19 เมษายน 2567, 22:43:55
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 2 [3]  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ได้เวลาแล้วที่ประเทศไทยจะใช้ "ระบบเงินคู่"  (อ่าน 42806 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #50 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2553, 08:12:11 »

 
อ้างถึง   
แก้เหลื่อมล้ำ ด้วย 2 ทฤษฎี

ผมเคยคุยปัญหาของบ้านเมืองกับ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือซีพีหลายครั้ง ทุกครั้งเจ้าสัวจะต้องพูดถึง ปัญหาความเหลื่อมล้ำรายได้ ของ คนรวย กับ คนจน ระหว่าง คนจนเมือง กับ คนจนชนบท ที่ถ่างกว้างออกไปทุกที จนเป็นปัญหาใหญ่ของบ้านเมือง

วันนี้ เรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม กลับมาเป็นเรื่องฮิตให้ถกกันอีกครั้ง

ทุก ครั้งที่คุยกันเรื่องนี้ เจ้าสัวธนินท์ จะยก "ทฤษฎีสองสูง" ขึ้นมาอธิบายเพื่อบอกผ่านไปยังรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมาว่า "ทฤษฎีสองสูง" สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของ "คนจนเมือง" และ "คนจนชนบท" ได้จริง

เมื่อสองวันก่อน เจ้าสัวธนินท์ ก็ออกมาตอกย้ำเรื่องนี้อีกครั้ง วันนี้ ผมเลยขอนำเรื่อง "ทฤษฎีสองสูง" ของ เจ้าสัวธนินท์ มาเขียนถึงอีกครั้ง

สูงแรก เจ้าสัวธนินท์ ขอให้รัฐบาลขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้สูงขึ้นทันที แล้วค่อยๆเพิ่มในอนาคตให้เพียงพอ (ทุกวันนี้เงินเดือนข้าราชการผมว่าไม่เป็นธรรม เรียนจบปริญญาโทเงินเดือนแค่หมื่นบาท จบด็อกเตอร์เรียนแทบตายเงินเดือนหมื่นกว่าบาท สู้เงินเดือนคนขับรถเมล์ยังไม่ได้) เมื่อขึ้นเงินเดือนข้าราชการแล้ว บริษัทเอกชนก็จะขึ้นเงินเดือนตาม ทำให้มี "กำลังซื้อ" เพิ่มขึ้นในตลาดทันทีมหาศาล

สูงสอง เจ้าสัวธนินท์ ขอให้ขึ้นราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น เพื่อ ให้เกษตรกรทั่วประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็มี "กำลังซื้อ" สูงขึ้น มีเงินลงทุนขยายการผลิตมากขึ้น ทำให้ คุณภาพการผลิตสูงขึ้น ขายได้ราคามากขึ้น เมื่อคนยากจนมีกำลังซื้อมากขึ้น ก็ไปทำให้อุตสาหกรรมและบริการขยายตัวมากขึ้น สุดท้ายประเทศและนักธุรกิจก็จะได้ประโยชน์ทั้งหมด

เรื่อง "ทฤษฎีสองสูง" นี้ ผมเห็นด้วยกับ เจ้าสัวธนินท์ มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีรัฐบาลไหนยอมนำไปปฏิบัติให้เป็นจริง ยังใช้แต่ ทฤษฎีตะวันตก ที่ไม่มีวันเป็นจริงในสังคมไทย เพราะพื้นฐานทางสังคม สภาวะแวดล้อม การใช้ชีวิต ทุกอย่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ยิ่งใช้ทฤษฎีตะวันตกมาเป็นฐานในการคิดแก้ไขปัญหามากเท่าไร ก็ยิ่งมองไม่เห็นหนทางแก้ปัญหามากขึ้นเท่านั้น

ก็ไม่รู้มี รัฐมนตรีจีน  คนไหนแอบมาอ่านเจอ "ทฤษฎีสองสูง" ของ เจ้าสัวธนินท์ หรือเปล่า เพราะเมื่อต้นปีนี้เอง รัฐบาลจีน เพิ่งประกาศนโยบายใหม่ ให้รัฐบาลรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาที่สูงขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 10.5 ด้วยเหตุผลเดียวกับที่ เจ้าสัวธนินท์ เสนอก็คือ เพื่อ ให้เกษตรกรที่ยากจนในชนบทมีรายได้สูงขึ้น เพื่อให้มี "กำลังซื้อ" มากขึ้น และยังเป็นการจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้นด้วย

นโยบาย ของ รัฐบาลจีน ครั้งนี้ ผมดูแล้วพิเศษตรงที่มีหลักของ "ทฤษฎี ขาดทุนคือกำไร" ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมเข้าไปด้วย

การ ที่ รัฐบาลจีน รับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาที่สูงขึ้นร้อยละ 10.5 โดยราคาข้าวในตลาดไม่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้ชาวนาจีนมีรายได้เพิ่มขึ้นทันทีอีกร้อยละ 10.5 ในฤดูการเก็บเกี่ยวปีนี้ แน่นอนว่ารัฐบาลจีนย่อมต้องขาดทุนไปร้อยละ 10.5 เช่นเดียวกัน

แต่ รัฐบาลจีน คงคิดแบบทฤษฎี "ขาดทุนคือกำไร" ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลขาดทุนนิดหน่อยไม่เป็นไร แต่ขอให้ชาวนาจีนมีรายได้เพิ่มขึ้นก็พอใจแล้ว เมื่อชาวนาจีนอยู่ดีๆก็มีรายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.5 ในปีนี้ ก็ทำให้ชาวนาจีนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ด้วยผลผลิตเท่าเดิม ทำให้มีเงินใช้จ่ายมากขึ้น มีเงินลงทุนในการเพาะปลูกมากขึ้น

เมื่อ ชาวนาจีนมีการใช้จ่ายมากขึ้น ก็ทำให้เศรษฐกิจประเทศจีนหมุน เวียนมากขึ้น สุดท้ายประเทศก็ได้กำไรมากขึ้น

การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะ ผมเชื่อว่าทำได้ ถ้านำ สองทฤษฎีนี้มาประยุกต์ใช้เข้าด้วยกัน รัฐต้องทำให้ราคาสินค้าเกษตร สูงขึ้น และ ต้องเพิ่มเงินเดือนข้าราชการให้สูงขึ้น ดึงให้เงินเดือนเอกชนสูงขึ้นด้วย จะเพิ่มกำลังซื้อในประเทศมหาศาล แล้วความเหลื่อมล้ำก็จะค่อยๆลดลงไปเอง แต่จะให้ทุกคนมีรายได้เท่าเทียมกันนั้น เพ้อฝันเกินไป มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว.

