28 มีนาคม 2567, 16:10:45
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "ดร.อาจ-อง"ชี้7ปีกทม.ไม่เหมาะเป็นที่อยู่อาศัย อีก20 ปีจมน้ำหากไม่เร่งป้องกัน  (อ่าน 14176 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2553, 15:54:20 »


          ขอขอบคุณเวบฐานนิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน 2010 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
                              ถิรัต คุณานิธิพงศ์ ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ    
          http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=46990&Itemid=524

                                    

         เมื่อ 10 พ.ย. ดร.อาจ-อง ชุมสาย ณ อยุธยา อดีตนักวิทยาศาสตร์องค์การนาซ่า บรรยายในการสัมมนาหัวข้อ“มหันตภัย น้ำท่วมโลก”  โดยกล่าวถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคตหากสภาวะแวดล้อมของโลกยังคงดำเนินไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งยังแนะพื้นที่สร้างเมืองหลวงใหม่ พร้อมกล่าวถึงโอกาสเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศไทยอีกด้วย
 
         ****ชี้มนุษย์ใช้ทรัพยากร พลังงานสิ้นเปลืองเร่งภาวะโลกร้อนขึ้นอีก ---
 
        ดร.อาจ-อง  กล่าวว่า เรื่องน้ำท่วมโลกถือเป็นหัวข้อสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้น และก็จะไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทยหรือในกรุงเทพ ฯเท่านั้นแต่จะส่งผลกระทบต่อทุกคนกันหมด ฉะนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องช่วยกันเพื่อลดความรุนแรงหรือชะลอปัญหาให้เกิดช้าขึ้น เพื่อที่จะได้มีเวลาปรับตัวและรับมือ
 
        สำหรับปัญหาของโลกเรานั้นเริ่มต้นมาจากการบริโภคกันอย่างฟุ่มเฟือย โดยถ้าหากทุกคนบนโลกต้องการจะใช้ชีวิตแบบประเทศพัฒนาแล้ว มีรถคนละ 1 คัน มีบ้าน มีวัตถุต่างๆ ก็จะต้องใช้โลกอีก 5 ใบจึงจะเพียงพอความต้องการ ซึ่งความฟุ่มเฟือยของมนุษย์นั้นทำให้ทรัพยากรหมดลงไปอย่างรวดเร็ว พื้นที่ป่าในปัจจุบันก็เหลือไม่ถึง 20% ของพื้นที่โลกแล้ว
 
        การบริโภคและใช้พลังงานอย่างมหาศาลส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลอยขึ้นไปในอากาศ ในปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ต่างก็ปล่อยก๊าซขึ้นไปเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันในประเทศกำลังพัฒนาหลายๆประเทศเช่นประเทศในแอฟริกาก็มีการเผาป่าอยู่บ่อยๆ ก็มีผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีก๊าซมีเทนในบริเวณขั้วโลกเหนือเพิ่มขึ้น ซึ่งก๊าซชนิดนี้มีผลต่อการเกิดสภาวะโลกมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 21 เท่า
 
        การที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมากนั้น ส่งผลให้ความร้อนที่เข้ามากระทบโลก ไม่สามารถสะท้อนกลับออกไปได้ และทำให้อุณหภูมิของโลกสูงมากขึ้น เห็นได้ชัดจากช่วง 30 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิของโลกปรับสูงขึ้นอย่างเดียว จากที่ในอดีตจะมีการปรับขึ้นและลงสลับเป็นช่วงๆ
 
        อีก 7 ปี เห็นสัญญาณกรุงเทพอยู่ไม่ได้ แนะสร้างเขื่อนกั้นอ่าวไทยหรือย้ายเมืองหลวงหนี
 
        ปัญหาสำคัญคือในขณะนี้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1 องศา โดยบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้เพิ่มขึ้นถึง 4 องศา ส่งผลทำให้น้ำแข็งแทบขั้วโลกละลายไปเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังมีบริเวณกรีนแลนด์ที่มีน้ำแข็งอยู่ปริมาณมหาศาลซึ่งถ้าหากกรีนแลนด์ละลายหมดจะทำให้น้ำทะเลทั่วโลกมีระดับสูงขึ้นถึง 6 เมตร
 
