29 มีนาคม 2567, 02:34:23
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำทานได้บุญมั้ยค่ะ ทำบุญเลือกต้องเลือกพระหรือเปล่า  (อ่าน 5396 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปุจฉา
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 69

« เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2550, 08:49:27 »

ดิฉันชอบให้ทานกับขอทาน  คนแขนขาด ตาบอด  รู้สึกได้ช่วยเหลือเขา  แต่ชักจะเริ่มไม่ชอบใจเลยที่เห็นขอทานมีเครือข่าย  มีมือถือ และรายได้เป็นกอบเป็นกำ ตามหน้าหนังสือพิมพ์  ไม่รู้เราถูกหลอกหรือเปล่า  สนับสนุนไม่ให้เขาช่วยเหลือตัวเองหรือเปล่า
ควรจะคิดอย่างไรกับสังคมอย่างนี้

แต่ทำบุญกับพระ ที่เวียนเทียน เหมือนฮั้วกับแม่ค้าขายกับข้าวหน้าตลาด  ไม่ค่อยศรัทธาเลย

ทำบุญต้องเลือกพระอย่างไร  จึงจะรู้ว่าทำบุญกับพระดี ( ไม่ใช่คนที่อาศัยผ้าเหลือง)

ต้องขอโทษท่านด้วย  เพราะส่วนใหญ่มีแต่ธรรมะสูงๆ ให้อ่าน  ให้ศึกษา  อ่านแล้วไม่เข้าใจ

สิ่งที่สงสัยนี้ไม่รู้จะหาคำตอบจากไหน   ไม่ค่อยมีใครอธิบาย มีแต่เรื่องจิต  ภาวนา

สมาธิ..วิมุตตฯลฯ......ขอบคุณท่านค่ะ


 :idea:  ............. :arrow: ...ขอวิสัชนาที่นี่เพื่อความต่อเนื่องของการถาม-ตอบ..................................

วิสัชนา..............เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐

สังคมสมัยนี้มีทั้งของจริงของปลอม ขอทานก็มีจริงมีปลอม พระก็มีจริงมีปลอม

ในทางปฏิบัติ..ยากที่จะแยกเยอะว่าคนไหนจริง คนไหนปลอม

ดังนั้น..เมื่อไม่สบโอกาสที่จะแยกเยอะระหว่างของจริงกับของปลอม

เราก็ให้ช่วยเหลือเขาด้วยใจที่บริสุทธิ์ คิดว่าเขาจนจริงๆ ขัดสนจริงๆ


จุดประสงค์ของการทำทาน...เพื่อให้เรามีเมตตา ลดละความเห็นแก่ตัว นึกถึงเพื่อนมนุษย์ที่ตกยาก

พระพุทธเจ้าก็กำเนิดขึ้นมาจากจุดนี้ จากความรู้สึกที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น ผู้ที่ทุกข์ยากลำบาก

หากความรู้สึกเมตตาเกิดขึ้นในใจของเรา นั่นก็ถือว่าการทำทานนั้นเราได้รับประโยชน์แล้ว

ส่วนคนที่รับความช่วยเหลือจากเราไปนั้น จะไปทำอะไร..ที่ไหน นั่นก็เป็นเรื่องของเขา

เรื่องของเรามันสำเร็จประโยชน์แล้ว เรื่องของคนอื่นก็ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของเขาไป

บางทีเราเห็นสุนัขจรจัดข้างถนน อด หิว โซ เราอุตส่าห์ซื้อข้าวไปให้มันกิน

พอมันมีแรงขึ้นมา ก็เที่ยวไปไล่กัดคนในซอย ..อย่างนี้ก็มีนะ

ให้ข้าวเขากินแล้วก็แล้วกันไปเถอะ หลังจากนั้นก็ให้เป็นเรื่องของสุนัข ไม่ใช่เรื่องของเรา

ความสงสาร..ความเมตตาที่เกิดขึ้นในใจของเรา นั่น...คือความดีงาม

แม้ว่าขอทานที่เราสงเคราะห์ สุนัขที่เราช่วย จะไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง

แต่ความดีก็ยังคงเป็นความดี ไม่ได้เสียหายไปกับการกระทำของคนอื่นหรอก
l

ถ้าไม่มีผู้ขอก็ไม่มีผู้ให้ .......... ผู้ให้จะไปให้ใคร......... ถ้าไม่มีใครขอ

ทานของเราจะมีประโยชน์อะไร ........... ถ้าไม่มีใครต้องการ.......