"ลม เปลี่ยนทิศ"

จากไทยรัฐ 1-6-53
http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/86407

ทฤษฎี 2 สูง  เป็นวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับภูมิประเทศของไทย

แต่การทำให้รายได้เป็น "เงินบาท" สูงขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าก็สูงขึ้นด้วย จึงคล้ายกับ หักลบแล้วอาจไม่เหลือ
ประกอบกับประเทศเรา ขนาด ไม่ใหญ่นัก
จึงเสียงมาก ต่อการสูญเสีย ความมั่งคั่งที่สะสมมาได้


เพื่อให้ สองสูง  เดินได้อย่างราบรื่น และได้ประโยชน์อย่างมั่นคง

ต้อง ดำเนินภายใต้ "ระบบเงินคู่" ครับ


หมายเหตุ : และต้องเข้าใจ "ทฤษฎี ขาดทุนคือกำไร" ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยครับ
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #51 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2553, 07:46:53 »

 
อ้างถึง   
วันที่ 03 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 09:25:26 น.   ประชาชาติธุรกิจออ นไลน์

ที่ดิน"ย่านวิทยุ"ทุบ สถิติใหม่ตารางวาละ1.5 ล้าน ตระกูล"สุทัศน์ ณ อยุธยา ขายให้กลุ่ม"แสนสิริ"

ซื้อขายที่ดินยังราคา กระฉูด ย่านวิทยุ พุ่ง 1.5 ล้านบาทต่อตารางวาหลังตระกูล สุทัศน์ ณ อยุธยา ขายให้กับกลุ่มแสนสิริในราคารวม 1,234 ล้านบาท ทุบสถิติเดิมที่เสี่ยตัน โออิชิเคยซื้อขายไว้ตารางวาละ 1 ล้านบาทขณะที่ดีลเอไอเอที่ได้พัฒนาโครงการตลาดทุนของตลาดหลักทรัพย์ก็สร้าง บรรทัดฐานราคาที่ดินย่านรัชดาฯใหม่ ตารางวาละ 4.3แสน

นายปฏิมา จีระแพทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด ที่ปรึกษาทางด้านด้านอสังริมทรัพย์ เปิดเผยว่า แม้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้จากการจลาจลในกรุงเทพฯที่ผ่านมา แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพราะช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา มีดีลซื้อขายที่ดินขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะดีลสถิติซื้อขายสูงสุดใหม่ 1.5 ล้านบาทต่อตารางวา (ตร.ว.)เป็นดีลซื้อขายที่ดินพื้นที่รวม 2 ไร่ 23 ตร.ว. บริเวณถนนวิทยุ ด้านหลังธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานเพลินจิต เดิมเป็นสถานทูตสเปน เป็นที่ดินของตระกูล สุทัศน์ ณ อยุธยา ขายให้กับบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ในราคารวม 1,234,500,000 บาท ทุบสถิติเดิม ซื้อขาย 1 ล้านบาทต่อ ตร.ว. ที่นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัทโออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เคยขายที่ดินติดกับตึกเวฟเพลส ย่านเพลินจิต ให้ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) เมื่อราว 3-4 ปีก่อน หากบริษัทแสนสิริ นำที่ดินผืนนี้ไปพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมจะต้องตั้งราคาสูงถึง 3 แสนบาทต่อตารางเมตร (ตร.ม.) จึงจะให้ผลตอบแทนทางธุรกิจที่เหมาะสมกับราคาซื้อขาย


นายปฏิมากล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีดีลซื้อขายที่ดินของบริษัทไรมอน แลนด์ จำนวน 2 ไร่ 3 งาน ติดกับตึกเวฟ ที่ซื้อต่อมาจากนายตัน ให้กับบริษัท ไทยซัมมิท แกรนด์ เอสเสท ของนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ในราคา ตร.ว. ละ 1.2 ล้านบาท คิดเป็นเงินรวม 1,326,840,000 บาท ส่วนดีลซื้อขายที่ดินของตลาดหลักทรัพย์ ย่านรัชดาให้กับบริษัทเอไอเอ พื้นที่ 9.66 ไร่ ราคา 1,600 ล้านบาทนั้น เอเอไอ เสนอราคาสูงสุดถึง ตร.ว.ละ 4.3 แสนบาท เป็นการสร้างบันทัดฐานการซื้อขายใหม่บนย่านนี้ เพราะเดิมราคาซื้อขายจะอยู่ที่เฉลี่ย 3 แสนบาทต่อ ตร.ว.


 

นายปฏิมากล่าวว่า จากเหตุการณ์ไฟไหม้กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้ความต้องการอาคารสำนักงาน รวมทั้งเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ย่านราชประสงค์ลดลง และยังทำให้เกิดการปรับตัวในรูปแบบใหม่ เช่น การจัดตั้งออฟฟิศ ในลักษณะแบ๊ค ออฟฟิศ เป็น ออฟฟิศ ชั่วคราว นอกเมือง เพื่อป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งยังว่าจ้างบุคลากรจากภายนอกมาทำงาน เพื่อไม่ต้องบริการจัดการคนเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน



อ้างอิง : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1275529084&grpid=02&catid=no

.................................................

เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ของการใช้การเงิน ระบบเดิม
ซึ่งส่งผลให้ เงินบาท ไปกระจุก และ สร้างเงินต่อเงินได้ิอย่างง่ายๆ
โดยมีสถาบันการเงินเป็นฐานรองรับ

ซึ่งหาก เงินต่อเงิน ได้โดยไม่เกิดปัญหา ก็ไม่ว่ากันละ
แต่เมื่อเกิดปัญหา...ย่อมกระทบต่อสถาบันการเงิน
และ เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ต้องรับภาระเป็นฐานสุดท้ายทุกครั้ง


ระบบเงินคู่
จะเป็นเครื่องมือ ปรับสมดุล ก่อความมั่นคง และสร้างความเป็นธรรมในสังคมได้


      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #52 เมื่อ: 06 กันยายน 2553, 17:10:35 »

บทความข้างท้ายนี้ นำมาจาก ไทยรัฐออนไลน์  วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2553

หาก ท่านผู้ว่าฯดร.ประสาร  ลองพิจารณา เครื่องมือ "ระบบเงินคู่" แล้ว จะพบว่าโจทย์ยากๆที่ยังหาทางออก
ให้ประเทศไทยไม่ได้นั้น ลูกกุญแจชื่อ "ระบบเงินคู่" สามารถ ไขประตูได้แน่นอน


http://www.thairath.co.th/column/eco/ecoscoop/108788
 
อ้างถึง   
Pic_108788
ดอกเบี้ย ค่าบาท สถาบันการเงินพันธกิจหนัก 5 ปี "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล"

ย่างก้าวสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ท่ามกลางความเปราะบางของการฟื้นตัว และแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการชะลอตัวลงอีกของเศรษฐกิจโลกเมื่อเข้าสู่ ไตรมาสที่ 3

ขณะที่แรงขับเคลื่อนหลักในการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ ไทยซึ่งก็คือ การส่งออก กำลังถูกกระทบอย่างหนักจากการที่เศรษฐกิจโลกมีโอกาสจะกลับไปสู่วิกฤติอีก ครั้ง หลังการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ในช่วงที่ผ่านมา ไม่สามารถยืนระยะอย่างมั่นคงและต่อเนื่องได้

ผสมโรงกับเงินบาทที่ แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงขณะนี้  แข็งค่าขึ้นแล้วมากกว่า 6.5% สูงกว่าการแข็งค่าของคู่แข่งทุกประเทศในภูมิภาคนี้  ยกเว้นก็แต่เพียงมาเลเซียเท่านั้น สิ่งนี้กำลังกลายเป็นปัญหาที่กระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งยังก่อให้เกิดความกังวลใจ เมื่อเริ่มเห็นแรงเก็งกำไรค่าเงินบาทที่เพิ่มมากขึ้น

ในอีกด้านหนึ่ง "อัตราเงินเฟ้อ" ซึ่งอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาหลายปี ได้ขยับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกตามการใช้จ่าย และลงทุนภาคเอกชนที่จะมากขึ้นในอนาคต รวมทั้งการจ่อขึ้นราคาสินค้าหลายรายการตามต้นทุนที่สูงขึ้น และการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการของรัฐบาล

ด้วยเหตุผลนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องกัน 2 ครั้ง ครั้งละ 0.5% ขณะเดียวกัน ก็ส่งสัญญาณการปรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยจากขาลง ซึ่งคงอัตราดอกเบี้ยต่ำไปเป็นอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นตลอดช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และปีหน้า แม้จะมีกระแสวิพากษ์ วิจารณ์ถึงจังหวะเวลาที่ไม่เหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ตาม

ทั้ง หมดนี้ จึงเป็นช่วงจังหวะที่ท้าทายของ ธปท.ในฐานะเป็นผู้กำหนดนโยบายดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อประคับประคองการขยายตัวให้เกิดขึ้นต่อเนื่อง พร้อมกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้คงอยู่ต่อไป

แต่ที่ดูจะยาก และท้าทายยิ่งกว่า ก็คือ การพิสูจน์ตัวตนของว่าที่ ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้กุมบังเหียน ในการกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย และค่าเงิน เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจโดยรวม และสนับสนุนรัฐบาลในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ

"ผมบอกกับตัวเองก่อนตัดสิน ใจสมัครชิงตำแหน่งนี้ว่า นี่เป็นงานที่ท้าทาย และยาก แต่ก็เป็นงานที่ทำประโยชน์ให้ส่วนรวม เมื่อมีโอกาสก็อยากจะใช้ประสบการณ์ที่ตัวเองมี ทั้งจากการทำงานที่ ธปท. ที่ตลาดทุน และจากการทำงานในธนาคารพาณิชย์ มาทำประโยชน์ ซึ่งผมก็หวังว่า ต่อจากนี้ไปจะใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ หลากหลายที่มี ทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากที่สุด"
ประสาร  ไตรรัตน์วรกุล  ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ปรารถกับ ทีมเศรษฐกิจ ก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวความในใจที่สะท้อนให้เห็นถึงมุมมอง และแง่คิดในการบริหารงานของเขาบนเก้าอี้ผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศไทย ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 ต.ค.นี้

นโยบาย ธปท. มหภาคสู่รากหญ้า

"ผม ยังไม่มีความคิดเปลี่ยนแปลงนโยบาย หรือมีธงที่จะปรับเปลี่ยนอะไรใน ธปท. ทันที เพราะเป็นเรื่องอ่อนไหว และหากจะปรับเปลี่ยนอะไรควรมีข้อมูล และได้พูดคุยกับคนที่ทำงานร่วมกันเสียก่อน"

โดยเวลา 5 ปี ที่จะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.นั้น จะเริ่มจากทำความเข้าใจของทุกฝ่ายให้ตรงกันเพื่อให้ ธปท.เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนได้ภายใต้ค่านิยมที่ดี ภายใต้ค่านิยมที่จะสร้าง ธปท.ให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ธนาคารกลางที่ดูแลได้ดี ทั้งเสถียรภาพ และการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งมองพันธกิจเพิ่มขึ้นที่จะดำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนนโยบายหลักของ ประเทศ โดยเฉพาะการดูแลชนชั้นรากหญ้า และสิ่งแวดล้อม

"เมื่อ 2-3 เดือนก่อน มีคนถามผู้ว่าฯธาริษาว่า ผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ควรเป็นอย่างไร ผู้ว่าฯธาริษาให้คำมา 3 คำ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นคำที่ดีที่ไม่ใช่ผู้ว่าการ ธปท.เท่านั้นควรเป็น แต่ ธปท.และองค์กรทั้งหมดของประเทศควรเป็น คือ "ยืนตรง มองไกล และติดดิน"

การยืนตรง  คือ  ยึดมั่นในหลักการ  มีความซื่อตรง  เป็นธรรม  ไม่โอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ มองไกล หมายถึง มีความรู้ความสามารถ มีความรอบคอบในการตัดสินใจและมองไปข้างหน้า ส่วน ติดดิน คือ การอยู่ในโลกของความเป็นจริง มีแนวทางและนโยบายที่เหมาะสม และเป็นไปได้ที่จะปฏิบัติจริง

