28 มีนาคม 2567, 18:18:55
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 13  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิญร่วมท่องเที่ยว "ทริป ไอหมอก ม่านเมฆ แห่งเมืองเชียงตุง"  (อ่าน 153468 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #50 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 08:16:26 »

ช่วงเวลาที่ไปเชียงราย เชียงตุง

  นกแอร์มีลดราคา ชั้นประหยัด ไป กลับ ราคาสองพันหกร้อยบาทครับ
   
  
 
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #51 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 13:44:11 »

ซื้อตํ่วมาแล้วและไปจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว เช่นกัน
ไป-กลับ นกแอร์ รวม 2,689 บวกค่าโอน 32 เป็น 2,721 บาทครับ

ไป    23 ม.ค. เที่ยว 11.15 น.
กลับ 27 ม.ค. เทียว 19.55 น.


      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #52 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 13:45:49 »

กระเป๋า 15 กก. โหลดใต้เครื่อง, กระเป๋าหิ้วขึ้นเครื่อง 7 กก.
หากเกิน 200 บาท/กก.
หาขนมติดมือไปเสริฟตัวเอง, น้ำ-เบียร์ มีขายบนเครื่อง
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #53 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 13:49:01 »

พี่หลั่น

ผมโอนเงินงวดแรก
ผ่าน BBL สาขานครสวรรค์ 281 ไปแล้วนะครับ
เรื่องจัดคู่ ไม่มีคู่ครับ อยู่ห้องไหนกับใครก็ได้ครับ



      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #54 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 13:50:04 »

เอกสาร สำเนา บัตร ปชช และลงชื่อรับรอง 3 ชุด + ภาพอีก 3 บาน จะส่งตามครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #55 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 13:51:58 »

อ้างถึง
ข้อความของ รัตนาพร14 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 20:37:28
พี่ป๋องขา เชิญไปเที่ยวด้วยกันค่ะ
อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 23:46:43
อ้างถึง
ข้อความของ รัตนาพร14 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 20:37:28
พี่ป๋องขา เชิญไปเที่ยวด้วยกันค่ะ
ห่างงานเกินสองวัน เครียดความดันขึ้นตายแน่เลยครับ

ไปหน่อย พี่เขาขอร้องแล้ว
ทิ้งงานสัก 5 วันบ้าง เผื่อสุขภาพและความดันจะดีขึ้น
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #56 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 14:36:24 »

น่าสนใจอีกแล้ว....ท่านอื่นเขียนไว้ แต่ภาพถ่ายเองครับ

ในการปกครองระบบเจ้าฟ้าเชียงตุงอันมีพระมหากษัตริย์หรือจ้าวมหาชีวิต เป็นประมุขสูงสุด ทำหน้าที่ดูแลไพร่ฟ้าประชาชนนั้น กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกสืบทอดต่อมาในเชื้อสายของราชวงศ์ที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในหัวเมืองอันเป็นอาณานิคมของล้านนานั้นเคยมีการปกครองด้วยระบบกษัตริย์ ซึ่งเป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจของผู้คนชาวเมืองมาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ เชียงแสน เชียงตุง ลำพูน ลำปาง ซึ่งล้วนแล้วแต่เคยมีเจ้าผู้ครองนครปกครองดูแลมาแล้วทั้งสิ้น

[กล่าวเฉพาะเชียงตุงนั้นมีประวัติความเป็นมาของเมืองอยู่ในยุคสมัยใกล้เคียงกันกับเมือง "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" คือก่อตั้งเมื่อประมาณ 800 ปีที่ผ่านมา ตามตำนานการสร้างเมืองเชียงตุงกล่าวว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้น ณ ริมฝั่งลำน้ำขึน แต่มีพระดาบถรูปหนึ่งนามว่า "ตุงคฤาษี" แสดงอภินิหารอธิษบานให้น้ำที่ท่วมไหลออกไป เหลือไว้แต่เพียงหนองน้ำใหญ่กลางใจเมือง ซึ่ในเวลาต่อมาหนองน้ำแห่งนี้ได้กลายเปผ้นที่มาของชื่อเมืองที่มีความรุ่งเรืองว่า "เชียงตุง" หรือ "เขมรัฐตุงคบุรี"



ในอดีตราชสำนักเชียงตุงมีความเกี่ยวพันอย่างแน่นแฟ้นกับอาณาจักรล้านนาเชียงใหม่ เพราะพงศาวดารเชียงตุง ระบุว่าเมื่อราว 800 ปีก่อน พญามังราย กษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาได้ทรงจัดทัพมาขับไล่พวกลัวะซึ่งเป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่มีอิทธิพลอยู่ในดินแดนแห่งนี้มาก่อน แล้วจึงส่งราชบุตรมาปกครองเมืองเชียงตุง ดังนั้นกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงตุงในยุคต่อมาจึงสืบทอดเชื้อสายมาจากราชวงศ์มังราย ซึ่งกษัตริย์เชื้อสายราชวงศ์มังรายปกครองเมืองเชียงตุงมานานถึง 48 พระองค์

ความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้าเชียงตุงกับเจ้าหลวงล้านนายังคงดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมา โดยเฉพาะในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ราชสำนักเชียงตุงกับเชียงใหม่ มีความเกี่ยวดองทางเครือญาติกันยิ่งขึ้นเมื่อมีราชตระกูลของทั้งสองฝ่ายทำการอภิเษกสมรสกัน เช่น เจ้าอินทนนท์ ราชบุตรของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายสมรสกับเจ้านางสุคันธา ราชธิดาของเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าเชียงตุง และเจ้าหญิงทิพวรรณ ณ ลำปางทรงสมรสกับเจ้าพรหมลือ ราชบุตรของเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของราชตระกูลทั้งสองในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยลบเลือนลงไปได้เลย

ยุครุ่งเรืองของการปกครองในระบบเจ้าฟ้าเชียงตุงถึงขีดสูงสุดเมื่อราว 150 ปีก่อน ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ซึ่งพระองค์ทรงครองราชสมบัติอยู่ในช่วงที่มหาอำนาจทางยุโรปกำลังขยายอำนาจล่าอาณานิคม ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ของไทย เจ้าฟ้าของชาวเชียงตุงพระองค์นี้ทรงมีพระปรีชาสามารถและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับเมืองเชียงตุงเป็นอย่างมาก