        นอกจากกรีนแลนด์และขั้วโลกแล้ว บริเวณที่จะส่งผลกระทบต่อระดับน้ำทะเลมากที่สุดคือบริเวณแอนตาร์คติคที่มีน้ำแข็งมากที่สุดในโลก เมื่อบริเวณนี้ละลายปริมาณน้ำทะเลจะสูงขึ้นอย่างมาก โดยนอกแหล่งที่กล่าวมาก็ยังมีหิมะที่อยู่บนเทือกเขาต่างๆ ที่เมื่อละลายแล้วน้ำจะไหลลงสู่ทะเลมีผลทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งยังจะส่งผลให้แม่น้ำสายต่างๆแห้งขอดอีกด้วย อย่างเทือกเขาหิมาลัยที่เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำโขง แม่น้ำเหลือง แม่น้ำคงคา อีกไม่นานก็จะหิมะก็จะหมดและส่งผลให้น้ำในแม่น้ำแห้ง เกิดสภาวะขาดแคลนน้ำอีก
 
        สำหรับประเทศไทยนั้น ทางองค์การสหประชาชาติเตือนไว้ว่า

        กรุงเทพจะเป็นเมืองอันดับที่ 5 ที่จะจมน้ำไป โดยกรุงเทพจะสามารถรับมือกับระดับน้ำทะเลเพิ่มได้อีก 7 เมตรเท่านั้น ถ้าหากกรีนแลนด์ละลายหมดก็เพิ่มมาถึง 6 เมตร แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆร่วมอีก

       ฉะนั้นอีก 7 ปีน่าจะได้เห็นสัญญาณว่ากรุงเทพเริ่มไม่เหมาะจะอาศัยแล้ว พื้นที่บางส่วนจะจมลงไปในน้ำรวมทั้งพื้นที่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นนทบุรี ปทุมธานีและอยุธยา รวมทั้งอ่างทอง นครนายก นครปฐม ลพบุรีและสระบุรีจะจมไปอีกครึ่งหนึ่ง ซึ่งก็พออาศัยอยู่ได้ไปอีกซัก 20 ปี แต่หลังจากนั้นน้ำก็จะท่วมหมด

        ฉะนั้นหากต้องการป้องกัน ก็มีวิธีอยู่ 2 วิธีคือ
 
1.การสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเล บริเวณอ่าวไทยจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปจนถึงสัตหีบ แต่วิธีนี้จะต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี ซึ่งขณะนี้ก็ถือว่าช้าไปแล้ว

2.คือการย้ายเมืองหลวง โดยพื้นที่ที่จะย้ายไปจะต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 100 เมตร รวมทั้งไม่อยู่ในแนวเลื่อนหรือรอยร้าวของเปลือกโลกด้วย ซึ่งจังหวัดที่น่าจะเป็นไปได้คือจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์และมหาสารคาม ที่แม้ในปัจจุบันจะมีเหตุการณ์น้ำท่วมแต่ถือเป็นเรื่องที่สามารถจัดการแก้ไขได้หากมีวิธีบริหารจัดการที่ดี
 
****เตือนสึนามิพร้อมเกิดตลอดเวลา เหตุแผ่นเปลือกโลกขยับ
 
        สำหรับปัญหาอีกข้อที่น่าเป็นห่วงนอกจากเรื่องระดับน้ำทะเลก็คือเรื่องของแผ่นเปลือกโลกที่พบว่ามีการเคลื่อนตัวเร็วมากขึ้นเนื่องจากแกนโลกมีการเปลี่ยนเล็กน้อย และทำให้แผ่นเปลือกโลกผลักเข้าหากัน ซึ่งเมื่อเคลื่อนกระทบกันก็จะเกิดปัญหา เพราะเปลือกโลกจะดันกันและทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง อย่างเช่นที่อินโดนีเซียที่มีทั้งภูเขาไฟ สึนามิ ก็เนื่องจากอินโดฯตั้งอยู่ตรงบริเวณที่เปลือกโลกชนกัน
 
