29 มีนาคม 2567, 01:28:23
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "การสาธารณสุขมูลฐาน"ตาม "Ottawa charter"เพื่อประชาชนสุขภาพดี  (อ่าน 39024 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2552, 18:23:46 »

   


องค์การอนามัยโลก ที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพของชาวโลก ให้แข็งแรง  

ได้จัดให้มีการประชุมประเทศสมาชิกเพื่อหาวิธีทำให้ชาวโลกแข็งแรง ในปี พ.ศ.2529

ที่เมือง Ottawa ประเทศ Canada ได้ ข้อสรุป เรียกว่า “ Ottawa Charter ”

เนื้อหา คือ “การสาธารณสุขมูลฐาน” หรือ “ Primary Health Care : PHC”

http://www.esanphc.net/online/phc/index.htm

http://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/

มอบหมายให้แต่ละประเทศนำกลวิธี สาธารณสุขมูลฐาน ไปดำเนินการให้สำเร็จ

ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ได้นำการสาธารณสุขมูลฐานไปใช้

ผลทำให้ประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ มีสุขภาพดี ไม่ป่วยง่าย โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงได้จริง

ตามที่ ศ.น.พ.พินิจ กุลวณิชย์ อดีตเลขาธิการแพทยสภา ไปดูงานมา ที่กระทู้

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6841.0.html



ประเทศไทย เริ่มทำในปี 2529 ซึ่งองค์การอนามัยโลกต้องการให้สำเร็จใน ปี ค.ศ.2000

ตั้งคำขวัญ Health For All By The Year 2000 หรือ ปี 2543

จนปัจจุบันนี้ เป็นปี 2554 ผ่านมา 11 ปีแล้วแต่ประเทศไทยเรายังไม่สามารถทำให้สำเร็จได้

ประชาชน ยังอ่อนแอ เชื้อโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การเข้าถึงบริการ

ยังเข้าถึงยาก และ ไม่มีคุณภาพ ยังมีการฟ้องร้อง กันให้เห็นประจำ


กระทรวงสาธารณสุข กำลังมุ่งให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้ในปี 2555 ได้จริง

ด้วยการทุ่มงบประมาณ 5 หมื่นล้าน เพื่อพัฒนาสถานีอนามัยทุกแห่งให้เป็น

โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพสต.เพื่อรับงานบริการปฐมภูมิ จาก

โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพอำเภอ รพสอ.มาไว้ที่ รพสต.ใกล้บ้าน บริการนั้น ได้แ่ก่

บริการส่งเสริมสุขภาพ เช่น ตรวจสุขภาพเด็กดี ตรวจการตั้งครรภ์ ตรวจสุขภาพนักเรียน ฯลฯ

บริการป้องกันโรค เช่น ทำวัคซีน เคลือบหลุมร่องฟันเด็ก ฯลฯ

รักษาโรคพื้นฐาน โรคเรื้อรังที่รับยาต่อเนื่อง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ฯลฯ

และ งานฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย เช่น หัตถบำบัด ฯลฯ ประชาชนไม่ต้องมา รพสอ.ไกลบ้าน

  ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ประเทศไทยได้กำหนดตัวชี้วัดความก้าวหน้า

ของงานสาธารณสุขมูลฐาน ไว้ 4 ข้อ


เปรียบได้กับ การวางเสาเข็มบ้าน 4 เสา เพื่อค้ำจุนบ้านไม่ให้ทรุด  คือ

1.การที่ทุกคนได้สิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)ที่จำเป็นต่อชีวิต ตามเกณฑ์ถ้วนหน้า

2.การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี

3.การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพได้สะดวก เข้าถึงได้ง่าย โดยถ้วนหน้า

4.การมีสถานพยาบาลที่ให้บริการสุขภาพ อย่างมีคุณภาพ ทุกแห่ง

การมีสาธารณสุขมูลฐาน ดี เป็นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้าได้ง่าย

แต่ละหัวข้อมีรา่ยละเอียดดังนี้

1.การที่ทุกคนได้มีสิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)

ที่จำเป็นต่อชีวิต ตามเกณฑ์พื้นฐานทุกคนถ้วนหน้า

ซึ่งแต่ละกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการให้สำเร็จ

ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความสุขมีกินมีใช้

พอเพียงก่อน จึงเริ่มลงทุนด้วยเงินที่มีไม่กู้หนี้ยืมสินโดยไม่จำเป็น


ซึ่งจะแก้ปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ตัวทางระบาดวิทยาข้างต้นได้  เวบ จปฐ.ดังต่อไปนี้........

http://www.cddsk.org/index.php/2010-05-28-02-03-00

2.การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี

ตบมือข้างเดียว ไม่ดัง ต้องตบมือสองข้าง จึงจะดัง ประชาชนต้องมีส่วนร่วมด้วย  เช่น

2.1 -ประชาชนในหมู่บ้านอาสาสมัคร มาเป็น

"อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน"(อสม.)

เพื่อทำหน้าที่ช่วยงานสาธารณสุขด้วยการเข้ารับ การอบรมความ รู้จาก รพสต.หรือ

รพสอ. เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ ตามอุดมการณ์ของ อสม. คือ

"แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงาน

สาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี"


2.2 -การที่ประชาชนยินดีเข้าร่วมชมรมสร้างสุขภาพประจำหมู่บ้าน ซึ่งมี อสม.

แต่ละหมู่บ้าน เป็นแกนนำ โดย มี

ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งเปลี่ยนมาจากสถานีอนามัยเดิม

กับ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอ ในอำเภอนั้นเป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือตามที่ ต้องการ

2.3 -ประชาชนร่วมปฏิบัติตัว เพื่อให้มีสุขภาพดี

ตามสุขบัญญัติ 10 ประการ ของ กรมอนามัย

http://store.tkc.go.th/multimedia/gibo/knowledgebox/sookabunyut/sookcabunyut10.html

2.4 -การที่ประชาชนเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี

มีกฏหมาย ให้ประชาชนสามารถ รวบรวม 1 หมื่นรายชื่อเสนอออกกฏหมาย

http://ilaw.or.th/ และ http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6771.0.html

ตัวอย่าง ประชาชนที่เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ร่วมเสนอให้ออก

กฏหมายให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี ตามสุขบัญญัติ10ประการ ต้องร่วมจ่าย

โดยดูจาก ดัชนีมวลกาย ถ้ามากกว่า 25 ต้องจ่ายด้วยบางส่วน เช่น 20% ของค่ารักษา

สามารถคำนวณดัชนีมวลกายได้ที่เวบ

http://www.siamhealth.net/public_html/calculator/bmi.htm

การร่วมจ่ายนี้ เป็นการเพิ่มเงินให้กับการรักษา และ ยังเป็นการเตือนให้ผู้ไม่ดูแลสุขภาพ

จะได้ฉุกคิดเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ต้องร่วมจ่าย และ เงินที่ได้เพิ่มนี้

จะได้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจร่างกายให้ประชาชน ฟรี ได้ปีละครั้ง ตามแนวทาง
 

การตรวจสุขภาพทำให้รู้ความผิดปกติก่อนมีอาการเพื่อแก้ไขดีกว่าการรักษา

ถ้าไม่มีจ่าย ก็เซ็นต์ฟรี โดยขอให้เข้าร่วมคลินิกไร้พุง ของ รพสต.หรือ รพสอ.ที่บริการฟรี

กฏหมายนี้นักการเมืองไม่กล้าออก เพราะ กลัวเสียคะแนนเลือกตั้ง

ต้องประชาชนเริ่มออกกันเอง ตามที่มีกฏหมายให้ 1 หมื่นรายชื่อสามารถขอออกได้

ในประเทศอเมริกามี กฏระเบียบ ให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพดี เช่น

สูบบุหรี่ อ้วน ฯลฯ ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือ เสียเบี้ยประกันสุขภาพแพงขึ้น ตามที่

นายกแพทยสภา ศ.น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ไปเห็นมาที่เวบ.....

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=06-2007&date=24&group=1&gblog=11

3.การเข้าถึงสถานบริการได้สะดวก เข้าถึงได้ง่าย โดยถ้วนหน้า

ประเทศเรา มีสถานีอนามัย 9,oooกว่าแห่ง ทุกตำบล ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ประชาชนทุกแห่งแล้ว

ถ้าลงทุนพัฒนาเป็นสถานพยาบาลด่านแรกที่มีแพทย์ออกตรวจเพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพ

จนได้เป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล จะมี ร.พ.เพิ่มขึ้นทันที ใกล้บ้าน

มีแพทย์ประจำรับผิดชอบ ให้บริการประจำมาตรวจด้วยตนเองโดยขับรถมา หรือ

มาให้บริการตรวจทางเครือข่ายสาธารณสุข หรือ Virtual Private Network:VPN


http://www.vcharkarn.com/varticle/17748

และ รับปรึกษาการรักษาพยาบาลจากพยาบาลเวชปฏิบัติ ซึ่งตามปกติ คนไข้ที่ป่วยมาหา

ครึ่งหนึ่ง หรือ 5 ใน10 คนสามารถรักษาได้
ที่เกินความสามารถก็สามารถโทรฯถาม

แพทย์ประจำ ทางโทรศัพท์มือถือในเวลา ส่วน นอกเวลา ปรึกษาแพทย์เวร ร.พ. เมื่อ

ปรึกษาแล้ว ถ้าแพทย์พบว่าต้องส่งตัวมา จะให้โทรฯ เรียกรถฉุกเฉิน 1669 ส่งต่อให้ได้

หรือ ถ้าไม่ฉุกเฉินรอได้ นัดพบแพทย์เวลาราชการทาง VPN  ก็จะได้รับบริการโดยแพทย์

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง

"ยกบริการปฐมภูมิออกนอก ร.พ.มาไว้ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน ใกล้ใจ"

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6878.msg429458.html#new

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3201.0.html

อนาคต สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.จะใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทอง

ให้เข้ารับบริการได้ทุก ร.พ.ไม่บังคับเข้า ร.พ.ใกล้บ้าน แต่เริ่มนำร่อง ในระดับจังหวัดก่อน


เดิมที่ไม่มีระบบอินเตอร์เนต ไม่สามารถเชื่่อมต่อเครือข่ายสาธารณสุขไว้ด้วยกันการจ่ายเงิน

ให้สถานพยาบาลที่รักษา ทำได้ลำบาก จึงใช้ิวิธีเหมารายหัว ให้ตามประชากร ที่ ร.พ.ใกล้บ้าน

รับผิดชอบอยู่ ประชาชนที่อยู่ในเขตใกล้ ร.พ.ใด จึงต้องรักษากับ ร.พ.ใกล้บ้านนั้น

จึงกลายเป็นบังคับให้รักษาเฉพาะที่ใกล้บ้าน ถ้าจะไปรักษาที่อื่น ๆ ต้องเรียกเก็บกับ

ร.พ.ใกล้บ้าน ที่่ได้รับเงินรายหัวไว้แล้ว แต่ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข จะไม่จ่ายเงิน

ล่วงหน้า จะจ่ายตามผลงานที่ส่งมาให้ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ : สปสช.