อย่างไรก็ตาม ยังมีคำที่ 4 ที่อยากจะเติมลงไป คือ "ยื่นมือ" ทั้งการยื่นมือเพื่อให้เกิดความร่วมมือภายในองค์กรที่มากขึ้น รวมถึงการยื่นมือเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานที่ดูแลเศรษฐกิจภายนอก และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกๆด้าน

"บางคนอาจมองว่า ยังมีบางคำที่ ธปท.ในขณะนี้ยังไม่เป็นไปตามนั้น เช่น ยังไม่ติดดิน ไม่มองไกล หรือไม่ยื่นมือ แต่ในเวลา 5 ปี จะพยายามทำให้เกิดขึ้นจริงให้ได้ ธปท.ช่วงต่อไป จึงจะเปิดกว้างมากขึ้น โดยในช่วงที่ยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งนี้ก็ใช้เวลารับฟังข้อมูล ความคิดเห็นจากทุกฝ่ายทุกคนอยู่"

พันธกิจที่มากกว่า "นโยบายการเงิน"

อย่าง ไรก็ตาม เป้าหมายหลักในฐานะที่ดูแลภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ หน้าที่ของ ธปท.จึงยังต้องรักษาความสมดุลของเศรษฐกิจของประเทศให้ดีที่สุด โดยหากเห็นข้างไหนเริ่มเอียงก็หาทางให้ข้างนั้นกลับสู่สมดุล เช่น ถ้าเศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ช่วงร้อนแรงมากเกินไป ก็ต้องหาทางให้ร้อนลดลง ในอีกทางหนึ่งถ้าเริ่มกลับมาซบเซาเกินไป ก็ต้องมีมาตรการช่วยให้เศรษฐกิจไทยซบเซาน้อยลงเช่นกัน

"อย่างเช่นใน ครึ่งปีหลังของปีนี้ เศรษฐกิจชะลอตัวลงก็จริงแต่ไม่ใช่ทรุดตัวลง ยังเป็นการเติบโตต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงเท่านั้น ดังนั้น จึงยังไม่จำเป็นที่จะต้องอัดยาขนานใหญ่อะไรเป็นพิเศษเพิ่มเข้าไป แต่ก็ต้องคอยระวังไม่ให้มีอะไรแปลกปลอมมาทำให้ติดเชื้อใหม่ ประคับประคองการฟื้นตัวให้ต่อเนื่อง"

อย่างไรก็ตาม ในสังคมของประเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลง ในระยะหลังนี้ นอกเหนือจากดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจของประเทศ นายประสารมองว่ามีเป้าหมายใหม่ๆ ที่เข้ามากระทบการทำงานของ ธปท. มากขึ้น เช่น ความแตกต่างและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประชาชน

โดยจากผลการ สำรวจยังพบว่า ความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของประเทศ อยู่ในมือของเจ้าของกิจการ หรือเจ้าของทุน ในขณะที่เกษตรกร แรงงาน ลูกจ้างประจำ รวมถึงข้าราชการ ยังมีส่วนแบ่งที่น้อยมาก และในที่สุดได้นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งในฐานะที่เป็นองค์กรบริหารเศรษฐกิจจะหลับตาไม่ดูเรื่องนี้คงไม่ได้

ใน แง่นี้ นโยบายการเงินอาจจะไม่เอื้อในการช่วยบรรเทาปัญหา ดังนั้น อาจจะต้องเข้าไปดูแล ผ่านหน้าที่ที่เราดูแลระบบสถาบันการเงินของประเทศ โดยเฉพาะการทำให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งทุนมากขึ้นจากระบบสถาบันการเงินที่มีอยู่ แล้ว นอกจากนั้น การสร้างกลไกหรือสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ตรงให้ถึงรายย่อย และผู้ไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในปัจจุบัน หรือที่เรียกกันว่า "ไมโครไฟแนนซ์" (Microfinance) เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นภายในช่วงเวลา 5 ปี ที่ทำงานในตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.

โดยขณะนี้กำลังศึกษาในหลายแนวทาง ทั้งในส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ทำเอง โดยตั้งส่วนใหม่แยกออกมาจากส่วนเดิม หรือทำผ่านบริษัทลูกที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) อีกแนวทางคือ การเป็นแหล่งเงินของกลุ่มออมทรัพย์ต่างๆ หรือกองทุนหมู่บ้านที่มีอยู่แล้ว

นอก จากการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนรากหญ้าแล้ว อีกประเด็นหนึ่ง ที่ผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ ให้ความเห็นว่า กระทบต่อการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปคือ กระแสหลักของเศรษฐกิจยุคใหม่ที่สนใจการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดี และการลดใช้ทรัพยากรมากขึ้น ในช่วงต่อไป ธปท. คงไม่ละเลยกระแสนี้ และอาจจะมีส่วนรวมมากขึ้น ทั้งความพยายามลดการใช้ทรัพยากร และดูแลสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอง การให้ความร่วมมือกับองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนองค์กรที่ทำประโยชน์ ในด้านนี้อยู่แล้ว

เผยทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น-สเปรดลด

สำหรับ การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไปนั้น ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ส่งสัญญาณตรงกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า อัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อไปยังเป็นขาขึ้น

"ในปีก่อนหน้า เศรษฐกิจไทยทรุดตัวค่อนข้างมาก ทำให้ ธปท.ต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง จนสุดท้ายอยู่ในระดับ 1.25% ถือว่าต่ำมาก เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว แนวทางคือ ต้องทำให้เข้าสู่ดุลยภาพ"

แต่ศิลปะของการปรับขึ้นจะต้องดูความสมดุล ทั้ง 2 ด้าน ทั้งดูแลเสถียรภาพ และการขยายตัวของเศรษฐกิจ จึงเห็นได้ว่า แม้ดอกเบี้ยในขณะนี้จะเป็นขาขึ้น แต่อัตราเร่งของการปรับขึ้นไม่ได้ขึ้นแบบฉับพลัน หรือครั้งละมากๆ แต่ค่อยๆขึ้นจนปกติ เพราะหากปล่อยให้เข้าสู่การขาดดุลยภาพ ปัญหาอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเราอาจตั้งรับไม่ทันได้

ดังนั้น ถ้าปล่อยอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำมากๆ ต่อเนื่องยาวนานอาจจะสร้างความเข้าใจและการตีมูลค่าสินทรัพย์ที่แท้จริงผิด พลาด และเมื่อเงินหาง่าย ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาที่นำไปสู่การลงทุนที่ผิดพลาด หรือการลงทุนที่เกินตัวที่ลุกลามสร้างปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจได้

