กลับมาที่ เวียตนาม สักนิด เนื่องจากเพิ่งมีข่าวการสารภาพผิดของทหารสหรัฐออกมาในช่วงเวลานี้ หลังเกิดเหตุมากว่า 41 ปีอ่านที่นี่ โดยไม่ต้องคลิกไปอ่านที่เว็ปของ ผู้จัดการออนไลน์ และขอบคุณผู้จัดการออนไลน์40 ปีผ่านไปฆาตกรโหดสังหารหมู่ “หมีลาย” สำนึก23 สิงหาคม 2552 01:06 น.ภาพนี้ได้ช่วยเร่งวันเร่งคืนให้สหรัฐฯ ต้องถอนทหารออกจากเวียดนามเร็วยิ่งขึ้น และทำให้สงครามสิ้นสุดลงก่อนเวลา นำมาซึ่งชัยชนะ
ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี ภาพนี้ก็ยังหลอกหลอนจิตสำนึกของผู้คนนับล้านทั่วโลก เอเอฟพี/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ -- หลังจากเวลาผ่านพ้นไปกว่า 40 ปี นายทหารแห่งกองทัพสหรัฐฯ ที่ถูกตัดสิน
จำคุกกรณีสังหารชาวเวียดนามที่หมู่บ้านหมีลาย (My Lai) (
หรือ มายลาย ตามคำเรียกของคนไทยในขณะนั้น) ได้กล่าว
ขอโทษอย่างเป็นทางการต่อสาธารณะ
กว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา นายทหารผู้นี้ปฏิเสธที่จะพูดถึงเหตุการณ์เศร้าสะเทือนใจคนทั้งโลกนี้มาตลอด
“ไม่มีวันใดสักวันที่ผ่านไปโดยที่ผมไม่ได้รู้สึกเศร้าสลดใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นที่หมีลายในวันนั้น” อดีต ร้อยโทวิลเลียม
แคลลีย์ (William Calley) กล่าวระหว่างปราศรัยที่สโมสรคิวานิส (Kiwanis Club) แห่งเกรตเทอร์โคลัมบัส (Greater
Columbus) มลรัฐจอร์เจีย (Georgia)
“ผมรู้สลดใจต่อชาวเวียดนามที่ถูกสังหาร ต่อครอบครัวของพวกเขา ต่อทหารอเมริกันที่เกี่ยวข้องและครอบครัวของ
พวกเขา ผมเสียใจเป็นอย่างมาก” ร.ท.แคลลีย์กล่าวเมื่อวันพุธ (19 ส.ค.) แต่เนื่องจากความเข้มงวดเกี่ยวกับผู้ฟังทำให้คำ
ปราศรัยของเขาถูกเก็บเอาไว้ไม่เป็นที่รูจัก จนกระทั่งวันเสาร์
เท่าที่มีการบันทึกนั้น กว่า 40 ปี ตั้งแต่วันเกิดเหตุ ถึงวันที่ถูกสั่งฟ้อง วันที่ถูกศาลทหารสั่งจำคุก ในระหว่างถูกจำคุก
และหลังได้รับการปล่อยตัว หมวดแคลลีย์ยังไม่เคยปริปากให้สัมภาษณ์ใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้
กรณีสังหารหมู่หมีลายเกิดขึ้นวันที่ 16 มี.ค.2511 ในเขตหมู่บ้านชื่อเดียวกันของเวียดนามใต้ในอดีต ซึ่งได้สร้างความ
แค้นเคืองให้กับผู้คนทั้งโลก และยังส่งผลทำให้สงครามเวียดนามสิ้นสุดเร็วยิ่งขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้การทำสงครามใน
เวียดนามได้รับการสนับสนุนน้อยลง
เรื่องราวโดยสังเขป ก็คือ ในวันเกิดเหตุ กองร้อยลาดตระเวน “ชาร์ลี” (Charlie) ที่นำโดย ร.ท.แคลลี ได้ฝ่าดงกับระเบิด
