10 ตุลาคม 2567, 17:11:32
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: พูดจาประสาพี่น้องฯ เรื่อง Mono Rail ที่จุฬาฯ  (อ่าน 17077 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 574

« เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2553, 21:43:26 »

พอดีได้ทราบข้อมูลเรื่อง กทม. จะสร้าง Mono Rail ระยะทาง 1.5 กม.
จากสยามผ่านหน้าจุฬา ไปสามย่าน มูลค่า 3,000 ล้านบาท
เชื่อมรถไฟ้าบนดิน และใต้ดิน ไม่รู้ว่าจะสร้างทำไม และจุฬาจะยกที่ดินให้ทำโรงซ่อม

กำลังรวบรวมและสรุป แล้วจะนำมาเสนอเพื่อมีส่วนร่วมครับ
      บันทึกการเข้า

I think, therefore I am.
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #1 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2553, 22:08:25 »

อ้างถึง
ข้อความของ jeam เมื่อ 03 พฤศจิกายน 2553, 21:43:26
พอดีได้ทราบข้อมูลเรื่อง กทม. จะสร้าง Mono Rail ระยะทาง 1.5 กม.
จากสยามผ่านหน้าจุฬา ไปสามย่าน มูลค่า 3,000 ล้านบาท
เชื่อมรถไฟ้าบนดิน และใต้ดิน ไม่รู้ว่าจะสร้างทำไม และจุฬาจะยกที่ดินให้ทำโรงซ่อม

กำลังรวบรวมและสรุป แล้วจะนำมาเสนอเพื่อมีส่วนร่วมครับ


ถ้าสร้างจริงก็เพี้ยนเกินไปแล้วครับ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 574

« ตอบ #2 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2553, 22:11:38 »

สร้างจริงครับ พี่ป๋อง
ผมกำลังจะเขียนบทความเพื่อ ปลุกกระแส

จะนำมาลงในเร็ววันนี้ครับ
      บันทึกการเข้า

I think, therefore I am.
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #3 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2553, 22:29:27 »

รออ่านค่ะพี่เจียม .. และขอมีส่วนร่วมด้วยคน      สะใจจัง
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 574

« ตอบ #4 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 00:26:02 »

ผมคิดว่าเราไม่ควรจะนิ่งดูดาย สิ่งที่คิดว่าไม่ถูกต้อง
จึงขอแสดงความเห็นดังนี้ครับ







ผมได้พบข้อมูลนี้จากหนังสือ “บ้านพร้อมอยู่” ฉบับ เดือนพฤศจิกายน 2553
จึงอดไม่ได้ที่จะนำมาแผยแพร่ เพื่อให้  ”ชาวจุฬา” ได้ช่วยกันวิเคราะห์ – วิจารณ์ และเสนอความเห็น
เนื่องจากโดยส่วนตัวแล้ว มีเหตุผลหลายประการที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับโครงการนี้
และผมคิดว่าใน web cmadong น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการถกเถียงประเด็นนี้กันได้

เนื่องจากไม่เห็นช่องทางอื่นใด ที่จะส่งต่อข้อมูลถึง “ชาวจุฬา”
ทั้งอดีต และปัจจุบันได้ดี มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เท่าที่นี่ (แม้ผมจะไม่ใช่ชาว “ซีมะโด่ง” ก็ตาม)

อันที่จริงเมื่อหลายเดือนก่อน ผมก็เคยอ่านเจอข่าว เกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการนี้
โดยไม่ค่อยเข้าใจรายละเอียดมากนัก แต่ในเนื้อข่าวกล่าวทำนองว่า
ผู้บริหารของจุฬา คาดว่าคงจะสามารถชี้แจงให้ ”ชาวจุฬา”
ยอมรับได้ถึงการเสียทัศนียภาพของหอประชุมจุฬาที่จะถูกเบียดบังไป
ในขณะนั้นผมยังนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร และจะเป็นอย่างไร เนื่องจากในข่าวไม่มีรายละเอียดเพียงพอ

แต่ขณะนี้ผมได้ทราบรายละเอียดแล้ว และขอแสดงความเห็นค้านในประเด็นต่อไปนี้

เหตุผลข้อแรกที่ผมไม่เห็นด้วยคือความคุ้มค่าของโครงการ
เพราะระยะทางเพียง 1.50 กม. ต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 3,000 ล้านบาท
การลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาลถึงเพียงนี้ และ(คาดว่า) จะช่วยแก้ปัญหาจราจรพื้นที่ดังกล่าวได้นั้น

ผมขอพูดในฐานะวิศวกร ก็คงต้องยืมคำพูดของ “พี่ป๋อง” ดร.สุริยา ทัศนียานนท์ ใน cmadong แห่งนี้มาใช้
“ถ้าสร้างจริงก็เพี้ยนเกินไปแล้วครับ”


เพราะผมไปสืบค้นข้อมูลค่าก่อสร้าง โครงสร้างที่แก้ปัญหาจราจรที่เห็นชัดที่สุดคือ
สะพานพระราม 8 มีมูลค่าเท่ากับ 3,000 ล้านบาท
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ห้าแยกปากเกร็ด และถนนเชื่อมต่อ เท่ากับ 4,000 ล้านบาท

ผมถึงกับอึ้งเลยครับ ที่ใครกันที่คิดจะแก้ปัญหาจราจรระยะทาง 1.50 กม.   บรึ๋ยยย
ด้วยเงิน เท่ากับการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา !


ไม่ว่าจะอ้างด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผมทราบอยู่แล้วจากการอ่านข่าวว่า ต้องมีการสร้างโรงซ่อมบำรุงด้วย
ซึ่งก็ต้องใช้งบสูงแน่นอน แต่โดยรวมทั้งหมด ก็เพื่อแก้ปัญหา 1.50 กม.

