29 มีนาคม 2567, 09:06:45
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "การกระจายบริการที่มีคุณภาพให้ใกล้บ้านไม่ต้องมา ร.พ.ด้วย เมดดี้"  (อ่าน 6166 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2552, 07:56:36 »

"เม็ดดี้"หมอทางไกลในจินตนาการ
 
คมชัดลึก วันอาทิตย์ ที่ 17 พฤษภาคม 2552:

ในชนบทที่ห่างไกล คนทั้งหมู่บ้านกำลังเผชิญหน้ากับการระบาดของมาลาเรีย

ขณะที่สถานีอนามัยขนาดเล็กที่ไร้หมออยู่ประจำ ยิ่งตอกย้ำสถานการณ์ให้ย่ำแย่

เหตุการณ์เช่นนี้จะไม่ใช่เรื่องร้ายแรง



หากหมู่บ้านนั้นมี “เม็ดดี้” (Meddy) อยู่ประจำบ้าน

“เม็ดดี้” เป็นซอฟต์แวร์ฝีมือ 3 หนุ่มกับ 1 สาวจากรั้วจามจุรี

ที่คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันออกแบบซอฟต์แวร์โครงการ

“อิเมจิน คัพ 2009” ของไมโครซอฟท์ ที่สามารถตอบโจทย์แนวคิด

“จินตนาการโลกที่เทคโนโลยีสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่”

 "เม็ดดี้" ช่วยผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ในเวลาที่รวดเร็ว ด้วยการประยุกต์ใช้การประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (วิดีโอ คอนเฟอเรนซ์)

มาใช้ทางการแพทย์ โดยใช้เว็บแคมถ่ายภาพคนไข้จากสถานที่รักษา

ส่งสัญญาณภาพไปยังคณะแพทย์ ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาแบบทันทีทันใด

ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ในพื้นที่ห่างไกล

รุ่งธรรม ลีลาเจริญกิจวงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หนึ่งในสมาชิกทีม CSCU? อธิบายรูปแบบการใช้งาน "เม็ดดี้"

โดยยกตัวอย่างจากสถานการณ์มาลาเรียข้างต้นประกอบ

 เริ่มจากผู้รับบริการการเข้าสู่ฐานข้อมูลทางการแพทย์

เพื่อตรวจสอบอาการผู้ป่วยว่าใกล้เคียงกับโรคมาลาเรียหรือไม่

พร้อมทั้งกรอกแบบสอบถามที่ปรากฏในโปรแกรม จากนั้นโปรแกรม

จะวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ว่าจะเป็นมาลาเรียหรือไม่

หากพบว่าเป็น ก็เข้าสู่รายการค้นหารายชื่อแพทย์ที่ลงทะเบียนไว้

โดยสามารถเลือกค้นหาชื่อแพทย์ที่อยู่บริเวณเดียวกัน หรือจะค้นหา

ผ่านความชำนาญเฉพาะด้านของแพทย์ก็ได้

จากนั้นระบบจะตรวจสอบว่าแพทย์คนใดกำลังออนไลน์อยู่ และอยู่ในสถานะว่าง

ก็จะเชื่อมต่อระบบของคนไข้กับแพทย์ ให้เกิดการพูดคุยคล้ายการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ

 อีกทั้งเทคโนโลยีเว็บแคมยังช่วยให้แพทย์บันทึกภาพบริเวณที่เกิดบาดแผลได้ในระยะใกล้

เพื่อนำมาวิเคราะห์และวินิจฉัย จากนั้นจะแจ้งตัวยาที่ต้องใช้

ข้อมูลต่างๆ ในการวินิจฉัยและรักษา จะบันทึกไว้เป็นประวัติการรักษาในเซิร์ฟเวอร์กลาง

ที่เจ้าของสามารถเปิดเข้ามาดูได้ หรือส่งให้แพทย์รายอื่นที่รับรักษาต่อได้เช่นกัน

 “การแพทย์ทางไกลเป็นแนวคิดที่มีมานานแล้ว แต่ยังขาดสาธารณูปโภคสนับสนุน

ไม่ว่าจะเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ความรู้ความเข้าใจของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล

ทำให้การรักษาทางไกลยังไม่เกิด แต่ในการแข่งขันครั้งนี้เป็นโจทย์ที่กำหนดให้บริบท คือ