ในปี พ.ศ.2450 หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากการประชุมร่วมกับอังกฤษที่ประเทศอินเดียแล้ว พระองค์ได้สร้างพระราชวังหลวง หรือ "หอหลวง" ด้วยสถาปัตยกรรมแบบอินเดียผสมกับยุโรปขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นหอหลวงที่ใหญ่โตและสง่างามยิ่ง แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองการเมืองในพม่าเกิดความระส่ำ เกิดความขัดแย้งและความสับสนในการเจรจาเรื่องเอกราชกับอังกฤษทำให้เชียงตุงและรัฐฉานกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพพม่า และรัฐบาลทหารเผด็จการพม่าต้องการรวมอำนาจการปกครองให้ขึ้นตรงกับพม่า ทำการขุดรากถอนโคนทำลายระบบเจ้าฟ้าในหัวเมืองต่าง ๆ ของพม่า ด้วยเหตุนี้พระราชวังหลวง หรือ หอหลวงเชียงตุง จึงถูกทุบทิ้งด้วยเหตุผลทางด้านการท่องเที่ยวที่พม่ากำลังจะเปิดประเทศออกสู่สายตาชาวโลก ซึ่งเหตุผลของการทุบทิ้งหอหลวงเมืองเชียงตุง เพียงเพราะพม่าต้องการพื้นที่ใช้สร้างโรงแรม

ราชสำนักเชียงตุงที่มีกษัตริย์สืบทอดราชบังลังก์ต่อเนื่องยาวนานถึง 48 พระองค์นานกว่า 800 ปีก็ถึงกาลล่มสลาย ชาวไทขึนในเชียงตุงและชาวไทใหญ่ในรัฐฉานจึงมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยและพลเมืองชั้นสอง ถูกปิดกั้นทางเสรีภาพทางการเมือง อย่างไรก็ตามด้วยความผูกพันต่อระบบกษัตริย์ที่ฝังรากลึกมายาวนานทำให้ชาวไทขึนแห่งเชียงตุงมิอาจแยกความเป็น "บ่าวและเจ้า" ออกจากวิถีชีวิตได้ ทุก ๆ ปีในช่วงวันสงกรานต์บรรดาลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าผู้ครองนครจะทำการปัดกวาดเช็ดถูกู่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าเชียงตุงซึ่งตั้งอยู่กลางเมือง

ชัยบุญ สิงหา อายุ 43 ปี ซึ่งเป็นชาวบ้านเจียงจันในฐานะของผู้ถือกุญแจเข้าสุสานเจ้าฟ้าเชียงตุง ได้อนุเคราะห์ให้พวกเราเข้าไปคารวะกู่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าเชียงตุงซึ่งตั้งเรียงรายจำนวน 9 กู่ คุณชัยบุญได้บอกเล่าเรื่องราวของเจ้าฟ้าเชียงตุงผ่านข้อความภาษาไทขึนที่ติดไว้ข้างแต่ละกู่ว่า

"สุสานของเจ้าฟ้าเชียงตุงที่นี่จะเป็นกู่บรรจุอัฐิเฉพาะเจ้าฟ้าที่เป็นผู้ชายเท่านั้น องค์แรกเป็นของเจ้ามหาขนาน ประสูติเมื่อ วันเสาร์แรม 7 ค่ำเดือน 10 จ.ศ.1143 ครองราชย์เมื่อปี จ.ศ.1175 สวรรคตเมื่อปี จ.ศ.1219 ส่วนองค์ที่สองเป็นของเจ้ามหาพรหม ลูกชายของเจ้ามหาขนาน องค์ที่สามเป็นของเจ้าน้อยแก้ว ซึ่งประสูติเมื่อปี จ.ศ.1180 ครองราชย์ได้ปีเดียวเมื่อปี จ.ศ.1238 และสวรรคตในปี จ.ศ.1239 กู่บรรจุอัฐิองค์ที่ 4 เป็นของเจ้าฟ้าเจียงแข็งหรือเจ้ากองไต ลูกชาของเจ้ามหาขนาน องค์ที่ 5 เป็นของเจ้ากองคำฟู ลูกชายของเจ้ากองไต ประสูตเมื่อปี จ.ศ.1236 ครองราชย์ในปี จ.ศ.1248 สวรรคตปี จ.ศ.1257 องค์ที่ 6 เป็นของเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง น้องเจ้ากองคำฟู เป็นกู่ที่สร้างขึ้นได้สวยงามซึ่งสร้างโดยช่างชาวอินเดีย องค์ที่ 7 เป็นของเจ้ากองไต ลูกของเจ้ารัตนก้อนแก้ว ซึ่งถูกยิงเสียชีวิต องค์ที่ 8 เจ้าพรหมลือ น้องเจ้ากองไต ส่วนองค์สุดท้ายเป็นของเจ้าจายหลง ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าลำดับที่ 48 พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์มังราย"

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รัฐบาลพม่าได้เปิดเชียงตุงออกสู่สายตาคนภายนอกอีกครั้ง ทำให้เมืองแห่งนี้ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในฐานะของดินแดนซึ่งครั้งหนึ่งเคยรุ่งเรืองไพบูลย์ด้วยระบบกษัตริย์ มีผู้คนจำนวนมากต่างใฝ่ฝันที่จะได้เดินทางเข้ามาเยือนเมืองแห่ง "อุดมคติ" ที่มั่งคั่งด้วยพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต.




