16 มิถุนายน 2567, 17:12:55
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 387 388 [389] 390 391 ... 472   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกับ เหยง 16 - พิเชษฐ์ เชื่อมฯ-เตรียมฉลอง 100 ปี หอซีมะโด่ง จุฬาฯ  (อ่าน 2398103 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9700 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2556, 18:04:58 »

“ไซโคลนไพลิน” จ่อถล่มชายฝั่งอินเดีย คาด “โอริสสา-อานธรประเทศ” อ่วม
11 ตุลาคม 2556 12:42 น.

 

      เอเอฟพี – พายุไซโคลนไพลิน (Phailin) ในอ่าวเบงกอลยังคงทวีกำลังแรงขึ้นในช่วงค่ำคืนที่ผ่านมา และมุ่งหน้าสู่ชายฝั่งตะวันออกของอินเดีย ล่าสุดสำนักอุตุนิยมวิทยาท้องถิ่นได้ประกาศเตือนประชาชนให้เตรียมพร้อมรับมือพายุที่อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และสร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้างแล้ว วันนี้(11)
       
       จากการพยากรณ์เส้นทางพายุ คาดว่าไซโคลนไพลินจะพัดเข้าสู่ชายฝั่งรัฐโอริสสาและอานธรประเทศ ในช่วงเย็นวันเสาร์นี้(12) โดยจะทำให้เกิดฝนตกหนักและคลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge) สูงถึง 2 เมตรครึ่ง
       
       สำนักอุตุนิยมวิทยาอินเดียประกาศเตือนว่า ไซโคลนลูกนี้ “จะทวีกำลังแรงขึ้น และอาจมีความเร็วลมระหว่าง 205-215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ขึ้นสู่ฝั่ง” ซึ่งความรุนแรงระดับนี้อาจทำให้พื้นที่เกษตรกรรม, บ้านเรือน, กระแสไฟฟ้า และระบบสื่อสารเสียหายอย่างหนัก
       
       สถานีข่าว NDTV รายงานว่า กองทัพอินเดียได้ส่งกำลังพลเข้าไปประจำการในรัฐทั้งสอง เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินและช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
       
       เฮลิคอปเตอร์พร้อมนำอาหารไปแจกจ่ายยังพื้นที่ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบหนักจากไซโคลนไพลิน ซึ่งเวลานี้มีความรุนแรงถึงระดับ 4 ขณะที่ชาวประมงตลอดแนวชายฝั่งรัฐอานธรประเทศได้รับคำเตือนให้งดออกเรือชั่วคราว
       
       เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเกรงว่า พายุลูกนี้อาจยกระดับความรุนแรงจนแซงหน้าซูเปอร์ไซโคลนที่เคยถล่มรัฐโอริสสาเมื่อปี 1999 และคร่าชีวิตประชาชนไปเกือบ 15,000 คน

จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000127851
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9701 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2556, 18:30:13 »

ตามเรื่องเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ในมุมมองของ วีระพงษ์ มารางกูร ครับ

เขื่อนแม่วงก์และเขื่อนแม่ยม โดย วีรพงษ์ รามางกูร
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:00:02 น.



แม่วงก์เป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งในลุ่มน้ำสะแกกรัง วงก์เป็นคำสันสกฤตและคำบาลีด้วย ถ้าเป็นคำนามแปลว่า เบ็ด ถ้าเป็นคำวิเศษณ์ หรือคุณศัพท์ แปลว่า คดโค้ง ลดเลี้ยวไปมา ฟังชื่อก็เดาเอาได้ว่าคงจะเป็นแม่น้ำที่คดเคี้ยว เลี้ยวไปเลี้ยวมาตามซอกหรือหุบเขา อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์

เมื่อน้ำท่วมใหญ่ หรือเมื่อมหาอุทกภัยในปลายปี 2554 คณะทำงานที่จะวางแผนป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืน มีความเห็นว่าจะต้องสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำยม เพื่อป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก ที่จังหวัดสุโขทัย และเขื่อนแม่วงก์ ที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้เป็นระบบที่จะสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างครบวงจรของแม่น้ำเจ้าพระยา

ทันทีที่มีข่าวว่ารัฐบาลจะก่อสร้างเขื่อนก็จะมีเอ็นจีโอออกมาประท้วงคัดค้าน สมัยก่อนก็จะมีแต่เสียงคัดค้านจากเอ็นจีโอในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ๆ ส่วนชาวบ้านที่ประสบกับปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝนก็ดี ภาวะภัยแล้งในฤดูแล้งก็ดี จะเงียบไม่มีปากเสียง ส่วนชาวบ้านที่ถูกเวนคืนที่ดินก็จะร่วมกับเอ็นจีโอคัดค้าน

สื่อมวลชนก็จะไปสัมภาษณ์ฝ่ายที่คัดค้าน ลงข่าวฝ่ายคัดค้าน อีกทั้งนักข่าวสายสิ่งแวดล้อมส่วนมากนานๆ จะมีข่าวให้เล่นเสียที จึงมีทัศนคติเอนเอียงไปในทางฝ่ายอนุรักษ์และเอ็นจีโอ โครงการสร้างเขื่อนหลายๆ โครงการ ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนผามอง เขื่อนน้ำโจน และเขื่อนอื่นๆ จึงต้องพับไป

แต่เมื่อเกิดมหาอุทกภัยครั้งหลังนี้ ปรากฏว่าจะมีการสร้างเขื่อนกันอีก กรณีเขื่อนแม่ยมและเขื่อนแม่วงก์มีชาวบ้านที่จะได้รับประโยชน์จากภัยน้ำท่วมและฝนแล้งออกมารวมตัว สนับสนุนโครงการทั้ง 2 โครงการ กลายเป็นมี 2 พวก พวกที่คัดค้านและพวกที่สนับสนุน

เท่าที่ติดตามข่าวทางสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ จะเห็นได้ชัดว่าฝ่ายอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นคนในกรุงและเมืองใหญ่ คัดค้านด้วยอุดมคติของนักอนุรักษ์ที่เป็นนามธรรม เหมือนๆ กับคนในประเทศตะวันตกที่เจริญมั่งคั่งแล้ว ประเทศเหล่านั้นทั้งในยุโรปหรืออเมริกาได้สร้างเขื่อน สร้างโครงการพื้นฐานต่างๆ อย่างเต็มที่แล้ว แม่น้ำทุกสายไม่ว่าใหญ่หรือเล็กได้ทำการสร้างเขื่อนหรือฝายเพื่อการผลิตไฟฟ้า หรือการชลประทานเต็มไปหมด

แม่น้ำดานูบก็ดี แม่น้ำสายอื่นๆ ก็ดี ล้วนแต่มีการก่อสร้างเขื่อนหรือฝาย เพื่อการชลประทานและผลิตไฟฟ้าตลอดทั้งสาย มลรัฐนิวยอร์ก เกาะแมนฮัตตันทั้งเกาะ ก็ใช้ไฟจากเขื่อนและฝายจากน้ำตกไนแอการา เทือกเขาร็อกกี้ทั้งสายมีทั้งเขื่อน ทั้งฝาย ทั้งท่อ ทำกาลักน้ำตลอดทั้งแนว ทั้งนี้เพราะทั้งทวีปยุโรปและอเมริกาพัฒนาก่อนเอเชีย เขาก้าวข้ามพ้นเรื่องผลผลิตทางการเกษตรและไฟฟ้าสะอาดราคาถูกแล้ว สังคมของเขาจึงมาคิดเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องอุดมคติ เรื่องคุณภาพชีวิต เรื่องโลกร้อน เรื่องป่าธรรมชาติ เพราะบ้านเขาที่ยุโรปล้วนแต่เป็นป่าปลูก ป่าที่เป็นป่าธรรมชาติหมดไปนานแล้ว จะตัดโค่นก็ไม่คุ้มเพราะค่าแรงแพง ญี่ปุ่นก็เหมือนกัน เคยปลูกป่าสมัยเมจิเพื่อเอาไม้แต่ปรากฏว่าค่าแรงแพงขึ้น จึงสงวนไม้เอาไว้แล้วนำเข้ามาดีกว่า

แต่สำหรับเอเชียรวมทั้งบ้านเรา ปัญหาเรื่องการผลิต ปัญหาเรื่องน้ำท่วมฝนแล้ง ยังเป็นปัญหาสำคัญ สำคัญกว่าจะคิดถึงเรื่องสัตว์ป่า ซึ่งก็ยังอยู่ได้ เพราะในกรณีอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ พื้นที่ที่จะถูกน้ำท่วมนั้นเป็นพื้นที่เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2 เปอร์เซ็นต์ ของป่าทั้งหมด พื้นที่ที่อยู่เหนือเขื่อนน้ำท่วมเพียงหมื่นไร่เมื่อเทียบกับพื้นที่ล้านไร่ของอุทยาน

ที่เกรงว่าเสือก็ดี กวางก็ดี นกชนิดต่างๆ ก็ดี จะถูกน้ำท่วมตาย ก็ไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่สำคัญ สัตว์ต่างๆ เหล่านั้นหลายคนก็ไม่เคยเห็นด้วยซ้ำไป เคยเห็นแต่รอยตีนสัตว์ในพื้นที่ที่ห่างออกไป ที่สำคัญเป็นพื้นที่หุบเขา ไม่ต้องเวนคืน ไม่ต้องอพยพผู้คนให้เป็นที่เดือดร้อน จะเดือดร้อนก็แค่ขัดกับอุดมการณ์ ขัดกับความรู้สึก ซึ่งเป็นนามธรรม เหตุผลในรูปธรรมจึงเป็นเรื่องที่จริงบ้างเท็จบ้าง แต่ก็เร้าอารมณ์ของสื่อมวลชนและคนในเมืองได้ดี

ส่วนเหตุผลของชาวบ้านที่ออกมาสนับสนุนนั้น เท่าที่อ่านและฟัง เป็นเหตุผล เป็นรูปธรรมจับต้องได้ เพราะกระทรวงเกษตรฯทำการศึกษาทุกแง่มุม ตามที่่ฝ่ายคัดค้านรุ่นก่อนๆ เรียกร้อง เพราะโครงการนี้ได้ริเริ่มมากว่า 30 ปีแล้ว จะมีปัญหาบ้างก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ อาจจะต้องยอมเสียบ้าง เพราะโครงการพัฒนาทุกโครงการจะมีแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ ส่วนเสียก็ต้องมี เช่น จะต้องเสียต้นไม้จำนวนมากในพื้นที่น้ำท่วมกว่าหมื่นไร่ แต่ก็จะได้น้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ป้องกันน้ำท่วมในหน้าน้ำ สัตว์ป่าที่อยู่ในแถบนั้นอาจต้องอพยพไปที่อื่นที่กว้างใหญ่ไพศาล ปลาที่จะว่ายทวนน้ำไปวางไข่เหนือเขื่อนก็น่าจะแก้ไขปัญหาได้ถ้ามี ซึ่งก็คงจะมีไม่มากก็น้อย ฝ่ายคัดค้านไม่ได้ทำการศึกษาและบอกอย่างแจ้งชัด