ตรวจสอบเพื่อจ่ายเงินให้ตาม กลุ่มโรค Diagnostic Related Group : DRG เป็นวิธี

ที่ยุติธรรมที่ำกำหนดขึ้นตามค่าใช้จ่ายจริง ถ้าข้อมูลที่ส่งไปแลกเงิน ไม่สมบูรณ์

สปสช.จะตัดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น ไม่ดีมาก ตัดมาก ร.พ.พนมฯ ส่งขึ้นไปข้อมูลไม่

สมบูรณ์ตามเกณฑ์ ถูกตัด 20 % แต่ ร.พ.ดูแล้วว่าข้อมูลไม่สมบูรณ์ตามเกณฑ์

จริง จึงไม่ขออุทธรณ์ และ พัฒนาปรับปรุง ให้ผู้เกี่ยวข้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน

ตาม ที่ สปสช.ต้องการ เพื่อไม่ถูกตัดเงิน จึงทำให้ประชาชนสะดวกรักษาที่ใดก็ได้

ปัจจุบันมีโครงการนำร่องไม่บังคับ ร.พ.ใกล้บ้าน ระดับจังหวัด ใน 8 จังหวัด คือ
  
1.แพร่ 2.พิษณุโลก 3.อุบลราชธานี 4.ยโสธร

5.ราชบุรี 6.นครนายก 7.ศรีสะเกษและ 8.พังงา

นำมาจาก น.ส.พ.ข่าวสด วันจันทร์ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNakV5TVRBMU1nPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHhNQzB4TWc9PQ==

ผลของการที่ให้รักษาฟรีได้ภายในจังหวัดเดียวกัน คือ

1.ประชาชนไม่ต้องมารอขอใบส่งตัว และ ลดงานเขียนใบส่งตัวให้แพทย์

2.คนไข้มีอำนาจต่อรองบริการ สามารถเลือก ร.พ.ที่บริการดี ภายในจังหวัดได้

3.ร.พ.แต่ละแห่ง ต้องแข่งขันกันด้านบริการที่มีคุณภาพ เพื่อรักษาคนไข้ ไม่ให้ออกไป

รักษาที่อื่น เพราะ ถ้ามีคนไข้ที่มาใช้บริการมาก จะเรียกเก็บค่ารักษาจากกระทรวงได้มาก

4.ในอนาคต ประชาชนจะสามารถรักษาได้ทุกที่ในประเทศ เมื่อสร้างเครือข่ายโรงพยาบาล

ระดับประเทศได้สำเร็จ จะทำให้ แพทย์ที่คนไข้ไปหา สามารถให้การรักษาต่อเนื่องได้ทันที

ตัวอย่าง เมื่อคนไข้เคยรักษาที่ ร.พ.แห่งหนึ่งประจำ เมื่อออกจากพื้นที่ไม่สบายสามารถ

บอก ร.พ.ที่เ้ข้ารับการรักษาว่า เคยรักษา ร.พ.ประจำ คือ ร.พ.ใด แพทย์ที่นั้น ก็จะเข้าไปใน

ร.พ.ประจำนั้น ทางเครือข่าย VPN โดยอาจใช้ ลายนิ้วหัวแม่มือผู้ป่วย จึงจะดูประวัติได้

เพื่อรักษาความลับของผู้ป่วย เมื่อแพทย์เข้าไปในเครือข่าย ร.พ.ที่คนไข้มีประวัติรักษา

จะดูประวัติการรักษาเดิม และ ให้การรักษาต่อเนื่องได้ทันที ถ้ารู้ว่าได้ยาอะไรไว้แล้ว

เมื่อรักษาแล้วผลงานจะเป็นของ ร.พ.ที่ให้การรักษานี้ โดยได้เงินโอนมาทางธนาคาร

จากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.ที่ต้องส่งข้อมูลการรักษาไปแลกค่ารักษา

รัฐทุ่ม 5 หมื่นล้าน ยก สถานีอนามัย สอ.เป็น โรงพยายาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพสต.

http://news.sanook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-5-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A2%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%95-822028.html

ผลจากการยกระดับ สอ. เป็น รพสต.ข้างต้น และ การสร้างเครือข่ายสาธารณสุข เพื่อให้

ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่าย รักษาได้ทุกที่ เมื่อต้องการ เป็นการพัฒนาตัวชี้วัดข้อที่ 3

มีสถานบริการสุขภาพ ที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ได้สะดวกทำให้ตัวชี้วัด นี้สำเร็จนั่นเอง


4.การมีสถานพยาบาลที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ทุกระดับ

ทำได้ด้วยการพัฒนา เขียนเอกสารคุณภาพไว้อ้างอิง ตามตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพ แล้วให้

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ ร.พ.(Hospital Accreditation:HA)

http://www.ha.or.th/ha2010/th/home/index.php

มาตรวจสอบ เพื่อให้การรับรองเป็นเอกสารที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานคุณภาพจริง

เมื่อให้การรับรองเอกสารแล้ว จะมีการตรวจการดำเนินการของ ร.พ.ต้องดำเนินการตาม

เอกสารคุณภาพ ที่ได้รับการรับรองนี้ทุกประการจริง ไม่ผิดไปจากเอกสาร


โดยมีกรรมการตรวจสอบภายใน ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ ร.พ.นั้นเอง ที่เข้ารับการอบรม

จาก HA จนสอบผ่าน ได้รับใบประกาศเป็น กรรมการตรวจสอบภายในได้

จะมีการตรวจสอบตามระยะ ของการดำเนินการ ต้องเหมือนเอกสารคุณภาพทุกประการ

ถ้าไม่เหมือนต้องแก้ไขให้เหมือน เมื่อทำได้ กรรมการตรวจสอบภายนอกจาก HA

จะเข้ามาตรวจซ้ำ ถ้าพบว่า ทำตามเอกสารคุณภาพทุกประการ จะให้ใบรับรองคุณภาพ

เพื่อประกาศให้ผู้รับบริการได้มั่นใจในบริการ และ สถาบันรับรองคุณภาพฯ จะ

ยังคงมีหน้าที่ให้ กรรมการตรวจสอบภายใน ของ ร.พ.เองคอยตรวจสอบแทน

แล้วสถาบันรับรองคุณภาพฯ จะเข้ามาตรวจซ้ำตามระยะ เพื่อให้คงเป็นตาม

เอกสารทุกประการ เมื่อคงคุณภาพอยู่จะอนุญาตให้ใช้ใบรับรองคุณภาพต่อไปได้

ผลทำให้การให้บริการมีคุณภาพตามเอกสารคุณภาพอย่างยั่งยืนตลอดไป

ผู้ป่วย และ ญาติผู้ป่วย ถ้าไม่พึงพอใจากการรักษา ถ้าได้รับคำชี้แจงแล้วยังอยากฟ้อง

ศาล หรือ ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จะใช้เอกสารอ้างอิงการรักษานี้ตัดสิน

เมื่อทุกสถานพยาบาลทุกระดับ ต้องผ่านขบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพ

ให้ผ่านเกณฑ์จนได้ใบประกาศรับรอง ให้ผู้ใช้บริการมั่นใจในคุณภาพการบริการ

แม้เจ้าหน้าที่ คนเก่าย้ายไป มีคนใหม่มาแทน การปฏิบัติจะยังคงคุณภาพเหมือนเอกสารอ้างอิง

ทุกประการเพราะ กิจกรรมไม่ได้ขึ้นกับตัวบุคคล แต่ขึ้นอยู่กับเอกสารอ้างอิงคุณภาพ

ตัวชี้วัดที่จะบอกว่า ร.พ.ได้ทำหน้าที่เป็นร.พ.คุณภาพ ได้ถูกต้อง ได้แก่

1.คำชม ร.พ.เพิ่มขึ้น คำติ ร.พ.ลดลง

ร.พ.คุณภาพ จะต้องมีตู้รับฟังความคิดเห็น ทุกจุดบริการ ให้ได้รับการประเมิน ทุก ๆ จุด

2.คนไข้ ปลอดภัย จากการ ลดโรคแทรกซ้อน ลดความผิดพลาด จากการรับบริการลง

จากการที่ ร.พ.คุณภาพ ต้องนำความผิดพลาด มาประชุม

"การประเมินความเสี่ยง:Risk Management"อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำอีก

หมายเหตุ ร.พ.เอกชน จะประเมินทุกวันเพื่อแก้ไขเร่งด่วน จากมีการแข่งขันสถานพยาบาลสูง



3.เจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความสบายขึ้น มีเอกสารคุณภาพเขียนวิธีทำงานให้ไว้ปฏิบัติตาม

ทำให้เหมือนมีผู้นำทางให้เดิน โอกาศผิดพลาด โดนฟ้องร้อง จะน้อยลง

ถ้าทำตามเอกสารคุณภาพ ที่ผ่านการพิจารณาแล้ว ดูเพิ่มเติม ได้ที่

แนวทางการพัฒนาและรับรองคุณภาพจนได้ใบรับรองคุณภาพมาประกาศให้ผู้ใช้บริการมั่นใจ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=18&group=12&gblog=2

ร.พ.พนมสารคาม ได้ พัฒนา และ รับรองเป็นทั้ง ร.พ.คุณภาพ และ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพแล้ว  