ผมขอตั้งคำถามว่า ยังจำโครงการ BRT  ของ กทม. ได้ไหม
ใช้เงินไปประมาณ 1,000 ล้านบาท สำหรับ Phase แรก
เป็นโครงการที่โฆษณาอย่างอึกทึกครึกโครม (ผู้ว่า กทม. ขณะนั้นเป็นนักการตลาด)
ตามโครงการจะทำ BRT มากมายหลายเส้นทาง
หมอชิต-ศุนย์ราชการ, ดอนเมือง-มีนบุรี-สุวรรณภูมิ
แม้แต่ขอนแก่นก็เคลิ้มจนอยากจะทำ ดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้
รวมแล้วงบประมาณมากกว่า 10,000 ล้านบาท


แล้วเป็นงัย (ภาษาวัยรุ่น) Phase แรกเตรียมจะเลิกแล้ว   so sad

เป็นเงินของใครที่ต้องจ่ายไปกับความไร้สาระ-อ่อนด้อย การศึกษาโครงการที่แท้จริง
แล้ว กทม. ก็มาบอกจุฬาว่า จะทำโครงการผ่านหน้าจุฬา ด้วยเงิน 3,000 ล้านบาท อีกแล้ว(ครับท่าน)

อันที่จริงปัญหาการจราจรของถนนหน้าจุฬา เกิดจากการมีห้างสรรพสินค้า ประกบหัว-ท้าย ถนน
จึงทำให้รถติดเป็นอย่างมาก ทั้งสองด้านในเวลาตอนเย็น ถึงค่ำ

การมี Mono Rail รับ-ส่งคนหัว-ท้ายถนน ศึกษาวิเคราะห์อย่างไร ก็ไม่เห็นว่าจะแก้ปัญหาได้
แล้วยิ่งมีแค่สถานีหัว-ท้าย ไว้ขึ้น-ลง และมีสถานีตรงกลางสำหรับ “ชาวจุฬา”
เพราะบริเวณนั้นไม่มีบ้านเรือน หรือธุรกิจอื่นใด แล้วมันจะแก้ปัญหาจราจรอะไร
เป็นการขนส่งคนขึ้นลงแค่ หัวถนน-ท้ายถนน ซึ่งก็คิดว่าไม่ใช่กลุ่มคนจำนวนมากแต่อย่างใด

ใครจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้ ถ้าไม่ใช่คนที่ผลาญเงินภาษีของประชาชน   จ๊าากกก
แล้วได้ค่า commission จากการออกแบบ, การก่อสร้าง
ตอบได้หรือไม่ครับ ?


เหตุผลประการที่สองที่ผมไม่เห็นด้วย ออกจะเป็นเรื่องส่วนตัวมากไปบ้าง
แต่ผมก็เชื่อว่าไม่ใช่มีแค่ผมคนเดียวที่จะมีความเห็นเป็นเช่นนี้

เหตุผลคือเป็นการทำลายภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยไปอย่างสิ้นเชิง
อย่างที่ไม่สามารถจะประเมินเป็นค่าความเสียหายได้
เพราะตลอดสองฝั่งถนน ว่าที่จริงแล้วก็คืออยู่ในเขตของมหาวิทยาลัย

ผมไม่เชื่อว่าที่ Havard หรือ CamBridge จะมีผู้บริหารชุดใดยอมให้สร้างรถไฟฟ้าผ่ากลางเป็นแน่แท้  เค้าไม่ยอม
แต่ผู้บริหารของจุฬากำลังจะทำ


ผมว่าเราต้องไม่ลืมว่า “จุฬา” ไม่ใช่บริษัท ที่ผู้บริหารจะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ
ก่อนการตัดสินใจเรื่องที่สำคัญมาก ควรต้องถาม ”ชาวจุฬา” ที่ไม่เพียงเฉพาะที่กำลังศึกษาอยู่
แต่ที่กระจายอยู่ทุกที่ของประเทศไทย และทั่วโลก

ได้มีการศึกษาถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และคุณค่าทางวัฒนธรรมอันหยั่งรากของจุฬาแล้วหรือยัง

มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจแล้วหรือ
ได้คิดที่จะทำ Model เพื่อศึกษาและรายงานผล เพื่อขอความเห็นชอบแล้วหรือไม่
จะใช้ที่ดินผืนไหนของจุฬา ยกให้ กทม. หรือมีแบบก่อสร้างที่ร่างไว้แล้ว
ขอให้นำเสนอออกมาเพื่อ “จุฬาพิจารณ์” ไม่ใช่แค่กล่าวว่าเป็นโครงการที่น่าจะดี

ผมเองเรียนทั้งที่จุฬา และเกษตรศาสตร์ จึงขออ้างตัวอย่างของเกษตรศาสตร์มาเล่าสู่กันฟัง
ชาวจุฬาอาจไม่ทราบว่า เมื่อคราวที่มีการก่อสร้างโครงการ ดอนเมืองโทลเวย์
ได้มีการออกแบบล่วงหน้า (แบบมัดมือชกก็ว่าได้)
คือกำหนดให้มีทางขึ้นลง ต้องตัดเข้าพื้นที่ของเกษตรศาสตร์ บริเวณหัวถนน งามวงศ์วาน ตัดวิภาวดีรังสิต

ได้มีความพยายามกดดันจากทางรัฐบาล โดยอ้างว่าเกษตรศาตร์ควรต้องเสียสละ
แต่เกษตรศาสตร์ไม่ยอม โดยบอกว่ามีโครงการของมหาวิทยาลัยที่ต้องใช้พื้นที่นั้นอยู่แล้ว
เกษตรศาสตร์ชนะ ในที่สุด
ชุมชนบ้านครัวก็เป็นตัวอย่างที่ลือลั่


แต่ “ผู้บริหารของจุฬา ชุดปัจจุบัน”  จะยกที่ดินให้ กทม. ที่ทำโครงการแก้ปัญหาจราจรล้มเหลวมาแล้ว
ไม่ทราบด้วยเหตุผลใดมาอ้าง !

