ของคนไม่เพียงพอ...เกิดปัญหา

ต่อมาด้วยสมองของคน เราพัฒนาการผลิต เราขุดโลกมาใช้ จนปัจจัยการดำรงชีพเหลือเฟือ..ในที่สุดเกิดปัญหาเพราะ
ปริมาณเงินในระบบไม่พอใช้

ดอลลาร์ภิวัฒน์ช่วยให้ปัญหาปริมาณเงินหมดไป แต่ด้วยกลไกความมีค่าอยู่จริงของเงิน...วันนี้จึงเกิดปัญหา

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจเวลานี้ ไม่อาจแก้ด้วยวิธีเก่าๆ  การใช้วิีธีเก่าๆแก้ปัญหา  ก็เหมือนการปล่อยให้ต้นไม้งาม
ค่อยเหี่ยวเฉาไปแต่ละกิ่งแต่ละก้าน  เมื่อถึงจุดสิ้นสุดของปัญหา ต้นไม้ไม่ตาย แต่กิ่งก้านเหลือน้อยลง

และการแก้ปัญหาของสหรัฐต้องใช้วิธีหนึ่ง  ส่วนประเทศอื่นๆก็ต้องใช้วิธีเฉพาะตามแต่ปัจจัยปัญหาและพื้นฐาน

ประเทศไทยโชคดีมากที่เกิดเหตุประท้วงยุคยามฯ

ใช้ความโชคดี นำความมั่งคั่งที่มีนี้สร้างเศรษฐกิจภายในประเทศเถอะ
ยกระดับความมั่งมีให้ชาวไร่ชาวนาชาวสวน ผู้ใช้แรงงานระดับล่าง
(คนระดับนี้ยังต้องการมีทีวีจอแบน มีคอมฯ มีเครื่องอำนวยความสะดวกฯลฯ)
แล้วคนระดับกลางก็จะยิ่งดีขึ้น..เป็นไปตามกลไก
แน่นอน เศรษฐีไทยก็จะยิ่งรวยขึ้นๆ...

อย่าปล่อยให้โอกาสทองของเราผ่านไปโดยไม่ได้อะไรเลย

เร่งสร้าง "ระบบเงินคู่" เถอะ

...................................   
จุ๊ง22

รุ่น: 2522
คณะ: วิศวกรรม
กระทู้: 566
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #34 เมื่อ: วันเสาร์ 07 มีนาคม 2552, 13.30 »
   
พี่เจ้าจอมครับ ผมอ่านระบบเงินคู่ของพี่แบบงงๆ เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่เข้าใจว่าคงเป็นระบบที่ดี ทำให้ผมนึกเขื่อนเวลาเรือจะแล่นผ่านประตูน้ำ ระดับน้ำของนอกและในประตูน้ำไม่เท่ากัน เข้าใจว่าระบบเงินคู่น่า จะเป็นแบบเขื่อนการเงินนั่นเอง ความคิดนี้พี่คิดเองหรือป่าวครับ แล้วถ้าจะผลักดันความคิดนี้ต้องทำอย่างไรบ้างครับ ควรจะเสนอแนวคิดนี้กับใคร คงจะต้องมีรายละเอียดที่ต้องคิดอีกมากนะครับ
   

ซี มะโด่ง ถือเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวนึง ทุกครั้งที่เข้ามาอยู่ในครอบครัวนี้จะรู้สึกอบอุ่น สังคมไทยมีพื้นฐานที่ดีแต่กำลังเสื่อมถอยลงทุกขณะ จุดเริ่มต้นก็เกิดจากการขาดความอบอุ่นโดยเฉพาะเริ่มต้นจากครอบครัวพ่อแม่ลูก ขอสนับสนุนทุกคนทำสถาบันครอบครัวให้ดีเพื่อจะเป็นพื้นฐานของสังคมที่ดี เหมือนซีมะโด่งของเรา

..................................
khesorn mueller
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #35 เมื่อ: วันเสาร์ 07 มีนาคม 2552, 16.57 »
   
พี่จุ๊งยังงง!
แล้วหนิงไม่สติแตกเรอะ?
ยังไม่เริ่มที...sheเริ่มปอดแหก
เดี๋ยวก็มีร้อยคำถามๆพี่เจ้าจอม
ให้สติแตกตามไปด้วย...

เดี๋ยวมาคะ!

nn.27
   
...............................
สมชาย17
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #36 เมื่อ: วันอาทิตย์ 08 มีนาคม 2552, 11.25 »
   
น้องเจ้าจอมครับ
กระทู้นี้ น่าจะเข้าได้ดี กับ ประเทศไทยเวลานี้ เพราะเรามีภูมิคุ้มกันที่ต่ำมาก
เขียนแสดงความคิดเห็น มาเรื่อยๆผมว่าคนที่เข้ามาอ่านจะได้ประโยชน์มาก
น่าจะกระตุ้นให้คิดต่อยอดกันได้  ถึงจะอ่านเข้าใจยากเพราะอยู่คนละวงการ
แต่ก็ได้ข้อคิดใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆ มากขี้น

ส่วนตัวผม หลังอ่านไปเรื่อยๆ รู้แบบงูๆปลาๆ แต่ก็ยิ่งเห็นด้วยมากขึ้น กับระบบเงินคู่นี้

ผม ตีความ อุปมาอุปมัย ประเทศไทย เหมือน มนุษย์เดินดิน1คน อาการคบ32ประการ
ใช้เงิน บาทเป็นหลัก ในการคบหา ต่อสู้ กับ มนุษย์คนอื่น ไม่ว่าลาว จีน ฝรั่ง และสู้กับ อากาศ
ร้อย ฝน หนาว ฯลฯ

ส่วน เงินคู่ เหมือน หูตา จมูก ตับ ไต หัวใจ ลำใส้ กระเพาะ กระดูกฯลฯ ต้องมีภูมิคุ้มกัน ของมันเองด้วย
ต้องมีอาหาร(เงินท้องถิ่น)เฉพาะ ให้แต่ละส่วน แข็งแรง ตามหน้าที่ของ อวัยวะนั้นๆ

แต่ทั้งหมด ยัง ยึดโยง กับร่างกายทั้งร่าง ที่เป็นมนุษย์(โยงกับเงินบาท) ถ้าทุกส่วนดี ร่างกายจะแข็งแรงมาก

ถ้าร่างกาย บอบช้ำ จาก การต่อสู้กับคนอื่น หรือ ภัยธรรมชาติ ร้อน ฝน หนาว  ภ้าอวัยวะภายในดี ก็สู้ได้นาน
หรือ ฟื้นตัวได้เร็ว

..................................
   
สมชาย17
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #37 เมื่อ: วันอาทิตย์ 08 มีนาคม 2552, 11.38 »
   
เหมือน น้องจุ๊ง ที่มีแนวคิดว่า เหมือนเขื่อน
น้ำบ่ามาแรง ก็ไม่ท่วม เพราะเขื่อนจะกักเก็บไว้
หน้าแล้ง ก็ไม่อดตาย เพราะระบายน้ำจากเขื่อน มาเลี้ยงดูกัน
(ถ้าแล้งนานๆ จนน้ำหมดเขื่อน ก็ตัวใครตัวมัน แต่เราก็อยู่ได้นานกว่าน้ำจะหมด)
ถ้าใครอ่านแล้วไม่ชอบคำว่า เขื่อน ก็ให้หมาบความว่า ฝายน้ำล้น ขนาดเล็กๆ
แต่มีเป็น ร้อยๆ ฝายน้ำล้น ก็แล้วกัน

ถ้าน้อง เจ้าจอม ช่วยให้ความเห็นและแนวทางเพิ่มขึ้น ก็จะช่วยได้มาก

......................................
   
ตุ๋ย 22

รุ่น: rcu2522
คณะ: ครุศาสตร์


ชีวิตไม่สิ้นต้องดิ้นกันไป

......................................................

   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #38 เมื่อ: วันอาทิตย์ 08 มีนาคม 2552, 19.49 »
   
ชอบจริงๆ ระบบเงินคู่ของพี่สมชาย
   
................................
จุ๊ง22

รุ่น: 2522
คณะ: วิศวกรรม
กระทู้: 566
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #39 เมื่อ: วันอาทิตย์ 08 มีนาคม 2552, 19.57 »
   
อ้างจาก: ตุ๋ย ที่ วันอาทิตย์ 08 มีนาคม 2552, 19.49
ชอบจริงๆ ระบบเงินคู่ของพี่สมชาย

ตุ๋ย อย่ามั่ว พี่เจ้าจอมเสนอความคิดนี้ต่างหาก เดี๋ยวแกน้อยใจ
   
...................................


ซี มะโด่ง ถือเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวนึง ทุกครั้งที่เข้ามาอยู่ในครอบครัวนี้จะรู้สึกอบอุ่น สังคมไทยมีพื้นฐานที่ดีแต่กำลังเสื่อมถอยลงทุกขณะ จุดเริ่มต้นก็เกิดจากการขาดความอบอุ่นโดยเฉพาะเริ่มต้นจากครอบครัวพ่อแม่ลูก ขอสนับสนุนทุกคนทำสถาบันครอบครัวให้ดีเพื่อจะเป็นพื้นฐานของสังคมที่ดี เหมือนซีมะโด่งของเรา
ตุ๋ย 22
ระดับชั้นอภิมหาเซียน
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2522
คณะ: ครุศาสตร์
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #40 เมื่อ: วันอาทิตย์ 08 มีนาคม 2552, 20.36 »
   
ช่ายขอพระอภัยคุณเจ้าจอม อ่านเพลินไปหน่อย เหมือนมั่ว
ขอบคุณเพื่อนจุ๊งที่เตือนครับ

......................................
   
khesorn mueller
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #41 เมื่อ: วันอาทิตย์ 08 มีนาคม 2552, 22.16 »
   
อ้างจาก: chaojom ที่ วันเสาร์ 11 ตุลาคม 2551, 09.37
ผมใคร่ขอให้ช่วยพิจารณาแนวคิด การใช้ระบบการเงินซึ่งผมจะเรียกว่า "ระบบเงินคู่"(เงินสองระบบ)

ทำไม ในเมื่อเงินเป็นเพียงตัวกลางแลกเปลี่ยนทรัพยากร เราจึงควรวางกติกาของเรา ให้เงินบาทเป็นเงินหลักของประเทศใช้แลกเปลี่ยนกับเงินประเทศต่างๆได้และใช้ ทั่วประเทศ และมีเงินรองไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับเงินประเทศต่างๆและใช้เฉพาะพื้นที่ แต่ค่าเงินรองนี้ต้องสัมพันธ์กับค่าเงินบาท (บางครั้งอาจมีค่ามากกว่าเงินบาท บางครั้งอาจมีค่าน้อยกว่าเงินบาท..แล้วแต่เป้าหมายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ)

1.บ้านเราก็แปลกนะครับ ทรัพยากรที่มีของเราคือสินค้าเกษตร แต่พอสินค้าเกษตรแพงคนส่วนใหญ่(ซึ่งมีรายได้น้อย)ก็เดือดร้อน
ซึ่งความจริงเพราะสินค้าเกษตรราคาถูกจึงทำให้คนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย (ปัญหานี้ระบบการเงินภายใต้กติกาเดิมแก้ไม่ได้เพราะข้อ2)

2. แม้สินค้าเกษตรจะมีราคาถูก ค่าแรงงานคนไทยต่ำ แต่เพราะเป็นทรัพยากรที่แท้จริง เมื่ออดทนไประยะหนึ่งก็สามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่งขึ้นได้ แต่เพราะความที่เงินดอลลาร์ไม่ได้รองรับด้วยทรัพยากรที่แท้จริง เมื่อมีการปรับสมดุลดอลลาร์ ย่อมกระทบเงินบาท ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียความมั่งคั่งที่สะสมมา สินค้าเกษตรและแรงงานก็ต้องเข้ามาแบกรับอีก

หากใช้ ระบบเงินเดี่ยว แบบที่เป็นอยู่ วงจร 1และ2 จะต้องเกิดโดยที่เราไม่มีทางชนะได้ เพราะประเทศเราไม่ใหญ่โต

อันที่จริงผมเชื่อว่า ปัญหาของสหรัฐจะไม่เกิดเร็วเช่นนี้ ถ้าไม่มีเงินยูโร
ขอบคุณครั
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #33 เมื่อ: 05 เมษายน 2552, 08:45:28 »

กระทู้ต่อเนื่อง ถึง 10 มีค.52


khesorn mueller
อภิมหาอมตะเซียนตลอดกาลนานเทอญ
******
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 27,350



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #50 เมื่อ: วันอาทิตย์ 08 มีนาคม 2552, 23.43 »
   
พี่จุ๊งละก็ อย่าทำเล่นไป
เอาของง่ายไปทำให้เข้าใจยากน่ะ
ประสบอยู่ทุกวัน!
หนิงชอบเอาของยาก มา simplify
มันจำนานดีคะ!
ชาวบ้านจะได้เข้าใจง่ายๆ
nn.
   บันทึกการเข้า
จุ๊ง22
Hero Member
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2522
คณะ: วิศวกรรม
กระทู้: 566



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #51 เมื่อ: วันอาทิตย์ 08 มีนาคม 2552, 23.47 »
   
อ้างจาก: khesorn mueller ที่ วันอาทิตย์ 08 มีนาคม 2552, 23.43
พี่จุ๊งละก็ อย่าทำเล่นไป
เอาของง่ายไปทำให้เข้าใจยากน่ะ
ประสบอยู่ทุกวัน!
หนิงชอบเอาของยาก มา simplify
มันจำนานดีคะ!
ชาวบ้านจะได้เข้าใจง่ายๆ
nn.

พี่แซวเล่นแค่นั้นแหละ น้องโพสต์ไปละกัน พี่ไปนอนล่ะ พรุ่งนี้จะกลับมาแซวต่อ
   บันทึกการเข้า
ซี มะโด่ง ถือเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวนึง ทุกครั้งที่เข้ามาอยู่ในครอบครัวนี้จะรู้สึกอบอุ่น สังคมไทยมีพื้นฐานที่ดีแต่กำลังเสื่อมถอยลงทุกขณะ จุดเริ่มต้นก็เกิดจากการขาดความอบอุ่นโดยเฉพาะเริ่มต้นจากครอบครัวพ่อแม่ลูก ขอสนับสนุนทุกคนทำสถาบันครอบครัวให้ดีเพื่อจะเป็นพื้นฐานของสังคมที่ดี เหมือนซีมะโด่งของเรา
khesorn mueller
อภิมหาอมตะเซียนตลอดกาลนานเทอญ
******
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 27,350



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #52 เมื่อ: วันจันทร์ 09 มีนาคม 2552, 00.07 »
   
พี่เจ้าจอมที่เคารพ,
อย่าเพิ่งส่ายหัวกะความเข้าใจที่หนิง
...เดินมาถึงตอนนี้!

เงินอีกระบบนึงที่พี่หมายถึงหนิงยัง
ยังไงๆอยู่!เพราะเมื่อ เงินระบบโน้น
เข้ามานับ/ตีค่า ให้เงินที่เรามี ขึ้นๆลงๆ
สิ่งที่ชาวบ้านเห็นในท้องตลาดต่างหาก
คือสิ่งที่พวกเค้ารับรู้จริง เมื่อจู่ๆ ราคาทรัพย์
ที่มีในมือ เกิดลดค่า ก็ต้องไปหาทางปั่น หาทาง
ดึงตรงอื่นให้ขึ้นตาม....การปั่นราคาที่ดินยังติดตา
ตรึงหู ว่าเกิดอะไรขึ้น ถึงทำให้การถือ ครอบครอง
แลกเปลี่ยนตรงนี้ทำยากยิ่ง เห็นการชงราคาแล้ว
ทำให้หมดกำลังใจจะมี แม้ผืนเท่ากระผีกในครอบครอง
ยินเรื่องที่ที่ทำเกษตร ลดจำนวนฮวบฮาบ เพราะไม่มีคนทำ
เพราะทำแล้วไม่รวย เพราะ อยากมีเร็วอย่างคนอื่นบ้าง

อย่าว่าแต่ที่เมืองไทยคะ ที่โน่นก็พูดถึงเรื่องนี้!
ที่ที่ปรับเปลี่ยนไปเป็นที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม
แต่เค้ารํ่ารวยซะนัก ซื้อกินได้!
ขาย BMW,Benz. VWกี่คัน เพื่อแลกอาหารมาเลี้ยงคนทั้ง
ประเทศ แต่เค้าก็ subventionเกษตรกร!!คํ้าชู สนับสนุน
ให้ผลิตเพื่อบริโภคให้มากที่สุด...ให้อยู่รอดมากที่สุด
นำเข้าน้อยที่สุด...