"การ ใช้นโยบายดอกเบี้ย คล้ายกับการโด๊ปยา ปีที่ผ่านมาร่างการอ่อนแอ ต้องโด๊ปยาให้ร่างกายฟื้น แต่เมื่อร่างกายฟื้นตัว การโด๊ปยาต่อเนื่องไป อาจจะเป็นผลร้ายต่อร่างกายได้"

ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ยังชี้ให้เห็นถึงข้อดีของดอกเบี้ยขาขึ้นด้วยว่า หากพิจารณาตามต้นทุนทางการเงินของธนาคารพาณิชย์แล้ว ในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ควรจะปรับขึ้นได้เร็วกว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็เป็นไปในแนวทางนี้อยู่ ตรงกันข้ามกับ ช่วงดอกเบี้ยขาลง ที่ดอกเบี้ยเงินกู้จะลงช้ากว่าดอกเบี้ยเงินฝาก

ดัง นั้น สเปรดดอกเบี้ยที่คำนวณง่ายๆ จากการนำดอกเบี้ยเงินกู้ลบด้วยเงินฝาก ซึ่งเป็นสเปรดที่สังคมส่วนใหญ่จับตาอยู่ ในช่วงต่อไปจะค่อยๆแคบลงและจะเห็นชัดเจน เมื่อดอกเบี้ยขยับขึ้นไประยะหนึ่งแล้ว ซึ่งจะทำให้ความเป็นห่วงเรื่องนี้ลดลงได้ระดับหนึ่ง

ดันแบงก์พาณิชย์ดูแลเศรษฐกิจ

ถัด มาที่แนวทางการกำกับดูแลระบบธนาคารพาณิชย์ของผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ซึ่งเพิ่งลุกมาจากตำแหน่งนายแบงก์หมาดๆได้เปิด 5 ภารกิจ ที่วางแนวทางไว้เพื่อให้ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยสนับสนุนการพัฒนาประเทศมากกว่า ที่เป็นอยู่นี้ให้ "ทีมเศรษฐกิจ" ฟัง

เริ่มจากข้อที่ 1. การระดมทุนและการกระจายทุนเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างเพียงพอ 2. การดำเนินการด้านระบบชำระเงินของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 3. เป็นกลไกบริหารความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจของประเทศ 4. เป็นแหล่งข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ และ 5. เป็นกลไกช่วยส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลในระบบเศรษฐกิจ และภาคธุรกิจของประเทศ

ทั้ง 5 ภารกิจ จะเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงิน และสอดส่องดูแลปัญหาที่อาจจะมีสัญญาณภายในระบบเศรษฐกิจไทย แต่ที่สำคัญที่สุด การดำเนินการของธนาคารพาณิชย์จะต้องมีความพอดี และเป็นธรรมระหว่างการสร้างกำไรของธนาคารกับการให้บริการที่ดี และเหมาะสมต่อภาคธุรกิจ และผู้บริโภค

ขณะเดียวกัน ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ยังมองเห็นถึงจุดอ่อนของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องระมัดระวังในช่วงต่อไปด้วย เรื่องแรกเป็นความเสี่ยงด้านเครดิต เพราะการแข่งขันที่เริ่มสูงขึ้นมาก ทำให้บางธนาคารผ่อนเงื่อนไขการให้สินเชื่อบางประเภทลง ขณะเดียวกัน หลายธนาคารตัดสินใจปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ต่อรายค่อนข้างมาก ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นต้องวิเคราะห์สินเชื่ออย่างรอบคอบ

การใช้ เทคโนโลยีในการบริการธุรกรรมทางการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นอีกความเสี่ยงหนึ่งที่ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบการจัดการ การรองรับปัญหา และการดูแลความปลอดภัยที่เหมาะสม และต่อเนื่อง

ความเสี่ยงที่เกิด จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของตลาดทุน การมีสินค้าที่มีความซับซ้อน และซ่อนความเสี่ยงไม่รับรู้ไว้ เป็นอีกจุดอ่อนหนึ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไทยต้องระวัง รวมทั้งยังเป็นความท้าทายของผู้กำกับ อย่าง ธปท.ด้วย ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ขออนุญาตก่อนที่จะลงทุนที่มีความเสี่ยงหรือซับซ้อน สูง ทำให้ธนาคารพาณิชย์แทบไม่ได้ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้

แต่ ในอนาคต กระแสทุนทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ตลาดเงินตลาดทุนที่กว้างขึ้น ทำให้หลีกเลี่ยงได้ยาก ธปท.จึงต้องคิดถึงการอนุญาตการลงทุนที่เหมาะสม รวมถึงการป้องกัน และการรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการลงทุนในตราสารเหล่านี้ไว้ด้วย

ใน ส่วนแนวทางการเปิดเสรีทางการเงิน และระบบสถาบันการเงินของประเทศนั้น ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ให้นิยามการเปิดใบอนุญาตการตั้งธนาคารพาณิชย์ใหม่ ไว้ว่า

"ถ้าการมีธนาคารพาณิชย์ใหม่แล้ว สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างประโยชน์ใหม่ๆ ให้กับระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศได้ การปิดกั้นก็ไม่ควรทำ แต่ต้องชัดเจนว่ามีมูลค่าเพิ่มจริงๆ ขณะที่การเปิดเสรีทางการเงินก็เช่นกัน ต้องเปิดแบบให้เราได้ประโยชน์มากที่สุด และข้อเท็จจริงจากทั่วโลก ในโลกนี้ไม่มีประเทศใดเปิดเสรีอย่างแท้จริง โดยไม่มีเงื่อนไข"

โจทย์หนักหิน "ค่าเงินบาทแข็ง"

สำหรับ การแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ท่ามกลางการไหลเข้าของเงินทุนมาสู่ภูมิภาคเอเชีย และประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง  ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ยอมรับว่า เป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหว

"ในขณะนี้ติดตามค่าเงินบาทอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งรวมถึงวิธีในการดูแลค่าเงินบาทของ ธปท.และมาตรการที่จะนำมาใช้ในการดูแลเงินบาทด้วย แต่เป็นเรื่องที่อ่อนไหวและเป็นโจทย์ที่ยากมาก ดังนั้น จะให้ตอบในขณะนี้อาจจะไม่เหมาะสม"