ผมเรียกร้องต้องการให้มีการตรวจสอบ
และจะต้อง  A.S.K.  (Autorize from Social Knowing) ต่อ “ชาวจุฬา”

ในใจลึกๆ ผมหวังว่า ข้อคิดเห็นของผมที่พูดออกมานี้ จะเปรียบประหนึ่งว่า ผมกำลังโยนก้อนหินเล็กๆ ก้อนหนึ่ง
ลงในสระน้ำหน้าสนามฟุตบอล และได้เกิดระลอกคลื่นขึ้น พอที่ชาวจุฬาจะสังเกตุเห็นได้

และถ้าหากระลอกคลื่นนั้นได้กลายเป็น “สึนามิ”
ที่ดังพอที่ผู้บริหารของจุฬาจะได้ลงมาชี้แจงก็เป็นเรื่องที่วิเศษสุด



 บ่ฮู้บ่หัน
      บันทึกการเข้า

I think, therefore I am.
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #5 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 02:12:59 »

โอ้ยโย๋ .. วันนี้พี่เจียม แวร๊ง ..       สะใจจัง
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
Preecha2510
Cmadong Member
Full Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2510
กระทู้: 788

« ตอบ #6 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 10:35:35 »

อ้างถึง
ข้อความของ jeam เมื่อ 05 พฤศจิกายน 2553, 00:26:02
ผมคิดว่าเราไม่ควรจะนิ่งดูดาย สิ่งที่คิดว่าไม่ถูกต้อง
จึงขอแสดงความเห็นดังนี้ครับ







ผมได้พบข้อมูลนี้จากหนังสือ “บ้านพร้อมอยู่” ฉบับ เดือนพฤศจิกายน 2553
จึงอดไม่ได้ที่จะนำมาแผยแพร่ เพื่อให้  ”ชาวจุฬา” ได้ช่วยกันวิเคราะห์ – วิจารณ์ และเสนอความเห็น
เนื่องจากโดยส่วนตัวแล้ว มีเหตุผลหลายประการที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับโครงการนี้
และผมคิดว่าใน web cmadong น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการถกเถียงประเด็นนี้กันได้

เนื่องจากไม่เห็นช่องทางอื่นใด ที่จะส่งต่อข้อมูลถึง “ชาวจุฬา”
ทั้งอดีต และปัจจุบันได้ดี มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เท่าที่นี่ (แม้ผมจะไม่ใช่ชาว “ซีมะโด่ง” ก็ตาม)

อันที่จริงเมื่อหลายเดือนก่อน ผมก็เคยอ่านเจอข่าว เกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการนี้
โดยไม่ค่อยเข้าใจรายละเอียดมากนัก แต่ในเนื้อข่าวกล่าวทำนองว่า
ผู้บริหารของจุฬา คาดว่าคงจะสามารถชี้แจงให้ ”ชาวจุฬา”
ยอมรับได้ถึงการเสียทัศนียภาพของหอประชุมจุฬาที่จะถูกเบียดบังไป
ในขณะนั้นผมยังนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร และจะเป็นอย่างไร เนื่องจากในข่าวไม่มีรายละเอียดเพียงพอ

แต่ขณะนี้ผมได้ทราบรายละเอียดแล้ว และขอแสดงความเห็นค้านในประเด็นต่อไปนี้

เหตุผลข้อแรกที่ผมไม่เห็นด้วยคือความคุ้มค่าของโครงการ
เพราะระยะทางเพียง 1.50 กม. ต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 3,000 ล้านบาท
การลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาลถึงเพียงนี้ และ(คาดว่า) จะช่วยแก้ปัญหาจราจรพื้นที่ดังกล่าวได้นั้น

ผมขอพูดในฐานะวิศวกร ก็คงต้องยืมคำพูดของ “พี่ป๋อง” ดร.สุริยา ทัศนียานนท์ ใน cmadong แห่งนี้มาใช้
“ถ้าสร้างจริงก็เพี้ยนเกินไปแล้วครับ”


เพราะผมไปสืบค้นข้อมูลค่าก่อสร้าง โครงสร้างที่แก้ปัญหาจราจรที่เห็นชัดที่สุดคือ
สะพานพระราม 8 มีมูลค่าเท่ากับ 3,000 ล้านบาท
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ห้าแยกปากเกร็ด และถนนเชื่อมต่อ เท่ากับ 4,000 ล้านบาท

ผมถึงกับอึ้งเลยครับ ที่ใครกันที่คิดจะแก้ปัญหาจราจรระยะทาง 1.50 กม.   บรึ๋ยยย
ด้วยเงิน เท่ากับการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา !


ไม่ว่าจะอ้างด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผมทราบอยู่แล้วจากการอ่านข่าวว่า ต้องมีการสร้างโรงซ่อมบำรุงด้วย
ซึ่งก็ต้องใช้งบสูงแน่นอน แต่โดยรวมทั้งหมด ก็เพื่อแก้ปัญหา 1.50 กม.

