18 พฤษภาคม 2567, 12:37:05
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: 20,000 ล้าน - 3G - TOT  (อ่าน 3508 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« เมื่อ: 14 ธันวาคม 2552, 10:36:53 »

บางทีอาจจะสายเกินไปแล้วสำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นกับการพัฒนาบนเทคโนโลยียุคที่ 3 หรือ 3G หรือมาตรฐาน “ IMT – 2000 ” ตามแนวคิดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งได้กำหนดไว้ตั้งแต่ก่อน ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) และอาจทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียทรัพยากรโทรคมนาคมที่มีมูลค่ามหาศาล โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ของคลื่นความถี่ในสเป็คตรัมที่ได้กำหนดไว้ใช้สำหรับ กิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคใหม่อย่างคุ้มค่า ด้วยการนำเทคโนโลยีที่กำลังล้าสมัยลงอย่างรวดเร็วมาเริ่มใช้งานใน 1 – 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงจะต้องนำเข้าเครื่องอุปกรณ์โครงข่าย เครื่องลูกข่าย และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆจากต่างประเทศ รวมกันมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท

บทความทางวิชาการที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆต่อหน่วยงานหรือองค์กรที่ผู้เขียนปฏิบัติงานให้และ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยกับผู้เขียนเสมอไป สำหรับบริษัทและหน่วยงานต่างๆที่อาจมีการอ้างถึงนั้น เป็นเพียงเพื่อยกตัวอย่างให้ผู้อ่านได้เห็นสภาพที่แท้จริงของตลาดและสภาพการ แข่งขันของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทยเท่านั้น – พันธ์ศักดิ์ ศรีทรัพย์

อะไร คือสาเหตุที่ทำให้ต้องนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นให้ต้องเขียนบทความ (ซึ่งคาดว่าจะเป็นหลายตอนจบ) ครั้งนี้

ผู้เขียนขอตั้งคำถามง่ายๆเพียงไม่กี่ข้อเป็นตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง (และผู้มีอำนาจ หน้าที่) ได้มีโอกาสคิดทบทวนทีละข้ออย่างช้าๆและรอบคอบ ก่อนที่เรากำลังจะถลำเข้าไปติดกับดักของเทคโนโลยีและสภาพตลาดในประเทศที่ยัง ไม่เอื้อประโยชน์ให้คงความคิดเดิมๆที่จะมุ่งพัฒนาสู่ 3G เท่านั้น รวมทั้งประสิทธิภาพของบริการที่ผู้ใช้บริการควรจะได้รับจากอัตราค่าบริการ ที่จะต้องเพิ่มขึ้น ดังนี้

1. เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นลำดับ และแต่ละยุคมีระยะเวลาโดยเฉลี่ยไม่เกิน 10 ปีจะถูกพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปสู่ยุคใหม่ เช่น การพัฒนาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบแอนะล็อก (1G) เป็นระบบดิจิตอล (2G)  การพัฒนาจากระบบ 2G ไปเป็น 3G เพื่อรองรับการใช้งานด้านการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูงและบริการโมบายล์ บรอดแบนด์ (mobile broadband)

ขณะนี้การพัฒนาเทคโนโลยีได้ก้าวเข้าสู่ยุค beyond 3G หรือ 4G ที่ค่อนข้างสมบูรณ์และพร้อมเปิดใช้งานเชิงพาณิชย์แล้ว บรรดาผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลกจำนวนไม่น้อยได้ทยอยเปิดให้บริการ แล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา  บางประเทศในยุโรป และหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียกำลังจะเริ่มเปิดใช้งานเชิงพาณิชย์หลังจากได้ เสร็จสิ้นการทดสอบไปแล้ว (เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี)



      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #1 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2552, 10:40:16 »

2. เทคโนโลยีไวแมกซ์ (WiMAX) กำลังเข้ามาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ 3G ด้วยแนวความคิดที่ต้องการพัฒนาระบบสื่อสารที่สามารถเข้าถึงด้วยเทคนิคของการ สื่อสารแบบไมโครเวฟ (microwave) ที่ใช้งานร่วมกันได้ทั่วโลก (Worldwide Interoperability for Microwave Access) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่อว่า “ไวแมกซ์” (WiMAX)