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ นายประสารมีความเห็นว่า ควรจะเปลี่ยนไปโดยพิจารณาเปรียบเทียบกับคู่แข่งมากกว่าที่จะเปรียบเทียบกับ ความต้องการซื้อสินค้าของผู้ค้าอย่างที่เป็นอยู่

เพราะในภาวะเช่นนี้ ค่าเงินแทบทุกสกุลที่เป็นคู่แข่งของไทยต่างแข็งขึ้นด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ แม้แต่กระทั่งจีน ดังนั้น แทนที่จะมองว่าค่าเงินแข็งแล้ว ยุโรปจะไม่ซื้อสินค้าเราเพราะราคาแพงขึ้น ทำให้ต้องลดราคาลงสู้ ควรจะมองเทียบกับคู่แข่งว่า ทุกคน ไม่ว่าไทย มาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย อยากจะขายสินค้าในราคาไหนมากกว่า

เช่น เดิมขายสินค้าชนิดหนึ่งที่ 2 ยูโรต่อชิ้น เมื่อค่าเงินแข็งราคาขายเพิ่มขึ้นเป็น 2.10 เหรียญฯต่อชิ้น ทำไมทุกคนต้องตัดราคาขายสินค้าที่ 2 เหรียญฯเหมือนเดิม แต่ควรจะมองในด้านคู่แข่งว่า ทุกคนอยากขายในราคาที่สูงกว่าเพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลงจากค่าเงินที่แข็งขึ้น ดังนั้น การบริหารจัดการในช่วงที่ค่าเงินแข็งขึ้น จึงไม่ควรเป็นสาเหตุในการตัดราคาขายเพื่อแข่งขันกัน

ส่วนเรื่องที่ เกี่ยวพันกับการใช้เงินเพื่อแทรกแซงค่าเงินบาท ผลกำไร-ขาดทุนของ ธปท. ซึ่งต่อเนื่องไปถึงการหาวิธีการชดใช้หนี้ในส่วนเงินต้นของกองทุนฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงินที่มียอดคงค้างสูงถึง 1.32 ล้านล้านบาทนั้น

นาย ประสารยอมรับว่า ได้โจทย์นี้มาจากกระทรวงการคลังเช่นกัน และกำลังคิดหาแนวทางที่เหมาะสมและดีกับทุกฝ่ายอยู่ เพราะตามกฎหมาย หากมีกำไรให้ ธปท.ตัด 90% ไปใช้หนี้เงินต้นให้กับหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ แต่ที่ผ่านมา หน้าที่ที่จะต้องดูแลแทรกแซงค่าเงินบาทและการดูดซับสภาพคล่องเงินบาท ทำให้ ธปท.ขาดทุนต่อเนื่องหลายปี และมีภาระขาดทุนสะสม ทำให้ส่งเงินกำไรเพื่อตัดหนี้เงินต้นไม่ได้

ทั้งหมดนี้ คือ การเตรียมความพร้อมที่จะรับโจทย์ยากและงานหนักของ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ท่ามกลางความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย ในฐานะผู้ว่าการ ธปท.คนต่อไป.

ทีมเศรษฐกิจ
      บันทึกการเข้า
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #53 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2553, 07:42:25 »

 
อ้างถึง   
11 กรกฎาคม 2552, 14:55:54

--------------------------------------------------------------------------------

 ผมเห็นว่า เงินบาทแข็งดีกว่าเงินบาทอ่อน

มีข่าว ท่านนายกอภิสิทธิ์ ให้ไปหาวิธีทำให้เงินบาทอ่อน
http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=7391&categoryID=310

ผมใคร่เสนอตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยผ่านกลไก "ระบบเงินคู่"
ลองอ่านกันดูนะครับ ผิดพลาดอย่างไรแนะนำผมด้วยครับ

กรณีไม่มีระบบเงินคู่
สมมติข้อมูล ณ   วันที่1 กค.    เป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้  35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรล ละ 70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ   10500 บาท และส่งออกได้ 310 ดอลลาร์
(ซื้อข้าวเปลือกมา300 ดอลลาร์ จึงกำไร 10 ดอลลาร์)

แต่เพราะต้องการช่วยเหลือผู้ส่งออกทำให้ วันที่ 1 ส.ค.  ข้อมูลจึงเป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้ 70บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรลละ  70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ  10500 บาท  และส่งออกได้ 310 ดอลลาร์ (
ซื้อข้าวเปลือกมา 150 ดอลลาร์ จึงกำไร 160 ดอลลาร์)
อยากถามว่า เดือดร้อนไหมครับ  ค่าเงินในกระเป๋าคนไทย เพิ่มหรือลด

มาดูกันในกรณี ใช้ระบบเงินคู่
สมมติข้อมูลเดียวกัน  ณ   วันที่1 กค.    เป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้  35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรล ละ 70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ  10500 หน่วยเงินรอง
(ระบบเงินคู่ ต้องพยายามกำหนดราคาสินค้าที่คนไทยสร้างได้เป็นหน่วยเงินรอง)
ระบบเงินคู่  เงิน 1บาทแลกได้  1หน่วยเงินรอง

แต่เพราะต้องการช่วยเหลือผู้ส่งออก รัฐบาลจึงใช้กลไกระบบเงินคู่เข้าช่วย
โดยไม่ไปยุ่งกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์

1 ส.ค.  ข้อมูลจึงเป็นดังนี้
เงิน 1 ดอลลาร์ แลกได้ 35 บาท
ราคาน้ำมันบาร์เรลละ  70 ดอลลาร์
ราคาข้าวเปลือก  ตันละ  10500  หน่วยเงินรอง
รัฐบาลผลักดันจนได้ เงิน 1 บาท แลกได้ 2 หน่วยเงินรอง
จะเห็นว่า กรณีใช้ระบบเงินคู่เข้าช่วย
ผู้ส่งออก ใช้เงินบาทเพียง 5250 บาท(150 ดอลลาร์) จะได้ข้าวเปลือก 1 ตัน ในขณะที่ชาวนา ได้เงิน 10500 หน่วยเงินรอง