        ส่วนประเทศไทยจะมีผลกระทบจากเรื่องเปลือกโลก 2 อย่างคือ เรื่องสึนามิและการเกิดรอยร้าวของขึ้น สำหรับสึนามินั้นไทยจะได้รับผลกระทบจากสึนามิที่เกิดขึ้นจากฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ โดยหากเกิดขึ้นจะมีเวลารับมือประมาณ 16 ชั่วโมง และอีกด้านคือจากด้านภูเก็ต ถ้าหากเกิดขึ้นจะมีเวลารับมือ 3 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ทั้งนี้การเกิดสึนามินั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะบอกได้ว่าเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ ฉะนั้นต้องเตรียมพร้อมให้ดี
 
       ส่วนเรื่องรอยร้าวที่เกิดขึ้นก็จะส่งผลให้ภาคเหนือเกิดแผ่นดินไหวมากขึ้น เห็นได้ชัดบริเวณแม่สอด แมม่ฮ่องสอน ขณะที่พะเยา เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปางก็มีรอยร้าวเกิดขึ้น ส่วนตากกับกาญจนบุรีก็อันตรายเพราะเชื่อมอยู่กับรอยร้าวในพม่า ส่วนอีสานมีแค่ระหว่างนครพนมกับหนองคายเท่านั้น ขณะที่ภาคใต้บริเวณประจวบฯ ระนอง สุราษฎร์ธานีจะมีรอยร้าวเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแผ่นดินไหวที่จะเกิดในประเทศไทยจากรอยร้าวเหล่านี้ยังถือว่าไม่น่ากลัวมาก แต่ควรจะเตรียมพร้อมไว้ด้วยการสร้างบ้านที่ทนรับแผ่นดินไหวได้ 6 ริกเตอร์ และมีโครงสร้างที่ไม่อันตรายเมื่อบ้านถล่มลงมา
 
        นอกจากนี้ในช่วงท้าย ดร.อาจ-องยังกล่าวตอบคำถามผู้ร่วมงานอีกว่าน้ำท่วมอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศและระดับน้ำทะเลในตอนนี้ ยังถือว่าไม่น่าเป็นห่วงอะไร ส่วนที่มีคำทำนายว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในปี 2012 ก็เป็นเพียงเรื่องปฏิทินของชาวมายาเท่านั้นที่ไปสิ้นสุดตอนนั้นพอดี แต่น้ำยังไม่ท่วมตอนนั้นเพราะน้ำทะเลจะสูงขึ้นเพียงไม่กี่เซนติเมตรเท่านั้น

                     งง งง งง งง งง งง
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2553, 15:44:55 »

          

                ในหลวงเสด็จชลมารคเปิดประตูน้ำคลองลัดโพธิ์
    ขอขอบคุณเวบสุทธิชัยยุ่นดอทคอม วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
http://www.suthichaiyoon.com/detail/6930

          

         ในหลวงเสด็จฯ เปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1-2 ประทับเรือพระที่นั่งอังสนา พร้อมทรงวางพระหัตถ์กดปุ่มยิงเลเซอร์บนแท่นที่ฉายภาพแผนที่ เพื่อทรงเปิดประตูระบายน้ำและสะพานภูมิพล 1 สะพานภูมิพล 2 ขณะที่ภาครัฐเตรียมพร้อมงานเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวา ในชื่อ

                                 "คิง ออฟ คิงส์"

         เชิญประชาชนร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรกลางแม่น้ำเจ้าพระยา

         วานนี้ (23 พ.ย.) สำนักพระราชวัง แจ้งหมายกำหนดการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ และทรงเปิดสะพานภูมิพล 1 ภูมิพล 2 ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน เวลา 16.30 น. ถือเป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคครั้งแรกในรอบ 4 ปี หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคเพื่อทรงทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2549 ทั้งนี้ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจจะมีการถ่ายทอดสดการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ตั้งแต่เวลา 17.30 น.