สังคมชนบทที่มีไอทีวิทยาการครบ” ชวลิต วิเชียร เพื่อนร่วมทีมพัฒนา “เม็ดดี้” อธิบายเพิ่ม

 ในโลกที่เป็นจริงในปัจจุบัน การแพทย์ทางไกลที่จะเป็นจริงได้ จำเป็นต้องลงทุนด้าน

โครงสร้างพื้นฐานหลายอย่าง รวมถึงเครือข่ายแพทย์ที่จะเข้าร่วม

โดยเฉพาะแพทย์ที่เกษียณอายุแล้ว นักศึกษาแพทย์ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งมีความสามารถ

รักษาโรคเบื้องต้นได้ ทั้งยังอาจใช้ในเชิงธุรกิจ เช่น

การเปิดสาขาต่างจังหวัดของโรงพยาบาล โดยที่แพทย์วินิจฉัยและให้การรักษาทางไกล

ทีม CSCU? ของนิสิตจุฬาฯ ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พร้อมตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศอียิปต์ เพื่อแข่งขันระดับโลกในเดือนกรกฎาคมนี้

 “พวกเขาเหลือเวลาอีกประมาณ 6 สัปดาห์ ที่จะปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้เสร็จความสมบูรณ์

โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และ

สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เป็นพี่เลี้ยง รวมถึงการพัฒนาด้านทักษะภาษาอังกฤษ

ที่จำเป็นในการนำเสนอและตอบข้อซักถามของกรรมการ” น.ส.ปฐมา จันทรักษ์

กรรมการผู้จัดการบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

 น.ส.ปฐมากล่าวต่อว่า “เราต้องการคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และความชำนาญด้านไอทีซอฟต์แวร์

และเห็นว่า เด็กไทยเก่ง แต่ต้องการเวทีที่จะนำเสนอความสามารถ ซึ่งอิเมจินคัพ เกิดมาเพื่อ

รองรับความสามารถของเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งเด็กทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะถูกจุดประกาย

หลายคนฝันที่จะมีบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเอง และเชื่อว่าทุกคนพร้อมจะไปให้ถึงฝัน

เป็นการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยให้ไปถึงปลายน้ำ”

 ชวลิตเพิ่มเติมว่า เป้าหมายในชีวิตที่เขาและกลุ่มเพื่อนกำลังสร้างอยู่นั้น ไม่ใช่วิมานในอากาศ

แต่เป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่อาศัยเพียงคอมพิวเตอร์คนละ 1 เครื่อง พร้อมกับมันสมองและ

ความสามารถ ขณะที่ประสบการณ์จากการประกวดทั้งเวทีในไทยและที่อียิปต์

จะเป็นอีกแรงผลักหนึ่งที่ทำให้ฝันของพวกเขากลายเป็นจริงได้เร็วขึ้น

สาลินีย์ ทับพิลา


 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กันยายน 2552, 16:28:23 »




นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ทางด้าน นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะมี 3 ขนาด ตามจำนวนประชากรที่รับผิดชอบ ได้แก่

ขนาดเล็ก ดูแลประชากรไม่เกิน 3,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 5 คน

ขนาดกลาง ดูแลประชากรไม่เกิน 6,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 7 คน และ

ขนาดใหญ่ ดูแลประชากร มากกว่า 6,000 คน มีเจ้าหน้าที่ 9-10 คน

ในการปรับปรุงด้านสถานที่ จะต่อเติมชั้นล่างของสถานีอนามัยให้เป็นห้องตรวจรักษา

จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการให้บริการ

มีเตียงนอนสังเกตอาการอย่างน้อย 3 เตียง มียา และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ

เช่นเดียวกับโรงพยาบาล รวมทั้งติดตั้ง

ระบบอินเตอร์เน็ตออนไลน์เชื่อมต่อกับโรงพยาบาลชุมชน

เพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยปรึกษาการรักษากับแพทย์โรงพยาบาลชุมชนที่

เป็นแม่ข่ายโดยตรง สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยว่า จะได้รับการรักษามาตรฐาน

เดียวกับโรงพยาบาล และหากเจ็บป่วยฉุกเฉิน

มีระบบการแพทย์ฉุกเฉินช่วยชีวิต และนำส่งโรงพยาบาล

อย่างปลอดภัย หากเกินขีดความสามารถ มีระบบส่งตัวรักษาต่อใน

โรงพยาบาลแม่ข่ายทันที.

