28 มีนาคม 2567, 17:46:50
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "เชิญชวน ชาวจุฬา ทุกคณะ ร่วมแสดงความคิดเห็นช่วยสร้างสังคมที่ดีได้อย่างไร"  (อ่าน 9957 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 06 ตุลาคม 2552, 16:33:22 »


                                   

เกียรติภูมิจุฬา คือ เกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน

พวกเราชาวจุฬาฯ แต่ละคณะ จะใช้ความรู้ทีเรียนมา รับใช้ประชาชนได้อย่างไร

ผมขอเสนอรับใช้ประชาชนด้วยการ

แก้ วงจรอุบาทว์ จน โง่ เจ็บ เพื่อ ทำให้คุณภาพชีวิต คนในสังคมดีขึ้น

เมื่อประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี จะไม่ขึ้นกับ อิทธิพลใด ๆ เลือก สมาชิกสภาผู้แทน สส.

ตามระบอบประชาธิปไตย โดยอิสระเสรี สามารถเลือกนักการเมืองคุณภาพ มีจริยธรรม  

ทำเพื่อส่วนรวม / ชาติ มากกว่า ทำเพื่อ ส่วนตัว / พรรคการเมือง  การคอรัปชั่นที่

ทำให้ประเทศเราไม่พัฒนา เป็นอารยะประเทศ จะได้หมดไป เหมือนประเทศเกาหลีที่ทำได้





ขอจัดหมวดหมู่ให้เข้ามาคุยกันที่ ละเรื่อง ดังนี้ ครับพวกเรา

เรื่องจน เชิญ ที่นี่

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4943.0.html

เรื่อง โง่ เชิญ ที่นี่

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4944.0.html

เรื่อง เจ็บ เชิญ ที่นี่

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4945.0.html



ขอนำแนวทางการแก้ปัญหายาก ๆ ของ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี มานำเสนอพวกเราไว้ใช้

งานยาก ๆ เหมือนการย้ายภูเขา นั้น จะทำได้ด้วย
  
สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา
 

สามเหลี่ยมมีสามด้าน ต้องทำให้ครบ ทั้งสามด้าน จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้

โดยต้องศึกษาเกี่ยวกับปัญหานั้นให้เด่นชัด นำมาให้ผู้เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นทราบ เป็นด้านที่ 1

เมื่อให้ความรู้จนผู้ได้รับเข้าใจ และ ร่วมกันนำไปสร้างเป็นวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกัน

ไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติ มีแต่สังคม มองด้วยการรังเกียจถ้าไม่ทำ ไม่มีบทลงโทษ เป็นด้านที่ 2

เมื่อมีด้าน 2 ด้าน แล้ว ไม่มีมาตรการให้เกิดการปฏิบัติ ก็จะยังมีคนไม่ปฏิบัติตามอีก

จึงต้องมีมาตรการให้ปฏิบัติทั้งเชิงบวกทำแล้วได้ประโยชน์หรือเชิงลบลงโทษเป็นด้านที่ 3

เมื่อมีด้านที่ 3 จะต้องมีวิธีการตรวจการปฏิบัติ หรือ Audit ด้วยการมีผู้ตรวจสอบ Auditor

ว่ามี คุณภาพ ปฏิบัติตามเอกสารคุณภาพอ้างอิงทุกประการ จะใช้ เชิงบวก มอบ

ป้ายประกาศยืนยัน การเป็น องค์กรที่ได้รับการรับรองให้ผู้ใช้บริการได้มั่นใจ การมาใช้บริการ

ถ้าไม่ผ่านการตรวจสอบ จะใช้เชิงลบ

ให้แก้ไขจนผ่านการตรวจสอบ ถ้าไม่ผ่าน จะยังไม่ให้ป้ายรับรองจนกว่าจะผ่าน

เพื่อทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพ คงที่แน่นอน ต้องใช้ทั้ง 2 มาตรการคือ
 


1.วงจรคุณภาพของเดมมิงส์ Plan Do Check Act และ



2.การให้ป้ายรับรองมาตรฐาน สถานบริการ ด้วยองค์กรอิสระ เช่น สถาบันรับรองคุณภาพ ร.พ.

ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

1.วงจรคุณภาพ ทำให้งานมีคุณภาพ ด้วยการ

วางแผน Plan ต้องค้นหาความรู้ในงานที่จะทำอย่างรอบด้าน ทุกแง่ ทุกมุม นำมาเขียน

เป็นเอกสารการดำเนินการ ที่มีคุณภาพ เพื่อไว้ให้เจ้าหน้าที่ทำตามโดยเคร่งครัด

การดำเนินตามแผน หรือ เอกสารคุณภาพ ที่ได้รับรองการเป็นเอกสาร Do

การตรวจประเมินผลของงานที่ทำเป็นระยะว่ายังคงเป็นไปตามเอกสารคุณภาพ Check

เมื่อมีการตรวจสอบถ้าไม่เหมือนเอกสารคุณภาพ ต้องแก้ไขการดำเนินการที่ผิดแผน Act

เมื่อวงจรคุณภาพ หมุนไปตลอดการดำเนินงาน จะเข้าสู่เป้าหมายตามแผนที่ต้องการได้

วงจรคุณภาพ จะหมุนได้อย่างมีคุณภาพ ต้องทำครบ 4 ขบวนการ คือ วางแผน ปฏิบัติตามแผน

ประเมินการดำเนินการ และ แก้ไขเมื่อมีปัญหา หรือ ไม่เป็นไปตามแผน จากสาเหตุใดเพื่อแก้

การประเมินนี้ มีวิธีการเสริมให้เกิดการประเมินที่ถูกต้องไม่ลำเอียงด้วยการใช้

องค์กรอิสระภายนอก รับเข้ามาประเมินแทน และ ให้ใบรับรอง โดย

มีการเข้ามาตรวจสอบเป็นระยะเพื่อคงคุณภาพไว้ตลอดเวลาที่มีป้ายคุณภาพรับรอง

ยังคงมีการต่อสถานะคุณภาพอยู่ ดูในหัวข้อต่อไป

2.การตรวจเพื่อให้ป้ายประกาศรับรองคุณภาพ นั้นเป็นการประเมินผล Check

ต้องใช้องค์กรภายนอก เข้ามาทำหน้าที่ ตรวจสอบ และ ให้การรับรอง ให้ป้ายประกาศไว้แสดง