ของกองโจรคอมมิวนิสต์เวียดกงเข้าไปถึงหมู่บ้านหมีลาย ในปฏิบัติการ “ค้นหาและทำลาย” (Search and Destroy Operation)
ตามบันทึกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หมวดแคลลีย์ ได้สั่งให้ทหารเข้าไปในหมู่บ้านและยิงทุกคนที่เห็น แม้จะ
ไม่มีรายงานการยิงโต้ตอบก็ตาม
หมวดแคลลีย์ระหว่างถูกนำตัวไปขึ้นศาลทหารที่ฟอร์ตเบ็นนิงปี 2512 ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ให้กักบริเวณในบ้านเพียง
ไม่กี่ปีก็ถูกปล่อยตัว วันพุธสัปดาห์นี้เขาได้พูดถึงเรื่องราวสังหารหมู่เป็นครั้งแรก ด้วยการแสดงความเสียใจ หลังจากเวลาผ่านไปนานกว่า 40 ปี ตามรายงานของผู้เห็นเหตุการณ์ มีชายชราหลายคนถูกแทงจนเสียชีวิตด้วยมีดปลายปืน เด็กๆ และผู้หญิงที่นั่งคุกเข่า
อ้อนวอนขอชีวิตถูกยิงเข้าที่ด้านหลังศีรษะ และ มีเด็กหญิงถูกข่มขืนอย่างน้อย 1 คน ก่อนจะถูกสังหาร
ผู้เห็นเหตุการณ์ กล่าวอีกว่า ร.ท.แคลลี ได้ไล่ให้ชาวบ้านจำนวน 170 คน ลงไปรวมกันในคูน้ำแห่งหนึ่ง ก่อนจะรัวกระ
สุนปืนกลปลิดชีวิตทุกคน
จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับจำนวนผู้ที่ถูกสังหารในเหตุการณ์ แต่ฝ่ายสหรัฐฯ ประมาณว่าจะอยู่ระหว่าง
374-504 คน
เรื่องราวอันน้าเศร้าสลดใจนี้ยังไปไม่ถึงชาวอเมริกันในสหรัฐฯ จนกระทั่งเดือน พ.ย.2512 หรือเกือบ 2 ปีต่อมา เมื่อนัก
ข่าวชื่อ ซีมัวร์ เฮิร์ช (Semour Hersh) เขียนรายงานเหตุการณ์จากการบอกเล่าของ รอน ไรเดนอาวร์ (Ron Ridenhour)
ทหารผ่านศึกเวียดนาม ที่ได้รับฟังเรื่องราวต่างๆ ที่หมู่บ้านหมีลายจากทหารหน่วยชาร์ลีอีกคนหนึ่ง
และก่อนที่ ไรเดนอาวร์ จะเปิดเผยเรื่องนี้กับเฮิรช เขาได้เรียกร้องให้รัฐสภาสหรัฐฯ ทำเนียบขาวและกระทรวงกลาโหม
สอบสวนเรื่องนี้ 2 เดือนก่อนจะมีการตีพิมพ์รายงานของนักข่าวสาว
เพนตากอนได้สั่งสอบสวนกรณีสังหารหมู่ที่บ้านหมีลาย และ ในที่สุดก็ได้ส่งฟ้องหมวดแคลลี่ในเดือน ก.ย.2532 ข้อหา
ฆาตกรรม
ภาพที่ชาวบ้านนอนล้มตายมากมายก่ายกอง เป็นหนึ่งในบรรดาภาพอันโหดร้ายรุนแรงที่ช็อกคนทั้งโลก ไม่ต่างจากภาพ
“นาทีชีวิต” ที่นายตำรวจกรุงไซ่ง่อนคนหนึ่งใช้ปืนพกยิงเข้าที่ศีรษะของผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นพวกเวียดกงตรงริมถนน ท่ามกลาง
สายตาของผู้คนนับร้อย หรือ ภาพ “หนูน้อยนาปาล์ม” กับเด็กๆ ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งวิ่งหนีการทิ้งระเบิดเพลิงด้วยสีหน้าที่หวาด
กลัวสุดขีด
คำสั่งถึงกองร้อยชาร์ลี: ฆ่าให้หมด แล้วกลับมาคนเดียว!" แต่เหยื่อสังหารหมู่เกือบทั้งหมดเป็นหญิงสูงอายุกับเด็กๆ เหตุเกิดขณะที่คนหนุ่มสาว
