24 พฤษภาคม 2567, 00:30:46
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 33  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน  (อ่าน 304255 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #650 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2554, 22:40:41 »

ประธานศาล รธน.แนะแก้นิสัยคนก่อนแก้ รธน. ค้านแก้ ม.112
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    

      
วสันต์” ค้านแก้ ม.112 ชี้คนคิดเลิก หวังหมิ่นสถาบันโดยไม่ผิดกฏหมาย เหน็บได้ลงกินเนสส์บุ๊กแน่ มี กม.คุ้มครองประมุขรัฐต่างประเทศ แต่ไม่คุ้มครองประมุขรัฐตัวเอง แนะแก้ รธน.แก้นิสัยคนก่อนดีกว่า
       
       วันนี้ (29 ธ.ค.) นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ซึ่งอาจจะมีการแก้ไขมาตรา 309 ที่ส่งผลกระทบถึงองค์กรอิสระว่า ให้เขาแก้กันก่อน เพราะตอนนี้เท่าที่รับฟังยังไม่รู้ว่าจะแก้กันอย่างไร บางฝ่ายก็บอกว่ามี 6-7 ประเด็นที่ต้องแก้ ขณะที่อีกฝ่ายก็บอกว่าให้ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ จึงยังอยู่ในช่วงสับสนอยู่ อย่างไรก็ตาม เห็นว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับมีทั้งข้อดี ข้อเสีย แก้อย่างไรก็ยังมีช่องน้อยๆ ให้หลีกเลี่ยง หลุดรอดไปได้ เพราะบ้านเราถือว่า คนที่เลี่ยงกฎหมายเก่ง ถือว่าเป็นนักกฎหมายที่เก่ง อย่าง ภาษีอากรใครที่หลีกเลี่ยงกฎหมายจนทำให้จ่ายภาษีน้อยได้ ก็จะถือว่านักกฎหมายคนนั้นเป็นคนที่เก่ง ดังนั้นกฎหมายเขียนอย่างไรก็ได้ ถ้าคนมีคุณธรรมปัญหาก็ไม่เกิด แก้นิสัยของคนจึงดีกว่าแก้กฎหมาย
       
       “กฎหมายเขียนว่า ผู้ใดฆ่าคนอื่นจะถูกประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต แต่ก็ยังมีการฆ่ากันทั้งๆ ที่ในหลักพุทธศาสนาก็ถือว่าเป็นบาปหนัก ดังนั้น ถ้าทุกคนมีธรรมในใจ ไม่ต้องมีกฎหมายก็ได้ ก็เหมือนการแก้รัฐธรรมนูญ แก้ให้ดีอย่างไรก็ยังจะมีคนหลีกเลี่ยงและเอาไปเป็นเครื่องมือตนเอง อย่างนักวิชาการบางกลุ่มเคยพูดเลยว่า ถ้าศาลตัดสินมาอย่างไร เขาไม่เห็นด้วยทั้งนั้น ซึ่งอันนี้มันก็อยู่ที่ใครมีหน้าที่อะไร” ประธานศาลรัฐธรรมนูญระบุ
       
       นายวสันต์ยังแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการที่จะยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่บัญญัติความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง โดยระบุว่า ในประมวลกฎหมายอาญา มีหมวดความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ อยู่ในมาตรา 130-135 ที่บัญญัติในลักษณะเป็นการคุ้มครองประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐต่างประเทศ ว่าใครจะดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายมิได้ มีทั้งโทษจำคุกและปรับ ดังนั้น ถ้ายกเลิกวิ.อาญามาตรา 112 ถามว่าเราจะคุ้มครองแต่ประมุขรัฐต่างประเทศเท่านั้นใช่หรือไม่ จะไม่คุ้มครองประมุขรัฐไทยใช่หรือไม่ ซึ่งตนเห็นเหมือนกับนักกฎหมายหลายคนที่แสดงความเห็นก่อนหน้านี้ว่า คนที่คิดจะเลิกมาตรา 112 เขาต้องการที่จะหมิ่นสถาบันฯโดยไม่ผิดกฎหมายใช่หรือไม่ ซึ่งกฎหมายอยู่ดีๆ ถ้าเขาไม่ไปหมิ่นก็ไม่มีใครเดือดร้อน
       
       “ถ้าจะยกเลิกมาตรา 112 มันก็ต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ที่บัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ด้วย และถ้าเราทำจริง ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศแรกที่ยกย่องประมุขต่างประเทศยิ่งกว่าประมุขของเราเอง แล้วก็จะได้ลงบันทึกกินเนสส์บุ๊กเลย” นายวสันต์กล่าว

      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #651 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2554, 22:44:38 »

1. ใครก็ตามที่เสนอให้ยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 อาจไม่ได้ทบทวนความคิดบางประการ ที่มีผู้รู้หลายท่านให้ความเห็นไว้ เช่น

1.1 หากยกเลิกมาตรา 112 จะเป็นเรื่องที่พิลึกที่สุด ที่กฎหมายไม่ปกป้องคุ้มครองประมุขของรัฐไทย ในขณะที่ปกป้องประมุขของรัฐต่างประเทศ ตามที่บัญญัติความผิดฐานเดียวกันในมาตรา 133 และ 134 ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือหากจะยกเลิกทั้งหมด (112 /133 /134) ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐไทยไม่คุ้มครองประมุขของรัฐใด ๆ เลย ซึ่งสวนทางกับทุกประเทศในโลกนี้ (ขวัญชัย รัตนไชย)

1.2 อำนาจอธิปไตยของไทยอยู่ที่พระมหากษัตริย์ และอยู่ที่ประชาชน ที่เป็นเช่นนี้เพราะ รัฐไทยมีประวัติศาสตร์ที่นำโดยกษัตริย์ทั้งในนิยามของนครรัฐ City State และรัฐชาติ (Nation State) ส่วนที่อยู่ที่ประชาชนนั้น เป็นการผสมผสานภายหลังเมื่อนำเอาระบอบประชาธิปไตยมาใช้ ซึ่งไม่ได้ขัดแย้งกันแต่อย่างใด (การสละอำนาจเมื่อคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองยืนยันความข้อนี้)

1.3 มาตรา 8 รธน. 2550 บัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ (inviolable) การบัญญัติไว้เช่นนี้ แสดงว่า สถานะของกษัตริย์อยู่เหนือกว่าบุคคลทั่วไป นอร์เวย์ เดนมาร์ก เบลเยี่ยม มี รธน. บัญญัติไว้ทำนองนี้ทั้งสิ้น (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ)

ที่สำคัญ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้ก่อการแห่งคณะราษฎรได้เก็บที่มาของรัฐธรรมนูญมาตรา 8 นี้ไว้ จนถ่ายทอดลงใน รธน. ฉบับต่อ ๆ มา

ดังนั้น การเสนอให้ยกเลิกมาตรา 112 จึงปราศจากฐานที่เป็นจริงทั้งสิ้น

2. กรณีที่มิได้เสนอให้ยกเลิกมาตรา 112 แต่เสนอให้แก้ไข ระวางโทษมาตรา 112 ตั้งแต่ 3 - 15 ปี นั้น เพราะเห็นว่าหนักเกินไป การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (The Person of King) ซึ่งก็คือ การหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา นั้น โทษที่กระทบต่อเสรีภาพในเนื้อตัว ร่างกาย ไม่ควรต่างกัน ก็ให้พิจารณา ดังนี้

- มาตรา 326 - 333 การหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี

- มาตรา 136 ดูหมิ่นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำคุกไม่เกิน 1 ปี และหากดูหมิ่นศาล ตามมาตรา 198 ต้องระวางโทษจำคุก 4 - 7 ปี

- มาตรา 133 ดูหมิ่นประมุขของรัฐต่างประเทศ โทษจำคุก 1 - 7 ปี

- มาตรา 112 กระทำการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ไทย พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โทษจำคุกตั้งแต่ 3 - 15 ปี

ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่า วัฒนธรรมไทยจำแนกการกระทำผิดต่อบุคคลตามสถานะที่แตกต่างกัน เช่น ทำต่อบิดา มารดา (กฎหมายแพ่งห้ามฟ้องบุพการี - อุทลุม) ต่อเจ้าพนักงาน ต่อองค์กษัตริย์

ดังนั้น หากจะแก้ไขโทษให้ลดลง ต้องแก้ทุกมาตราในความผิดฐานนี้

นี่คือสภาพการณ์ภายใต้บริบทของไทย ภายใต้ศาสนา สังคม ประเพณี ความศรัทธา ที่ไม่เหมือนตะวันตก

หากนิธิ เอียวศรีวงศ์ หรือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ จะแย้งว่า หากกล่าวว่าไทยมีลักษณะทางสังคมที่แตกต่างจากสังคมอื่น เป็นเอกลักษณ์ (Uniqueness) ก็สามารถพูดเช่นนั้นได้ทุกที่ - อาจจะถูกต้อง แต่การโต้แย้งนี้ไม่ได้นำไปสู่อะไรทั้งสิ้น เพราะพูดไปตามสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงอยู่แล้ว

เพราะจะมีอะไรตัดสินได้ว่า เวลาใดควรเชื่อ สัมพัทธนิยม (Relativism - จริง ตามสภาพเงื่อนไข กาลและเทศะ) เวลาใดควรเชื่อสัมบูรณนิยม (Absolutism - จริงทุกเมื่อ ไม่ขึ้นกับเงื่อนไข กาลหรือเทศะ)

ใครจะตอบได้ว่า ทำไมอเมริกาจึงมีโทษประหาร แต่ยุโรปไม่มี เช่นนี้ อเมริกามีกฎหมายที่เป็นสากลหรือไม่ ? และเหตุใดจึงไม่มีการอภัยโทษโทษประหารชีวิตในอเมริกา อเมริกาไร้ซึ่งเมตตาธรรมในกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ ?