ไม่ใช้คนภายในองค์กรตรวจสอบ และ  รับรองกันเอง เพราะ อาจลำเอียงไม่น่าเชื่้่อถือ

จึงต้องใช้ องค์กรภายนอก มาประเมินคุณภาพ ตรวจสอบแทน

โดยการอบรมเจ้าหน้าที่ ภายในองค์กรที่ขอตรวจประเมิน เมื่อผ่านการสอบจะแต่งตั้ง

เป็นกรรมการตรวจสอบภายในได้ คอยตรวจแทน ตามระยะแทน

องค์กรภายนอกที่รับเข้ามาประเมิน จะมีกรรมการตรวจสอบ มาตรวจยืนยันซ้ำอีกครั้ง

ถ้าเป็นไปตามเอกสารคุณภาพจริง จะให้ใบรับรอง เพื่อประกาศให้ผู้ใช้บริการมั่นใจ

มีหลายองค์กรรับ พัฒนา และ ตรวจสอบ ให้เข้ามาดำเนินการนี้ เช่น

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ ร.พ. (สรพ.) ทำหน้าที่ รับรอง ร.พ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) สมศ

ทำหน้าที่ รับรอง สถานศึกษา


อาจมีคนกล่าวว่า การได้ป้ายรับรองคุณภาพ นี้ไม่มีประโยชน์ ต้องเสียค่าใช้บริการไม่ควรทำ
จึงขอนำมาแสดงเพิ่มเติมว่า  ปิ๊งๆ

ถ้ามีป้ายรับรองคุณภาพ โดยมีองค์กรอิสระภายนอกเข้ามาตรวจประเมิน

1.ผู้เข้ามาใช้บริการ จะมั่นใจ จะเข้ามาใช้บริการมากกว่า สถานที่ ที่ไม่มีป้ายรับรอง

2.การปฏิบัติงานของหน่วยงาน จะมีกรรมการมาตรวจสอบ จะทำให้ทำตามเอกสารคุณภาพ

3.การปฏิบัติงานจะคงที่ เป็นไปตามเอกสารคุณภาพ ทุกประการ

4.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจะทำงานสบาย มีเอกสาร เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

5.เมื่อมีเหตุร้องเรียน ถ้าเราทำตามเอกสารโดยครบถ้วน ถูกต้อง จะป้องกันผู้กระทำได้

ตัวอย่าง



กรุงเทพฯออกกฏด้านสาธารณสุข ทิ้งขยะไม่เป็นที่

ใช้วงจรคุณภาพในดำเนินการ และ ผู้บังคับบัญชา จะส่งผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบ หรือ

ประชาชน ร่วมตรวจสอบด้วยการแสดงความคิดเห็น เป็นการประเมินผลให้ (Check)

มีการประกาศให้ประชาชน ทราบว่า กรุงเทพฯ เป็นบริเวณ ที่ได้รับการทำระบบคุณภาพ แล้ว

ถ้าพบว่าทิ้งขยะไม่เป็นที่ ใช้ ด้านที่ 3 ของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา มาบังคับ

จะถูกปรับ 100 บาท ก่อน
ตามกระทู้

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3649.0.html



พณฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

การที่จะให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่ป่วยง่าย นั้นเป็นอีกปัญหาหนึ่ง

มีวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน สุขบัญญัติ 10 ของกรมอนามัย ให้ความรู้แล้ว เป็นด้านที่ 1

ประชาชน ทราบตามความรู้ รวมตัวกันสร้างวัฒนธรรมป้องกัน แทน การรอให้ป่วย เป็นด้านที่ 2

ด้านที่ 3 กระทรวงสาธารณสุข ควรออก กฏกระทรวงสาธารณสุข บังคับให้ดูแลสุขภาพ ได้แก่

ให้ผู้ไม่ดูแลสุขภาพต้องร่วมจ่าย ค่ารักษา 20 % เพื่อจ่ายค่ายาที่เพิ่มขึ้น 20 % ทุกปี

คนไข้ จึงต้องดูแลสุขภาพ เพราะ ไม่อยากเสียเงิน
ตามที่ผมโพสท์กระทู้ไว้ที่

http://www.cmadong.com/board/index.php?topic=3947.0



การตรวจคอนกรีตให้มีคุณภาพด้วย Check List ของ พี่ยักษ์(มานพ) เป็นการ

ประเมินทำให้คอนกรีตอัดแรงต้องทำตามขั้นตอน Check List โดยเคร่งครัด จึงได้คอนกรีต

มีคุณภาพมาตรฐาน ถ้าไม่มีคุณภาพมาตรฐาน จะไม่มีคนซื้อใช้ เป็นด้านที่ 3 ในการบังคับ

ให้ คอนกรีตอัดแรง ต้องใช้วงจรคุณภาพ ด้าน Check List

เหอๆๆ เหอๆๆ เหอๆๆ

จึงนำมาเสนอพวกเราให้ทราบเรื่อง สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา และ ระบบคุณภาพ

มาให้พวกเรานำไป ประยุกต์ใช้ในการจะเปลี่ยนแปลงสิ่งยาก ๆ ที่ต้องการได้

ผมขอฝากเรื่อง การสร้างสุขภาพ ดีกว่า การซ่อมสุขภาพ ด้วยการออกกฏหมายบังคับ

ให้ผู้ไม่ดูแลสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ ต้องร่วมรับผิดชอบค่ายา เช่น 20% ถ้าไม่มีจ่าย

ให้แพทย์เซ็นต์ ฟรี ได้ ทำให้ ผู้ที่อ้วน ต้องเสียเงิน หรือ ต้องมาขอแพทย์เซ็นต์ฟรี

ผู้ดูแลสุขภาพ ไม่อ้วน รับการรักษาแล้วกลับบ้านได้เลย เป็นต้น
ดูที่

         http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3959.0.html

ดูบทความทั้งหมดที่

         http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3970.0.html

ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #1 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2552, 18:50:46 »

เข้ามารออ่าน ครับ ...   ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #2 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2552, 12:10:49 »

ไม่มีใครเขียนให้อ่านเลย ... เขียนเอง อ่านเองก็ได้  เหอๆๆ


ถ้าในระดับ จุลภาค ... จะเริ่มที่ครอบครัว ครับ


แต่ถ้าในระดับมหภาค ... คงเป็นเรื่องของรากฐานการศึกษา รากฐานทางความรู้ ... หรือเปล่า ครับ   งง งง



ขออนุญาต อ้างอิง จากที่เคยเขียนไว้ในกระทู้ พี่แหลม  นะครับ

อ้างถึง
ข้อความของ ดร.มนตรี เมื่อ 06 สิงหาคม 2552, 16:09:04
                  อ้างจาก: ดร.มนตรี ที่ วันจันทร์ 09 มีนาคม 2552, 16.17
                  28-29 เม.ย. นี้ ผมก็ไปร่วมบรรยาย ให้กับ WiMAX Forum ที่สิงคโปร์
                  ยังนึกทึ่งในใจนะครับ สิงคโปร์
                  เกาะนิดเดียวเล็กกว่าภูเก็ตตั้งแยะ ...
                  แต่สามารถเป็นศูนย์กลางการจัดงานระดับโลกได้... สามารถ มาก  ^_^

                  ขอบคุณน้องมนตรี.....กลับจากงาน...อย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังนะครับ...