การถกเถียงกันจึงไม่มีทางจะตกลงกันได้ เพราะต่างฝ่ายต่างมีจุดหมายแตกต่างกัน ขืนมานั่งประชุมเถียงกันก็มีหวังตีกันตาย เรื่องความขัดแย้งกันสำหรับโครงการพัฒนานี้ เป็นหัวข้อสำคัญในวิชาเศรษฐศาสตร์การคลังหรือ Public Finance เพราะเป็นวิชาที่คาบเกี่ยวกันระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์และวิชารัฐศาสตร์ จะว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจสำคัญอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะว่าเหตุผลทางรัฐศาสตร์อย่างเดียวก็ไม่ได้ มิฉะนั้นโครงการพัฒนาต่างๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลเพราะเสนอทฤษฎีทางด้านนี้ก็มี เช่น ดร.บูแคนัน

ถ้าเป็นโครงการสาธารณะอื่นๆ เช่น การสร้างถนนหนทาง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ถ้าสามารถชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการตามทฤษฎี Second Best Theory เช่น การจ่ายค่าเวนคืน จ่ายค่าผลกระทบอย่างอื่น เช่น เสียงรบกวน ถึงสายลม แสงแดด หลังจากที่ได้ดำเนินการในขบวนการประชาธิปไตยทั้งในรัฐสภา โดยมติ ครม.ผ่านทางการอนุมัติงบประมาณควบคุมรัฐบาล และนอกรัฐสภาผ่านทางประชาพิจารณ์ และได้นำข้อท้วงติงไปแก้ไขปรับปรุง แม้จะไม่ได้ผลตอบแทนทางวัตถุหรือทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดก็ตาม ข้อสำคัญต้องผ่านขบวนการประชาธิปไตยในการตัดสินใจ ซึ่งฝ่ายอนุรักษ์และฝ่ายเอ็นจีโอมักจะไม่ยอมรับ และตนเองก็ไม่เชื่อการตัดสินใจผ่านขบวนการประชาธิปไตย แม้จะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองที่เรียกว่าพรรคสันติเขียวหรือ Green Peace ก็ไม่แพร่หลายมีคะแนนนิยมมากนัก ในเมืองไทยพรรคอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็ไม่เข้มแข็ง ส่วนใหญ่ "รัฐ" ต้องทำการศึกษาเอง แต่ก็ถูกโจมตีว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือ conflict of interest ผลการศึกษาฝ่ายอนุรักษ์และเอ็นจีโอจึงไม่ยอมรับฟัง แต่ก็ไม่มีผลงานการศึกษาของตน เพียงแต่เหตุผลทางจิตใจที่วัดออกมาเป็นมูลค่าไม่ได้ ส่วนผลประโยชน์มักจะไม่มีการพูดถึง แต่ก็บอกว่าไม่คุ้มเพราะสัตว์ป่าจะไม่มีที่อยู่

ในอนาคตความขัดแย้งดังกล่าวย่อมจะมีมากขึ้นสำหรับประเทศกึ่งพัฒนา ที่ยังต้องการเพิ่มผลผลิตต่อหัว ต้องการเพิ่มรายได้จากภาษีอากร ต้องการพัฒนาการขยายตัวที่สูงกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ขณะเดียวกันก็ต้องการบรรลุความรู้สึกทางจิตใจว่า มีระดับความรับผิดชอบในมาตรฐานสากล ตามความเห็นของนักอนุรักษนิยมและกลุ่มเอ็นจีโอสากลด้วย

กลไกประชาธิปไตยที่กลั่นกรองเพื่อหา "second best solution" ที่ทางการเมืองรับได้ กล่าวคือผลประโยชน์ของส่วนรวมที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบในท้องถิ่นรับได้ หรือผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นที่ประชาชนส่วนรวมรับได้ กลไกดังกล่าวไม่มีทางอื่นนอกจากขบวนการตัดสินใจในระบอบประชาธิปไตยในความหมายอย่างกว้าง ถ้าใช้การเดินขบวนประท้วงหรือขบวนการสร้างกระแสผ่านทางสื่อมวลชน ซึ่งมักจะเป็นวิธีคิดแบบ "อัตวิสัย" ไม่ใช่แบบ "ภาววิสัย"

การตัดสินใจที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างนี้ จะมีต้นทุนต่อสังคมส่วนรวมอย่างมหาศาล ทั้งต้นทุนโดยตรงคือน้ำท่วมฝนแล้งและต้นทุนของการเสียโอกาส

การทำให้ขบวนการตัดสินใจผ่านทางระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่การศึกษาตรวจสอบของหน่วยงานเจ้าของโครงการ การตรวจสอบระดับคณะรัฐมนตรี ขบวนการตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร ไปจนถึงขบวนการนอกรัฐสภา เช่น การประชาพิจารณ์ การถามประชามติ และอื่นๆ แทนการเดินขบวนประท้วงปิดถนนหรือการใช้กำลัง ต้องเข้มแข็ง ตรงไปตรงมา เปิดเผยและเชื่อถือได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น

ข้อสำคัญคือความเชื่อถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องสร้างให้ได้


(ที่มา:มติชนรายวัน 10 ต.ค.2556)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381404091&grpid=01&catid=&subcatid=

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9702 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2556, 09:50:46 »

ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนขึ้น
ฝนตกในภาคกลาง กทม.และปริมณฑล ภาคใต้ยังมีฝน แต่ไม่มากเท่าหลายวันที่ผ่านมา

"พายุไต้ฝุ่นนารี NARI" จะขึ้นฝั่งเวียตนามใต้เมืองเว้ Hue เล็กน้อย
จะเดินทางถึงชายแดนไทย ช่วงจังหวัดมุกดาหารในวันที่ 15 ตุลาคม ในรูปของพายุโซนร้อน
และสลายตัวในใจกลางประเทศไทยในช่วง 16-17 ตุลาคม




พยากรณ์อากาศ ประจำวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกเพิ่มมากขึ้น ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนน้อย สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลง
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “นารี” (NARI) บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ได้เคลื่อนขึ้นสู่เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ แล้ว และจะเคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางในวันนี้(12 ต.ค. 2556) ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย พายุนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ และนครพนม

อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

ภาคกลาง  มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

ภาคตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากแห่งบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต

อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 60
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 
  [/b]
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9703 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2556, 10:05:42 »

สภาวะของพายุในทวีปเอเชียวันนี้ครับ

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9704 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2556, 16:39:11 »

อุตุฯเตือนภัย "ระดับแดง" ก่อน “ไซโคลนไพลิน” ซัดฝั่งตะวันออกอินเดีย
12 ตุลาคม 2556 15:15 น.



 ชาวบ้านยืนมองคลื่นสูงที่ซัดเข้าสู่ชายฝั่งเมืองท่าวิสาขปัตนัม รัฐอานธรประเทศ ก่อนที่ไซโคลนไพลินจะขึ้นฝั่งอินเดีย วันนี้(12) 

       เอเอฟพี – รัฐบาลอินเดียสั่งอพยพชาวบ้านกว่า 440,000 คน พร้อมประกาศเตือนภัยระดับแดงซึ่งเป็นขั้นสูงสุด ก่อนที่พายุไซโคลนไพลิน (Phailin) จะพัดขึ้นสู่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศในช่วงเย็นวันนี้(12) ขณะที่ศูนย์ประเมินความเสี่ยงพายุประกาศให้ไพลินมีความรุนแรงถึงขั้น “ซูเปอร์ไซโคลน” แล้ว
       
       ไซโคลนไพลินซึ่งมีความเร็วลมที่ศูนย์กลางถึง 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาจเป็นพายุไซโคลนรุนแรงที่สุดในรอบ 14 ปีที่พัดเข้าสู่อินเดีย และคาดว่าส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นถึง 3 เมตร
       
       ที่รัฐโอริสสาและอานธรประเทศเริ่มเกิดลมกรรโชกแรง ต้นไม้ใหญ่ๆ เอนลู่ไปตามแรงลม ก่อนที่พายุจะพัดเข้าสู่ฝั่งนานหลายชั่วโมง
       
       ฝนและลมพายุจากไซโคลนลูกนี้จะกระหน่ำใส่หมู่บ้านชายทะเล ซึ่งเคยเผชิญหายนะจากซูเปอร์ไซโคลนที่พัดถล่มเมื่อปี 1999 จนมีผู้เสียชีวิตไปกว่า 8,000 คน
       
       สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดียออกประกาศเตือนภัยระดับแดงก่อนที่พายุจะซัดเข้าฝั่ง ขณะที่ศูนย์พายุไต้ฝุ่นร่วมของกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุว่า กระแสลมวนของไซโคลนลูกนี้อาจทวีกำลังแรงขึ้นจนถึง 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
       
       ด้านสถาบัน Tropical Storm Risk ซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงลอนดอน ได้จัดให้ไซโคลนไพลินอยู่ในกลุ่ม “ซูเปอร์ไซโคลน” ที่มีความรุนแรงที่สุดแล้ว
       
       กองทัพอินเดียได้เตรียมกำลังพลลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ขณะที่สภากาชาดอินเดียก็ส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยลงไปประจำการที่รัฐโอริสสา, อานธรประเทศ และหมู่เกาะนิโคบาร์ในทะเลอันดามันแล้ว
       
       ฝ่ายบริหารรัฐโอริสสาซึ่งมีประชากรราว 40 ล้านคน ตั้งเป้าที่จะลดจำนวนเหยื่อพายุให้เหลือเพียง “ศูนย์” และจะเร่งอพยพประชาชนในพื้นที่ประสบภัยขั้นรุนแรงออกมาให้ได้ “100 เปอร์เซ็นต์”
       
       ภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดเผยให้เห็นไซโคลนไพลินกำลังปั่นไอน้ำเป็นวงขนาดใหญ่ข้ามอ่าวเบงกอลมาสู่ชายฝั่งอินเดีย ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า “เขตอันตราย” ของพายุนั้นมีความกว้างราวๆ 150 กิโลเมตร
       
       ซูเปอร์ไซโคลนที่พัดถล่มรัฐโอริสสาเมื่อปี 1999 มีความเร็วลมสูงกว่าและขนาดใหญ่กว่าที่สำนักอุตุนิยมวิทยาอินเดียประเมินไว้ล่วงหน้า และก่อให้เกิดคลื่นพายุซัดฝั่งสูงถึง 6 เมตร รัฐบาลอินเดียประกาศยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่ 8,243 คน และยังมีสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านล้มตายไปอีกราว 445,000 ตัว
       
       ผู้เชี่ยวชาญพายุในต่างประเทศเตือนว่า ครั้งนี้สำนักอุตุนิยมวิทยาอินเดียก็กำลังประเมินอิทธิพลของไซโคลนไพลินต่ำเกินไปอีกเช่นกัน







 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000128311
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9705 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2556, 16:45:22 »

“ไต้ฝุ่นนารี” ซัดตอนเหนือฟิลิปปินส์ ทำไฟดับหลายจังหวัด-กระทบชาวบ้าน “นับล้าน”
12 ตุลาคม 2556 10:37 น.