หากเหลียวมองประเทศที่มีกฎหมายระบุความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เช่น เบลเยี่ยม โทษจำคุก 6 เดือน - 3 ปี เนเธอร์แลนด์ จำคุกไม่เกิน 5 ปี

ประเด็นมีอยู่ว่า แม้จะลดโทษมาตรา 112 ลง แต่หากผู้ใดกระทำการใดที่เข้าองค์ประกอบความผิด กรณี "อากง" หรือ "ดา ตอร์ปิโด" ก็ยังจะต้องรับโทษที่อาจสูงสุดได้ถึง 7 ปีต่อกระทง

หากเทียบกับกรณีประมุขของรัฐต่างประเทศ หากอากงกระทำ 4 กระทง อากงอาจได้รับโทษ 28 ปี มากกว่าเดิมถึง 8 ปี ทั้งที่ลดโทษขั้นสูงลงแล้ว (ไม่ว่าจะให้สำนักราชเลขาธิการ หรือ อัยการสูงสุด หรือ รมว.ยุติธรรม เป็นผู้ดำเนินการฟ้องร้องก็ตาม) เป็นปัญหาต่อมาว่า นี่จะถือว่ายุติธรรมตามข้อเสนอของผู้เสนอให้แก้ไขหรือไม่ ?

ใช่หรือไม่ว่า ที่เสนอให้แก้กฎหมายนั้น เป็นการยอมรับกลาย ๆ ว่า ได้กระทำความผิดจริง แต่ไม่อยากรับโทษหนัก ? ทั้งที่ หากไม่มีเจตนาท้าทายกฎหมายนี้ ผู้นั้นก็จะไม่ต้องรับโทษใด ๆ เลย และสามารถวิพากษ์ วิจารณ์สถาบันได้ หากกระทำโดยสุจริต

3. การให้เหตุผลของผู้เสนอให้แก้ไขมาตรา 112 ดูชอบกล ท่านบอกว่า มาตรา 112 คือ สิ่งสะท้อนความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้าง แต่การกระทำผิดจริง โดยไม่ต้องการรับโทษนั้น สะท้อนจิตใจคนที่บิดเบี้ยวหรือไม่

หากแย้งว่า การปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันจะทำให้นำไปสู่ความรุนแรง เพราะสังคมปราศจากการรับฟังเหตุผล นี่ไม่สะท้อนความสับสนในการวินิจฉัยปัญหาหรอกหรือ เพราะเท่ากับกล่าวว่า ประชาชน ขัดแย้งกับสถาบัน ทั้งที่ท่านได้วินิจฉัยเองว่า กระบวนการใช้กฎหมายมีปัญหา - ไม่ใช่สถาบัน แต่เป็นผู้ฟ้องร้อง หรือ การใช้ดุลยพินิจ

และเท่ากับกล่าวว่า สถาบันคือโครงสร้างแห่งความไม่เท่าเทียม เป็นต้นเหตุแห่งปัญหา ทั้งที่หากจะกล่าวเรื่องโครงสร้าง ก็ควรพูดถึง การกระจายอำนาจ การถือครองทรัพยากร การกำจัดการทุจริต

ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ไม่ได้กล่าวถึง สถาบันทางการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองเลยแม้แต่น้อย
*-*
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #652 เมื่อ: 02 มกราคม 2555, 14:50:13 »

นิติเรดเหิมหนัก ห้ามกษัตริย์มีพระราชดำรัส/ศาลรธน.ค้านรื้อม.112

  จาก  Thaipost.net
  คณะนิติเรดเล่นแรงขึ้นทุกวัน "ปิยบุตร แสงกนกกุล"   เสนอห้ามกษัตริย์แสดงพระราชดำรัสสดต่อสาธารณะ และต้องสาบานต่อรัฐสภาในฐานะประมุขว่าจะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ     ตัดตอนประวัติศาสตร์ สถาบันเพิ่งถูกยกระดับให้มีอำนาจในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ขณะที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญลั่นไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกกฎหมายอาญา ม.112 ชี้ถ้าเลิกต้องลบรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ที่บัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ทิ้งด้วย
    เว็บไซต์ประชาไทได้เผยแพร่การเสวนาในหัวข้อ “เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อค่ำวันที่ 27 ธันวาคม ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน มีวิทยากรร่วมเสวนา คือ นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
    นายปิยบุตรอธิบายภาพรวมของอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย โดยชี้ว่า สถานะของสถาบันที่เป็นอยู่ในปัจจุบันซึ่งมีอำนาจมากเกินควรจะเป็นในระบอบประชาธิปไตย มิได้เป็นมาแต่ไหนแต่ไรตามที่หลายๆ คนอาจได้รับรู้ เนื่องจากในความเป็นจริง สถาบันกษัตริย์ถูกยกระดับให้มีอำนาจเท่าที่เป็นในปัจจุบันตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา ซึ่งนับเป็นเพียง 40-50 ปีของการช่วงชิงทางความคิดและอุดมการณ์ระหว่างคู่ขัดแย้งฝ่ายต่างๆ ในประวัติศาสตร์เท่านั้น เช่นเดียวกับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่สะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองจากการเลือกตั้งและฝ่ายจารีตนิยมที่ใช้การโฆษณาชวนเชื่อ ก็เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินไปของสนามที่ต่อสู้เชิงความคิดที่ยังไม่สิ้นสุดในสังคมไทย
    เพื่อที่จะสร้างและรักษาระบอบประชาธิปไตยให้ธำรงอยู่  นายปิยบุตรชี้ว่า สถาบันกษัตริย์จำเป็นต้องปรับตัวให้อยู่ได้กับประชาธิปไตย โดยแยกการใช้อำนาจจากรัฐให้เป็นเพียงหน่วยทางการเมืองหน่วยหนึ่ง ซึ่งทำให้กษัตริย์ไม่สามารถใช้อำนาจใดๆ ผ่านรัฐได้อีกต่อไป โดยในทางรูปธรรมนั้นหมายถึงการไม่อนุญาตให้กษัตริย์สามารถทำอะไรเองได้ เนื่องจากผู้ที่รับผิดชอบคือผู้สนองพระบรมราชโองการ รวมถึงการไม่อนุญาตให้กษัตริย์แสดงพระราชดำรัสสดต่อสาธารณะ และการสาบานต่อรัฐสภาในฐานะประมุขว่าจะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ เป็นต้น
    นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่จะยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่บัญญัติความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง โดยกล่าวว่า ในประมวลกฎหมายอาญามีหมวดความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ อยู่ในมาตรา 130-135 ที่บัญญัติในลักษณะเป็นการคุ้มครองประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐต่างประเทศ ว่าใครจะดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายมิได้ มีทั้งโทษจำคุกและปรับ ดังนั้นถ้ายกเลิก ป.วิ อาญามาตรา 112 ถามว่าเราจะคุ้มครองแต่ประมุขรัฐต่างประเทศเท่านั้นใช่หรือไม่ จะไม่คุ้มครองประมุขรัฐไทยใช่หรือไม่
    "ผมเห็นเหมือนกับนักกฎหมายหลายคนที่แสดงความเห็นก่อนหน้านี้ว่า คนที่คิดจะเลิกมาตรา 112 เขาต้องการที่จะหมิ่นสถาบันโดยไม่ผิดกฎหมายใช่หรือไม่ ซึ่งกฎหมายอยู่ดีๆ  ถ้าเขาไม่ไปหมิ่นก็ไม่มีใครเดือดร้อน"

    ประธานศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า ถ้าจะยกเลิกมาตรา 112 มันก็ต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ที่บัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ด้วย และถ้าเราทำจริง ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศแรกที่ยกย่องประมุขต่างประเทศยิ่งกว่าประมุขของเราเอง แล้วก็จะได้ลงบันทึกในกินเนสส์บุ๊กเลย
    ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น  นายวสันต์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับมีทั้งข้อดี-ข้อเสีย แก้อย่างไรก็ยังมีช่องน้อยๆ ให้หลีกเลี่ยง หลุดรอดไปได้ เพราะบ้านเราคนที่เลี่ยงกฎหมายเก่งถือว่าเป็นนักกฎหมายที่เก่ง อย่างภาษีอากรใครที่หลีกเลี่ยงกฎหมายจนทำให้จ่ายภาษีน้อยได้ก็จะถือว่านักกฎหมายคนนั้นเป็นคนที่เก่ง ดังนั้นกฎหมายเขียนอย่างไรก็ได้ ที่สำคัญถ้าคนมีคุณธรรมปัญหาก็ไม่เกิด แก้นิสัยของคนดีกว่าแก้กฎหมาย ถ้าคนมีคุณธรรม ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม ไม่ต้องแก้กฎหมายมันก็อยู่ได้ 
    “กฎหมายเขียนว่า ผู้ใดฆ่าคนอื่นจะถูกประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต แต่ก็ยังมีการฆ่ากันทั้งๆ ที่ในหลักพุทธศาสนาก็ถือว่าเป็นบาปหนัก ดังนั้นถ้าทุกคนมีธรรมในใจ ไม่ต้องมีกฎหมายก็ได้ ก็เหมือนการแก้รัฐธรรมนูญ แก้ให้ดีอย่างไรก็ยังจะมีคนหลีกเลี่ยงและเอาไปเป็นเครื่องมือตนเอง คนที่เข้าข้างตัวเองก็ถือว่าถูก   อย่างนักวิชาการบางกลุ่มเคยพูดเลยว่า ถ้าศาลตัดสินมาอย่างไรเขาไม่เห็นด้วยทั้งนั้น ซึ่งความเห็นมันก็คือความเห็นที่อาจจะไม่ตรงกันได้ แต่มันอยู่ที่ว่าใครมีหน้าที่อะไร” ประธานศาลรัฐธรรมนูญกล่าว
    ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องมองประเด็นที่จะมาช่วยให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้ามากกว่าที่จะมาเล่นเกมทางการเมือง หรือเอาประเด็นของการได้การเสียทางการเมืองมาเป็นเกมการเมืองในปีหน้า
    "ผมมองว่าเรื่องนี้จะเป็นตัวจุดประเด็นของความขัดแย้ง ซึ่งรัฐบาลไม่น่าจะทำในช่วงเวลานี้ เพราะหากเรามองถึงประโยชน์ของประเทศชาติจริงๆ เราน่าจะนึกถึงประเทศชาติมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิกฤติที่ต้องฟื้นฟู ทั้งภาคเศรษฐกิจ ภาคการเกษตร และปัญหาที่กำลังจะเข้ามาในอนาคตคือภัยแล้ง ตนเห็นว่าเป็นปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนมากกว่าจะไปจุดประเด็นความขัดแย้งต่างๆ ในสังคมขึ้นมา" นายเฉลิมชัยกล่าว
    วันเดียวกันนี้ นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย, นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา พร้อมด้วย “กลุ่มแดงเชียงใหม่ 51” จำนวนกว่า 100 คน นำโดยนายนิรันดร์ ด่านไพบูลย์ ได้นำรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน เข้ายื่นเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่) พ.ศ.... ต่อนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
        นายสงวนกล่าวว่า การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อเปิดช่องให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จำนวน 101 คน โดยเลือกตั้งจากประชาชนจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน และตัวแทนจากผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านสาขากฎหมายมหาชน รัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 24 คน ทั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ร่วมด้วย โดยอาจเข้ามาในสัดส่วนผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งยืนยันว่าการเสนอดังกล่าวแตกต่างจากการเสนอของพรรคเพื่อไทยและกลุ่ม นปช. ทั้งนี้ ไม่ใช่แบ่งหน้าที่เล่นเกมการเมือง แต่เป็นเพราะเสนอกันคนละประเด็น แต่หากร่างคล้ายคลึงกันก็สามารถนำมารวมกันเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงร่างเดียวก็ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสภา
         “ยอมรับว่ารายละเอียดบางส่วนตรงกับการเสนอของคณะนิติราษฎร์ คือการคืนความชอบธรรมให้กับรัฐธรรมนูญปี 40 แต่บางส่วนไม่ตรงกัน คือการสร้างความปรองดองไม่แก้แค้น และลบล้างผลพวงการรัฐประหาร ทั้งนี้ หากเป็นไปตามกระบวนการก็จะเสร็จสิ้นภายใน 1 ปี จากนั้นหากจะยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ก็ขึ้นอยู่กับบทเฉพาะกาล” นายสงวนกล่าว.
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #653 เมื่อ: 04 มกราคม 2555, 20:16:41 »