คิดซะว่า...ถ้าไม่มีใครสงเคราะห์เขา เดี๋ยวเขาไปปล้นบ้านคนอื่น..มันยิ่งแย่กว่านี้

การจะเลือกพระดีเพื่อที่จะทำบุญนั้น อันนี้ต้องอาศัยการเกี่ยวข้อง ไปมาหาสู่กัน

ถ้าอย่างประเภทเจอกันตามตลาดเวลาใส่บาตร อันนี้ดูยากว่าพระจริงพระปลอม พระดีพระเก๊

เอาเป็นว่า...การทำทานช่วยเหลือคนอื่น ทำเพื่อให้จิตใจของเรามีความเมตตา

ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ถ้าไม่ทำอย่างนี้แล้ว ความเมตตาจะเกิดขึ้นในใจของเราได้อย่างไร

ใจที่มีแต่ความเห็นแก่ตัว ใจที่มีแต่ความตระหนี่ ใจนั้นไม่มีความสุขเลย

สรุปแล้ว..ถ้ารู้แน่ว่าของปลอม อันนี้ก็อย่าไปทำ อย่าไปยุ่ง

แต่ถ้าไม่รู้..ก็ช่างมันเถอะ คิดซะว่าทำเพื่อฝึกจิตใจของเราให้มีความเมตตา ให้เรามีความสุข

เมื่อไรก็ตามที่ทำทานไปแล้วรู้สึกว่าใจไม่สบาย (เพราะรู้ทีหลังว่าโดนหลอก)

ก็ให้กลับมาทบทวนถึงจุดประสงค์ของการทำทาน ว่าเราทำเพื่ออะไร...
บันทึกการเข้า

คนที่เข้มแข็งที่สุดก็ยังมีนาทีที่น้ำตาไหลริน
ปุจฉา
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 69

« ตอบ #1 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2550, 15:57:31 »

:arrow:  :arrow: ขออนุญาตเปิดกระทู้ใหม่เพื่อความต่อเนื่องในการถาม-ตอบ

ขอเพิ่มคำถามในเรื่องคล้ายๆ กันนี่แหละค่ะ
แม่สามีดิฉันเป็นคนทำบุญเอาหน้ามากๆ ค่ะ
แกไม่เคยรู้เลยว่าการทำบุญนั้น ไม่มีแค่การทำทานอย่างเดียว
แกไม่เคยอ่านบุญกรืริยา 10 ประการแต่อย่างใด
แกทุ่มเงินเพื่ออามิสทานอย่างเดียว
โดยไม่สนใจว่าลูกเต้าจะเอาเงินที่ไหนมาให้แกทำบุญได้มากๆ
ตามที่แกไปรับปากพระท่านเอาไว้
พอบอกว่า ทำมากขนาดน้นไม่ได้ แกก็โกรธ หาว่า ไม่รักษาหน้าแก แกจะเสียศักดิ์ศรี
ก็เลยจำจะต้องยมอทำตามทีแกบอกทุกครั้ง อยากดัดนิสัยแกก็อยากทำ
แต่ลึกๆ ก็สงสาร แถมจะเป็นการไปขัดขวางคนตั้งใจจะทำบุญทำกุศล

เคยพยายามบอกแกว่า การทำบุญนั้น ไม่ได้ทำแบบนี้อย่างเดียว
ทานก็มีตั้งหลายแบบ อามิสทาน ธรรมทาน อภัยทาน ก็ทำไปมั่งสิ
ซึ่ง 2 อย่างหลังไม่เห็นเคยทำเลย
แถมการรักษาศีลก็เป็นการทำบุญ
และที่สำคัญ การสวดมนต์ภาวนาชำระจิตใจให้ผ่องใสน่ะ ก็เป็นการทำบุญที่อานิสงส์มากจะตาย

แกก็ไม่เคยเปิดใจรับเลย แกพูดอยู่คำเดียวว่าแกอาบน้ำร้อนมาก่อน
แกอยู่มาจนเลี้ยงสามีดิฉันโตได้ขนาดนี้แกรู้หมดแล้ว
แต่ความจริง แกยังเป็นกบเฒ่านั่งเฝ้ากอบัว
นั่งอยู่ใต้ดอกบัวแต่มองไม่เห็นความงามของมันอยู่เลยค่ะ

แกปิดประตูแห่งการเรียนรู้ทุกบาน ไม่รับรู้อไรอื่นทั้งสิ้น นอกจากว่า ทำบุญต้องทุ่มเงิน
หน้าตาต้องมาก่อน สักดิ์ศรีเป้นสิ่งที่จะต้องรักษา ถึงมีเงินก็ซื้อคืนทีหลังไม่ได้
ซึ่งความจริงดิฉันก็อาจจะไม่เดือดร้อนหากการที่แกไม่เปิดใจนั้นไม่มากระทบดิฉัน

