churaipatara
|
 |
« ตอบ #16400 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 14:47:37 » |
|
สวัสดีค่ะ
วันที่๒๖มค.ที่ผ่านมา อธิบดีผู้พิพากษาภาค๓ ตรวจเยี่ยมศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ
วันที่๒๘มค. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมมอบอุปกรณ์กีฬาและดนตรี ณ.ศูนย์ฝึก-
และอบรมเด็กและเยาวชนเขต๕ จังหวัดอุบลราชธานี
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16401 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 14:57:41 » |
|
 พ.สมทบ-ดร.เสรี แสงลับ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16402 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 15:03:11 » |
|
วันที่๒๘มค. รับผิดชอบโครงการสุขภาวะจิตศึกษาสำหรับเยาวชนและครอบครัว มีการบรรยายให้ความ-
รู้แก่เยาวชนและผู้ปกครอง อีกทั้งกิจกรรมอื่นๆตลอดวัน..
ตลอดสัปดาห์นี้หมดไปกับงานปฏิบัติหน้าที่ฯ งานโครงการฯ และงานสังคม ..แป้ปเดววันศุกร์แล้ว ชม.
สองชม.นี้ก้อขอมอบให้กับเวบนี้ค่ะ ..
|
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16405 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 15:41:51 » |
|
สาระน่ารู้(ต่อ)
๔. ผู้ถูกคู่ครองกระทำด้วยความรุนแรง มักจะคิดว่าคู่ครองที่กระทำรุนแรง จะสะกดรอยและติดตาม
ตนไปตลอดเวลา ..การศึกษาสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการ พบว่าผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงจะตกอยู่
ในกับดักทางความคิด เรียกว่า วงจรความรุนแรง แบ่งออกเป็น๓ชั้น
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16407 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 15:49:02 » |
|
ชั้นที่๑ เกิดความตึงเครียดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่ครองด้วยปัญหาต่างๆ
ชั้นที่๒ คู่ครองที่ปลดปล่อยความเครียดจากปัญหาต่างๆ จากชั้นที่๑ โดยขาดทักษะชีวิตที่เหมาะสม
จนกลายเป็นความรุนแรงและจะตำหนิผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงว่าเป็นสาเหตุของความรุนแรง
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16408 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 15:50:14 » |
|
 พี่วุฒิ-นิติฯ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16409 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 15:54:39 » |
|
ชั้นที่๓ ผู้กระทำความรุนแรงมักจะแสดงความเสียใจสำนึกผิดกับความรุนแรงที่ตนก่อขึ้น
ส่วนใหญ่ผู้กระทำด้วยความรุนแรง มักจะไม่หาแนวทางแก้ไขเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น
อีก โอกาสที่จะเกิดความเครียด นำไปสู่การกระทำความรุนแรง และท้ายที่สุดกลับมาแสดง...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16411 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 16:01:11 » |
|
ความเสียใจก็จะเกิดขึ้นอีกเป็นวงจรเช่นนี้ต่อไป สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่เกิดความรุนแรงซ้ำๆ
ก็เนื่องจากคู่ครองที่ก่อความรุนแรง มักจะทำดีหลังเกิดความรุนแรง และรู้สึกว่าตนเป็นฝ่ายผิด จึงทำ
ให้ผู้ถูกกระทำเชื่อว่า จะไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นอีกในอนาคต โดยมิได้ร่วมกันแก้ไขป้องกัน...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16413 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 16:10:04 » |
|
ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นอีก โดยที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงไม่เป็นฝ่ายผิด แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
เนื่องจากผู้กระทำความรุนแรง ต้องการควบคุมคู่ครองฝ่ายที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง สิ่งเหล่านี้ทำ-
ให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงรู้สึกสิ้นหวัง จึงนำไปสู่ภาวะความเก็บกดขาดความมั่นใจ ไม่สู้ปัญหา....
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16415 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 16:15:48 » |
|
เป็นภาวะยากลำบากของผู้ถูกกระทำด้วย ความรุนแรงที่จะก้าวหลุดพ้นจากสภาพความรุนแรงและ
แสวงหาความช่วยเหลือ ในท้ายที่สุดก็อาจจะลงเอยด้วยการทำร้ายกันสาหัส หรือฆ่ากันตายเกิด -
เป็นคดีความในศาล ...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16417 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 16:26:35 » |
|
คำว่า BATTERED PERSON SYNDROME หรือ BATTERED WOMAN / WIFE SYNDROME มีการ
ใช้ในหมู่นักกฏหมายครั้งแรกในปี ๑๙๗๐ เพื่อต่อสู้คดีให้กับหญิงที่ฆ่าสามีโดยมีสมมติฐาน เชื่อว่า -
การสู้กลับของหญิงเป็นหนทางเดียวที่จะยับยั้งความรุนแรงและป้องกันชีวิตตนเองและบุตร...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16419 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 16:32:43 » |
|
และจะกระทำในขณะที่ผู้กระทำความรุนแรงอยู่ในภาวะอ่อนแอ เช่น เมาสุรา หรือ ขณะนอนหลับ ใน
ทางกฏหมายบางครั้งใช้คำว่า BATTERED WOMAN DEFENSE ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว
ว่า บุคคลที่มีอาการป่วยเนื่องจากถูกทำร้ายทุบตีอย่างต่อเนื่อง สามารถยกอาการป่วยเนื่องจากถูก...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16421 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 16:38:10 » |
|
คู่ครองทำร้ายทุบตีบ่อยๆและเป็นเวลานานเป็นข้อต่อสู้ในทางคดีได้ ...ประการแรก มีหลายประเทศที่
กฏหมายยอมให้นำพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในอดีต มา-
นำสืบต่อสู้คดีฆ่าคู่ครองได้ ประการที่สอง เนื่องจากการกระทำของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง...
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16423 เมื่อ: 29 มกราคม 2559, 16:52:07 » |
|
ต่อผู้ตายแต่ละกรณีไม่เหมือนกัน ประการที่สาม ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงว่า
ภยันตรายจากผู้กระทำความรุนแรงที่คุกคามชีวิตของตนและบุตร มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ เช่น
เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นมาก่อน และจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีกจริงหรือไม่ หรือเป็น...
|
|
|
|
|
|