19 เมษายน 2567, 10:55:02
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "พ.ร.บ.สำคัญ 2 พ.ร.บ.เพื่อให้เกิด งานสาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charterเพื่อสุขภาพดี"  (อ่าน 6795 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 27 มกราคม 2553, 20:03:19 »


*** จะพิมพ์หัวข้อให้ครบ ยาวไปพิมพ์ไม่ได้ จึงนำมาพิมพ์ ที่นี่่ พ.ร.บ.สำคัญ 2 พ.ร.บ.ตามหัวข้อ นั้น คือ พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข และ พ.ร.บ.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ เพื่อให้เกิด งานสาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charterเพื่อสุขภาพดี***

           งานสาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter

 http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html

         "จุรินทร์”ยันหนุนร่างพรบ.วิชาชีพสาธารณสุข
 
คมชัดลึก : เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 53 เวลา 9.00 น.

         เครือข่ายวิชาชีพสาธารณสุขกว่า 150 คน นำโดยนายประสพ สารสมัคร สาธารณสุขอำเภอม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี แกนนำเครือข่ายวิชาชีพสาธารณสุข เข้าพบ

                        

         นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอความชัดเจนในการผลักดันร่าง พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข พร้อมขอให้มีการประชุมร่วมสภาวิชาชีพเพื่อร่วมพิจารณาร่างกฎหมาย                  

         นายจุรินทร์ กล่าวว่า การผลักดันร่าง พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนที่ตนได้ประกาศในช่วงเข้ารับตำแหน่งว่าจะผลักดันให้สำเร็จ

         ดังนั้นจึงต้องให้เวลาตนในการดำเนินการก่อน และพวกท่านต้องรอคอยตามความเป็นจริง แต่ยืนยันว่าจะไม่ล่าช้าเพราะตนมาอยู่ที่นี่ในเวลาที่จำกัด ทั้งนี้เมื่อประกาศเป็นนโยบายไปแล้ว ต้องอยากให้สัมฤทธิ์ผล จึงอยากให้สบายใจ

         ส่วนที่ร่างกฎหมายยังมีข้อท้วงติง 1-2 ข้อนั้น ตนอยากให้แก้ไข ไม่อยากให้มีในเนื้อหากฎหมาย เพื่อร่างกฎหมายจะได้ผ่านการพิจารณาในสภาฯ ได้ ไม่เช่นนั้นก็จะตกไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ตนได้มอบให้

                        

         นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รีบดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข ที่เป็นของกระทรวงแล้ว

         “ในระหว่างนี้ขอให้ติดตามดูว่า ผมจะผลักดันร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขอย่างไร แต่ที่แน่ๆ พวกท่านกับไปบอกกับพวกเราได้ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุน” รมว.สาธารณสุข กล่าว

         นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า จากนี้ไปหัวใจงานสาธารณสุขจะอยู่ที่ชุมชน เข้าไปสู่ครอบครัว ซึ่งเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งทำงานในทุกพื้นที่จะต้องเข้ามามีบทบาททำงานหนักมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพ คุ้มครองผู้บริโภคตามนโยบาย 10 ข้อที่ตนเร่งรัด ดังนั้นจึงอยากให้สบายใจว่า รมว.สาธารณสุขจะให้ความสำคัญกับพวกท่านมากขึ้น เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย

         ด้าน นายประสพ กล่าวภายหลังพบ รมว.สาธารณสุข ว่า รู้สึกพอใจกับคำตอบที่ได้รับ ซึ่ง รมว.สาธารณสุขได้รับปากที่จะผลักดันร่าง พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข และได้กำหนดเป็น 1 ในนโยบาย 10 ข้อแล้ว ซึ่งทางสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขจะตั้งคณะกรรมการเข้าไปให้ข้อมูลและร่วมพิจารณาในอีก 2 สัปดาห์หน้านี้ โดยการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย ซึ่งจะมีตัวแทนจากสภาวิชาชีพต่างๆ มาประชุมร่วมกัน

         นำมาจาก น.ส.พ.คมชัดลึก วันพุธ ที่ 27 ม.ค.2553

http://www.komchadluek.net/detail/20100127/46212/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E2%80%9D%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A.%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82.html

         หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

         มีข่าวเกี่ยวกับ พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข กับอีก พ.ร.บ.หนึ่ง ที่จะทำให้การสาธารณสุขมูลฐาน ประสบความสำเร็จ เกิดขึ้นได้ เพื่อประชาชนสุขภาพดี คือ

         พ.ร.บ.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ

ดูข่าวเพิ่มเติมซึ่งบอกสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ทั้ง 2 ได้ที่

         เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยทั่วประเทศนับหมื่นบุกกรุง ดันร่าง พ.ร.บ.2 ฉบับ พัฒนามาตรฐานคน และ มาตรฐานการทำงาน สุดทนสภาพ งานหนักเงินน้อยด้อยศักดิ์ศรี เหมือนพลเมืองชั้นสองของ สธ. นัดรวมพล 19 สิงหานี้ ที่ลานพระบรมรูปฯ

         น.ส.พ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดี ที่ 13 สิงหาคม 2552 :

         นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เปิดเผยว่าได้เข้าพบ

                        

         นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วยกรรมการสมาคม เพื่อมอบร่าง

         พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข และ พ.ร.บ.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ ที่สมาคมผลักดันให้ผ่านเป็นกฎหมายบังคับใช้

         นายวิทยากล่าวว่า เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์มาก และได้มอบหมายให้นายพิเชฐ พัฒนโชติ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข และฝ่ายกฎหมายของกระทรวง ไปศึกษาและยกเป็นร่างกระทรวงขึ้นมาประกบเพื่อเสนอเป็นร่างของรัฐบาลต่อไป

         นายไพศาลกล่าวว่า การเคลื่อนไหวผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับเป็นมติจากการประชุมสัมมนาสมาชิกสมาคม ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยทั้ง 4 ภาค ในหัวข้อ

         “95 ปี สถานีอนามัย :ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง”

         ได้ข้อสรุปว่า จะร่วมกันผลักดันร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับให้ผ่านเป็นกฎหมายให้ได้ เพราะจะช่วยทำให้ได้

         ยกระดับมาตรฐานการทำงานของบุคลากรในวิชาชีพสาธารณสุขทั้งในแง่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิความเสมอภาคกับบุคลากรด้านอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข และ การทำงานมีคุณภาพมากขึ้น

         “สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับที่เสนอ คือ

         เรื่อง การพัฒนามาตรฐานคนทำงาน กับ มาตรฐานงานดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่งประโยชน์ทั้งหมดก็จะตกอยู่กับสุขภาพโดยรวมของประชาชนที่เข้ามาใช้บริการนั่นเอง

         เพราะเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย คือ บุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขที่ทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้านมากที่สุด แต่กลับได้รับการเหลียวแลน้อยที่สุด ทั้งงบประมาณ ทรัพยากรต่างๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ จนปัจจุบันพูดได้เลยว่าเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยขาดขวัญและกำลังใจในการทำงานอย่างมาก รู้สึกเหมือนถูกปฏิบัติราวกับเป็นพลเมืองชั้นสองของกระทรวงสาธารณสุข” นายไพศาลกล่าว
 
         ทั้งนี้ ในวันที่ 19 สิงหาคม นี้ จะมีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจากทั่วประเทศประมาณ 1 หมื่นคน มาร่วมประชุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจะมารวมตัวแสดงพลังประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในการผลักดันร่างพ.ร.บ.ทั้งสองนี้ ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อให้รัฐบาลและพรรคการเมืองทุกพรรคได้รับทราบถึงความต้องการอย่างแท้จริง แม้ว่าขณะนี้จะมีความพยายามจากผู้บริหารระดับสูงขัดขวางการเดินทางมาชุมนุม แต่ยืนยันว่า การแสดงพลังในวันที่ 19 สิงหาคม จะต้องมีอย่างแน่นอน

นำมาจาก น.ส.พ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดี ที่ 13 ส.ค.2552

http://www.komchadluek.net/detail/20090813/24114/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E.%E0%B8%A3.%E0%B8%9A.%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E19%E0%B8%AA.%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89.html

         ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

         ดังนั้น พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข และ พ.ร.บ.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ นี้จะเสริมด้านบุคลากร ทุน และ วิธีดำเนินการ ใน 3 M : Man , Money , Management เพื่อพัฒนา เป็น หัวหอกในการผลักดัน

         งานสาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter

         http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html

         ให้สำเร็จ เพื่อประชาชน จะได้มีสุขภาพแข็งแรง ตามนโยบายองค์การอนามัยโลก ที่ ประชุม ที่ประเทศคานาดา เมื่อ ปี 2529 หรือ 24 ปีมาแล้ว

         สุขภาพดีถ้วนหน้า นี้ แม้จะถึงช้า ก็ ดีกว่าไม่ถึงเลย จริงไหมพวกเรา

         รักนะ รักนะ รักนะ
 

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2553, 19:55:47 »


         ขรก.เฮ ครม.ไฟเขียวพรฎ.เงินสวัสดิการรักษาพยาบาล
น.ส.พ.โพสต์ทูเดย์ วันอังคาร ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 19:48 น.

                    

         ครม.เห็นชอบให้ปรับปรุงสิทธิขรก.และครอบครัว ให้สิทธิผู้ที่อยู่ระหว่างรักษาให้ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจนกว่าสิ้นสุดรักษาแม้พ้นราชการ

         การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันนี้  มีมติ เห็นชอบร่างพระราชกฤษฏีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ที่ครม.ชุดก่อนได้มีมติอนุมัติหลักการ โดยมีสาระสำคัญ

         กำหนดนิยามคำว่า “การรักษาพยาบาล” หมายความว่า การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยตรงแก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิเพื่อการรักษาโรค การตรวจวินิจฉัย  การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตและให้หมายความรวมถึงการตรวจสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด  แต่ไม่รวมถึงการเสริมความงาม

         กำหนดสิทธิในการได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ สถานพยาบาลของเอกชนตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ประเภทผู้ป่วยใน และที่มิใช่ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ประเภทผู้ป่วยใน เฉพาะกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต และรวมถึงสถานพยาบาลของเอกชนตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ประเภทผู้ป่วยนอก เป็นครั้งคราว

         กำหนดให้กรณีผู้มีสิทธิได้พ้นสภาพความเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชาวต่างประเทศ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ หรือถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกราชการไว้ก่อน หรือบุคคลในครอบครัวพ้นสภาพความเป็นบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฏีกานี้ ก่อนที่การรักษาพยาบาลจะสิ้นสุดลง ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลในคราวนั้น

         กำหนดให้ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวเป็นผู้อาศัยสิทธิของผู้อื่นซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวจากหน่วยงานอื่นในขณะเดียวกัน  ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฏีกานี้

กำหนดให้ผู้มีสิทธิอาจนำหลักฐานการรับเงินที่สถานพยาบาลซึ่งตนเองหรือบุคคลในครอบครัวเข้ารับการรักษาพยาบาลออกให้มายื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดเพื่อเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล หรืออาจให้สถานพยาบาลนั้นเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลแทนโดยระบบการเบิกจ่ายตรงก็ได้

         ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

คุณคิดอย่างไรกับประเด็นนี้ ?

คุณ kobnokkala ตอบ :ครม. กำหนดนิยามคำว่า “การรักษาพยาบาล” หมายความว่า การให้บริการด้าน การแพทย์และสาธารณสุขโดยตรงแก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ เพื่อการรักษาโรค การตรวจวินิจฉัย การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและ การดำรงชีวิตและให้หมายความรวมถึงการตรวจสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลัง กำหนด แต่ไม่รวมถึงการเสริมความงาม

         เป็นข่าวดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ขยายสิทธิจากเบิกได้เฉพาะค่ารักษาอย่่างเดียว เป็น เบิก ได้ทั้ง 4 กิจกรรม สาธารณสุข คือ ค่าส่งเสริม ป้องกัน และ ฟื้นฟู ได้ด้วย ทำให้ ประชาชนสุขภาพดี เมื่อประชาชนแข็งแรงไม่ป่วยบ่อย จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในด้านสุขภาพ ตามที่องค์การอนามัยโลกประชุมที่เมืองออตตาวา ประเทศคานาดา เมื่อปี พ.ศ.2549 ได้้ วิธีการให้ประชาชนชาวโลกสุขภาพดีได้ด้วย การทำ

                  

          สาธารณสุขมูลฐาน เป็นกิจกรรมแบบประสมประสานของกิจกรรม 4 อย่าง ซึ่ง คณะรัฐมนตรี ครม.อนุมัติ ให้ กระทรวงการคลัง นำไปดำเนินการอยู่

         นำมาจาก

http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/9310/%E0%B8%82%E0%B8%A3%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%AE-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%8E-%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5

         win win win

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553, 16:27:47 »


          เจ้าหน้าที่ สธ.บุกสภายื่น 2 ร่างกม.