มาวิเคราะห์เฉพาะผู้ส่งออกก่อน
กรณีใช้ระบบเงินคู่
ผู้ส่งออก ใช้เงินบาทเพียง 5250 (150ดอลลาร์)ในขณะที่ส่งออกได้ดอลลาร์เท่าเดิม
เมื่อนำมาแลกเป็นเงินบาทแม้จะได้ไม่เท่าเงินบาทอ่อนตัว
แต่ก็ได้กำไรถึง 5600(160ดอลลาร์) บาท
ซึ่งสามารถซื้อน้ำมันได้ 5600/35/70 เท่ากับ 2.285 บาร์เรล

(แต่ เงิน 10850 บาทยังสามารถซื้อน้ำมันได้ (310/70 เท่ากับ ) 4.428  บาร์เรล )

ส่วนในกรณีที่ไม่ใช้ระบบเงินคู่ ทำให้บาทอ่อนตัว
ผู้ส่งออกได้เงินสูงขึ้น 310x70 เท่ากับ  21700 บาท ได้กำไร 11200 บาท(21700-10500)
 ซึ่งกำไรดังกล่าวก็ซื้อน้ำมันได้เพียง 2.285 บาร์เรลเท่ากัน(1120/70/70)
จะเรียกว่าผู้ส่งออกได้ประโยชน์โดยสมบูรณ์ได้อย่างไร
ผู้ส่งออกเพียงแต่แข่งขันได้และไม่เจ็บตัวเท่านั้น
แต่ที่ต้องแบกรับการแข่งขันได้และไม่เจ็บตัวของผู้ส่งออกก็คือ
ความมั่งคั่งที่สะสมมาของประเทศไทย
(ยังไม่นับการสูญเสียจาการขาดทุนเนื่องจากการแทรกแซงค่าเงินโดยตรง)
คือเบียดบังจากคนไทยทั้งประเทศ โดยที่ได้ไม่คุ้มเสีย
เพราะผู้ส่งออกก็คือคนไทย เมื่อประเทศเสียเปรียบในที่สุดผู้ส่งออกก็สูญเสียเช่นกัน

มาดูในส่วนของชาวนา
กรณีใข้ระบบเงินคู่
 ซึ่งแม้จะได้ค่าข้าวเปลือกเป็นหน่วยเงินรองเท่าเดิมคือ 10500 หน่วยเงินรอง
 แต่เมื่อเทียบกลับเป็นเงินบาทจะเหลือเพียง  5250 บาท
ซึ่งซื้อน้ำมันได้  2.142 บาร์เรล(5250/35/70)
กรณีไม่ใช้ระบบเงินคู่ แต่ใช้วิธีการแทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อน
ชาวนาขายข้าวได้ราคา 10500 บาท ซึ่งซื้อน้ำมันได้
2.142 บาร์เรลเช่นกัน (10500/70/70)
จะเห็นว่า แม้ขาวนา จะได้เงินบาทน้อยลง แต่ก็ยังซื้อน้ำมันได้เท่ากัน   
และถ้าพัฒนากิจกรรมโดยใช้หน่วยเงินรองมากขึ้น
ก็จะเป็นการเพิ่มความมั่งคั่งสะสมในที่สุด
แม้ในระยะแรกจะเหมือนกับชาวนาต้องแบกรับทางอ้อม
(ซึ่งความจริงทุกวันนี้เกษตรกรไทยก็เป็นผู้แบกรับอยู่แล้ว)
แต่เมื่อประเทศได้ ในที่สุดชีวิตเกษตรกรจะดีขึ้น

เมื่อ 11 กค.52 ผมเคยยกตัวอย่างการใช้ระบบเงินคู่ไปแล้ว
วันนี้จะขอยกอีกตัวอย่าง
ลองคิดกันดูนะครับ

ยังชิน
13 ตุลาคม 2553

............................
สมมติว่าผมโชคดี มีออเดอร์สั่งซื้อแป้งทากันยุงเปลเล่ จากต่างประเทศ ทุกเดือนในราคาตู้คอนเทนเนอร์ละ 10 ล้านดอลลาร์ ถ้าแป้งทากันยุงเปลเล่มีต้นทุนเป็นวัตถุดิบต่างประเทศ 7 ล้านดอลลาร์(สมมติผมนำเข้าวัตถุดิบเอง) ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ 32ล้านบาท ค่าแรง 32 ล้านบาท (คิดอัตราแลกเปลี่ยน 32 บาท ต่อ 1ดอลลาร์)  นั่นคือ ผมมีกำไรเดือนละ 1 ล้านดอลลาร์ (32 ล้านบาท)
ต่อมา เงินบาทแข็งค่า อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 30 บาท ต่อ 1ดอลลาร์  ผมจะเหลือกำไรหรือขาดทุนเท่าไร มาคิดกัน
ที่ค่าเงิน 32 บาท ต่อ 1ดอลลาร์    ผมใช้เงินบาท (7x32 =)  224 ล้านบาท +32 ล้านบาท (ค่าวัตถุดิบภายในประเทศ)+32ล้านบาท (ค่าแรง)   คิดเป็นเงินทั้งสิ้น  288 ล้านบาท  นั่นคือ ที่ค่าเงิน 32 บาท ต่อดอลลาร์ ผมมีเงินเหลือ 320-288= 32 ล้านบาท
ที่ค่าเงิน 30 บาท ต่อดอลลาร์ ผมใช้เงิน (7x30=)  210 ล้านบาท +32 ล้านบาท (ค่าวัตถุดิบภายในประเทศ)+32ล้านบาท (ค่าแรง)   คิดเป็นเงินทั้งสิ้น  274 ล้านบาท  นั่นคือ ที่ค่าเงิน 30 บาท ต่อดอลลาร์ ผมมีเงินเหลือ 300-274 =  26 ล้านบาท

เผอิญว่า ขณะนั้น พรรคไทยทันทุนได้เป็นรัฐบาล(หรือพรรคอื่นแต่เข้าใจระบบเงินคู่)  และใช้ระบบเงินคู่ ในเขตจังหวัดราชบุรี(ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงาน) ตอนที่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเป็น 32 บาทต่อ 1ดอลลาร์  ในระบบเงินคู่  เงิน 1 บาท แลกได้ 1 เงินรอง  เพื่อความมั่นคงผมซื้อวัตถุดิบภายในเขตราชบุรีด้วยเงินรอง 16 ล้าน ซื้อวัตถุดิบจากรุงเทพ 16 ล้านบาท จ่ายค่าแรงเป็นเงินรอง 16 ล้านเป็นเงินบาท 16 ล้าน  แต่พอเงินบาทแข็งค่า เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก รัฐบาลจึงผลักดันให้เงิน 1 บาท แลกได้  1.2 เงินรอง  ดังนั้นในระบบเงินคู่ เมื่อเงิน 30 บาทแลกได้ 1ดอลลาร์  ผมใช้เงิน (7x30=) 210ล้านบาท + (16/1.2 ล้านบาท+16ล้านบาท) (ค่าวัตถุดิบภายในประเทศ)+ (16/1.2 ล้านบาท+16ล้านบาท)(ค่าแรง)   คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 210+29+29 =268 ล้านบาท  นั่นคือ ที่ค่าเงิน 30 บาท ต่อดอลลาร์ ผมมีเงินเหลือ 300-268 =  32 ล้านบาท