หนิงยังสงสัยว่า เมื่อขายที่ เพื่อไปถอย
มอเตอร์ไซค์,รถปิคอัพ ที่มีอายุใช้งาน
8-12ปี(นี่วัดมาตรฐานเยอรมันคะ...)มาแล้ว
มีความรู้รองรับเพื่อเวลาหลังจากนี้หรือไม่?
เวลาที่ต้องอาศัยสมองและสองมือ เลี้ยงชีพ

ขอหนิงพักคะ
เพราะนั่น แค่postแรกของพี่
postที่สอง เกี่ยวกะแนวคิดเงินคู่
ที่ชาวเราคิดขึ้น เพื่อใช้กันเอง
หนิงงงซะก่อน!!สติแตกไปแล้วพี่เจ้าจอม!
   บันทึกการเข้า
สมชาย17
Sr. Member
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #53 เมื่อ: วันจันทร์ 09 มีนาคม 2552, 14.15 »
   
น้องหนุงหนิง
น้องหนุงหนิง คงต้องอ่าน ระบบเงินคู่ ของพี่เจ้าจอมตั้งแต่เริ่มแรก หน้าแรก
และอ่าน บุญกุดชุม หรื่อ เบี้ยกุดชุม ของชาวบ้านที่กำหนดขึ้นใช้กันเอง
อาจจะเข้าใจ ระบบเงินคู่ของ พี่เจ้าจอม มากขึ้น (เรื่องนี้ เข้าใจยาก จริงๆ)


   บันทึกการเข้า
khesorn mueller
อภิมหาอมตะเซียนตลอดกาลนานเทอญ
******
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 27,350



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #54 เมื่อ: วันจันทร์ 09 มีนาคม 2552, 15.11 »
   
พี่สมชาย,
นั่นล่ะค่ะ postแรกสุด!
ที่เกริ่นท้าวมามากมาย...
เพื่อต้องการแน่ใจว่า
ตั้งต้นที่ความเข้าใจเดียวกัน.
post เบี้ยกุดชุม หนิงงงซะก่อน
วันนี้จะต่อคะพี่!

nn.27
   บันทึกการเข้า
ตุ๋ย 22
ระดับชั้นอภิมหาเซียน
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2522
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 2,909


ชีวิตไม่สิ้นต้องดิ้นกันไป


ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #55 เมื่อ: วันจันทร์ 09 มีนาคม 2552, 19.43 »
   
ขอข้อความทีละนิดอย่าโพสต์มาก ผมอยากได้ความรู้เรื่องนี้มาก
ถ้าข้อความมากๆ ตาจับข้อความแต่ละบรรทัดไม่ได้ เลยอ่านไปงงไป
เรื่องนี้ดีอยากได้ผู้รู้มากๆจัง
   บันทึกการเข้า
chaojom
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 77


ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #56 เมื่อ: วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 07.34 »
   
อ้างถึง
จุ๊ง2522
ขาประจำพี่เข้าใจว่าความหมายของพี่เจ้าจอมคือถึงแม้ บางอย่างตีค่าเป็นเงินได้ อย่างเงินด้วงสมมติว่าตีค่าเท่ากับเงิน
แต่เนื่องจากเงินด้วงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแลกเปลี่ยนกับเงินดอลล์ ของบางอย่างที่เราตีค่าเป็นเงินด้วง เงินดอลล์ใช้ซื้อไม่ได้
ความหมายของพี่เป็นอย่างนี้ใช่ไหมครับ พี่เจ้าจอม

จุ๊งเข้าใจถูกแล้วครับ และที่เปรียบเทียบว่าระบบเงินคู่เหมือนเขื่อน
ทำให้เห็นภาพและดีครับ

อ้างถึง
ผม ตีความ อุปมาอุปมัย ประเทศไทย เหมือน มนุษย์เดินดิน1คน อาการคบ32ประการ
ใช้เงิน บาทเป็นหลัก ในการคบหา ต่อสู้ กับ มนุษย์คนอื่น ไม่ว่าลาว จีน ฝรั่ง และสู้กับ อากาศ
ร้อย ฝน หนาว ฯลฯ

ส่วน เงินคู่ เหมือน หูตา จมูก ตับ ไต หัวใจ ลำใส้ กระเพาะ กระดูกฯลฯ ต้องมีภูมิคุ้มกัน ของมันเองด้วย
ต้องมีอาหาร(เงินท้องถิ่น)เฉพาะ ให้แต่ละส่วน แข็งแรง ตามหน้าที่ของ อวัยวะนั้นๆ

แต่ทั้งหมด ยัง ยึดโยง กับร่างกายทั้งร่าง ที่เป็นมนุษย์(โยงกับเงินบาท) ถ้าทุกส่วนดี ร่างกายจะแข็งแรงมาก

ถ้าร่างกาย บอบช้ำ จาก การต่อสู้กับคนอื่น หรือ ภัยธรรมชาติ ร้อน ฝน หนาว  ภ้าอวัยวะภายในดี ก็สู้ได้นาน
หรือ ฟื้นตัวได้เร็ว

พี่สมชายขยายความได้โดนใจผมมากครับ  อวัยวะกับร่างกายทั้งหมด  ฝายน้ำแต่ละฝายกักเก็บน้ำ
ขอบคุณครับ


ขอบใจน้องหนิงและน้องตุ๋ยครับ ค่อยทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนกันนะครับ

ตอนนี้ ผมมีพี่สมชาย และน้องจุ๊งคอยช่วยอธิบายแล้ว..ดีใจมากเลยครับ
   บันทึกการเข้า
ตุ๋ย 22
ระดับชั้นอภิมหาเซียน
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2522
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 2,909


ชีวิตไม่สิ้นต้องดิ้นกันไป


ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #57 เมื่อ: วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 20.17 »
   
แนวคิดของคุณเจ้าจอม  ขยายผลออกไปแค่ไหนแล้วครับ
   บันทึกการเข้า
khesorn mueller
อภิมหาอมตะเซียนตลอดกาลนานเทอญ
******
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 27,350



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #58 เมื่อ: วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 21.03 »
   
พี่เจ้าจอม,
หนิงเข้าใจระบบเบี้ยกุดชุมแล้วคะ
ไม่เลวค่ะ...ตราบเท่าที่ทั้ง 5หมู่บ้าน
ร่วมมือร่วมใจ...ปรองดอง...เห็นพ้อง
ทำตามกติกา...กินพอเพียง ใช้พอเพียง
ไม่มีสื่อภายนอกเข้ามาเบี่ยงเบนความสนใจ.

nn.27
   บันทึกการเข้า
khesorn mueller
อภิมหาอมตะเซียนตลอดกาลนานเทอญ
******
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 27,350



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #59 เมื่อ: วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 21.23 »
   
อ้างจาก: chaojom ที่ วันอาทิตย์ 19 ตุลาคม 2551, 11.18
หาก เปรียบประเทศเป็นแก้วน้ำ(ไม่เปรียบเป็นถังน้ำ เพราะถังน้ำอาจจะทึบ มองด้านข้างไม่เห็น โลกโลกาภิวัฒน์ สามารถมองเห็นกันได้ไม่ยาก  จึงเหมาะกับ แก้ว เพราะใส มองเห็นได้) ประเทศไทยก็เป็นแก้วใบย่อม ไม่ใหญ่โต
เปรียบเงินดอลลาร์เป็นน้ำ เขาใส่เข้ามาไม่ต้องมากเราก็สำลักแล้ว  เขาเอาออกไม่มากเราก็คอแห้ง
ประเทศที่ใหญ่กว่า  ปริมาณดอลลาร์ที่ใส่ลงมา อาจเหมือนเทแม่น้ำลงทะเล
เราจำต้องสร้างเกราะให้ตัวเอง
โลกยุคนี้ ไม่ต้องใช้ช้างม้าใช้ปืนแย่งชิงดินแดนแย่งชิงทรัพยากรกันแล้ว  เขาใช้อาวุธทางการเงิน
หากไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้จักสร้างอาวุธ(ทางการเงิน)เองบ้าง รบอย่างไรก็แพ้
ประเทศไทยเรา เป็นแดนทองครับ แต่คนไทยเรายิ่งนับวันยิ่งมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง
ชาวซีมะโด่ง  คือ ช้างเผือกจากป่า ที่มีโอกาสสัมผัสความศิวิไลซ์ ต้องช่วยกันเท่าที่ช่วยได้ครับ


พี่่เจ้าจอม,
ไม่ซีก งัดไม้ซุงค่ะ...หนิงมองเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้.
การรู้เท่าทันโลกตะวันตก ดีต่อเมื่อนำมาปรับใช้กะวิถี
ตลอดจนความเชื่อของเราเอง ในทางของเราเอง.

เห็นการโฆษณาชวนเชื่อ ขายสินค้า ว่าดี ว่าเลิศ ว่า
สะแมนแตนวิเศษมาจากเมืองนอก  ช่วยกันขาย ช่วยกัน
ทำแต้ม สะสม รับรางวัล อะไรต่อมิอะไร...เคยมีใครซักคน
ตั้งคำถามหรือปล่าว ว่า ช่วยทำให้อภิมหาเศรษฐี เจ้าของ
ที่นั่งอยู่อเมริกา รวยยิ่งๆขึ้นไปอีก?

ชีวิตที่แย่ลง เป็นผลพวงมาจาก การกระจายที่ไม่เท่าเทียมกัน.
การจัดสรรที่เอื้อให้ใครคนใด คนหนึ่งได้มากกว่าคนอื่นๆที่เป็นหมู่มาก.
ไม่ไช่ว่าทุนนิยมจะดีพร้อมเสมอไป เพราะข้อเสียมักแอบแฝง
มาด้วยในรูปที่คนมีโอกาส ก็มีช่องหาประโยชน์
คนขาดโอกาส ก็ได้แต่เกาะรั้วมองจากภายนอก.

การมองย้อนกลับเข้าสู่ตัวเอง...back to the root
เดินตามทางของตัวเอง ขณะเดียวกัน จับตา
โลกภายนอกอย่างเข้มงวด เพื่อจะทำให้เรารู้เท่าทัน
ว่าเค้าต้องการอะไรจากเรา จึงเป็นทางเดียวที่เราจะ
จะไม่ถูกเอาเปรียบจากทุนนิยม โลกาภิวัฒน์

nn.27
   บันทึกการเข้า
khesorn mueller
อภิมหาอมตะเซียนตลอดกาลนานเทอญ
******
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 27,350



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #60 เมื่อ: วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 21.49 »
   
อ้างจาก: chaojom ที่ วันศุกร์ 24 ตุลาคม 2551, 11.03
จบเรื่องเงินเป็นเครื่องมือนะครับ...ต่อไปเรามาดูคุณสมบัติของเงิน

คุณสมบัติพื้นฐานของเ้งินคือ เงินจะแสดงค่าเมื่อมีการเปลี่ยนมือ  นั่นคือ ถ้าเงินหยุดนิ่งเมื่อไรเงินก็เหมือนไร้ค่า  ข้อนี้ถือเป็นหัวใจนะครับ ฝรั่งเรียกเงินว่า CURRENCY เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่เก่งต้องพยายามทำให้เงินเคลื่อนที่
เมื่อเราจุดตะเกียงน้ำมัน แสงสว่างก็ตามมา การเกิดแสงและความร้อนทำให้น้ำมันสูญหายไป  แต่เงิน กลับไม่เป็นเช่นนั้น  เงินนั้นเมื่อได้แสดงบทบาทแล้ว กลับไม่สูญหายไป เพียงแต่ย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง..คุณสมบัติข้อนี้ก็สำคัญครับ..2ข้อแล้ว
คุณสมบัติข้อที่3 เงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ที่ใช้แลกเปลี่ยนทรัพยากร  ทำให้ตัวมันเองกลายเป็นทรัพย์สิน(ทรัพย์สินนะครับไม่ใช่ทรัพยากร)ที่ มีค่า  และจัดเป็นสุดยอดของทรัพย์สิน  เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายในการดูแลน้อยหรือไม่มีเลย  มีมากเท่าไรก็ไม่เป็นภาระ  มีได้อย่างไม่รู้เบื่อ (ต่างกับทรัพย์สินอื่น ยังไงก็มีจุดอิ่ม)

ทั้ง3ข้อคือคุณสมบัติของเงิน ที่ไม่เปลี่ยนแปร  ใครมีข้ออื่น แนะนำเพิ่มด้วยนะครับ
ด้วย หน้าที่และคุณสมบัติของเงินดัง กล่าว  ปัจจุบันได้มีการพัฒนาส่วนควบทางการเงินซับซ้อนขึ้น  จนวันนี้ วันที่ดอลลาร์มีการปรับฐานขนานใหญ่ จึงเป็นช่วงที่เหมาะยิ่งที่จะใช้ "ระบบเงินคู่"  แล้วมาแลกเปลี่ยนกันต่อครับ.....

เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน?
เป็นต้วรักษาค่า?
เป็นตัววัด?

พี่เจ้าจอมกำลังนำเข้าสู่..cash monopol??

nn.27

   บันทึกการเข้า
จุ๊ง22
Hero Member
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2522
คณะ: วิศวกรรม
กระทู้: 566



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #61 เมื่อ: วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 21.57 »
   
น้องหนิงตั้งคำถามได้ดีมาก ดีถามเยอะๆ พี่จะได้เอาขี้เลื่อยออก บรรจุไว้ด้วยเงินบ้าง พี่เจ้าจอมน่าจะกำลังเรียบเรียงความคิดเพื่อจะได้อธิบายละเอียดขึ้น
   บันทึกการเข้า
ซี มะโด่ง ถือเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวนึง ทุกครั้งที่เข้ามาอยู่ในครอบครัวนี้จะรู้สึกอบอุ่น สังคมไทยมีพื้นฐานที่ดีแต่กำลังเสื่อมถอยลงทุกขณะ จุดเริ่มต้นก็เกิดจากการขาดความอบอุ่นโดยเฉพาะเริ่มต้นจากครอบครัวพ่อแม่ลูก ขอสนับสนุนทุกคนทำสถาบันครอบครัวให้ดีเพื่อจะเป็นพื้นฐานของสังคมที่ดี เหมือนซีมะโด่งของเรา
khesorn mueller
อภิมหาอมตะเซียนตลอดกาลนานเทอญ
******
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 27,350



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #62 เมื่อ: วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 22.02 »
   
อ้างจาก: chaojom ที่ วันศุกร์ 07 พฤศจิกายน 2551, 09.33
ผมขอเสนอตุ๊กตา สำหรับ "ระบบเงินคู่" ในความคิดของผม
เอาเป็นว่า ทุกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้ปรับแก้เพื่อการสร้าง "ระบบเงินคู่" เรียบร้อยแล้ว

1. กำหนดพื้นที่ที่จะให้มีการใช้เงินรอง (เงินหลัก คือเงินบาท ใช้ทั่วประเทศอยู่แล้ว)

    -กรุงเทพมหานคร ไม่มีเงินรองใช้  ใช้เงินบาทอย่างเดียว

    -พื้นที่ที่จะมีการใช้เงินรอง กำหนดโดยขนาดพื้นที่  การผลิตทรัพยากร(ทรัพยากรหมายถึง การเกษตร วัฒนธรรม และสิ่งที่ก่อเกิดจากต้นทุนธรรมชาติพิ้นฐาน)
      สมมติผมแบ่งตามภาค ภาคเหนือ ภาคกลาง(ไม่รวมกรุงเทพ) ภาคอีสาน ภาคใต้
      ทุกภาคมีเงินรองสกุลเงินเดียวกัน แต่รูปแบบเงินที่แตกต่างกัน คือต่างมีคณะกรรมการดูแลเรื่องเงินรองแต่ละภาค ธนบัตรจะไม่เหมือนกัน
      (เหตุผลที่ต้อง แบ่ง เพื่อให้บทบาทของเงินรองมีจำกัดในระดับหนึ่ง  มิฉะนั้น จะกระทบกับค่าและความมั่นคงของเงินหลัก คือ เงินบาท  ต้องไม่ลืม คุณสมบัติ ที่สำคัญของเงิน คือ ต้องหมุนเวียนเปลี่ยนมือ)


เดี๋ยวค่ะเดี๋ยว!
พี่กำลังจะให้มีค่าเงินหลายค่าเหรอคะ?
แต่เงินต้องมีความเป็น homogeneous?
แบ่งภูมิภาคทางรัฐศาสตร์ ยังพอเข้าใจคะ
แต่ส่วนกลาง...ก็ยังต้องมี"Hoheit"เงินเป็น
หนึ่งในนั้นนี่คะ...แทนในนามของเงินไทย.

nn.
   บันทึกการเข้า
khesorn mueller
อภิมหาอมตะเซียนตลอดกาลนานเทอญ
******
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 27,350



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #63 เมื่อ: วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 22.10 »
   
อ้างจาก: จุ๊ง2522 ที่ วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 21.57
น้องหนิงตั้งคำถามได้ดีมาก ดีถามเยอะๆ พี่จะได้เอาขี้เลื่อยออก บรรจุไว้ด้วยเงินบ้าง พี่เจ้าจอมน่าจะกำลังเรียบเรียงความคิดเพื่อจะได้อธิบายละเอียดขึ้น

พี่จุ๊ง หนิงไม่ได้ตั้งคำถามคะพี่
หนิงพยายามทำยากให้ง่าย!
จะได้จำนานๆพี่.

เงินบาทจะรักษาค่าได้หรือคะหากมีค่าอื่น
จากแต่ละท้องถิ่นมาเทียบคู่.
แค่ให้อภิสิทธิ์หลายๆอย่างในกรุงเทพอย่าง
เดียว ก็แบ่งเขตจะแย่แล้ว ยังจะต้องตีตราตัว
เองว่าใช้เงินแตกต่างอีก....หนิงกำลังถามตัวเอง
คะพี่เจ้าจอม

nn.
   บันทึกการเข้า
จุ๊ง22
Hero Member
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2522
คณะ: วิศวกรรม
กระทู้: 566



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #64 เมื่อ: วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 22.16 »
   
อ้างจาก: khesorn mueller ที่ วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 22.10
อ้างจาก: จุ๊ง2522 ที่ วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 21.57
น้องหนิงตั้งคำถามได้ดีมาก ดีถามเยอะๆ พี่จะได้เอาขี้เลื่อยออก บรรจุไว้ด้วยเงินบ้าง พี่เจ้าจอมน่าจะกำลังเรียบเรียงความคิดเพื่อจะได้อธิบายละเอียดขึ้น

พี่จุ๊ง หนิงไม่ได้ตั้งคำถามคะพี่
หนิงพยายามทำยากให้ง่าย!
จะได้จำนานๆพี่.

เงินบาทจะรักษาค่าได้หรือคะหากมีค่าอื่น
จากแต่ละท้องถิ่นมาเทียบคู่.
แค่ให้อภิสิทธิ์หลายๆอย่างในกรุงเทพอย่าง
เดียว ก็แบ่งเขตจะแย่แล้ว ยังจะต้องตีตราตัว
เองว่าใช้เงินแตกต่างอีก....หนิงกำลังถามตัวเอง
คะพี่เจ้าจอม

nn.

น้อง หนูไม่ได้ตั้งคำถาม แต่สิ่งที่น้องหนูบรรยายมามันกลายเป็นคำถามในใจพี่ ซึ่งบางทีพี่ก้ไม่รู้จะถามอย่างไรเหมือนกัน พี่ถึงเชียร์ให้น้องหนิงตั้วคำถามเยอะๆ พี่จะได้ประมวญเอาและจับใจความได้ไง ก็บอกแล้วว่าพี่เข้าใจแบบงงๆไงล่ะ
   บันทึกการเข้า
ซี มะโด่ง ถือเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวนึง ทุกครั้งที่เข้ามาอยู่ในครอบครัวนี้จะรู้สึกอบอุ่น สังคมไทยมีพื้นฐานที่ดีแต่กำลังเสื่อมถอยลงทุกขณะ จุดเริ่มต้นก็เกิดจากการขาดความอบอุ่นโดยเฉพาะเริ่มต้นจากครอบครัวพ่อแม่ลูก ขอสนับสนุนทุกคนทำสถาบันครอบครัวให้ดีเพื่อจะเป็นพื้นฐานของสังคมที่ดี เหมือนซีมะโด่งของเรา
khesorn mueller
อภิมหาอมตะเซียนตลอดกาลนานเทอญ
******
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 27,350



ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #65 เมื่อ: วันอังคาร 10 มีนาคม 2552, 22.41 »
   
พี่เจ้าจอม,
งงไปเรียบร้อยแล้วคะ!
จนถึงหัวข้อที่ 5...ทั้งด้วง ทั้งบาท
อุตลุตไปหมดค่ะ.
ขอพัก!