ได้รับการยกย่อง ให้เป็น ร.พ.ต้นแบบ จาก กระทรวงสาธารณสุข

ที่ทำได้นี้ทาง ร.พ.ใช้สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาที่เคยกล่าวถึงไว้แล้วในการแก้ไขสิ่งยากๆ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&group=11&month=01-2007&date=14&gblog=11

นำสาธารณสุขมูลฐาน มาเสนอพวกเรา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาในการ

ปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศให้ถูกต้อง ใช้สาธารณสุขมูลฐาน ดูแลเป็นครือข่าย 3 ระดับ คือ

ระดับ 1 มีสถานพยาบาลด่านแรก คือ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล รพสต.9,000 กว่า แห่ง  

กับ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอ รพสอ.ใช้แพทย์คนเดียวกันรับผิดชอบประจำพื้นที่

เป็นแพทย์ทั่วไป จบ 6 ปี สามารถดูแลคนไข้ได้มากกว่า 90%มีส่วนน้อยเกินความสามารถ

สามารถช่วยเหลือดูแลก่อนส่งต่อได้ ไปด่านสอง หรือ ด่านสามที่เหมาะสมให้

ปีหนึ่งมีแพทย์จบใหม่ ปีละ 2,500 คน สามารถทำงานได้ทั้ง 2 แห่ง คือ

1. สถานีอนามัย ซึ่งจะพัฒนาเป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ระดับตำบล ดูแล

คนไข้ที่ไม่ป่วยมากไม่จำเป็นต้องมา ร.พ.อำเภอ รักษาโดยแพทย์ ได้ 2 ทาง คือ

พบแพทย์ที่เดินทางไปตรวจให้ หรือ ทาง Virtual Private Network:VPN

ถ้าป่วยเล็กน้อย มีพยาบาลเวชปฏิบัติ อยู่ประจำรักษาคนไข้ได้ สามารถ

โทรฯ ปรึกษาแพทย์ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลนั้นได้

2. ร.พ.อำเภอ ดูแลคนไข้ในที่ส่งต่อมาจาก ร.พ.ตำบล ที่ตนเองส่งมานอนรักษา

เพราะ ป่วยควรนอน ร.พ.แต่ไม่ป่วยถึงกับต้องพบแพทย์เฉพาะทาง ที่ ร.พ.จังหวัด

ระดับ 2 ได้แก่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพจังหวัด รพสจ. มีแพทย์เฉพาะทาง

อยู่ในแผนกที่เรียนเฉพาะทางมา ไม่เหมาะที่จะอยู่ รพสอ.เพราะ ไม่สามารถแยกแผนกตรวจได้

เนื่องจากคนไข้ส่วนใหญ่ เป็นคนไข้ทั่วไป มีที่ต้องพบแพทย์เฉพาะทางน้อยมาก จึงควรให้

ย้ายออกมา พร้อมนำเครื่องมือ ที่แพทย์เฉพาะทางใช้คนเดียวให้มาอยู่ รพสจ.ด้วย

ทำให้ใช้แพทย์ให้ตรงกับงาน และ ใช้เครื่องมือเฉพาะทางได้คุ้มค่ากว่าอยู่ รพสอ.

ระดับ 3 ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ , โรงพยาบาลเฉพาะทาง หรือ โรงเรียนแพทย์

นำเครื่องมือราคาแพงมากที่มีคนไข้ใช้น้อยมารวมใช้ที่ ระดับ 3 และ ใช้แพทย์เฉพาะทาง

ที่มีความรู้ต่อยอดเป็นแพทย์เฉพาะทางพิเศษ มาให้การรักษา

ผลการดูแลรูปเครือข่าย ที่มีระบบส่งต่อ ที่ดี จะทำให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

ประชาชนได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ มี สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ คอยกำกับ

และ การสาธารณสุขมูลฐาน ยังประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ

ด้านการเมือง เมื่อประชาชนมีสุขภาพดีได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐาน จปฐ.แล้วจะไม่ต้องไปขอ

ความช่วยเหลือผู้มีอำนาจ ไม่เป็นหนี้บุญคุณที่ต้องไปลงคะแนนเสียงให้เมื่อสมัครเป็นผู้แทน

ระดับต่าง ๆ เช่น หมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ

ประชาชน จะมีอิสรภาพ ในการตัดสินใจ เลือกตัีวแทนเอง ไม่ขายเสียง ขายสิทธิ์


http://www.youtube.com/watch?v=yNKhIJfB510

มาร่วมกันสร้างฝันให้เป็นจริง เป็นด้านที่ 1 ช่วยเผยแพร่ความรู้ งานสาธารณสุขมูลฐาน

เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันของผู้ที่เข้าใจความรู้นั้น สร้างเป็นวัฒนธรรม เป็น ด้านที่ 2

เมื่อป่วยไข้ ขอใช้บริการด่านแรกก่อน ไม่ลัดขั้นตอน ข้ามไป ด่านสอง หรือ ด่านสามเอง

และ ช่วยเขียนแสดงความคิดเห็นใส่ตู้รับความคิดเห็นที่ทุก ร.พ.จะมีไว้เพื่อรับฟัง


      ส่วนด้านที่ 3 ของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาด้านการเมือง กระทรวงสาธารณสุขก็มุ่งจะให้เกิดอยู่แล้ว                                              
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
หนุน'21
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
*****


ซีมะโด่ง'จุฬาฯ ที่มาของผม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: "ครุศาสตร์"
กระทู้: 26,927

« ตอบ #1 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2552, 12:00:05 »

 ปิ๊งๆ

ขอบคุณมาครับพี่หมอสำเริง
สำหรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
และพลานามัย


 win
      บันทึกการเข้า

“สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในใต้หล้า ทั้งมิใช่ชื่อเสียง และไม่ใช่ทรัพย์ศฤงคาร หากแต่เป็นน้ำใจระหว่างคน ท่านหากได้มา พึงทะนุถนอมไว้
อย่าได้สร้างความผิดหวังต่อตนเองและผู้อื่น.” “วีรบุรุษสำราญ” “โกวเล้ง”
ftslim2028
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 มกราคม 2553, 09:55:10 »

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้ ไว้เอามาลงอีกนะค่ะ
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #3 เมื่อ: 11 เมษายน 2553, 12:41:06 »


         นักวิชาการโลกฟันธงแล้วชนิดอาหารก่อมะเร็ง

น.ส.พ.เดลินิวส์ วันอาทิตย์ ที่ 10 มกราคม 2553

        

บริโภค 'แกงเลียง' 'แกงเหลือง' ต้านโรคได้

         โรคภัยที่คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกมาเป็นอันดับหนึ่งนั้น คือ
โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งตามมาอยู่อันดับสอง หลายสิบปีมาแล้วที่วงการแพทย์ทั่วโลกพยายามหาสาเหตุของโรคมะเร็งแต่ละอวัยวะเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไข เพื่อสรุปให้ได้ข้อชัดเจนเสียทีว่าการบริโภคหรือระบบโภชนาการของมนุษย์โลกเป็นสาเหตุของมะเร็งแต่ละชนิดได้แค่ไหน

         ล่าสุดหน่วยงาน เวิลด์ แคนเซอร์ รีเสิร์ช ฟัน (World Cancer Research Fund) ร่วมกับ อเมริกัน อินสติติว ฟอร์ แคนเซอร์ รีเสิร์ช (American Institue for Cancer Research)ได้ตัดสินและสรุปงานวิจัยกว่า 7,000 เรื่องที่

         ศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของ
อาหาร การออกกำลังกาย ภาวะน้ำหนักเกิน และ ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง โดยผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก

                    

         ชนิพรรณ บุตรยี่ นักวิชาการจากสถาบัน  โภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.doctor.or.th/taxonomy/term/4029 ได้นำงานวิจัยนี้มาบรรยายในงานประชุมเรื่อง

         “ความท้าทายทางพิษวิทยาในศตวรรษที่ 21”

         ว่า งานวิจัยใช้ระยะเวลาสรุปผล 5  ปี โดยนำงานวิจัยขนาดใหญ่ที่ใช้กลุ่มตัวอย่างมากสุด ถึง 100,000 คน และ บางชิ้นมีการเก็บข้อมูลนานนับ 10 ปี ใช้เงินทำวิจัยมหาศาล จึงจัดเป็นงานวิจัยที่น่าเชื่อถือและยึดเป็นข้อมูลทางวิชาการได้ ถือเป็นข้อบ่งชี้ที่แน่ชัดแล้ว

         โดยเน้นเรื่องการกิน และ การออกกำลังกายเป็นหลัก แบ่งเป็น 3 ระดับ

ระดับแรกเป็นข้อบ่งชี้ที่แน่นอน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอาหาร วิถีชีวิต การออกกำลังกาย สิ่งแวดล้อม โดยพบว่า

         การดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ทั้งวัยหมดประจำเดือน และ ก่อนมีประจำเดือน มะเร็งช่องปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ และ ทวารหนัก (เฉพาะผู้ชาย)

         การมีไขมันในร่างกายเกิน จากค่าปรกติ หลังจากอายุ 21 ปีไปแล้ว เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมหลังหมดประจำเดือน มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งไต และเนื้อเยื่อบุมดลูก

        คนที่อ้วนลงพุง มีความเสี่ยงสูงต่อมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
    
         การบริโภคเนื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัว แกะ แพะ ในปริมาณที่สูงเกินจะก่อมะเร็งลำไส้ มีคำแนะนำให้บริโภคเพียงสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม   ควรหันมาบริโภคเนื้อสีขาว อย่างเนื้อไก่ หรือ ปลา
                      
         เนื้อสัตว์ที่ผ่าน กระบวนการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอก แฮม เบคอน อาหารเหล่านี้ต้อง รมควัน บางครั้งต้อง ปรุงรส ใช้เคมีเพื่อให้สี รสชาติและ มวลของอาหารอยู่ครบ เป็นอาหาร ที่กินบ่อย ๆ อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน

         ที่น่าตกใจพบว่าการ บริโภคเบต้าแคโรทีน ในรูปแบบอาหารเสริม จะเร่งให้เกิดมะเร็ง แต่ เบต้าแคโรทีน จะให้ประโยชน์เมื่อ  บริโภคผักผลไม้สด ๆ ที่มีสารเหล่านี้ ประเภทผลไม้สีเหลือง เช่น มะละกอ  มะม่วง  แครอท
    
