16 พฤษภาคม 2567, 17:53:10
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 602 603 [604] 605 606 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3261883 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15075 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2558, 04:49:55 »


 
ไตรลักษณ์ในขันธ์ ๕

สาวัตถี

พระพุทธองค์ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา  สรุปได้ดังนี้

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  ล้วนไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  สิ่งใดไม่เที่ยง  สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์  สิ่งใดเป็นทุกข์  สิ่งนั้นย่อมเป็นอนัตตา  สิ่งใดเป็นอนัตตา  สิ่งนั้นไม่ใช่เรา  เราไม่เป็นสิ่งนั้น  นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา

อริยสาวกเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ ด้วยสัมมาปัญญา  ย่อมหายติด  หมดใคร่ในขันธ์ ๕  เมื่อหายติด หมดใคร่ในขันธ์ ๕  จิตก็หลุดพ้น  เป็นพระอรหันต์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15076 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2558, 04:59:21 »



เหตุปัจจัยให้เกิดขันธ์ ๕ ก็ไม่เที่ยง

สาวัตถี

พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  แม้เหตุปัจจัยให้รูปเกิด  ให้เวทนาเกิด  ให้สัญญาเกิด  ให้สังขารเกิด  ให้วิญญาณเกิด  ก็ล้วนแต่ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  เหมือนกัน

อริยสาวกเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้  จึงหายติด  หมดใคร่...เป็นพระอรหันต์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15077 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2558, 05:05:27 »



นิโรธหมายถึงขันธ์ ๕ ดับ

สาวัตถี

พระอานนท์ทูลถามพระพุทธองค์ว่า  "ความดับคือนิโรธ  ดับอะไรคือนิโรธ?"

พระพุทธองค์ มีพระดำรัสตอบว่า "อานนท์  รูปเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง  อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น  มีอันจะต้องสิ้นไป  เสื่อมไป  สลายไป  ดับไป  ความดับแห่งรูปนั้น เรียกว่านิโรธ..."

(ขันธ์ ๕ ที่เหลือก็เหมือนกัน  สรุปว่า รูปดับคือนิโรธ เวทนาดับคือนิโรธ สัญญาดับคือนิโรธ สัวขารดับคือนิโรธ วิญญาณดับคือนิโรธ)

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15078 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2558, 05:39:21 »



ร่างกาย-จิตใจของมนุษย์ที่เกิดมานั้น ต่างก็หลงผิดว่า เป็นเรา เป็นของเรา เป็นอัตตาของเรา

แท้จริง มันไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล  ไม่ใช่ตัวตนเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา

มันเป็นเพียง "รูป-นาม" เท่านั้น

รูป คือส่วนที่เป็นร่างกาย ไม่สามารถรู้อารมภ์ได้
ประกอบด้วยอวัยยวะ ๓๒ ส่วน ที่ทุกท่านเห็น เข้าใจกันได้นั้น มันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ มีวิวัฒนาการมานานแสนนาน

นาม คือส่วนที่เป็นจิต ไม่มีตัวไม่มีตน แต่สามารถรู้อารมภ์ได้
นามนั้นประกอบไปด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เวทนา คือความสุข ความทุกข์ ความไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เราสามารถรับรู้อารมภ์ได้ เมื่อจิตระลึกถึง
สัญญา คือความจำได้หมายรู้ในสิ่งที่เคยประสพมาก่อนหน้านั้น และระลึกขึ้นมาได้
สังขาร คือสิ่งที่ปรุงแต่ง หรือนึกคิด ตรึกตรองขึ้น เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
วิญญาณ คือการรู้แจ้ง เกิดจากการประสพของธรรมสามอย่างอันประกอบด้วย อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และผัสสะเกิดวิญญาณทั้งหกขึ้น

วันนี้ พี่สิงห์  มาทำงาน ประชุม morning talk กับคนงาน พนักงาน ที่โรงงานมหาชัยประจำเดือนเวลา 07:00 น. และแวะไปทำงานที่โรงงานบ้านแพ้ว สมุทรสาคร

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15079 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2558, 20:50:30 »