                  -----------------------------------------------------------------------------------------------------------




สิงคโปร์ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งเพิ่งได้รับเอกราชเมื่อ 33 ปีก่อนได้พิสูจน์ให้โลกเห็นแล้วว่า การปฏิรูปการศึกษา คือกลไกสำคัญที่จะสร้างศักยภาพของชาติให้สามารถก้าวขึ้นเป็นประเทศชั้นนำของโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นประเทศเดียวที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงในยุคเศรษฐกิจถดถอยของเอเชีย

จากประเทศเล็ก ๆ ที่มีทรัพยากรอย่างจำกัด แต่ด้วยความเชื่อมั่นว่าทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพคือกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ผู้นำของสิงคโปร์ได้ทุ่มเทงบประมาณ 1 ใน 4 ของประเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา และดำเนินการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันกับสังคมโลก

ผลจากการปฏิรูปการศึกษา ทำให้การศึกษาของสิงคโปร์เป็นที่ยอมรับว่ามีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศตะวันตก ในจำนวนประชากรที่มีอัตราการรู้หนังสือ 91.3 % นั้น ร้อยละ 47.2 จะรู้สองภาษาหรือมากกว่า ในด้านศักยภาพการแข่งขัน นักเรียนมัธยมศึกษาของสิงคโปร์สามารถทำคะแนนได้เป็นที่ 1 ของโลกในด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมือง และมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และเยอรมนี เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานระดับกลางที่มีทักษะฝีมือดีที่สุดในเอเชีย ประชากรมีรายได้ต่อหัวปีละ 26,400 เหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี เป็น 1 ใน 10 ประเทศชั้นนำของโลกที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยมาใช้อย่างกว้างขวาง และเมื่อ เร็ว ๆ นี้ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา

ยุทธศาสตร์และความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์

สิงคโปร์กำลังก้าวสู่การปฏิรูปการศึกษาที่มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่ก้าวหน้าท้าทาย มิติใหม่ในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ที่สำคัญมีดังนี้

1) การปฏิรูปเทคโนโลยีสารสนเทศ


ได้กำหนดวิสัยทัศน์ "เทคโนโลยีสารสนเทศ 2000 : วิสัยทัศน์การเป็นเกาะแห่งอัจฉริยะ" (IT 2000 : A Vision of an Intelligent Island) โดยกำหนดแผนยุทธศาสตร์ IT 2000 หรือ "IT 2000 Masterplan" ซึ่งกำหนดเป้าหมาย พัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก ปรับปรุงคุณภาพชีวิต ส่งเสริมกลไกทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงสังคมทั้งในระดับชาติและระดับโลก และส่งเสริมศักยภาพของบุคคล โดยมีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National IT Committee) และคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Computer Board) หรือ NCB เป็นองค์กรสำคัญในการปฏิรูปดังกล่าว

2) การปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้สิงคโปร์ เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำหนดแผนเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Technology Plan : NTP) เพื่อสร้าง "Singapore Technology Corridor" ให้เป็นที่ตั้งสถาบันและศูนย์การวิจัยและพัฒนา แหล่งอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าสูงทางเทคโนโลยี และสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบในการดำรงชีวิต จัดตั้ง Science Park เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดให้มี Technology Month เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมในการวิจัยและพัฒนา โดยมีการมอบรางวัลเกียรติยศระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่บุคคลและภาคธุรกิจ เอกชน นอกจากนั้น ยังกำหนดแผนพัฒนาสังคม โดยเน้นการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสร้างความเชื่อมโยงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ ในการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Board) หรือ NSTB เป็น องค์กรสำคัญ

3) การปฏิรูปนวัตกรรม

ได้ส่งเสริมนักนวัตกรรมเพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ กำหนดแผนพัฒนานวัตกรรม (Innovation Development Scheme) และแผนให้ความช่วยเหลือนักนวัตกรรม (Innovator’s Assistance Scheme : IAS) ในการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ จัดตั้งสมาคมนักนวัตกรรม (Innovators’ s Club) และศูนย์นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (Center for Strategic Process Innovation : CSPI) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจัดฝึกอบรมโดยนำนวัตกรรมต่าง ๆ ไปใช้ เพื่อให้องค์กรปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ในการส่งเสริมนวัตกรรมมี NSTB เป็นผู้วางแผนดำเนินงานและให้การสนับสนุน

4) การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน (Skill Development)

ได้กำหนดแผนสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชนจัดฝึกอบรมให้แก่กำลังแรงงาน เพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงานโดยรัฐให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือด้านงบประมาณ และให้สถาบันการศึกษาทางเทคนิค (Institute of Technical Education : ITE) ร่วมกับภาคธุรกิจจัดฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ แก่กำลังแรงงาน เพื่อยกระดับความรู้และทักษะฝีมือแรงงาน

5) การปฏิรูปอุดมศึกษา

เพื่อขานรับวิสัยทัศน์ IT 2000 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) หรือ NUS ได้พัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และได้ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2000 จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการวิจัย

NUS ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย และผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม 5% แรกของสถาบันยอดเยี่ยมของโลก สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University) หรือ NTU ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการศึกษาระดับนานาชาติ และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในระดับนานาชาติ เพื่อขานรับวิสัยทัศน์ IT 2000 NTU ได้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ NTU ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 สถาบันเทคโนโลยียอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ส่วนสถาบันการศึกษาแห่งชาติ (National Institute of Education : NIE) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ NTU ก็มุ่งสร้างความเป็นเลิศในการวิจัยการศึกษา โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยที่เรียกว่า "NIE Center for Educational Research : NIECE" และศูนย์ผู้บริหารที่เรียกว่า "Principals’ Education Center" เพื่อให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศในการพัฒนาวิชาชีพครูและผู้บริหารโรงเรียนในระดับนานาชาติ