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

อ่านข่าวทั้งหมดได้ที่

รัฐทุ่ม 5 หมื่นล้าน ยกสถานีอนามัย เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล

http://news.sanook.com/รัฐทุ่ม-5-หมื่นล้าน-ยก-สอ.เป็น-รพสต-822028.html

เป็นข่าวดีถ้ามีระบบอินเตอร์เนต นี้ ซึ่งก็เป็นแนวเดียวกับ

 เมดดี้

แพทย์ประจำครอบครัว  จะได้ทำงาน ร.พ.อำเภอ และ รับตรวจคนไข้ได้

ตลอดเวลาราชการทั้งเช้า และ บ่ายได้ไม่ต้องเดินทางมา ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล

เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ สิ้นเปลืองค่าน้ำมันรถ และ ทำให้่ ร.พ.อำเภอ มีแพทย์อยู่ครบ

ไม่ต้องออกนอก ร.พ.อำเภอไปตรวจ ที่่ ร.พ.ตำบล

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า



      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 21 มกราคม 2553, 11:51:05 »


                       

         สปสช.ติดตั้งระบบเทเล-เมดิซีน เพิ่มศักยภาพ10โรงพยาบาลใต้

         สำนัก งานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ติดระบบเทเล-เมดิซีน 10 โรงพยาบาลพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง แก้ปัญหาแพทย์น้อย พื้นที่ห่างไกล ไม่ต้องส่งต่อผู้ป่วย

                       

                  นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

         เมื่อวันที่ 1 กันยายน นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (รองเลขาธิการ สปสช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สปสช. ได้เริ่มติดตั้งระบบเครือข่ายการตรวจรักษาสื่อสารเพื่อให้คำปรึกษาและประสาน งานการส่งต่อผู้ป่วยทางไกลผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร (Tele-medicine) ในโรงพยาบาล 10 แห่ง ของพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง รวม 11 จุดสื่อสาร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 8 ล้านบาท ทั้งนี้การติดตั้งระบบดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านบุคลากรและความห่าง ไกลของพื้นที่ โดยระบบเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดปัญหาของโรงพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วย การให้คำปรึกษาและการส่งต่อผู้ป่วย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

         นพ.วีระวัฒน์กล่าวว่า ระบบเทเล-เมดิซีน มีมานานแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่เป็นที่นิยม แต่ปัจจุบันค่าใช้จ่ายลดลงจึงคุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งในอนาคต สปสช. มีโครงการจะขยายการติดตั้งระบบเทเล-เมดิซีน ไปในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยเช่นกัน เพราะเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาความห่างไกลมาก

         "ระบบเทเล-เมดิซีน อำนวยความสะดวกให้โรงพยาบาล สามารถขอคำปรึกษาการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกันได้ทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อมูลอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่น คลื่นหัวใจ เป็นต้น จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลแม่ข่าย ซึ่งแพทย์ที่ให้คำปรึกษาสามารถเห็นสภาพจริงของผู้ป่วย ซึ่งเหมาะกับกรณีการรักษาผู้ป่วยวิกฤตและผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินในพื้นที่ ห่างไกล หรือการเดินทางลำบาก โดยเฉพาะโรงพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่มีปัญหาความไม่สงบอยู่ในปัจจุบัน" นพ.วีระวัฒน์กล่าว

         ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สปสช.จะได้ติดตั้งระบบเทเล-เมดิซีน ที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลทั้ง 11 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาล (รพ.) สงขลานครินทร์ (2 จุดสื่อสาร) และ รพ.หาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย คอยให้คำปรึกษาในการรักษาผู้ป่วย ส่วนโรงพยาบาลอีก 8 แห่ง จะเป็นโรงพยาบาลลูกข่าย ได้แก่ รพ.ควรขนุน จ.พัทลุง รพ.เบตง จ.ยะลา รพ.นราธิวาส รพ.ปัตตานี รพ.สงขลา รพ.สตูล รพ.ตรัง และ รพ.พัทลุง (กรอบบ่าย)

          ที่มา:

http://hia.anamai.moph.go.th/?name=news&file=readnews&id=25

         รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><