“ป๋าเปลว” แขวะมติชนยกทักษิณ “บุคคลแห่งปี”-ท้าพาดปก “มหาบุรุษแห่งศตวรรษ”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    

นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1637 วันที่ 30 ธ.ค.2554 ขึ้นปกเป็นภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องหาหนีคดีอาญาแผ่นดิน พร้อมพาดปกว่า “บุรุษแห่งปี COMING SOON ไม่นานเกินรอ”

      
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - คอลัมนิสต์ชื่อดังแห่งไทยโพสต์ เหน็บ “มติชนสุดสัปดาห์” ขึ้นปกทักษิณ “บุคคลแห่งปี” ทำตัวพลิกพลิ้วข้างผู้ชนะ ราวกับพญามังกรคะนองเมฆ มีเงาหัว แต่ไม่เห็นหาง ยามพลิ้วตัวอักษรดุจพญาอินทรี ล่าเหยื่อไม่มีพลาด ตอกกลับ บก.มติชน อ้างเป็นเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ก็ยังยกเป็นบุรุษแห่งปี สงสัยถ้าก้าวเหยียบปัจจุบันได้คงจะพาดปก “มหาบุรุษแห่งศตวรรษ”
       
       หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับวันนี้ (4 ม.ค.) เปลว สีเงิน ได้เขียนบทความในหัวข้อ “โก่งคอขันด้วยนึกว่า “ชนะ” แล้ว!” ในคอลัมน์คนปลายซอย กล่าวถึงกรณีที่นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1637 วันที่ 30 ธ.ค.2554 ได้ขึ้นปกเป็นภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องหาหนีคดีอาญาแผ่นดิน พร้อมพาดปกว่า “บุรุษแห่งปี COMING SOON ไม่นานเกินรอ” โดยกล่าวว่า หนังสือพิมพ์ที่ให้ราคาตัวเองว่ามาตรฐานประเทศ ยกให้ทักษิณเป็นบุรุษแห่งปี ไม่เชื่อมติชนครั้งนี้ แล้วจะให้ไปเชื่อมติชินหรือ
       
       “เพราะพวกพี่ๆ ค่ายมติชนแต่ละท่าน ใครๆ ก็รู้ว่ามากด้วยวิชาความรู้ และประสบการณ์ งานสื่อพลิกพลิ้วข้างผู้ชนะสร้างคุณูปการต่อสังคมประเทศชาติประจักษ์เสมอมา ยามไปไหน-มาไหนดุจพญามังกรคะนองเมฆ เงาหัวน่ะมี แต่เห็นหัวกลับไม่เห็นหาง และเงาหางก็มี แต่เห็นหางกลับมิอาจเห็นหัว ยามพลิ้วอักษรเป็นตัวหนังสือคุณภาพประเทศ ก็ดุจพญาอินทรี บินสูง มองไกล โฉบแม่น แต่ละที...เหยื่อ ไม่มีพลาด” เปลว สีเงิน กล่าว
       

       คอลัมนิสต์ชื่อดังแห่งไทยโพสต์ กล่าวต่อว่า ตนโสมนัสกับเหตุผลที่เขายกย่องทักษิณเป็น บุรุษแห่งปี 2554 ดังข้อความตอนหนึ่งที่ นายสุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งเขียนบทความในหัวข้อ “หนอนในใจ” ในเว็บไซต์มติชนออนไลน์ ระบุว่า พลันที่มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นำ พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นปก พร้อมถ้อยคำบุรุษแห่งปี กลุ่มคนที่เกลียดทักษิณ ก็ต้องย่อมรู้สึกในทางร้ายว่า มติชนสุดสัปดาห์ให้ของขวัญปีใหม่ ด้วยการโยนหนอนเข้ากลางดวงใจ เป็นหนอนกลางดวงใจที่ก่อให้เกิดความหงุดหงิด คับข้องใจ และอยากโต้แย้งอย่างไม่ต้องสงสัย
       
       กระนั้น หากอ่านข้อความในบรรทัดต่อมา COMING SOON/ไม่นานเกินรอ ก็น่าจะคลายความหงุดหงิด คับข้องใจ และอยากโต้แย้งลงบ้าง และเข้าใจมติชนสุดสัปดาห์ดียิ่งขึ้นว่า ไม่ได้ใจร้าย ด้วยการมุ่งทำลายจิตใจฝ่ายที่เกลียดทักษิณในห้วงปีใหม่นี้แต่อย่างใด เพราะทั้งคำ COMING SOON และคำว่าไม่นานเกินรอ ที่สุดแล้วก็บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นเรื่องของอนาคต และอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
       
       “พ.ต.ท.ทักษิณ ยังดำรงสถานะบุรุษแห่งปีแห่งอนาคต เพียงแต่ต้องปลอบประโลมคนที่รัก พ.ต.ท.ทักษิณด้วยเช่นกัน จึงมีคำว่าไม่นานเกินรอ พ่วงติดมาด้วย ด้วยเหตุนี้ ปกมติชนสุดสัปดาห์จึงสะท้อนภาวะความเป็นจริง ต่อสถานะ พ.ต.ท.ทักษิณ มากกว่า นั่นคือ ดูเหมือนจะก้าวเข้าใกล้ผู้ชนะ (อีกครั้ง) แต่ก็เป็นเรื่องของอนาคต ซึ่งอนาคตที่ต้องคำนึงด้วยว่า มีความไม่แน่นอนแทรกซ้อนอยู่ตลอดเวลา ดังเช่นชัยชนะอันท่วมท้นของพรรคเพื่อไทย และนำมาสู่การได้นายกรัฐมนตรีที่ชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2554” ข้อความของ นายสุวพงศ์ ที่ เปลว สีเงิน นำมาหยิบยก
       
       เปลว สีเงิน ตั้งข้อสงสัยในตอนท้ายว่า สื่อคุณภาพประเทศเขาสะท้อนการเมืองว่าด้วยเรื่อง “สถานะทักษิณ” ว่า ดูเหมือนจะก้าวเข้าใกล้ผู้ชนะอีกครั้งเช่นนี้ แค่ก้าวใกล้อันเป็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ก็ยังยกเป็นบุรุษแห่งปี แต่ถ้าก้าวเหยียบอันเป็นปัจจุบันที่มาถึงแล้ววันไหน หนังสือพิมพ์คุณภาพประเทศคงมิรั้งรอที่จะพาดปก “ทักษิณ มหาบุรุษแห่งศตวรรษ” โดยพลันหรือ
       
       สำหรับข้อความที่ เปลว สีเงิน ได้กล่าวถึงนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ที่ยกย่อง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นบุคคลแห่งปี มีดังนี้
       
       ผมว่า ณ ชั่วโมงนี้ ทางฝ่าย นปช.เพื่อไทย เขาฟันธงด้วยมั่นใจว่าควบคุมทุกพื้นที่ตารางไทยได้หมดแล้ว “ฝนจะตก-แดดจะออก-พระจะสึก-อุจจาระจะแตก” นั่น...ยังพอห้ามได้
       
       แต่จะห้าม “ทักษิณกลับมาครองใหญ่” ใครก็ห้ามไม่ได้แล้ว!
       
       ยิ่งเห็นปกหนังสือ “มติชนสุดสัปดาห์” ฉบับปีใหม่ ที่เขาลงอวดในเว็บไซต์ “มติชนออนไลน์” เออ...ท่าจะจริงของเขา ก็ลองหนังสือพิมพ์ที่ให้ราคาตัวเองว่า “มาตรฐานประเทศ” ยกให้ทักษิณเป็น “บุรุษแห่งปี” ไม่เชื่อมติชนครั้งนี้
       
       แล้วจะให้ไปเชื่อมติชินหรือ?
       