ผมขอตั้งคำถามว่า ยังจำโครงการ BRT  ของ กทม. ได้ไหม
ใช้เงินไปประมาณ 1,000 ล้านบาท สำหรับ Phase แรก
เป็นโครงการที่โฆษณาอย่างอึกทึกครึกโครม (ผู้ว่า กทม. ขณะนั้นเป็นนักการตลาด)
ตามโครงการจะทำ BRT มากมายหลายเส้นทาง
หมอชิต-ศุนย์ราชการ, ดอนเมือง-มีนบุรี-สุวรรณภูมิ
แม้แต่ขอนแก่นก็เคลิ้มจนอยากจะทำ ดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้
รวมแล้วงบประมาณมากกว่า 10,000 ล้านบาท


แล้วเป็นงัย (ภาษาวัยรุ่น) Phase แรกเตรียมจะเลิกแล้ว   so sad

เป็นเงินของใครที่ต้องจ่ายไปกับความไร้สาระ-อ่อนด้อย การศึกษาโครงการที่แท้จริง
แล้ว กทม. ก็มาบอกจุฬาว่า จะทำโครงการผ่านหน้าจุฬา ด้วยเงิน 3,000 ล้านบาท อีกแล้ว(ครับท่าน)

อันที่จริงปัญหาการจราจรของถนนหน้าจุฬา เกิดจากการมีห้างสรรพสินค้า ประกบหัว-ท้าย ถนน
จึงทำให้รถติดเป็นอย่างมาก ทั้งสองด้านในเวลาตอนเย็น ถึงค่ำ

การมี Mono Rail รับ-ส่งคนหัว-ท้ายถนน ศึกษาวิเคราะห์อย่างไร ก็ไม่เห็นว่าจะแก้ปัญหาได้
แล้วยิ่งมีแค่สถานีหัว-ท้าย ไว้ขึ้น-ลง และมีสถานีตรงกลางสำหรับ “ชาวจุฬา”
เพราะบริเวณนั้นไม่มีบ้านเรือน หรือธุรกิจอื่นใด แล้วมันจะแก้ปัญหาจราจรอะไร
เป็นการขนส่งคนขึ้นลงแค่ หัวถนน-ท้ายถนน ซึ่งก็คิดว่าไม่ใช่กลุ่มคนจำนวนมากแต่อย่างใด

ใครจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้ ถ้าไม่ใช่คนที่ผลาญเงินภาษีของประชาชน   จ๊าากกก
แล้วได้ค่า commission จากการออกแบบ, การก่อสร้าง
ตอบได้หรือไม่ครับ ?


เหตุผลประการที่สองที่ผมไม่เห็นด้วย ออกจะเป็นเรื่องส่วนตัวมากไปบ้าง
แต่ผมก็เชื่อว่าไม่ใช่มีแค่ผมคนเดียวที่จะมีความเห็นเป็นเช่นนี้

เหตุผลคือเป็นการทำลายภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยไปอย่างสิ้นเชิง
อย่างที่ไม่สามารถจะประเมินเป็นค่าความเสียหายได้
เพราะตลอดสองฝั่งถนน ว่าที่จริงแล้วก็คืออยู่ในเขตของมหาวิทยาลัย

ผมไม่เชื่อว่าที่ Havard หรือ CamBridge จะมีผู้บริหารชุดใดยอมให้สร้างรถไฟฟ้าผ่ากลางเป็นแน่แท้  เค้าไม่ยอม
แต่ผู้บริหารของจุฬากำลังจะทำ


ผมว่าเราต้องไม่ลืมว่า “จุฬา” ไม่ใช่บริษัท ที่ผู้บริหารจะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ
ก่อนการตัดสินใจเรื่องที่สำคัญมาก ควรต้องถาม ”ชาวจุฬา” ที่ไม่เพียงเฉพาะที่กำลังศึกษาอยู่
แต่ที่กระจายอยู่ทุกที่ของประเทศไทย และทั่วโลก

ได้มีการศึกษาถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และคุณค่าทางวัฒนธรรมอันหยั่งรากของจุฬาแล้วหรือยัง

มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจแล้วหรือ
ได้คิดที่จะทำ Model เพื่อศึกษาและรายงานผล เพื่อขอความเห็นชอบแล้วหรือไม่
จะใช้ที่ดินผืนไหนของจุฬา ยกให้ กทม. หรือมีแบบก่อสร้างที่ร่างไว้แล้ว
ขอให้นำเสนอออกมาเพื่อ “จุฬาพิจารณ์” ไม่ใช่แค่กล่าวว่าเป็นโครงการที่น่าจะดี

ผมเองเรียนทั้งที่จุฬา และเกษตรศาสตร์ จึงขออ้างตัวอย่างของเกษตรศาสตร์มาเล่าสู่กันฟัง
ชาวจุฬาอาจไม่ทราบว่า เมื่อคราวที่มีการก่อสร้างโครงการ ดอนเมืองโทลเวย์
ได้มีการออกแบบล่วงหน้า (แบบมัดมือชกก็ว่าได้)
คือกำหนดให้มีทางขึ้นลง ต้องตัดเข้าพื้นที่ของเกษตรศาสตร์ บริเวณหัวถนน งามวงศ์วาน ตัดวิภาวดีรังสิต

ได้มีความพยายามกดดันจากทางรัฐบาล โดยอ้างว่าเกษตรศาตร์ควรต้องเสียสละ
แต่เกษตรศาสตร์ไม่ยอม โดยบอกว่ามีโครงการของมหาวิทยาลัยที่ต้องใช้พื้นที่นั้นอยู่แล้ว
เกษตรศาสตร์ชนะ ในที่สุด
ชุมชนบ้านครัวก็เป็นตัวอย่างที่ลือลั่


แต่ “ผู้บริหารของจุฬา ชุดปัจจุบัน”  จะยกที่ดินให้ กทม. ที่ทำโครงการแก้ปัญหาจราจรล้มเหลวมาแล้ว
ไม่ทราบด้วยเหตุผลใดมาอ้าง !