๑๒ สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ

อุปาทานขันธ์เป็นภาระของชีวิต

สาวัตถี

พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายเรื่องภาระ  ผู้แบกภาระ  การถือภาระ และการวางภาระ ดังนี้

ภาระ หมายถึง อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นคือ รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ (ที่บุคคลยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหา และทิฐิ)

ผู้แบกภาระ  หมายถึง ทุกคนที่เกิดมา

การถือภาระ  หมายถึงตัณหา (ความทยานอยาก) ๓ คือ กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภาวตัณหา
ลักษณะของตัณหา คือ
๑. โปโนพภวิกา (นำให้เกิดภพใหม่)
๒. นันทิราคสหคตา (ประกอบด้วยความติดใจเพลิน)
๓. ตัตรตัตราภินันทินี (ยินดีในที่เกิด หรือในอารมณ์นั้นๆ)

การวางภาระ หมายถึง ดับตัณหา หลุดพ้นจากตัณหา

แล้วตรัสด้วยพระคาถาว่า "ขันธ์ ๕ คือภาระ  ผู้แบกภาระคือบุคคล  การถือภาระนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก  การวางภาระเสียได้เป็นสุข เมื่อบุคคลวางภาระหนักได้แล้ว  ไม่ถือภาระอื่นอีก  ถอนตัณหาทั้งรากเหง้าได้แล้ว  เป็นคนหายหิว  ดับกิเลสสิ้นเชิง"

(ในอรรถกถาแห่งพระสูตรนี้  ให้ความหมายแก่ตัณหา ๓ ไว้ชัดเจนว่า
๑. กามตัณหา ได้แก่ ความยินดีอันเป็นไปในกามคุณ ๕
๒. ภวตัณหา ได้แก่ความยินดีในรูปภพและอรูปภพ ความติดในฌาณ ความยินดีที่เกิดพร้อมด้วยสัสสตทิฐิ
๓. วิภาวตัณหา ความยินดีที่เกิดพร้อมด้วยอุจเฉททิฐิ)

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15080 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 04:30:13 »



กำหนดรู้ขันธ์ ๕ คืออย่างไร ?

สาวัตถี

พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายด้วยเรื่องสิ่งที่ควรกำหนดรู้(ปริญฺเญยฺยา) และความกำหนดรู้ (ปริญฺญา) ดังนี้

สิ่งที่ควรกำหนดรู้ ได้แก่  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ

ความกำหนดรู้  ได้แก่  ความสิ้นราคะ  ความสิ้นโทสะ  ความสิ้นโมหะ (หมายถึงนิพพาน)

สวัสดีทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15081 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 12:36:06 »



ไม่กำหนดรู้ขันธ์ ๕ ก็สิ้นทุกข์ไม่ได้

สาวัตถี

พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อบุคคลไม่รู้ยิ่ง  ไม่กำหนดรู้  ไม่หายติด  ไม่ละรูป  ไม่ละเวทนา  ไม่ละสัญญา  ไม่ละสังขาร  ไม่ละวิญญาณ  ก็ไม่อาจสิ้นทุกข์ได้  เมื่อรู้ยิ่ง  กำหนดรู้  หายติด  ละรูป  ละเวทนา  ละสัญญา  ละสังขาร  ละวิญญาณได้  จึงสิ้นทุกข์ได้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15082 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 12:41:53 »



สวัสดี ทุกท่านครับ

วันนี้ เป็นวันแม่  ทุกท่านที่มีแม่ และคุณแม่  ยังมีชีวิตอยู่ ทุกท่านคงหาเวลาไปกราบแม่

แต่พี่สิงห์  แม่จากไปแล้ว  ก็ได้แต่ทำความดี  รักษาศีล  และเจริญภาวนา ให้ท่าน ต่อหน้าอัฏฐิของท่าน

สวัสดี

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15083 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 14:13:45 »



สำคัญที่ละฉันทราคะในขันธ์ ๕

สาวัตถี

พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องคุณและโทษ(ส่วนดี-ส่วนเสีย)ของขันธ์ ๕  แก่ภิกษุทั้งหลาย  ใจความโดยสรุปคือ  ทรงรู้แจ้งว่า ขันธ์ ๕ มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย

ส่วนดี คือทำให้เกิดสุขโสมนัส

ส่วนเสีย คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์  แปรปรวนเป็นอื่นได้

การละฉันทราคะในขันธ์ ๕ เสียได้ เป็นความหลุดพ้นไปจากขันธ์ ๕

การที่ทรงรู้แจ้งในส่วนดี-ส่วนเสีย และหลุดพ้นจากขันธ์ ๕ ได้นี้เอง คือการตรัสรู้ของพระองค์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15084 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 14:24:23 »



เพลินในขันธ์ ๕ ก็หมายถึงเพลินในทุกข์

สาวัตถี

พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า ผู้ใดเพลิดเพลินในรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์  ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์  ผู้นั้นย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์(ส่วนผู้ไม่เพลิดเพลินในขันธ์ ๕ ตรัสโดยนัยตรงกันข้าม)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15085 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 15:12:44 »



ขันธ์ ๕ เกิด  โรคและทุกข์ทั้งหลายก็เกิด

สาวัตถี

พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า  เมื่อรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  เกิดขึ้น  ดำรงอยู่  อุบัติปรากฏอยู่  ทุกข์ก็เกิดขึ้น  โรคก็ดำรงอยู่  ชราและมรณะก็ปรากฏ  ส่วนความดับ  ความสงบระงับ  ความไม่ดำรงอยู่แห่งขันธ์ ๕  เป็นความดับทุกข์  เป็นความสงบระงับโรค  เป็นความดำรงอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ
(คำว่าขันธ์ ๕ ใน นี้  หมายถึงแต่ละขันธ์  เมื่อเกิดขึ้น  ก็หมายถึงทุกข์เกิด  ไม่ใช่ขันธ์ทั้ง ๕  เกิดพร้อมกัน  ทุกข์จึงเกิด)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15086 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 15:25:33 »



ขันธ์ ๕ คือทุกข์  ตัณหาคือเหตุแห่งทุกข์

สาวัตถี

พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายเรื่องทุกข์และเหตุเกิดแห่งทุกข์ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย! ทุกข์คืออะไร?  ทุกข์คือรูป  ทุกข์เวทนา  ทุกข์คือสัญญา  ทุกข์คือสังขาร  ทุกข์คือวิญญาณ  นี้เรียกว่าทุกข์"

"ภิกษุทั้งหลาย! มูลเหตุแห่งทุกข์(อฆมูลํ) คืออะไร?  คือตัณหา  ซึ่งนำให้เกิดในภพใหม่  ซึ่งประกอบด้วยความรักใคร่ยินดี  ซึ่งติดใจเพลินในภพหรืออารมณ์นั้นๆ  อันได้แก่  กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา  นี้เรียกว่า  มูลเหตุแห่งทุกข์"
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15087 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 15:28:53 »



ขันธ์ ๕ เป็นสิ่งต้องดับสลาย

สาวัตถี

พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย เรื่องสิ่งดับสลายและสิ่งที่ไม่ดับสลายว่า รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  คือสิ่งที่ต้องดับสลาย(ปภงฺคุ) ความดับ  ความสงบระงับ  ความดำรงอยู่ไม่ได้แห่งรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  คือภาวะที่ไม่ดับสลาย(อปฺปภงฺคุ)
(คำว่า  ดับสลายใน นี้  หมายถึงความไม่เที่ยง  ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15088 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 17:38:06 »



๑๒ สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อคำเขียน  สุวัณโณ

"คน มันหลง คือหลงอยู่ในความคิดของตนเอง เป็นทาสของความคิด"

"เห็น  ไม่เป็นอะไร กับอะไร?"
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15089 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 18:11:33 »