ภาคแถม:ตอนสหภาพยุโรปมีมติจะปรับค่าเงิน
เป็นค่า €เดียวกันหมด หนิงได้มีโอกาสเห็นความ
เปลี่ยนแปลงทั้ง pro / contra ที่ออกมาเดินขบวน
ทั้งให้สัมภาษณ์ เห็นด้วย และต่อต้าน แต่เมื่อเป็น
มติทุกประเทศร่วม ก็ทำตาม...ประเทศที่ไม่เห็นด้วย
ก็ไม่ร่วม....ครั้งแรกสุด จำได้ว่า 1 €= 2 DM ขบเขี้ยว
เคี้ยวฟัน...1€ แลกเงิน  US$ได้ 80กว่า cent.
แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ชี้ให้เห็นว่า เงิน €แข็งขึ้นเรื่อยๆ
ตอนนี้ 1 € ~1.3 US $....
เศรษฐศาสตร์ของชาวบ้านที่โน่น ง่าย ปฏิบัติทันทีภายใต้
ความเข้าใจว่า จ่ายให้น้อยกว่าที่รับ..แบ่งเก็บ แบ่งลงทุน
มากกว่านี้ เกินความเข้าใจคะ

nn.27
   
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #34 เมื่อ: 05 เมษายน 2552, 17:49:39 »

กระทู้ต่อเนื่องจนถึงเว็บมีปัญหา


chaojom
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 77


ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #66 เมื่อ: วันพุธ 11 มีนาคม 2552, 07.16 »
   
อ้างถึง
ข้อความโดย: khesorn mueller
พี่่เจ้าจอม,
ไม่ซีก งัดไม้ซุงค่ะ...หนิงมองเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้.
การรู้เท่าทันโลกตะวันตก ดีต่อเมื่อนำมาปรับใช้กะวิถี
ตลอดจนความเชื่อของเราเอง ในทางของเราเอง.

ว่าจะๆไม่ตอบใดๆกับน้องหนิง แต่น้องหนิงกลับสามารถทำให้ผมตอบได้

ถูกแล้วครับประเทศไทยเหมือนไม้ซีก สหรัฐเหมือนไม้ซุง
เพียงแต่ ระบบเงินคู่ ไม่ใช่การงัดไม้
ระบบเงินคู่ คือ การเสริมสร้างไม้
หากให้เป็นไม้ในเขื่อนของน้องจุ๊ง และให้คนนั่งบนไม้ ไม้ต้องลอยน้ำ คนจะได้ไม่จมน้ำ
ด้วยระบบเงินคู่ จะทำให้ไม้ซีก ประคองท่อนซุงไม่ให้จมครับ

อ้างถึง
ภาคแถม:ตอนสหภาพยุโรปมีมติจะปรับค่าเงิน
เป็นค่า €เดียวกันหมด หนิงได้มีโอกาสเห็นความ
เปลี่ยนแปลงทั้ง pro / contra ที่ออกมาเดินขบวน
ทั้งให้สัมภาษณ์ เห็นด้วย และต่อต้าน แต่เมื่อเป็น
มติทุกประเทศร่วม ก็ทำตาม...ประเทศที่ไม่เห็นด้วย
ก็ไม่ร่วม....ครั้งแรกสุด จำได้ว่า 1 €= 2 DM ขบเขี้ยว
เคี้ยวฟัน...1€ แลกเงิน  US$ได้ 80กว่า cent.
แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ชี้ให้เห็นว่า เงิน €แข็งขึ้นเรื่อยๆ
ตอนนี้ 1 € ~1.3 US $....
เศรษฐศาสตร์ของชาวบ้านที่โน่น ง่าย ปฏิบัติทันทีภายใต้
ความเข้าใจว่า จ่ายให้น้อยกว่าที่รับ..แบ่งเก็บ แบ่งลงทุน
มากกว่านี้ เกินความเข้าใจคะ

ผมเคยแสดงความเห็นไว้ในหัวข้อของกระทู้แล้วครับว่า

"อันที่จริงผมเชื่อว่า ปัญหาของสหรัฐจะไม่เกิดเร็วเช่นนี้ ถ้าไม่มีเงินยูโร"


   บันทึกการเข้า
chaojom
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 77


ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #67 เมื่อ: วันพุธ 11 มีนาคม 2552, 07.30 »
   
อ้างถึง
ข้อความโดย: ตุ๋ย 22
ใส่การอ้างถึงคำพูด
แนวคิดของคุณเจ้าจอม  ขยายผลออกไปแค่ไหนแล้วครับ

ระบบเงินคู่ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลครับ

ผมเคยส่งหัวข้อของกระทู้นี้ไปที่ Building a Better Future Foundation
ที่คุณทักษิณก่อตั้ง พบว่า มีการคลิกเข้ามาเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นนัยสำคัญ

ต่อมาสักระยะ ผมส่งหัวข้อนี้ไปตามที่ติดต่อในเวปของพรรคประชาธิปัตย์
ไม่พบการเปลี่ยนแปลงการคลิกอย่างเป็นนัยสำคัญ

ขณะนี้ผมทำได้่เท่านี้ครับ

น้องตุ๋ยมีช่องทางแนะนำหรือช่วยขยายได้ แนะนำด้วยครับ
   บันทึกการเข้า
chaojom
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 77


ดูรายละเอียด
   
   
Re: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"
« ตอบ #68 เมื่อ: วันพุธ 11 มีนาคม 2552, 09.29 »
   
จุ๊ง2522
 พี่เข้าใจว่าความหมายของพี่เจ้าจอมคือถึงแม้บางอย่างตีค่าเป็นเงินได้ อย่างเงินด้วงสมมติว่าตีค่าเท่ากับเงิน แต่เนื่องจากเงินด้วงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแลกเปลี่ยนกับเงินดอลล์ ของบางอย่างที่เราตีค่าเป็นเงินด้วง เงินดอลล์ใช้ซื้อไม่ได้ ความหมายของพี่เป็นอย่างนี้ใช่ไหมครับ พี่เจ้าจอ
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #35 เมื่อ: 05 เมษายน 2552, 18:03:24 »

ขอบคุณน้องเต้มากครับ ที่ทำเว็บบอร์ดนี้

ทำให้ผมได้กำลังใจ และข้อคิดดีๆจากพี่น้องชาวซีมะโด่ง

ยิ่งนับวัน ผมยิ่งมั่นใจว่า "ระบบเงินคู่" คือทางออกหนึ่งของวิกฤติการเงินโลกในครั้งนี้

และหาก รัฐบาลไทยใช้โอกาสความมั่งคั่งของประเทศที่ได้มาด้วยความโชคดี

สร้าง "ระบบเงินคู่"  ซึ่่งมีเพียงไม่กี่ประเทศที่ใช้ได้ จะเป็นความล้ำหน้าที่เหมาะสม

โลกทุนนิยม จะขับเคลื่อนไปได้ ต้องเคลื่อนบนฐานที่มั่นคงในทุกส่วน ในทุกประเทศ

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ประเทศที่สามารถใช้ "ระบบเงินคู่" ได้ จะเป็นประเทศที่มีความสุข

มั่นคงและยั่งยืน
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #36 เมื่อ: 23 เมษายน 2552, 11:36:20 »

 
อ้างถึง   
ศก.โลกปีนี้หดตัวรุนแรง ไอเอ็มเอฟฟันธง แนวโน้มต่อเนื่องถึงปีหน้า
Pic_1400

รุนแรง ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ที่ไอเอ็มเอฟปรับลดการคาดการณ์เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก พร้อมลดประมาณการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปีหน้าลงอีกเกือบ 1%

สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานวันนี้ (23 เม.ย.) อ้า ง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) พยากรณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้ว่า จะหดตัวลงอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มต่อเนื่องถึงปีหน้า ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะหดตัวลงร้อยละ 1.3 เนื่องจากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงกว่าที่คาดไว้ อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ตกต่ำอย่างหนัก? ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง และมีอนาคตที่ไม่แน่นอน

สถาบัน แห่งนี้ประเมินด้วยว่าเศรษฐกิจโลกกำลังดำดิ่งลงสู่สภาวะถดถอยที่รุนแรง ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2? และเป็นครั้งที่ 3 แล้วในปีนี้ที่ไอเอ็มเอฟปรับลดการคาดการณ์เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก? นอกจากนี้ยังได้ลดประมาณการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปีหน้าลงอีกเกือบ 1%??? ไอเอ็มเอฟเชื่อว่า เศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะเติบโตอย่างเฉื่อยเนือยเพียงร้อยละ 1.9

ไอเอ็ม เอฟ ระบุด้วยว่า เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีนี้จะหดตัวลงร้อยละ 2.8 ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นจะหดตัวลงถึงร้อยละ 6.2 ส่วนเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) จะติดลบร้อยละ 4.2 เศรษฐกิจของประเทศอังกฤษจะติดลบร้อยละ 4.1 และ ของประเทศสหภาพรัสเซียติดลบร้อยละ 6.0 ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และอินเดีย ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดประมาณการเจริญเติบโตลงมาเหลือร้อยละ 6.5 และ 4.5 ตามลำดับ
ไทยรัฐออนไลน์

    * โดย ทีมข่าวต่างประเทศ
    * 23 เมษายน 2552, 08:04 น.

tag

เอาข่าวเศรษฐกิจถดถอยจากไทยรัฐมาให้อ่านกันครับ

ผมเสียดายจริงๆ  เสียดายโอกาสทองของไทย..
นักวิชาการที่ไปเรียนทฤษฎีทางเศรษฐกิจของอังกฤษ,อเมริกา ก็เดินตามโดยไม่ยอมไตร่ตรอง

วันนี้ผมยังเชื่อว่าภาคการเงินรวมของไทยเรามั่งคั่ง..แต่ด้วยการจัดการที่ไม่รู้เท่าทัน
ในไม่ช้า..เราก็จะพบปัญหาเช่นเดียวกับนานาประเทศ..เพราะรัฐบาลจะขาดเงินไปใช้จ่าย
หนี้เสียจากธุรกิจจะเพิ่มขึ้ัน และส่งผลต่อธนาคารในที่สุด...น่าเสียดาย..เสียดายความโชคดีที่ได้มาโดยไม่ได้ตั้งใจ

ความจริง หากดูถึงเนื้อแท้ของเศรษฐกิจ แม้เศรษฐกิจไม่ขยายตัวก็ไม่เกิดปัญหา
ต้องหดตัวจึงอาจเกิดปัญหา
แต่ทุกวันนี้ ที่เศรษฐกิจจำเป็นต้องขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกๆปี เป็นเพราะกลไกของเงินดอลลาร์

เมื่อไรผู้มีอำนาจ จะเข้าใจเรื่องเงินของโลกเสียที

โอกาสทอง ลดน้อยลงไปเรื่อยๆแล้วนะครับ

ศึกษา ระบบเงินคู่ เถอะครับ




      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #37 เมื่อ: 27 เมษายน 2552, 22:00:09 »

"...ต่อไปเรามาดูคุณสมบัติของเงิน

คุณสมบัติพื้นฐานของเ้งินคือ เงินจะแสดงค่าเมื่อมีการเปลี่ยนมือ  นั่นคือ ถ้าเงินหยุดนิ่งเมื่อไรเงินก็เหมือนไร้ค่า  ข้อนี้ถือเป็นหัวใจนะครับ ฝรั่งเรียกเงินว่า CURRENCY เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่เก่งต้องพยายามทำให้เงินเคลื่อนที่

เมื่อเราจุดตะเกียงน้ำมัน แสงสว่างก็ตามมา การเกิดแสงและความร้อนทำให้น้ำมันสูญหายไป  แต่เงิน กลับไม่เป็นเช่นนั้น  เงินนั้นเมื่อได้แสดงบทบาทแล้ว กลับไม่สูญหายไป เพียงแต่ย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง..คุณสมบัติข้อนี้ก็สำคัญครับ ..2ข้อแล้ว

คุณสมบัติข้อที่3 เงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ที่ใช้แลกเปลี่ยนทรัพยากร  ทำให้ตัวมันเองกลายเป็นทรัพย์สิน(ทรัพย์สินนะครับไม่ใช่ทรัพยากร)ที่ มีค่า  และจัดเป็นสุดยอดของทรัพย์สิน  เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายในการดูแลน้อยหรือไม่มีเลย  มีมากเท่าไรก็ไม่เป็นภาระ  มีได้อย่างไม่รู้เบื่อ (ต่างกับทรัพย์สินอื่น ยังไงก็มีจุดอิ่ม)

ทั้ง3ข้อคือคุณสมบัติของเงิน ที่ไม่เปลี่ยนแปร...."


นั่นคือข้อความที่ผมเคยโพสไว้ที่กระทู้นี้ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2551  เอามาให้อ่านอีกครั้งครับ..เผื่อฟลุค
ผู้มีอำนาจบริหารระบบการเงินของประเทศมาอ่านเจอ อาจเกิดปัญญา...

คุณสมบัติข้อที่1 สำคัญนัก...วันนี้เงินในประเทศเรามีมาก(เพราะความโชคดี...ไม่ใช่เพราะบทเรียนจากปี 2540 อย่างที่ใครๆชอบอ้าง)
เมื่อประเทศมีเงิน  หากรัฐบาลต้องการมีเงิน ก็ต้องทำให้เงินเคลื่อนที่....
เวลานี้ พื้นเราดีกว่า ปี2540 มากมายนัก

เงินไม่พอ รัฐบาลใช้วิธีลดค่าใช้จ่าย...บริหารง่ายๆแบบนี้  ใครๆก็ทำได้ครับ..แต่ไม่ควรเป็นบทบาทรัฐบาล

และถ้าจะตัดงบ ควรแยกแยะครับ
งบในส่วนที่ต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาล (เพราะผู้อื่นทำไม่ได้) ตัดหลังสุด
แต่งบในส่วนที่รัฐบาลอาจส่งให้เป็นหน้าที่ของผู้อื่นได้ตัดก่อน  (เช่น โดยการให้สัมปทาน....) แล้วเชิญชวนให้ผู้อื่นลงทุน

จริงแล้ว ในทุกการตัดสินใจ มีทั้งด้านได้ และ เสีย
แต่การดำเนินการที่ดีที่สุด จะทำให้ ทุกการตัดสินใจ มีได้มากกว่าเสีย..และหักลบแล้วอาจได้มากๆ
แต่ดำเนินการไม่ได้เรื่อง ย่อมมีเสียมากกว่าได้..ขออย่าให้เสียมากๆเลย....ครับ


      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #38 เมื่อ: 28 เมษายน 2552, 17:10:09 »

ไปอ่านพบบทความที่คล้ายกับ  ระบบเงินคู่ นี้

เป็นเงินที่ใช้ในจีน ช่วงเปิดประเทศใหม่ๆ โดยมีการพืมพ์เงินออกมา 2 แบบ
แบบหนึ่ง คือ เงินหยวน แบบที่ใช้กันในปัจจุบัน
อีกแบบคือเงิน ว่ายฮุ่ยเจวี้ยน  ซึ่งมีหน่วยเป็น หยวน เช่นเดียวกัน แต่ใช้สำหรับแลกกับเงินตราต่างประเทศ


ผมลิงค์ไว้แล้วครับ บทความชื่อ   ว่ายฮุ่ยเจวี้ยน เงินตราแห่งยุคปฏิรูป


      http://www.jiewfudao.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538775448&Ntype=3

แล้วเชิญมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ
   
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #39 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2552, 17:18:12 »

การที่จีนมีรูปแบบเงิน 2 แบบในช่วงนั้น ผมคิดเอาเองว่า รัฐบาลจีนคงรู้สึกถึงความน่าวิตกบางประการอยู่บ้าง
กับการที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ(8 ปีหลังจากสหรัฐลอยตัวเงินดอลลาร์)
และเพื่อความไม่ประมาท..ใช้รูปแบบที่ไม่เหมือนกันซะเลย นับเป็นการกระทำที่รอบคอบ และล้ำลึกยิ่ง

แต่จะอย่างไร...วิธีการ...รายละเอียดการจัดการ...ความเหมาะสม..ย่อมแตกต่างกันไป

ประการที่หนึ่ง  เงินว่ายฮุ่ยเจวี้ยน เป็นความแตกต่างเฉพาะรูปแบบของเงิน แต่ยังใช้ค่าเป็นหยวน เหมือนกัน
ถึงกระนั้นก็ยังพบว่า เงินว่ายฮุ่ยเจวี้ยน มีค่ามากว่า เงินเหรินหมินปี้ (เงินที่ใช้ปัจจุบัน)
ซึ่งเหตุการณ์นั้นเกิดในขณะที่จีนยังต้องการสินค้าต่า่งประเทศอยู่มาก 


ประการที่สอง  การใช้เงินสกุลเดียวกัน แต่รูปแบบต่างกัน
ด้านหนึ่งสร้างความสับสนและคนรู้สึกได้ถึงการได้เปรียบเสียเปรียบ
แต่ในอีกด้านหนึ่ง จะพบว่า แม้จะใช้เป็นเงินสกุลเดียวกัน
แต่กลไกตลาดกลับทำให้อัตราแลกเปลีี่ยนแตกต่างกัน

ประการที่สาม เป้าหมายของ  เงินว่ายฮุ่ยเจวี้ยน อาจมีจุดประสงค์เพียงเป็นการป้องกันและ
ควบคุมการเงินระหว่างประเทศ และออกใช้ในปี 1979 ซึ่งเท่ากับว่าเงินดอลลาร์
ถูกปล่อยให้ลอยตัวมาแล้ว 8 ปี นับเป็นช่วงที่ดอลลาร์ภิวัฒน์เริ่มวิ่งได้อย่างรวดเร็ว
การกั้นไม่ให้ดอลลาร์เข้าได้สะดวก  เท่ากับเป็นการสกัดกั้นปริมาณเงินในประเทศด้วย
(จะอย่า่งไร ผมค่อนข้างเชื่อว่า การตัดสินใจยกเลิกใช้เงินว่ายฮุ่ยเจวี้ยน ในปี 1995
เท่ากับ พ.ศ. 2538 จีนคงได้กำไรไปไม่น้อยจากการใช้เงินว่ายฮุ่ยเจวี้ยน เพราะอีก 2 ปี
ก็เกิด ต้มยำกุ้ง)

วันนั้น จีนใช้เพียงรูปแบบเงินที่แตกต่าง และไม่ใช่ "ระบบเงินคู่"
ยังเรียนรู้และจัดการกับระบบทุนนิยมโลกได้อย่า่งมั่นคงตลอดมา
(ซึ่งในความเห็นของผม จีน ไม่เหมาะสมที่จะใช้ "ระบบเงินคู่"
แม้จีนพยายามให้เงินหยวนมีค่ามากกว่าเงินดอลลาร์ฮ่องกง..
และแม้จะเป็นประเทศเดียวกัน ใช้เงินคนละสกุล
แต่ก็ไม่ใช่ "ระบบเงินคู่" นะครับ)


วันนี้ วันที่ปริมาณเงินดอลลาร์ล้นทะลัก  สหรัฐกำลังพยายามอย่างเต็มที่ที่จะรักษาค่าเงินของตนให้สูง
ในขณะเดียวกัน ก็ยังต้องเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์ออกมาสู่ชาวโลกเพื่อแก้ปัญหาของตน

เราจะรักษาค่ีาเงินบาท ที่เราสะสมความมั่งคั่งไว้อย่างไร 
โดยให้ "ปริมาณเงินทั้งระบบ" ของเรา "มีค่า" และเพียงพอสำหรับสร้างความสุขที่มั่นคงให้คนไทย

ระบบเงินคู่  คือ ทางออก ครับ


ความจริง "ระบบเงินคู่" มีสิ่งที่ยังต้องช่วยกันคิดอีกมากครับ

แต่ผมขอพัก ตุ๊กตาระบบเงินคู่ ไว้ที่..กำหนดการขับเคลื่อน
ข้อ 5.5 ว่าด้วยเรื่องภาษี

ต่อไป...ผมจะมาวาดฝัน  ว่า เมื่อ ประเทศเรา ใช้"ระบบเงินคู่" 
สิ่้งที่ น่าจะเกิดขึ้น มีอะไรบ้าง....