เอกสารประกอบ

ธีรภาพ โลหิตกุล กว่าจะรู้ค่า คนไทในอุษาคเนย์ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาสน์ 2544
      บันทึกการเข้า
ประทาน14
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2514
คณะ: เภสัชศาสตร์
กระทู้: 999

« ตอบ #57 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 22:30:11 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 23:46:43
อ้างถึง
ข้อความของ รัตนาพร14 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 20:37:28
พี่ป๋องขา เชิญไปเที่ยวด้วยกันค่ะ
ห่างงานเกินสองวัน เครียดความดันขึ้นตายแน่เลยครับ
ช่วงนี้พี่ป๋องงานเข้าตลอด ส่วนใหญ่ต้องการให้เสร็จด่วน สั่งวันนี้จะให้เสร็จเมื่อวาน..5555 (อันนี้พี่ป๋องบอกเอง)
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #58 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 22:49:00 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 07 ตุลาคม 2557, 13:51:58
อ้างถึง
ข้อความของ รัตนาพร14 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 20:37:28
พี่ป๋องขา เชิญไปเที่ยวด้วยกันค่ะ
อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 23:46:43
อ้างถึง
ข้อความของ รัตนาพร14 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 20:37:28
พี่ป๋องขา เชิญไปเที่ยวด้วยกันค่ะ
ห่างงานเกินสองวัน เครียดความดันขึ้นตายแน่เลยครับ

ไปหน่อย พี่เขาขอร้องแล้ว
ทิ้งงานสัก 5 วันบ้าง เผื่อสุขภาพและความดันจะดีขึ้น

อย่ามาหลอกกันซะให้ยากเลยคุณพิเชษฐ์
ผมไม่ใช่คุณมานพน๊ะจะบอกให้ จะได้มาหลอกกันง่ายๆ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #59 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 22:50:28 »

อ้างถึง
ข้อความของ ประทาน14 เมื่อ 07 ตุลาคม 2557, 22:30:11
อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 23:46:43
อ้างถึง
ข้อความของ รัตนาพร14 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 20:37:28
พี่ป๋องขา เชิญไปเที่ยวด้วยกันค่ะ
ห่างงานเกินสองวัน เครียดความดันขึ้นตายแน่เลยครับ
ช่วงนี้พี่ป๋องงานเข้าตลอด ส่วนใหญ่ต้องการให้เสร็จด่วน สั่งวันนี้จะให้เสร็จเมื่อวาน..5555 (อันนี้พี่ป๋องบอกเอง)
แทบจะเข้าอาทิตย์ละหลังเลยครับ อาคารน้อยใหญ่
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #60 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2557, 23:32:22 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 07 ตุลาคม 2557, 22:50:28
อ้างถึง
ข้อความของ ประทาน14 เมื่อ 07 ตุลาคม 2557, 22:30:11
อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 23:46:43
อ้างถึง
ข้อความของ รัตนาพร14 เมื่อ 06 ตุลาคม 2557, 20:37:28
พี่ป๋องขา เชิญไปเที่ยวด้วยกันค่ะ
ห่างงานเกินสองวัน เครียดความดันขึ้นตายแน่เลยครับ
ช่วงนี้พี่ป๋องงานเข้าตลอด ส่วนใหญ่ต้องการให้เสร็จด่วน สั่งวันนี้จะให้เสร็จเมื่อวาน..5555 (อันนี้พี่ป๋องบอกเอง)
แทบจะเข้าอาทิตย์ละหลังเลยครับ อาคารน้อยใหญ่

เข้าใจกันผิดซะแล้ว
วันนี้งานเยอะ..จริง
แต่เดือนมกราคา 58 งานน่าจะลดลงแล้วน่ะ
IMF บอกเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง จนเกินความระส่ำในตลาดลงทุนของสหรัฐอยู่ในขณะนี้
เดี๋ยวบ้านเราก็รับรู้

ไปเถอะ งานนี้ไม่ได้หลอก..กะให้ไปพักผ่อนสมอง
  สะใจจัง
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #61 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2557, 01:34:50 »

 บรึ๋ยยย เค้าไม่ยอม so sad
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #62 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2557, 09:19:35 »

มีผู้แจ้งว่า เชียงตุงอากาศเย็นแล้ว

เชียงตุงเช้าวันนี้ เริ่มหนาวแล้ว @ วัดยางแก้ว  และ @ หนองตุง






      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #63 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2557, 14:10:45 »



การเดินทางสู่เมืองเชียงตุง ระยะทางประมาณ 165 กิโลเมตร จากอำเภอแม่สาย เป็นการเดินทางทางรถผ่านเมืองอยู่หลายเมืองของพม่า และมีด่านชั่งน้ำหนัก ด่านแจ้งเอกสารผ่านแดน ที่สำคัญ ๆ คือ

บ้านหมากยาง เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ขึ้นอยู่กับจังหวัดท่าขี้เหล็ก ก่อนถึงบ้านหมากยาง มีด่านชั่งน้ำหนักอยู่ 1 แห่ง ต้องเสียค่าบริการผ่านทาง สำหรับรถบัส เสียค่าธรรมเนียมคันละ 6,250 จ๊าด ออกจากด่านชั่งน้ำหนัก มีด่านตรวจอยู่ 1 แห่ง ต้องนำรถไปจอดที่ด่านให้เจ้าหน้าของพม่าตรวจเอกสาร เพื่อประทับตราลงวันเวลาที่มาถึงด่าน

เมืองท่าเดื่อ อยู่ห่างจากท่าขี้เหล็ก ประมาณ 48 กิโลเมตร เป็นอำเภอ หรือเมือง อยู่ในเขตจังหวัดท่าขี้เหล็ก ท่าเดื่อเป็นเมืองเล็ก ๆ ประชากรส่วนใหญ่ในตัวเมืองเป็นคนไทใหญ่ ไทลื้อ สามารถสื่อสารกับเราได้ดี มีร้านอาหารที่คนชื่อคือ ร้านปานกะปา เจ้าของร้านเป็นน้องชายของร้านปานกะปา-เอสที เมืองเชียงตุง มีแม่น้ำสายสำคัญคือแม่น้ำท่าเดื่อ ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ก่อนออกเมืองมีด่านเล็ก ๆ ต้องสังเกตให้ดีตั้งอยู่บนเนิน มีอาคารสำนักงานเล็ก ต้องแจ้งเอกสารด้วยนะครับ(เป็นด่านสายลับ) และมีด่านชั่งน้ำหนัก อีก 1 แห่ง รถบัสเสียค่าธรรมเนียม คันละ 6,250 จ๊าด ปัจจุบันเพิ่มค่าเทศบาลอีก 1,000 จ๊าด