       เพราะพวกพี่ๆ ค่ายมติชนแต่ละท่าน ใครๆ ก็รู้ว่ามากด้วยวิชาความรู้ และประสบการณ์ งานสื่อพลิกพลิ้วข้างผู้ชนะสร้างคุณูปการต่อสังคมประเทศชาติประจักษ์เสมอมา
       
       ยามไปไหน-มาไหนดุจพญามังกรคะนองเมฆ เงาหัวน่ะมี แต่เห็นหัวกลับไม่เห็นหาง และเงาหางก็มี แต่เห็นหางกลับมิอาจเห็นหัว
       
       ยามพลิ้วอักษรเป็นตัวหนังสือคุณภาพประเทศ ก็ดุจพญาอินทรี บินสูง มองไกล โฉบแม่น แต่ละที...“เหยื่อ” ไม่มีพลาด!
       
       และครั้งนี้เขานำรูปทักษิณลงปก พร้อมพาดตัวหนังสือว่า
       
       “บุรุษแห่งปี COMING SOON ไม่นานเกินรอ”!
       
       ผมก็มิอาจรั้งรอที่จะคลิกดู ก็โสมนัสกับเหตุผลที่เขายกย่องทักษิณเป็น “บุรุษแห่งปี ๒๕๕๔” ดังข้อความตอนหนึ่งที่ผู้ใช้นามว่า “สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร” เรียงร้อยรจนาไว้ดังนี้
       
       พลันที่ “มติชนสุดสัปดาห์” ฉบับส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นปก พร้อมถ้อยคำ “บุรุษแห่งปี” กลุ่มคนที่เกลียด “ทักษิณ” ก็ต้องย่อมรู้สึกในทาง “ร้าย” ว่า “มติชนสุดสัปดาห์” ให้ของขวัญ “ปีใหม่” ด้วยการโยน “หนอน” เข้ากลางดวงใจ เป็น “หนอนกลางดวงใจ” ที่ก่อให้เกิดความ “หงุดหงิด” “คับข้องใจ” และอยาก “โต้แย้ง” อย่างไม่ต้องสงสัย
       
       กระนั้น หากอ่านข้อความในบรรทัดต่อมา “COMING SOON/ไม่นานเกินรอ” ก็น่าจะคลายความ “หงุดหงิด” “คับข้องใจ” และอยาก “โต้แย้ง” ลงบ้าง และเข้าใจ “มติชนสุดสัปดาห์” ดียิ่งขึ้นว่าไม่ได้ “ใจร้าย” ด้วยการมุ่งทำลายจิตใจฝ่ายที่เกลียดทักษิณในห้วง “ปีใหม่” นี้แต่อย่างใดเพราะทั้งคำ COMING SOON และคำว่าไม่นานเกินรอ ที่สุดแล้วก็บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นเรื่อง “ของอนาคต”
       
       “อนาคต” ที่ยังมาไม่ถึง!
       
       พ.ต.ท.ทักษิณ ยังดำรงสถานะ “บุรุษแห่งปี” แห่งอนาคต เพียงแต่ต้องปลอบประโลมคนที่รัก พ.ต.ท.ทักษิณด้วยเช่นกัน จึงมีคำว่า “ไม่นานเกินรอ” พ่วงติดมาด้วย ด้วยเหตุนี้ ปกมติชนสุดสัปดาห์จึงสะท้อนภาวะ “ความเป็นจริง” ต่อสถานะ พ.ต.ท.ทักษิณ มากกว่า
       
       นั่นคือ ดูเหมือนจะก้าวเข้าใกล้ “ผู้ชนะ” (อีกครั้ง) แต่ก็เป็นเรื่องของ “อนาคต”
       
       “อนาคต” ที่ต้องคำนึงด้วยว่า มีความไม่แน่นอนแทรกซ้อนอยู่ตลอดเวลา
       
       ดังเช่นชัยชนะอันท่วมท้นของพรรคเพื่อไทย และนำมาสู่การได้นายกรัฐมนตรีที่ชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2554
       
       .................ฯลฯ.............
       
      เห็นมั้ย...สื่อคุณภาพประเทศเขาสะท้อนการเมืองว่าด้วยเรื่อง “สถานะทักษิณ” ว่า ดูเหมือนจะก้าวเข้าใกล้ผู้ชนะอีกครั้งเช่นนี้ แค่ก้าวใกล้อันเป็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ก็ยังยกเป็น “บุรุษแห่งปี”
       
       แต่ถ้า “ก้าวเหยียบ” อันเป็นปัจจุบันที่มาถึงแล้ววันไหน หนังสือพิมพ์คุณภาพประเทศคงมิรั้งรอที่จะพาดปก “ทักษิณ มหาบุรุษแห่งศตวรรษ” โดยพลันหรือ!?

      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #654 เมื่อ: 04 มกราคม 2555, 20:20:12 »


       
      “คำนูณ” ซัดร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ปล้น “คลังหลวง-ธปท.-ธ.พาณิชย์” เปิดช่อง ครม.จุ้น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    

      
ส.ว.สรรหา เปรียบร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ที่ ครม.ถูกตีกลับ “3 ปล้น 1 กดหัว” ชี้ เอาเงินเหลือจากบัญชีผลประโยชน์ไปใช้ ไม่ต้องส่งคลังหลวงตาม พ.ร.บ.เงินตรา ถือว่าผิดวัตถุประสงค์ บังคับแบงก์ชาติใช้หนี้ที่บังคับโอนมา แถมกดหัวให้อยู่ใต้อาณัติ ครม.ธนาคารพาณิชย์โดนด้วย ต้องส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ แล้วใช้เงินกองทุนคุ้มครองเงินฝากแทน
       
       วันนี้ (4 ม.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้เขียนข้อความในเว็บไซต์เฟซบุ๊กส่วนตัว คำนูณ สิทธิสมาน (Kamnoon Sidhisamarn)กรณีที่เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ เปิดเผยร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. .....ที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ นำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ แต่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติให้ไปทบทวนใหม่
       
       โดย นายคำนูณ เขียนว่า “ถ้าร่าง พ.ร.ก.ซุกหนี้ที่ไม่ผ่าน ครม.วันนี้เป็นไปตามนี้จริง ถือว่าคนเขียนไร้หิริโอตัปปะ และเหี้ยมมาก เป็น “3 ปล้น 1 กดหัว” : ปล้นที่ 1 ปล้นคลังหลวง (บัญชีทุนสำรองพิเศษ) โดยมาตรา 7(2) กำหนดให้นำเงินที่เหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีไปใช้หนี้ที่บังคับโอนมาเลย ไม่ต้องส่งไปคลังหลวงตาม พ.ร.บ.เงินตรา อันจะทำให้คลังหลวงไม่มีโอกาสจะมีเงินเพิ่มอีกเลย ผิดวัตถุประสงค์ของบุรพกษัตริย์และบรรพชน รวมทั้งหลวงตาที่จะให้คลังหลวงมีแต่เพิ่ม ไม่มีลด เพื่อไว้ใช้ในยามวิกฤตจริงๆ เท่านั้น
       
       ปล้นที่ 2 ปล้นแบงก์ชาติ โดยมาตรา 7(1) กำหนดให้ร้อยละ 90 ของผลกำไรของแบงก์ชาติต้องไปใช้หนี้ที่บังคับโอนมา, ปล้นที่ 3 ปล้นธนาคารพาณิชย์ในลักษณะลงโทษแบบเหมารวม โดยมาตรา 8-9-10 กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องส่งเงินเข้ากองทุน และนำเงินจากกองทุนสถาบันคุ้มครองเงินฝากมาใช้ ; ส่วน 1 กดหัว คือ กดหัวแบงก์ชาติให้อยู่ใต้อาณัติ ครม.ผิดวิสัยของธนาคารกลางที่มีมาตรฐาน โดยมาตรา 7(3) เปิดกว้างให้ ครม.สามารถกำหนดให้แบงก์ชาติโอนทรัพย์สินใดไปใช้หนี้ก็ได้ : มิน่า ครม.ถึงยังไม่อาจมีมติได้ในวันนี้ !”
       
       สำหรับร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. .....ที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ นำเสนอนั้น เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานว่า ประเด็นหลักอยู่ที่ มาตรา 7 ที่กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องรับผิดชอบชำระหนี้ทั้งหมด และยังเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลดึงเงินทุนสำรองมาใช้
       
       แหล่งข่าวระบุว่า ในมาตรา 4 ของร่าง พ.ร.ก.นี้ กำหนดให้กองทุนมีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนต้นเงินกู้และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ ได้แก่ หนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลัง กู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ 2541 ที่ยังคงมีอยู่ และหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 2 พ.ศ 2545 ที่ยังคงมีอยู่ ยอดหนี้ทั้ง 2 ก้อนนี้ มียอดรวมกันประมาณ 1.14 ล้านล้านบาท
       
       ต่อมาในมาตราที่ 5 บัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนเงินต้นกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจัดตั้งโดย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 2 พ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ตามมาตรา 4 และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดจากหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยกำหนดให้เงินหรือสินทรัพย์ตามมาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 11 และดอกผลของเงินหรือสินทรัพย์ ให้นำส่งเข้าหรือรับขึ้นบัญชีสะสมดังกล่าว
       
       ทั้งนี้ ในมาตรา 7 กำหนดว่า ในระหว่างการชำระหนี้ต้นเงินกู้นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยมีพันธะต้องดำเนินการ 3 ประการ ได้แก่ (1) ในแต่ละปีให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งเงินกำไรสุทธิเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เข้าบัญชีตามมาตรา 5 (2) ให้โอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามกฎหมายว่าด้วยเงินตราหลังจากการจ่ายเมื่อสิ้นปีเข้าบัญชีตามมาตรา 5 โดยไม่ต้องเข้าบัญชีสำรองพิเศษ (3) ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
       
       ขณะที่ มาตรา 8 ให้สถาบันการเงินนำส่งเงินให้แก่กองทุนตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมอัตราดังกล่าวกับอัตราที่กำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก
       
       มาตรา 9 สถาบันการเงินใดไม่นำส่งเงินตามาตรา 8 หรือนำส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
       
       ในกรณีที่สถาบันการเงินใดไม่นำส่งเงินตามมาตรา 8 หรือนำส่งไม่ครบและไม่เสียเงินเพิ่ม ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้สถาบันการเงินนั้นชำระเงินดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด
       
       มาตรา 11 ให้กระทรวงการคลังโอนเงินของกองทุนเพื่อการชำระคืนเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในกระทรวงการคลัง ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2541 เข้าบัญชีตามมาตรา 5
       
       เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยุบเลิกกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจัดตั้งโดย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2541
       
       และมาตรา 13 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ปัจจุบันคือ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) รักษาการตาม พ.ร.ก.นี้

   
       
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #655 เมื่อ: 05 มกราคม 2555, 19:46:37 »

“ดร.เสรี” โต้กรณีก้านธูปเป็นเรื่อง “ทำผิด กม.” ไม่ใช่ “ล่าแม่มด”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
   
รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักพูดชื่อดัง และอดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นผ่านไทยรัฐออนไลน์กรณีที่ผู้ใช้นามแฝงว่า “ก้านธูป” ถูกออกหมายเรียกคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

      
อดีตคณบดีวารสารฯ มธ.เผย “ก้านธูป” เข้าศึกษาที่ธรรมศาสตร์ ถือเป็นเสรีภาพบุคคล ผิดอะไรให้กฎหมายจัดการ เชื่อ แม้เปลี่ยนชื่อทำให้คนจำไม่ได้ แต่ถ้ามีคนจำได้ก็ถูกกดดันจากสังคม สุดท้ายต้องอยู่ไม่ได้ โต้คนละกรณีกับล่าแม่มดในอดีต เพราะมีหลักฐานทำผิดจริง ถือว่าเป็นอาชญากร เชื่อ จะถูกหยิบเป็นกระแสเหมือน “คดีอากง” แต่สังคมส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย
       
       วันนี้ (5 ม.ค.) เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักพูดชื่อดัง และอดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นกรณีที่ผู้ใช้นามแฝงว่า “ก้านธูป” ในโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกหมายเรียกไปรายงานตัวที่ สน.บางเขน ในข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งบุคคลดังกล่าวก่อนที่จะเข้าศึกษาที่ ม.ธรรมศาสตร์ ก็ได้ถูกตัดสิทธิ์ที่จะเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยเหตุผลข้างต้น ว่า ในธรรมศาสตร์มักจะพูดถึงเรื่องอิสรภาพ ไม่มีเรื่องของการแบ่งแยก ถือเป็นเสรีภาพของบุคคล เพราะว่าถ้าหากมีความผิดอะไรต้องให้ส่วนของกฎหมายจัดการ ไม่มีการใช้การกดดันจากกลุ่มชนที่ไม่ใช่ข้อกฎหมาย
       
       ทั้งนี้ ทุกมหาวิทยาลัยจะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการยึดถือประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งข้อเท็จจริงต้องให้กฎหมายจัดการ ส่วนข้อเท็จจริงที่เข้าธรรมศาสตร์ได้ โดยไม่มีคนรู้ เพราะมีการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล จึงทำให้ไม่มีคนจำได้ แต่เมื่อเข้าไปแล้วบางคนก็อาจจะจำได้ว่า เป็นคนเดียวกับที่มีคดีความผิดมาตรา 112 นั้น ก็อาจจะมีบ้างที่ถูกกดดันจากสังคม สุดท้ายก็ต้องอยู่ไม่ได้ ถึงแม้ผู้ใหญ่ในมหาวิทยาลัยจะรับเข้าไป แต่ในขณะที่ตำรวจยังไม่ได้พิสูจน์ แต่สิ่งที่ทำในเฟซบุ๊กชัดเจนอย่างนี้ การต่อต้านจากประชาคมน่าจะเกิดขึ้น
       
       รศ.ดร.เสรี กล่าวว่า ก้านธูปไม่มีความสำนึกในประวัติศาสตร์ หากตนยังคงเป็นคณบดี และเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่ได้สอน ก็คงจะสอนไปเรื่อยๆ ไม่ได้ทำอะไร เรื่องนี้ต้องให้ทางกฎหมายจัดการ แต่ทางด้านประชาคมที่จะต่อต้าน ก็คงจะไม่ไปต่อต้านประชาคม ซึ่งเมื่อสามารถใช้เสรีภาพของเขาได้ เราก็ใช้เสรีภาพของเราได้เช่นกัน ซึ่งถ้าออกมาพิสูจน์แล้วว่ามีความผิดจริง ก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
       
       ส่วนที่มีบางฝ่ายมีความเป็นห่วงว่า กรณีของก้านธูปนั้น จะเป็นกรณีการล่าแม่มด ดร.เสรี กล่าวว่า การล่าแม่มดนำมาใช้กับก้านธูปไม่ได้ เพราะไม่ใช่แม่มด แต่คือ อาชญากร ซึ่งถ้ามีความผิดจริง ก็จะเป็นอาชญากร อย่างการล่าแม่มด คือ การกล่าวหาโดยไร้หลักฐาน ส่วนกรณีนี้เรียกว่า ล่าแม่มดไม่ได้ เพราะมีหลักฐานของการทำผิด ซึ่งกรณีนี้มีหลักฐานชัดเจนอยู่แล้ว จะเป็นกรณีเดียวกับแม่มดไม่ได้
       
       “สำหรับกลุ่มหนึ่งที่ออกมาปกป้อง อ้างว่า เหตุที่สังคมกดดัน เป็นเพราะว่าอิงมาจากกระแสล่าแม่มดนั้น ไม่มีกระแสล่าแม่มดใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ ณ เวลานี้ เราเห็นว่าคนที่ไม่มีสำนึกในประวัติศาสตร์ และพยายามที่จะทำให้สถาบันของเราอ่อนแอลงมีอยู่จริง เพราะฉะนั้น ถ้าเราต้องการที่จะให้มีคำว่า ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ดำรงอยู่ ย่อมไม่ยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้น” รศ.ดร.เสรี กล่าว
       
       ส่วนกรณีที่มีบางคนกล่าวว่า สื่อมวลชนทำหน้าที่ที่อคติในการแทรกแซงให้เกิดการกดดันนั้น รศ.ดร.เสรี กล่าวว่า สื่อมวลชนเพียงแค่รายงานว่า บุคคลนี้ทำอะไร ส่วนการกดดันนั้นขึ้นอยู่กับความรับรู้ข้อมูลข่าวสาร บวกกับการคิดวิเคราะห์ว่าจะชื่นชม จะยินดี หรือ จะรู้สึกรังเกียจ การที่สื่อมวลชนแทรกแซงให้เกิดความกดดันไม่ได้ นอกจากให้ข้อมูลเท่านั้น มีหน้าที่แค่รายงานข่าวว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวอาจจะนำไปสู่กระแสสังคม อย่างคดีอากง ที่เกิดขึ้นได้อีก หากถูกคนบางกลุ่มไปใช้ประโยชน์ แต่ว่ารอบนี้จะไม่เหมือนกับคดีอากง เพราะกระแสสังคมก็แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่เอาด้วยนั้นเป็นเสียส่วนใหญ่
       
      สำหรับกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ น.ส.ณัฐกานต์ (ขอสงวนนามสกุล) ได้มีการโพสต์ข้อความลงบนเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน โดยใช้นามแฝง “ก้านธูป” และเฟซบุ๊กของตัวเอง โดยมีเนื้อหาที่จาบจ้วงด้วยถ้อยคำเสียดสี หยาบคาย ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างรุนแรง ทำให้สังคมออนไลน์ได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงการกระทำดังกล่าวอย่างกว้างขวาง ระหว่างนั้น น.ส.ณัฐกานต์ ได้สอบผ่านและเข้าศึกษาต่อยังคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในโครงการพิเศษ สาขาเอเชียศึกษา แต่ภายหลังทางมหาวิทยาลัยตัดสิทธิ์การศึกษาไม่ให้เข้าเรียน เนื่องจากก็มีผู้ส่งข้อมูล และประวัติ เพื่อคัดค้านการรับเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก และเห็นว่า เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่มีปัญหา หากเข้ามาเรียนน่าจะเข้ากับนักศึกษาคนอื่นไม่ได้
       
       ต่อมา น.ส.ณัฐกานต์ สอบผ่านและมีสิทธิสอบสัมภาษณ์ เพื่อเข้าศึกษาต่อคณะสังคมศาสตร์ เอกรัฐศาสตร์ (ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ขณะนั้นกระแสต่อต้านในเฟซบุ๊กถึงการเข้าศึกษาต่อใน ม.เกษตรศาสตร์ เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้ไม่ได้ไปรายงานตัวตามกำหนด อย่างไรก็ตาม ภายหลัง น.ส.ณัฐกานต์ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ ซึ่งในปี 2554 ได้สอบผ่านและเข้าศึกษาในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมา นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่าผู้ใช้นามแฝงก้านธูป ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้รับหมายเรียกจาก สน.บางเขน ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 จากกรณีโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว กลางปี 2553 ภายหลังผู้ใช้นามแฝงก้านธูปได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อขอเลื่อนการเดินทางไปรายงานตัว ซึ่งได้รับอนุญาตจากทางเจ้าหน้าที่แล้ว เนื่องจากต้องเตรียมตัวสอบปลายภาค โดยกำหนดการเข้าให้ปากคำนั้นเลื่อนไปเป็นวันที่ 11 ก.พ.2555

      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #656 เมื่อ: 06 มกราคม 2555, 22:53:55 »


“ศิษย์หลวงตาบัว” ยันเคลื่อนไหวต้าน พ.ร.ก.โอนหนี้ฯ “คำนูณ” ชี้อันตรายยิ่งกว่าแก้ รธน.