(ซึ่งโดยทั่วไป ผมต้องมีเงินฝากไว้ทั้งในรูปเงินบาท และเงินรอง  เมื่อค่าเงินบาทกำลังเริ่มแข็งค่า และทราบว่ารัฐบาลกำลังจะทำให้เงินบาทแลกเงินรองได้มากขึ้น ผมก็จะพยายามไม่เก็บเงินรองไว้มาก จะพยายามฝากไว้ในรูปเงินบาท  นั่นคือในระหว่างนั้น จะมีการเอาเงินรองมาแลกเป็นเงินบาท ทำให้เงินบาทในระบบเพิ่มมากขึ้น  ขณะเดียงกันเงินรองในระบบจะน้อยลง   ต่อเมื่อเงินบาทแลกเงินรองได้เพิ่มขึ้น จึงมีการนำเงินบาทไปแลกเงินรอง )

หมายเหตุ ระบบเงินคู่ นั้น  การแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินรอง ไม่จำเป็นต้องเป็นไปทิศทางเดิมๆ อาจเปลี่ยนทางได้ เช่นเงินบาทแข็งขึ้น เงินรองก็อาจแข็งขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #54 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553, 08:41:07 »

"ระบบเงินคู่"
เงินบาทเป็นเงินของชาติมีธนาคารชาติคุม
แต่เงินรองเป็นเครื่องมือของรัฐบาลคุมโดยกระทรวงการคลัง...
ไม่ว่าเงินไหนทั้งธนาคารชาติและกระทรวงการคลังต้องทำงานสัมพันธ์กัน
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #55 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2553, 15:22:29 »

ค่าเงินบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 อยู่ที่ 29.70 บาท ต่อดอลลาร์ มาดูกันว่าจะต่ำกว่านี้ได้ไหม
แต่ถ้าให้คาดคะเน ที่29.70 น่าจะเป็นตัวต้านที่แข็งแกร่ง ถ้าผ่านเส้นนี้ลงไปได้ ค่าดอลลาร์คงอ่อนค่าลงอีกมาก

(ตัวเลข 29.70 นี้ต่ำสุดระหว่าง 15ตุลาคม2548-14ตุลาคม 2553)
      บันทึกการเข้า
chaojom
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104

« ตอบ #56 เมื่อ: 02 เมษายน 2554, 21:32:00 »

ไม่เคยรับรู้เรื่องภายในโครเอเชียมาก่อน คุณลม เปลี่ยนทิศเขียนเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับการค้าขายในโครเอเชียว่า "แม้แต่ราคาสินค้าก็มี 2 ราคา เงินพื้นเมืองคูน่า และ เงินยูโร"..ในนิทานการเงินบทที่ 10 ก็พูดเรื่องสินค้า 2 ราคาเช่นกัน

นี่คือหนึ่งในกลไก "ระบบเงินคู่"
http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/160524


      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #57 เมื่อ: 04 เมษายน 2554, 15:17:40 »




จะเกิดสิ่งที่ต้องการให้เกิดกับประเทศไทยได้ ต้องสามารถนำเข้าไปเสนอในสภาผู้แทน
แต่ปัจจุบัน การเมืองเป็นของนักการเมืองจะทำ เพื่อพรรค อันดับความเร่งด่วน
เรื่องอื่น ๆ จะต่อท้ายเรื่อง ที่เป็นประโยชน์ต่อพรรค จึงเห็นว่าการเมืองไม่เป็นที่พึ่ง
ของประชาชนจริง จึงควรเปลี่ยนให้ ใช้นายกสมาคมวิชาชีพ แต่ละวิชาชีพ ที่ได้รับเลือก
จากสมาชิกสมาคม โดยสามารถใช้ การลงคะแนนเสียงเลือกทางไอซีที ที่ ไอซีทีชุมชน
ที่จะมีทุกชุมชน เป็นภาระกิจของ กระทรวงเทคโนโลยี่และสารสนเทศ ไม่ต้องใช้
กรรมการการเลือกตั้ง กกต.ให้สิ้นเปลือง งบประมาณ และ เสียเวลา เพียงแต่
เมื่อลงคะแนนแล้วให้พิมพ์เอกสารให้เก็บเป็นหลักฐาน

เมื่อสงสัยผลการโหวต สามารถขอตรวจสอบกับ กรรมการไอซีที ชุมชนได้โดยตรง
นายกสมาคมแต่ละวิชาชีพ จะเป็นตัวแทนแต่ละอาชีพ ที่เสนอความต้องการของ
แต่ละวิชาชีพให้เข้าสู่สภา ได้

ที่น้องยังชินต้องการเสนอเรื่อง การเงิน ให้ใช้ "ระบบเงินคู่" ก็สามารถเสนอ
กับนายกสมาคมวิชาชีพที่เกียวข้องกับการเงิน ให้พิจารณา ถ้าเขาเห็นด้วย
เรื่อง ก็จะได้เข้าสู่สภา สู่การปฏิบัติได้ทันที เมื่อเข้าสู่สภาฯ แล้วสภาฯเห็นชอบ


ดูที่ผมเสนอที่กระทู้ ปิดประตูนักธนกิจการเมืองโดยด่วน ที่

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,11198.0.html

รักเธอประเทศไทย

http://www.youtube.com/watch?v=YRwyE1GQ_jI

win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #58 เมื่อ: 05 เมษายน 2554, 15:04:05 »

ขอบคุณครับ

ผมกำลังเขียน "ระบบเงินคู่..ความสมบูรณ์ของเงินตรายุคที่สาม " โพสใน วิชาการ.คอม

http://reurnthai.vcharkarn.com/vblog/114676/1
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 2 [3]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><