โปรดติดตาม แลกเปลียนกันนะครับ...ขอบคุณครับ




      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #40 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2552, 11:59:15 »

เชื่อกู้เงินลงทุนคุ้ม สร้างศก.ไทยเข้มแข็ง


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ว่า จะมีการกู้เงิน 6-8 แสนล้าน โดยแยกเป็น 6 แสนล้านเพื่อการลงทุน และ 2 แสนล้าน เพื่อความคล่องตัวทางการคลัง ทั้งนี้ จะเป็นการกู้เงินในประเทศ จากคนไทยด้วยกัน เช่น การออกพันธบัตร ทำให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และไม่ต้องห่วงว่าจะเป็นการก่อหนี้เพิ่ม เพราะถือว่าอยู่ในภาวะปกติของการปล่อยสินเชื่อ นอกจากนี้ เมื่อวันพฤหัสบดี (7 พ.ค.) ยังได้เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมการเงิน (Money Expo 2009) เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย

นำเนื้อหามาจากเว็บมติชนครับ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1241930001&grpid=00&catid=05

การตัดสินใจนี้ หลักการถูกต้อง ตอนนี้ของถูกควรต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งยังช่วยกระตุ้นให้เงินหมุนเวียนด้วย

และต้องกู้ในประเทศเท่านั้นนะครับ

ส่วนจะได้ผลดีมากเพียงใด  ยังอยู่ที่รายละเอียดในการจัดการอื่่นด้วย

เอาใจช่วยครับ เพื่อประเทศไทยของเรา

ต่..เมื่อไรจะเข้าใจเรื่อง 2 สูง กับระบบเงินคู่เสียทีน



      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #41 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2552, 04:51:53 »

 
อ้างถึง   
yc
ขาประจำ



 ออฟไลน์

คณะ: เภสัชศาสตร์
กระทู้: 163


      Re: • • ยังชิน มาแล้วจ้า !!! • •
« ตอบ #296 เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2552, 14:55:54 » อ้างถึง 

--------------------------------------------------------------------------------

 ผมเห็นว่า เงินบาทแข็งดีกว่าเงินบาทอ่อน

มีข่าว ท่านนายกอภิสิทธิ์ ให้ไปหาวิธีทำให้เงินบาทอ่อน
http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=7391&categoryID=310

ผมใคร่เสนอตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยผ่านกลไก "ระบบเงินคู่"
ลองอ่านกันดูนะครับ ผิดพลาดอย่างไรแนะนำผมด้วยครับ

กรณีไม่มีระบบเงินคู่
สมมติข้อมูล ณ   วันที่1 กค.    เป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้  35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรล ละ 70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ   10500 บาท และส่งออกได้ 310 ดอลลาร์
(ซื้อข้าวเปลือกมา300 ดอลลาร์ จึงกำไร 10 ดอลลาร์)

แต่เพราะต้องการช่วยเหลือผู้ส่งออกทำให้ วันที่ 1 ส.ค.  ข้อมูลจึงเป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้ 70บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรลละ  70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ  10500 บาท  และส่งออกได้ 310 ดอลลาร์ (
ซื้อข้าวเปลือกมา 150 ดอลลาร์ จึงกำไร 160 ดอลลาร์)
อยากถามว่า เดือดร้อนไหมครับ  ค่าเงินในกระเป๋าคนไทย เพิ่มหรือลด

มาดูกันในกรณี ใช้ระบบเงินคู่
สมมติข้อมูลเดียวกัน  ณ   วันที่1 กค.    เป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้  35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรล ละ 70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ  10500 หน่วยเงินรอง
(ระบบเงินคู่ ต้องพยายามกำหนดราคาสินค้าที่คนไทยสร้างได้เป็นหน่วยเงินรอง)
ระบบเงินคู่  เงิน 1บาทแลกได้  1หน่วยเงินรอง 

แต่เพราะต้องการช่วยเหลือผู้ส่งออก รัฐบาลจึงใช้กลไกระบบเงินคู่เข้าช่วย
โดยไม่ไปยุ่งกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์ 

1 ส.ค.  ข้อมูลจึงเป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้ 35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรลละ  70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ  10500  หน่วยเงินรอง
รัฐบาลผลักดันจนได้ เงิน 1 บาท แลกได้ 2 หน่วยเงินรอง
จะเห็นว่า กรณีใช้ระบบเงินคู่เข้าช่วย
ผู้ส่งออก ใช้เงินบาทเพียง 5250 บาท(150 ดอลลาร์) จะได้ข้าวเปลือก 1 ตัน ในขณะที่ชาวนา ได้เงิน 10500 หน่วยเงินรอง

มาวิเคราะห์เฉพาะผู้ส่งออกก่อน
กรณีใช้ระบบเงินคู่
ผู้ส่งออก ใช้เงินบาทเพียง 5250 (150ดอลลาร์)ในขณะที่ส่งออกได้ดอลลาร์เท่าเดิม 
เมื่อนำมาแลกเป็นเงินบาทแม้จะได้ไม่เท่าเงินบาทอ่อนตัว
แต่ก็ได้กำไรถึง 5600(160ดอลลาร์) บาท
ซึ่งสามารถซื้อน้ำมันได้ 5600/35/70 เท่ากับ 2.285 บาร์เรล

(แต่ เงิน 10850 บาทยังสามารถซื้อน้ำมันได้ (310/70 เท่ากับ ) 4.428  บาร์เรล )

ส่วนในกรณีที่ไม่ใช้ระบบเงินคู่ ทำให้บาทอ่อนตัว
ผู้ส่งออกได้เงินสูงขึ้น 310x70 เท่ากับ  21700 บาท ได้กำไร 11200 บาท(21700-10500)
 ซึ่งกำไรดังกล่าวก็ซื้อน้ำมันได้เพียง 2.285 บาร์เรลเท่ากัน(1120/70/70) 
จะเรียกว่าผู้ส่งออกได้ประโยชน์โดยสมบูรณ์ได้อย่างไร
ผู้ส่งออกเพียงแต่แข่งขันได้และไม่เจ็บตัวเท่านั้น 
แต่ที่ต้องแบกรับการแข่งขันได้และไม่เจ็บตัวของผู้ส่งออกก็คือ
ความมั่งคั่งที่สะสมมาของประเทศไทย
(ยังไม่นับการสูญเสียจาการขาดทุนเนื่องจากการแทรกแซงค่าเงินโดยตรง) 
คือเบียดบังจากคนไทยทั้งประเทศ โดยที่ได้ไม่คุ้มเสีย
เพราะผู้ส่งออกก็คือคนไทย เมื่อประเทศเสียเปรียบในที่สุดผู้ส่งออกก็สูญเสียเช่นกัน

มาดูในส่วนของชาวนา
กรณีใข้ระบบเงินคู่
 ซึ่งแม้จะได้ค่าข้าวเปลือกเป็นหน่วยเงินรองเท่าเดิมคือ 10500 หน่วยเงินรอง
 แต่เมื่อเทียบกลับเป็นเงินบาทจะเหลือเพียง  5250 บาท
ซึ่งซื้อน้ำมันได้  2.142 บาร์เรล(5250/35/70)
กรณีไม่ใช้ระบบเงินคู่ แต่ใช้วิธีการแทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อน 
ชาวนาขายข้าวได้ราคา 10500 บาท ซึ่งซื้อน้ำมันได้
2.142 บาร์เรลเช่นกัน (10500/70/70)
จะเห็นว่า แม้ขาวนา จะได้เงินบาทน้อยลง แต่ก็ยังซื้อน้ำมันได้เท่ากัน   
และถ้าพัฒนากิจกรรมโดยใช้หน่วยเงินรองมากขึ้น
ก็จะเป็นการเพิ่มความมั่งคั่งสะสมในที่สุด 
แม้ในระยะแรกจะเหมือนกับชาวนาต้องแบกรับทางอ้อม
(ซึ่งความจริงทุกวันนี้เกษตรกรไทยก็เป็นผู้แบกรับอยู่แล้ว)
แต่เมื่อประเทศได้ ในที่สุดชีวิตเกษตรกรจะดีขึ้น

จากกรณีสมมติ  ผลได้ของความแตกต่างในระยะยาวจากการใช้ระบบเงินคู่จะส่งผลดีดังนี้
1.ความมั่งคั่งของคนไทยและประเทศไทยเมื่อเทียบเป็นดอลลาร์ไม่ได้ลดลง
2.เมื่อความมั่งคั่งไม่ลดลง ย่อมสร้างความแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ
 ย่อมสร้างสรรค์การผลิตทีมีคุณภาพได้ดีขึ้น
สามารถสร้างผู้ประกอบการที่พัฒนาผลิตผลการเกษตรได้หลากหลายขึ้น
3.คนมีความั่งคั่งขึ้น  ย่อมรับต่อการเพิ่มราคาสินค้าเกษตรได้
4....................

 

นั่นคืออีกหนึ่ง จากการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "ระบบเงินคู่"
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #42 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2552, 18:35:34 »

น้องเจ้าจอม ผมไม่ได้เข้ามานาน
น้องYC ได้ขยายความในเชิง เปรียบเทียบเป็นตัวเลขให้เข้าใจชัดๆ ได้ดีมาก ปิ๊งๆ
ไม่รู้ว่ารัฐบาลและคุณกรณ์ จะได้อ่านบทความนี้หรือเปล่า
คุณกรณ์ ท่านเป็นนักคิด ถ้าได้อ่าน คงได้แนวคิดหลากหลายมากขึ้น

อย่าหยุดเผยแพร่ ความคิดนี้นะครับ น้องเจ้าจอม ผมเชียร์อยู่ หึหึ
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #43 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2552, 17:52:56 »

นับแต่สหรัฐอเมริกา ยกเลิกข้อตกลงเบรตันวู้ด ไม่อิงเงินดอลลาร์กับทองคำ
เงินของโลกก็เริ่มเปลี่ยนไปนับแต่วันนั้น
..............................................

วันนี้ ถ้าประเทศไทยใช้ระบบเงินคู่

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของเงินหลัก(เงินบาท) ต้องกำหนดตามดอกเบี้ยสหรัฐ

แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของเงินรอง ต้องตั้งให้สูงมากกว่า 
จะกว่าเท่าไร ขึ้นกับการวางเป้าหมายของรัฐ

ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ ของเงินทั้งสองแบบ ไม่จำเป็นว่าจะเป็นต้องไปในทิศทางเดียวกับเงินฝาก

ซึ่งเครื่องมือดอกเบี้ยนี้  จะสัมพันธ์กับอัตราแลกเปลี่ยน ระหว่างเงินหลักและเงินรอง โดยขึ้นกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจของรัฐ และความสามารถพื้นฐานทางการผลิต


ขอบคุณพี่สมชายครับ
ยิ่งผ่านกาลเวลา ผมยิ่งมั่นใจแนวคิดนี้..
ขอกำลังใจ และช่วยกันขยายความคิดนะครับ

ประเทศใด(ที่มีศักยภาพ)ทำก่อน จะโกยความมั่งคั่งจากวิกฤติแฮมเบอเกอร์ไว้ได้
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #44 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2552, 17:08:06 »

 
อ้างถึง   
วันที่ 03 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 15:16:10 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ใบโพธิ์ชี้ช่องไทยลดพึ่งพิงส่งออก ต้องเร่งลงทุน เพิ่มผลิตภาพแรงงาน

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีระดับการพึ่งพิงการส่งออกในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเพิ่มจาก 40% ของ GDP ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย มาเป็นกว่า 70% ในปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นอันดับสองในภูมิภาค (ไม่นับสิงคโปร์) รองจากมาเลเซีย

 

แม้ว่าหลายๆ รัฐบาลจะมีนโยบายในการลดการพึ่งพาการส่งออก แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้ สาเหตุสำคัญมาจากการที่ความพยายามในการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศไม่เป็นผล เนื่องจากรายได้ หรืออำนาจซื้อในการจับจ่ายใช้สอยของประชากรไม่เติบโต ทั้งนี้ค่าจ้างที่แท้จริงในภาคการผลิตของไทยยังคงล้าหลังอยู่ในระดับที่ไม่ ต่างจาก 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ตัวเลขของสิงคโปร์และเกาหลี เพิ่มขึ้นกว่า 50%

 

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ค่าจ้างของไทยเติบโตช้า คือการที่ประเทศไทยยังคงมีผลิตภาพแรงงาน (labor productivity) ที่ต่ำ และนั่นย่อมส่งผลไปถึงการขายของได้น้อย ประกอบกับการที่ราคาขายส่งออกของไทยถูกกำหนดโดยตลาดโลก ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่มีการเพิ่มมูลค่า (value chain) ไม่มาก ราคาขายเป็นสกุลดอลลาร์จึงไม่สูง โดยเฉพาะเมื่อแปลงเป็นเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในปัจจุบันแล้ว ยิ่งทำให้รายรับไม่เปลี่ยนแปลงนัก ดังจะเห็นได้ว่าในช่วงระหว่างปี 2543-2551 ดัชนีราคาสินค้าส่งออกที่ผลิตโดยไทยโดยรวมเมื่อคิดเป็นสกุลเงินดอลล่าห์ เพิ่มขึ้นประมาณ 28% แต่เมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้วเพิ่มขึ้นเพียง 6%

 

สาเหตุดังกล่าวทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถขยับราคาค่าจ้างได้มากนัก ดังนั้น เมื่ออำนาจซื้อไม่ขยับ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ โดยสิ่งเหล่านี้ส่งผลถึงกันเป็นวงจร ทำให้ต้องพึ่งพาการส่งออก วนเวียนอยู่เช่นนี้

 

นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า หากจะหยุดวงจรดังกล่าว จะต้องพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน เพื่อผลักดันทั้งปัจจัยด้านราคา และปริมาณของสินค้าส่งออก และต้องทำให้มั่นใจว่าเงินบาทจะไม่แข็งค่าขึ้นเร็วกว่าเงินสกุลอื่นโดย เปรียบเทียบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำได้ไม่ง่ายนัก

 

แต่สิ่งที่ทำได้ และควรทำอย่างยิ่งในขณะนี้ก็คือ ควรเร่งให้การลงทุนสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ที่ผ่านมา มูลค่าการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันของไทยยังอยู่ในระดับต่ำมาโดยตลอด โดยตัวเลขล่าสุดในปี 2551 ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียเมื่อปี 2540 ในขณะที่มูลค่าการลงทุนในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเกาหลี เพิ่มขึ้นไปถึง 20-50% แล้วโดยหากรัฐบาลเริ่มการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ก็จะทำให้การลงทุนจากภาคเอกชนหลั่งไหลตามมา แต่ถ้าไม่มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว และจริงจัง ก็คงยากที่จะเห็นประเทศไทยพ้นไปจากวงจรพึ่งพาการส่งออก หรือเกิดการพัฒนาผลิตภาพแรงงาน และเพิ่มรายได้แก่ประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม



นำมาจากประชาชาติครับ
................