 บรรดาหนุ่มสาวออฟฟิศในย่านมากาตี (Makati) ต่างเดินถือร่ม ท่ามกลางท้องฟ้าที่ฉ่ำฝนในกรุงมะนิลาเมื่อวานนี้(11) 

       เอเจนซีส์ – ไต้ฝุ่นนารี (Nari) พัดเข้าสู่ตอนเหนือของหมู่เกาะฟิลิปปินส์เมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา(12) ทำให้เกิดลมกรรโชกรุนแรงพัดต้นไม้หักโค่น เสาไฟฟ้าแรงสูงได้รับความเสียหาย จนชาวบ้านกว่า 2 ล้านคนต้องตกอยู่ในสภาพไร้ไฟฟ้าใช้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรายงาน
       
       ไต้ฝุ่นนารีพัดเข้าสู่ชายฝั่งตะวันออกของฟิลิปปินส์เมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืน (23.00 น. ตามเวลาในไทย) ซึ่งล่าสุดมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 5 ราย
       
       “ผู้เสียชีวิตคนหนึ่งเป็นตำรวจที่รอรับคำสั่งออกไปช่วยเหลือชาวบ้าน เขาถูกโคลนถล่มลงมาทับ” เรย์ บาลิโด โฆษกสภาจัดการและบรรเทาความเสี่ยงภัยพิบัติแห่งชาติฟิลิปปินส์ แถลงพร้อมระบุว่า มีชาวบ้าน 3 คนถูกต้นไม้ล้มทับ ส่วนรายสุดท้ายถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต
       
       ไนเกล ลอนต็อก เจ้าหน้าที่จัดการภัยพิบัติฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งคนหายเป็นชาย 1 คนที่เข้าไปนอนหลับอยู่ในเรือหาปลาขนาดเล็กบนชายฝั่งตะวันออก ขณะที่ไต้ฝุ่นนารีพัดเข้าสู่แผ่นดินเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา
       
       “ลมพายุทำให้ต้นไม้หักโค่นจำนวนมาก และกีดขวางเส้นทางหลวงที่สำคัญหลายจุด” ลอนต็อก ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันพลเรือนประจำภูมิภาค ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
       
       “จากรายงานเบื้องต้น มีบ้านเรือนหลายหลังถูกลมพัดหลังคาปลิวหายไป”
       
       สำนักอุตุนิยมวิทยาฟิลิปปินส์รายงานว่า ไต้ฝุ่นนารีเคลื่อนผ่านพื้นที่เกษตรกรรมทางตอนกลางของเกาะลูซอนเมื่อก่อนเช้ามืดที่ผ่านมา และออกสู่ทะเลจีนใต้ไปด้วยความเร็วลมประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
       
       ไต้ฝุ่นยังได้พัดเสาไฟฟ้าแรงสูงล้มระเนระนาด ทำให้จังหวัดออโรราบนชายฝั่งตะวันออกเกิดไฟฟ้าดับทั้งเมือง รวมถึงพื้นที่ราวๆ ครึ่งหนึ่งของจังหวัดทาร์ลัคและซัมบาเลส โดยเวลานี้ยังกู้กระแสไฟฟ้าไม่ได้ และมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนประมาณ 2.1 ล้านคน ลอนต็อก ระบุ
       
       ประชาชนราว 3,000 คนได้อพยพไปอาศัยอยู่ตามศูนย์พักพิงของรัฐบาลล่วงหน้า หลังได้รับรับคำเตือนว่าอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่ม
       
       ลอนต็อก ระบุว่า เจ้าหน้าที่การทางกำลังเร่งเคลียร์ต้นไม้ที่ล้มลงมากีดขวางเส้นทาง ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาถึง 2 วันจึงจะกู้กระแสไฟฟ้าในจังหวัดออโรรากลับมาได้
       
       ไต้ฝุ่นลูกนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกรุงมะนิลามากนัก ทั้งที่เมื่อวานนี้(11) มีคำเตือนจากสำนักอุตุนิยมวิทยาว่า เมืองหลวงซึ่งมีประชากรหนาแน่นถึง 12 ล้านคนอาจจะต้องเจอกับน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง
       
       ฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นปีละราวๆ 20 ลูก ซึ่งจะเกิดในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม

 

 
 จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000128233
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9706 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2556, 21:26:54 »

ดูให้เต็มตาหาดูได้ยาก.. พายุใหญ่ 3 ลูกโผล่พร้อมกัน "นาดี" ชื่อกิมจิมีนัด อีสานฉ่ำฝนอีกรอบ
11 ตุลาคม 2556 18:06 น.


 เกิดในมหาสมุทรอินเดีย (ลูกซ้ายสุด) .. ไซโคลนไพลิน (Phailin) กำลังแสดงอิทธิฤทธิ์ในทะเลเบงกอล ถัดมาทางทิศตะวันออกไต้ฝุ่นนาดี (Nari) กำลังมุ่งหน้าผ่านหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทะลวงเข้าทะเลจีนใต้โดยมีปลายทางที่ชายแดนลาว-ไทย ไม่ไกลกัน "วิภา" พายุโซนร้อนชื่อไทย กำลังปั่นตัวเองเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 มุ่งหน้าถล่มจีน จะนานเท่าไรก็จำไม่ได้แล้วนับตั้งแต่เกิดพายุรุนแรงในเขตร้อนพร้อมกันถึง 3 ลูกครั้งก่อนหน้านี้ ตามรายงานของหน่วยงานวิจัยชั้นบรรยากาศมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐฯ ที่เห็นในภาพนี้เป็นปรากฏการณ์ที่หาดูได้ยาก. 

       ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นักอุตุนิยมวิทยาในย่านนี้กำลังจับตาปรากฏการณ์ที่หาดูได้ยากเมื่อเกิดพายุเขตร้อนรุนแรงขึ้น 3 ลูกในเวลาไล่เลี่ยกันและหมุนในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดพลังงานอันมหาศาล ทำให้ลมฟ้าอากาศในย่านนี้ปั่นป่วนอีกครั้งตั้งแต่ทะเลแปซิฟิกตะวันตก ทะเลจีนใต้ไปจนถึงอ่าวเบงกอล
       
       ขณะเดียวกันสำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งต่างๆ ก็กำลังจับตาไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่มุ่งหน้าเข้าสู่เกาะเหนือของฟิลิปปินส์ในวันศุกร์ 11 ต.ค.นี้ แผนภูมิพยากรณ์ของหลายสำนักชี้ว่าไต้ฝุ่นระดับ 3 มีปลายทางที่ชายแดนภาคกลางของลาวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งถ้าหากเป็นไปตามนี้ต้นสัปดาห์หน้าภาคอีสานตอนกลางกับตอนล่างก็มีโอกาสชุ่มฉ่ำกับสายฝนอีกรอบ
       
       ไต้ฝุ่นลูกใหม่มีชื่อเขียนเป็น “Nari” ซึ่งควรจะเรียกเป็น "นา-ริ" แต่ในภาษาเกาหลีบ้านเกิดชื่อนี้ออกเสียงเป็น "นา-ดี" ทั้งนี้เป็นเสียงเรียกชื่อพายุที่บันทึกเอาไว้โดยหอสังเกตการณ์ฮ่องกง (Hong Kong Observatory) หรือองค์การอุตุนิยมวิทยาของเขตปกครองพิเศษ
       
       หอสังเกตการณ์ฯ แห่งนี้กล่าวว่า “นา-ดี” เป็นชื่อดอกไม้ทีมีกลิ่นหอมชนิดหนึ่ง เติบโตจากหัวของมันแบบเดียวกับดอกลิลี่ มีทั้งสีขาวและเป็นสีสันต่างๆ เบ่งบานไปทั่วคาบสมุทรเกาหลีในหน้าร้อน
       
       แต่ไต้ฝุ่นนาดีในสัปดาห์นี้ไม่ได้อยู่เพียงลำพังในซีกโลกตะวันออก ภาพจำลองใช้ข้อมูลจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT แสดงให้เห็นไซโคลนระดับ 4 ลูกใหญ่ที่มีขนาดราวครึ่งหนึ่งของชมพูทวีปกำลังหมุนคว้างโชว์นัยน์ตาอันดุร้ายอยู่ตอนบนของทะเลเบงกอลและรัฐบาลอินเดียสั่งอพยพคนนับแสนออกจากพื้นที่เสี่ยงในรัสโอดิสสาร์กับอันตราประเทศ
       
       ภาพ MODIS จากดาวเทียมขององค์การนาซ่าสหรัฐก็แสดงให้เห็นสิ่งเดียวกัน
       
       ไกลออกไปในแปซิฟิกตะวันออกพายุโซนร้อนวิภากำลังปั่นตัวเองขึ้นอย่างรวดเร็ว พายุชื่อไทยลูกนี้พร้อมจะยกระดับเป็นไต้ฝุ่นในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าและข่าวดีสำหรับเวียดนาม ลาว ไทยและชาวกัมพูชาที่กำลังจมน้ำอยู่ในสัปดาห์นี้ก็คือวิภากำลังพัดขึ้นเหนือสู่ทะเลแปซิฟิกทางตอนใต้เกาะญี่ปุ่น ไม่ตามหลังนาดีเข้าสู่อนุภูมิภาคนี้
       
       ตอนสายวันศุกร์ไต้ฝุ่นนาดีกำลังมุ่งหน้าเข้าเกาะลูซอน ไต้ฝุ่นทำให้นายจอห์น แครี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐต้องเลื่อนการเยือนฟิลิปปินส์ ขณะที่ทางการประเทศนี้สั่งจังหวัดต่างๆ บนเกาะเหนือรับมืออย่างเต็มกำลัง
       
       ตามพยากรณ์ของสำนัก Tropical Storm Risk ในกรุงลอนดอน ในวันศุกร์นี้นาดีกำลังปั่นตัวเองขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 2 และสามารถจะขึ้นเป็นระดับ 3 ได้ขณะมุ่งหน้าเข้าทะเลจีนใต้สุดสัปดาห์นี้ ซึ่งไต้ฝุ่นวิภาจะพัดเบี่ยงขึ้นทางทิศเหนือผ่านเกาะโอกินาวามุ่งสู่ทะเลแปซิฟิกทางตอนใต้ของญี่ปุ่นตามรอยไต้ฝุ่นปลาบึก (Pabuk) เดือนที่แล้ว
       
       สำหรับเวียดนาม นาดีกำลังจะเป็นพายุรุนแรงลูกที่ 12 ที่เกิดขึ้นหรือพัดเข้าสู่ "ทะเลตะวันออก" ในปีนี้ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางในกรุงฮานอยออกเตือนก่อนเที่ยงวันศุกร์ไต้ฝุ่นกำลังมุ่งหน้าเข้าฝั่งในเขตนครเหวกับจ.เถือะเทียนเหว (Thua Thien Hue) ในอีก 72 ชั่วโมงข้างหน้าหรือเพียงข้ามสัปดาห์หลังไต้ฝุ่นหวูติ๊บ (Wutip) จางหายไป
       
       แผนภูมิพยากรณ์ของศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่นของกองทัพเรือสหรัฐหรือ JTWC (Joint Typhoon Warning Center) ที่ออกในวันศุกร์ชี้ปลายทางของไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่ชายแดนแขวงจำปาสักของลาวกับ จ.อุบลราชธานีของไทยกับสะหวันนะเขต-มุกดาหารในวันอังคารที่ 15 ต.ค. ซึ่งเป็นข่าวร้ายในขณะที่ทางการลาวกำลังเร่งเยียวยาความเสียหายจากไต้ฝุ่นหวูติ๊บในแขวงทางตอนใต้สุดของประเทศซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด มีชาวลาวนับแสนคนต้องการความช่วยเหลือ
       