วันที่ 5 ม.ค. เมื่อเวลา 20.30 น. คณะลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ประกอบด้วย พระครูอรรภกิจนันทคุณ (พระอาจารย์นพดล) พระครูนิรมิตวิยากร (พระอาจารย์วิทยา) พระครูวัชรธรรมาจารย์ (พระอาจารย์จิรวัฒน์) พระสรรวัต ปภัสสโร และนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้ร่วมพูดคุยในรายการ “คนเคาะข่าว” ทาง ASTV ถึงประเด็น “พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ”
       
       พระอาจารย์นพดลกล่าวว่า พบว่าการออก พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ..... เกี่ยวข้องกับคลังหลวง เลยจำเป็นต้องออกมาบอกให้สังคมจับตาดู เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายได้
       
       พระอาจารย์วิทยากล่าวว่า อยากให้ทบทวนพระราชกำหนดในมาตราที่จะกระทบต่อคลังหลวง เช่น มาตรา 7(2) และ 7(3) แม้ไม่มีผลตอนนี้ แต่อนาคตมันกระทบคลังหลวงแน่นอน แม้รัฐบาลไม่แตะโดยตรง แต่การบีบแบงก์ชาติให้มารับภาระหนี้สินทั้งหมดโดยที่แบงก์ชาติไม่ได้มีหน้าที่ตรงนี้ ก็จะมีเหตุให้กระทบเงินทุนสำรองได้ จึงอยากเตือนว่าถ้าจะออกเป็น พ.ร.ก.ให้หยุดไว้ก่อน
       
       พระอาจารย์วิทยากล่าวอีกว่า เห็นใจรัฐบาลต้องหาเงินกู้เงินมาเยียวยาน้ำท่วม แต่ไม่ควรอ้างน้ำท่วมมาเป็นเหตุกระทบคลังหลวง หากจริงใจต่อประเทศจริงควรหาวิธีเยียวยาประเทศด้วยวิธีที่ไม่กระทบต่อคลังหลวง พวกตนไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องการเงินแต่เชื่อในคำสั่งของหลวงตามหาบัว ว่าหากใครมาแตะต้องคลังหลวงถือว่าเป็นมหาโจร รัฐบาลปากบอกไม่แตะ เชื่อไม่ได้ เพราะวิธีการมันแตะ ถ้าไม่แตะจริงๆแนวทางที่ทำก็ต้องไม่ส่อแววด้วย พวกตนจึงออกมาเตือนประชาชนก่อนว่าอาจจะเกิดความเสียหายได้ ซึ่งหากรัฐบาลออก พ.ร.ก.นี้ ก็จำเป็นต้องเคลื่อนไหว ส่วนจะเคลื่อนไหวอย่างไรต้องรอดูว่ารัฐบาลจะเอาอย่างไร
       
       พระอาจารย์สรรวัตกล่าวว่า ใน พ.ร.ก.มาตรา 7(3) ให้มติ ครม.สามารถโอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศ หรือกองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปใช้หนี้ได้ ซึ่งอันนี้อันตราย เพราะจะมีรัฐบาลชุดไหนบ้างที่มีคุณธรรมพอ ในเมื่อกฎหมายเปิดกว้างมาก อาจเกิดปัญหาต่อระบบการบริหารการเงินของประเทศ จะเกิดปัญหาอย่างใหญ่หลวง ถ้าออก พ.ร.ก.นี้สำเร็จอาจมีผลกระทบต่อเครดิตของประเทศ ตรงนี้ประเทศจะมีแต่จนลง ขอให้ทบทวนใหม่ได้หรือไม่ แต่ถ้าไม่มีทางออกจริงๆ ก็ควรเปิดให้มีประชาพิจารณ์
       
      นายคำนูณกล่าวขยายความว่า ประเด็นนี้เคยมีมติ ครม.ออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่ช่วงเทศกาลปีใหม่ ผู้คนไม่สนใจนัก เขามีแนวโน้มที่จะออก พ.ร.ก.มา 4 ฉบับ แนวทางการแก้ปัญหาก็คือ 1. ออกกฎหมายให้แบงก์ชาติออกซอฟท์โลน 3 แสนล้านบาท 2. ออก พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ตั้งกองทุนเพื่ออนาคต 3.ออกกฎหมายตั้งกองทุนประกัน 5 หมื่นล้านบาท 4.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯให้กับแบงก์ชาติ ซึ่งแบงก์ชาติไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล (ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย) ก็ออกมาแถลงข่าวคัดค้าน จากนั้นก็มีการหารือเมื่อ 30 ธ.ค. ระหว่างแบงก์ชาติ กระทรวงการคลัง สรุปออกมาว่าจะทำอย่างไรก็แล้วแต่การโอนหนี้จะทำอยู่ภายใต้ 3 กรอบ ก็คือ 1. ต้องไม่เป็นทางให้แบงก์ชาติพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม 2. ต้องไม่กระทบทุนสำรองระหว่างประเทศ เข้าใจว่าสองข้อนี้เป็นเงื่อนไขของผู้ว่าแบงก์ชาติ ส่วนข้อ 3. ต้องไม่กระทบงบประมาณ อันนี้เป็นข้อเสนอของรองนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง หรือรัฐบาล
       
       หลังจากปีใหม่ ร่าง พ.ร.ก.นี้ก็เข้าสู่ ครม. โดยนายกิตติรัตน์ไปแถลงที่ตลาดหลักทรัพย์ ยืนยันว่าเป็นมติ ครม.อนุมัติในหลักการแล้ว และให้กฤษฎีกาไปดูในรายละเอียด จากนั้นให้ดำเนินการได้เลย ไม่ต้องเอาตัวร่างกลับเข้า ครม.อีกครั้ง ถ้าเป็นตามนี้ รองนายกฯ ก็ไม่ควรอยู่เป็นรองนายกฯ อีกต่อไป เรื่องสำคัญแบบนี้รัฐบาลทำลับๆ ล่อๆ ได้อย่างไร
       
       นายคำนูณกล่าวต่อว่า รัฐบาลชุดนี้พยายามเอาเงินคลังหลวงมาใช้ตั้งแต่ขึ้นบริหารประเทศใหม่ๆแต่ก็ถูกคัดค้านจนล้มแผนไป พอเกิดน้ำท่วมเรื่องนี้ก็มาอีกแล้ว ในนามของการแก้ปัญหาน้ำท่วม ที่เขาตั้ง กยน. (กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำ) และกยอ. (คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ) นี่คือการปรับคณะรัฐมนตรีทางประตูหลัง ไม่ใช่ตั้งขึ้นแก้น้ำท่วมเพียงอย่างเดียว แต่ผนวกการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปด้วย
       

       ทีนี้ถ้ารัฐบาลจะเอาแต่ พ.ร.ก.กู้เงิน ให้แบงก์ชาติออกซอฟต์โลน 3 แสนล้าน หรือตั้งกองทุนประกัน 5 หมื่นล้าน ตนก็ไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะคัดค้าน
       
       “แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องจับตา คือ ไปเอาเรื่องโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท เข้ามาผนวกเป็นชุด พ.ร.ก. ซึ่งมันเป็นปัญหาของประเทศจริง แต่ถามว่าเร่งด่วนจนต้องเป็น พ.ร.ก.หรือไม่ ไม่ใช่ เพราะถ้าจะแก้ปัญหาจริง ต้องตกลงพร้อมใจกันระหว่างกระทรวงการคลัง แบงก์ชาติ รัฐบาล และคณะศิษย์หลวงตามหาบัว
       
       แต่ทีนี้กลับเอาเรื่อง 2 เรื่องมาผนวกกัน ตอบได้อย่างเดียวคือ เขาต้องการปลดภาระหนี้ 1.14 ล้านล้านบาทออกไปจากรัฐบาล ออกไปจากกระทรวงการคลัง คิดในเชิงง่ายที่สุด กระทรวงการคลังไม่ต้องตั้งงบประมาณจ่ายดอกเบี้ยปีละประมาณ 4.5-5 หมื่นล้าน แต่คิดอีกทางหนึ่ง จริงๆแล้วต้องการจะเสกหนี้จำนวนนี้ให้พ้นจากความเป็นหนี้สาธารณะ เพื่อจะได้กู้ได้เท่าจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท
       
       ต้องบอกว่าเพดานหนี้สาธารณะของไทยยังไม่เต็มเพดาน จริงๆถ้าจะกู้แก้น้ำท่วมสามารถกู้ได้อีก 5-6 แสนล้าน ทีนี้เข้าใจว่าผู้ประสงค์จะออกนโยบายเช่นนี้ มีวาระซ่อนเร้นที่ต้องการใช้สถานการณ์น้ำ ที่ผู้คนกำลังเดือดร้อน ผ่านการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ออกไป เพื่อเสกหนี้ตัวนี้ไปซุกไว้ที่แบงก์ชาติ จึงขอเรียกมันว่า พ.ร.ก.ซุกหนี้ มันก็เป็นหนี้ของประเทศนั่นแหละ ซุกที่ไหนก็เป็นหนี้ประเทศ แต่มันมีนัยยะการนิยามว่าเป็นหนี้สาธารณะหรือไม่ นี่ยังถกเถียงกัน แต่อย่างเบาที่สุดคลังจะหมดภาระปีละ 5 หมื่นล้านบาท เพื่อจะได้ไปกู้หนี้ยืมสินใหม่มาได้ อันนี้คือความสำคัญ” นายคำนูณกล่าว
       
       นายคำนูณกล่าวอีกว่า ดูร่าง พ.ร.ก.แล้ว พูดได้สั้นๆ ว่า 3 ปล้น 1 ทำลาย
       
       1. ปล้นธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรา 7(1) กำหนดให้ 90 เปอร์เซ็นต์ของเงินกำไรของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องไปใช้หนี้ ซึ่งมาตรา 7(3) อันตรายที่สุด คือกำหนดให้มติครม.สามารถโอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศ หรือกองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปใช้หนี้ได้ สินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูฯไม่เป็นไร แต่ของธนาคารแห่งประเทศไทยนี้ อย่าประมาทเพราะก็คือเงินตราต่างประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศ อาจไม่ใช่คลังหลวง แต่เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศในส่วนของการธนาคาร
       
       2. ปล้นคลังหลวง มาตรา 7(2) ระบุไว้ว่า ให้โอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามกฎหมายว่าด้วยเงินตราหลังจากการจ่ายเมื่อสิ้นปี เข้าบัญชีตามมาตรา 5 โดยไม่ต้องโอนเข้าบัญชีสำรองพิเศษ บัญชีสำรองพิเศษก็คือคลังหลวง บัญชีผลประโยชน์ประจำปีโดยปกติตามกฎหมายเงินตรา ให้เข้าคลังหลวง แต่มี พ.ร.ก.ปี 45 ให้เงินที่เหลือจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีมาใช้หนี้เงินต้นกองทุนฟื้นฟูฯ แต่ พ.ร.ก.นี้แก้ไข ให้ส่วนที่เหลือจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีมาใช้หนี้ทั้งเงินต้นและทั้งดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯ
       