         สำนักพระราชวังแจ้งหมายกำหนดการ ความว่า ในวันที่ 24 พ.ย. เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน โดยรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังท่าเทียบเรือสมาคมศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ศิริราช โรงพยาบาลศิริราช พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวถวายรายงานตัว และ ถวายเรืออังสนาเป็นเรือพระที่นั่งแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จพระราชดำเนินประทับเรือพระที่นั่งอังสนาออกจากท่าเทียบเรือโรงพยาบาลศิริราช เสด็จพระราชดำเนินยังคลองลัดโพธิ์ ต.ทรงคนอง อ. พระประแดง จ.สมุทรปราการ จากนั้นเวลา 18.00 น. เรือพระที่นั่งอังสนา ถึงบริเวณปากคลองประตูระบายน้ำ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี รมว.เกษตรและสหกรณ์ รมว.คมนาคม กราบบังคมทูลรายงาน

         ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรวีดิทัศน์ความเป็นมาของโครงการบนเรือพระที่นั่ง ทรงวางพระหัตถ์กดปุ่มยิงเลเซอร์บนแท่นที่ฉายภาพแผนที่ เพื่อทรงเปิดประตูระบายน้ำและสะพานภูมิพล 1 สะพานภูมิพล 2 จากนั้นทอดพระเนตรวีดิทัศน์เทคนิคพิเศษ เล่าเรื่องประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ โดยการแสดงไพโรเทคนิค (PYRO TECHNIC) บริเวณด้านหลังประตูระบายน้ำ ทอดพระเนตรวีดิทัศน์เทคนิคพิเศษ สะพานภูมิพล 1 ภูมิพล 2 โดยการแสดงไพโรเทคนิค ที่จัดแสดงบนสะพานภูมิพล จากนั้นเวลา 18.35 น. เรือพระที่นั่งอังสนาออกจากปากคลองประตูระบายน้ำ เวลา 19.35 น.เรือพระที่นั่งถึงท่าเทียบเรือสมาคมศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ศิริราช

         ด้าน นายวิชาญ คุณากุลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า เวลา 17.30 น. วันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอังสนา เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทรงเปิดสะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2 หรือสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม และทรงเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ รวมถึงทอดพระเนตรภาพยนตร์เกี่ยวกับการก่อสร้างสะพานและประตูระบายน้ำ ทั้งนี้ สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2 เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นโครงข่ายถนนรองรับการขนถ่ายลำเลียงสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพต่อเนื่องไปจนถึงพื้นที่อุตสาหกรรมใน จ.สมุทรปราการ และภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ เพื่อมิให้รถบรรทุกวิ่งเข้าไปในตัวเมืองหรือทิศทางอื่น และยังเชื่อมระหว่างเขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดเข้าด้วยกัน

        นายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง และกรมชลประทาน เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่รับเสด็จ และการปรับปรุงพื้นที่โดยรอบของคลองลัดโพธิ์ ส่วนการรักษาความปลอดภัยได้มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของกองทัพเรือและตำรวจน้ำ รวมทั้งกรมเจ้าท่า เป็นผู้ดูแล ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้เดินเรือสำรวจเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯ ตามเวลาที่เสด็จฯ จริง เพื่อตรวจสอบสภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนภาคพื้นดินได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้รักษาความปลอดภัยโดยรอบปะรำพิธี

         ทั้งนี้ ในส่วนประวัติความเป็นมาของโครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์เกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2538 แก่นายรุ่งเรือง จุลชาต อธิบดีกรมชลประทาน พลตำรวจเอก จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ และนายจริย์ ตุลยานนท์ อดีตอธิบดีกรมชลประทานและกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันเร่งศึกษาพิจารณาวางโครงการและดำเนินการปรับปรุงขุดลอก พร้อมก่อสร้างอาคารประกอบในคลองลัดโพธิ์ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยให้แม่น้ำเจ้าพระยาไหลลัดลงทะเลได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล

         ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสรับสั่งกับรองราชเลขาธิการ (นายวุฒิ สุมิตร) และ ฯพณฯ องคมนตรี นายสวัสดิ์ วัฒนายากร ณ สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ว่า โครงการคลองลัดโพธิ์จะทำประโยชน์ได้อย่างมหัศจรรย์ มีพลังงานมหาศาล จะใช้พลังงานน้ำที่ระบายผ่านคลอง ทำประโยชน์อย่างอื่นด้วยได้หรือไม่

         นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ได้กล่าวถึงโครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ว่าเป็นโครงการที่กรมชลฯ สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีพระราชประสงค์ให้