ไวแมกซ์เป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ถูกพัฒนาขึ้นมาพร้อมๆกับ การพัฒนา 3G มีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ (ประมาณ 50 กิโลเมตร) ซึ่งหมายความว่า ไวแมกซ์สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่า 3G มากถึง 10 เท่าตัว และยิ่งกว่านั้นยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)  รวมทั้งข้อมูลล่าสุดในการพัฒนาเทคโนโลยีสู่ “ไวแมกซ์ยุคใหม่” (Next Generation WiMAX) ในภาคสนาม ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ปรากฏว่ามีความสามารถในด้านต่างๆไม่ด้อยกว่า  3.5G หรือเข้าใกล้เทคโนโลยี 4G

3. ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นบ้างแล้วว่า การพัฒนาเทคโนโลยี 3G ได้ล่วงเลยมานานแล้ว โดยได้เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) หรือเกือบ 10 ปีมาแล้วตามกรอบของการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผ่านมา และ ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) จะเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของเทคโนโลยีและมาตรฐานใหม่ตามแนวคิดของสหภาพโทร คมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) นั่นคือ “IMT-Advanced” เต็มรูปแบบ

จากสภาพตลาดที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงผนวกกับความก้าวหน้าของการพัฒนา เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถพัฒนาได้ทันกับความต้องการของการสื่อสาร โทรคมนาคม เป็นตัวผลักดันที่สำคัญต่อบรรดาผู้พัฒนาและผู้ผลิต ได้เริ่มทยอยนำเครื่องอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยี 4G ออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2547 และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ทั่วโลกจำนวนมากได้เริ่มเปิดให้ บริการเชิงพาณิชย์ด้วยเทคโนโลยี 4Gแล้ว ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานโมบายล์ บรอดแบนด์ และบริการต่างๆตามไลฟ์ สไตล์ของตนเอง

4. ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภาคเอกชนของประเทศ ให้บริการภายใต้สัญญาสัมปทานกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะ B-T-O (ลงทุนสร้าง – ส่งมอบให้เป็นทรัพย์สินของรัฐ – และได้รับสิทธิ์ในการนำไปให้บริการ) ซึ่งยังคงเหลือระยะเวลาอีกอย่างน้อยรายละตั้งแต่ 4 – 8 ปี ดังนั้นบรรดาเครื่องอุปกรณ์โครงข่าย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ภาคเอกชนลงทุนไปทั้งหมดจะเป็นของรัฐ ยกเว้นในส่วนที่เป็น “ฐานลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ” ที่ยังไม่มีความชัดเจนทางกฎหมายหรือสัญญา ว่าควรจะเป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชนที่เป็นผู้ให้บริการภาย หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และหากหน่วยงานของรัฐจะถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของด้วยนั้น จะสามารถทำได้เพียงใดในเมื่อผู้ใช้บริการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและติดต่อโดย ตรงกับผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งบทพิสูจน์ในเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นแล้วกับกรณีของบริษัท กิจการร่วมค้าไทยโมบายล์ ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การกำกับดูแลของรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคมรายใหญ่และรายเดิม ของประเทศ 2 ราย ที่ก่อนหยุดให้บริการมีจำนวนผู้ใช้บริการไม่ถึง 30,000 รายจากที่เคยมีสูงสุดไม่เกิน 100,000 ราย

5. หากผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ให้บริการ 2G ภายใต้สัญญาสัมปทานฯ เลือกที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาต (ซึ่งจะเป็นใบอนุญาตของตนเองและไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่หน่วยงานของ รัฐ) และลงทุนให้บริการ 3G แยกต่างหาก ซึ่งแน่นอนไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะคิดได้ว่า หมายถึง เกิดการถ่ายโอนผู้บริหารระดับสูง ผู้ปฏิบัติงานและพนักงานที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในธุรกิจ โทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ต่ำกว่า 10 ปี ไปยังบริษัทใหม่ และ(อาจ)ปล่อยให้การให้บริการที่มีอยู่เดิมเป็นไปตามยถากรรม (เนื่องจากการดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่นั้นจะมีระยะคืนทุนและ สร้างผลกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ตั้งแต่ประมาณปีที่ 7 เป็นต้นไป ขณะนี้หลายรายได้ผ่านช่วงเวลาเริ่มสร้างผลกำไรมาไม่น้อยกว่า 10 ปี) ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องลงทุนพัฒนา 3G ภายใต้สัญญาสัมปทานฯและทรัพย์สินต้องตกเป็นของรัฐ ซึ่งเรื่องนี้เห็นได้ชัดจากการที่ผู้ประกอบการภาคเอกชนเลือกที่จะพัฒนา บริการด้วยเทคโนโลยีที่สูงกว่า 2G ในรูปแบบ in-band migration เพียงเพื่อรักษาฐานลูกค้าของตนเท่านั้น หากเป็นเช่นนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น




6. การลงทุนสร้างโครงข่ายและให้บริการ 3G ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้เต็มความสามารถนั้น จำเป็นต้องลงทุนสร้างโครงข่ายบนแพลตฟอร์ม (platform) ใหม่ และถึงแม้อาจจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกบางส่วนที่สามารถใช้ของที่มีอยู่เดิมได้ บ้างก็ตาม แต่ต้นทุนที่จะต้องลงทุนแต่ละบริษัท มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท ในขณะที่ยังต้องรับภาระการซ่อมบำรุงในส่วนที่เป็นการให้บริการ 2G พร้อมกันไปด้วย ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจถดถอยในขณะนี้ ทั้งนี้ยังไม่นับค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนเพื่อการประมูลคลื่นความถี่และใบ อนุญาต ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท  

7. ด้านผู้ใช้บริการที่เคยใช้บริการด้วยเทคโนโลยี 2G มีความพร้อมเพียงใด และมีจำนวนเท่าใดที่ยินดีจะย้ายไปใช้บริการด้วยเทคโนโลยี 3G ซึ่งแม้จะทันสมัยกว่า แต่แน่นอนว่าจะต้องเสียค่าใช้บริการในอัตราที่สูงขึ้นตามบริการเสริม (Value Added Service) รายบริการที่เลือกใช้ ซึ่งสวนทางกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และสภาพการแข่งขันและตลาดปัจจุบันที่ผู้ประกอบการภาคเอกชนพยายามปรับลดอัตรา ค่าบริการลง รวมทั้งนำเสนออัตราค่าบริการเป็นพิเศษตามกลุ่มเป้าหมาย

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ที่ผู้เขียนหวังว่าอาจจะเป็นปัจจัยหรือข้อมูลส่วนหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้ประกอบการรายเดิมที่ให้บริการ 2G และผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาด รวมถึงผู้ให้บริการที่เป็นหน่วยงานภาครัฐคือ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ได้ตระหนักและขบคิดอย่างถี่ถ้วนก่อนที่ประเทศชาติจะต้องเสียเงินตราต่าง ประเทศเป็นจำนวนมหาศาล รวมทั้งผู้ใช้บริการจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องลูกข่าย (เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่) เครื่องใหม่จากเดิมที่ใช้งานสำหรับ 2G ไปเป็น 3G เกือบทุกราย (จำนวนมากกว่า 60 ล้านเครื่อง) รวมทั้งเกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องโทรศัพท์ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์ต่อร่วม อีกมากมาย


ผู้เขียน – พันธ์ศักดิ์ ศรีทรัพย์
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #2 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2552, 10:45:41 »

ระนองรักษ์ไฟเขียว 3G ทีโอที ไม่แคร์ ครม.เศรษฐกิจเบรค
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 10 พ.ย. 52

รมว.ไอซีที เดินหน้า3จี ทีโอที ยึดมติครม.ปี51แจงไม่ทำทำไรเพิ่มนอกจากลดงบจาก2.9 หมื่นล. เหลือ 2 หมื่นล.ระบุผู้ใหญ่ในครม.เศรษฐกิจ มีสิทธิ์ตั้งข้อสังเกตได้...

ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า กระทรวงฯ ติดตามการพัฒนาโครงข่าย3จี มาตั้งแต่ ปี2551 ยุคที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี และไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยตั้งงบประมาณครั้งแรกจำนวน 2.9 หมื่นล้านบาท ก่อนที่ปัจจุบบันจะทำเรื่องดังกล่าวเสนอเข้า ครม.ยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยลดงบประมาณลงเหลือเพียง 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากทั่วโลกมี 3จีใช้งานแล้ว ทำให้อุปกรณ์ราคาถูกลง

รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า ขณะที่ สำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ออกมาเปิดประมูลใบอนุญาตบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่3 หรือ 3จี ทำให้เกิดความสับสน จึงต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และบริษัท ทีโอที ในฐานะรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย อีกทั้ง กทช.เคยรับฟังความคิดเห็นแล้วพบว่า เกิดผลกระทบหลายด้าน อาทิ กีดกันรัฐวิสาหกิจไม่ให้ประมูล และเปิดเสรีให้ต่างชาติเข้าร่วมประมูล  

ร.ต.หญิงระนองรักษ์ กล่าวอีกว่า หลังนำเรื่อง กทช.จะออกใบอนุญาต 4 ใบ เข้าครม.เศรษฐกิจ โดยให้ กระทรวงฯ ประเมินความเสี่ยง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ กสท และทีโอที นั้น พบว่า มี 4 เรื่อง คือ 1.การแข่งขัน ที่จะทวีคูณมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการจะแย่งชิงลูกค้า ส่งผลกระทบให้ประเทศไทยล่าช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน 2.ความมั่นคง ถ้าเป็นบริษัทต่างชาติ ประเทศไทยจะขอความร่วมมือลำบาก อีกทั้ง ข้อมูลภายในประเทศจะรั่วไหล 3.สัญญา ร่วมการงาน เกิดข้อสงสัยว่านำทรัพย์สินของรัฐไปใช้ได้หรือไม่ ด้านรายได้ เกิดกรณีพิพาทรัฐ และเอกชน และ 4.การเงิน โดยการถ่ายโอนลูกค้า ที่อาจทำให้ส่วนแบ่งรายได้หายไป ทั้งนี้ ได้วิเคราะห์ และดูความคิดเห็นของกระทรวงการคลังประกอบด้วย  

รมว.ไอซีที กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ กระทรวงฯ อยู่ระหว่างดำเนินการของ 3จี บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยยืนยันว่า ไม่ได้ล้วงลูกรัฐวิสาหกิจ และไม่ล้มเลิก 3จี แน่นอน เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ต้องมาใช้พัฒนาประเทศ ส่วนกรณีผู้ใหญ่บางคนในคณะรัฐมนตรี หรือครม.ออกมาตั้งข้อสงสัย ว่ามี3 จี เพื่ออะไรนั้น มองว่าทุกคนมีสิทธิ์ตั้งข้อสังเกตได้ ขณะที่ การเริ่มกู้เงินต้องรอดูแผนธุรกิจของทีโอทีก่อน

“กระทรวงฯ ทำตามมติ ครม. ตั้งแต่ปี 2551 และไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือจาก ครม. นอกจากลดต้นทุนลงจากเดิม 2.9 หมื่นล้านบาท เหลือเพียง 2 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม กระทรวงฯไม่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับ ครม.เศรษฐกิจ เนื่องจาก ครม.เศรษฐกิจมีสิทธิ์ตั้งข้อสังเกตได้” ร.ต.หญิงระนองรักษ์ กล่าว

นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของการดำเนินการ 3จี ต้องรอจากกระทรวงฯ ขณะที่ โครงสร้างเงื่นไขการประมูล หรือทีโออาร์ ภาษาอังกฤษเสร็จแล้ว และส่งให้คณะกรรมการ หรือบอร์ด รัฐวิสาหกิจดูว่าเป็นไปตามประมูลหรือไม่ เพื่อความโปร่งใสสำหรับแผนธุรกิจ เป็นความลับบางครั้งไม่สามารถเปิดเผยได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การเริ่มกู้เงินเงิน 2 หมื่นล้านบาทนั้น ต้องรอดูสัญญาณจาก รมว.ไอซีทีก่อน

      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><