       แต่ในทางปฏิบัติ แบงก์ชาติใช้หนี้ไม่ได้มา 2 ปีแล้ว เพราะกฎหมายเงินตราออกแบบมาให้คลังหลวงมีแต่ได้ไม่มีจ่ายออก ช่วงที่ค่าบาทแข็ง 2 ปี บัญชีผลประโยชน์ประจำปีเมื่อตีค่าทรัพย์สินแล้วไม่เหลือไปชำระหนี้ได้เลย ด้านบัญชีสำรองพิเศษ (คลังหลวง) ก็มีแต่เงินไหลเข้า เป็นการที่บรรพชนออกกฎหมายเงินตราเพื่อให้ใช้เงินก้อนนี้เมื่อวิกฤติสุดๆจริงๆ เท่านั้น การที่มีมาตรา 7(2) นี้ แม้ว่านายกิตติรัตน์บอกว่าไม่แตะทุนสำรอง ไม่แก้ไขกฎหมายเงินตรา แต่แทงแบงก์ชาติให้ไปแก้กฎหมายเงินตรา อันนี้เป็นการปล้นคลังหลวงทางอ้อม
       
       3. อันนี้เป็นการปล้นที่อันตราย เป็นการปล้นประชาชนและภาคธุรกิจ ผู้ฝากและผู้กู้เงินจากสถาบันการเงิน รัฐบาลไม่อยากยุ่งกับศิษย์หลวงตามหาบัว และผู้ว่าแบงก์ชาติก็ปกป้องเต็มที่ ในการหารือก็เลยจะไปเก็บเงินค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนเพิ่มจากสถาบันการเงิน ปกติสถาบันการเงินต้องส่งเงินเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝาก 0.4 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินฝากที่ต้องคุ้มครอง แต่เมื่อออกมาตรา 8 เขาให้เก็บเงินสถาบันการเงินเข้ากองทุนฯ โดยเมื่อรวมกับที่สถาบันการเงินจะต้องจ่ายเข้ากองทุนฯแล้วไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์
       
       ที่บอกว่า ปล้นประชาชน และภาคธุรกิจ เพราะมีหรือที่สถาบันการเงินจะรับความเสียหายไว้กับตัวเอง เขาก็จะมาปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เงินฝาก
       
      ที่สำคัญที่สุด คือ หนึ่งทำลาย คือ ทำลายระบบธนาคารกลาง ออกแบบให้ทำหน้าที่ของธนาคารกลาง ก็คือเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน และเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงิน หน้าที่ไม่ใช่เพื่อทำตามคำสั่งรัฐบาล ชำระหนี้แทนรัฐบาล ไม่ใช่แก้ปัญหาเศรษฐกิจ
       
       แต่นี่รัฐบาลกำลังใช้วิธีข่มขืนบังคับขืนใจให้ธนาคารกลางต้องทำ จึงเห็นว่าอันตรายร้ายแรงอย่างใหญ่หลวง เพราะถ้าธนาคารกลางถูกรัฐบาลบังคับให้ทำอะไรก็ได้ ต่างชาติจะเชื่อถือหรือ ธนาคารกลางอ่อนแอลง ระบบเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรในอนาคต
       

       ยกตัวอย่างง่ายๆ ธนาคารกลางมีหน้าที่กำหนดอัตราดอกเบี้ย ในเมื่อธนาคารกลางเองต้องจ่ายดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯ คิดว่าเขาจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อให้ตัวเองจ่ายเพิ่มขึ้นหรือ สำหรับตนเรื่องนี้อันตรายกว่าแก้รัฐธรรมนูญอีก
       
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #657 เมื่อ: 07 มกราคม 2555, 08:59:00 »

"หม่อมอุ๋ย"หวั่น พ.ร.ก.โอนหนี้จุดชนวน เชื่อกฤษฎีกาไม่ผ่านให้แน่

มติชนออนไลน์
   

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวผ่านรายการอินไซด์ไทยแลนด์ คลื่น 97 เมกะเฮิร์ตซ์ ว่า ตนเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.ก.เพื่อมาบริหารจัดการหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และเนื้อหาโดยร่วมในร่างก็ไม่ได้มีปัญหามาก แต่ที่น่าห่วงและเห็นว่าอันตรายคือ มาตรา 7(3) ทั้งนี้ ร่างมาตรา 7 กำหนดว่า ในระหว่างการชำระหนี้ต้นเงินกู้นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยมีพันธะต้องดำเนินการ 3 ประการ ได้แก่ (1) ในแต่ละปีให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งเงินกำไรสุทธิเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เข้าบัญชีตามมาตรา 5 (2)ให้โอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามกฎหมายว่าด้วยเงินตราหลังจากการจ่ายเมื่อสิ้นปีเข้าบัญชีตามมาตรา 5 โดยไม่ต้องเข้าบัญชีสำรองพิเศษ (3)ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด


"มาตรา 7 วงเล็บ 3 นั้น เป็นการเขียนปลายเปิด ร่าง พ.ร.ก.เขาบอกว่าโอนหนี้ไว้ว่า ให้โอนเงิน หรือสินทรัพย์ของ ธปท. หรือของกองทุนเข้าบัญชีเพื่อไปชำระหนี้ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนด พอเขียนข้อนี้ขึ้นมาเท่ากับภาษาธนาคารเรียกตีเช็คเปล่าให้กรอกตัวเลขเอง (blank cheque) เขียนให้มาเถียงกันทำไมผมก็ไม่รู้ ในเมื่อเงินจากส่วนอื่นๆ น่าจะพอแล้ว แต่พอเขียนอันนี้แปลว่าอยู่ดีๆ ก็ให้ ครม. ซึ่งเกิดคิดประหลาด บอกฉันจะจ่ายหนี้ใน 3 ปีนี้ ก็แปลว่าสามารถสั่งให้แบงก์ชาติไทยโอนเงิน หรือทรัพย์สินที่มีอยู่ไปใช้หนี้หมดเลยก็ได้ ตรงนี้เป็นตัวที่เขียนขึ้นมาแล้วทะเลาะกันเปล่าๆ ซึ่งสมัยก่อนอาจจะได้ แต่สมัยนี้เขียนเผื่อๆ อย่างนี้อันตราย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว


ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวเสริมว่า การเขียนกฎหมายแบบปลายเปิดเช่นนี้ เมื่อส่งไปที่กฤษฎีกา คงไม่ผ่าน คือกฎหมายที่เปิดโอกาสอย่างไม่จำกัดจำนวนอันตราย กฎหมายทุกกฎหมายที่ดีเวลาจะให้อะไรต้องมีเงื่อนไข มีขอบเขต ต้องมีกรอบ ต้องชัดเจน แต่นี่เปิดโอกาสไม่จำกัดจำนวน
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #658 เมื่อ: 07 มกราคม 2555, 09:16:17 »

ภูมิใจไทย-เพื่อไทย เส้นขนานที่บรรจบได้ ตัวแปรปลดล็อกทักษิณ

   posttoday.com
โดย...ทีมข่าวการเมือง

สึนามิของเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยที่ชนะเลือกตั้งถล่มทลาย จนถึงวันนี้ผ่านไป 5 เดือน ผ่านวิกฤตน้ำท่วมมาได้ ช่วยเสริมให้เพื่อไทย และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีภูมิต้านทานแข็งแกร่งขึ้น จนคนการเมืองไม่ว่าขั้วรัฐบาล และฝ่ายค้าน มองว่า เพื่อไทยเป็นรัฐบาลต่อได้อีกสมัยสบายๆ ถ้าไม่สะดุดขาตัวเองไปก่อน

กระแสความแรงทั้ง “มวลชน-พลังต่อสู้-อำนาจรัฐ-ทุน” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เล่นเอากลุ่ม ก๊กในพรรคฝ่ายค้านอยากเข้าร่วมรัฐบาลเพื่อไทยจนนั่งเก้าอี้ไม่ติด เพราะ ไม่อยากอดตาย ที่ต้องเป็นฝ่ายค้านปากแห้งไม่มีอนาคต

นอกจาก พรรคมาตุภูมิ ที่มี 2 เสียงของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้นำรัฐประหารโค่น พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ประกาศว่าขอเป็นกลาง ไม่เป็นฝ่ายค้าน แต่เอียงมาทางเพื่อไทย เช่นเดียวกับ พรรครักษ์สันติ หนึ่งเดียวของ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ก็อยู่ตรงกลาง ส่วน พรรครักประเทศไทย ของ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ แม้จะอยู่ฝ่ายค้าน แต่ก็เล่นดนตรีจังหวะเดียวกับรัฐบาลก๊กรองนายกฯ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง

น้องใหม่ล่าสุดที่ประกาศตัวทอดสะพานไปยังฝั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ คือ สมศักดิ์ เทพสุทิน ก๊กเรียงหิน ในพรรคภูมิใจไทย ที่เป็นฝ่ายค้านอยู่ โดยเปิดใจเมื่อต้นปี 2555 พร้อมเข้าร่วมรัฐบาล แต่ต้องไปยกพรรค ไม่ไปแบบกลุ่มงูเห่าครึ่งซีก


คำพูดของ สมศักดิ์ แน่นอนอาจไม่ได้สะท้อนจุดยืนของภูมิใจไทยทั้งพรรค ที่อยู่ภายใต้การคุมทีมของ “เนวิน ชิดชอบ-อนุทิน ชาญวีรกูล” แต่ก็เป็นกลิ่นอายของภูมิใจไทยที่มีข่าวมาตลอดว่า พร้อมคืนดีร่วมงานกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในอนาคต

สำหรับ สมศักดิ์ ยังติดโทษแบน 5 ปี เพราะเป็นสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ไทยรักไทยเดิม แต่จะกลับมาเป็นอิสระในเดือน พ.ค.นี้ พร้อมกับ เนวินอนุทิน “สรอรรถ กลิ่นประทุม” “สุชาติ ตันเจริญ” ก๊วน 111 ในภูมิใจไทยด้วยกัน