         ขณะเดียวกันเมื่อมนุษย์ขึ้นสู่วัยหนุ่มสาวออกกำลังกายแบบแอโรบิก ที่ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดอย่างสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีจนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จะช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งเต้านม (โดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือน) และ มะเร็งเนื้อเยื่อบุมดลูก

         นอกจากนี้ผลวิจัยเป็นที่แน่นอนแล้วว่า การให้นมแม่กับทารก สามารถ ลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมทั้งก่อนและหลังหมดประจำเดือน ทั้งนี้ควรให้นมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกคลอดจนถึง 6 เดือนโดยไม่มีการให้อาหาร หรือเครื่องดื่มใด ๆ เลย รวมทั้งน้ำด้วย
    
ต่อมาข้อสรุปลำดับที่ 2 เรียกว่าเป็นที่แน่นอนบ่งชัดเจนหากเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ในข้อนี้ 80 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในข้อแรกเชื่อได้ 90 เปอร์ เซ็นต์ ในข้อนี้เน้นหนักด้านอาหารพบว่า

         การบริโภคผักใบ ลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งช่องปากคอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร ผักกลุ่มหอมป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร การบริโภคผลไม้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด ช่องปาก คอหอย กล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร
    
ลำดับที่ 3 ลดหลั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ลงมา ว่ามีความเป็นไปได้พบว่า

         การบริโภคอาหารที่มีไลโคปีน ซึ่งมีมากในมะเขือเทศลดความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก นักวิชาการคนเดิมจากสถาบันโภชนาการ ม.มหดิล บอกอีกว่า แม้สารไลโคปีนจะมีมากในมะเขือเทศแต่ถ้าไม่ทำให้มะเขือป่นละเอียดบริโภคไปร่างกายก็ไม่ได้ รับสารไลโคปีนอยู่ดี

         ดังนั้นการบริโภคมะเขือเทศสด  แบบชิ้น ๆ กับ การบริโภคซอสมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศได้รับไลโคปีนมากกว่า

         นอกจากในงานวิจัยเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อป้องกันมะเร็ง นักวิชาการทั่วโลกแนะนำว่าไม่ควรบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อป้องกันมะเร็ง เว้นแต่เจ็บป่วยหรือมีภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง
    
         ปัจจุบันพฤติกรรมการกินอาหารของคนไทยเปลี่ยนไปโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและคนวัยหนุ่มสาวบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น ที่เห็นได้ชัดจากวัฒน ธรรมการกินอาหารบุฟเฟ่ต์ ร้านเนื้อย่างหมูกระทะต่าง ๆ สอดคล้องกับงานวิจัยนี้

        ข้อแนะนำของการกินเพื่อต้านมะเร็งในแบบไทยซึ่งแม้งานวิจัยยังไม่ได้ถูกเลือกจากนักวิชาการ เพราะเป็นงานวิจัยขนาดเล็ก ตามอัตภาพของทุนที่มี แต่น่าชื่อถือและนำไปใช้ได้ งานประชุมดังกล่าวข้างต้น ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล นักวิชาการจากสถาบันเดียวกัน ได้เผยแพร่ผลการศึกษา

         เรื่อง “ศักยภาพต้านมะเร็งของตำรับอาหารไทย”
        
         ดร.สมศรี กล่าวว่า ได้ศึกษาเรื่องนำสมุนไพรต่างชนิดมาทำเป็นน้ำพริกแกงต่าง ๆ

         ได้ทดลองสารสกัดของน้ำพริกแกง 4 ชนิด ได้แก่ น้ำพริกแกงป่า แกงเลียง  แกงส้ม แกงเหลือง และ น้ำต้มยำ

         นำมาเลี้ยงเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว พบว่า

น้ำแกงป่า น้ำแกงเลียง และ น้ำแกงส้มมีศักยภาพให้เซลล์มะเร็งตายแบบธรรมชาติที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์อื่นในร่างกาย ได้มากถึง 45 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่แกงเหลืองทำให้เซลล์มะเร็งตายแบบธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีก 15 เท่าเมื่อเทียบกัน ดีกว่าการใช้ยาถึง 2 เท่า

         สมุนไพรสำคัญในเครื่องแกงน่าจะมาจากกระเทียมและพริกรวมทั้งสมุนไพรอื่น ๆ
    
         จากงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าการบริโภคอาหารที่เป็นสำรับแบบไทย อาทิ แกงเลียงกุ้งสด ห่อหมกใบยอ ไก่ผัดเม็ดมะม่วง ข้าวสวย หรือ สำรับ ข้าวเหนียว ส้มตำใส่ แครอท ไก่ทอดสมุนไพร ต้มยำ จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง สอดรับกับงานวิจัยระดับโลกที่ว่าอาหารการกินเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนห่างไกลมะเร็งได้อยู่.

นำมาจาก น.ส.พ.เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2553

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=522&contentId=41833

          ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
   
         การเลือกทานอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งเป็น"การสาธารณสุขมูลฐาน"อย่างหนึ่ง เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ให้ทานอาหาร ที่มีประโยชน์ และ ยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรค มะเร็ง ด้วย

         รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Russell123
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 เมษายน 2553, 19:17:09 »

ขอบคุณที่ดีสำหรับการโพสต์งานยอดเยี่ยมทำดีเพื่อสุขภาพ
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #5 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2553, 07:59:46 »


สปสช.โวบัตรทอง ช่วยลดรายจ่าย สุขภาพเหลือ1%
ขอขอบคุณ น.ส.พ.ไทยโพสต์ วันจันทร์ ที่ 3 พฤษภาคม 2553

http://www.thaipost.net/news/030510/21634

สปสช.เผย ผลการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพ 8 ปี พบ
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนไทยลดลงจากร้อยละ 8 ในปี 45 เหลือเพียงร้อยละ 1 ในปี 52




นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า

ขณะนี้พบว่ามีประชาชนกว่า 47 ล้านคนเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น
นับจากเริ่มโครงการในปีแรก 2545 จนถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 8 พบว่า

ที่ผ่านมารัฐบาลในแต่ละสมัยได้จัดงบฯ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้น 224%
จากข้อมูลการเงินหน่วยบริการ กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

พบว่า

มีแนวโน้มเงินสดคงเหลือของ รพ.สังกัด สธ. ปี 2545-2552 สูงขึ้นเรื่อยๆ
จากปี 2545 มีเงินสดคงเหลือ 14,605 ล้านบาท และในปี 2552 มีคงเหลือ
42,968 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ขณะที่หนี้สินของ รพ.เหล่านี้ปี 2552 พบประมาณ 16,000 ล้านบาท เมื่อหักลบแล้ว
ยังนับว่าสอดคล้อง


สะท้อนให้เห็นว่า

การมีระบบหลักประกันสุขภาพ

ไม่ได้ทำให้ รพ.ทั้งระบบเป็นหนี้และประสบภาวะล้มละลาย
เนื่องจากมีเงินเข้าระบบมากขึ้น แม้จะมีรายจ่ายมากขึ้น แต่ก็ยังสามารถจัดการได้

เลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า

ในส่วนของประชาชนนั้นจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนลดลง

โดยก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพในปี 2533-2544
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนเทียบกับรายได้ครัวเรือนสูงถึงร้อยละ 8.17

แต่หลังมีระบบในปี 2545-2549 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพลดลงเหลือร้อยละ 1.27 เท่านั้น


โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งสำรวจตั้งแต่ปี 2546-2552

โดยในปี 2552 ในส่วนของผู้รับบริการมีความพึงพอใจร้อยละ 89.3
เพิ่มจากปี 2545 ที่มีความพึงพอใจร้อยละ 83

สำหรับผู้ให้บริการมีความพึงพอใจร้อยละ 60.3
เพิ่มจากปี 2545 ที่มีความพึงพอใจร้อยละ 45.6

สำหรับจำนวนการใช้บริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น
ซึ่งในปี 2552 มีการใช้บริการผู้ป่วยนอก 140.7 ล้านครั้ง
เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ในอัตราร้อยละ 32 และ

จำนวนการใช้บริการผู้ป่วยในปี 2552 จำนวน 5.21 ล้านครั้ง
เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ในอัตราร้อยละ 23


แสดงว่าประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น.

OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

เนื้อหาจากข่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า

ตัวชี้วัดสุขภาพดีถ้วนหน้า 4 ตัวชี้วัด
ของสาธารณสุขมูลฐาน คือ

ตัวที่ 1 การมีสิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)ถ้วนหน้า
ตัวที่ 2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี
ตัวที่ 3 การเข้าถึงบริการได้สะดวก และ
ตัวที่ 4 สถานพยาบาลที่ให้บริการมีคุณภาพ


จากการดำเนินการของสปสช.มีผลจากการประเมินผลได้ดีขึ้นจริง
ต้องทำต่อเนื่องให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

โดยกระทรวงสาธารณสุข กำลังจัดการให้มี

โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล(รพสต.)ที่พัฒนามาจาก
สถานีอนามัยเดิม อยู่ใกล้บ้าน โดยมีแพทย์ ร.พ.อำเภอรับผิดชอบประจำ
ทั้งมาด้วยตนเอง หรือ ทางเทคโนโลยี่การสื่อสาร

จะทำให้ตัวชี้วัดตัวที่ 3 สถานพยาบาลใกล้บ้าน และ
ตัวที่ 4 บริการอย่างมีคุณภาพ  ทำได้สำเร็จ
จะสามารถลดรายจ่าย สุขภาพที่น้อยกว่า 1 % ลงได้อีก
เช่น เป็นหวัด ได้รับการรักษาทันที
จะลดการเกิดโรคแทรกซ้อนปอดอักเสบ
ค่ารักษาแพง และ อาจเสียชีวิตได้ด้วย

การสาธารณสุขมูลฐานจึงเป็นหนทางให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้าตามOttawa Charterจริง emo4:))พวกเรา

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #6 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2553, 19:46:55 »