         ปรับปรุงคลองลัดโพธิ์บริเวณคุ้งน้ำช่วงที่ไหลผ่านเขตพื้นที่ ต.บางกระเจ้า จากเดิมที่มีสภาพตื้นเขินมีความกว้างเพียง 10-15 เมตรให้สามารถรับปริมาณน้ำได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นทางลัดของน้ำไหลลงสู่ทะเลได้สะดวก รวดเร็วขึ้น

         โดยช่วยลดระยะทางการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาจาก 18 กิโลเมตรให้เหลือเพียง 600 เมตร รวมทั้งลดเวลาการเดินทางของน้ำจาก 5 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 10 นาที เท่านั้น ทำให้ช่วยลดผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากสภาวะน้ำเหนือไหลหลากในช่วงที่ผ่านมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการนี้สามารถระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยได้เฉลี่ยวันละประมาณ 40 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งผลการดำเนินการระบายน้ำตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม-15 พฤศจิกายน 2553 สามารถระบายน้ำได้โดยรวมประมาณ 2,470 ล้าน ลบ.ม. ถือว่าเป็นปริมาณน้ำที่มากในระดับหนึ่งที่ระบายลงสู่อ่าวไทยได้

         "โครงการนี้ยังมีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ โดยกรมชลฯ ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการศึกษา วิจัย และนำไปขยายผล เพื่อพัฒนาผลิตกังหันพลังน้ำ ติดตั้งในประตูระบายน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นการเพิ่มทางเลือกในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ทั้งยังช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนประหยัดพลังงานอื่นให้แก่ประเทศได้อย่างมหาศาลด้วย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ระหว่างขอจดสิทธิบัตรเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานจลน์ และชุดสำเร็จเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานจลน์ ในพระปรมาภิไธย คาดว่าจะประกาศได้ในเร็ววันนี้ และจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป"
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

         สำหรับสะพานภูมิพล 1 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านเหนือ เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 326 เมตร เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีต และเหล็ก และความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 128 เมตร เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง ความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานประมาณ 50 เมตร เพื่อให้เรือบรรทุกหรือขนส่งสินค้าสามารถแล่นลอดได้

         ส่วนสะพานภูมิพล 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้ เชื่อมระหว่าง ต.ทรงคนองกับ ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพาน ช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 398 เมตร เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีตและเหล็ก และความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 152 เมตร เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง ความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานประมาณ 50 เมตร เพื่อให้เรือบรรทุกหรือขนส่งสินค้าจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถลอดได้เพื่อเข้าสู่ท่าเรือคลองเตย ช่วงตะวันตก เป็นทางยกระดับข้ามถนนพระราชวิริยาภรณ์ และเป็นทางระดับพื้นราบ ก่อนจะเป็นทางยกระดับอีกครั้งเมื่อบรรจบกับถนนสุขสวัสดิ์ โดยแยกเส้นทางออกไปจากช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
        
         นายศรีสมบัติ พรประสิทธิ์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวถึงแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางเรือว่า ได้จัดเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (อีอาร์ที) 118 นาย อปพร.ประจำท่า 140 นาย เรือสปีดโบ๊ท 8 ลำ เรือยาง 5 ลำ เจ็ตสกี 11 ลำ ปืนยิงเชือก ระยะไกล 70 เมตร จำนวน 9 กระบอก นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานร่วมปฏิบัติการทั้งหน่วย ฉก.กร.401 กรมยุทธการทหารเรือ กองทัพเรือ กองบังคับการตำรวจน้ำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า ประจำท่า 50 ท่า อาสารักษาดินแดน (อส.) กรมการปกครอง 500-800 นาย รปภ.บนเรือมวลชน ศูนย์กู้ชีพนเรนทร

         โดยพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติการดูแล ได้แก่ ท่าเรือเทเวศร์ ท่าเรือพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) - (ฝั่งพระนคร) ท่าเรือบางลำพู ท่าเรือปิ่นเกล้า(ฝั่งพระนคร) - (ฝั่งธนบุรี) ท่าเรือการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ท่าเรือหอประชุมกองทัพเรือ ท่าเรือท่าช้าง โรงเรียนราชินี ท่าเรือวัดประยุรวงศาวาส (ฝั่งธนบุรี) ท่าเรือสะพานพุทธ(ฝั่งธนบุรี) และฝั่งพระนคร