       ไกลออกไปในทะเลเบงกอล สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งต่างๆ คาดว่าไซโคลนไพลิน (Phailin) กำลังจะขึ้นฝั่งทะเลตะวันออกของอินเดียในอีก 24 ชั่งโมงข้างหน้าและกำลังจะเป็นพายุใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนในย่านนี้ไปกว่า 10,000 คน
       
       แผนภูมิโดยมหาวิทยาลัยวิสคอนซินที่เมืองเมดิสันในวันศุกร์นี้ได้แสดงให้เห็นพายุลูกใหญ่ กำลังหมุนคว้างอยู่ตอนเหนือของทะเลเบงกอล อีกลูกหนึ่งกำลังปั่นไอน้ำคละคลุ้งขณะเคลื่อนเข้าประชิดหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และลูกที่สามกำลังปั่นตัวเองอย่างเร่งรีบอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออก
       
       หลายสำนักกล่าวว่าไพลินกำลังแผ่อานุภาพอย่างน่ากลัว อำนาจการทำลายล้างของไซโคลนลูกนี้อาจจะเท่าๆ กับเฮอริเคนคาทริน่า (Katrina) ที่พัดเข้าทำลายล้างแหลมฟลอริดาเสียหายราบคาบในเดือน ส.ค.2548
       
       หน่วยงานวิจัยชั้นบรรยากาศของมหาวิทยาลัยวิสคอนซินกล่าวว่านับเป็นปรากฏการณ์ที่หาได้ยากที่เกิดพายุหมุนขนาดใหญ่ 3 ลูกพร้อมๆ ในซีกโลกตะวันออก ครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างในรอยต่อสองมหาสมุทร พายุยังหมุนทวนเข็มนาฬิกาแบบเดียวกันและค่อนข้างเป็นอิสระต่อกัน
       
       พายุใหญ่ทั้งสามลูกกำลังเปลี่ยนกระสวนความผันแปรทางภูมิอากาศในย่านนี้อย่างสำคัญ.
       .
        [คลิกที่นี่..ไล่ติดตามพายุใหญ่] http://www.ssec.wisc.edu/data/geo/index.php?satellite=fy2d&channel=wv&coverage=fd&file=jpg&imgoranim=8&anim_method=flash



 เมื่อพายุรุนแรง 3 ลูกเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน หมุนในทิศทางเดียวกันและต่างเป็นอิสระต่อกัน มันก็คือระเบิดปรมาณู 3 ลูกที่พลังงานมหาศาลพร้อมทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า. -- ภาพ: MODIS/NASA 
 
       2



 ไพลิน (Phailin) ไซโคลนระดับ 4 โชว์นัยน์ตาอันดุร้ายในทะเลเบงกอลตอนสายวันศุกร์ 11 ต.ค.นี้ขณะมุ่งหน้าถล่ม 2 รัฐภาคตะวันออกของอินเดีย หลายสำนักกล่าวว่าอานุภาพของมันไพลินอาจเท่าๆ กับเฮอริเคนคาทรินา (Katrina) ที่พัดเข้าถล่มแหลมฟลอริดาของสหรัฐจนราบคาบในเดือน ส.ค. 2548.

       3

        [คลิกที่นี่.. ไล่จับไต้ฝุ่นนาดี-วิภา] http://www.goes.noaa.gov/sohemi/sohemiloops/vsmtsatw.html



 แผนภูมิพยากรณ์ของหน่วยงานพยากรณ์อากาศในฟิลิปปินส์แสดงจุดนัดหมายต่างๆ ของไต้ฝุ่นนาดี (Nari) ตั้งแต่วันศุกร์นี้จนถึงต้นสัปดาห์หน้า สำนักอุตุนิยมวิทยาชั้นนำหลายแห่งกล่าวว่าไต้ฝุ่นลูกนี้กำลังจะเข้าซ้ำเติมสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ของลาวกับหลายจังหวัดของกัมพูชา.
 

       4



 ไต้ฝุ่นนาดี (Nari) หมุนคว้างอยู่ทางตะวันออกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ตอนเช้าวันศุกร์นี้ หลายสำนักกล่าวว่านาดีสามารถปั่นความเร็วใกล้ศูนย์กลางขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 3 ได้ขณะเคลื่อนเข้าทะเลจีนใต้สุดสัปดาห์นี้. 
 
       5



 แผนภูมิพยากรณ์โดย JTWC ตอนเที่ยงวันศุกร์นี้ชี้ปลายทางของไต้ฝุ่นนาดี (Nari) ไปยังชายแดนลาว-ไทย หากเป็นไปตามนี้ภาคอีสานตอนกลางกับตอนล่างของไทยได้ชุมฉ่ำกันถ้วนหน้าอีกครั้งต้นสัปดาห์หน้า. 

       6

 
 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000128068
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9707 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2556, 21:28:55 »

ข่าวล่าสุด อินเดียสั่งปิดสนามบินฝั่งตะวันตก ซึ่งพายุไซโคลนระดับ 4 ไพลินขึ้นฝั่งในคืนนี้

ส่งผลให้ผู้โดยสารต้องรออยู่ในสนามบินทั้งหมด
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9708 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2556, 21:31:08 »

วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 00:20 น.  ข่าวสดออนไลน์

11 ข้อเสียคนไทย... ในมุมมองผู้บริหารฝรั่ง

ทวี มีเงิน

เสาร์สบายๆ จะพาไปดูผลสำรวจคนไทยในทรรศนะผู้บริหารชาวต่างชาติ 11 คน มองคนไทยได้ 11 ลักษณะ จะตรงกับความจริงแค่ไหนก็ลองดู เผื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น

เขาว่าคนไทย "ชอบโกหกเรื่องเล็กๆ น้อยๆ" เช่น มาสาย...ขาดงาน โดยอ้างว่าป่วย และมักจะนำ "เพื่อนฝูง" มาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเสมอ เช่น การ "จัดซื้อ" ข้าวของภายในสำนักงาน โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่บริษัทควรจะได้รับเมื่อพบว่าเพื่อนทุจริตก็จะช่วยกันปกป้องไม่รู้ไม่เห็น

คนไทยแยกไม่ออกระหว่าง "เรื่องงาน" กับ "เรื่องส่วนตัว" ชอบเอาทั้งสองอย่างมาปนกัน และคุยกันเรื่องส่วนตัวมากกว่าเรื่องงาน มักจะยึดติดกับ "ความเคยชินแบบเดิมๆ" เคยทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่มี "ความคิด" ที่จะเปลี่ยนแปลงถ้า เอาวิธีใหม่ๆ เข้ามา ก็จะไม่ได้รับความร่วมมือ เมื่อมีการเจรจา "ไม่กล้าโต้แย้ง" ทั้งๆ ที่ตัวเองกำลัง "เสียเปรียบ" ปล่อยให้อีกฝ่ายเป็น "คนคุมเกม" นิสัยขี้เกรงใจจึงทำให้คนไทยไม่ก้าวหน้า

นอกจากนี้ "ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด" ไม่กล้าบอกความคิดของ ตัวเองออกมา ทั้งที่มีความคิดดีๆไม่แพ้ชาติใดเลย แต่มักจะเก็บความสามารถไว้ไม่บอกให้เจ้านายได้รู้ และ "ไม่กล้าตั้งคำถาม" ทำให้ทำงานไปคนละเป้าหมาย หรือ "ทำงานไม่สำเร็จ"

ในการทำงานคนไทยจะมีนิสัย "ไม่ค่อยกำหนดระยะเวลา ไว้ล่วงหน้า" งานไหนให้เวลานานๆ ก็ยิ่งทิ้งไว้ทำตอนใกล้ๆ จะถึงกำหนดส่ง เลยทำแบบรีบๆ ไม่ได้ผลงานเท่าที่ควร และ "ไม่ค่อยมีแผน" รองรับเวลาเกิดปัญหา แต่จะรอให้เกิดก่อน แล้วหาทางแก้ไปแบบเฉพาะหน้า ชอบให้นายสั่งลงมาก่อน แล้วค่อยทำตาม

คนไทยจะบอกแต่ข่าวดี จะเลือกบอกแต่สิ่งที่คิดว่า เจ้านายจะชอบ เช่น บอกแต่ข่าวดีๆแทนที่จะเล่าตามความจริง

"คำพูดว่าไม่เป็นไร" เป็นคำพูดติดปาก เวลามีปัญหาก็จะไม่มีใครรับผิดชอบ จะไม่ค่อยหาตัวคนทำผิด ด้วยเพราะเกรงใจกัน แต่จะใช้คำว่าไม่เป็นไรแทน

คนไทยไม่ค่อยมี "ทักษะ" ในการทำงาน รวมถึงไม่ค่อยใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อจะให้ได้ "ผลงานที่ดีที่สุด" ไม่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ความเคลื่อนไหวของโลกเท่าไหร่นัก แล้วไม่ค่อยชอบหาความรู้เพิ่มเติม แม้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานก็ตาม

หากมองด้วยหัวใจเปิดกว้างต้องยอมรับแต่ละคนสะท้อนความเป็นคนไทยได้ตรงเผงจริงๆ เห็นทีต้องรีบปรับปรุงตัวด่วน


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1UVXhNakUzTXc9PQ==&sectionid=
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9709 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 06:58:53 »

อากาศเริ่มอบอุ่นขึ้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออดเฉียงเหนือ พร้อมมีหมอกมากขึ้นในตอนเช้า
ภาคอื่นๆมีฝนลดลง เฉพาะแต่ภาคใต้ทั้งสองฝั่งยังมีฝน และฝนตกในจังหวัดชายแดนภาคใต้

"พายุไต้ฝุ่นนารี NARI" ผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้แล้ว วันที่ 15 ต.ค.จะขึ้นฝั่งประเทศเวียตนาม




พยากรณ์อากาศ ประจำวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  เมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้ (13 ต.ค. 56) พายุไต้ฝุ่น “นารี” (NARI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 750 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 15.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 115.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 15-16 ตุลาคม 2556 จากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชันตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางกับมีลมแรงได้
อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกเพิ่มมากขึ้น ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนน้อย สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลงในระยะนี้
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า
และมีฝนเล็กน้อยบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นทางตอนบนของภาคกับมีหมอกในตอนเช้า
และมีฝนบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  มีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
บริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  มีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
บริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีหมอกบางในตอนเช้า และโอกาสมีฝนตก ร้อยละ 20
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9710 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 07:02:15 »

ส่วน"พายุไซโคลนไพลิน PHAILIN" ขึ้นฝั่งอินเดียทางฝั่งตะวันตกเมื่อคืนนี้และเริ่มสลายตัวแล้ว

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9711 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 07:11:52 »

ส่วน"พายุไต้ฝุ่นวิภา WIPHA" พายุลูกที่ 25 ของปีนี้ อยู่ตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น
โดยวันที่ 15 ต.ค.จึงจะเริ่มเข้าสู่เกาะญี่ปุ่นในตอนล่าง


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9712 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 08:42:13 »

พายุไซโคลน “ไพลิน” ขึ้นฝั่งอินเดียแล้ว ตายอย่างน้อย 5-คนอพยพครึ่งล้าน-คาดรุนแรงต่อ6ช.ม.
13 ตุลาคม 2556 02:02 น.