กำลังทำงานในนาข้าว เพราะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูหนาว เมื่อกรณีสังหารหมู่หมีลายเผยแพร่ออกไป ก็ได้ทำให้ขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามในสหรัฐฯ ที่กำลังคุกรุ่นอยู่แล้ว
ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง นักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพจากทั่วโลกได้ตื่นตัวขึ้นเป็นพลังหนุนเนื่อง
การสังหารหมู่ที่บ้านหมีลายยังได้ทำให้เกิด “วีรบุรุษสงคราม” ขึ้นมา 3 คน คือ ร.ท.ฮิวจ์ ทอมป์สัน (Hugh Thompson)
นักบินเฮลิคอปเตอร์ กับลูกเรืออีก 2 คน ที่ผ่านไปเห็นเหตุการณ์ทหารกองร้อยชาร์ลีกำลังสาดกระสุนเข้าใส่ชาวบ้าน
นายทหารนักบินกองทัพบกผู้นี้ตัดสินใจนำ ฮ.ร่อนลงขวางทางปืนเอาไว้ เพื่อให้ทหารราบที่กำลังบ้าคลั่งยุติการเข่นฆ่า
จากนั้นผู้หมวดทอมป์สันได้นำชาวบ้านที่ยังรอดชีวิตอยู่หยิบมือหนึ่งออกจากที่เกิดเหตุ และรายงานเหตุการณ์สังหารหมู่ถึงผู้
บังคับบัญชา และต่อมาก็ได้เป็นประจักษ์พยานในการสอบสวนหาผู้กระทำผิด
แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น หมวดทอมป์สันกับทีม ถูกกล่าวประณามจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ จำนวนหนึ่ง ได้รับ
จดหมายข่มขู่เอาชีวิต กระทั่งมีผู้นำซากสัตว์ที่ถูกฆ่าอย่างโหดร้ายทารุณไปวางเอาไว้ถึงประตูบ้าน เป็นการข่มขู่และแสดง
ความอาฆาตมาดร้าย
30 ปีต่อมา “วีรกรรม” ของหมวดทอมป์สันกับทหารชั้นประทวนอีก 2 นาย จึงได้รับการสดุดีจากชาวอเมริกัน
ผลการสอบสวนของฝ่ายทหารได้ข้อสรุปว่า ร.ท.แคลลีย์ได้กระทำความผิด และ ในเดือน ก.ย.2512 (หรือ 2 เดือน
ก่อนจะมีการตีพิมพ์บทเขียนของเฮิร์ช) ศาลก็ได้ตัดสินลงโทษนายทหารผู้นี้ในข้อหาฆาตกรรม
หมวดแคลลีย์บนปกนิตยสารไทมส์ (รวมทั้งนิวส์วีค) ในเดือน เม.ย.2514 เหตุการณ์นี้มีจำเลยเพียงคนเดียว
จึงมีการตั้งคำถามโตๆ ขึ้นมาว่า "ใครบ้างที่จะต้องแบ่งปันความรับผิดชอบ?"หมวดทอมป์สัน "วีรบุรุษสงคราม" ที่มีอยู่จริง แต่เวลาล่วงเลยมาอีก 30 ปี เสียงสดุดีจึ่งดังขึ้น
ก่อนหน้านั้นเขาถูกขู่ฆ่า โดนดูถูกเหยียดหยาม กระทั่งถูกประณามเป็นคนไม่รักชาติ เป็นผู้ทรยศต่อชาติ เรื่องราวไม่จบลงแค่นั้น การสังหารหมู่ที่หมีลายเป็นกรณีที่สะเทือนจิตวิญญาณและความรู้สึกของวิญญูชนในสหรัฐฯ
นอกจากนั้นยังทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างหนักระหว่าง “พวกใช้สมอง” กับ “พวกใช้กำลัง” ในกองทัพ เกิดการดูถูกดูแคลน