ระลึกถึงหลวงพ่อคำเขียน  สุวัณโณ

ท่อน้ำทางธรรมที่เคยตีบตัน  ท่านก็เป็นผู้ทะลวงให้ จนเห็นธรรมนั้น

ธรรม คือสภาวะที่เกิดขึ้นกับรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่ใช่สัตว์  บุคคล  ตัวตน เรา เขา เป็นเพียงธรรม ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นปรมัตถ์ธรรม เกิด-ดับ ตลอดเวลา เมื่อระลึกได้ ก็จะทราบได้ เกิด-ดับของธรรมนั้น  ไม่หลงอยู่ในทิฐิ

ธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15090 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 18:14:27 »



ขอหันหลังให้กับทางเดินทั่วไป ขอเลือกทางสายเอก คือ"สติปัฏฐาน ๔ และมรรคมีองค์ ๘ ในการดำรงค์ชีวิตที่เหลืออยู่"

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15091 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 18:15:55 »


ปฏิบัติธรรม  รำลึกถึงหลวงพ่อคำเขียน  สุวัณโณ วันนี้เป็นวันเกิดของหลวงพ่อคำเขียน  สุวัณโณ

อนุธัมมสูตร

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คืออย่างไร ?

สาวัตถี

ใน ๔ พระสูตร คือ ปฐมอนุธัมมสูตร  ทุติยอนุธัมมสูตร  ตติยอนุธัมมสูตร  จตุตถอนุธัมมสูตร  พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายด้วยเรื่องธัมมานุธัมมปฏิบัติ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15092 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 18:16:45 »


วัดป่าสุคะโต ปฏิบัติธรรมระลึกถึงวันเกิดของหลวงพ่อคำเขียน  สุวัณโณ

ปฐมอนุธัมมสูตร

ตรัสสอนว่า "ปฏิบัติธรรมสมควรแด่ธรรม  ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือเป็นผู้มากด้วยนิพพิทา(หน่าย, หายติด)ในรูป  ในเวทนา  ในสัญญา  ในสังขาร  ในวิญญาณ  เมื่อมากด้วยนิพพิทา(อย่างนั้น)  ย่อมกำหนดรู้(ปริชานาติ)ขันธ์ ๕  เมื่อกำหนดรู้ขันธ์ ๕  ย่อมหลุดพ้นจากขันธ์ ๕  ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส  รวมเรียกว่าหลุดพ้นจากทุกข์"
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15093 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 18:40:06 »



เดินจงกรม เอาจิตมาตั้งที่ฐานกาย(คือการเดิน) เมื่อจิต ยึดเกาะได้ จะปราศจากการคิด จะเห็นธรรมที่เกิดขึ้นกับรูป-นาม มันเกิด-ดับ ตลอดเวลา เห็นเฉย ๆ

ทุติยอนุธัมมสูตร

ตรัสสอนว่า "ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม  ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ เป็นผู้พิจารณาเห็น(อนุปสฺสี)ความไม่เที่ยงในขันธ์ ๕ เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในขันธ์ ๕ ย่อมกำหนดรู้ขันธ์ ๕  เมื่อกำหนดรู้ขันธ์ ๕  ย่อมหลุดพ้น..."
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15094 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 18:48:17 »



เมื่อจิตอยู่กับกรรมฐานกาย(การเดิน) จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้นกับรูป-นาม

ตติยอนุธัมมสูตร

ตรัสสอนว่า "ผู้ปฏิบัตรธรรมสมควรแก่ธรรม  ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ เป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในขันธ์ ๕  เมื่อพิจทรณาเห็นทุกข์ในขันธ์ ๕  ย่อมกำหนดรู้ขันธ์ ๕  เมื่อกำหนดรู้ขันธ์ ๕  ย่อมหลุดพ้น..."
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15095 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 18:52:01 »



จตุตถอนุธัมมสูตร

ตรัสสอนว่า "ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม  ย่อมมีธรรมอันเหมาะสม คือ เป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในขันธ์ ๕  เมื่อพิจารณาเห็นอนัตตาในขันธ์ ๕  ย่อมกำหนดรู้ขันธ์ ๕  เมื่อกำหนดรู้ขันธ์ ๕  ย่อมหลุดพ้น..."
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15096 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 18:55:51 »