เมืองพะยาก หรือ เมืองเพี๊ยก เป็นตัวจังหวัด ๆ หนึ่งของรัฐฉาน อยู่ห่างจากท่าขี้เหล็กประมาณ 83 กิโลเมตร ประชากรไปชาวไทใหญ่ ไทเขิน โดยรอบ ๆ เมืองมีค่ายทหารตั้งอยู่โดยรอบ เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเมืองท่าขี้เหล็ก กับ ตัวเมืองเชียงตุง ภายในตัวเมืองมีโรงเรียนระดับมัธยม และสำนักงานโทรศัพท์ สามารถติดต่อสื่อสาร (พูดถึงโทรศัพท์มือถือ มีเพื่อนอยู่ทีเชียงตุง ซื้อซิมของพม่าเพื่อติดต่องานในปัจจุบัน ราคา 70,000 กว่าบาทครับ) ก่อนเข้าเมืองมีด่านตรวจเอกสาร และมีห้องน้ำไว้คอยบริการ มีร้านกาแฟเล็ก ๆ มีทางแยกขวามือสามารถเดินทางสู่จีนได้ด้วย แต่ปัจจุบันถนนไม่ดี ต้องใช้รถโฟร์วิล ระยะทางจากเมืองเพี๊ยก ถึง ชายแดนสู่จีน ประมาณ 80 ไมล์ ก่อนออกจากเมืองมีด่านเล็ก ๆ อีก 1 ด่าน ตั้งอยู่ทางขวามือ ก่อนจะเข้าเมืองเชียงตุง มีด่านชั่งน้ำหนัก อีก 1 แห่ง สำหรับรถบัสเสียค่าธรรมเนียม คันละ 12,500 จ๊าด ค่าเทศบาลอีก 2,000 จ๊าด และมีด่านตรวจคนเข้าเมืองอีก 1 แห่ง    

แผนที่ ส่วนล่างไม่ใช่ครับ




      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #64 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2557, 14:47:56 »

Conditions and Forecast for เชียงตุง, Myanmar
Current Conditions Forecast
ปรับปรุงล่าสุด: 12:30 PM MMT วัน ตุลาคม 08, 2014
Observed at Kengtung,

 โปรดสังเกต กลางคืน อากาศเย็น เครื่องปรับอากาศไม่ต้องใช้

อุณหภูมิ 80ฟาเรนไฮน์ 
ความชื้น 50%
อุณหภูมิที่อากาศอาจจับตัวเป็นหยาดน้ำค้าง 64ฟาเรนไฮน์ 
ลม West ความเร็วที่ 2 km/h 
ความดัน 1013 hPa 
สภาพ Scattered Clouds
ทัศนวิสัย 4.0 กิโลเมตร 
เมฆ 
อุณหภูมิสูงสุดของเมื่อวาน - 
อุณหภูมิต่ำสุดของเมื่อวาน 1830ฟาเรนไฮน์ 
เวลาพระอาทิตย์ขึ้น 05:44 AM (MMT)
เวลาพระอาทิตย์ตก 05:33 PM (MMT)
พระจันทร์ขึ้นเหนือท้องฝ้า 05:28 PM (MMT)
พระจันทร์ลับขอบฟ้า 05:16 AM (MMT)
ข้างขึ้นข้างแรม 
 
Forecast as of 06:30 PM MMT วัน ตุลาคม 07, 2014

 วันอังคาร
ท้องฟ้าแจ่มใส. สูงสุด 29° C. 
 วันอังคารตอนกลางคืน
ท้องฟ้าแจ่มใส. ต่ำสุด 18° C. 
 วันพุธ
ท้องฟ้าแจ่มใส. สูงสุด 29° C. 
 วันพุธตอนกลางคืน
ท้องฟ้าแจ่มใส. ต่ำสุด 10° C. 
 วันพฤหัสบดี
ท้องฟ้าแจ่มใส. สูงสุด 30° C. 
 วันพฤหัสบดีตอนกลางคืน
ท้องฟ้าแจ่มใส. ต่ำสุด 10° C. 
 วันศุกร์
มีโอกาสเกิดฝนตก. สูงสุด 31° C. 
 วันศุกร์ตอนกลางคืน
หมอกคลุม. ต่ำสุด 12° C. 
 วันเสาร์
มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. สูงสุด 31° C. 
 วันเสาร์ตอนกลางคืน
มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. ต่ำสุด 12° C. 
 วันอาทิตย์
มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. สูงสุด 33° C. 
 วันอาทิตย์ตอนกลางคืน
มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. ต่ำสุด 14° C. 
 วันจันทร์
มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. สูงสุด 29° C. 
 วันจันทร์ตอนกลางคืน
มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. ต่ำสุด 15° C. 
 วันอังคารมีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. สูงสุด 29° C. 
 วันอังคารตอนกลางคืน
มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง. ต่ำสุด 13° C. 
 

 Copyright © 2014 The Weather Underground, Inc.

Close Window


� 2000-01 VirtuallyThere.com - All rights reserved.
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #65 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2557, 17:06:43 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 08 ตุลาคม 2557, 01:34:50
บรึ๋ยยย เค้าไม่ยอม so sad

 สะใจจัง  win
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #66 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2557, 20:18:52 »

หนังสือนำเที่ยวเมืองเชียงตุง จาก ชาวอังกฤษ   

ภาพแรกเห็นยอดหอคำหลวงชัดเจนมาก



เมื่อ 96 ปีที่่ผ่านมา มีชาวอังกฤษเดินทางไปเที่ยวเมืองเชียงตุง เเละเขียนหนังสือนำเที่ยวเมืองเชียงตุงซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเล่มเเรกๆของเมืองเชียงตุงเลยก็ว่าได้

เพจนำเสนอบรรยากาศของเมืองเชียงตุงดังนี้

"เมืองเชียงตุงในหน้าหนาวนั้นต้นไม้เหี่ยวแห้งเป็นสีน้ำตาล แต่เมื่อถึงหน้าน้ำหลากในเดือนสิงหาคมทุกแห่งก็กลับเขียวขจี นาข้าวแลดูราวทะเลสีมรกตไปจรดเทือกเขาด้านหน้า