เมื่อเริ่มป่วยไข้ จะเริ่มจากเป็นเล็กน้อยแล้วเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าไม่ได้รับการรักษากับแพทย์ทั่วไป หรือ
แพทย์ครอบครัวด่านแรก  ซึ่งรักษาได้มากกว่า 90% ของคนป่วย จะเกิดโรคแทรกซ้อนและ
ค่ารักษาสูงมากขึ้น


แพทย์ทั่วไป จบใหม่เรียนเพียง 6 ปี ผ่านการเรียนมาทุกแผนกได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต
และ ผ่านการสอบขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์มีความสามารถให้บริการประชาชนได้ กับแพทยสภา
ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งแพทย์ทั่วไปได้เรียนรู้อาการ อาการแสดง ผลแล็ป
สำหรับโรคทุกโรคแล้ว เหมาะเป็น

แพทย์ด่านแรกทำงานใกล้บ้านใกล้ใจประชาชน ที่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล : รพสต.
และ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพอำเภอ : รพสอ.
โดยการดูแลเป็น

รูปเครือข่าย เป็นแพทย์ประจำครอบครัว รับผิดชอบดูแลพื้นที่ตำบลใดตำบลหนึ่ง
ดูแลทั้ง รพสอ.และ รพสต.ด้วยแพทย์คนเดียวกัน ไปให้การรักษาด้วยการเดินทางไปหรือ
ไปให้รักษาทางเทคโนโลยี่สารสนเทศ VPN:Virtual Private Network มีพยาบาลเวชปฏิบัติ
อย่างน้อย 2 คนอยู่ประจำ เพื่ออยู่เวรนอกเวลาราชการได้ การให้การดูแลมีวิธีการดัง ต่อไปนี้

ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

การวินิจฉัยและการรักษา/ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ/ร.พ.คุณภาพ/การดูแลรูปเครือข่าย



เรียบเรียงเนื้อหาทั้งหมดโดย

น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์

พ.บ.อว.เวชศาสตร์ป้องกัน และ อว.เวชศาสตร์ครอบครัว

นายแพทย์ เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติชุมชน ร.พ.พนมสารคาม

และ แพทย์ ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล (ร.พ.ส.ต.)เขาหินซ้อน

ร.พ.พนมสารคาม ได้เป็นร.พ.คุณภาพ และ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ แล้ว

อีเมลล์แอดเดรส : tsumruang@hotmail.com

.....................................................................



1.) "วินิจฉัยโรค และ ดูแลรักษา"

1.วินิจฉัยโรคได้อย่างไร นำความรู้มาจาก

บทที่1.การตั้งสมมติฐานเพื่อวินิจฉัย Hypothesis Testing Approach : HTA ใน

หนังสือ "อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน" ของ ร.พ.ศิริราช

เป็นวิธีการที่ทำให้รู้ว่าคนไข้ที่มาหาป่วยเป็นอะไร ได้เร็ว และ ถูกต้อง ในภาวะฉุกเฉินนี้ ถ้าวินิจฉัยได้ช้า คนไข้ฉุกเฉิน อาจจะพิการ หรือ เสียชีวิตไปก่อน

ในภาวะปัจจุบันที่ให้คนไข้ ทั้งอำเภอ มุ่งมาพบแพทย์ที่ ร.พ.อำเภอ เนื่องจากมียา บ้างตัวที่ต้องจ่ายโดยแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติจ่ายไม่ได้ คนไข้ที่ต้องใช้ยา ที่ต้องสั่งโดยแพทย์ จึงต้องมา พบแพทย์ ที่ ร.พ.จำนวนมาก

แต่ถ้ามี ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล : ร.พ.ส.ต.รับผิดชอบโดยแพทย์ ยาทุกตัวที่
ร.พ.อำเภอ ใช้ จะสามารถนำมาไว้ที่ ร.พ.ส.ต.ได้ โดยการจ่ายยาที่ต้องจ่ายโดยแพทย์
จะมีแพทย์จาก ร.พ.อำเภอ แต่ละคนรับผิดชอบ ร.พ.ส.ต.ประจำ กำำักับดูแลการใช้
คนไข้จึงมีทางเลือกสามารถ รับที่ ร.พ.ส.ต.ใกล้บ้าน ไม่ต้องมา ร.พ.อำเภอได้


การวินิจฉัยโรคนั้น ถ้าเราวินิจฉัยช้า คนไข้ต้องเสียเวลา รอรับบริการนาน จึงควรมีวิธี ที่
ตรวจวินิจฉัยได้เร็ว และ ถูกต้องด้วย การนำวิธี

การตั้งสมมติฐานเพื่อทดสอบ  Hypothesis Testing Approach : HTA

มาใช้ในการตรวจโรคในสภาวะคนไข้มารักษามาก ๆ จึงได้ประโยชน์มากเช่นเดียวกับกรณีฉุกเฉิน

การหาคำวินิจฉัยโรค มีหลักการสำคัญที่จะต้องได้ข้อมูลมาจาก 3 แหล่ง คือ

1.ซักประวัติ

2.ตรวจร่างกาย และ

3.ตรวจทางห้องปฏิบัติการ


1.การซักประวัติ

1.1 เมื่อคนไข้มาหา

สิ่งแรก จะต้องถาม คือ อาการไม่สบายเป็นอย่างไร (Chief complaint=cc.)อาจมีอาการเดียว หรือ มากกว่าได้ โดยทุกอาการ ต้องมีระยะเวลาด้วย เพราะ จะช่วยการวินิจฉัยได้ การป่วยเรื้อรัง หรือ เพิ่งป่วยไม่นาน จะบอกว่าเป็นโรคอะไรได้

เมื่อได้อาการนำนี้ แล้วนำมาตั้งสมมติฐานว่า จะนึกถึงโรคอะไรได้บ้าง

1.2. เมื่อนึกถึงโรคอะไรได้แล้วตามที่ตั้งสมมติฐาน ข้อ 1.1 ให้นำอาการของโรคที่คิดถึง พร้อมกับ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค นั้น มาซักถามคนไข้ว่ามีหรือไม่

1.3. เมื่อได้รับคำตอบจากคนไข้ มีคำตอบเหมือน สมมติฐานโรคใดมากที่สุดก็น่าจะเป็นโรคนั้น

หมายเหตุ:การซักประวัติ ต้องอย่าลืมถามประวัติการแพ้ยา และ โรคประจำตัว ด้วย เพื่อเมื่อให้การรักษา จะได้ไม่มีอันตรายต่อคนไข้ และ การซักประวัติถึงแม้จะใช้การตั้งสมมติฐาน เพื่อค้นหาคำวินิจฉัยแล้ว

       แต่อย่าลืมการซักประวัติ ด้วยสุนทรียสนทนา คือ การซักประวัติที่ดี มี 4 ลักษณะคือ

เอาเหตุที่คนไข้พามาเพื่อตั้งสมมติฐาน เพื่อค้นหาคำวินิจฉัย  เป็น I in IT  

เอาตนเองเป็นเกณฑ์ ถามฟังตามที่เราคิด คิดว่าเป้าหมายของการซักเป็นขอบฉันจัดเป็น I in ME

เอาจิตใจคนไข้เป็นใหญ่ ซักประวัติอย่างเห็นอกเห็นใจรับฟังการระบายทุกข์ให้ฟัง จัดเป็น I in You

เอาสิ่งที่เกิดในปัจจุบันเป็นเกณฑ์ ซักแบบคิดถึงที่เกิดขึ้นจริงขณะนั้น จัดเป็น I in Now

ในสุนทรียสนทนา ต้องพยายาม ให้เหมาะสมในคนไข้แต่ละคน

2.การตรวจร่างกายโดยค้นหา สิ่งที่จะตรวจพบของโรคที่ตั้งสมมติฐาน ตามข้อ 1.1 เช่น

นึกถึงโรคตับอักเสบ ก็มองหาว่าตาเหลือง ตัวเหลือง และ ปัสสาวะเหลือง หรือไม่ เป็นต้น

3.ค้นหาการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่จะช่วยสนับสนุน หรือ คัดค้าน โรคตามที่ตั้งสมมติฐาน เช่น สงสัยมาเลเรีย ก็ส่งตรวจเลือดหาเชื้อมาเลเรียในเลือด เป็นต้น

ถ้าทั้ง 3 ข้อมูล เข้า กับ โรคที่ตั้งสมมติฐานใดมากที่สุดก็น่าจะเป็นโรคนั้นนั่นเอง

ในประเทศอเมริกา มี

เวบไซด์บอกเกี่ยวกับอาการ และ อาการแสดง ผลทางห้องปฏิบัติการ ของโรคแต่ละโรค
ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบว่า ตนเอง มีอาการ และ อาการแสดงเหมือน
โรคใดมากที่สุด ก็สามารถพอรู้ได้ว่า น่าจะป่วยเป็นอะไร และ ควรไปพบแพทย์ประจำตัว หรือ
แพทย์ประจำครอบครัว เพื่อรับการรักษาได้ เวบไซด์นั้น คือ เวบ Medlineplus ที่

http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/encyclopedia.html

หมายเหตุ:

การวินิจฉัยโรค จากการศึกษาวิจัย พบว่า

ซักประวัติอย่างเดียว พูดคุยกัน จะสามารถให้คำวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคอะไรได้ถึง 80 % และ
เมื่อตรวจร่างกาย เพิ่มต่อจากซักประวัติ เหมือนโรคอะไร แล้ว ตรวจร่างกายค้นหา
เพิ่มจากการพูดคุย จะรู้ว่าป่วยเป็นอะไรได้ เพิ่มอีก 10 %

รวมสรุปได้ว่า ซักประวัติ และ ตรวจร่างกาย โดยไม่ใช้แล็ป เลย หรือ เรียก ว่า

การวินิจฉัยข้างเตียง(Bedside Diagnosis) สามารถวินิจฉัยได้ถึง 90 % หรือ
ส่วนใหญ่ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ต้องทำแล็ปเพิ่ม

ดังนั้นการที่แพทย์ออกตรวจ นอก ร.พ. ที่สถานีอนามัย หรือ ศูนย์แพทย์ชุมชน
จึงสามารถวินิจฉัย หรือ รู้ว่า คนไข้ป่วยเป็นอะไรได้เกือบทั้งหมด