 ชายผู้หนึ่งที่มีเพียงผ้าพลาสติกใช้กันฝนซึ่งตกกระหน่ำอย่างหนักเพราะฤทธิ์เดชพายุไซโคลน “ไพลิน” เมื่อวันเสาร์ (12) เดินมุ่งไปยังสถานที่ซึ่งมีความปลอดภัยมากขึ้น ใกล้ๆ กับเมืองโกปัลปุร์ ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 200 กิโลเมตรจากเมืองภุพเนศวร เมืองหลวงของรัฐโอริสสา ทางภาคตะวันออกของอินเดีย 


       เอเจนซีส์ – พายุไซโคลน “ไพลิน” ที่มีความเร็วลมรุนแรงถึงกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดขึ้นพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกของอินเดียแล้ว บริเวณใกล้ๆ เมืองโกปัลปุร์ รัฐโอริสสา เมื่อตอนดึกวันเสาร์ (12 ต.ค.) เวลาประมาณ 21.15 น.ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 22.45 น.เวลาเมืองไทย) ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 5 คน และบังคับให้ประชาชนกว่า 500,000 คนต้องอพยพเข้าไปตามสถานที่พักพิงอันแออัด โดยที่ยังจะสร้างความเสียหายร้ายแรงให้แก่บริเวณริมฝั่งทะเลระยะทางราว 150 กิโลเมตรในอีก 6 ชั่วโมงข้างหน้า
       
       แอล. เอส. ราโธเร อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย แถลงต่อผู้สื่อข่าวยืนยันว่า ในขณะที่มันขึ้นฝั่งที่ใกล้ๆ เมืองโกปัลปุร์ มีรายงานว่าไซโคลนลูกนี้มีความเร็วลม 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่ายังคงเป็นพายุที่มี “ความรุนแรงมาก” โดยที่ตาของพายุนี้กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 10 ถึง 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง



       กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียคาดหมายว่า “ไพลิน” กำลังสะสมพลังจนมีความเร็วลมสูงขึ้น 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในช่วงชั่วโมงแรกๆ ของวันอาทิตย์ (13 ต.ค.) โดยจะยังสร้างความเสียหายหนักให้แก่พื้นที่ชายฝั่งยาวประมาณ 150 กิโลเมตรของรัฐโอริสสา และรัฐอานธรประเทศ 2 รัฐยากจนทางภาคตะวันออกของแดนภารตะที่อยู่ติดต่อกัน ในเวลาประมาณ 6 ชั่วโมงข้างหน้า ก่อนที่จะค่อยๆ อ่อนกำลังลงเมื่อมันเคลื่อนตัวเข้าสู่ดินแดนตอนใน
       
       พวกเจ้าหน้าที่ด้านอุตุนิยมวิทยาและด้านบริหารจัดการภัยพิบัติของอินเดีย ประมาณการว่า ไซโคลนไพลินอาจจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนราว 12 ล้านคน ทั้งนี้มีรายงานพยากรณ์บางกระแสระบุว่า พายุลูกนี้ได้ลดความรุนแรงลงบ้างแล้วด้วยซ้ำก่อนที่มันจะขึ้นฝั่ง ทว่าก็ยังคงมีฐานะเป็นพายุที่มีกำลังรุนแรงที่สุดซึ่งเคยพัดถล่มอินเดีย นับตั้งแต่ปี 1999 ซึ่งมีไซโคลนลูกหนึ่งกระหน่ำใส่พื้นที่บริเวณเดียวกันนี้ และสังหารชีวิตผู้คนไปกว่า 10,000 คน
       
       มีรายงานว่า เกิดฝนตกหนักมากซัดสาดใส่หมู่บ้านชาวประมงหลายแห่งบริเวณชายฝั่ง ขณะที่ลมรุนแรงพัดเอาต้นไม้จำนวนมากหักโค่น หลายต้นถึงกับถูกถอนรากถอนโคน ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นพายุรูปก้นหอยที่มีขนาดใหญ่โตมหึมาครอบคลุมพื้นที่แทบทั้งหมดของอ่าวเบงกอล ขณะที่กองทัพเรือสหรัฐฯพยากรณ์ว่า ตอนที่มันยังอยู่ในทะเล ลมรุนแรงที่สุดของไพลินอาจจะมีความเร็วถึงระดับ 296 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทีเดียว




 ประชาชนพากันวิ่งหาที่กำบัง ณ บริเวณชายหาดเมืองโกปัลปุร์ รัฐโอริสสา ทางภาคตะวันออกของอินเดีย หลังจากมีคำเตือนเรื่องพายุไซโคลน “ไพลิน” จะขึ้นฝั่งที่บริเวณนี้เมื่อวันเสาร์ (12)

       จักเดช ดาซารี ผู้นำท้องถิ่นในหมู่บ้านชาวประมงชื่อ โมกาธาลุปาดู ที่อยู่ใกล้ๆ กับจุดที่พายุขึ้นบก บอกกับผู้สื่อข่าวว่า เมื่อถึงตอนค่ำวันเสาร์ (12) ตำรวจต้องออกคำสั่งให้ชาวบ้านละทิ้งกระท่อมทำจากโคลนตากแห้งและหลังคามุงหญ้าของพวกเขา เพื่อไปพักอาศัยชั่วคราวในอาคารของโรงเรียน โดยที่มีรายงานเรื่องชาวบ้านไม่อยากทิ้งบ้านช่องทำนองเดียวกันนี้ จากชุมชนจำนวนมากตลอดพื้นที่ชายฝั่งยากจนแถบนี้ เนื่องจากชาวบ้านต่างเกรงกลัวว่าจะถูกขโมยข้าวของ
       
       ขณะที่รัฐมนตรีมหาดไทย สุสิลกุมาร ชินเด ของอินเดีย แถลงสำทับว่า มีประชาชนจำนวนมากปฏิเสธไม่ยอมโยกย้ายจากบ้านเรือน ทำให้ตำรวจต้องชักจูงโน้มน้าว และบางครั้งก็ต้องออกคำสั่งบังคับ เพื่อให้พวกเขาออกไปอยู่ในสถานที่ซึ่งปลอดภัยกว่า
       
       กระนั้นก็เริ่มมีรายงานผู้เสียชีวิตออกมาแล้ว โดยที่มี 4 คนสิ้นชีวิตเนื่องจากต้นไม้ที่หักโค่นตกลงมาทับใส่ ขณะที่อีกคนหนึ่งตายเพราะผนังกระท่อมโคลนตากแห้งของเธอพังลงมา นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าเกิดไฟฟ้าดับในเมืองต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งเมืองภุพเนศวร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐโอริสสา
       
       “เราโชคดีมากที่เรามาอยู่กันที่นี่ ... เราจึงรักษาชีวิตเอาไว้ได้” ชาวบ้านที่ชื่อ นรายัน ฮัลดาร์ กล่าว ขณะเบียดเสียดอยู่กับคนอื่นๆ อีกราว 1,300 คน ในหมู่บ้านชาวประมงแห่งหนึ่งของรัฐโอริสสา เขาร้องทุกข์ว่ารัฐบาลไม่ได้เตรียมเสบียงอาหารเอาไว้อย่างเพียงพอ ขณะที่มีรายงานว่าสถานที่พักพิงหลบภัยบางแห่งในอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม และภาพจากทีวีแสดงให้เห็นฝูงชนกำลังยืนอยู่กลางสายฝนด้านนอกของอาคารที่เต็มแน่นด้วยผู้คนแห่งหนึ่ง
       
       ในตอนที่พายุไซโคลนลูกนี้เคลื่อนขึ้นฝั่งนั้น ได้นำเอาคลื่นขนาดยักษ์โถมกระหน่ำใส่ชายหาดหลายแห่ง และชาวบ้านบอกกับสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นฉับพลันได้ดันให้น้ำพุ่งทะลักขึ้นมาบนฝั่งเป็นระยะทางนับร้อยเมตร โดยเฉพาะตามพื้นที่ลาดต่ำหลายๆ แห่ง
       
       ปรากฏการณ์ระดับน้ำทะเลพุ่งสูงขึ้นอย่างฉับพลัน สืบเนื่องจากฤทธิ์เดชของพายุไซโคลนเช่นนี้ สามารถสร้างความเสียหายได้อย่างร้ายแรงที่สุด โดยที่มีการพยากรณ์กันว่าไพลินจะขับดันให้น้ำทะเลสูงขึ้น 3.5 เมตรทีเดียวในขณะที่พายุไซโคลนลูกนี้มีความรุนแรงสูงสุด
       
       ถึงแม้มีปัญหาความไม่พร้อมจำนวนหนึ่ง แต่การเตรียมตัวรับภัยพิบัติของอินเดียในคราวนี้ก็เห็นกันว่าดีขึ้นอย่างมากมายแล้ว จากคราวพายุไซโคลนที่สร้างความเสียหายร้ายแรงเมื่อ 14 ปีก่อน โดยที่ผู้ทำงานด้านให้ความช่วยเหลือคนที่ต้องอพยพโยกย้ายออกจากบ้าน พากันกล่าวชมมาตรการต่างๆ ในการระวังป้องกันไซโคลนไพลิน เป็นต้นว่า การเตือนภัยล่วงหน้า, การเก็บสะสมข้าวของที่จะนำมาแจกจ่ายผู้พลัดถิ่นที่อยู่, และการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยง
       
       องค์การบริหารจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของอินเดีย ระบุว่าในครั้งนี้มีประชาชนราว 550,000 คนที่ต้องอพยพย้ายจากบ้านเรือนไปพำนักตามที่พักพิงชั่วคราว ซึ่งจำนวนมากคืออาคารโรงเรียนและวัดวาอารามต่างๆ นับเป็นการอพยพหลบภัยครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของอินเดียทีเดียว




 คลื่นขนาดยักษ์พัดใส่พื้นที่ชายฝั่งเมืองวิสาคาปัตนัม ในรัฐอานธรประเทศ ทางภาคตะวันออกของอินดียเมื่อวันเสาร์ (12) ในขณะที่พายุไซโคลน “ไพลิน” กำลังเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่เมืองโกปัลปุร์ รัฐโอริสสา ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน



 ชาวอินเดียจำนวนมากเฝ้าชมคลื่นยักษ์ที่โถมเข้าสู่ชายฝั่ง ขณะที่พวกเขายืนอยู่ตรงบริเวณชายฝั่งอ่าวเบงกอล ในเมืองวิสาคาปัตนัม เมื่อวันเสาร์ (12)



 ต้นไม้ใหญ่จำนวนมากหักโค่นในระหว่างเกิดฝนตกหนักและลมพัดรุนแรงที่บริเวณใกล้ๆ ชายหาดเมืองโกปัลปุร์ รัฐโอริสสา ทางภาคตะวันออกของอินเดียในวันเสาร์ (12) ทั้งนี้พายุไซโคลน “ไพลิน” ขึ้นฝั่งในบริเวณแถบนี้
 
 
 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000128391
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9713 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 16:50:22 »

วันนี้ วันที่ 13 ตุลาคม ในปฎิทินแจ้งว่า เป็น "วันตำรวจ"
ถือเป็นวันสุกดิบ ก่อนเกิด "14 ตุลา" เมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา


อ่านอดีตจาก นสพ.เดลินิวส์ออนไลน์.........