*** เงื่อนไขความสำเร็จ

วิสัยทัศน์ผู้นำ
     
นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญลำดับแรกที่เป็นเงื่อนไขความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ สิงคโปร์มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถมองอนาคตได้อย่างถูกต้อง และแก้ปัญหาได้ตรงจุด






      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #3 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2552, 12:12:53 »

เงื่อนไขความสำเร็จ

เจตนารมณ์ทางการเมือง

ผู้นำสิงคโปร์ได้แสดงเจตนารมณ์ในการปฏิรูปการศึกษา ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อผลักดันการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ

เสถียรภาพทางการเมือง


สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง อันมีผลให้แนวนโยบายและการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอน และก้าวสู่การพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น

ประสิทธิภาพรัฐบาล

รัฐบาลสิงคโปร์มีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ไม่มีทุจริตคอรัปชั่น ทำให้การลงทุนต่าง ๆ ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ได้มีการดำเนินงานอย่างจริงจัง ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว



ศักยภาพความเป็นผู้นำ

ได้กำหนดความคาดหวังจากการศึกษาทุกระดับหรือ "การศึกษาที่พึงประสงค์" เพื่อสร้างผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ

สำหรับในระดับอุดมศึกษาได้กำหนดศักยภาพความเป็นผู้นำ กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ และคุณธรรม มีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงสังคม สามารถดำเนินงานได้อย่างฉับไว สามารถเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ มีความเข้าใจผู้อื่น สามารถสร้างแรงบันดาลใจ มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ รู้จักการตัดสินปัญหาสำคัญ ๆ โดยมองภาพรวมของประเทศ และที่สำคัญคือเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล


>>>  สำหรับประเทศไทยแม้ว่าได้มีแนวคิดและการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษามาทั้งในอดีตและปัจจุบัน แต่การปฏิรูปการศึกษาของไทยยังไม่สามารถสร้างพลังในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์การพัฒนาตามที่คาดหวัง จึงควรมีการทบทวนแนวคิดและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการปฏิรูปการศึกษาไทย บทเรียนจากสภาวการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คงจะทำให้ประเทศไทยต้องตระหนักถึงการปฏิรูปการศึกษาที่คำนึงถึงพื้นฐานความเป็นไทยที่มุ่งเน้นสันติสุข แต่ประเทศไทยคงไม่สามารถละทิ้งความเป็นจริงของการแข่งขันในประชาคมโลก และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง จึงควรเตรียมคนไทยให้รู้จักการเรียนรู้ เพื่อเผชิญสภาวการณ์ต่าง ๆ โดยมีการศึกษาเป็นอาวุธทางปัญญา ที่สามารถนำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ในปัจจุบัน และสร้างสรรค์ความแข็งแกร่งในอนาคต

ในขณะที่หลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย กำลังประสบภาวะวิกฤตด้านเศรษฐกิจ สิงคโปร์นับเป็นประเทศที่มีผลกระทบน้อยที่สุด ยังคงรักษาความมั่นคงและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และสามารถดำรงอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี ในอนาคตอันใกล้ สิงคโปร์จะมีบทบาทโดดเด่นมากขึ้นในเอเชีย สิงคโปร์จึงเป็นประเทศที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้ โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมสร้างภูมิปัญญา เป็นการเปิดโลกทัศน์และมิติใหม่ในการปฏิรูปการศึกษาที่ท้าทาย บทเรียน ประสบการณ์ และความสำเร็จของสิงคโปร์ จึงเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การศึกษาและนำมาวิเคราะห์เป็นแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทย

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #4 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2552, 12:14:35 »

อันนี้เคยเขียนไว้นานแล้ว ...


-------------------

เศรษฐกิจบนฐานความรู้ทางสู้ในยุคเศรษฐกิจใหม่

        หากเหลียวหลังก่อนจะแลไปข้างหน้าแล้วไล่ย้อนดูเศรษฐกิจโลก เริ่มตั้งแต่ ช่วง 1789-1815 ยุคนั้นเป็นยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผ่านยุคต่างๆมาจนกระทั่งถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และการสร้างเศรษฐกิจหลังสงคราม จนสิ้นสุดที่ปี 1993 เมื่อแลไปข้างหน้า เศรษฐกิจยุคที่ 5 จะอยู่ในช่วงปี 1993-2020 และด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสาร จะก่อให้เกิดภาพที่ โลกาภิวัตน์ มีผลต่อกระบวนท่าทางเศรษฐกิจ กระบวนทัศน์ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ (Paradigm shift) ซึ่งถูกขนานนามว่ายุคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy)

        ยุคเศรษฐกิจใหม่ ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจจะมากขึ้น ฉะนั้น เมื่อสิ่งที่หนึ่งเกิดขึ้นในโลก สิ่งนั้นต้องมาถึงเราโดยไม่รู้ตัว โลกในยุคเศรษฐกิจใหม่ เป็นโลกที่เราจะต้องระวังเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และจำเป็นจะต้องใช้สมองมนุษย์ให้มากที่สุด ทรัพยากรบุคคลจึงเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร การรักษาไว้ซึ่งทักษะ (Talent) หรือสมองของคนในองค์กรนั้นเป็นหัวใจสำคัญมาก เช่น บริษัทโนเกีย จะให้วิศวกรเก่งๆ มาทำเรื่องเทคนิค ให้นักออกแบบดีๆ มาทำด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ และให้คนทำการตลาดเก่งๆ มารวมกัน ผลสุดท้ายเป็นบริษัทขนาดกลางในประเทศฟินแลนด์ และวันนี้กลายเป็นบริษัทระดับโลก ด้วยวิธีการ Economize on knowledge แปลว่านำความรู้ต่างๆ มารวมเพื่อสร้างพลังใหม่ขึ้นมา