ระหว่างทหารที่จบจากโรงเรียนนายร้อย กับพวก “ฮาร์วาร์ด” หรือ นายทหารสัญญาบัตร “ปัญญาชน”
ที่เรียนสำเร็จจาก
สถาบันอุดมศึกษาทั่วไป หลายฝ่ายกล่าวว่า ถ้าหากให้ “พวกฮาร์วาร์ด” บัญชาการที่หมีลาย ก็อาจจะไม่เกิดการสังหารหมู่สะเทือนขวัญขึ้นมา
สำหรับหมวดแคลลีย์นั้นความจริงก็เคยเป็น “พวกฮาร์วาร์ด” แต่ได้พักการเรียนจากวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เข้าเรียนโรงเรียน
นายร้อยในช่วงสงคราม จนสำเร็จการศึกษาจากฟอร์ตเบ็นนิง (Fort Benning) รัฐจอร์เจียเมื่อปี 2510 และ เดินทางไปศึก
ในเวียดนามเกือบจะทันที
เขาให้การว่า ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นนายทหารยศร้อยเอกให้สังหารทุกคนที่พบในหมู่บ้านหมีลาย
อย่างไรก็ตาม ศาลทหาร กล่าวว่า มีหลักฐานภาพถ่ายและประจักษ์พยานอย่างเพียงพอที่จะเอาผิดกับ ร.ท.แคลลีย์
เพียงผู้เดียว
ปัจจุบันที่หมู่บ้านเซินหมี (Son My) ใน จ.กว๋างหงาย (Quang Nghai) มีพิพิธภัณฑ์เล็ก เอาไว้กระตุ้นจิตสำนึกของผู้คน และมีอนุสรณ์สถานซึ่งหลายปีมานี้บรรดานักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่ไปเยี่ยมชม
ยังรวมทั้งสมาชิกครอบทหารอเมริกันที่มีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ด้วย ฆาตกรมือเปื้อนเลือดจากบ้านหมีลายถูกศาลทหารตัดสินจำคุกตลอดชีวิตปี 2512 โดยให้กักบริเวณในบ้านพัก
แต่ในปี 2517 ก็ได้รับการอภัยโทษ หลังจากได้ยื่นอุทธรณ์หลายต่อหลายครั้ง
ผู้กระทำผิดเพียงคนเดียวในคดีนี้ได้รับการปล่อยตัวในเดือน พ.ย.2518 หลังสงครามเวียดนามยุติลง
ในเวียดนาม กรณีสังหารหมู่หมีลายมักจะได้ยินในอีกชื่อหนึ่ง คือ "เหตุการณ์สังหารหมู่ที่เซินหมี" (Son My) อันหมาย
ถึงหมู่บ้านที่อยู่ติดกับหมีลาย ที่มีคนถูกยิงตายมากที่สุด
แต่สำหรับกองทัพสหรัฐฯ เรียกที่นั่นว่า พิงค์วิลล์ (Pinkville) หรือ “หมู่บ้านสีชมพู” ซึ่งหมายถึงหมู่บ้านในเขตที่มีการ
แทรกซึมของกองโจรเวียดกงนั่นเอง
หลังเกิดเหตุการณ์รัฐบาลเวียดนามใต้ได้ทำลายหลักฐานสำคัญไปหลายอย่าง ในความพยายามปิดบังอำพราง
เหตุการณ์ หวังจะไม่ให้แพร่งพรายออกไปสู่โลกภายนอก
ปัจจุบันหมู่บ้านหมีลายกับเซินหมี อยู่ในท้องที่ จ.กว๋างหงาย (Quang Nghai) ในภาคกลางของเวียดนาม หลังคราม
สงบลงมีการสร้างอนุสรณ์สถานการสังหารหมู่ขึ้นที่นั่น และหลายปีมานี้มีชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยเดินทางไปรำลึกอดีต
ในนั้นรวมทั้งสมาชิกครอบครัวของเหล่าทหารที่อยู่ในเหตุการณ์สังหารหมู่ด้วย
จาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9520000095777