หากเรายังคิดกันอยู่ในกรอบเดิม 
ทั้งที่ถึงเวลาแล้วที่การเงินต้องเปลี่ยนไปสู่คุณภาพใหม่

ผมก็คิดไม่ออกว่า จะทำให้ ผลิตภาพแรงงาน (labor productivity) ของคนไทยเพิ่มได้อย่างไร
ในเมื่อมองย้อนไปอดีตไล่มาจนปัจจุบัน
ผู้ประกอบการไทย(เถ้าแก่-เจ้าของกิจการ) อ่อนเปลี้ยลงไปตามกาลเวลา
แล้วจะมีพลังใดเหลือพอสร้างเสริมประสิทธิภาพ

แต่เห็นด้วยกับบทความนี้ หากสาธารณูปโภคนั้น คือรถไฟรางคู่ทั่วทุกจังหวัด เพื่่อการขนส่งและโดยสารครับ


      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #45 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2552, 20:18:45 »

บทความนี้ตัดตอนมาจาก "หมายเหตุประเทศไทย"
ไทยรัฐ  16 ธันวา 52
http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/53085

 
อ้างถึง   
วารสาร "การเงินธนาคาร" ฉบับ 500 เศรษฐีหุ้นไทย  ก็มีรายงาน วิเคราะห์ในเรื่องหนี้โดยชี้ให้เห็นว่า "ฟองสบู่หนี้" ที่กำลังท่วมโลก จะเป็นสาเหตุทำให้เกิด "วิกฤติการเงินรอบใหม่" ต่อจาก "ซับไพร์ม" ถ้าหากแก้ปัญหาหนี้ให้ลดลงไม่ได้ เพราะหนี้สินประเทศต่างๆในโลกปีหน้า 2010 จะเพิ่มจาก 15.3 ล้านล้านดอลลาร์ เป็น 49 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่า 200 เปอร์เซ็นต์

ระบบดอลลาร์ภิวัฒน์ เป็นกติกาหลักของสังคมโลกไปแล้ว

จังหวะเช่นนี้ ถ้าประเทศไทยใช้ "ระบบเงินคู่" เร็วเพียงใด
สังคมไทยก็จะมีความมั่งคั่งเร็วเพียงนั้น

และ "ระบบเงินคู่" จะช่วยในการปรับสมดุลย์ทางสังคม
ระหว่าง คนรวยที่มีโอกาสยุ่งเกี่ยวกับเงินดอลลาร์
กับคนไม่ค่อยรวย ที่ไม่ค่อยเกี่ยวโดยตรงกับดอลลาร์






      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #46 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2552, 18:14:14 »

 
อ้างถึง   
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 19:15:10 น.   ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

อนาคตของเงินดอลลาร์

คนเดินตรอก

วีรพงษ์ รามางกูร

 

ในระยะครึ่งหลังของปี 2552 มีการกล่าวถึงค่าเงินดอลลาร์กันมากว่า ค่าเงินดอลลาร์อาจจะดิ่งลงไปอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ ในระยะยาว บางคนออกจะมีความรู้สึกไม่ดีต่อค่าเงินดอลลาร์ ถึงขนาดออกมาคาดการณ์ว่าเงินดอลลาร์อาจจะถึงกาลอวสานในอนาคตอันใกล้ บางคนดีหน่อยก็ออกมากล่าวว่าไม่ช้าหรือเร็ว ด้วยเหตุผลหลายอย่าง

 

อย่างแรก เศรษฐกิจของอเมริกาที่รัฐบาลอเมริกันและสื่อมวลชนตะวันตก รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันที่อยู่ตามบริษัทห้างร้านต่าง ๆ รวมถึงที่อยู่ในสถาบันการเงินอเมริกันและสถาบันการเงินระหว่างประเทศใน อาณัติของกระทรงการคลังของสหรัฐได้ออกมาตีฆ้องร้องป่าวว่า เศรษฐกิจของอเมริกาเริ่มฟื้นตัวแล้ว เพราะบริษัทต่าง ๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่นิวยอร์ก 500 บริษัทแรก มีอยู่กว่า 400 บริษัทที่ผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ดีกว่าไตรมาสที่สอง แต่ภาพดังกล่าวที่จริงแล้วเป็นภาพลวงตา ตามขั้นตอนของวัฏจักรเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจถดถอยอย่างที่เป็นอยู่ในอเมริกา จะมีบางช่วงที่เศรษฐกิจอาจจะดูเหมือนฟื้นตัว

 

ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะมีการปรับตัวของสินค้าคงคลัง เมื่อปริมาณลดลงจนต่ำสุด ราคาก็ตกต่ำถึงที่สุดตามการลดลงของสินค้าคงคลัง การสะสมสินค้าคงคลังก็จะกลับมาใหม่ ประกอบกับสภาพคล่องของเงินดอลลาร์ที่มีมากขึ้นจากการอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจของรัฐบาลโอบามา ในขณะที่ดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ

 

ความต้องการลงทุนที่แท้จริง ซึ่งไม่ใช่การลงทุนในสินค้าคงคลังก็ยังไม่เกิด สังเกตได้จากการจ้างงานที่ยังไม่เพิ่มขึ้น หรือพูดกลับกันก็คืออัตราการว่างงานยังไม่ลดลง

 

เมื่อถึงจุดหนึ่ง การลงทุนเพื่อสร้างสต๊อกของสินค้าคงคลังก็จะหยุดลง ผลประกอบการของธุรกิจก็จะซบเซาลงไปที่เดิมพร้อมกันไปอย่างนี้ จนกว่าการลงทุนที่แท้จริงจะเกิดขึ้น

 

สถานการณ์ที่เห็นได้ชัดก็คือการขาดดุลการค้าและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ของอเมริกายังขาดดุลเป็นอัตราส่วนต่อรายได้ประชาชาติของอเมริกามากขึ้น

 

เรื่องที่สอง การที่ปริมาณเงินถูกปั๊มออกมาอย่างมาก ไม่สมดุลกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการขยายตัวทางด้านความต้องการถือเงิน ดอลลาร์สหรัฐ กล่าวคือเกิดการคาดการณ์กันไปทั่วว่าเงินดอลลาร์อาจจะกลายเป็นเศษกระดาษ หรือค่าเงินดอลลาร์จะยังลดค่าของตนต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลต่าง ๆ ของโลก ยิ่งทำให้ผู้ถือเงินดอลลาร์ อันได้แก่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ พยายามลดความเสี่ยงจากการถือเงินดอลลาร์ หันไปถือทองคำ เงินยูโร เงินเยน หรือเงินสกุลอื่นในยุโรป รวมทั้งเงินออสเตรเลียและเงินแคนาดา

 

การที่ธนาคารกลางจีน อินเดีย รัสเซีย และอาจจะรวมทั้งธนาคารกลางของสหภาพยุโรป ทำเช่นนั้น ก็จะยิ่งทำให้ค่าเงินดอลลาร์ลดลงไปอีก

 

เรื่องที่สาม การที่สหรัฐไม่ได้เอาใจใส่ในเรื่องการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐบาล หรือภาคเอกชน เงินที่ขออนุมัติรัฐสภาเพื่อนำมากระตุ้นเศรษฐกิจส่วนใหญ่ก็มิได้นำไปลงทุน อะไรใหม่ ส่วนใหญ่นำไปลงทุนในการซื้อกิจการของเอกชน หลังจากให้เอกชนลดทุนลงไปแล้ว เพื่อพยุงราคาหุ้น ผลประกอบการที่ดูดีขึ้นก็เกิดจากการลดทุน เป็นกำไรทางการเงิน ไม่ใช่เป็นเพราะผลประกอบการที่ดีขึ้นจริง

 

การลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตอันจะก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานจริงจึง ยังไม่เกิดขึ้น การขาดดุลการค้าและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากจึงยังคงดำเนินต่อไป ผลประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจึงไปตกอยู่กับประเทศที่ส่งออกไปยังตลาด สหรัฐอเมริกา เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย และประเทศเอเชียอื่น ๆ

 

วิธีแก้ไขปัญหาการขาดดุลกับจีนและประเทศอื่น ๆ โดยการลดการขาดดุลงบประมาณ ก็ดูจะเป็นมาตรการที่ตรงกันข้ามกับทฤษฎีการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ กำลังทำอยู่ตามมติของที่ประชุมเศรษฐกิจในเวทีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ประชุม G-20 หรือ APEC หรือ ASEAN

 

เมื่ออเมริกาไม่มีเครื่องมืออันใดในการแก้ปัญหาการขาดดุลของตนก็กลับมาใช้ วิธีการเก่า คือบังคับข่มขู่จีนให้ขึ้นค่าเงินหยวน ซึ่งจีนก็ประกาศอยู่ตลอดเวลาว่าจะไม่ยอมทำตาม แม้ว่าความจริงแล้ว จีนเองก็แอบทำอย่างช้า ๆ กล่าวคือในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินหยวนเพิ่มค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐถึง 21 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาทางเศรษฐกิจของอเมริกาจึงวนกลับมาที่เดิม แถมยังมีความเสี่ยงกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำไป กล่าวคือ

เรื่องที่สี่ นักเศรษฐศาสตร์หลายคนที่ส่วนมากมาจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐ มีความเป็นห่วงว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการกู้เงินมาอัดฉีดเข้าระบบ เศรษฐกิจของอเมริกา นอกจากจะเป็นภาระแก่รัฐบาลและผู้เสียภาษีในอนาคต ยังอาจทำให้เศรษฐกิจของอเมริกาไม่ปรับตัว หรือต้องใช้เวลาปรับตัวที่มีระยะยาวนานออกไป การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจอเมริกาอาจจะไม่เกิดขึ้นเลย เหมือนกับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ฟุบตัวลงไปตั้งแต่ปี 1990 เพราะถูกอเมริกาให้ขึ้นค่าเงินเยนอย่างรวดเร็วในครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1980 ตั้งแต่นั้นมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ไม่เคยฟื้นตัวอย่างจริงจังอีกเลย มีขึ้น ๆ ลง ๆ บ้างก็เล็ก ๆ น้อย ๆ อันเป็นภาพลวงตาอย่างที่ว่า

 

เรื่องที่เขาห่วงกันมากคือ เรื่องที่ห้า เพราะมีนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันหลายคนคิดเลยเถิดไปถึงว่า นโยบายปั๊มเงินกันออกมาพยุงเศรษฐกิจกันอย่างมโหฬารทั่วโลก จะเป็นสาเหตุให้ปริมาณเงินดอลลาร์และเงินทุกสกุลทะลักออกมามากเกินไป เมื่อเทียบกับผลผลิตหรือรายได้ประชาชาติของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับผลผลิตที่มาจากทรัพยากรของโลก ไม่เฉพาะแต่แร่ธาตุอย่างทองคำ แต่จะรวมไปถึงน้ำมัน ทองแดง อะลูมิเนียม และอื่น ๆ เมื่อสินค้าเหล่านี้มีราคาต่ำลงเทียบกับปริมาณเงินที่ถูกปั๊มเข้ามาในระบบ เศรษฐกิจทั่วโลก

 

ผลก็คือจะทำให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นอย่างรุนแรงทั้งโลก ระบบตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ที่จัดระเบียบไว้ทั้งในตลาดปัจจุบันและในตลาดล่วง หน้า อาจจะพังทลายลงถ้าเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (hyperinflation) เช่น ราคาสิ่งของเพิ่มขึ้นทุกวัน สินค้าก็จะหายไปจากตลาด เศรษฐกิจทั้งโลกก็จะตกต่ำ เหมือนกับที่เกิดขึ้นในประเทศละตินอเมริกาในทศวรรษที่ 1960 ซึ่งเป็นเรื่องของภาพที่ถูกวาดขึ้นอย่างน่ากลัวและมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น มากมาย ในกรณีอย่างนี้ค่าเงินดอลลาร์จะถูกกระทบมากที่สุด เพราะถูกปั๊มออกมามากที่สุด

 

ระยะนี้จึงเป็นระยะที่นักเศรษฐศาสตร์ออกมาเสนอความเห็นแปลก ๆ กันมากมาย หากติดตามข่าวดู ซึ่งก็ดีทำให้ไม่เหงา ความเห็นเหล่านี้น่าจะเป็นความเห็นที่สุดโต่งเกินไป แม้ว่าเที่ยวนี้ทั้งโลกจะถูกสหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายเศรษฐกิจไปทางเดียวกัน หมด อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงอยู่ไม่น้อยเหมือนกันเมื่อทุกคนคิดเหมือนกันและทำ เหมือนกันหมด ก็ต้องคอยดูต่อไปว่าอนาคตของเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร ถ้าดูในขณะนี้ผลก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น การขาดดุลของอเมริกาขนาดหนักก็ยังขาดดุลต่อไป เศรษฐกิจก็ดูยังไม่ฟื้นตัว ยุโรปก็ยังเหมือนเดิม จีน อินเดีย เอเชียก็ยังเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดต่อไป เศรษฐกิจหดตัวมากกว่าการขึ้นราคาน้ำมันและวัตถุดิบต่าง ๆ และปริมาณเงินที่มีมากขึ้นในเกือบทุกประเทศ

 

เมื่อเป็นอย่างนี้ แม้ว่าจะมีเหตุผลเพียงพอที่ผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จะมีความกังวลต่อค่าเงินดอลลาร์ว่า ค่าเงินดอลลาร์ใน 2-3 ปีนี้น่าจะมีค่าอ่อนตัวลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่น ๆ เมื่อเทียบกับทองคำ เช่น ยูโร หรือเงินเยนญี่ปุ่น ส่วนจะไปหยุดลงที่ไหนคงไม่มีใครคาดได้ถูก

 

ส่วนที่ห่วงใยกันว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง หรือเมื่อเศรษฐกิจที่แท้จริงของโลกฟื้นตัวแล้ว จะเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงนั้นก็ยังมองไม่เห็น ตราบใดที่ภาวะเศรษฐกิจแท้จริงของสหรัฐอเมริกายังไม่ฟื้นตัวอย่างจริงจังจนทำ ให้อัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นในระยะที่เศรษฐกิจอเมริกายังคงอ่อนแออยู่อย่างนี้ อันตรายจากภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงอันเกิดจากการเพิ่มปริมาณเงินเข้ามาใน ระบบทั่วโลกก็ยังไม่น่าจะเกิดขึ้น

 

สำหรับประเด็นที่นักเศรษฐศาสตร์และสื่อมวลชนตะวันตกออกมาตีข่าวว่า เงินดอลลาร์กำลังถูกท้าทายจากเงินสกุลอื่น เช่น เงินยูโร เงินเยน หรือเงินอื่น ๆ ในยุโรป ออสเตรเลีย แคนาดา หรือแม้แต่เงินหยวน ในระยะเวลา 4-5 ปีข้างหน้า เงินดอลลาร์ก็ยังคงความสำคัญในฐานะที่เป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ระหว่าง ประเทศ เป็นทุนสำรอง และเป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรในตลาดการเงิน ตราสาร และสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ ยังมองไม่เห็นว่าจะมีเงินสกุลใด หรือเงินสกุลหลาย ๆ สกุลรวมกัน แล้วจะมีสภาพคล่องมากพอที่จะมาทดแทนเงินดอลลาร์ได้

 

แต่อย่างไรก็ตามความพยายามของผู้คนที่เกี่ยวข้องก็คงพยายามกระจายความเสี่ยง จากการถือสินทรัพย์ในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐออกไปเป็นรูปแบบอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น โดยการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐมาเป็นทองคำ และเงินตราสกุลอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น

 

ราคาทองคำ และค่าเงินสกุลอื่น ๆ ก็คงจะค่อย ๆ สูงขึ้น ๆ เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อค่าเงินสหรัฐอ่อนตัวลงเรื่อย ๆ ก็คงคาดได้ว่า ราคาน้ำมัน แร่ธาตุ และสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ก็คงจะมีราคาแพงขึ้น ๆ แต่ราคาสินค้าสำเร็จรูปยังไม่ฟื้นตัว ปัจจัยดังกล่าวนี้แหละจะเป็นตัวดึงเศรษฐกิจกลับลงมาที่เดิมอีก

เหมือนกับโอบามาพูดเกือบตายแต่ก็กลับมาที่เดิมเหมือนที่บุชเคยทำคือ เดินทางไปปักกิ่งขอให้จีนขึ้นค่าเงินหยวน

ในที่สุดก็กลับมาที่เดิม ยกเว้นยอดหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นมหาศาล




อ่านข้อเขียนของ อ.วีรพงษ์ รามางกูร  ทีไรไม่เคยผิดหวังสักครั้ง
รอบด้านในมุมมองแห่งเหตุปัจจัย

ผมเชื่อว่าวันหนึ่ง จะมีนักเศรษฐศาสตร์บางคน คิดได้ว่า

ปริมาณเงินดอลลาร์จะทำให้เกิดคุณภาพใหม่ของการเงิน

ผู้มีอำนาจประเทศไทยที่รักของผม

โปรดระดมความคิดเพื่่อ "ระบบเงินคู่" เถอะครับ

ได้โปรด...




      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #47 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552, 09:24:04 »

ระบบเงินคู่ จะช่วยให้ประเทศที่ใช้
มีการกระจายรายได้เป็นธรรมขึ้น
เมื่อคนข้างล่่างมีรายได้มากขึ้น
คนข้างบนก็ตักตวงได้มากขึ้นด้วย
ประเทศจึงมีความมั่นคง และสะสมความมั่งคั่งไว้ได้

นอกจากประเทศที่ใช้ ระบบเงินคู่ จะดีขึ้นแล้ว
ระบบเศรษฐกิจโลก ก็จะหวือหวาน้อยลง
คือ จะเดินช้าลง  รอบวิกฤติที่อาจเกิดก็จะช้าลง(ไม่กล้าบอกว่าอาจไม่เกิด)


(วิกฤติเศรษฐกิจโลกอาจเกิดหรือไม่บอกไม่ได้ครับ 
แต่มั่นใจว่า "ระบบเงินคู่" จะช่วยให้ประเทศที่ใช้
ไม่ได้ัรับผลเสียใดๆ เลวร้ายที่สุดคือ ไม่ได้และไม่เสีย
แต่ถ้าใช้เก่ง ทุกรอบของวิกฤติ..(ถ้ามี)...จะมีแต่กำไร)
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #48 เมื่อ: 18 มกราคม 2553, 13:07:47 »

การใช้ระบบเงินคู่เป็นเครื่่องมือ
จะทำให้ผู้ดูแลเศรษฐกิจของประเทศมียุทธวิธีหลากหลายขึ้น
 
ผู้บริหารต้องรู้ข้อมูลภาพรวม
มีจินตนาการถึงอนาคต
ยุทธศาสตร์ ต้องปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

เมื่อค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลหลัก...
บางครั้ง เงินบาทแข็ง  เิงินรองต้องอ่อน...ใช้ความอ่อนดูดซับความแข็ง
บางครั้ง เงินบาทอ่อน  เงินรองต้องแข็ง...ใช้ความแข็งเสริมสร้างส่วนอ่อน
บางครั้ง เงินบาทแข็ง  เงินรองต้องแข็งกว่า...ใช้ความแข็งกว่ายึดโยงความแข็ง
บางครั้ง เงินบาทอ่อน  เงินรองต้องอ่อนกว่า...ใช้ความอ่อนกว่าประคองความอ่อน

คงมีอะไรอีกมากมาย ที่ผมยังคิดไม่ได้
ลงมือ แล้วความรู้จะเกิด ด้วยการเรียนรู้

 

      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #49 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2553, 23:30:36 »

บางส่วนจากประชาชาติออนไลน์ 29 พค.53
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1275114640&grpid=02&catid=no