อย่างไรก็ตาม อีก 10 % สามารถส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทางที่ควรไปรวมอยู่ ร.พ.จังหวัด หรือ
ร.พ.ศูนย์เพื่อรับส่งต่อ พร้อมนำเครื่องมือแพทย์เฉพาะทางใช้ ก็ควรนำกลับไปใช้ร่วมกัน

จะเป็นการวางคนใ้ห้ตรงกับงาน

ใช้แพทย์จบใหม่ เรียน 6 ปี ปีหนึ่งมีจบมาประมาณ 2 พันคน สามารถมาทำงานแทน
แพทย์เฉพาะทาง ร.พ.อำเภอ และ ดูแล ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลได้

ทำให้ได้แพทย์เฉพาะทางที่มาอยู่ ร.พ.อำเภอสาขา ละคน เพิ่มขึ้นที่ ร.พ.ใหญ่ ได้ทันที


ถึงแม้แพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์ครอบครัว ไม่สามารถให้คำวินิจฉัย ก็สามารถให้การรักษาได้
ถ้าคิดว่าไม่อันตรายถ้าวินิจฉัยได้ช้า ก็ให้การรักษา ตามอาการ และ นัดตรวจซ้ำ หรือ

ถ้าคิดว่าอันตราย ก็จะเขียนใบส่งต่อไปให้ ร.พ.จังหวัด ด่านสอง หรือ ร.พ.ศูนย์ ด่านสาม
ที่มีความสามารถสูงกว่า ตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้คำวินิจฉัย

ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย นั่นเอง เมื่อเข้าสู่ตามระบบ
จะใช้สิทธิรักษาฟรี โดยรัฐได้ ซึ่งเป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่รักษาที่ใกล้บ้านไม่ได้

2.การดูแลรักษา(Treatment)
ต้องแยกว่าป่วยหนักหรือไม่เพื่อ

1..ให้นอนรักษาตัวในร.พ.เมื่อดูว่าคนไข้ป่วยหนัก

2..ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก เมื่อดูว่าไม่หนักมาก นัดมาตรวจซ้ำถ้าไม่ดีขึ้นโดยให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว ถ้าไม่ดีขึ้นต้องรีบกลับมาตรวจซ้ำที่เดิมได้เพื่อให้การวินิจฉัยเพิ่มได้

แนวทางการดูแล ไม่ว่าให้นอน ร.พ. หรือ ให้กลับบ้านจะประกอบด้วย

1. Supportive Treatment : รักษาปฐมพยาบาล ให้รอดปลอดภัย ก่อน เรื่องหาคำวินิจฉัยต้องรอเมื่อปลอดภัยแล้ว เช่น
ถ้ามาด้วย ช็อค ความดันวัดไม่ได้ต้องรีบช่วยชีวิตคนไข้ก่อน โดย ให้น้ำเกลือ เพื่อ รักษาความดันให้ผ่านพ้นการช็อค เป็นต้น

2. Specific Treatment : รักษาเฉพาะสำหรับโรคนั้นๆ มีแนวทางที่กำหนดการรักษา(Guideline Treatment)เป็นมาตรฐานการรักษาแน่นอน ที่แพทย์ทุกคนจะต้องรักษาไปแนวทางนี้ ซึ่งจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่น แนวทางรักษา ไข้มาเลเรีย คือ การให้ยาฆ่าเชื้อมาเลเรีย ที่เหมาะสม เป็นต้น

3. Symptomatic Treatment : รักษาตามอาการที่คนไข้ไม่สบาย เช่น นอนไม่หลับ ก็ให้ยาช่วยให้หลับพักผ่อน เป็นต้น

4. Palliative Treatment : ในรายที่ป่วยเป็นโรคที่ทราบแล้วว่ารักษาไม่ได้ ต้องเสียชิวิต ให้การรักษาให้ไม่ทุกข์ทรมาน และ มีความสุข ก่อน ที่จะต้องเสียชีวิต ให้ตายอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

การดูแลคนป่วย ที่มุ่งให้ยารักษาอย่างเดียว ค่าดูแล จะเพิ่มขึ้น ทุกปี ปีละ 20% ไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้ประเทศเสียงบประมาณไปอย่างน่าเสียดาย จึงต้องมีการพัฒนา ปฏิรูประบบสุขภาพใหม่ เป็น

2.)ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Hospital:HPH)

หมายถึง ร.พ.ที่มุ่งดูแลแบบองค์รวม คือ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาเมื่อเริ่มป่วย และ ฟื้นฟูให้หายป่วยโดยเร็ว
ด้วยการให้ความรู้คนไข้ด้วย นอกจากการให้ยา

ต้องให้คำปรึกษาด้วย ในหัวข้อ ต่อไปนี้ ได้แก่

1.บอกว่าเขาป่วยเป็นอะไรตามภาษาชาวบ้านเข้าใจได้

2.บอกเขาว่าที่เขาป่วยเพราะเขาไปทำอะไรมาที่ผิดจากการมีสุขภาพดีจึงป่วยให้เขาทราบเพื่อจะได้ไม่ไปทำอย่างเดิมอีก เป็นภาษาชาวบ้าน เช่น มาด้วยปวดหลัง เมื่อถามแล้วพบว่า เกิดจากการก้มหลังยกของที่พื้นเป็นประจำ ต้องบอกเขาว่าสาเหตุปวดหลัง เกิดจากสาเหตุข้างต้น ให้ยกของที่พื้นให้ถูกต้อง

3.บอกว่าเราให้ยาอะไรบ้าง และ ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อป่วยอยู่

4.บอกว่าถ้าทานยาและปฏิบัติตัวดีแล้วไม่หายให้มาดูใหม่ ที่เดิมโดยควรถือยาเก่ามาให้ดูด้วย เพื่อ
จะได้สื่อสารกับคนไข้ง่าย เวลาพูดถึงยาตัวใด จะได้ชี้ที่ซองยา และ ทำให้ทราบว่าคนไข้ทานยาตามที่เราจัดให้หรือไม่ และ ถ้าต้องให้นอนรักษาตัวใน ร.พ. จะได้ใช้ยาเดิมต่อไป ไม่ต้องเบิกยาใหม่ หรือ ต้องเสียเวลากลับไปเอายาเก่ามา เป็นการใช้ยาอย่างคุ้มค่า


การกลับมารักษาที่เดิม เพื่อเป็นการดูแลอย่างต่อเนื่องกับแพทย์ประจำครอบครัว ดีกว่า ไปหา แพทย์ท่านอื่น ซึ่งไม่รู้ประวัติการรักษา ต้องเริ่มรักษาและ ยังใช้สิทธิรักษาฟรี ไม่ได้ด้วย

ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการให้ความรู้ คนไข้ จะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ไม่ป่วยด้วยโรคเดิมอีก ยังมีประโยชน์ เมื่อคนไข้ไม่ป่วยบ่อย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะได้ใช้เวลาไปทำด้าน ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และ ฟื้นฟูสุขภาพ ได้มากขึ้น

ร.พ.ที่จะได้รับใบรับรองว่า เป็น ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ

จะต้องปฏิบัติตาม แนวทางการพัฒนาและรับรองการเป็น ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ของกรมอนามัย

ตัวชี้วัดที่จะบอกว่า ร.พ.ได้ทำหน้าที่เป็นร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ได้ถูกต้อง ได้แก่

เมื่อคนไข้มารับบริการแล้วจะต้องได้รับความรู้ด้วย ว่า

ป่วยเป็นอะไร

รู้ว่าไปทำอะไรมาจึงป่วย เช่น ไปตากฝนมาเมื่อวาน วันนี้จึงป่วยเป็นหวัด

รู้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างไรมียาอะไรบ้าง, ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรระหว่างป่วย,รู้วิธีที่จะไม่ป่วยเป็นไข้หวัดอีก โดย พยายามหลีกเลี่ยงการโดนฝน เช่น รอฝนหยุด หรือ กางร่ม ฯลฯ และ

รู้ว่าถ้าไม่ดีขึ้นต้องกลับมาตรวจซ้ำ(ตามแนวทางให้คำแนะนำ 4 ข้อที่ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ให้

ประโยชน์ ที่ได้จากการเป็น ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ คือ

1.คนไข้ลดน้อยลง จากคนไข้นำความรู้ที่เราให้คำแนะนำ ทำให้ไม่ป่วยง่ายๆเหมือนเดิม เช่น

แทนที่จะให้ยาปวดหลังติดต่อเป็นเดือนๆ เมื่อคนไข้รู้ว่าเป็นอะไร เกิดจากยกของผิดวิธี นำไปปฏิบัติให้ถูก ระยะเวลารักษาจะสั้นลง แทนที่ต้องรับยาเรื่อยๆ กลายเป็นรับยาเพียงครั้งสองครั้งก็หาย

2.ค่ารักษาพยาบาลโดยรวม ของ ร.พ.จะลดลง เมื่อ คนไข้ น้อยลง จากคนป่วยลดลง สุขภาพแข็งแรง ตามแนวทาง"สุขภาพดีถ้วนหน้า ในราคาถูกแบบยั่งยืน"

3.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำงานสบายขึ้น การลาออกน้อยลง ได้ในที่สุดนั่นเอง

ดูเพิ่มเติมได้ที่เวบ...

http://advisor.anamai.moph.go.th/hph/

3.)ร.พ.คุณภาพ

คือ ร.พ.ที่มีการกำหนดแนวทางการทำงาน เป็นลายลักษณ์อักษรโดยผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ (ส.ร.พ.) ได้ร่วมจัดทำเป็นเอกสารการทำงานอย่างมีคุณภาพ ไว้อ้างอิง ให้กรรมการตรวจสอบภายใน ร.พ.เอง และ ภายนอก(ส.ร.พ.) ใช้ตรวจสอบ ว่า ร.พ.ได้ปฏิบัติตาม แนวทางในเอกสาร ที่ได้รับการรับรองได้ครบถ้วนจริง

ก็จะได้รับใบประกาศรับรอง

"โรงพยาบาลคุณภาพ"

จาก สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ(ส.ร.พ.)