ผมเรียกร้องต้องการให้มีการตรวจสอบ
และจะต้อง  A.S.K.  (Autorize from Social Knowing) ต่อ “ชาวจุฬา”

ในใจลึกๆ ผมหวังว่า ข้อคิดเห็นของผมที่พูดออกมานี้ จะเปรียบประหนึ่งว่า ผมกำลังโยนก้อนหินเล็กๆ ก้อนหนึ่ง
ลงในสระน้ำหน้าสนามฟุตบอล และได้เกิดระลอกคลื่นขึ้น พอที่ชาวจุฬาจะสังเกตุเห็นได้

และถ้าหากระลอกคลื่นนั้นได้กลายเป็น “สึนามิ”
ที่ดังพอที่ผู้บริหารของจุฬาจะได้ลงมาชี้แจงก็เป็นเรื่องที่วิเศษสุด



 บ่ฮู้บ่หัน


    สวัสดีครับป๋อง,เจียม,น้องหะยี

              ถ้าข่าวที่ออกมานี้มีแนวโน้มที่จะดำเนินการก่อสร้างผ่านหน้าจุุฬาฯจริง  ผมก็ขอสนับสนุนและ

  เห็นด้วยกับการจุดประกายของเจียมเป็นคนแรก  และคิดว่าชาวจุฬาส่วนใหญ่ก็คงมีแนวคิดไม่เห็นด้วย

  เช่นกัน  ในฐานะที่ชาว Cmadong เป็นส่วนหนึ่งของนิสิตจุฬาฯรุ่นเก่าและใหม่ที่รวมตัวกันค่อนข้างเหนียว

  แน่นจึงน่าที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นกันบ้าง อยากขอให้ป๋องเปิดหัวข้อใหม่เรื่ืองนี้ในหน้า"พูดจาประ

  สาพี่น้องฯ" เพื่อให้ชาว Cmadong ได้รับรู้รายละเอียดและช่วยกันวิพากวิจารณ์แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
      บันทึกการเข้า
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #7 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 11:09:40 »

 
   สวัสดีค่ะพี่ๆและน้องๆทุกท่าน...
     
   เห็นด้วยกับความคิดของพี่เจียมและพี่แก้วค่ะ..
   กรุงเทพฯไม่ควรสร้างอะไรอีกแล้ว ที่ควรทำคือย้ายเมืองหลวงออกจากกรุงเทพฯ ไปออกแบบให้ใหม่ทันสมัย
  สมใจท่านผู้ชอบสร้าง(หาส่วนต่างใส่กระเป๋าตัวเอง)
       ขอเป็นอีกคนที่จะร่วมคัดค้านค่ะ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #8 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 11:21:01 »

ผมก็เห็นด้วยกับความคิดของ"คุณเจียม"ครับ
ไม่เห็นด้วยกับการทำลายทัศนียภาพด้วยการสร้างโมโนเรลระยะสั้นๆ หน้าจุฬาฯ ตรงนั้น ซึ่งผมว่าไม่มีประโยชน์กับชาวจุฬาฯเลย
เดินจากหัว-ท้ายของถนนพญาไทเพียงไม่กี่ร้อยเมตรหรือประมาณ 2 ป้ายรถเมล์ก็ถึงแล้ว ถือว่าออกกำลังกายได้เลย
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #9 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 14:01:04 »

สวัสดีครับ......พี่ป๋อง..พี่ปรีชา..พี่เจียม..พี่เหยง..พี่อ้อย..น้องหยี และพี่น้องทุกท่าน

ขอตามข่าวด้วยคนครับ.

ความคิดเห็นส่วนตัว.........ไม่ควรจะสร้างครับ.

ทำทางเดินลอยฟ้าแบบกันแดดกันฝนได้ ออกแบบสวยๆสร้างให้กลมกลืนกับภูมิทัศน์ยังจะดีเสียกว่า........น่าจะเป็นจุดขายได้ดีกว่ารถไฟฟ้า 1.5 กม. ด้วยซ้ำไป.

      บันทึกการเข้า
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 574

« ตอบ #10 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 18:24:11 »

ขอบคุณทุกท่าน ที่เข้ามาอ่าน และแสดงความเห็นครับ
อีกเรื่องครับ คุณอ้อย ผมไม่ได้เป็นรุ่นพี่หรอกครับ
ถ้านับการเข้ามหาวิทยาลัยครั้งแรก ของผมก็ปี 17 ครับ แต่ไม่ใช่ที่จุฬา
18 ถึงเข้าจุฬาครับ
 
ยินดีที่รู้จักครับ
  บ่ฮู้บ่หัน
      บันทึกการเข้า

I think, therefore I am.
ภาณุ ปาตานี
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,254

« ตอบ #11 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 19:00:07 »

สวัสดีครับ ท่านพี่ป๋องและพี่ๆ ทุกท่านครับ

ขอบคุณครับพี่เจียมที่นำข้อมูลมาให้
แนวทางการทำให้เป็นการคมนาคมสาธารณะเป็นสิ่งที่ดีครับ
แต่มุมมองของพี่เจียม..น่าสนใจอย่างยิ่งครับ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #12 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 19:04:15 »

ผมยังไม่เห็นรายละเอียดทั้งหมดของโครงการฯ จึงขออนุญาตยังไม่วิจารณ์ สนับสนุน หรือ คัดค้านโครงการฯ ตอนนี้ ... นะครับ

แต่พี่เจียมครับ สำหรับตรงนี้ ...