        ยุคเศรษฐกิจใหม่ เป็นยุคแห่งโลกาภิวัตน์ (Globalization) หากเราบอกว่าโลกาภิวัตน์ ไม่ดี เราหันหลังให้โลกาภิวัตน์ นั่นคือเราตกยุคอย่างรุนแรง ถ้าเป็นโลกาภิวัตน์ เราจะต้องตอบคำถามได้ว่าเราจะแสวงหาประโยชน์จากยุคโลกาภิวัตน์ อย่างไรได้บ้าง? นั่นคือสิ่งที่เราต้องปรับตัว ในสมัยก่อน ตามทฤษฎีโบราณของ Fedric W Taylor ทฤษฎีว่าด้วยการ Division of labor คือการแบ่งงานกันทำในโรงงานอุตสาหกรรม คนนี้ขันน็อต คนนี้ตอกตะปู นั่นคือ Division of labor ในสมัยยุคโบราณ แต่ Division of labor การแบ่งงานกันทำในยุคนี้จะเป็นลักษณะของ เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge based economy) เป็นยุคที่นำความรู้ของคนหลายๆ คนมารวมกันให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้น แล้วจึงเป็นธุรกิจใหม่หรือเป็นแนวคิดใหม่ที่จะต้องเกิดขึ้น


        ยุคเศรษฐกิจใหม่ อาจจะเกิดคำถามว่า คนตัวเล็กจะแข่งกับคนตัวใหญ่ได้อย่างไร? ลองหลับตานึกถึงภาพกีฬายูโด นักยูโดจะไม่ผลีผลาม ขั้นแรกจะจับคู่แข่งเดินโยกดู วิเคราะห์ดูท่าท่วงทำนองของคู่แข่ง ขั้นตอนที่สองนักยูโดจะ ไม่ปะทะ ไม่ชนกัน ซึ่งต่างจากซูโม่ ซูโม่ตัวใหญ่ใช้แรงแบบไม่สัมพันธ์กับปัญญา และในที่สุดขั้นตอนที่สามของนักยูโดคือ ต้องมองว่าคู่แข่งมีอะไรแข็ง ต้องเอาความแข็งของคู่แข่งทิ่มแทงตัวของเขาเอง หลับตานึกภาพต่อไปจะเห็นว่า คนตัวใหญ่กับคนตัวเล็กเล่นยูโดด้วยกันได้ จะใช้การทรงตัวของคนตัวใหญ่ดึงให้เสียการทรงตัวแล้วสอดนั่นคือ“Judo Strategy”

        ยุคเศรษฐกิจใหม่ หัวใจที่สำคัญที่สุดของการแข่งขันคือ ยุทธศาสตร์ (Strategy) ต้องคิดอย่างมียุทธศาสตร์ คิดอย่างมีกลยุทธ์ ไม่เช่นนั้นเราจะแข่งขันกับเขาไม่ได้ จะไม่มีใครเก่งจริงที่สามารถบอกอนาคตยาวไกลได้ ได้แต่บอกเลาๆ เศรษฐกิจใหม่นี้ทำให้ทฤษฎีหลายทฤษฎีของบรรดา กูรู เก่าไปทันที เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก อนาคตเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วจนคาดคะเนล่วงหน้าไม่ได้ จึงต้องเน้นการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่การวางแผน เราจะประหลาดใจต่อ สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อว่า เราจะคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะพบความประหลาดใจ (Kerr, 1998) และคนที่ทำนายเศรษฐกิจโดยใช้การคาดคะเน (Forecast) เอาตัวเลข plot graph อดีต สู่ปัจจุบัน แล้วลากเส้นเพื่อทำนายอนาคต จะกลายเป็นสิ่งที่ผิด หากเป็นหมอดูก็มีโอกาสตกงานสูง เพราะเหตุการณ์เร็ว มีการเปลี่ยนแปลงหมด ส่วนผสมของแต่ละช่วงเปลี่ยนไปแบบพลวัต(Dynamic)สิ่งที่กำลังจะเกิดในอนาคตข้างหน้านั้น คือการแสวงหาโอกาส

        ยุคเศรษฐกิจใหม่จะเป็นยุคแห่ง เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge based economy) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนระบบการทำงานตามหน้าที่เป็นหลัก (Functioning based) เป็นภารกิจเป็นหลัก (Mission based หรือ Agenda based) เป็นเรื่องของการจัดองค์กรตามภารกิจ เพราะถ้าหากยังเป็นงานตามหน้าที่เป็นหลัก ทุกคนจะพยายาม จะสร้างอาณาจักรของตนเอง (Self contain)สุดท้ายก็จะมีหน่วยธุรกิจซ้ำซ้อน แต่ถ้าเป็น ตามภารกิจแล้ว จะเห็นชัดว่าหน่วยธุรกิจนี้มีภารกิจชัดเจน เศรษฐกิจบนฐานความรู้จะมีการเปลี่ยนแปลงมากไปจากในอดีต เช่น จาก Produce driven จะเปลี่ยนเป็น Market driven ดังนั้น คำว่าประสิทธิภาพ (Efficiency) จึงเกิดขึ้น ประสิทธิภาพ ต้องใช้ทักษะ (Talent) ใช้สมองคนมากที่สุดนอกจากนี้ ความเร็ว (Speed )ในการตัดสินใจ เป็นหัวใจสำคัญที่สุด ถ้าเร็วต้องไม่พลาด เร็วต้องรู้จริง

        ศ.เอ็ดเวิร์ด ซี. เพรสคอตต์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลประจำปี 2547 กล่าวว่าประเทศอังกฤษ สหรัฐ และประเทศในแถบตะวันตกมีการเติบโตของเศรษฐกิจยุคใหม่มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีการพัฒนาที่ช้ากว่า ทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้ของประเทศต่างๆ ขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ แต่บางประเทศก็สามารถก้าวทันประเทศเหล่านั้นได้ในที่สุด เช่น ญี่ปุ่น ขณะที่ประเทศไทย จีน และอินเดียยังก้าวตามประเทศเหล่านั้นอยู่กว่าที่ประเทศต่างๆ จะปรับตัวเข้าสู่การขยายตัวของเศรษฐกิจยุคใหม่ได้ก็จะถูกทิ้งห่างจากประเทศที่พัฒนาไปก่อนหน้านี้ ซึ่งการจะก้าวให้ทันประเทศที่พัฒนาแล้วมีเพียงวิธีเดียว คือ การเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตให้สูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตให้ สูงขึ้นมากจะนำมาซึ่งการขยายตัวของมาตรฐานความเป็นอยู่ที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในเวลา 12 ปี