หลังจากได้ใบรับรองแล้ว จะต้องรักษาคุณภาพไว้ตามที่ได้รับการรับรองต่อไป โดยจะต้องมีการตรวจสอบภายใน จากกรรมการตรวจสอบภายใน ร.พ.เอง เป็นระยะ ให้สามารถคงรักษาคุณภาพ ได้เหมือนที่เขียนไว้ในเอกสาร และ

คณะกรรมการตรวจสอบจากภายนอก จะมีการเข้ามาตรวจสอบ ตามระยะเวลา เพื่อยืนยันคุณภาพ ว่ายังคงมีคุณภาพตามเอกสารอ้างอิงอยู่ ถ้าไม่เป็นไปตามเอกสารอ้างอิงก็จะให้แก้ไข เมื่อแก้ไขได้ ก็จะได้ต่อใบรับรองคุณภาพ ต่อไป ตลอดการตรวจประเมินตามระยะของกรรมการตรวจสอบภายนอก(พ.ร.พ.)

ตัวชี้วัดที่จะบอกว่า ร.พ.ได้ทำหน้าที่เป็นร.พ.คุณภาพ ได้ถูกต้อง ได้แก่

1.คำชม ร.พ.เพิ่มขึ้น คำติ ร.พ.ลดลง (ร.พ.คุณภาพ จะมีตู้รับฟังความคิดเห็นการได้รับบริการทุกจุด ให้คนมารับบริการประเมิน ร.พ.)

2.คนไข้ ปลอดภัย จากการ ลดโรคแทรกซ้อน ลดความผิดพลาด จากการรับบริการลง จากการที่ ร.พ.คุณภาพ ต้องนำความผิดพลาด มาประชุม "การประเมินความเสี่ยง:Risk Management"อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดไม่ให้เกิดซ้ำอีก



3.เจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความสบายขึ้น มีเอกสารคุณภาพเขียนวิธีทำงานให้ไว้ปฏิบัติตาม ทำให้เหมือนมีผู้นำทางให้เดิน โอกาศผิดพลาด โดนฟ้องร้อง จะน้อยลง ถ้าทำตามเอกสารคุณภาพ ที่ผ่านการพิจารณาแล้ว

ดูเพิ่มเติม ได้ที่ แนวทางการพัฒนาและรับรองคุณภาพ ของ คณะกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพ(ส.ร.พ.) ที่เวบ..

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=18&group=12&gblog=2

ร.พ.พนมสารคาม ได้รับการพัฒนาและรับรอง เป็นทั้ง ร.พ.คุณภาพ และ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ แล้ว และ ได้รับการยกย่อง ให้เป็นร.พ.ต้นแบบ จาก กระทรวงสาธารณสุข

ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ร.พ.พนมสารคามได้ที่เวบข้อมูลภายใน ร.พ. ซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของการเป็น ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ที่จะต้องเป็น

"องค์กรแห่งการเรียนรู้" ด้วย

โดยอาศัยช่องทางทางการมีเวทีอินเตอร์เนต ให้เจ้าหน้าที่ ร.พ.ได้ใช้เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นได้ในเวบบอร์ดของ ร.พ. เชิญเข้ามาอ่านเวบบอร์ด ได้ ภายในเวบของข้อมูล ร.พ. ...

http://www.cco.moph.go.th/p/

4.)การดูแลสุขภาพเป็นรูปเครือข่าย คือ

การปฏิรูประบบสาธารณสุข ให้ไปสู่ "สุขภาพดีในราคาถูก"เหมือน ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ หรือ ประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาระบบสุขภาพ ให้ดีที่สุด ขึ้นนั่นเอง โดยมี

สถานพยาบาลด่านแรก ดูแลประชาชน เป็นแพทย์ประจำครอบครัว ดูแลได้ทุกเรื่องทุกโรค เมื่อพบว่าเกินความสามารถก็จะส่งต่อ ไปตามขั้นตอน พบ ด่านสอง หรือ ด่านสาม ตามความเหมาะสม ให้

แทนที่จะให้ประชาชน เลือกว่าจะไปรักษาที่ใด อย่างไร เอง เป็นแพทย์ประจำครอบครัว ดูแลให้ มีหนังสือส่งตัวให้ หรือ ถ้าจำเป็นก็จะจัดหารถส่งให้


เหมือน ที่ ร.พ.พนมสารคาม จัดคลินิกโรคหัวใจ โดยเชิญ แพทย์โรคหัวใจ จาก ร.พ.เกษมราษฏร์ มาตรวจรักษาให้โดย ร.พ.พนมสารคาม จะนัดคนไข้ที่ควรพบแพทย์โรคหัวใจ จำนวน 30-50 คน มาตรวจ ให้ที่ ร.พ.พนมสารคามใกล้บ้านผู้ป่วย ไม่ต้องเดินทางไปถึง ร.พ.เกษมราษฏร์ เมื่อต้องไปตรวจต่อพิเศษ ก็จะรวมกันไปโดย ร.พ.พนมสารคาม จัดรถนำส่งให้ สะดวก โดย ค่าบริการ เป็นไปตามเงื่อนไข สิทธิการรักษาฟรี และ
กำลังจัดหาแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ ที่มีคนไข้มาก มาตรวจให้อีก ได้แก่ คนไข้จิตเวช ฯลฯ ตามแต่จะมีคนไข้มากด้านใด

ตัวชี้วัดที่จะบอกว่า มี "การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย" ได้ถูกต้อง ได้แก่

1.คนไข้ สะดวกสบายในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของรัฐ มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น

2.แพทย์ และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะได้ทำงาน ที่สบายขึ้นคนป่วยลดลง จากข้อ 1 คนไข้มีสถานพยาบาลที่มีคุณภาพใกล้บ้าน และ ได้รับการเยี่ยมบ้าน ทำให้ได้รับการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข

3.ร.พ.ลดความแออัด มีคนไข้มาร.พ.ลดลง ทำให้ทำงานได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ตามความจริงที่ว่า

ปริมาณงาน จะแปรผกผันกับ คุณภาพของงาน

ดูเนื้อหา"การดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย"เพิ่มเติมได้ที่เวบ..

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=09-2006&date=30&group=1&gblog=3

ดูตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้ระบบเครือข่ายมีแพทย์ประจำครอบครัว ได้ที่

"การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น(ระดับปฐมภูมิ)ที่ประเทศอังกฤษและฟินแลนด์ " ที่เวบ...

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4

และ ด่านแรก มี มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและการมีแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน เป็นแพทย์ผู้ดูแลด่านแรกอยู่ ดูเนื้อหาเพิ่มเติมที่เวบ..

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=03-2007&date=27&group=1&gblog=5

ถ้าอยากให้เป็นจริงตามแนวทางปฏิรูปคงต้องอาศัยสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี มี 3 มุม

มุมที่ 1 การให้ประชาชน ได้รับความรู้เรื่องการปฏิรูปสุขภาพจะมีประโยชน์กับการเข้าพบแพทย์ได้สะดวก จะมีแพทย์ประจำตัว ที่ดูแลได้ทุกเรื่อง ทุกโรคในแพทย์คนเดียว(แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเดิม ที่ เปลี่ยนชื่อมาเป็น แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่มีหน้าที่ดูแลคนไข้ประจำที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ หรือ ประชาชนมาเลือกให้เป็นแพทย์ประจำครอบครัว ซึ่งรักษาฟรี รัฐจ่ายค่าบริการแทน) และ

มุมที่ 2ประชาชน ที่ได้รับความรู้แล้วรวมตัวกันเป็นองค์กร โดยมีผู้นำองค์กร นำการเปลี่ยนแปลง ให้เป็นไปตามแนวทางปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งมีอยู่แล้ว ได้แก่

นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต.)ที่มีความสามารถ ซึ่งประชาชน เลือกตั้งเข้ามาบริหารท้องถิ่น

ซึ่งในอนาคต หน่วยงานต่างในตำบลจะต้องอยู่ภายใต้การบริหาร จาก นายกอบต. ประชาชนในตำบลสามารถรวมตัวกัน ขอให้ นายก อบต.ประสานงาน กับ ผู้อำนวยการร.พ.อำเภอ ของตำบลนั้นให้แพทย์ประจำพื้นที่ตำบลนั้น(แพทย์ประจำครอบครัว)มาตรวจที่สถานีอนามัยเพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน ในช่วงเช้าทุกวัน ส่วนตอนเที่ยงและบ่ายกลับมาดูผู้ป่วยใน ตามพื้นที่ ที่มานอนรักษาตัวในร.พ.ได้ ตามการดูแลรูปเครือข่าย และ ตามแนวทางการมีแพทย์ประจำครอบครัว ได้

มุมที่ 3 การหามาตรการทั้งเชิงบวก และ เชิงลบ มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตามความรู้ ใน มุมที่ 1 ข้างต้น

เชิงลบ เช่นมีกฏหมายที่จะเกี่ยวข้องบังคับให้ทำ ได้แก่ พ.ร.บ.สุขภาพ เป็นกฏหมายซึ่งประเทศเรากำลัง ปฏิรูประบบสุขภาพ ไปสู่การดูแลรูปเครือข่าย ที่กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลง ให้เป็นจริง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน ได้พบแพทย์ประจำครอบครัว(แพทย์ทั่วไปเดิม รักษาคนไข้ได้ส่วนใหญ่ ประมาณ 90%) ที่มาตรวจ หรือ มาทางเทคโนโลยี่สารสนเทห์ ให้ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) จัดเป็นสถานพยาบาลด่านแรก ของเครือข่ายสุขภาพ ที่ประชาชนจะเข้าถึงได้สะดวก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข มุ่งพัฒนา ให้สถานีอนามัยทุกแห่ง เป็น รพสต. เมื่อสิ้นปี 2555 นั่นเอง

เชิงบวก เช่นมีการประกวดการมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยบ่อยให้ใบประกาศยอดคนสุขภาพดีไม่มีเจ็บป่วย เป็นต้น
 
หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

ดูสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพิ่มเติม ได้ที่ เวบบ์....

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=14&group=11&gblog=11

และเวบ..การปฏิรูประบบสุขภาพ และ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่เวบ...

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=10-2006&date=02&group=1&gblog=1

........................................................