"การมี Mono Rail รับ-ส่งคนหัว-ท้ายถนน ศึกษาวิเคราะห์อย่างไร ก็ไม่เห็นว่าจะแก้ปัญหาได้
แล้วยิ่งมีแค่สถานีหัว-ท้าย ไว้ขึ้น-ลง และมีสถานีตรงกลางสำหรับ “ชาวจุฬา”
เพราะบริเวณนั้นไม่มีบ้านเรือน หรือธุรกิจอื่นใด แล้วมันจะแก้ปัญหาจราจรอะไร
เป็นการขนส่งคนขึ้นลงแค่ หัวถนน-ท้ายถนน ซึ่งก็คิดว่าไม่ใช่กลุ่มคนจำนวนมากแต่อย่างใด"



การ รับ-ส่งคนหัว-ท้ายถนน  << ผมเข้าใจว่า เป็นการเชื่อมต่อ สถานี รถไฟฟ้า BTS และ MRT หรือเปล่าครับ ??

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #13 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 19:15:14 »

ความเห็นส่วนตัวนะครับ ...


หากเรา ต้องการมีส่วนร่วมเพื่อจุฬาฯ ของเรา ...


เราน่าจะนำข้อมูลของของโครงการฯ ทั้งหมดมาช่วยกันศึกษารายละเอียดดู ... แล้วสรุปเป็นประเด็น รายงานการศึกษาหรือความเห็นเสนอแนะ ดีไหมครับ ...
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #14 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 19:34:23 »

เมื่อศึกษา และพบประเด็น บกพร่องอย่างชัดเจนแล้ว ... เมื่อรายงานเสนอแนะ  ผู้บริหารจุฬาฯ ท่านก็น่าจะนำพา พูดคุยกันบ้างไม่มากก็น้อย

แต่หากท่านไม่นำพา ... ก็นำข้อมูลการศึกษาที่มีความชัดเจน มีน้ำหนักของเหตุ-ผล ....เผยแพร่สู่ประชาคมจุฬาฯ และ/หรือพิจารณา ดำเนินการด้วยช่องทางอื่นๆ ต่อไป ...



แต่ตอนนี้อย่าเพิ่งไปตำหนิ ต่อว่าท่านกันเลยครับ จะด้วยความตั้งใจหรือเผลอตำหนิก็ตาม... เพราะหากสิ่งที่ท่านกำลังทำอยู่เป็นสิ่งที่ทำด้วยความตั้งใจดี ... คนทำดีจะเสียกำลังใจ  ... ผู้บริหารจุฬาฯ ทุกท่าน ก็เป็น ชาวจุฬาฯ เหมือนกับเรา นะครับ
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #15 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 22:32:40 »

อ้างถึง
ข้อความของ Preecha2510 เมื่อ 05 พฤศจิกายน 2553, 10:35:35
   สวัสดีครับป๋อง,เจียม,น้องหะยี

              ถ้าข่าวที่ออกมานี้มีแนวโน้มที่จะดำเนินการก่อสร้างผ่านหน้าจุุฬาฯจริง  ผมก็ขอสนับสนุนและ

  เห็นด้วยกับการจุดประกายของเจียมเป็นคนแรก  และคิดว่าชาวจุฬาส่วนใหญ่ก็คงมีแนวคิดไม่เห็นด้วย

  เช่นกัน  ในฐานะที่ชาว Cmadong เป็นส่วนหนึ่งของนิสิตจุฬาฯรุ่นเก่าและใหม่ที่รวมตัวกันค่อนข้างเหนียว

  แน่นจึงน่าที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นกันบ้าง อยากขอให้ป๋องเปิดหัวข้อใหม่เรื่ืองนี้ในหน้า"พูดจาประ

  สาพี่น้องฯ" เพื่อให้ชาว Cmadong ได้รับรู้รายละเอียดและช่วยกันวิพากวิจารณ์แสดงความคิดเห็นร่วมกัน

คุณเจียม

ในฐานะเป็นคนเริ่มประเด็น
เห็นด้วยกับพี่แก้วในการแยกกระทู้ไหมครับ

พี่ป๋อง
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 574

« ตอบ #16 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 22:34:38 »

ตามแต่พี่ป๋อง เห็นสมควรครับ
      บันทึกการเข้า

I think, therefore I am.
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #17 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2553, 23:35:01 »

ขอโทษทีครับพี่น้อง

ผมแยกหัวข้อเสร็จมันก็จบแหมะลงที่ห้อง 2513 นี้
ผมไม่รู้วิธีย้ายทั้งกระทู้ไปไว้ที่ห้องอื่นครับ
กะจะเอาไปไว้ที่ห้อง "สนทนาประสาพี่น้อง" ซึ่งเป็น common room
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557

เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2553, 01:07:48 »

ย้ายหัวข้อให้แล้วนะครับ
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #19 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2553, 23:47:33 »

ขอบคุณครับน้องสน วอมอ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #20 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 07:55:33 »


                นำกระทู้เก่าที่ผมโพสต์ไว้ที่ สนทนาประสาพี่น้องแล้ว ให้พวกเราดู ด้วย
                http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6773.0.html

                                กทม.ไม่สนเสียงค้าน!ลุยโมโนเรลเฟส1
                   ขอขอบคุณเวบฐานนิวส์ วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2010 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=44390:1&catid=129:2009-02-08-11-47-38&Itemid=479

                                