             วิเคราะห์จากคำกล่าวของ ศ.เอ็ดเวิร์ด ซี เพรสคอตต์ ในประเด็น “การจะก้าวให้ทันประเทศที่พัฒนาแล้วมีเพียงวิธีเดียว คือ การเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตให้สูงขึ้นมากจะนำมาซึ่งการขยายตัวของมาตรฐานความเป็นอยู่ที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในเวลา 12 ปี” หากเป็นเช่นนั้นจริง เราจะก้าวทันได้อย่างไร? ในเมื่อประเทศพัฒนาแล้วใช่ว่า 12 ปีที่เราพัฒนาแบบพยายามอยู่นั้น ประเทศเหล่านั้นจะอยู่นิ่งเฉยเลยหรือ? ไม่มีการพัฒนาใดๆที่จะทิ้งห่างเราไปอีกหรือ? หากอนุมานง่ายๆว่า พัฒนาไปด้วยอัตราเร็วเท่ากันภายในระยะเวลาที่เท่ากัน ระยะทางที่ได้ย่อมเท่ากัน แต่จุดเริ่มต้นมันไม่ใช่จุดเดียวกันตั้งแต่แรกแล้วจะทันกันได้อย่างไร เพราะฉนั้นแทนที่จะใช้วิธีคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ ฟิสิกส์มันควรคิดบนฐานความรู้ องค์ความรู้และภูมิปัญญา ดังนั้นเศรษฐกิจบนฐานความรู้ย่อมเป็นทางสู้ในยุคเศรษฐกิจใหม่ ?

      บันทึกการเข้า
ดร.มนตรี
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,540

« ตอบ #5 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2552, 12:17:08 »

ขออนุญาต เท่านี้ก่อนนะครับ จะรออ่านของ พี่เริง หรือ พี่น้องท่านอื่น  ก่อน ^_^



ของแถมให้ผู้สนใจ นะครับ  ... 


10 เว็บเรียนฟรีที่ดีที่สุดจากมหาวิทยาลัยดัง
10 เว็บไซต์สำหรับผู้ที่อยากเพิ่มพูนความรู้ครับ :)

1. Massachusetts Institute of Technology (mit.edu)
Free MIT Courses Online
http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/home/home/index.htm
เว็บนี้มีมากกว่า 1,800 คอร์ส ผมแนะนำให้เข้าไปดูตรงส่วน Audio/Video Courses ครับ จะเป็นหน้ารวบรวมคอร์สที่มีภาพหรือเสียงประกอบ นอกจากนี้ยังมีการแปลคอร์สบางคอร์สเป็นภาษาอื่นๆด้วย ที่สำคัญคือมันมีภาษาไทย แปลโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ :) เข้าไปดูได้ที่ http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/courses/lang/th/th.htm

2. Open University (open.ac.uk)
Free Open University Courses Online
http://openlearn.open.ac.uk/
คอร์สจาก Open University สถาบันการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ มีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ธุรกิจ การศึกษา สารสนเทศ การคำนวณ คณิตศาสตร์ สถิติ วิทยาศาสตร์ สุขภาพ และเทคโนโลยี

3. Carnegie Mellon University (cmu.edu)
Free Carnegie Mellon Courses Online
http://www.cmu.edu/oli/
เปิดให้เรียนผ่านโปรแกรมที่ชื่อว่า Open Learning Initiative ซึ่งมุ่งเน้นให้ทุกคนได้เรียนในระดับคำแนะนำเกี่ยวกับวิชาที่สนใจ มีคอร์สครอบคลุมหลาบวิชาได้แก่ สถิติ ชีววิทยา เคมี เศรษฐศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส และฟิสิกส์

4. Tufts University (tufts.edu)
Free Tufts University Courses Online
http://ocw.tufts.edu/
ใช้โปรแกรม OpenCourseWare เช่นเดียวกับ MIT เรียงเนื้อหาตามโรงเรียน เช่น โรงเรียนวิทยาศาสตร์และศิลปะ โรงเรียนการแพทย์ มีเล็กเชอร์ การบ้าน และเนื้อหาต่างๆ ให้ดาวน์โหลด

5. Stanford (stanford.edu)
Stanford Courses on iTunes U
http://itunes.stanford.edu/
เปิดให้ดาวน์โหลดเนื้อหาผ่านโปรแกรม iTunes (ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ http://www.apple.com/itunes/download/ ) โดยสามารถดาวน์โหลดไปฟังใน iPod ได้ทันทีครับ

6. University of California, Berkeley (berkeley.edu)
Free UC Berkley Courses Online
http://webcast.berkeley.edu/courses.php
มีการถ่ายทอดสดผ่านเว็บ และวิดีโอออนดีแมนด์ตั้งแต่ปี 2001 มีคอร์สหลายร้อยคอร์ส เปิดให้ดาวน์โหลดในรูปแบบ podcast และ webcast มีวิชาที่น่าสนใจต่างๆได้แก่ ดาราศาสตร์ ชีววิทยา เคมี การเขียนโปรแกรม วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา กฎหมาย และปรัชญา

7. Utah State University (usu.edu)
Free Utah State University Courses Online
http://ocw.usu.edu/
ครอบคลุมแทบทุกวิชาตั้งแต่มานุษยวิทยาจนถึงฟิสิกส์ สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาในรูปไฟล์ zip ได้

8. Kutztown University of Pennsylvania (kutztownsbdc.org)
Free Kutztown University Courses Online
http://www.kutztownsbdc.org/course_listing.asp
เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมเนื้อหาด้านธุรกิจไว้มากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต มีคอร์สตั้งแต่การบัญชี การเงิน การปกครอง กฎหมายธุรกิจ การตลาดและการขาย มีข้อความ รูปภาพ เสียง และกรณีศึกษาแบบอินเตอร์แอคทีฟ

9. University of Southern Queensland (usq.edu.au)
Free USQ Courses Online
http://ocw.usq.edu.au/
มหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย มีคอร์สต่างๆจากห้าคณะ ครอบคลุมตั้งแต่การสื่อสาร วิทยาศาสตร์ การวางแผนอาชีพ เทคโนโลยี และการสร้างสื่อการเรียนการสอน

10. University of California, Irvine (uci.edu)
Free UC Irvine Courses Online
http://ocw.uci.edu/
ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนการเงิน ทรัพยากรมนุษย์ ตลาดทุน และ e-marketing มีให้ดาวน์โหลดหลักสูตร เล็กเชอร์ การบ้าน และข้อสอบ

ที่มา http://education-portal.com/articles/Universities_with_the_Best_Free_Online_Courses.html


*เพิ่มเติม

Thailand Cyber University Project
http://www.thaicyberu.go.th/
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย มีคอร์สต่างๆน่าสนใจที่เป็นภาษาไทยให้เลือกเรียนเยอะแยะเลยทีเดียวครับ
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #6 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553, 08:56:50 »