ทำไมต้องทำบทความนี้ไว้ในอินเตอร์เนต

1.ไม่ต้องพิมพ์เอกสารการบรรยาย แจก แต่ ให้เปิดดูทาง เวบไซด์ ได้ เนื่องจาก ร.พ.พนมสารคาม เป็นที่ฝึกสอนทั้งนิสิตแพทย์รังสิต และ ยังมีนิสิตแพทย์ จุฬาฯ มาเรียนบริหาร ร.พ.ด้วย นอกจากนี้ยังมี นักเรียนพยาบาล มาเรียน จึงทำไว้เพื่อ จะได้ ให้เปิดอ่านทบทวนจากการฟังบรรยาย

2.ผู้เขียน บทความนี้ สามารถเข้ามาแก้ไขได้ตลอดเวลาเมื่อต้องการปรับปรุงบทความให้ดียิ่งขึ้น

3.การทำบทความนี้ ยังมีจุดประสงค์ ไว้เผยแพร่ ให้ผู้สนใจ ที่อยากทราบว่า แพทย์ จะรู้คำวินิจฉัย และ ให้การดูแลเขา อย่างไร  ? ? ?

นำมาจากเอกสารประกอบการสอน นักเรียนพยาบาลที่มาฝึกเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติ หรือ เป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่เตรียมไว้เป็นพยาบาลเวชปฏิบัติ ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล อย่างน้อย 2 คน ผลัดกันอยู่เวรนอกเวลา โดยมี แพทย์ทั่วไป / แพทย์ครอบครัว รับผิดชอบประจำ ที่ทำงานที่ ร.พ.อำเภอ แบ่งหน้าที่ให้ทุกคนรับผิดชอบแต่ละ ร.พ.ส.ต. เตรียมไว้ให้เปิดอ่านไม่ต้องแจกเอกสารประกอบการสอน ให้เปิดดูทาง อินเตอร์เนต ได้ ทาง

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&group=12

win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #7 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2553, 11:14:50 »


ขอขอบคุณเวบสนุกดอทคอมและวันพฤหัส 24 มิถุนายน 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://news.sanook.com/945380-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A1..html



นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
และ
ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข พร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กว่า 2,500 คน
ร่วมงานเชิดชูเกียรติ อสม. เนื่องใน

วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ

ในการนี้มีพิธีพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ จาก
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แด่

อสม. ดีเด่น ประจำปี 2551-2553 ประกอบด้วย แชมป์เหรียญทอง14คนและแชมป์เหรียญเงิน30คน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบเข็มเชิดชูเกียรติให้แก่ อสม.ดีเด่น ระดับภาค ระดับเขต และ
ระดับจังหวัด รวมทั้งสิ้น 813 คน ด้วย

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
รัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การนำสาธารณสุขมูลฐานมาใช้ เพื่อให้ประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง
โดยรัฐบาลจัดบริการสุขภาพที่ประชาชนทำเองไม่ได้และเร่งพัฒนาประชาชน
ให้สามารถพึ่งตนเองทางสุขภาพเพิ่มมากขึ้นสอดคล้องกับ

แนวทางของ องค์การอนามัยโลก ที่ให้ฟื้นฟู สาธารณสุขขั้นมูลฐาน เน้นการพัฒนาและ
สร้างความเข้มแข็งของทางสังคมท้องถิ่น ชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดทิศทางและ
บริการจัดการด้านสุขภาพมากขึ้น


 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #8 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2553, 11:16:20 »


สธ.ชูยกระดับสถานีอนามัยวางเป้าสู่รพ.สุขภาพชุมชน
ขอขอบคุณ วันศุกร์ 23 กรกฎาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=8&contentID=80098



สถานีอนามัยที่กำลังจะพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล(รพสต.)

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข
มีนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศ โดยจะยกระดับ

สถานีอนามัยกว่า 9,000 แห่งทั่วประเทศ ขึ้นเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
มีบุคลากรประมาณ 27,000 คน ร่วมดำเนิน งานกับอาสาสมัครสาธารณสุขอีกประมาณ980,000 คน
บทบาทของ รพ.สต.ยังรวมถึงการดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน
เป็นมิติใหม่ของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ

    
นางพรรณสิริกล่าวว่า สำหรับผู้ปฏิบัติงานใน รพ.สต. ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการสาธารณสุข
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานทันตภิบาล และเจ้าหน้าที่พยาบาลหรือเรียกว่า
หมออนามัยของประชาชน

กระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นชอบในหลักการและดำเนินการผลักดันเพื่อให้เกิด

พ.ร.บ.วิชาชีพ การสาธารณสุข

ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาและตรวจสอบตาม กฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังได้เร่งปรับปรุงโครงสร้าง กำหนดบทบาทหน้าที่ของ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ รพ.สต. ให้ชัดเจน

รพ.สต.ขณะนี้โดยเฉลี่ยมีกำลังเจ้าหน้าที่แห่งละประมาณ 2-3 คน และ รมว.สาธารณสุข มี
นโยบายเพิ่มขวัญกำลังใจบุคลากรสาธารณสุขทุกสาขาที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ
ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทน
กำลังคนด้านสาธารณสุข เพื่อเร่งทบทวน วิเคราะห์หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนโดยรวม.

 win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #9 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2553, 06:56:51 »


                                        แนะใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นรักษาโรคไม่ร้ายแรง
                       ขอขอบคุณเวบสนุกดอทคอม วันเสาร์ 9 ต.ค. 53 ที่สนับสนุนเนื้อหา  
                        http://news.sanook.com/972215-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87.html

                                      

                                     น.พ.วิชัย โชควิวัฒน กรรมการปฏิรูปประเทศ

         เวทีเสวนา "ปฏิรูปสุขภาพ ปฏิรูปประเทศไทย" เผยปัญหาความเหลื่อมล้ำเรื่องการรักษาพยาบาลของคนเมืองกับคนชนบท พร้อมแนะประชาชนใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่รักษาโรคที่ไม่ร้ายแรง

         น.พ.วิชัย โชควิวัฒน กรรมการปฏิรูปประเทศ เปิดเผยในเวทีเสวนาหัวข้อ "ปฏิรูปสุขภาพ ปฏิรูปประเทศไทย" ว่า

         ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านการบริการทางด้านสาธารณสุข ส่งผลกระทบต่อคนไทยทุกคน ทั้งความเหลื่อมล้ำด้านการใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาล เพราะว่า

         ปัจจุบันประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทองกว่า 47 ล้านคน ใช้เงินรักษาพยาบาลต่อปีเพียง 70,000 - 80,000 ล้านบาท
         บรึ๋ยยยแต่ข้าราชการประมาณ 5 ล้านคน ใช้ค่ารักษาพยาบาลกว่า 60,000 ล้านบาท  บรึ๋ยยย

         รวมถึงจำนวนแพทย์ในเมือง 1 คนรับผิดชอบคนไข้ไม่ถึง 1,000 คน
               ต่างจากแพทย์ชนบท 1 คนรักษาคนไข้กว่า 10,000 คน

         นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายด้านยา และการรักษาที่เกินความจำเป็น ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคได้งบประมาณสนับสนุนน้อยมาก  บรึ๋ยยย รวมถึงคนไข้ไม่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องการรักษาตัวเองทั้งหมดขึ้นอยู่กับแพทย์

                          

         ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้การปฏิรูประบบสาธารณะสุขของไทยประสบผลสำเร็จคือ ประชาชนต้องเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง และต้องรู้จักใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่รักษาโรค

                เพราะกว่าร้อยละ 70 ที่พบแพทย์เป็นการรักษาโรคที่ไม่ร้ายแรง

                                                         gek gek gek

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

         เพราะกว่าร้อยละ 70 ที่พบแพทย์เป็นการรักษาโรคที่ไม่ร้ายแรง

         สามารถรัีกษาได้กับ พยาบาลเวชปฏิบัติ ที่ประจำที่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล
2 คน ภายใต้ความรับผิดชอบของแพทย์ที่รับผิดชอบประจำ รพสต.
ที่เป็นแพทย์ประจำ เป็นแพทย์
โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพอำเภอ รพสอ. ซึ่งจะเข้าตรวจให้เวลาราชการตามเวลา ทางเครือข่าย
สาธารณสุข Virtual Private Network : VPN ที่ รพสต.ใกล้บ้านประชาชนไม่ต้องเดินทางมาพบ
แพทย์ ที่ รพสอ.ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบ และ เสียเวลาทำงานของผู้ป่วย


                               รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #10 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2553, 07:31:33 »

 
                      Re: ซีมะโด่งเสวนา : เชิญน้องพี่มาแบ่งปันประสบการณ์
                    « ตอบ #206 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2553, 09:24:08 »

      

   พี่เจี๊ยบ นันทิกา

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6179.0/all.html

         ซีมะโด่งเสวนา ครั้งที่ 3 :

การสาธารณสุขมูลฐาน ตาม " Ottawa Charter " เพื่อคนไทยสุขภาพดี

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553  เวลา 19.20 - 20.30 น.

ณ ห้องประชุม สำนักงานหอพักนิสิตจุฬาฯ ( เดิม )  ชั้น 2  อาคารโรงอาหาร หอพักนิสิตจุฬาฯ

    แขกปราศรัยรับเชิญ

                น.พ. สำเริืง ไตรติลานันท์

              

                 แพทย์ศาสตร์  RCU 17

นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ซี 9) สาขาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

      โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพอำเภอพนมสารคาม

และโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน  อ. พนมสารคาม  จ. ฉะเชิงเทรา

ผู้ดำเนินการอภิปราย  :  คุณสุรศักดิ์ 14 และคุณสมเกียรติ 16

                              

ขอเรียนเชิญน้องพี่ชาวซีมะโด่งทุกท่าน เข้าร่วมกิจกรรมซีมะโด่งเสวนา ครั้งที่ 3

                            โดยพร้อมเพรียงกัน นะคะ

        และ ถ้าหากผู้ฟังได้มีโอกาสอ่านเนื้อหาเรื่องนี้จากกระทู้

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html

        ในห้องสุขภาพและความงามมาก่อนล่วงหน้าก็จะช่วยให้พวกเรามีคำถามและความคิดเห็น

มาร่วมพูดคุย-อภิปรายกันได้กว้างขวางยิ่งขึ้นอีก นะคะ

                              win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><