40 ปี 14 ตุลา การขับเคลื่อนประชาธิปไตยในทิศทางที่ถูกต้องยังต้องดำเนินต่อไป
วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2556 เวลา 11:58 น.

 

เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516  วันมหาวิปโยคที่สร้างความเศร้าสะเทือนใจให้แก่คนไทยทั้งชาติจากการบาดเจ็บล้มตายของเยาวชนคนหนุ่มสาวที่ชุมนุมประท้วงรัฐบาลเผด็จการทหาร  นับเป็นโศกนาฏกรรมทางการเมืองในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน หลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปีพ.ศ.2475 กาลเวลาได้ล่วงผ่านมาถึง 40 ปี ในวันที่ 14 ตุลาคม 2556 นี้

เหตุการณ์ 14 ตุลา เกิดจากผลพวงของความคิดก้าวหน้าในหมู่เยาวชนคนหนุ่มสาวที่กำลังศึกษาอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยในยุคนั้นที่มีความตื่นตัวทางการเมืองสูง และมีความรู้สึกอึดอัดใจต่อบรรยากาศของบ้านเมือง ที่มีการปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้รับรู้ข่าวสารต่างๆ  มีการควบคุมการเสนอข่าวของสื่อมวลชน  จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดของประชาชน   ข่มขู่และคุกคามประชาชนอย่างไร้เหตุผลและไร้มนุษยธรรม  ความไม่เป็นธรรมในสังคม ฯลฯ  จึงมีแนวคิดที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในทางที่ดีขึ้น มีการเคลื่อนไหวรณรงค์กิจกรรมต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ภายใต้การขับเคลื่อนของศูนย์กลางนิสิตและนักศึกษาแห่งประเทศไทย อาทิ การรณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นเพื่อให้คนในชาติหันมานิยมใช้สินค้าไทย ในปี พ.ศ. 2515 ส่วนในปี พ.ศ. 2516 มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นข้าราชการทหารและตำรวจที่นำเฮลิคอปเตอร์และอาวุธยุทโธปกรณ์ของราชการไปใช้ล่าสัตว์ที่ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และประการสำคัญมีการเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการทหารที่ครองอำนาจมายาวนานนับสิบปีเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การชุมนุมประท้วงรัฐบาลเผด็จการทหารเกิดขึ้นตามมหาวิทยาลัยต่างๆ และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ที่บริเวณลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2516  เมื่อมีผู้เข้าร่วมชุมนุมประท้วงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ย้ายที่การชุมนุมจากลานโพธิ์ไปที่สนามฟุตบอล จนกระทั่งช่วงเที่ยงของวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ผู้ชุมนุมประท้วงได้ร่วมกันเคลื่อนตัวออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปตามเส้นทางถนนราชดำเนิน   การเดินขบวนของผู้ชุมนุมประท้วงในครั้งนี้มีจำนวนเรือนแสนซึ่งประกอบด้วย นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมด้วยความบริสุทธิ์ใจ เหตุการณ์ได้ลุกลามขยายตัวจนบานปลายเมื่อผู้ชุมนุมประท้วงที่มือเปล่าปราศจากอาวุธเผชิญหน้ากับทหารที่มีอาวุธครบมือและมีรถถังที่สกัดกั้นอยู่  จากการเผชิญหน้าดังกล่าวผู้ชุมนุมประท้วงต้องบาดเจ็บล้มตายลงเป็นจำนวนมาก  ในที่สุดผู้นำรัฐบาลต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเดินทางออกนอกประเทศ เหตุการณ์จึงคลี่คลายสงบลง

หลังจากเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516   การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต้องประสบกับความยุ่งยากนานัปการและล้มลุกคลุกคลานมาเป็นระยะๆ กล่าวคือมีการทำรัฐประหารถึง 4 ครั้ง

ครั้งที่ 1 พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ทำรัฐประหารรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519    ครั้งที่ 2 พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ทำรัฐประหารรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ในปี พ.ศ. 2520    ครั้งที่ 3 พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ทำรัฐประหารรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหวัณ ในปี พ.ศ 2534   และครั้งที่ 4 พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ทำรัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร  ทั้งนี้ ปัญหาพื้นฐานเกิดจากนักการเมืองไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเพียงพอ ขาดคุณภาพ  ในขณะที่พรรคการเมืองมีกลุ่มอำนาจและกลุ่มทุนเป็นเจ้าของพรรค ไม่ได้เป็นพรรคการเมืองที่มาจากประชาชน จึงเป็นพรรคการเมืองที่ไม่มีอุดมการณ์ มีจุดประสงค์เพียงเพื่อเข้ามายึดครองอำนาจและแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนและพวกพ้องเท่านั้น  การเมืองไทยจึงตกอยู่ในสภาพการณ์แข่งขันแย่งชิงอำนาจในทุกรูปแบบและวิธีการเล่นเกมการเมืองตลอดเวลา ชิงไหวชิงพริบเพื่อความได้เปรียบเหนือฝ่ายตรงกันข้าม โดยไม่คำนึงถึงการบริหารราชการแผ่นดินอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนแต่อย่างใด  ซ้ำยังกระทำการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมากมาย โดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย จนทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียโอกาสในการแข่งขันกับต่างประเทศและเกิดความเสียหายจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด อีกทั้งประชาชนยังขาดความรู้และความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเท่าที่ควร จึงตกเป็นเหยื่อและเครื่องมือของนักการเมืองในการกระทำผิดต่อหลักการสำคัญของกระบวนการทางประชาธิปไตย  ไม่ว่าจะเป็นการขายเสียงให้แก่นักการเมือง การถูกนักการเมืองหลอกล่อด้วยผลประโยชน์และอามิสสินจ้างต่างๆ ยอมกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และละเมิดกฎหมาย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่บั่นทอนและขัดขวางความเจริญ ก้าวหน้าของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทั้งสิ้น

ภารกิจในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยของคนเดือนตุลาจึงยังไม่สิ้นสุด ยังคงต้องดำเนินต่อไป แม้ว่าคนเดือนตุลาส่วนใหญ่จะเข้าสู่วัยเกษียณอายุแล้วก็ตาม เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันยังมีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำอย่างไรจึงจะมีพรรคการเมืองที่มีประชาชนทุกหมู่เหล่าเป็นเจ้าของพรรคอย่างแท้จริง ทำอย่างไรจึงจะขจัดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้ทั้งๆ ที่กฎหมายเลือกตั้งกำหนดบทลงโทษไว้สูงทั้งจำและปรับ ทำอย่างไรคนดีที่มีความรู้และความสามารถจะได้มีโอกาสอาสาเข้ามาทำงานรับใช้ประชาชนได้  ทำอย่างไรการบังคับใช้กฎหมายกับนักการเมืองที่กระทำความผิดจึงจะมีความศักดิ์สิทธิ์และเฉียบขาด ฯลฯ   แม้ว่าจะมีปัญหาและอุปสรรคมากเพียงไร คนเดือนตุลายังคงมีหน้าที่ต้องขับเคลื่อนประชาธิปไตยให้เป็นไปตามปณิธานและอุดมการณ์ที่มีอยู่เพื่อให้กระบวนการทางประชาธิปไตยดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสังคมไทยและต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับยุคสมัยของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


ทวีศักดิ์  อุ่นจิตติกุล

http://www.dailynews.co.th/article/358/239972


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9714 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 16:56:05 »

"14 ตุลา" ในปี 2516 พัฒนาไปเป็น "6 ตุลา" ในปี 2519 ด้วยการยึดอำนาจของคณะปฎิรูปการปกครอง
หลังเกิดเหตุที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
อ่านเรื่องนี้ ซึ่งเป็นขบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ที่เกี่ยวเนื่องกัน ??!!!


วีระ-ศิษย์เก่า′ปชป.′ เปิดตำนาน′แตก-ร้าว′ !!
วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 10:18:02 น.

รอยร้าวของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) หลัง "อลงกรณ์ พลบุตร" ส.ส.เพชรบุรี และรองหัวหน้าพรรค และ ส.ส.กลุ่มปฏิรูปที่ขออาสาอยู่ซ่อมบ้านหลังเก่าให้ไฉไลกว่าเดิม

ไม่ใช่ครั้งแรก ในอดีตเกิดความขัดแย้งใน ปชป.ถึงขั้นแตกหัก ยกทีมออกจากพรรคมาแล้วหลายระลอก

วีระ หรือ วีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในผู้ที่แตกตัวออกจากพรรค เป็นผู้อยู่ในที่เกิดเหตุและเห็นเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดมาหลายครั้ง

นายวีระกานต์ย้อนอดีตให้ฟังว่า จุดตกต่ำของพรรค ปชป. เริ่มตั้งเเต่การได้เป็นรัฐบาลเมื่อปี พ.ศ. 2519 เเล้วไม่สามารถรักษาสถานการณ์ไว้ได้ จนโดนทหารยึดอำนาจไปเมื่อ 6 ตุลาฯ 2519 โดยเกิดเหตุนองเลือดที่ธรรมศาสตร์ด้วย ทำให้ ปชป.เสื่อมลงไปมาก

ระหว่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2521 เพื่อเตรียมการเลือกตั้ง ปชป.มองหาผู้นำคนใหม่แทน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ที่วางมือทางการเมือง

มี "ชวน หลีกภัย" "อุทัย พิมพ์ใจชน" เเละ "พิชัย รัตตกุล" เป็นตัวเต็ง

คนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าสถานการณ์ขณะนั้นทั้ง "ชวน" เเละ "อุทัย" อาจไม่สามารถนำพาพรรคเดินหน้าได้ จึงเชิญคนนอก คือ "พ.อ.ถนัด คอมันตร์" อดีต รมว.ต่างประเทศ ที่อายุมากเเต่มีบารมีเเละประสบการณ์ทางการเมืองมาลงสมัครด้วย

ตอนนั้นพยายามให้นายอุทัยเเละนายชวน ตกลงกันให้ได้ หากใครเป็นหัวหน้าพรรค อีกคนก็เป็นเลขาธิการพรรค เเต่ทั้งสองคนกลับไม่คุยกัน ตกลงกันไม่ได้ตรงนี้ กลายเป็นอีกหนึ่งจุดเเตกเเยก

พ.อ.ถนัดจึงเป็นฝ่ายชนะ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค นั่นทำให้นายอุทัยเคืองว่าสู้กันเองจนกระทั่งคนนอกได้เป็นหัวหน้าพรรค ตัดสินใจเดินออกจากพรรคไป

พ.อ.ถนัดดำรงตำเเหน่งอยู่ได้ไม่นานก็ออกไปตามอายุที่มากขึ้น โดยนายพิชัยขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเเทน ขณะที่นายชวนก็สงวนท่าทีเรื่อยมา