[narongsak.com] FW: มนุษย์เงินเดือนกับชาวนา‏
From : narongsak@yahoogroups.com on behalf of ......
Sent : Monday, March 01, 2010 12:09:26 AM
To:   นรงศักดิ์ กรุ๊ป (narongsak-unsubscribe@yahoogroups.com)



มนุษย์เงินเดือน



ชาวนา



ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ผมเลือกเหยียบเรือสองแคม ทุนนิยม ก็ไม่ทิ้ง เศรษฐกิจพอเพียง ก็ไม่ถอย

เสนอให้ใช้ทั้ง 2 ระบบ ไม่ใช้ ระบบเดียว เพราะ ต่างมี ข้อดี ข้อเสีย ซึ่งต้องประสาน นำส่วนดี มาเสริมส่วนด้อย ของกัน และกัน ร่วมด้วยช่วยกันสร้างสังคม โดยร่่วมกันส่งเสริมให้มี จิตวิญญาณสาธารณะ (Co-operative Social Response : CSR) ร่วมสร้างสังคมของอารยะชน เปรียบเหมือน ดอกไม้หลากสี ในป่า ที่เกื้อกูลกัน ทำให้ป่ามีความหลากหลาย สวยงาม และ ยังคงความอุดมสมบูรณ์ได้

win win win

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
yc
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557

เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 01 มีนาคม 2553, 09:20:42 »

 
อ้างถึง   
"ระบบทุนนิยม กับ ระบบเศรษฐกิจพอเพียง" ประเทศเราน่าจะเลือกแบบไหนดี
 
อ้างถึง   
  ผมเลือกเหยียบเรือสองแคม ทุนนิยม ก็ไม่ทิ้ง เศรษฐกิจพอเพียง ก็ไม่ถอย

         เสนอให้ใช้ทั้ง 2 ระบบ ตามความถนัดของแต่ละคน โดยให้ประสานงานกลมกลืนกันได้ดี ร่วมด้วยช่วยกันสร้างสังคม มีจิตวิญญาณสาธารณะ (Co-operative Social Response : CSR) ไม่ขัดแย้งกัน เปรียบเหมือน ดอกไม้หลากสี ในป่า ที่เกื้อกูลกัน ทำให้ป่ามีความหลากหลาย สวยงาม และ ยังคงความอุดมสมบูรณ์ได้


ต้องใช้ "ระบบเงินคู่" ครับพี่

จะได้ ทุนนิยมที่พอเพียง

คนไทย สุขเพิ่มขึ้น  ทุกข์น้อยลง

.........................................

"คนมากมายบนโลกใบนี้
มักมีฝันและความต้องการ
(และเป็นในเชิงธรรมที่เหมาะสม น้อยคนที่ฝันในเชิงอธรรม)
แต่มักดำเนินชีวิตไปตามทางอันเคยชิน
ไม่ค่อยคิดหากลวิธีในการไปสู่ฝัน"


................................

"ระบบเงินคู่"
สร้างทุนนิยมที่พอเพียง
ได้แน่นอนครับ...สำหรับประเทศไทย
      บันทึกการเข้า
บ่าวหน่อ เมืองพลาญ
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2540
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 490

เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 04 มีนาคม 2553, 17:38:55 »

มีหลายเรื่องเหลือเกิน ต่างคนต่างเขียนเรื่องของตัวเองถนัด ผมว่ามันไม่ตกตะกอนนะครับ
อยากให้คุยทีละเรื่องท่าจะดีครับ

เอาเรื่องระบบการศึกษาไทยก่อนดีไหมครับ เอาตั้งแต่ระดับจุลภาค จนไปถึง อภิมหาอมตนิรันกาลภาคเลยครับ
      บันทึกการเข้า

RCU80 จงเจริญ
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #9 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2553, 17:24:32 »


"ถ้าส่องแสงให้กรงไก่สว่าง หมาป่าคงไม่กล้าเข้ามา"



คุณมีชัย วีระไวทยะ

ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน

นำมาจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ วันอังคารที่ 10 พ.ย.2552

http://www.thairath.co.th/content/eco/45692



"จุรินทร์"เล็งพัฒนาศูนย์กศน.ตำบลกว่า7พันแห่งให้สมัยมีคุณภาพ

เสริมปราชญ์ชุมชุนคาดพลิกโฉม 1ก.ย.53

"ธีระ"ดันสนง.วัฒนธรรมอำเภอปี53 ใช้ 23ล้านบาท


วันนี้(11พ.ย.) ที่อิมแพคเมืองทองธานี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษในพิธีเปิดงาน กศน.ตำบล/แขวง มีผู้แทนจาก กศน.ตำบลเข้าร่วมกว่า 3,000 แห่ง โดยระบุว่า

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) มีแผนจัดตั้งศูนย์กศน.ตำบล ให้ครบทั้ง 7,409 ตำบลทั่วประเทศเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในตำบล ซึ่งทยอยจัดตั้งในปี 2552

ดังนั้น จึงมอบนโยบายกศน.ไปยกระดับศูนย์ กศน.ตำบลที่จัดสร้างไปแล้วและอยู่ระหว่างจัดสร้างให้มีความทันสมัย เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพของประชาชนในชุมชน สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ให้ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา กล่าวอีกว่า

ศูนย์กศน.ตำบลที่ออกแบบไว้นั้นจะต้องเพียบพร้อม 7ประการ คือ

1.เริ่มจากต้องบุคคลากรมีคุณภาพ มีหัวหน้าศูนย์กศน. ครูกศน.ที่ผ่านอบรมพัฒนาเพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ส่วนจำนวนจะมีเท่าไรนั้นให้ดูที่ปริมาณงานของ กศน.แต่ละแห่ง

2.อาคารสถานที่ กศน.อาจจะขอให้อาคารของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ที่ว่างเว้นการใช้งาน เช่น เดิมโรงเรียนมีเด็ก 300 คนแต่ปัจจุบันจำนวนเด็กลดลงเหลือ 80 คนเป็นต้นนำมาปรับปรุงเป็นศูนย์ กศน.ตำบล