เมืองเชียงตุงมีกำแพงและคูเมืองล้อมรอบ กำแพงส่วนใหญ่พังทลายและมีหญ้าขึ้นปกคลุมจนสิ้น เราจะเห็นแนวกำแพงได้ชัดเจนในหน้าแล้งที่ต้นหญ้าแห้งตายแล้วเท่านั้น ภายในกำแพงเมืองเชียงตุงนั้นมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ภายในกำแพงเป็นที่ตั้งของหอเจ้าฟ้า ตลาด หนองน้ำ และวัดวาอารามขนาดใหญ่ แต่หากคุณคาดหวังจะได้เห็นถนนหนทางที่พลุกพล่านในเมืองเชียงตุง คุณจะผิดหวัง เพราะเมืองเชียงตุงนั้นหลับใหลอยู่ตลอดการ เงียบเชียบเหมือนนครเกียวโต

เมื่อเดินแยกออกจากถนนหลักในตัวเมืองก็จะเป็นเจดีย์วัดอินทร์ที่เงียบเหงา มีเพียงแต่เสียงระฆังกังสดาลแว่วตามสายลมมาเท่านั้น ภายในบริเวณเจดีย์นั้นอยู่ภายใต้เงาไผ่ที่ร่มครึ้ม และดงต้นซากุระที่กลีบดอกร่วงหล่นลงสู่พื้นดินราวกับสายฝนพรำ

เสน่ห์ของเมืองเชียงตุงนั้นซ่อนเร้นซึ่งคุณต้องค้นหาเอาเอง ความประทับใจครั้งแรกของเมืองเชียงตุงนั้นคือความผิดหวัง คุณต้องหามุมสงบนั่งชมหลังคาบ้านเรือนที่งดงาม พระเจดีย์เก่าแก่ บานพระตูและฝาผนังของวัดที่วิจิตรรวมถึงหมู่พระพุทธรูปที่มีอย่างมากมาย

ผมจะนำเสนอเรื่องธุรกิจการค้าหรือตลาดของเมืองเชียงตุงซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุด หากพ่อค้าแม่ค้าและนักเดินทางได้เดินทางออกจากเมืองเชียงตุงไปหมดแล้ว เมืองทั้งเมืองก็จะเงียบเหงา วังเวง ราวกับเวทีที่ไร้นักแสดง

ในเวลากลางวันมีเพียงแสงอาทิตย์ที่ร้อนแรงสาดส่องคอกสัตว์ เศษขยะและใบไม้ในตลาดที่ว่างเปล่าเท่านั้น ในตลาดมีเพียงหมาขี้เรื้อนนอนเลียแผลพุพองและเห่าหอนต้อนรับแสงจันทร์ในยามค่ำ ม้ากลับมาจากทุ่งหญ้านอกเมืองเดินผ่านถนนทำให้ฝุ่นกระจายคละคลุ้ง ส่วนม้าที่เป็นโรคหมดแรงก็เดินหาสถานที่เงียบสงบเพื่อนอนพักและสิ้นใจ

ตลาดจัดขึ้นทุก ๕ วัน ซึ่งครึกครื้นราวกับงานฉลอง ผู้คนเบียดเสียด และหากคุณต้องการไปชมชาวเมืองเชียงตุงก็ควรจะไปให้ตรงกับวันตลาดหรือกาดนัดนี้

ท่ามกลางชาวเชียงตุงที่มาตลาดก็ยังมีชาวเขาเดินปะปนเบียดเสียดเยียดยัดอยู่ด้วย ในตลาดมีทั้งชาวไท ชาวพม่า ชาวจีน ชาวก้อ ชาวว้า ชาวมูเซอและชาวสยาม คุณอาจว่าจ้างจิตรกรสำหรับวาดภาพบรรยากาศและผู้คนแต่ละเผ่าพันธุ์ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นหากคุณต้องการเรียนรู้เรื่องราวของเพื่อนบ้านอย่างละเอียด และคุณก็จะเข้าใจว่าเหตุใดรัฐบาลอังกฤษใช้เวลาถึง ๓๐ปีในการเก็บข้อมูลและภาษาของชนกลุ่มน้อยต่างๆในพม่าตอนเหนือ

และที่เมืองเชียงตุงก็มีทั้ง ไท ลื้อ เขิน แลม ลาว และโยน นอกจากนี้ยังมี ก้อ มูเซอ กวี ปะหล่อง แอ่น ว้า ไทดอย ฯลฯ....สุทธิศักดิ์ถอดความ
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #67 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2557, 20:30:09 »

การทำลายพระราชวังเชียงตุง เมืองเชียงตุง รัฐฉาน เมื่อปี พ.ศ. 2534



พระราชวังเชียงตุง ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 2446โดยเจ้ากอนแก้วอินท์แถลง นับเป็นพระราชวังใหญ่ที่สุดในรัฐฉาน ชึ่งเหมาะสมกับสถานะ ของเชียงตุง ชึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่สุด ครอบคลุมพื้นที่ 12,000 ตารางไมล์ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน มีการใช้อิฐขนาดใหญ่แบบอินเดีย เพื่อเป็นฐานรองรับพระราชวัง และบรรดาที่พักอาศัยของเจ้าฟ้า พระชายาทั้งหก และพระราชบุตร พระราชธิดา 19 พระองค์ เจ้าฟ้าจายหลวง พระราชนัดดา เป็นผู้ปกครอง พระราชวัง องค์สุดท้าย จนถึงปี 2502 ก่อนจะส่งมอบให้กับรัฐบาลแห่งรัฐฉาน เมื่อทหารพม่ายึดอำนาจในปี 2505 พวกเขาได้จับกุมเจ้าฟ้าจายหลวง พร้อมกับพระเชศฐา และเจ้าฟ้าองค์อื่นๆ ของรัฐฉาน นำตัวไปกุมขัง ในเรือนจำอินเส่ง ที่กรุงย่างกุ้ง เป็นเวลาหกปี เมื่อได้รับการปล่อยตัว พระองค์ได้ถูกเนรเทศให้ไปอยู่ที่เมืองเชียงตุง หน่วยทหารพม่าในพื่นที่เข้ายึดเอาพระราชวัง ทำเป็นศูนย์บันชาการ ต่อมา