น.ส.พ.เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่  25 ก.พ. 53 

          วันนี้(25 ก.พ.) ที่รัฐสภา ตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มหมออนามัย และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 200 คน นำโดยนายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ได้นำ

          ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข และ ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ

          พร้อมรายชื่อประชาชนจำนวน 2 หมื่นรายชื่อที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เข้าชื่อต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้นำร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ เข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง

          นายชัย กล่าวว่า ยินดีที่จะดำเนินการตามขั้นตอนอย่างโปร่งใส โดยจะให้นายทะเบียนตรวจสอบว่าชื่อที่ส่งมาถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็จะดำเนินการตามขั้นตอน หากไม่ถูกต้องก็จะเรียกกลับมาแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป.

           ได้มาจากเวบสนุกดอทคอม

http://news.sanook.com/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99-2-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A1-904271.html

           นำข่าวความก้าวหน้ามาบอกต่อพวกเรา

           ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #3 เมื่อ: 31 มีนาคม 2553, 18:42:57 »


                          ก้าวสู่ปีที่33"อสม.""หัวใจ"สร้างเสริมสุขภาพคนไทย
                                  คมชัดลึก วันอังคารที่ 30 มีนาคม 2553


                

         ย่างเข้าสู่ปีที่ 33 ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 987,019 คน ได้มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ช่วยให้ประเทศชาติลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ไม่จำเป็นลงได้อย่างมหาศาล เพราะ อสม.ทำหน้าที่

"แก้ข่าวร้ายกระจ่ายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี”

         ด้วยความดีของอสม. คณะรัฐมนตรียุครัฐบาลนายชวน  หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี มีมติให้

         วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ" มาตั้งแต่ปี 2536

         นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า

         ความจริงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนั้น เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2521 ในขณะนั้นมี อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสส. กับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดย อสส.จะมีอัตราส่วนการดูแล 8-15 ครัวเรือนต่อคน โดยมี อสม. 1 คนต่อ 1 หมู่บ้าน เป็น หัวหน้า อสส. อีกระดับหนึ่ง แต่ อสม.นั้น จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานด้วย อย่างไรก็ดี ในปี 2537 รัฐบาลภายใต้การนำของนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ยกระดับ อสส. ให้ขึ้นมาเป็น อสม. ทั้งหมด

         "ปัจจุบันได้กำหนดให้งานของ อสม. เป็น 1 ใน 10 นโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะต้องเร่งปฏิบัติให้เปิดประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องโดยจะต้องเข้ามามีบทบาทในเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจาก อสม. คือหัวใจของการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชน"

         บทบาท อสม. เร่งดำเนินการใน 4 แนวทาง คือ

1.ทำหน้าที่สร้างเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนในชนบท เริ่มดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ เป็นพ่อแม่อาสาดูแลทารกตั้งแต่แรกเกิด และดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังในหมู่บ้าน และการส่งเสริมนโยบาย 3 อ. มี อ.1 ดูแลเรื่องอาหารให้ครบหมวดหมู่  อ.2 ออกกำลังกาย และ อ.3 ควบคุมอารมณ์ เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด

2.ทำหน้าที่ป้องกันและควบคุมโรค อาทิ รณรงค์ให้นำเด็กไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เช่น ไอกรน โปลิโอ บาดทะยัก รวมไปถึงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล อสม.จะต้องเดินเท้าเข้าไปหาชาวบ้านเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ ฯลฯ

3.อสม.มีบทบาทในการรักษาพยาบาล โดยจะเข้ามามีส่วนในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาทิ การรักษาแผล การให้ยาสามัญประจำบ้าน ยาลดไข้แก้ปวด ก่อนที่จะส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ

4.ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพบำบัดให้แก่ผู้พิการ เช่น แนะนำเรื่องสุขภาพ การทำกายภาพบำบัด แนะนำผู้พิการในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง แนะนำให้ออกกำลังกาย

         "อสม.จะทำหน้าที่อย่างครบวงจร กล่าวคือ “ส่งเสริม ควบคุม รักษา ฟื้นฟู”  อสม.ยังมีหน้าที่

         สอดส่องดูแลคุ้มครองผู้บริโภคด้วย เพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ การนำยาไม่มีมาตรฐานมาจำหน่าย ประสานงานกับเครือข่ายชุมชน เพื่อระดมความคิดในการดำเนินการด้านสาธารณสุข สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชน รวมทั้งบูรณาการงานด้านสาธารณสุขชุมชน"

        "บทบาท 4 ใหม่ อสม."

1.อสม.เชิงรุก ต้องจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพชุมชน มีการออกแบบ การส่งเสริม และแผนงานที่ชัดเจนในการพัฒนาระบบสาธารณสุขในแต่ละชุมชน

2.อสม.เป็นกลไกสำคัญในการรักษาพยาบาลและการสาธารณสุขระหว่างชุมชนกับโรงพยาบาลตำบลหรือสถานีอนามัยต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าประชาชนพื้นที่ชนบทจะมีความปลอดภัยในเรื่องสุขอนามัย

3.อสม.เป็นกลไกในการสื่อสารนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขไปสู่ชุมชน

4.อสม.มีส่วนร่วมในการดูแล แก้ไข และปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ในการแก้ไขการทุจริตคอรัปชั่นในชุมชนต่างๆ ด้วย

         ด้วยภารกิจอสม.ต้องเดินหน้า 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่

1.ดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์

2.เป็นพ่อแม่อาสาดูแลทารกตั้งแต่แรกเกิด และ

3.ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังในหมู่บ้านนั้น

         อสม.จึงได้รับการดูแลด้านสวัสดิการ โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เดือนละ 600 บาท เพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่ อสม.ที่เสียสละ

         ล่าสุด เพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ อสม. คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด เร่งโอนเงินในส่วนนี้มาให้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เมื่อ สสจ.ได้รับเงินมาแล้ว จะกระจายเงินค่าตอบแทนไปยังสถานีอนามัย เป็นผู้ดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ อสม.

         ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์ ยังปรับสวัสดิการ อสม.เป็นเหรียญเงินที่เรียกกันว่า “ดิเรกคุณาภรณ์”  ให้แก่

         อสม.ที่ทำคุณงามความดี และ เหรียญทองสำหรับ อสม.ที่ทำความดีตลอด 5 ปี ซึ่งในปี 2553 นี้ มีอสม.ที่ได้รับเหรียญทอง 14 คน  พร้อมผลักดัน อสม.ให้ได้เรียนสาธารณสุขชุมชนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยจะมีทุนเรียนทั้งสิ้น 75 ทุน ทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนให้ “บุตร-ธิดา” ของ อสม. สามารถเข้าเรียน “พยาบาล” ได้อีก 500 ทุน ขณะที่ อสม.รายใดอยากศึกษาต่อ กศน.ก็ทำได้

         ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ยกย่องชมเชยระบบ อสม. ในการประชุมที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ว่า ระบบ อสม.ของประเทศไทย ประสบความสำเร็จสูงมาก สามารถที่จะนำไปเป็นตัวอย่าง เพราะเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนเอง ทำให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการดูแลด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด" รมว.สาธารณสุข กล่าวในที่สุด

         ขอขอบคุณ น.ส.พ.คมชัดลึก ที่เป็นแหล่งข่าว ที่        http://www.komchadluek.net/detail/20100330/54197/%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%8833%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A1.%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html

          อสม.เป็นตัวชี้วัดตัวที่ 3 ของสาธารณสุขมูลฐาน ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี ตาม Ottawa Charter ที่่ องค์การอนามัยโลก ประชุมได้ข้อสรุป มาเพื่อให้ทุกประเทศนำไปปฏิบัติ เพื่อทำให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้า ต่อ พลโลกได้

         http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html

         win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><