ธนินท์ เจียรวนนท์ ถอดสูตรความสำเร็จผู้นำ-ย้ำทฤษฎี2สูงแก้วิกฤตศก.ชาติได้


" ก่อนกลับ "ธนินท์" ได้ให้แนวทางในการนำพาประเทศผ่านวิกฤตไว้ว่า ประเทศไทยต้องดูตัวอย่างญี่ปุ่น ที่ต้องเผชิญหน้าความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จนเศรษฐกิจพังยับ หรือไต้หวันที่ต้องผจญกับภัยธรรมชาติมากมาย แต่ทั้ง 2 ประเทศก็ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ ได้
 "ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดีไว้ก่อน และเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของเมืองไทยเวลานี้รุ่งที่สุดในประวัติศาสตร์ ประเทศไทยมีเงินตราต่างประเทศเหลืออยู่กว่า 1 แสนล้านยูเอสดอลลาร์และการส่งออกยังเกินดุล ขนาดการเมืองแบบนี้ หุ้นก็ยังขึ้นเรื่อย ๆ เพิ่งมาตก เพราะการเงินของโลกมีปัญหา"
 "เราต้อง มองบวก การเมืองแบบนี้หุ้นก็ยังขึ้นเอาขึ้นเอา เพิ่งมาตก แล้วที่ตกก็ไม่ใช่การเมืองของเรา การเงินของโลกมีปัญหา ผมอยากเรียนให้ทุกท่านทราบว่า เมืองไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารเลี้ยงโลก เราผลิตข้าว ขายข้าวมากที่สุดในโลก เราผลิตยางธรรมชาติ ขายยางมากที่สุดในโลก เราเป็นพระเอกตั้ง 2 ตัว"
 "ประเทศเรา เพียง 60 กว่าล้านคน เรามีสินค้าตั้ง 2 ตัวที่ขายไปต่างประเทศมากที่สุด แล้วเชื่อว่ายางพาราจะต้องเติบโตไป แล้วเชื่อว่าข้าว ราคายังต้องสูงขึ้นอีก ราคาปัจจุบันยังไม่ใช่ราคาที่ถูกต้อง แต่ถ้าราคาแพงขึ้นสูงขึ้น ถ้ารัฐบาลเขาใช้ เขาก็ต้องปรับเงินเดือนขั้นต่ำให้สูงขึ้น ปรับเงินเดือนข้าราชการให้สูงขึ้น"
 "ธนินท์" ยังยืนยันว่าใช้ 2 สูง จะทำให้ประเทศไทยก้าวข้ามพ้นจากวิกฤตได้
 "ญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้ง ที่ 2 เป็นประเทศที่แพ้สงคราม เป็นหนี้รุงรัง ยากจนมาก แต่วันนี้ญี่ปุ่นเมื่อหลาย 10 ปีก่อนก็เป็นที่หนึ่งของโลกในแง่ของเศรษฐกิจ เขาใช้ 2 สูงชัด ที่ดินราคาสูง สินค้าเกษตรราคาสูง"
 "2 ตัวนี้เป็นทรัพย์สมบัติของญี่ปุ่นของประเทศ แล้วงอกไม่ได้ มีเท่าไหร่ก็เท่านั้น นี่คือทรัพย์สมบัติของชาติ แล้วสินค้าเกษตรเป็นน้ำมันบนดิน สำคัญกว่าน้ำมันอีก แล้วประเทศเราผู้ผลิตน้ำมัน สำคัญกว่าน้ำมันเพราะเขาผลิตมาเลี้ยงมนุษย์ เป็นพลังงานของมนุษย์แล้วผู้ผลิตน้ำมันเลี้ยงมนุษย์จะจนได้อย่างไร ถ้านโยบายถูกต้อง
 เพราะฉะนั้นประเทศไทยต้องเรียนรู้จากญี่ปุ่น เกษตรกรเขาไปเที่ยวทั่วโลกได้ตั้งหลาย 10 ปีก่อน อยู่โรงแรม 5 ดาว ข้าวสารเราไปขายกิโลกรัมละ 10 กว่าบาทในสมัยนั้นเขาไม่ซื้อ เขาต้องการคนของญี่ปุ่น กินข้าว 100 กว่าบาท นั่นหมายความว่าอะไร เขาใช้ 2 สูง"
 "ถ้าใช้ 2 สูงเมื่อไหร่ เราไม่ได้เสียเปรียบใครเลย เพราะเราซื้อน้ำมันเราก็ซื้อจากโลก ทำไมเรากดน้ำมันของเราต่ำ แล้วคนไทยเราจะรวยได้อย่างไร"
 "ประเทศไต้หวันในอดีตก็ลำบากไม่แพ้ ญี่ปุ่น เกษตรกรไต้หวันเจอใต้ฝุ่นเข้า ภูเขาก็เยอะ ที่ดินทำกินก็น้อย แล้วมาเจอหน้าหนาวอีก แล้วทำไมไต้หวันใช้เวลา 20 ปีเท่านั้น จากยากจนกว่าเมืองไทยหลายเท่า ใช้ 20 ปีเกษตรไต้หวันไปเที่ยวทั่วโลกได้ ทำไมเกษตรกรวันนี้ของเรายังไปเที่ยวทั่วโลกไม่ได้ ช่วยไปถามรัฐบาลหน่อย ทุกอย่างเราดีกว่า แล้วอย่าเข้าใจผิด ถ้าเกษตรกรหลาย 10 ล้านคนร่ำรวย อุตสาหกรรมในประเทศจะร่ำรวยขึ้น เรามีความสามารถไปแข่งขันกับโลก ก็เท่ากับเรามีความสามารถผลิตสินค้าที่ต้นทุนถูก คุณภาพดีมาขายให้กับเกษตรกร ถ้าเกษตรกรมีกำลังซื้อ สินค้าของเราส่วนหนึ่งอีกหลาย 10 ล้านคนมาซื้อสินค้า จะทำให้อุตสาหกรรมของเรายิ่งเจริญรุ่งเรือง ทำให้ธุรกิจบริการยิ่งมากขึ้น ยิ่งดีขึ้น หมายความว่าต้องไปเอาจากภาคเกษตรขึ้นมาเป็นพนักงาน"
 "ถ้าหาก กำลังซื้อของคนยากจนมีมากขึ้น ประเทศชาติได้ นักธุรกิจได้หมด โดยเฉพาะข้าราชการเงินเดือนก็จะต้องสูง"
 "วันนี้รัฐบาลยังไม่เข้าใจ เราบอกว่าข้าราชการคอร์รัปชั่น แต่เรื่องความยากจนเราไม่แก้ไข"


...........................................

ต้องใช้ 2 สูง เป็นยุทธศาสตร์ครับ

และใช้ "ระบบเงินคู่" เป็นเครื่องมือ

      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #50 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2553, 08:12:11 »

 
อ้างถึง   
แก้เหลื่อมล้ำ ด้วย 2 ทฤษฎี

ผมเคยคุยปัญหาของบ้านเมืองกับ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือซีพีหลายครั้ง ทุกครั้งเจ้าสัวจะต้องพูดถึง ปัญหาความเหลื่อมล้ำรายได้ ของ คนรวย กับ คนจน ระหว่าง คนจนเมือง กับ คนจนชนบท ที่ถ่างกว้างออกไปทุกที จนเป็นปัญหาใหญ่ของบ้านเมือง

วันนี้ เรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม กลับมาเป็นเรื่องฮิตให้ถกกันอีกครั้ง

ทุก ครั้งที่คุยกันเรื่องนี้ เจ้าสัวธนินท์ จะยก "ทฤษฎีสองสูง" ขึ้นมาอธิบายเพื่อบอกผ่านไปยังรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมาว่า "ทฤษฎีสองสูง" สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของ "คนจนเมือง" และ "คนจนชนบท" ได้จริง

เมื่อสองวันก่อน เจ้าสัวธนินท์ ก็ออกมาตอกย้ำเรื่องนี้อีกครั้ง วันนี้ ผมเลยขอนำเรื่อง "ทฤษฎีสองสูง" ของ เจ้าสัวธนินท์ มาเขียนถึงอีกครั้ง

สูงแรก เจ้าสัวธนินท์ ขอให้รัฐบาลขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้สูงขึ้นทันที แล้วค่อยๆเพิ่มในอนาคตให้เพียงพอ (ทุกวันนี้เงินเดือนข้าราชการผมว่าไม่เป็นธรรม เรียนจบปริญญาโทเงินเดือนแค่หมื่นบาท จบด็อกเตอร์เรียนแทบตายเงินเดือนหมื่นกว่าบาท สู้เงินเดือนคนขับรถเมล์ยังไม่ได้) เมื่อขึ้นเงินเดือนข้าราชการแล้ว บริษัทเอกชนก็จะขึ้นเงินเดือนตาม ทำให้มี "กำลังซื้อ" เพิ่มขึ้นในตลาดทันทีมหาศาล

สูงสอง เจ้าสัวธนินท์ ขอให้ขึ้นราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น เพื่อ ให้เกษตรกรทั่วประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็มี "กำลังซื้อ" สูงขึ้น มีเงินลงทุนขยายการผลิตมากขึ้น ทำให้ คุณภาพการผลิตสูงขึ้น ขายได้ราคามากขึ้น เมื่อคนยากจนมีกำลังซื้อมากขึ้น ก็ไปทำให้อุตสาหกรรมและบริการขยายตัวมากขึ้น สุดท้ายประเทศและนักธุรกิจก็จะได้ประโยชน์ทั้งหมด

เรื่อง "ทฤษฎีสองสูง" นี้ ผมเห็นด้วยกับ เจ้าสัวธนินท์ มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีรัฐบาลไหนยอมนำไปปฏิบัติให้เป็นจริง ยังใช้แต่ ทฤษฎีตะวันตก ที่ไม่มีวันเป็นจริงในสังคมไทย เพราะพื้นฐานทางสังคม สภาวะแวดล้อม การใช้ชีวิต ทุกอย่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ยิ่งใช้ทฤษฎีตะวันตกมาเป็นฐานในการคิดแก้ไขปัญหามากเท่าไร ก็ยิ่งมองไม่เห็นหนทางแก้ปัญหามากขึ้นเท่านั้น

ก็ไม่รู้มี รัฐมนตรีจีน  คนไหนแอบมาอ่านเจอ "ทฤษฎีสองสูง" ของ เจ้าสัวธนินท์ หรือเปล่า เพราะเมื่อต้นปีนี้เอง รัฐบาลจีน เพิ่งประกาศนโยบายใหม่ ให้รัฐบาลรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาที่สูงขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 10.5 ด้วยเหตุผลเดียวกับที่ เจ้าสัวธนินท์ เสนอก็คือ เพื่อ ให้เกษตรกรที่ยากจนในชนบทมีรายได้สูงขึ้น เพื่อให้มี "กำลังซื้อ" มากขึ้น และยังเป็นการจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้นด้วย

นโยบาย ของ รัฐบาลจีน ครั้งนี้ ผมดูแล้วพิเศษตรงที่มีหลักของ "ทฤษฎี ขาดทุนคือกำไร" ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมเข้าไปด้วย

การ ที่ รัฐบาลจีน รับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาที่สูงขึ้นร้อยละ 10.5 โดยราคาข้าวในตลาดไม่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้ชาวนาจีนมีรายได้เพิ่มขึ้นทันทีอีกร้อยละ 10.5 ในฤดูการเก็บเกี่ยวปีนี้ แน่นอนว่ารัฐบาลจีนย่อมต้องขาดทุนไปร้อยละ 10.5 เช่นเดียวกัน

แต่ รัฐบาลจีน คงคิดแบบทฤษฎี "ขาดทุนคือกำไร" ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลขาดทุนนิดหน่อยไม่เป็นไร แต่ขอให้ชาวนาจีนมีรายได้เพิ่มขึ้นก็พอใจแล้ว เมื่อชาวนาจีนอยู่ดีๆก็มีรายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.5 ในปีนี้ ก็ทำให้ชาวนาจีนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ด้วยผลผลิตเท่าเดิม ทำให้มีเงินใช้จ่ายมากขึ้น มีเงินลงทุนในการเพาะปลูกมากขึ้น

เมื่อ ชาวนาจีนมีการใช้จ่ายมากขึ้น ก็ทำให้เศรษฐกิจประเทศจีนหมุน เวียนมากขึ้น สุดท้ายประเทศก็ได้กำไรมากขึ้น

การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะ ผมเชื่อว่าทำได้ ถ้านำ สองทฤษฎีนี้มาประยุกต์ใช้เข้าด้วยกัน รัฐต้องทำให้ราคาสินค้าเกษตร สูงขึ้น และ ต้องเพิ่มเงินเดือนข้าราชการให้สูงขึ้น ดึงให้เงินเดือนเอกชนสูงขึ้นด้วย จะเพิ่มกำลังซื้อในประเทศมหาศาล แล้วความเหลื่อมล้ำก็จะค่อยๆลดลงไปเอง แต่จะให้ทุกคนมีรายได้เท่าเทียมกันนั้น เพ้อฝันเกินไป มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว.

"ลม เปลี่ยนทิศ"

จากไทยรัฐ 1-6-53
http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/86407

ทฤษฎี 2 สูง  เป็นวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับภูมิประเทศของไทย

แต่การทำให้รายได้เป็น "เงินบาท" สูงขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าก็สูงขึ้นด้วย จึงคล้ายกับ หักลบแล้วอาจไม่เหลือ
ประกอบกับประเทศเรา ขนาด ไม่ใหญ่นัก
จึงเสียงมาก ต่อการสูญเสีย ความมั่งคั่งที่สะสมมาได้


เพื่อให้ สองสูง  เดินได้อย่างราบรื่น และได้ประโยชน์อย่างมั่นคง

ต้อง ดำเนินภายใต้ "ระบบเงินคู่" ครับ


หมายเหตุ : และต้องเข้าใจ "ทฤษฎี ขาดทุนคือกำไร" ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยครับ
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #51 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2553, 07:46:53 »

 
อ้างถึง   
วันที่ 03 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 09:25:26 น.   ประชาชาติธุรกิจออ นไลน์

ที่ดิน"ย่านวิทยุ"ทุบ สถิติใหม่ตารางวาละ1.5 ล้าน ตระกูล"สุทัศน์ ณ อยุธยา ขายให้กลุ่ม"แสนสิริ"

ซื้อขายที่ดินยังราคา กระฉูด ย่านวิทยุ พุ่ง 1.5 ล้านบาทต่อตารางวาหลังตระกูล สุทัศน์ ณ อยุธยา ขายให้กับกลุ่มแสนสิริในราคารวม 1,234 ล้านบาท ทุบสถิติเดิมที่เสี่ยตัน โออิชิเคยซื้อขายไว้ตารางวาละ 1 ล้านบาทขณะที่ดีลเอไอเอที่ได้พัฒนาโครงการตลาดทุนของตลาดหลักทรัพย์ก็สร้าง บรรทัดฐานราคาที่ดินย่านรัชดาฯใหม่ ตารางวาละ 4.3แสน

นายปฏิมา จีระแพทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด ที่ปรึกษาทางด้านด้านอสังริมทรัพย์ เปิดเผยว่า แม้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้จากการจลาจลในกรุงเทพฯที่ผ่านมา แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพราะช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา มีดีลซื้อขายที่ดินขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะดีลสถิติซื้อขายสูงสุดใหม่ 1.5 ล้านบาทต่อตารางวา (ตร.ว.)เป็นดีลซื้อขายที่ดินพื้นที่รวม 2 ไร่ 23 ตร.ว. บริเวณถนนวิทยุ ด้านหลังธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานเพลินจิต เดิมเป็นสถานทูตสเปน เป็นที่ดินของตระกูล สุทัศน์ ณ อยุธยา ขายให้กับบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ในราคารวม 1,234,500,000 บาท ทุบสถิติเดิม ซื้อขาย 1 ล้านบาทต่อ ตร.ว. ที่นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัทโออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เคยขายที่ดินติดกับตึกเวฟเพลส ย่านเพลินจิต ให้ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) เมื่อราว 3-4 ปีก่อน หากบริษัทแสนสิริ นำที่ดินผืนนี้ไปพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมจะต้องตั้งราคาสูงถึง 3 แสนบาทต่อตารางเมตร (ตร.ม.) จึงจะให้ผลตอบแทนทางธุรกิจที่เหมาะสมกับราคาซื้อขาย


นายปฏิมากล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีดีลซื้อขายที่ดินของบริษัทไรมอน แลนด์ จำนวน 2 ไร่ 3 งาน ติดกับตึกเวฟ ที่ซื้อต่อมาจากนายตัน ให้กับบริษัท ไทยซัมมิท แกรนด์ เอสเสท ของนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ในราคา ตร.ว. ละ 1.2 ล้านบาท คิดเป็นเงินรวม 1,326,840,000 บาท ส่วนดีลซื้อขายที่ดินของตลาดหลักทรัพย์ ย่านรัชดาให้กับบริษัทเอไอเอ พื้นที่ 9.66 ไร่ ราคา 1,600 ล้านบาทนั้น เอเอไอ เสนอราคาสูงสุดถึง ตร.ว.ละ 4.3 แสนบาท เป็นการสร้างบันทัดฐานการซื้อขายใหม่บนย่านนี้ เพราะเดิมราคาซื้อขายจะอยู่ที่เฉลี่ย 3 แสนบาทต่อ ตร.ว.


 

นายปฏิมากล่าวว่า จากเหตุการณ์ไฟไหม้กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้ความต้องการอาคารสำนักงาน รวมทั้งเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ย่านราชประสงค์ลดลง และยังทำให้เกิดการปรับตัวในรูปแบบใหม่ เช่น การจัดตั้งออฟฟิศ ในลักษณะแบ๊ค ออฟฟิศ เป็น ออฟฟิศ ชั่วคราว นอกเมือง เพื่อป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งยังว่าจ้างบุคลากรจากภายนอกมาทำงาน เพื่อไม่ต้องบริการจัดการคนเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน



อ้างอิง : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1275529084&grpid=02&catid=no

.................................................

เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ของการใช้การเงิน ระบบเดิม
ซึ่งส่งผลให้ เงินบาท ไปกระจุก และ สร้างเงินต่อเงินได้ิอย่างง่ายๆ
โดยมีสถาบันการเงินเป็นฐานรองรับ

ซึ่งหาก เงินต่อเงิน ได้โดยไม่เกิดปัญหา ก็ไม่ว่ากันละ
แต่เมื่อเกิดปัญหา...ย่อมกระทบต่อสถาบันการเงิน
และ เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ต้องรับภาระเป็นฐานสุดท้ายทุกครั้ง


ระบบเงินคู่
จะเป็นเครื่องมือ ปรับสมดุล ก่อความมั่นคง และสร้างความเป็นธรรมในสังคมได้


      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #52 เมื่อ: 06 กันยายน 2553, 17:10:35 »

บทความข้างท้ายนี้ นำมาจาก ไทยรัฐออนไลน์  วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2553

หาก ท่านผู้ว่าฯดร.ประสาร  ลองพิจารณา เครื่องมือ "ระบบเงินคู่" แล้ว จะพบว่าโจทย์ยากๆที่ยังหาทางออก
ให้ประเทศไทยไม่ได้นั้น ลูกกุญแจชื่อ "ระบบเงินคู่" สามารถ ไขประตูได้แน่นอน


http://www.thairath.co.th/column/eco/ecoscoop/108788
 
อ้างถึง   
Pic_108788
ดอกเบี้ย ค่าบาท สถาบันการเงินพันธกิจหนัก 5 ปี "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล"

ย่างก้าวสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ท่ามกลางความเปราะบางของการฟื้นตัว และแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการชะลอตัวลงอีกของเศรษฐกิจโลกเมื่อเข้าสู่ ไตรมาสที่ 3

ขณะที่แรงขับเคลื่อนหลักในการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ ไทยซึ่งก็คือ การส่งออก กำลังถูกกระทบอย่างหนักจากการที่เศรษฐกิจโลกมีโอกาสจะกลับไปสู่วิกฤติอีก ครั้ง หลังการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ในช่วงที่ผ่านมา ไม่สามารถยืนระยะอย่างมั่นคงและต่อเนื่องได้

ผสมโรงกับเงินบาทที่ แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงขณะนี้  แข็งค่าขึ้นแล้วมากกว่า 6.5% สูงกว่าการแข็งค่าของคู่แข่งทุกประเทศในภูมิภาคนี้  ยกเว้นก็แต่เพียงมาเลเซียเท่านั้น สิ่งนี้กำลังกลายเป็นปัญหาที่กระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งยังก่อให้เกิดความกังวลใจ เมื่อเริ่มเห็นแรงเก็งกำไรค่าเงินบาทที่เพิ่มมากขึ้น

ในอีกด้านหนึ่ง "อัตราเงินเฟ้อ" ซึ่งอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาหลายปี ได้ขยับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกตามการใช้จ่าย และลงทุนภาคเอกชนที่จะมากขึ้นในอนาคต รวมทั้งการจ่อขึ้นราคาสินค้าหลายรายการตามต้นทุนที่สูงขึ้น และการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการของรัฐบาล

ด้วยเหตุผลนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องกัน 2 ครั้ง ครั้งละ 0.5% ขณะเดียวกัน ก็ส่งสัญญาณการปรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยจากขาลง ซึ่งคงอัตราดอกเบี้ยต่ำไปเป็นอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นตลอดช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และปีหน้า แม้จะมีกระแสวิพากษ์ วิจารณ์ถึงจังหวะเวลาที่ไม่เหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ตาม

ทั้ง หมดนี้ จึงเป็นช่วงจังหวะที่ท้าทายของ ธปท.ในฐานะเป็นผู้กำหนดนโยบายดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อประคับประคองการขยายตัวให้เกิดขึ้นต่อเนื่อง พร้อมกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้คงอยู่ต่อไป

แต่ที่ดูจะยาก และท้าทายยิ่งกว่า ก็คือ การพิสูจน์ตัวตนของว่าที่ ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้กุมบังเหียน ในการกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย และค่าเงิน เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจโดยรวม และสนับสนุนรัฐบาลในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ

"ผมบอกกับตัวเองก่อนตัดสิน ใจสมัครชิงตำแหน่งนี้ว่า นี่เป็นงานที่ท้าทาย และยาก แต่ก็เป็นงานที่ทำประโยชน์ให้ส่วนรวม เมื่อมีโอกาสก็อยากจะใช้ประสบการณ์ที่ตัวเองมี ทั้งจากการทำงานที่ ธปท. ที่ตลาดทุน และจากการทำงานในธนาคารพาณิชย์ มาทำประโยชน์ ซึ่งผมก็หวังว่า ต่อจากนี้ไปจะใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ หลากหลายที่มี ทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากที่สุด"
ประสาร  ไตรรัตน์วรกุล  ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ปรารถกับ ทีมเศรษฐกิจ ก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวความในใจที่สะท้อนให้เห็นถึงมุมมอง และแง่คิดในการบริหารงานของเขาบนเก้าอี้ผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศไทย ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 ต.ค.นี้

นโยบาย ธปท. มหภาคสู่รากหญ้า

"ผม ยังไม่มีความคิดเปลี่ยนแปลงนโยบาย หรือมีธงที่จะปรับเปลี่ยนอะไรใน ธปท. ทันที เพราะเป็นเรื่องอ่อนไหว และหากจะปรับเปลี่ยนอะไรควรมีข้อมูล และได้พูดคุยกับคนที่ทำงานร่วมกันเสียก่อน"

โดยเวลา 5 ปี ที่จะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.นั้น จะเริ่มจากทำความเข้าใจของทุกฝ่ายให้ตรงกันเพื่อให้ ธปท.เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนได้ภายใต้ค่านิยมที่ดี ภายใต้ค่านิยมที่จะสร้าง ธปท.ให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ธนาคารกลางที่ดูแลได้ดี ทั้งเสถียรภาพ และการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งมองพันธกิจเพิ่มขึ้นที่จะดำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนนโยบายหลักของ ประเทศ โดยเฉพาะการดูแลชนชั้นรากหญ้า และสิ่งแวดล้อม

"เมื่อ 2-3 เดือนก่อน มีคนถามผู้ว่าฯธาริษาว่า ผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ควรเป็นอย่างไร ผู้ว่าฯธาริษาให้คำมา 3 คำ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นคำที่ดีที่ไม่ใช่ผู้ว่าการ ธปท.เท่านั้นควรเป็น แต่ ธปท.และองค์กรทั้งหมดของประเทศควรเป็น คือ "ยืนตรง มองไกล และติดดิน"

การยืนตรง  คือ  ยึดมั่นในหลักการ  มีความซื่อตรง  เป็นธรรม  ไม่โอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ มองไกล หมายถึง มีความรู้ความสามารถ มีความรอบคอบในการตัดสินใจและมองไปข้างหน้า ส่วน ติดดิน คือ การอยู่ในโลกของความเป็นจริง มีแนวทางและนโยบายที่เหมาะสม และเป็นไปได้ที่จะปฏิบัติจริง

อย่างไรก็ตาม ยังมีคำที่ 4 ที่อยากจะเติมลงไป คือ "ยื่นมือ" ทั้งการยื่นมือเพื่อให้เกิดความร่วมมือภายในองค์กรที่มากขึ้น รวมถึงการยื่นมือเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานที่ดูแลเศรษฐกิจภายนอก และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกๆด้าน

"บางคนอาจมองว่า ยังมีบางคำที่ ธปท.ในขณะนี้ยังไม่เป็นไปตามนั้น เช่น ยังไม่ติดดิน ไม่มองไกล หรือไม่ยื่นมือ แต่ในเวลา 5 ปี จะพยายามทำให้เกิดขึ้นจริงให้ได้ ธปท.ช่วงต่อไป จึงจะเปิดกว้างมากขึ้น โดยในช่วงที่ยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งนี้ก็ใช้เวลารับฟังข้อมูล ความคิดเห็นจากทุกฝ่ายทุกคนอยู่"

พันธกิจที่มากกว่า "นโยบายการเงิน"

อย่าง ไรก็ตาม เป้าหมายหลักในฐานะที่ดูแลภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ หน้าที่ของ ธปท.จึงยังต้องรักษาความสมดุลของเศรษฐกิจของประเทศให้ดีที่สุด โดยหากเห็นข้างไหนเริ่มเอียงก็หาทางให้ข้างนั้นกลับสู่สมดุล เช่น ถ้าเศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ช่วงร้อนแรงมากเกินไป ก็ต้องหาทางให้ร้อนลดลง ในอีกทางหนึ่งถ้าเริ่มกลับมาซบเซาเกินไป ก็ต้องมีมาตรการช่วยให้เศรษฐกิจไทยซบเซาน้อยลงเช่นกัน

"อย่างเช่นใน ครึ่งปีหลังของปีนี้ เศรษฐกิจชะลอตัวลงก็จริงแต่ไม่ใช่ทรุดตัวลง ยังเป็นการเติบโตต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงเท่านั้น ดังนั้น จึงยังไม่จำเป็นที่จะต้องอัดยาขนานใหญ่อะไรเป็นพิเศษเพิ่มเข้าไป แต่ก็ต้องคอยระวังไม่ให้มีอะไรแปลกปลอมมาทำให้ติดเชื้อใหม่ ประคับประคองการฟื้นตัวให้ต่อเนื่อง"

อย่างไรก็ตาม ในสังคมของประเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลง ในระยะหลังนี้ นอกเหนือจากดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจของประเทศ นายประสารมองว่ามีเป้าหมายใหม่ๆ ที่เข้ามากระทบการทำงานของ ธปท. มากขึ้น เช่น ความแตกต่างและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประชาชน

โดยจากผลการ สำรวจยังพบว่า ความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของประเทศ อยู่ในมือของเจ้าของกิจการ หรือเจ้าของทุน ในขณะที่เกษตรกร แรงงาน ลูกจ้างประจำ รวมถึงข้าราชการ ยังมีส่วนแบ่งที่น้อยมาก และในที่สุดได้นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งในฐานะที่เป็นองค์กรบริหารเศรษฐกิจจะหลับตาไม่ดูเรื่องนี้คงไม่ได้

ใน แง่นี้ นโยบายการเงินอาจจะไม่เอื้อในการช่วยบรรเทาปัญหา ดังนั้น อาจจะต้องเข้าไปดูแล ผ่านหน้าที่ที่เราดูแลระบบสถาบันการเงินของประเทศ โดยเฉพาะการทำให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งทุนมากขึ้นจากระบบสถาบันการเงินที่มีอยู่ แล้ว นอกจากนั้น การสร้างกลไกหรือสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ตรงให้ถึงรายย่อย และผู้ไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในปัจจุบัน หรือที่เรียกกันว่า "ไมโครไฟแนนซ์" (Microfinance) เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นภายในช่วงเวลา 5 ปี ที่ทำงานในตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.

โดยขณะนี้กำลังศึกษาในหลายแนวทาง ทั้งในส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ทำเอง โดยตั้งส่วนใหม่แยกออกมาจากส่วนเดิม หรือทำผ่านบริษัทลูกที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) อีกแนวทางคือ การเป็นแหล่งเงินของกลุ่มออมทรัพย์ต่างๆ หรือกองทุนหมู่บ้านที่มีอยู่แล้ว

นอก จากการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนรากหญ้าแล้ว อีกประเด็นหนึ่ง ที่ผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ ให้ความเห็นว่า กระทบต่อการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปคือ กระแสหลักของเศรษฐกิจยุคใหม่ที่สนใจการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดี และการลดใช้ทรัพยากรมากขึ้น ในช่วงต่อไป ธปท. คงไม่ละเลยกระแสนี้ และอาจจะมีส่วนรวมมากขึ้น ทั้งความพยายามลดการใช้ทรัพยากร และดูแลสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอง การให้ความร่วมมือกับองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนองค์กรที่ทำประโยชน์ ในด้านนี้อยู่แล้ว

เผยทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น-สเปรดลด

สำหรับ การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไปนั้น ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ส่งสัญญาณตรงกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า อัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อไปยังเป็นขาขึ้น

"ในปีก่อนหน้า เศรษฐกิจไทยทรุดตัวค่อนข้างมาก ทำให้ ธปท.ต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง จนสุดท้ายอยู่ในระดับ 1.25% ถือว่าต่ำมาก เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว แนวทางคือ ต้องทำให้เข้าสู่ดุลยภาพ"

แต่ศิลปะของการปรับขึ้นจะต้องดูความสมดุล ทั้ง 2 ด้าน ทั้งดูแลเสถียรภาพ และการขยายตัวของเศรษฐกิจ จึงเห็นได้ว่า แม้ดอกเบี้ยในขณะนี้จะเป็นขาขึ้น แต่อัตราเร่งของการปรับขึ้นไม่ได้ขึ้นแบบฉับพลัน หรือครั้งละมากๆ แต่ค่อยๆขึ้นจนปกติ เพราะหากปล่อยให้เข้าสู่การขาดดุลยภาพ ปัญหาอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเราอาจตั้งรับไม่ทันได้

ดังนั้น ถ้าปล่อยอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำมากๆ ต่อเนื่องยาวนานอาจจะสร้างความเข้าใจและการตีมูลค่าสินทรัพย์ที่แท้จริงผิด พลาด และเมื่อเงินหาง่าย ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาที่นำไปสู่การลงทุนที่ผิดพลาด หรือการลงทุนที่เกินตัวที่ลุกลามสร้างปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจได้

"การ ใช้นโยบายดอกเบี้ย คล้ายกับการโด๊ปยา ปีที่ผ่านมาร่างการอ่อนแอ ต้องโด๊ปยาให้ร่างกายฟื้น แต่เมื่อร่างกายฟื้นตัว การโด๊ปยาต่อเนื่องไป อาจจะเป็นผลร้ายต่อร่างกายได้"

ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ยังชี้ให้เห็นถึงข้อดีของดอกเบี้ยขาขึ้นด้วยว่า หากพิจารณาตามต้นทุนทางการเงินของธนาคารพาณิชย์แล้ว ในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ควรจะปรับขึ้นได้เร็วกว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็เป็นไปในแนวทางนี้อยู่ ตรงกันข้ามกับ ช่วงดอกเบี้ยขาลง ที่ดอกเบี้ยเงินกู้จะลงช้ากว่าดอกเบี้ยเงินฝาก

ดัง นั้น สเปรดดอกเบี้ยที่คำนวณง่ายๆ จากการนำดอกเบี้ยเงินกู้ลบด้วยเงินฝาก ซึ่งเป็นสเปรดที่สังคมส่วนใหญ่จับตาอยู่ ในช่วงต่อไปจะค่อยๆแคบลงและจะเห็นชัดเจน เมื่อดอกเบี้ยขยับขึ้นไประยะหนึ่งแล้ว ซึ่งจะทำให้ความเป็นห่วงเรื่องนี้ลดลงได้ระดับหนึ่ง

ดันแบงก์พาณิชย์ดูแลเศรษฐกิจ

ถัด มาที่แนวทางการกำกับดูแลระบบธนาคารพาณิชย์ของผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ซึ่งเพิ่งลุกมาจากตำแหน่งนายแบงก์หมาดๆได้เปิด 5 ภารกิจ ที่วางแนวทางไว้เพื่อให้ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยสนับสนุนการพัฒนาประเทศมากกว่า ที่เป็นอยู่นี้ให้ "ทีมเศรษฐกิจ" ฟัง

เริ่มจากข้อที่ 1. การระดมทุนและการกระจายทุนเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างเพียงพอ 2. การดำเนินการด้านระบบชำระเงินของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 3. เป็นกลไกบริหารความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจของประเทศ 4. เป็นแหล่งข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ และ 5. เป็นกลไกช่วยส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลในระบบเศรษฐกิจ และภาคธุรกิจของประเทศ

ทั้ง 5 ภารกิจ จะเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงิน และสอดส่องดูแลปัญหาที่อาจจะมีสัญญาณภายในระบบเศรษฐกิจไทย แต่ที่สำคัญที่สุด การดำเนินการของธนาคารพาณิชย์จะต้องมีความพอดี และเป็นธรรมระหว่างการสร้างกำไรของธนาคารกับการให้บริการที่ดี และเหมาะสมต่อภาคธุรกิจ และผู้บริโภค

ขณะเดียวกัน ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ยังมองเห็นถึงจุดอ่อนของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องระมัดระวังในช่วงต่อไปด้วย เรื่องแรกเป็นความเสี่ยงด้านเครดิต เพราะการแข่งขันที่เริ่มสูงขึ้นมาก ทำให้บางธนาคารผ่อนเงื่อนไขการให้สินเชื่อบางประเภทลง ขณะเดียวกัน หลายธนาคารตัดสินใจปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ต่อรายค่อนข้างมาก ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นต้องวิเคราะห์สินเชื่ออย่างรอบคอบ

การใช้ เทคโนโลยีในการบริการธุรกรรมทางการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นอีกความเสี่ยงหนึ่งที่ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบการจัดการ การรองรับปัญหา และการดูแลความปลอดภัยที่เหมาะสม และต่อเนื่อง

ความเสี่ยงที่เกิด จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของตลาดทุน การมีสินค้าที่มีความซับซ้อน และซ่อนความเสี่ยงไม่รับรู้ไว้ เป็นอีกจุดอ่อนหนึ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไทยต้องระวัง รวมทั้งยังเป็นความท้าทายของผู้กำกับ อย่าง ธปท.ด้วย ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ขออนุญาตก่อนที่จะลงทุนที่มีความเสี่ยงหรือซับซ้อน สูง ทำให้ธนาคารพาณิชย์แทบไม่ได้ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้

แต่ ในอนาคต กระแสทุนทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ตลาดเงินตลาดทุนที่กว้างขึ้น ทำให้หลีกเลี่ยงได้ยาก ธปท.จึงต้องคิดถึงการอนุญาตการลงทุนที่เหมาะสม รวมถึงการป้องกัน และการรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการลงทุนในตราสารเหล่านี้ไว้ด้วย

ใน ส่วนแนวทางการเปิดเสรีทางการเงิน และระบบสถาบันการเงินของประเทศนั้น ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ให้นิยามการเปิดใบอนุญาตการตั้งธนาคารพาณิชย์ใหม่ ไว้ว่า

"ถ้าการมีธนาคารพาณิชย์ใหม่แล้ว สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างประโยชน์ใหม่ๆ ให้กับระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศได้ การปิดกั้นก็ไม่ควรทำ แต่ต้องชัดเจนว่ามีมูลค่าเพิ่มจริงๆ ขณะที่การเปิดเสรีทางการเงินก็เช่นกัน ต้องเปิดแบบให้เราได้ประโยชน์มากที่สุด และข้อเท็จจริงจากทั่วโลก ในโลกนี้ไม่มีประเทศใดเปิดเสรีอย่างแท้จริง โดยไม่มีเงื่อนไข"

โจทย์หนักหิน "ค่าเงินบาทแข็ง"

สำหรับ การแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ท่ามกลางการไหลเข้าของเงินทุนมาสู่ภูมิภาคเอเชีย และประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง  ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ยอมรับว่า เป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหว

"ในขณะนี้ติดตามค่าเงินบาทอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งรวมถึงวิธีในการดูแลค่าเงินบาทของ ธปท.และมาตรการที่จะนำมาใช้ในการดูแลเงินบาทด้วย แต่เป็นเรื่องที่อ่อนไหวและเป็นโจทย์ที่ยากมาก ดังนั้น จะให้ตอบในขณะนี้อาจจะไม่เหมาะสม"