แต่นี่มันเป็นลูกโซ่มากค่ะ เพราะการทำบุญเกินตัวเพื่อรักษาหน้าของแก
ส่งผลต่อภาวะการเงินในครอบครัวดิฉันเป็นอย่างมากค่ะ

พระอาจารย์จะกรุณาช่วยชี้ทางสว่างให้อย่างไรได้บ้างไหมค่ะ
มันทำให้จิตดิฉันขุ่นมัวอยู่บ่อยเหลือเกินค่ะ

ขอกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาบุญกับท่านด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า

คนที่เข้มแข็งที่สุดก็ยังมีนาทีที่น้ำตาไหลริน
ปุจฉา
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 69

« ตอบ #2 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2550, 13:43:03 »

ลองอ่านกันดูไปพลาง ๆ ก่อนนะคะ  ไปค้นคว้าคำถามคำตอบ จากผู้รู้มาให้พิจารณากันค่ะ  และถ้าอยากได้คำอธิบายแบบนี้ให้เข้าไปอ่านใน หนังสือเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว ของดังตฤณ WWW.DUNGTRIN.COM  และถ้าสงสัยอะไรแบบนี้จะช่วยไปค้นคว้ามาให้ก็ได้ค่ะยินดีอย่างยิ่ง
เพราะการศึกษาเรื่องกรรมวิบากนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งของชาวพุทธที่ดีค่ะ และจะพัฒนาไปสู่ความดีงามต่าง ๆ อย่างมากมาย ของตนที่จะได้รับในอนาคต  หากเข้าใจหลักของกรรมวิบาก

         ถ้าเชื่อเรื่องกรรมวิบาก   ก็เท่ากับเลิกเชื่อความบังเอิญ   หันมาเชื่อในเหตุผล   เมื่อเชื่อว่าทุกสิ่งที่กำลังเห็นคือผลของเหตุ   ก็ต้องเชื่อว่าทุกสิ่งที่กำลังทำ คือเหตุของผล  (ดังตฤณ)



 ถาม – ทำไมทำบุญกับพระดีแล้วถึงได้ผลใหญ่ครับ? เหมือนกับต้องลำเอียงหรือเจาะจงเลือกพระเสียก่อนถึงจะน่าทำทาน รู้สึกไม่ค่อยดีนัก แบบว่าโลภๆอย่างไรไม่รู้ อีกอย่างพระดีสมัยนี้ไม่ใช่หากันง่ายๆ ถ้าเกิดอยากทำบุญกับพระดีขึ้นมาจะให้ไปที่ไหนได้?

คล้ายกับเราตีฆ้อง เราใส่แรงตีไปเท่ากัน แต่ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลางของฆ้องกว้างขึ้น เสียงก็จะดังขึ้น นี่เป็นเรื่องของธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะตัดสินได้จากความชอบใจของเราเอง ว่าเพื่อความยุติธรรมแล้ว ฆ้องใหญ่ฆ้องเล็กควรตีแล้วดังเท่ากันเสมอไป

คุณเคยสังเกตไหมครับว่าคนตระหนี่ถี่เหนียว หรือชมชอบการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นมากๆนี่ มองด้วยตา สัมผัสด้วยใจแล้วรู้สึกถึงความอึดอัด คับข้อง แคบจำกัด พรรณนาเป็นคำพูดให้หมดจดไม่ถูก แต่คุณก็รู้สึกได้ และนั่นเป็นที่มาของคำว่า ‘คนใจแคบ’ หรือ ‘จิตใจคับแคบ’

ในทางตรงข้าม สำหรับคนเอื้ออารี มีน้ำจิตคิดอนุเคราะห์ผู้อื่นเป็นนิตย์นั้น มองด้วยตา สัมผัสด้วยใจแล้วจะรู้สึกถึงความสบาย โปร่งโล่ง กว้างขวาง รู้สึกได้แต่จาระไนไม่ถูกเช่นกัน นั่นเองเป็นที่มาของคำว่า ‘คนใจกว้าง’ หรือ ‘จิตใจกว้างขวาง’

ถ้าเราทุ่มบุญลงที่คนใจแคบ บุญย่อมไม่ส่งเสียงดังนัก ให้ผลไม่กว้างไกลนัก แต่ถ้าประเคนบุญลงในคนใจกว้าง บุญย่อมส่งเสียงดัง และขยายใหญ่กว้างไพศาลเกินกว่าจะคาดคิดด้วยความรู้สึกธรรมดาๆ

เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น ใจท่านกว้างกว่าคนใจบุญทั่วไป ไหนจะใจใหญ่สละเพศฆราวาสมาอดมื้อกินมื้อ ไหนจะต้องมีจิตที่สะอาดด้วยกรอบของศีลถึง ๒๒๗ ข้อ ไหนจะมีโอกาสผนึกจิตเป็นปึกแผ่นจากการอบรมสมาธิชั้นเลิศ ไหนจะมีวาสนาสูงส่งขนาดพัฒนาปัญญาไปสู่ความพ้นทุกข์พ้นภัย มีใจเป็นเมตตาอันไร้ขอบไร้ประมาณ

ดังนั้น ‘ความจริง’ ที่ไม่อิงความเชื่อของใคร ก็คือทำบุญกับพระดีนั้นได้ผลกว้างจริง อันนี้ขอให้แยกไว้เป็นประเด็นหนึ่ง

แต่ยังมี ‘ความจริง’ อีกประการหนึ่งที่ควรพิจารณาไว้ด้วย นั่นคือ ถ้าเจาะจงทำบุญกับพระเพียงเพราะเห็นว่าจะได้ผลมาก อันนั้นจัดเป็นความละโมบ เป็นความโลภชนิดหนึ่ง ผลที่ได้นั้นอาจไพศาลจริง แต่คุณจะติดนิสัยลงทุนต้องได้กำไร ให้ไปต้องได้คืนมา หรือจะพูดง่ายๆว่าเพาะเชื้องกไว้กับใจ โดยอาศัยพระเป็นที่ตั้งก็ได้

แล้วอย่างนั้นควรทำอย่างไร? ก็ควรจะให้ด้วยความเข้าใจครับ ว่าทำกับพระดีนั้นย่อมได้ผลดี ย่อมมีอานิสงส์เป็นอเนกอนันต์จริง และควรทำให้มากที่สุดเท่าที่โอกาสและฐานะจะเอื้ออำนวยด้วย แต่ขอให้ทำด้วยความเคารพพระ และประสงค์จะให้ท่านอยู่ดีมีสุขเพื่อสืบทอดพระศาสนาต่อไป พูดง่ายๆคือมีจิตอนุเคราะห์ท่านเป็นหลัก ไม่ใช่กะลงทุนเอาผลกำไรคืนเป็นที่ตั้ง อย่างนี้คุณจะไม่รู้สึกผิดหรอกว่าที่ทำกับพระเพราะหวังผลใหญ่ตอบแทน

อีกประการหนึ่ง ถ้าแน่ใจว่าคุณทำทานครบวงจรอยู่แล้ว สัตว์ทั่วไปก็ให้ คนยากคนจน คนชราอนาถาก็ให้ พ่อแม่พี่น้องก็ให้ เพื่อนสนิทมิตรสหายก็ให้ นั่นแสดงว่าน้ำใจคุณกว้างขวางเกินขอบจำกัดคับแคบไปแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วงแล้วว่าอยากทำบุญกับพระหมายถึงกำลังโลภจัด

ส่วนปัญหาที่ว่าจะหาพระดีได้จากไหน ของแบบนี้ต้องทำเหตุที่ตัวเราด้วยครับ ใจเราส่งคลื่นอย่างไร ก็สามารถจูนรับคลื่นทำนองเดียวกันได้อย่างนั้น คุณทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาได้เพียงใด ก็จะมีสัมผัสที่บอกตัวเองได้ว่าพระรูปใดสูงกว่าคุณ พระรูปใดเป็นพระเพียงเครื่องนุ่งห่ม

พระพุทธเจ้าตรัสแนะไว้ข้อหนึ่ง คือควรทำสังฆทานด้วยจิตไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ขอให้อยู่ในวัด ขอให้มีความสำรวมอยู่บ้างเถิด ข้างในท่านจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของท่าน เรื่องของเราคือมีจิตคิดถวายทานแด่หมู่สงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจงก็แล้วกัน กระแสความเป็นหมู่สงฆ์นั่นแหละครับมากพอจะขยายผลให้ใหญ่เกินประมาณในตัวเองอยู่แล้ว คุณยืนหน้าบ้านรอใส่บาตรพระไม่เลือกหน้าก็ถือว่าใช่แล้วครับ ไม่ต้องกังวลด้วยว่าหมู่พระที่เดินผ่านๆหน้าบ้านจะดีหรือไม่ดี รับรองว่าผลใหญ่ที่ได้แน่นอนเป็นอันดับแรกคือใจอันเป็นสุขเบิกบานนั่นเอ
บันทึกการเข้า

คนที่เข้มแข็งที่สุดก็ยังมีนาทีที่น้ำตาไหลริน
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><