           การลื้อทำลายพระราชวัง เรื่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกยน 2534 ตามคำสั่งของรัฐบาลพม่า ที่เมืองย่างกุง แม้ว่าจะมีการร้องขอมากมาย จากพระภิกษุในท้องถิ่น และมีการโปรยใบปลิวเพื่อประท่วงรอบเมือง

           เศษชากหินของอาคาร ตกเกลื่อนกระจัดกระจาย ตามท้องถนนรอบตัวเมืองเชียงตุง การเอาท้าวเหยี่ยบย้ำอาคารประวัติศาสตร์ ชึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม เช่นนี้ ทั้งๆที่เท้าเป็นอวัยวะในเบื่องต่ำสุดของร่างกาย เป็นการลบหลู่ดูหมิ่นอย่างชัดเจน ต่อมรดกทางวัฒนธรรม ชาวไทใหญ่ ไทเขินในเมืองเชียงตุง จึงเกิดมีความเจ็บป่วดทางกายและจิตใจ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #68 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2557, 22:29:50 »

น้องเริง

เพิ่งทำลายไปในปี 2534 นี้เองหรือ ?
ไม่ใช้ 50 ปีที่ผ่านมา หรือ ??
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #69 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2557, 11:17:12 »

รัฐบาลทหารพม่าขับไล่เชื้อสายเจ้าฟ้าและบริวาร ให้ออกไปอยู่ที่อื่น และยึด หอหลวงเชียงตุง กับอาคารอื่น ๆ เป็นสถานที่ราชการของพม่า

กลางปี ๒๕๓๔ รัฐบาลทหารพม่าอ้างว่าต้องการใช้พื้นที่หอหลวงเชียงตุง เป็นที่สร้างโรงแรมเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างความเจริญและสร้างรายได้ให้แก่เชียงตุง


รัฐบาลทหารพม่า เริ่มทุบทำลาย หอหลวงเชียงตุง และอาคารบริวาร ตั้งแต่ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ โดยไม่ยอมฟังเสียงคัดค้านจากคณะสงฆ์ไทเขินไทใหญ่และชาวเชียงตุง แม้จะมีที่ว่างในเชียงตุงอีกมากมาย พอที่จะให้สร้างโรงแรมได้ก็ตาม การรื้อทำลายใช้เวลาประมาณ ๖ เดือน





อาจารย์ ทวี สว่างปัญญางกูร ถ่ายภาพไว้เมื่อ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๕ ยังเห็นซากหอหลวง ที่ยังรื้อไม่หมด



ภาพถ่ายเมื่อ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๕ อาจารย์ ทวี สว่างปัญญางกูร (นักวิชาการด้านภาษา/วัฒนธรรมไทใหญ่ และตระกูลไทอื่น ๆ) ที่บริเวณลานด้านนอก หน้าทางขึ้นไปสู่ลานด้านใน (และหอหลวงที่ถูกรื้อไปแล้ว)



ประมาณ ต้นปี ๒๕๓๕ รัฐบาลทหารพม่าได้สร้าง โรงแรมเชียงตุง (Kyainge Tong Hotel) ขึ้นก่อน ที่บริเวณลานด้านนอก รองรับผู้เข้าพักได้ ๖๐ คน ที่พักเป็นอาคารแถวชั้นเดียว ๒ หลัง และบังกาโล ๔ หลัง ส่วนลานด้านใน ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งหอหลวง นั้น ทำเป็นที่จอดรถ



และเป็นอาคารนี้ในเวลาต่อมา



      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #70 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2557, 11:44:39 »

๔  มิถุนา - ล้างตาสำเร็จ

          ๔   มิถุนายน  ๒๔๘๕     ผู้บัญชาการกองพลที่  ๓  ได้รับรายงานจาก กองพันพิเศษ ว่า เข้ายึดเมืองเชียงตุงได้เมื่อเวลา  ประมาณ  ๑๗๐๐   จึงสั่งการให้  กองระวังหน้าของกองพล  คือ กรมทหารราบที่  ๘   กองพันทหารช่าง   และกองพันทหารม้า  เข้าไปเสริมกำลังที่เมืองเชียงตุง โดยด่วน

          เวลาประมาณ  ๒๐๐๐    เจ้าบุญวาศ  ณ  เข็มรัฐ  ผู้รักษาเมืองเชียงตุง  ได้เข้าพบ ผู้บัญชาการกองพล  แจ้งว่า  ข้าศึกได้ถอยจากเมืองเชียงตุงไปทางเหนือหมดแล้วขอเชิญให้เข้านครเชียงตุง

การปฏิบัติของกองพันพิเศษที่เข้ายึดนครเชียงตุงได้เป็นดังนี้

               เมื่อได้รับคำสั่งแล้ว กองพันฯ  ได้เคลื่อนที่เลียบไปตามแม่น้ำสาย ซึ่งเป็นทางต่าง และทางช้างเดิน ไปทางตะวันตกในเขตเชียงตุง  เมื่อเขัาเขตเมืองหาง    ก็เลี้ยวขวาไปทางเหนือ  ผ่านที่ว่าการเมืองหาง  - เมืองสาต   ถึงที่ว่าการเมืองเป็ง    ในเรื่องเสบียงอาหารนั้น  เมื่อเดินทางได้  ๓  วัน  เสบียงที่ติดตัวทหารก็หมด   ต้องขอซื้อจากชาวบ้าน  ซึ่งไม่ค่อยจะมีหมู่บ้าน  และชาวบ้านก็ซ้อมข้าวสารกินวันละมื้อ เท่านั้น   กองพันฯ จึงขอซื้อข้าวสารเหนียวมาซ้อมกินเอง

              ในตอนแรก  ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นทหารญี่ปุ่น  จึงทิ้งบ้านเรือน หลบหนีเข้าป่ากันหมด   ต่อมา เมื่อทราบว่าเป็นทหารไทย ก็ดีอกดีใจ ป่าวร้องบอกกัน และมาต้อนรับอย่างมีอัธยาสัย ไมตรี โอบอ้อมอารี  ชักชวนกัน นำ  สุกร  ไก ไข่ไก่  ส้มมะขามเปียก  และน้ำผึ้งมาให้แก่ทหาร  ตามมีตามเกิด   