3.ศูนย์ กศน.ตำบลจะต้องมีเครื่องมือทันสมัย มีอุปกรณ์ต่างๆ ครบถ้วน โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีพร้อม ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณไว้จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ ศูนย์ กศน.ตำบลแห่งละ 6 ชุด และจะต้องเดินสายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าไปถึงศูนย์ กศน.ตำบลทุกแห่งมากที่สุดเท่าที่ทำได้ รวมทั้งจะต้องจัดมุมห้องสมุดเล็กๆ ไว้ด้วย เพื่อให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ ค้นคว้าความรู้ของคนในชุมชน และจะต้องมีศูนย์บริการติวเตอร์แชลแนลด้วย ให้บริการนักเรียน นักศึกษาทั้งในและนอกระบบ ได้ทบทวนการเรียน เติมเต็มความรู้ให้ผู้เรียน

4.การสร้างเครือข่ายกับสถาบันและหน่วยงานๆ ต่างๆ ในพื้นที่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สถาบันศาสนา ฯลฯ กศน.ตำบลจะต้องดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อช่วยเติมเต็มงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามทิศทางการปฏิรูปการศึกษา

5.ศูนย์ กศน.ตำบลทุกแห่ง ต้องจัดทำคลังวิทยากรในท้องถิ่นของตัวเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์ชุมชน ครูภูมิปัญญาไทย และอาศัยผู้รู้เหล่านี้มาช่วยถ่ายทอดความรู้ใหม่ ๆ ให้กับผู้เรียนในระบบและนอกระบบให้มีความรู้ใหม่ ๆ

6.ศูนย์ กศน.ทุกแห่งจะต้องจัดทำคลังองค์ความรู้ของตัวเองด้วย เป็นความรู้ที่ใช้ถ่ายทอดให้กับคนในชุมชน โดย กศน.ในส่วนกลางจะต้องเป็นพี่เลี้ยงจัดทำกรอบมาตรฐานความรู้แต่ละวิชาที่จะนำมาบรรจุในคลังองค์ความรู้ ซึ่งจะต้องเป็นความรู้ที่มีคุณภาพและนำไปพัฒนาต่อได้ สุดท้าย

7.ศูนย์ กศน.ตำบล จะต้องพยายามออกแบบกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้น โดยมีบทบาทในการคิดต้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งกศน.ส่วนกลาง และตำบลมาร่วมมือกันเพื่องานจัดการศึกษาของ กศน.มีคุณภาพมากขึ้น  

จากนี้ กศน.ต้องเร่งพัฒนาเดินหน้าในการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนและผู้เรียนที่อยู่นอกระบบ ทำให้ประชาชนทั่วประเทศมีพลังการเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่มีที่สิ้นสุดโดยเมื่อถึงในวันที่ 30 ก.ย. 53 นี้ ผมหวังว่า ศูนย์ กศน.ตำบลจะเกิดขึ้นครบทุกแห่ง ทั้ง 7,409 ตำบล และมีครบทั้ง 7 ประการที่ให้นโยบายไป

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ กศน.กล่าวว่า ขณะนี้ กศน.ได้ทยอยเปิด กศน.ตำบลไปแล้ว 400-500 แห่งและจากนี้จะทยอยเปิดเพิ่มเรื่อยๆ ในพื้นที่มีความพร้อม ซึ่งเชื่อว่า

ความหวังที่อยากเห็น 30 กันยายน 2553 เปิดกศน.ตำบลครบทั้ง 7,409 แห่งน่าจะเป็นจริงได้ นอกจากนี้ งานที่กศน.จะต้องดำเนินการจากนี้คือการทำให้คนอ่านออกเขียนได้

โดยในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาได้สำรวจพบว่าประชากรจำนวน 60 ล้านคนมีจำนวน 4 ล้านคนคิดเป็น 7%ที่ประสบปัญหาเรื่องการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และเป็นมีมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ "ปัญหาคือเขารู้หนังสือแต่ลืมเนื่องจากไม่ได้ใช้อ่านใช้เขียนเป็นประจำทำแต่งาน หน้าที่จากนี้คือ กศน.ตำบลจะเข้าไปมีบทบาท โดยเราจะให้ครู กศน.เข้าไปสอนคนเหล่านี้ถึงที่บ้านเพื่อให้เขาสามารถอ่านออกเขียนได้ ส่วนเรื่องมาตฐการองค์ความรู้ ที่ รมว.ศธ.ให้ดำเนินการนั้น คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนธันวาคม โดยการทำมาตรฐานนั้นจะยึด 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มการศึกษาสามัญ กลุ่มการศึกษาต่อเนื่อง และกลุ่มการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งจะมีแตกสาขาออกไปอีกจำนวนมากเพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียนของ กศน. ที่มีรูปแบบการจัดการศึกษาที่มากกว่าการเรียนระบบอื่น" เลขาธิการกศน. กล่าว



"ธีระ" เดินหน้าตั้งสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอปี 53

เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2552 นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า ตนได้ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการทุกจังหวัดมอบหมายให้นักวิชาการวัฒนธรรมไปปฏิบัติงานที่อำเภอ และมีคำสั่งให้จัดตั้ง

สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้การบริหารจัดการงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในส่วนภูมิภาคเป็นหน่วยงานบริการเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One Stop Service) เช่น การออกใบอนุญาตประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่าวีดิทัศน์ การต่อใบอนุญาต รวมทั้งการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมระดับอำเภอและตำบล เป็นต้น

นายธีระ กล่าวอีกว่า ในการจัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอนั้น ได้ตั้งคณะทำงาน 2 ชุด คือ

คณะทำงานพิจารณาการจัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม และ

คณะทำงานจัดทำข้อมูล และกลั่นกรองรายละเอียดการขอจัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

โดยมีคณะทำงานย่อยทั้ง 4 ภาค นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดวธ.จัดลำดับการขอจัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ โดยคาดว่าจะสามารถคัดเลือกอำเภอที่ขอจัดตั้งเป็นสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอได้ประมาณปลายเดือน พ.ย.นี้

"เมื่อคัดเลือกอำเภอได้แล้วจากนั้นจะนำเข้าพิจารณาในคณะทำงานของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ที่มี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดวธ.เป็นประธาน และนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ วธ. ทั้งหมดนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมี.ค. 2553 ทั้งนี้ มีการจัดสรรงบประมาณปี 2553 ให้นักวิชาการวัฒนธรรมที่ไปปฏิบัติงานที่อำเภอทั้ง 878 อำเภอ เป็นเงินกว่า 23 ล้านบาทเพื่อดำเนินการกิจกรรมในพื้นที่อย่างเต็มที่” รมว.วัฒนธรรม กล่าว

นำมาจาก

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/education/20091112/85983/%E0%B8%A8%E0%B8%98.%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%99.%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B27%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%A7%E0%B8%98.%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%87.%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%B553.html

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><