                              ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

               http://www.matichon.co.th/mtc-flv-window.php?newsid=1290597009&grpid=02&catid=&subcatid=

         ขอขอบคุณเวบมติชน ที่เอื้อเฟื้อวิดิทัศน์พระราชดำเนินทางชลมารค
           เพื่อทรงเปิดประตูระบายน้ำและสะพานภูมิพล 1 สะพานภูมิพล 2

           
                              win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553, 21:36:24 »


                   โดยเวบสนุกดอทคอม วันศุกร์ 17 ธ.ค. 53
                   http://news.sanook.com/988833-%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%81-10-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2.html

         นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เปิดเผยว่า

         หน่วยงานได้ศึกษาสร้างแบบจำลองผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมและน้ำทะเลขึ้นสูงในเขตกรุงเทพมหานครชั้นในและปริมณฑล หลังจากได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) และร่วมศึกษากับคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) พบว่า

         กทม. เป็น 1 ใน 9 เมืองในทวีปเอเชีย ที่มีความเสี่ยงสูงจากน้ำทะเลเอ่อทะลักเข้าท่วมในเมือง จาก 9 เมืองที่มีความเสี่ยงประกอบด้วย เซี่ยงไฮ้ และกวางตุ้ง ประเทศจีน, ธากา ประเทศบังกลาเทศ, กัลกัตตา และมุมไบ ประเทศอินเดีย, ย่างกุ้ง ประเทศพม่า, ไฮฟอง และโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และกรุงเทพมหานคร

                       

         ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใน กทม.ชั้นใน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่
1.ปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปัจจุบัน,
2.แผ่นดินในพื้นที่ทรุดตัวปีละ 4 มิลลิเมตร,
3.ระดับน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทยสูงขึ้น 1.3 เซนติเมตรต่อปี และ
4.ภาพรวมของระบบผังเมืองใน กทม.ที่พบว่ามีพื้นที่สีเขียวลดลงไปกว่า 50%

         ซึ่งในปัจจุบันมีประชากรในเขต กทม.ประมาณ 680,000 คน จะได้รับผลกระทบจากน้ำเอ่อท่วมอาคารประมาณ 1.16 ล้านหลัง แบ่งเป็นบ้านพักที่อยู่อาศัย 9 แสนหลังคาเรือน โดย 1 ใน 3 จะอยู่ในพื้นที่บางขุนเทียน, บางบอน, บางแค และพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ทั้งนี้ยังพบว่าอาคารและที่พักอาศัยในเขตดอนเมืองราว 89,000 อาคารจะได้รับผลกระทบด้วย โดยรวมความเสียหายทั้งหมดจะมีมูลค่ากว่า 1.5 แสนล้านบาท

         หลังจากธนาคารโลกได้รับผลวิจัย ทางการได้ทำเรื่องส่งให้ผู้บริหารกทม. สมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ แต่ยังไม่ได้รับการดำเนินการใดๆ ทั้งที่ผลวิจัยได้เสนอ

         วิธีป้องกันและแก้ปัญหาเอาไว้ 3 ทาง คือ
1.เร่งหาพื้นที่แก้มลิงเหนือเขตกทม. ตั้งแต่สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา เพื่อเป็นที่ระบายน้ำ,
2.เร่งขุดขยายคลองระบายน้ำที่มีอยู่เวลานี้โดยเร็ว และ
3.ต้องสร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ระยะทาง 80 กิโลเมตร เพื่อป้องกันน้ำเอ่อทะลักเข้ามาในเขตพื้นที่ กทม.

         โดยประเทศเวียดนามได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว

                          gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #3 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 16:20:32 »

เห็นด้วยกับคุณหมอสำเริงครับ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=oJAbATJCugs" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=oJAbATJCugs</a>
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=CmRyJaBPvD0" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=CmRyJaBPvD0</a>

วิดีโอ อันที่ 2 นี้ บอกว่า เมืองใหญ่เช่น โตเกียว เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพ และนิวยอร์ค  อยู่ในลิสต์แห่งความเสี่ยงที่น้ำจะท่วม


      บันทึกการเข้า

  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><