         หลังคณาจารย์และนิสิตรั้ว "จามจุรี" จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บางกลุ่ม ออกมาค้านสุดโต่ง! โครงการก่อสร้าง รถไฟฟ้าร่างเดี่ยว (โมโนเรล ) สายแรกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสายแรกของประเทศไทย เฟส1  โมโนเรล ระยะทาง สายสั้นๆเพียง 1.5กิโลเมตรช่วง " จุฬาฯ-สยาม" (สยามสแควร์-จามจุรีสแควร์)

         โดยพวกเขาให้เหตุผลว่า หากสร้างแล้วจะบดบังทัศนียภาพ บริเวณหน้ามหาวิทยาลัย  หากจะดำเนินการจริงอยากให้ทำมุดลงใต้ดิน  หรือ ไม่ก็ให้ลงมือทำเฟสที่ 3 อังรีดูนังต์ก่อนน่าจะเหมาะสมกว่า  

         ต่อเรื่องนี้ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. ออกมาตอกย้ำว่า เดินหน้าลุยแน่  สำหรับเฟสแรก และต้องเป็นโมโนเรลรูปแบบ"ลอยฟ้า"เท่านั้น  และยืนยันว่าไม่บดบังทัศนียภาพแต่อย่างใด

        เนื่องจากการออกแบบรายละเอียดจะต้องดูความเหมาะสมของแต่ละสถานี  และ เน้นความสวยงาม  

        ที่สำคัญ ช่วงนี้มีความจำเป็นเร่งด่วน  เพื่อเชื่อมต่อ กับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ที่สถานีสามย่าน และรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสยามและสนามกีฬาแห่งชาติ    โดยจะช่วยให้ ผู้โดยสารหรือ บรรดาขาช็อปไม่ต้องเดินไกล ยาวเป็น"กิโล"ๆ เพื่อ ต่อเชื่อม เพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส  ที่สถานีสยามและ รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ที่สถานีสามย่าน โดยสามารถใช้โมโนเรล เดินทางเชื่อมถึงกันได้อย่างรวดเร็วและช่วยไม่ให้การจราจรติดขัดอีกด้วย  
 
         ส่วนงบประมาณลงทุนก็ไม่มาก วงเงินเพียง กว่า 2,000 ล้านบาท เท่านั้น และถือว่าคุ้มค่าที่จะมีผู้โดยสารใช้บริการ เกือบ10,000รายต่อวัน    ซึ่งประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่สถานีสามย่าน สถานีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานีปลายทางสถานีสยาม  ผ่านย่านใจกลางแหล่งช็อปปิ้งสำคัญๆ  อาทิ สยามสแควร์ สยามพารากอน สยามดิสคัฟเวอรี่ มาบุญครองฯลฯ

        "โมโนเรล"สายนี้ จะเป็นรูปแบบลอยฟ้า ระยะทางสั้นๆ เหมือน รถไฟฟ้า บีทีเอส แต่จะช่วยขนผู้โดยสาร ป้อนให้รถไฟฟ้าสายหลักทั้งสองสายได้ เป็นอย่างดี  สะดวกต่อการเดินทางและอยู่ในย่านสำคัญที่มีคนเข้าใช้พื้นที่จำนวนมากๆ "  

        โดยจะเร่งรัดเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบให้ดำเนินโครงการ เร็วๆนี้ ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554  เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรด้วยระบบขนส่งมวลชนตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย โมโนเรล สยามสแควร์ -จามจุรีสแควร์ จะผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างภายใน 2 ปีนี้   หรือกำหนดวางศิลาฤกษ์ในเดือนธันวาคม 2554  และก่อสร้างพร้อมเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2555

         ส่วน"เดโป" ศูนย์ซ่อมและบำรุง ซึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ให้พื้นที่บริเวณสามย่าน กทม.   รวมถึงจัดสรรพื้นที่พัฒนาศูนย์ราชการ ปทุมวัน จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่  ย่านสามย่าน บริเวณจามจุรีสแควร์ให้กทม.เข้าดำเนินการ 3 โครงการ ประกอบด้วย

1.โครงการก่อสร้างโรงจอดและอู่ซ่อมบำรุง หรือเดโป

2.โครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เส้นทางสยาม-สามย่าน(จามจุรีสแควร์) จำนวน 5ไร่

3.โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการ 5ไร่ และโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะอีก 5ไร่

        ทั้งนี้  โครงการศูนย์ราชการ จะเป็นโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ แทนพื้นที่เดิม ที่หมดสัญญากับทางจุฬา ฯไปนานแล้ว อีกทั้งบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่เล็กเกินไป โดยสำนักงานเขตปทุมวันแห่งใหม่ จะเป็นอาคารสูงชั้นล่างจะเป็นที่จอดรถดับเพลิงของสถานีดับเพลิงบรรทัดทอง ส่วนอาคารชั้นอื่นๆ นอกเหนือจากนี้จะเปิดพื้นที่ให้เอกชนเช่าพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ให้กับกทม.    

        ส่วนเฟสที่ 2 เส้นบรรทัดทอง และ เฟส 3 เส้นทางอังรีดูนังต์ ทยอยลงทุนในปีถัดๆไป  

         ขณะที่ รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาเคหะการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนมุมมองว่า เห็นด้วยกับกทม.เพราะจะช่วยแก้ปัญหาจราจรและช่วยระบายผู้โดยสารได้ในปริมาณมาก โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินเป็นระยะทาง 1.5กิโลเมตรเพื่อต่อเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที

         ส่วนการบดบังทัศนียภาพบริเวณหน้าจุฬาฯ ที่ นิสิตและอาจารย์บางกลุ่มออกมาคัดค้าน นั้นมองว่าไม่น่ากระทบ และอยากให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า แค่ หน้าตาของคนจุฬาฯเพราะ ย่านนั้นจะมี ประชาชน จำนวนมากอยู่อาศัย รวมทั้งผู้บริโภคที่เดินทางมาจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งควรที่จะมีโครงข่ายเชื่อมต่อที่เหมาะสมต่อไป


          แน่นอนว่า กทม.ปักธงแน่จะเดินหน้าสร้างโมโนเรลเฟสแรก ช่วง"จุฬาฯ-สามย่าน"  ปี 2554 และกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2555แน่ โดยไม่สนเสียงค้านแต่อย่างใด!