การเข้ามาของนายพิชัย ก็เกิดปัญหาในเวลาต่อมา กล่าวคือในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ปี พ.ศ. 2529

"ในการสรรหาตัวรัฐมนตรีของพรรค ปชป. นายพิชัยไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่เคยให้ไว้กับลูกพรรคบางกลุ่ม เช่น กลุ่มวาดะห์ จากจังหวัดภาคใต้ ที่สัญญาว่าจะขอเก้าอี้รัฐมนตรี 1 ตำเเหน่ง แต่นายพิชัยกลับให้ไม่ได้ ทำให้กลุ่มวาดะห์ไม่พอใจ" นายวีระกานต์ระบุ

ยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่พอใจการจัดโผ รมต.ของพรรค รวมตัวกันเป็นกลุ่ม 10 มกราฯ ที่มี นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ และนายวีระกานต์นั่นเองเป็นแกนนำ

นายวีระกานต์เล่าว่า เมื่อถึงวาระการประชุมใหญ่ เพื่อเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งรวมถึงหัวหน้าพรรคด้วย เริ่มมีการพูดกันว่าจะไม่เลือกนายพิชัยจะเลือกคนใหม่ คือนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ซึ่งผลออกมานายพิชัยเป็นผู้ชนะ

ต่อมารัฐบาลยุบสภาเลือกตั้งใหม่ในเดือนมกราคม 2531 นายพิชัยที่ไม่ชอบใจลูกพรรคบางคนจึงไม่ส่งลงรับสมัครรับเลือกตั้ง ทำให้กลุ่ม 10 มกรา รวม 40 คนเเยกตัวจากพรรค

จากนั้นนายพิชัยก็ลงจากตำเเหน่งหัวหน้าพรรค สาเหตุด้วยอายุที่มากขึ้น บวกกับเกิดความขัดเเย้งระหว่างร่วมรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่เริ่มต้นเมื่อปี 2531 ขณะนั้น

นายชวน หลีกภัย ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค และเป็นหัวหน้าพรรคเต็มตัวอย่างไม่มีคู่เเข่งในเวลาต่อมา

วีระกานต์เล่าต่อว่า หลังเกิดเหตุพฤษภาทมิฬปี 35 มีการเลือกตั้งขึ้น ปชป. ชนะการเลือกตั้ง ด้วยนโยบาย "ไม่พาคนไปตายเเละนิยมระบบรัฐสภา" โดยมี นายชวนเป็นนายกรัฐมนตรี เเต่เป็นได้ 2 ปี 7 เดือน ก็มีเหตุสะดุดขาตัวเอง เปลี่ยนอำนาจสู่ นายบรรหาร ศิลปอาชา เเละ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ

นายวีระกานต์กล่าวว่า ปี 2540 พล.อ.ชวลิตไปไม่รอด นายชวนกลับมาป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งตรงนี้สำคัญเพราะการขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีรอบใหม่ ประชาชนไม่ได้เห็นความเเตกต่าง ไม่ได้เห็นฝีไม้ลายมือในการบริหารประเทศ ทำให้พอเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง จึงพ่ายให้กับพรรคไทยรักไทย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ก่อนหน้าการพ่ายเเพ้ ก็เกิดความขัดเเย้งครั้งสำคัญเมื่อ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรค ผู้เป็นคนเเสดงฝีไม้ลายมือผลักดันนายชวน จนได้เป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัย โดนสอยเรื่องเเจ้งบัญชีทรัพย์สินไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้บารมีที่มีในพรรคเสื่อมลงไป

โดยมี นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ได้เป็นเลขาฯคนใหม่ และเมื่อ เสธ.หนั่นกลับมามีสิทธิทางการเมืองอีกครั้งจึงลาออกจากพรรคในที่สุด

นายวีระกานต์กล่าวถึงความเเตกร้าวของพรรค ปชป.ในยุคปัจจุบันว่า หลังปฏิวัติรัฐประหารปี 19 ก.ย.49 เห็นปัญหาชัดว่า ปชป. มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เเละ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ควงคู่กันเป็นเเม่ทัพ เเต่เหมือนจุดยืนของ ปชป. เคลื่อนที่ไปมากเเล้ว

ทำให้ภายในพรรคเกิดความขัดเเย้ง

"การเเตกเเยกเป็นธรรมชาติของพรรคการเมืองไม่ใช่เรื่องใหญ่ เเต่ถ้าประชาธิปัตย์ ยังไม่รังเกียจเผด็จการคนอื่นเขาคงจะไม่อยู่ด้วย" วีระกานต์กล่าวทิ้งท้าย

ประวัติศาสตร์ของ ปชป. ยังบันทึกถึงความขัดแย้งที่ทำให้สมาชิกแยกตัวอีกหลายระลอก

รวมถึงการลาออกของ "สมัคร สุนทรเวช" พร้อมสมาชิกกลุ่มหนึ่ง ออกมาตั้งพรรคประชากรไทย เมื่อปี 2521

ส่วนรอบนี้ ถ้าจะเกิดการแตกหักเหมือนในอดีต ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกนัก

(ที่มา:มติชนรายวัน 12 ตุลาคม 2556)


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381634284&grpid=01&catid=&subcatid=

      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9715 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 20:42:05 »

 

14 ตุลา 2516

ชาวหอได้พี่เจษฎา นาคะบุตร เป็นวีรชน สู้กับการล้อมปราบของ"ถนอม-ประภาส"
จนพี่เจษฎา ถูกกระสุนเข้าที่ตา จนตาบอดไปหนึ่งข้าง


พี่เจษฎา นาคะบุตร ครุ 2513 เป็นชาวจังหวัดเพชรบูรณ์
เพิ่งเกษียณราชการเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาในตำแหน่ง ผอ.โรงเรียนฟ้าไทย อ.หนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9716 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2556, 21:08:06 »

วันนี้ 13 ตุลาคม ทางจันทรคติ คือ วันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ถือเป็น “เทศกาลฉงหยัง” (重阳节)

รักแท้เหนือกาลเวลา ... อากงอาม่าแดนมังกรครองชีวิตคู่เกือบร้อยปี
13 ตุลาคม 2556 18:35 น.



อาม่าอู๋ คุนซ่ง วัย 103 ปี ยืนเคียงคู่กับอากงหวัง เผิงเผิง วัย 104 ปี ผู้เป็นสามีที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขมานานกว่า 78 ปี ภายในบ้านพัก หมู่บ้านตงกวง เมืองฝูชิง มณฑลเจ้อเจียง เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ที่ผ่านมา (ภาพ - เอเยนซี)

       เอเยนซี - สื่อจีนรายงานเรื่องน่าประทับใจของอากงอาม่าจากมณฑลฝูเจี้ยน ที่ครองคู่กันมายาวนานกว่า 78 ปี เผยเคล็ดลับ “ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และหมั่นดูแลรักษาซึ่งกันและกันอยู่เสมอ”
       
       รายงานข่าว (10 ต.ค.) เปิดเผยเรื่องราวความรักของอากงหวัง เผิงเผิง วัย 104 ปี และอาม่าอู๋ คุนซ่ง วัย 103 ปี คู่สามีภรรยาที่ใช้ชีวิตด้วยกันมานานกว่า 78 ปี โดยทั้งสองเริ่มต้นเส้นทางความรักมาตั้งแต่วันที่ 18 พ.ย. 2478 มีทายาทชายหญิงทั้งหมด 8 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านขนาดย่อมของหมู่บ้านตงกวง เมืองฝูชิง มณฑลฝูเจี้ยนทางภาคตะวันออกของประเทศ
       
       หวัง ชินเย่า ลูกชายคนหนึ่งกล่าวว่า สองสามปีก่อนหน้านี้ ทั้งคู่มักออกไปเดินเล่น พูดคุยกับเพื่อนบ้าน แต่ว่าช่วงหลังพ่อเริ่มมีปัญหาการได้ยิน อีกทั้งแม่ก็ขาไม่ค่อยดี จึงออกไปข้างนอกน้อยลง
       
       “หากทะเลาะกัน พ่อจะรู้วิธีทำให้แม่หายโกรธได้ แม่เองก็ดูแลเอาใจใส่พ่อเป็นอย่างดี คอยทำอาหารอร่อยๆ ที่ถูกปากพ่อ หรือห่มผ้าให้ก่อนนอน และแม้ว่าพ่อจะหูไม่ดีแล้ว แต่น่าแปลกที่ทั้งคู่ก็ยังสื่อสารอย่างเข้าใจกันได้เสมอ”
       
        “ชีวิตความเป็นอยู่ของทั้งคู่ค่อนข้างสงบเรียบง่ายและเป็นระเบียบ อาหารการกินก็ง่ายๆ อย่างเช่น ข้าวโอ๊ต ไข่ไก่ และผัก ทุกวันนี้สุขภาพของพ่อและแม่ก็ยังแข็งแรงดี ไม่ต้องทานยาหรืออาหารเสริมเลย นอนหลับพักผ่อนเต็มที่เกือบ 12 ชม.ทุกวัน”

       
       ขณะที่ในยามอากงหวังหรืออาม่าอู๋เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ลูกหลานในบ้าน 10 กว่าคนที่ร่ำเรียนทางด้านแพทย์ ก็ช่วยดูแล จัดยาให้ทานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
       
       “แม่เป็นคนกลัวความมืด ไม่ชอบนอนคนเดียว พ่อรู้ดีจึงไม่ค่อยห่างไปไหน ทั้งสองอยู่ด้วยกันแทบตลอดเวลา” หวัง อี้ว์ฉิน ลูกสาวอีกคนกล่าว
       
       “ตอนนี้แม่เริ่มเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วน้อยลง ก็มีพ่อคอยช่วยถอดเสื้อคลุมและรองเท้าให้ก่อนเข้านอน”
       
       ปัจจุบัน อากงอาม่าอาศัยอยู่กับลูกหลานถึง 5 รุ่นภายในบ้านหลังเดียวกัน เมื่อลูกหลานเดินทางกลับถึงบ้านนับเป็นช่วงเวลาที่ผู้อาวุโสทั้งสองต่างเบิกบานใจที่สุด หวัง ชินเย่า ลูกชายคนเดิมเผยว่า “พวกเรา 8 พี่น้องต่างรักใคร่ปรองดองกัน ทำให้พ่อกับแม่สบายใจ ไม่มีเรื่องให้ต้องเป็นกังวลหรือทุกข์ใจ”
       
       อนึ่ง ทุกวันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติของทุกปี ถือเป็น “เทศกาลฉงหยัง” (重阳节) ซึ่งตำราอี้จิง () อันเก่าแก่ของจีนระบุไว้ว่า เลข 6 เป็น “หยิน” ขณะที่เลข 9 เป็น “หยัง” ดังนั้นวันที่ 9 เดือน 9 จึงเรียกว่า “ฉงหยัง” (重阳 แปลว่า หยังคู่, หยังซ้อน) อีกทั้งตัวเลข 9 9 ในภาษาจีนออกเสียงว่า “จิ๋ว จิ่ว” ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า “ยืนยาว” (久久) อันมีนัยยะสื่อถึงความมีอายุยืนยาวนั่นเอง
       