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ นายประสารมีความเห็นว่า ควรจะเปลี่ยนไปโดยพิจารณาเปรียบเทียบกับคู่แข่งมากกว่าที่จะเปรียบเทียบกับ ความต้องการซื้อสินค้าของผู้ค้าอย่างที่เป็นอยู่

เพราะในภาวะเช่นนี้ ค่าเงินแทบทุกสกุลที่เป็นคู่แข่งของไทยต่างแข็งขึ้นด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ แม้แต่กระทั่งจีน ดังนั้น แทนที่จะมองว่าค่าเงินแข็งแล้ว ยุโรปจะไม่ซื้อสินค้าเราเพราะราคาแพงขึ้น ทำให้ต้องลดราคาลงสู้ ควรจะมองเทียบกับคู่แข่งว่า ทุกคน ไม่ว่าไทย มาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย อยากจะขายสินค้าในราคาไหนมากกว่า

เช่น เดิมขายสินค้าชนิดหนึ่งที่ 2 ยูโรต่อชิ้น เมื่อค่าเงินแข็งราคาขายเพิ่มขึ้นเป็น 2.10 เหรียญฯต่อชิ้น ทำไมทุกคนต้องตัดราคาขายสินค้าที่ 2 เหรียญฯเหมือนเดิม แต่ควรจะมองในด้านคู่แข่งว่า ทุกคนอยากขายในราคาที่สูงกว่าเพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลงจากค่าเงินที่แข็งขึ้น ดังนั้น การบริหารจัดการในช่วงที่ค่าเงินแข็งขึ้น จึงไม่ควรเป็นสาเหตุในการตัดราคาขายเพื่อแข่งขันกัน

ส่วนเรื่องที่ เกี่ยวพันกับการใช้เงินเพื่อแทรกแซงค่าเงินบาท ผลกำไร-ขาดทุนของ ธปท. ซึ่งต่อเนื่องไปถึงการหาวิธีการชดใช้หนี้ในส่วนเงินต้นของกองทุนฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงินที่มียอดคงค้างสูงถึง 1.32 ล้านล้านบาทนั้น

นาย ประสารยอมรับว่า ได้โจทย์นี้มาจากกระทรวงการคลังเช่นกัน และกำลังคิดหาแนวทางที่เหมาะสมและดีกับทุกฝ่ายอยู่ เพราะตามกฎหมาย หากมีกำไรให้ ธปท.ตัด 90% ไปใช้หนี้เงินต้นให้กับหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ แต่ที่ผ่านมา หน้าที่ที่จะต้องดูแลแทรกแซงค่าเงินบาทและการดูดซับสภาพคล่องเงินบาท ทำให้ ธปท.ขาดทุนต่อเนื่องหลายปี และมีภาระขาดทุนสะสม ทำให้ส่งเงินกำไรเพื่อตัดหนี้เงินต้นไม่ได้

ทั้งหมดนี้ คือ การเตรียมความพร้อมที่จะรับโจทย์ยากและงานหนักของ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ท่ามกลางความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย ในฐานะผู้ว่าการ ธปท.คนต่อไป.

ทีมเศรษฐกิจ
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #53 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 07:42:25 »

 
อ้างถึง   
11 กรกฎาคม 2552, 14:55:54

--------------------------------------------------------------------------------

 ผมเห็นว่า เงินบาทแข็งดีกว่าเงินบาทอ่อน

มีข่าว ท่านนายกอภิสิทธิ์ ให้ไปหาวิธีทำให้เงินบาทอ่อน
http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=7391&categoryID=310

ผมใคร่เสนอตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยผ่านกลไก "ระบบเงินคู่"
ลองอ่านกันดูนะครับ ผิดพลาดอย่างไรแนะนำผมด้วยครับ

กรณีไม่มีระบบเงินคู่
สมมติข้อมูล ณ   วันที่1 กค.    เป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้  35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรล ละ 70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ   10500 บาท และส่งออกได้ 310 ดอลลาร์
(ซื้อข้าวเปลือกมา300 ดอลลาร์ จึงกำไร 10 ดอลลาร์)

แต่เพราะต้องการช่วยเหลือผู้ส่งออกทำให้ วันที่ 1 ส.ค.  ข้อมูลจึงเป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้ 70บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรลละ  70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ  10500 บาท  และส่งออกได้ 310 ดอลลาร์ (
ซื้อข้าวเปลือกมา 150 ดอลลาร์ จึงกำไร 160 ดอลลาร์)
อยากถามว่า เดือดร้อนไหมครับ  ค่าเงินในกระเป๋าคนไทย เพิ่มหรือลด

มาดูกันในกรณี ใช้ระบบเงินคู่
สมมติข้อมูลเดียวกัน  ณ   วันที่1 กค.    เป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้  35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรล ละ 70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ  10500 หน่วยเงินรอง
(ระบบเงินคู่ ต้องพยายามกำหนดราคาสินค้าที่คนไทยสร้างได้เป็นหน่วยเงินรอง)
ระบบเงินคู่  เงิน 1บาทแลกได้  1หน่วยเงินรอง

แต่เพราะต้องการช่วยเหลือผู้ส่งออก รัฐบาลจึงใช้กลไกระบบเงินคู่เข้าช่วย
โดยไม่ไปยุ่งกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์

1 ส.ค.  ข้อมูลจึงเป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้ 35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรลละ  70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ  10500  หน่วยเงินรอง
รัฐบาลผลักดันจนได้ เงิน 1 บาท แลกได้ 2 หน่วยเงินรอง
จะเห็นว่า กรณีใช้ระบบเงินคู่เข้าช่วย
ผู้ส่งออก ใช้เงินบาทเพียง 5250 บาท(150 ดอลลาร์) จะได้ข้าวเปลือก 1 ตัน ในขณะที่ชาวนา ได้เงิน 10500 หน่วยเงินรอง

มาวิเคราะห์เฉพาะผู้ส่งออกก่อน
กรณีใช้ระบบเงินคู่
ผู้ส่งออก ใช้เงินบาทเพียง 5250 (150ดอลลาร์)ในขณะที่ส่งออกได้ดอลลาร์เท่าเดิม
เมื่อนำมาแลกเป็นเงินบาทแม้จะได้ไม่เท่าเงินบาทอ่อนตัว
แต่ก็ได้กำไรถึง 5600(160ดอลลาร์) บาท
ซึ่งสามารถซื้อน้ำมันได้ 5600/35/70 เท่ากับ 2.285 บาร์เรล

(แต่ เงิน 10850 บาทยังสามารถซื้อน้ำมันได้ (310/70 เท่ากับ ) 4.428  บาร์เรล )

ส่วนในกรณีที่ไม่ใช้ระบบเงินคู่ ทำให้บาทอ่อนตัว
ผู้ส่งออกได้เงินสูงขึ้น 310x70 เท่ากับ  21700 บาท ได้กำไร 11200 บาท(21700-10500)
 ซึ่งกำไรดังกล่าวก็ซื้อน้ำมันได้เพียง 2.285 บาร์เรลเท่ากัน(1120/70/70)
จะเรียกว่าผู้ส่งออกได้ประโยชน์โดยสมบูรณ์ได้อย่างไร
ผู้ส่งออกเพียงแต่แข่งขันได้และไม่เจ็บตัวเท่านั้น
แต่ที่ต้องแบกรับการแข่งขันได้และไม่เจ็บตัวของผู้ส่งออกก็คือ
ความมั่งคั่งที่สะสมมาของประเทศไทย
(ยังไม่นับการสูญเสียจาการขาดทุนเนื่องจากการแทรกแซงค่าเงินโดยตรง)
คือเบียดบังจากคนไทยทั้งประเทศ โดยที่ได้ไม่คุ้มเสีย
เพราะผู้ส่งออกก็คือคนไทย เมื่อประเทศเสียเปรียบในที่สุดผู้ส่งออกก็สูญเสียเช่นกัน

มาดูในส่วนของชาวนา
กรณีใข้ระบบเงินคู่
 ซึ่งแม้จะได้ค่าข้าวเปลือกเป็นหน่วยเงินรองเท่าเดิมคือ 10500 หน่วยเงินรอง
 แต่เมื่อเทียบกลับเป็นเงินบาทจะเหลือเพียง  5250 บาท
ซึ่งซื้อน้ำมันได้  2.142 บาร์เรล(5250/35/70)
กรณีไม่ใช้ระบบเงินคู่ แต่ใช้วิธีการแทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อน
ชาวนาขายข้าวได้ราคา 10500 บาท ซึ่งซื้อน้ำมันได้
2.142 บาร์เรลเช่นกัน (10500/70/70)
จะเห็นว่า แม้ขาวนา จะได้เงินบาทน้อยลง แต่ก็ยังซื้อน้ำมันได้เท่ากัน   
และถ้าพัฒนากิจกรรมโดยใช้หน่วยเงินรองมากขึ้น
ก็จะเป็นการเพิ่มความมั่งคั่งสะสมในที่สุด
แม้ในระยะแรกจะเหมือนกับชาวนาต้องแบกรับทางอ้อม
(ซึ่งความจริงทุกวันนี้เกษตรกรไทยก็เป็นผู้แบกรับอยู่แล้ว)
แต่เมื่อประเทศได้ ในที่สุดชีวิตเกษตรกรจะดีขึ้น

เมื่อ 11 กค.52 ผมเคยยกตัวอย่างการใช้ระบบเงินคู่ไปแล้ว
วันนี้จะขอยกอีกตัวอย่าง
ลองคิดกันดูนะครับ

ยังชิน
13 ตุลาคม 2553

............................
สมมติว่าผมโชคดี มีออเดอร์สั่งซื้อแป้งทากันยุงเปลเล่ จากต่างประเทศ ทุกเดือนในราคาตู้คอนเทนเนอร์ละ 10 ล้านดอลลาร์ ถ้าแป้งทากันยุงเปลเล่มีต้นทุนเป็นวัตถุดิบต่างประเทศ 7 ล้านดอลลาร์(สมมติผมนำเข้าวัตถุดิบเอง) ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ 32ล้านบาท ค่าแรง 32 ล้านบาท (คิดอัตราแลกเปลี่ยน 32 บาท ต่อ 1ดอลลาร์)  นั่นคือ ผมมีกำไรเดือนละ 1 ล้านดอลลาร์ (32 ล้านบาท)
ต่อมา เงินบาทแข็งค่า อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 30 บาท ต่อ 1ดอลลาร์  ผมจะเหลือกำไรหรือขาดทุนเท่าไร มาคิดกัน
ที่ค่าเงิน 32 บาท ต่อ 1ดอลลาร์    ผมใช้เงินบาท (7x32 =)  224 ล้านบาท +32 ล้านบาท (ค่าวัตถุดิบภายในประเทศ)+32ล้านบาท (ค่าแรง)   คิดเป็นเงินทั้งสิ้น  288 ล้านบาท  นั่นคือ ที่ค่าเงิน 32 บาท ต่อดอลลาร์ ผมมีเงินเหลือ 320-288= 32 ล้านบาท
ที่ค่าเงิน 30 บาท ต่อดอลลาร์ ผมใช้เงิน (7x30=)  210 ล้านบาท +32 ล้านบาท (ค่าวัตถุดิบภายในประเทศ)+32ล้านบาท (ค่าแรง)   คิดเป็นเงินทั้งสิ้น  274 ล้านบาท  นั่นคือ ที่ค่าเงิน 30 บาท ต่อดอลลาร์ ผมมีเงินเหลือ 300-274 =  26 ล้านบาท

เผอิญว่า ขณะนั้น พรรคไทยทันทุนได้เป็นรัฐบาล(หรือพรรคอื่นแต่เข้าใจระบบเงินคู่)  และใช้ระบบเงินคู่ ในเขตจังหวัดราชบุรี(ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงาน) ตอนที่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเป็น 32 บาทต่อ 1ดอลลาร์  ในระบบเงินคู่  เงิน 1 บาท แลกได้ 1 เงินรอง  เพื่อความมั่นคงผมซื้อวัตถุดิบภายในเขตราชบุรีด้วยเงินรอง 16 ล้าน ซื้อวัตถุดิบจากรุงเทพ 16 ล้านบาท จ่ายค่าแรงเป็นเงินรอง 16 ล้านเป็นเงินบาท 16 ล้าน  แต่พอเงินบาทแข็งค่า เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก รัฐบาลจึงผลักดันให้เงิน 1 บาท แลกได้  1.2 เงินรอง  ดังนั้นในระบบเงินคู่ เมื่อเงิน 30 บาทแลกได้ 1ดอลลาร์  ผมใช้เงิน (7x30=) 210ล้านบาท + (16/1.2 ล้านบาท+16ล้านบาท) (ค่าวัตถุดิบภายในประเทศ)+ (16/1.2 ล้านบาท+16ล้านบาท)(ค่าแรง)   คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 210+29+29 =268 ล้านบาท  นั่นคือ ที่ค่าเงิน 30 บาท ต่อดอลลาร์ ผมมีเงินเหลือ 300-268 =  32 ล้านบาท

(ซึ่งโดยทั่วไป ผมต้องมีเงินฝากไว้ทั้งในรูปเงินบาท และเงินรอง  เมื่อค่าเงินบาทกำลังเริ่มแข็งค่า และทราบว่ารัฐบาลกำลังจะทำให้เงินบาทแลกเงินรองได้มากขึ้น ผมก็จะพยายามไม่เก็บเงินรองไว้มาก จะพยายามฝากไว้ในรูปเงินบาท  นั่นคือในระหว่างนั้น จะมีการเอาเงินรองมาแลกเป็นเงินบาท ทำให้เงินบาทในระบบเพิ่มมากขึ้น  ขณะเดียงกันเงินรองในระบบจะน้อยลง   ต่อเมื่อเงินบาทแลกเงินรองได้เพิ่มขึ้น จึงมีการนำเงินบาทไปแลกเงินรอง )

หมายเหตุ ระบบเงินคู่ นั้น  การแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินรอง ไม่จำเป็นต้องเป็นไปทิศทางเดิมๆ อาจเปลี่ยนทางได้ เช่นเงินบาทแข็งขึ้น เงินรองก็อาจแข็งขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #54 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553, 08:41:07 »

"ระบบเงินคู่"
เงินบาทเป็นเงินของชาติมีธนาคารชาติคุม
แต่เงินรองเป็นเครื่องมือของรัฐบาลคุมโดยกระทรวงการคลัง...
ไม่ว่าเงินไหนทั้งธนาคารชาติและกระทรวงการคลังต้องทำงานสัมพันธ์กัน
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #55 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2553, 15:22:29 »

ค่าเงินบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 อยู่ที่ 29.70 บาท ต่อดอลลาร์ มาดูกันว่าจะต่ำกว่านี้ได้ไหม
แต่ถ้าให้คาดคะเน ที่29.70 น่าจะเป็นตัวต้านที่แข็งแกร่ง ถ้าผ่านเส้นนี้ลงไปได้ ค่าดอลลาร์คงอ่อนค่าลงอีกมาก

(ตัวเลข 29.70 นี้ต่ำสุดระหว่าง 15ตุลาคม2548-14ตุลาคม 2553)
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #56 เมื่อ: 02 เมษายน 2554, 21:32:00 »

ไม่เคยรับรู้เรื่องภายในโครเอเชียมาก่อน คุณลม เปลี่ยนทิศเขียนเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับการค้าขายในโครเอเชียว่า "แม้แต่ราคาสินค้าก็มี 2 ราคา เงินพื้นเมืองคูน่า และ เงินยูโร"..ในนิทานการเงินบทที่ 10 ก็พูดเรื่องสินค้า 2 ราคาเช่นกัน

นี่คือหนึ่งในกลไก "ระบบเงินคู่"
http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/160524


      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #57 เมื่อ: 04 เมษายน 2554, 15:17:40 »




จะเกิดสิ่งที่ต้องการให้เกิดกับประเทศไทยได้ ต้องสามารถนำเข้าไปเสนอในสภาผู้แทน
แต่ปัจจุบัน การเมืองเป็นของนักการเมืองจะทำ เพื่อพรรค อันดับความเร่งด่วน
เรื่องอื่น ๆ จะต่อท้ายเรื่อง ที่เป็นประโยชน์ต่อพรรค จึงเห็นว่าการเมืองไม่เป็นที่พึ่ง
ของประชาชนจริง จึงควรเปลี่ยนให้ ใช้นายกสมาคมวิชาชีพ แต่ละวิชาชีพ ที่ได้รับเลือก
จากสมาชิกสมาคม โดยสามารถใช้ การลงคะแนนเสียงเลือกทางไอซีที ที่ ไอซีทีชุมชน
ที่จะมีทุกชุมชน เป็นภาระกิจของ กระทรวงเทคโนโลยี่และสารสนเทศ ไม่ต้องใช้
กรรมการการเลือกตั้ง กกต.ให้สิ้นเปลือง งบประมาณ และ เสียเวลา เพียงแต่
เมื่อลงคะแนนแล้วให้พิมพ์เอกสารให้เก็บเป็นหลักฐาน

เมื่อสงสัยผลการโหวต สามารถขอตรวจสอบกับ กรรมการไอซีที ชุมชนได้โดยตรง
นายกสมาคมแต่ละวิชาชีพ จะเป็นตัวแทนแต่ละอาชีพ ที่เสนอความต้องการของ
แต่ละวิชาชีพให้เข้าสู่สภา ได้

ที่น้องยังชินต้องการเสนอเรื่อง การเงิน ให้ใช้ "ระบบเงินคู่" ก็สามารถเสนอ
กับนายกสมาคมวิชาชีพที่เกียวข้องกับการเงิน ให้พิจารณา ถ้าเขาเห็นด้วย
เรื่อง ก็จะได้เข้าสู่สภา สู่การปฏิบัติได้ทันที เมื่อเข้าสู่สภาฯ แล้วสภาฯเห็นชอบ


ดูที่ผมเสนอที่กระทู้ ปิดประตูนักธนกิจการเมืองโดยด่วน ที่

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,11198.0.html

รักเธอประเทศไทย

http://www.youtube.com/watch?v=YRwyE1GQ_jI

win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #58 เมื่อ: 05 เมษายน 2554, 15:04:05 »

ขอบคุณครับ

ผมกำลังเขียน "ระบบเงินคู่..ความสมบูรณ์ของเงินตรายุคที่สาม " โพสใน วิชาการ.คอม

http://reurnthai.vcharkarn.com/vblog/114676/1
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 2 3 [ทั้งหมด]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><