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,575  17-20  ตุลาคม พ.ศ. 2553

                              win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #21 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 07:58:19 »

ขอบคุณค่ะ พี่หมอ .. ที่กรุณานำข้อมูลมา share ให้ทราบเพิ่มเติม     บ่ฮู้บ่หัน
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 574

« ตอบ #22 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2553, 09:41:47 »

การอ้างเหตุผลเรื่องการเชื่อมต่อทั้งสองระบบ
โดยใช้ระยะทาง 1.5 กม. หน้าจุฬา เป็นเหตุผลที่ไม่มีสาระ และสูญเปล่า
เพราะความเป็นจริง คนที่ใช้รถไฟใต้ดิน จากรัชดา จะไปสยาม ทุกวันนี้
สามารถเปลี่ยนเป็น BTS ที่สถานีอโศกอยู่แล้ว หรือที่ศาลาแดงก็ได้

ซึ่งห่างจากสถานีสามย่าน 1 สถานี แล้วทำไมต้องสร้างจุดเชื่อมใกล้กันขนาดนี้

ประเด็นหลักตามความเห็นผมคือ เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท เท่ากับการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาได้
เอามาถลุงเล่นได้อย่างไร ได้ศึกษาถึงความคุ้มค่าด้านเศรษศาสคร์ และมีคำตอบอย่างไร
ทำแบบจำลองผลกระทบ หรือยัง ไม่ใช่จินตนาการ

เพราะเห็นผลงานของ กทม. เรื่อง BRT มาแล้ว ถลุงเงินไป 1,000 ล้านบาท
ให้ กทม. ตอบคำถามเรื่อง BRT ให้ชัดเจนก่อน
BRT น่ะ..... รื้อง่ายมาก แต่ Mono Rail ล้มเหลวแล้วรื้อไม่ได้นะครับ

ในส่วนของจุฬาเอง ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบด้านที่สุด ไม่ใช่ชุมชนจุฬาไม่รับรู้
อย่าให้ กทม. มาอ้างเรื่อง โครงการเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวาคม 2554 มาบังหน้าหาประโยชน์

แต่ตามข่าวผู้บริหารได้ตกลงกับ กทม. นานแล้ว  so sad เค้าไม่ยอม
ใช้สิทธิอันใดไปตกลงก่อน จะถามชาวจุฬา
      บันทึกการเข้า

I think, therefore I am.
ภาณุ ปาตานี
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,254

« ตอบ #23 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2553, 19:55:40 »

อ้างถึง
ข้อความของ jeam เมื่อ 07 พฤศจิกายน 2553, 09:41:47
การอ้างเหตุผลเรื่องการเชื่อมต่อทั้งสองระบบ
โดยใช้ระยะทาง 1.5 กม. หน้าจุฬา เป็นเหตุผลที่ไม่มีสาระ และสูญเปล่า
เพราะความเป็นจริง คนที่ใช้รถไฟใต้ดิน จากรัชดา จะไปสยาม ทุกวันนี้
สามารถเปลี่ยนเป็น BTS ที่สถานีอโศกอยู่แล้ว หรือที่ศาลาแดงก็ได้

ซึ่งห่างจากสถานีสามย่าน 1 สถานี แล้วทำไมต้องสร้างจุดเชื่อมใกล้กันขนาดนี้

ประเด็นหลักตามความเห็นผมคือ เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท เท่ากับการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาได้
เอามาถลุงเล่นได้อย่างไร ได้ศึกษาถึงความคุ้มค่าด้านเศรษศาสคร์ และมีคำตอบอย่างไร
ทำแบบจำลองผลกระทบ หรือยัง ไม่ใช่จินตนาการ

เพราะเห็นผลงานของ กทม. เรื่อง BRT มาแล้ว ถลุงเงินไป 1,000 ล้านบาท
ให้ กทม. ตอบคำถามเรื่อง BRT ให้ชัดเจนก่อน
BRT น่ะ..... รื้อง่ายมาก แต่ Mono Rail ล้มเหลวแล้วรื้อไม่ได้นะครับ

ในส่วนของจุฬาเอง ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบด้านที่สุด ไม่ใช่ชุมชนจุฬาไม่รับรู้
อย่าให้ กทม. มาอ้างเรื่อง โครงการเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวาคม 2554 มาบังหน้าหาประโยชน์

แต่ตามข่าวผู้บริหารได้ตกลงกับ กทม. นานแล้ว  so sad เค้าไม่ยอม
ใช้สิทธิอันใดไปตกลงก่อน จะถามชาวจุฬา


ผมว่า...ใช้สิทธิ Unbelievable ครับพี่เจียม
      บันทึกการเข้า
Lamai
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,712

« ตอบ #24 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2554, 21:23:46 »

รู้ช้าแต่ก็ยังดีที่ได้รู้ 1.5 โล 3,000 ล้าน.....เห็นแล้วเสียดายเงิน เงินที่ถูกสรรพากรรีดเก็บไปจากน้ำพักน้ำแรงของพวกเรา
เอาไปใช้อย่างไม่รู้ค่า กว่าจะได้มาแต่ละบาทเราหาแทบตาย
เอิ่มม
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><