               ที่เมืองสาต  ชาวบ้านได้ให้ข่าวสาร แก่ผู้บังคับกองพันพิเศษนี้ ว่า   เมื่อเดือนก่อน (เดือนเมษายน)  มีทหารจีน  ๒  กองพล คือ กองพลที่  ๙๓ และ  ๙๖  มาจากพม่า ตามเส้นทาง ท่าก้อ - เมืองเป็ง  และเข้ายึดเชียงตุง อยู่    ผู้บังคับกองพันฯ  วิตกว่า กองพลที่ ๓  ซึ่งอิดโรยบอบช้ำจากการเดินทางจะเข้าตีไม่สำเร็จ และอาจจะสูญเสียมากยิ่งขึ้นไปอีก    จึงให้ข่าวลวง แก่ชาวบ้านว่า  มีทหารญี่ปุ่นกำลังตามกองพันนี้มาอีก หลายกองพล เพื่อเข้าตีเชียงตุงให้ได้ ให้ชาวบ้านบอกพ่อค้าให้บอกกันต่อไปด้วย    (ทหารจีนครั่นคร้าม เข็ดเขี้ยวทหารญี่ปุ่นอยู่แล้ว)

               เมื่อกองพันฯ ถึงเมืองเป็งจึงไม่พบข้าศึกเลย  แต่ก็ได้ข่าวสารจากพ่อค้าที่มาจากเชียงตุงว่า กองทหารจีนที่เชียงตุง ได้เผาเชียงตุงหมดแล้ว     ผู้บังคับกองพันฯ  จึงจัดกำลัง  ๑  หมวด  ไปลาดตระเวณให้ถึงนครเชียงตุง  ก็ได้ทราบข่าวจากผู้บังคับหน่วยลาดตระเวณ ว่า  ส่วนใหญ่ของกองทหารจีนที่เชียงตุงได้ถอยตัวไปทางเหนือเกือบหมด   เหลือแต่ส่วนที่ทิ้งไว้ปะทะ หรือเป็นกองระวังหลัง เพียงเล็กน้อย กับทหารเจ็บป่วยอีกไม่กี่คน    ผู้บังคับกองพันฯ จึงตกลงใจเคลื่อนกำลังเข้าปะทะทันที  เมื่อวันที่  ๔  มิถุนายน

           ส่วนนำของกองพันฯ ได้ปะทะกับทหารข้าศึก ซึ่งมีกำลังเพียงประมาณ  ๑  หมวด 

               ในที่สุด  เมื่อเวลาประมาณ  ๑๗๐๐    กองพันพิเศษ  ก็เข้ายึดนครเชียงตุงได้   สามารถรวบรวมทหารข้าศึก รวมทั้งที่เจ็บป่วย เป็นเชลยศึกได้    ๑๐๐   กว่า คน       และรายงานให้ผู้บัญชาการกองพลที่  ๓  ทราบ    ส่วนทหารข้าศึกที่ถอนตัวมาจากดอยเหมยนั้น  ทราบว่าได้เคลื่อนย้ายไปทางเหนือด้วยรถยนตร์ที่เกณฑ์มาจากราษฎร   โดยที่ไม่ได้อยู่พักที่เชียงตุงเลย


๕   มิถุนายน  ๒๔๘๕

          เวลา    ๐๘๐๐    กองพลที่  ๓  จัดขบวนยาตราทัพ จากดอยเหมย เข้าเมืองเชียงตุง  ระยะทางประมาณ  ๒๐  กิโลเมตร  มีราษฎรถือดอกไม้ ธูปเทียน  คอยต้อนรับระหว่างทาง


 

      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #71 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2557, 11:50:51 »

  ในวันนั้นเอง เจ้าบุญวาศ  ณ  เข็มรัฐ  ผู้รักษาเมืองเชียงตุง  กล่าวต้อนรับ สรุปความว่า  

          . . . ข้าพเจ้าในนามของราษฎรนครเชียงตุง   ขอต้อนรับทหารไทยด้วยความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง    ครั้งแรกที่   กองทัพไทยย่างเข้ามาในเขตนครเชียงตุง  ราษฎรเล่าลือว่าเป็นกองทัพญี่ปุ่น    จึงพากันอพยพหนีเข้าป่ากลายเป็นเมืองร้าง    ทั้งนี้  เป็นด้วยเมื่อก่อนวันสงกรานต์    ญี่ปุ่นได้นำเครื่องบินมาทิ้งลูกระเบิดลงที่บริเวณตลาดหลวงเป็น  ๒  ระลอก    ทำให้ราษฎรตายประมาณ  ๔๐๐ คน    ต่อมาภายหลัง จึงได้ทราบจาก นายชุ่ม  อยู่ไพโรจน์    ซึ่งท่านได้ส่งล่วงหน้าไปก่อนนั้น  แจ้งให้ทราบว่าเป็นทหารไทย  โดยการนำของ  พลตรี  ผิน   ชุณหะวัณ    เมื่อราษฎรทราบข่าวอันเป็นมงคลเช่นนี้    จึงได้แตกตื่นมาต้อนรับกองทหารไทย  อันเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของไทยด้วยกัน    แต่การต้อนรับกองทหารของท่านในคราวนี้      ข้าพเจ้ามีความเสียใจเป็นอย่างมาก  ที่ทำการต้อนรับอย่างไม่สมเกียรติ    และมิให้ทหารของท่านได้รับความสุขสบายด้วยเสบียงอาหารและที่พัก  เพราะก่อนที่กองทหารของท่านจะถึงนครเชียงตุง   ๓  วัน   กองทัพจีนผู้โหดร้ายได้เผาผลาญร้านตลาดและบ้านเรือนราษฎรในบริเวณใกล้เคียงเสียจนหมดสิ้น คงเหลือแต่ตึก   ๓  หลัง    เพื่อเป็นที่พักของแม่ทัพจีนครั้งสุดท้ายเท่านั้น    ซึ่งท่านและพี่น้องทหารทั้งหลายที่เห็นอยู่แก่ตาโดยทั่วกันแล้ว  และก่อนที่กองทัพจีนจะถอยนั้น  ได้กวาดต้อนเสบียงอาหารที่จำเป็นในการครองชีพไปเสียเกือบหมดสิ้น    ส่วนสิ่งของที่เหลือโดยเขาขนไปไม่ได้  ได้แก่เสื้อผ้า  ภาชนะใช้สอย  ตลอดจนข้าวสารเป็น พันๆ กระสอบ   ทหารจีนก็ทำการเผาอยู่  ๓  วัน    ซึ่งเหลือแต่เถ้าถ่านอยู่  ณ บัดนี้    ด้วยเหตุขัดข้อง และขัดสนดังที่ข้าพเจ้าได้เรียนมาแล้ว    