        นอกจากนี้ จีนยังได้กำหนดให้เทศกาลฉงหยังเป็น “วันผู้สูงอายุจีน” อีกด้วย โดยในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 13 ต.ค. ซึ่งกิจกรรมที่นิมทำในวันมงคลนี้ ได้แก่ การขึ้นเขาหรือเจดีย์สูง (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ) ชมดอกเบญจมาศ ดื่มเหล้าแช่ดอกเบญจมาศ (เก๊กฮวย) และทานขนมฉงหยัง หรือที่เรียกว่า “ฮัวเกา” เป็นต้น




ภาพถ่ายครอบครัวเมื่อราว 20 ปีก่อนของอากงหวังและอาม่าอู๋ ซึ่งมีลูกชายหญิงสืบสกุลทั้งหมด 8 คน (ภาพ - เอเยนซี)
 
2


อากงหวัง เผิงเผิง วัย 104 ปี ยังคงสามารถใช้สายตาดูเวลาจากนาฬิกาข้อมือได้อย่างชัดเจน (ภาพ - เอเยนซี)

3


อากงหวังช่วยอาม่าอู๋สวมถุงเท้า แม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุหลักร้อยแล้ว แต่สุขภาพก็ยังแข็งแรงดี (ภาพ - เอเยนซี)
4


อากงหวังกำลังรดน้ำต้นไม้บริเวณหน้าบ้าน พร้อมกับอาม่าอู๋ที่ยืนอยู่เคียงข้าง เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ที่ผ่านมา (ภาพ - เอเยนซี)
5



อาม่าอู๋ คุนซ่ง และอากงหวัง เผิงเผิง คู่รักวัยร้อยแห่งมณฑลฝูเจี้ยน (ภาพ - เอเยนซี)
6
 
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9560000128393
 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9717 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 06:53:39 »

สวัสดีครับทุกท่าน


วันนี้ 14 ตุลาคม 2556 เป็นวันครบรอบ 40 ปีของการเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ซึ่งขณะนั้น ผมเข้าเป็นนิสิตปี 1 ของจุฬาฯ และอยู่หอไม้ AIT
ช่วงเช้าเกิดการปะทะของตำรวจกับนิสิตนักศึกษาที่เดินขบวนผ่านสวนจิตรลดา
ซึ่งเป็นเหตุเริ่มแรกของการนองเลือดโดยรัฐบาล"ถนอม-ประภาส"
จากการเรียกร้องประชาธิปไตย หลังจากทั้งสองจอมพลยึดอำนาจในปี 2515
จนที่สุดสองจอมพลต้องเดินทางออกนอกประเทศ
โดย อจ.สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9718 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 07:00:32 »

เหตุการณ์นองเลือดเกิดที่ถนนราชดำเนินและบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทางจุฬาฯ จึงประกาศปิดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
หางหอได้ประกาศปิดหอ เพื่อให้นิสิตกลับบ้าน

ช่วงนี้เองคุณแม่และน้าสาวของผม, คุณแม่ของแต๋ง-วัฒนา โอภานนท์อมตะ เดินทางจากนครปฐมไปที่หอ
จากข่าวนองเลือดที่รัฐบาลตีใส่ต่อเนื่อง ทั้งทาง ทีวี และวิทยุ
เราทั้งหมดพร้อมผมและนายแต๋ง-วัฒนา จึงกลับนครปฐม
แต่ไม่มีรถเมล์ เนื่องจากรถเมล์ถูกยึดโดยนิสิตนักศีกษาและประชาชนไปวิ่งรับส่งผู้คนที่ต่อต้านรัฐบาล
คณะของเราจึงเดินเท้าจากหอจุฬาฯ-ไปสามย่าน-หัวลำโพง-ย่านทรงวาด-ข้ามเรือไปฝั่งธนบุรี
จากนั้นเดินจากอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินไปสามแยกไฟฉาย ต่อรถโดยสาร บขส สาย 40
กลับนครปฐม (ออกจากหอประมาณก่อนเที่ยง ถึงนครปฐมหลังสี่โมงเย็น)
จากนั้นเหตุการณ์เริ่มสงบลง 2-3 วันต่อมา เราคือผมและนายแต๋ง-วัฒนา จึงขึ้นรถโดยสารกลับมาที่หออีกครั้ง
และก็อยู่หอต่อจนเริ่มมีการเปิดเรียน
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9719 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 07:05:17 »

ในหอทุกอย่างสงบมาก ต้องขอบพระคุณอาจารย์ประยูร ร่มโพธิ์ ที่ดูแลหอได้เป็นอย่างดี
ท่านเดินตรวจตราอยู่ตลอดเวลา โดยได้กรรมการหอซึ่งมีพี่สนิท ตงศิริ นิติ/รัฐ เป็นหัวหอ ช่วยดูแล
มีกิจกรรมทางการเมืองที่นิสิตนักศึกษาดำเนินการ แต่ทั้งหมดอยู่นอดหอพักทั้งสิ้น
อาทิ การร่วมมือกับตำรวจดูแลความสงบเรียบร้อยบริเวณแยกสำคัญๆ หลังสองจอมพลเดินทางออกนอกประเทศ
และเมื่อทุกคนกลับเข้าหอ หอก็คือบ้าน ที่ไม่มีการนำเรื่องภายนอกเข้ามาข้องแวะแต่ประการใด
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9720 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 07:25:14 »

"พายุไต้ฝุ่นนารี NARI" จะขึ้นฝั่งเวียตนามในเย็นนี้ด้วยความเร็วลมศูนย์กลาง 140 กม.
และถึงประเทศไทยในเย็นวันพรุ่งนี้ โดยเป็นดีเปรสชั่น (ซึ่งลดความรุนแรงลงไปมาก)
และอิทธิพลของพายุจะมีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ติดชายแดนลาวเท่านั้น
บรรดาเขื่อนหลักของประเทศไทยไม่ได้รับน้ำจากพายุซึ่งน่าจะเป็นลูกสุดท้ายนี้อย่างแน่นอน




พยากรณ์อากาศ ประจำวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  เมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้ (14 ต.ค. 56) พายุไต้ฝุ่น “นารี” (NARI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 380 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 15.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 15 -16 ตุลาคม 2556 และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลทำให้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมแรง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปเมืองดานัง
ประเทศเวียดนามตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย
อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงอีกละรอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 15-16 ตุลาคม 2556 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงกับมีอากาศเย็นในตอนเช้า
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  มีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
บริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
บริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีหมอกบางในตอนเช้า และโอกาสมีฝนตก ร้อยละ 30
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9721 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 07:43:17 »

ส่วน"พายุไต้ฝุ่นวิภา WIPHA" ยังอยู่ในตอนใต้ของเกาะญี่ปุ่น



      บันทึกการเข้า
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #9722 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 09:43:26 »


สวัสดี ๑๔ ตุลา ๕๖ ครับพี่เหยง
ขอบคุณข้อมูลที่นำเสนอนะครับ...


 รักนะ
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9723 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 19:08:47 »

สถาบันพระปกเกล้าเผยงานวิจัย ไทยติดที่1โลก ตระกูลสืบทอดการเมือง "ชินวัตร"แผ่อาณาจักรมากสุด
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 10:00:07 น.
 

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม นายสติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยงานวิจัย "ตระกูลการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก" พบว่า ไทยมีสัดส่วนตระกูลการเมืองสูงกว่าประเทศที่ได้ชื่อว่าตระกูลการเมืองมีบทบาทสำคัญอย่างเม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ร้อยละ 2 ร้อยละ 5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ เป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอาร์เจนตินาและสหรัฐอเมริกาถึงสี่และเจ็ดเท่าตามลำดับ หากเปรียบเทียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่มีคนในตระกูลเดียวกันเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก่อน และเปรียบเทียบกับประเทศอื่น พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 42 ตามด้วยเม็กซิโก ร้อยละ 40 ฟิลิปปินส์ร้อยละ 37 ญี่ปุ่นร้อยละ 33 อาร์เจนตินา ร้อยละ 10 และสหรัฐอเมริการ้อยละ 6

งานวิจัยระบุอีกว่าตระกูลการเมืองที่ประสบความสำเร็จรักษาสืบทอด แผ่ขยายอาณาจักรทางการเมืองช่วงหลังปี 2540 เป็นต้นมา ได้แก่ ตระกูลชินวัตรมีการวางรากฐานทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยนายเลิศ ชินวัตร อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พ.ศ.2512 และส่งต่อความสำเร็จมายังนายสุรพันธ์ ชินวัตร น้องชายนายเลิศ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ 4 สมัย (พ.ศ.2522, 2526, 2529, 2531) ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเข้ามารื้อฟื้น สานต่อและแผ่ขยายอิทธิพลของตระกูล จนมีสมาชิกของตระกูลก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 3 คน คือ พ.ต.ท.ทักษิณ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ) และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นอกจากนี้สมาชิกตระกูลชินวัตรยังประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง ส.ส.มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2544 อีกหลายคน อาทิ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ตระกูลแยกเป็นรายพรรค จะพบว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่มีตระกูลการเมืองได้รับเลือกตั้งเข้ามากที่สุดรวม 19 ตระกูล รองลงมาเป็นพรรคประชาธิปัตย์ 17 ตระกูล พรรคภูมิใจไทย 4 ตระกูล พรรคชาติไทยพัฒนา 3 ตระกูล พรรคพลังชล 1 ตระกูล และพรรครักประเทศไทย 1 ตระกูล หากพิจารณาในแง่สัดส่วน จะพบว่าพรรคชาติไทยพัฒนามีสัดส่วนของ ส.ส.ที่มีคนในตระกูลเดียวกันได้รับเลือกต่อจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคสูงที่สุด ร้อยละ 31.6 รองลงมาเป็นพรรคพลังชลร้อยละ 28.6 พรรครักประเทศไทยร้อยละ 25 พรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 22 พรรคภูมิใจไทยร้อยละ 17.6 และพรรคเพื่อไทยร้อยละ 15.1

ที่สำคัญผลการศึกษายังพบด้วยว่า นักการเมืองที่มีสายสัมพันธ์แบบตระกูลที่เคยเป็นนักธุรกิจมาก่อน น่าจะมีสัดส่วนสูงกว่านักการเมืองที่ไม่มีสายสัมพันธ์แบบตระกูล เพราะนักการเมืองที่มีสายสัมพันธ์แบบตระกูล สามารถอาศัยความได้เปรียบต่างๆ เป็นสะพานเชื่อมได้ทันที

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381715201&grpid=&catid=01&subcatid=0100

 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #9724 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556, 21:12:08 »

คุณมิ้ง 17 โทรไปเพื่อจะให้คุยทางโทรศัพท์ต่อที่ประชุมสัมนาเว็ปซีมะโด่งครบ 10 ปี
แน่เนื่องจากบลูธูทกับไมค์โครโฟนไปด้วยกันไม่ได้ครับ บลูธูทมีเสียหอน จนไม่ได้ยินอะไร
ที่สุดต้องยุติไปกลางคัน

ขอบคุณ คุณมิ้ง 17 ที่อยากให้มีอะไรใหม่ๆ เสนอในที่ประชุม
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 387 388 [389] 390 391 ... 472   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><