การปฏิบัติในความหมายของ "ธัมมานุธัมมปฏิบัติ" หมายถึงประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องตั้งแต่ต้น คือตั้งแต่ให้ทาน  รักษาศีล  เจริญสติจนเป็นสมาธิ  ซึ่งจะนำไปสู่มรรคผลนิพพาน(โลกุตรธรรม) ธรรมอันถูกต้องเหมาะสม อย่างนี้  เรียกว่าอนุธรรม  คือธรรมคล้อยตามโลกุตรธรรม  เพราะฉะนั้น  คำว่าธัมมานุธัมมปฏิบัติ จึงหมายถึงการปฏิบัติธรรมถูกหลัก

 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #15097 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2558, 20:30:33 »

พี่สิงห์ครับ

ได้ข่าวมาว่า พี่ปิ้งจะจัดทัวร์หลวงพระบาง
ในช่วงวันพ่อ หรือวันรัฐธรรมนูญ ปลายปีนี้ครับ
เห็นว่าอยู่ในช่วงเซอร์เวย์เส้นทางและสถานที่ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15098 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2558, 09:30:54 »



สวัสดี ทุกท่านครับ

ญาติ ส่งภาพนี้มาให้ เกิดปิติ ที่ลูก ๆ กลับมาเยี่ยมแม่ คือพี่น้อม ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ เบาหวาน หัวใจ ความดัน ช่วยตัวเองไม่ได้เลยมาไม่ต่ำกว่าห้าปี พี่สิงห์  ได้บอกทุกคนว่า การดูแลแม่ ที่เจ็บป่วยมีอานิสสงมาก  อย่าทอดทิ้งท่าน

ขอบคุณมากครับ คุณเหยง  
พี่สิงห์  รู้มาก่อนแล้ว เขาจะให้พี่สิงห์  ช่วยจัดให้ด้วยซ้ำ  แต่ก็ปฏิเสธ ไปแล้ว เพราะการไปท่องเที่ยวนั้น มันเป็นผัสสาหาร ที่จิตมันชอบ เดี๋ยวนี้ มันเกิดความเบื่อหน่าย ไม่สนุกสนานเลย เห็นแต่ทุกข์ ปฏิเสธการท่องเที่ยวต่าง ๆ มาสองปีแล้ว  ไม่ไปไหนเลย จนพวก SIW เขาโกรธ เพราะเขาเชิญให้ไปญี่ปุ่น  เยอรมันมาสองปี และปีนี้ก็เชิญไปเบนเยี่ยม ฝรั่งเศษ  ก็ปฏิเสธทั้งหมด  ในประเทศไทยก็ไม่ได้ไปไหน นอกจากไปทำงานครับ

สวัสดี



ไทยชนะเปรู 3:1 เซต
แพ้จีน 1:3 เซต
พรุ่งนี้พบญี่ปุ่น วอลเล่ย์บอลล์ อายุไม่เกิน 23 ปี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #15099 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2558, 12:58:11 »



สวัสดี ทุกท่านครับ

วันนี้วันพระแรม ๑๕ ค่ำ

พี่สิงห์  มาทำบุญรักษาอุโบสถย์ศีล  ที่วัดพระนอน  ออกจากบ้านตี ๔ กว่า ๆ มาถึงวัดหกโมงครึ่ง  กลับบ้าน กทม. ภายหลังจากสวดมนต์ทำวัตรเย็นเสร็จ คงถึงประมาณ หนึ่งทุ่ม

พรุ่งนี้ต้องเดินทางไปทำงานที่นครศรีธรรมราช และตอนเย็นต้องแวะไปร่วมงานศพ คุณแม่แก้ว  กลับดี ที่ช้างกลาง อำเภอลานสกา นครศรีธรรมรสช และกลับบ้าน กทม.

มนุษย์ส่วนมาก ตามหาจิตตนเองไม่พบ เพราะคิดว่าจิตนั้นก็คือตนเอง มันจึงไม่พบ

ลองหาจิตท่านให้พบซิครับ !

แล้วท่านจะเห็นพฤติกรรมของจิตมนุษย์ เห็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นกับรูป-นามของท่าน ล้วนเกิดขึ้น ดีบไป ตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามกฏพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 602 603 [604] 605 606 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><