          ฉะนั้น  ข้าพเจ้า และพี่น้องพื้นเมืองทั้งหลายได้ขออภัยด้วย      ทั้งขอมอบพื้นแผ่นดินในเขตนครเชียงตุงให้แก่ท่านเพื่อดำเนินการต่อไป"

 

           จากนั้น   พลตรี  ผิน   ชุณหะวัณ   ผู้บัญชาการกองพลที่  ๓  ได้กล่าวตอบ  สรุปได้ว่า

"ท่านเจ้าบุญวาศ   ณ  เข็มรัฐ    ที่เคารพ และพี่น้องแห่งนครเชียงตุง ผู้เลือดไทยที่รัก ทั้งหลาย

          ข้าพเจ้าได้รับคำต้อนรับ  และเหตุขัดข้องต่างๆ แล้ว    ข้าพเจ้าและทหารทั้งหลาย    รู้สึกยินดี และเศร้าสลดระคนกัน      ที่ว่ายินดีก็คือ    เลือดไทยทางใต้ได้มารวมกับเลือดไทยทางเหนือ    ซึ่งถ้าจะนับเนื่องมาแต่โบราณกาลแล้ว    พี่น้องไทยในนครเชียงตุงกับพี่น้องไทยในประเทศไทยปัจจุบัน  ก็เท่ากับอยู่ในครอบครัวเดียวกัน   เรื่องที่แสดงให้เห็นเป็นหลักฐานอยู่เดี๋ยวนี้ก็คือ    เราพูดภาษาเดียวกัน  ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธเดียวกัน  ถือขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเดียวกัน   จะมีผิดเพี้ยนอยู่บ้างก็เพียงการแต่งกายชายหญิงเท่านั้น      ส่วนข้อความที่ท่านได้กล่าวไว้ในตอนท้ายว่า    การรับรองข้าพเจ้าและพวกทหารไม่สมเกียรติ  ด้วยการขัดข้องและขัดสนนั้น    ท่านและพี่น้องชาวนครเชียงตุงอย่าได้วิตกกังวลอย่างใดเลย   เพราะแต่เพียงข้าพเจ้า และเพื่อนทหารทั้งหลายย่างเข้ามาในบริเวณนี้    ก็ประสบและเห็นเหตุการณ์อยู่แล้ว    อันเป็นภาพที่สยดสยอง และแสนจะเวทนาเป็นอย่างยิ่ง  และกล่าวโดยทั่วไปตามวิสัยของทหาร  เมื่อทำการรบได้ชัยชนะและเข้ายึดเมืองหนึ่งเมืองใดได้แล้ว    ย่อมมีการดีอกดีใจร้องไชโยโห่ฮิ้ว   มีเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ไปหมด  ดังที่ข้าพเจ้าเห็นมาแล้ว ในสงครามอินโดจีน  เมื่อทหารไทยเข้ายึดนครจำปาศักดิ์     แต่การย่างเข้านครเชียงตุงครั้งนี้  พี่น้องทั้งหลายได้สังเกตหรือเปล่าว่า    ทหารได้แสดงกิริยาวาจาคึกคนองไปตามประสาผู้รบชนะบ้างไหม   ข้าพเจ้าเห็นแต่เดินคอตกหน้าซีดไปตามๆ กัน    นี่ก็แสดงให้เห็นว่า  ทหารแต่ละคนมีจิตใจสงสาร   และบังเกิดความเวทนาแก่พี่น้องในนครเชียงตุง อันเป็นเลือดเนื้อไทยเดิมเป็นอย่างยิ่ง
 

          
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #72 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2557, 11:51:59 »

ในที่สุด  ขอให้พี่น้องทั้งหลายจงระงับความเศร้าสลดเสียให้หมดสิ้น  มาร่วมสร้างสามัคคีธรรมด้วยกัน  ช่วยเสริมสร้างสิ่งที่สลักหักพังไปแล้ว  ให้ยืนยงคงเดิม  แต่บัดนี้เป็นต้นไป   สวัสดี"

จากนั้นเป็นพิธีเชิญธงไตรรงค์


                                  

ที่บริเวณ " หอห่อง "แห่งนี้ อยู่ด้านข้างหอหลวง เพียงมีถนนคั่น โดยหันหน้าไปทางหอหลวงด้วย





อีกด้านจะก่อด้วยอิฐโชว์ กว้างไปถึงรั้ว มีพื้นที่กว้างพอที่จะทำพิธีเชิญธงไตรรงค์ได้  

ในภาพทุกท่านยืนใต้ร่มละมุดต้นใหญ่ หม่องเริง2520 ยืนขวาสุด เสร็จจากนี้ไปชมกำแพงเมืองเก่า



      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #73 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2557, 12:09:26 »

                      

[ISBN 9747047349  
 ผู้แต่ง เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ, 2498-  
 ชื่อเรื่อง ดอยตุง เชียงตุง / พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  
 พิมพลักษณ์ เชียงใหม่ : สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2537.  
 เลขเรียก P ท622ก 2537  
 รูปเล่ม 67 หน้า : ภาพประกอบสี ; 25 ซม.  
 หัวเรื่อง ดอยตุง  
 หัวเรื่อง เชียงตุง -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว


 หมายเหตุ  ยังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้เลยครับ


      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #74 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2557, 17:31:30 »

พระองค์ท่านได้เคยเสด็จวัดจองคำ







      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 13  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><