การเมืองหลังเดือน พ.ค. 2555 คาดว่าจะเข้มข้นทั้งในปีกของเพื่อไทย พรรคร่วม และภูมิใจไทย เพราะ “111 ตัวจริง” จะกลับมาผงาดเป็นรัฐมนตรี เปิดหน้าเล่นได้เต็มตัว

สาเหตุหลักที่คนการเมืองต่างให้ราคาเพื่อไทย เพราะ จุดแข็งมากมาย ที่เกื้อหนุนให้เครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ เข้มแข็ง คือ เสียงสนับสนุน 15 ล้านคน ที่นั่งในสภา 256 เสียงถล่มทลายเกินกึ่งหนึ่ง ทิ้งขาดพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้อันดับ 2 ไม่เห็นฝุ่น อำนาจรัฐที่ถือครองอยู่ อำนาจเงินมหาศาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ นโยบายประชานิยมครองใจคนชั้นล่าง และบุคลากรชั้นนำในพรรคทั้งทีมเอบีซี

แม้ว่าฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ประเมินว่ารัฐบาลเพื่อไทยจะอยู่ไม่นาน จากปัจจัยเสี่ยงทั้งการเร่งแก้รัฐธรรมนูญ วิกฤตหนี้โลกตะวันตก การนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ การแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหมที่ไปแตะกองทัพ การไร้ความสามารถของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่เชื่อว่า “เอา (ปัญหา) ไม่อยู่”

และเห็นตัวอย่างจาก 2 รัฐบาลชุด สมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่อยู่ได้แค่ขวบปีทั้งที่รัฐบาลสมัครชนะเลือกตั้งหลังยุค คมช. โดยทั้งสองรัฐบาลนอมินีถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินจนสิ้นอำนาจ จากคดีคุณสมบัติของนายกฯ สมัคร ที่รับงานเป็นลูกจ้างพิธีกรชิมไปบ่นไป และคดียุบพรรคพลังประชาชน ก่อนการเมืองเปลี่ยนขั้วเป็นรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่อยู่ได้ 2 ปีกว่าจนยุบสภา แต่ไม่สามารถกลับมาได้เพราะแพ้เลือกตั้งราบคาบให้พรรค พ.ต.ท.ทักษิณ ในชื่อ “เพื่อไทย”

แต่ความเสี่ยงทั้งหมดไม่ได้มาจากปัจจัยภายนอก อยู่ที่พรรคเพื่อไทยเองว่าจะเดินแต้มประมาทหรือไม่

เสียงในสภา รัฐบาล ฝ่ายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ประกอบด้วย 6 พรรค 300 ที่นั่ง ส่วนฝ่ายค้านแท้ๆ มีประมาณ 190 ต้นๆ ที่เหลือไม่เกิน 10 ไม่ร่วมฝ่ายใด

อย่างที่กล่าวมา พรรคฝ่ายค้านชุดนี้ต่างอยากร่วมรัฐบาลกับเพื่อไทย แต่เสียงของรัฐบาลมากเกินพอแล้ว จึงเข้าร่วมไม่ได้ แต่พร้อมเป็นอะไหล่ให้เพื่อไทย หากมีการปรับ ครม. เอาพรรคใดพรรคหนึ่งออก เล็งกันว่า ที่เป็นไปได้มากสุดคือ พรรคชาติไทยพัฒนา จากปัญหาการแก้น้ำท่วมที่พรรคเพื่อไทยอยากได้เก้าอี้ รมว.เกษตรและสหกรณ์ คืน แต่ “บิ๊กเติ้ง” ไม่ยอม

แต่ปัจจัยความขัดแย้งยังไม่สุกงอมพอที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทิ้งมิตรรัก บรรหาร ศิลปอาชา ที่เชิญเข้าร่วมรัฐบาลเป็นพรรคแรก ก๊วนพรรคภูมิใจไทยจึงอาจต้องฝันค้างไปก่อน


อย่างไรก็ตาม ในพรรคภูมิใจไทยด้วยจำนวน 34 เสียง ที่ดูเป็นเอกภาพอยู่ในโอวาท “เนวิน” ถึงจะดูนิ่งสงบ ทำหน้าที่ฝ่ายค้านไม่วอกแวก แต่ก็เล่น “บทสองหน้า” เป็นทั้งฝ่ายค้านและพร้อมเข้าร่วมเปิดทางกับเพื่อไทย

วงในภูมิใจไทยวิเคราะห์ว่า วันนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น ผ่านการทำลายมาหลายครั้ง ทั้งถูกยึดอำนาจ ยุบพรรค แต่ยิ่งตีก็ยิ่งโตจนน่ากลัว เกิดหน่อเนื้อเสื้อแดงต่อสู้ทางอุดมการณ์หลายเผ่าพันธุ์ เค้กก้อนใหญ่ที่ภาคอีสาน ก็ยากที่พรรคใดจะเจาะเพื่อไทยอยู่

ทว่าจุดเปลี่ยนการเมือง ที่จะกระเทือนทั้งระบบ ก็คือ การปรองดอง และสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของอำนาจสูงสุดที่ทุกฝ่ายจับตาว่าอาจเอื้อให้เกิดการล้างกระดาน หรือคืนดีกันทุกฝ่ายในอนาคต ไม่ว่าในรูปแบบของ พ.ร.บ.ปรองดอง การนิรโทษกรรม การอภัยโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ

แน่นอนในการทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ภูมิใจไทยอยู่ร่วมกับประชาธิปัตย์

แต่ในบทบาทการปรองดอง ภูมิใจไทยอยู่ร่วมกับเพื่อไทย และยืนคนละฟากกับประชาธิปัตย์

อย่าลืมว่าภูมิใจไทยเขี่ยลูกบอลปรองดอง ยื่นร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าสภาตั้งแต่ปีที่แล้ว ขณะที่พรรคเพื่อไทยต่อคิวเตรียมยื่น พ.ร.บ.นี้เข้าสภาในปีนี้ เพื่อให้กระบวนการปรองดองติดเครื่องในสภา

ปัญหาของภูมิใจไทยที่จะกลับมาร่วมทำงานกับเพื่อไทยในอนาคตติดอยู่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ-เนวินเสื้อแดง ที่ถูกแกนนำปลุกให้เกลียดเนวินเข้าไส้

แต่การเมืองไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร ทุกอย่างอยู่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ในภูมิใจไทยเองก็มี “ชวรัตน์-อนุทิน” สองพ่อลูก คนกันเองที่ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมเปิดดีลการเมืองได้ทุกเมื่อ

สำหรับเนวินพยายามโลว์โพรไฟล์การเมือง ไปเอาดีด้านบอลแทน จนประสบความสำเร็จ พาทีมบุรีรัมย์ พีอีเอ คว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก ฉลองชัยสร้างความปลาบปลื้มให้กับคนบุรีรัมย์

ขณะเดียวกัน เนวินกำลังฟื้นพลังในบุรีรัมย์กลับขึ้นมาอีกครั้งกับสนามเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดวันที่ 15 ม.ค.นี้ ที่เจ้าตัวส่ง กรุณา ชิดชอบ ภรรยาลงอีกครั้งหลังให้ลาออก หวังโชว์ชัยชนะได้รับเลือกกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ เพราะแค้นใจที่ถูกเพื่อไทยลูบคมเจาะไข่แดง สส.ในช่วงเลือกตั้ง

พร้อมกับข่าวแว่วว่า หลังปลดล็อก 111 เนวินจะลุยการเมืองเต็มตัว ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย

การเมืองปีนี้จะคึกคักมีจุดเปลี่ยนที่อาจคาดไม่ถึงหลายเรื่อง แต่การจะกลับมาร่วมงานกับ พ.ต.ท.ทักษิณ อาจไม่ใช่เวลาขณะนี้ แต่ก็ไม่ได้ปิดโอกาสตายเสียทีเดียว เมื่อโจทย์ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการปรองดอง

เพราะมือของภูมิใจไทยก็พร้อมที่จะสนับสนุน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม-ปรองดอง ปลดล็อกให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อถึงวันนั้นความแค้นแปรเปลี่ยนเป็นความร่วมมือรวมพลังกันอีกครั้ง...

 
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #659 เมื่อ: 08 มกราคม 2555, 23:23:00 »

เจาะใจ"สมคิด"อธิการบดีธรรมศาสตร์ ลบรธน. ม.309 ออกไปก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆกับทักษิณ


"ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์" อธิการบดีม.ธรรมศาสตร์ เป็นนักกฎหมายมหาชน จบจากฝรั่งเศส

 เคยเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทั้งปี 2540 และ ปี 2550เคยเป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรธน. ปี 2550

 วันหยุดสุดสัปดาห์ มติชนออนไลน์ ชวนสนทนากับมือร่างรัฐธรรมนูญในหลายประเด็นที่กำลังกลายเป็นวาระของสังคมไทยปี 2555

 Q นักวิชาการด้านกฎหมายมหาชนหลายคนบอกว่า รัฐธรรมนูญ ปี  2550 เป็นรธน.เผด็จการ ไม่เป็นประชาธิปไตย ในฐานะที่เป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญและเป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว จะอธิบายหรือโต้แย้งประเด็นนี้อย่างไร

 รธน.ปี 2550  มีที่มาจากสมัชชาแห่งชาติจาก 2,000 กว่าคน แล้วก็มาเลือกกันเองเหลือ 200 คน แล้วคมช. ก็มาเลือกให้เหลือ 100 คน ส่วนนี้เป็นจุดด่างเล็กน้อยของรธน. ที่คมช. เป็นคนเลือกสสร.2  แต่สิ่งหนึ่งที่ปฎิเสธไม่ได้คือ รธน. ปี 50 เป็นฉบับเดียวของไทยที่ผ่านการลงประชามติของประชาชนทั้งประเทศ อาจมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าประชามตินั้นมีการคดโกง มีการประกาศกฎอัยการศึกในช่วงลงประชามติ แต่ว่ามีประชาชนมาลงประชามติกว่า 30 ล้านคน ผมเองก็ยอมรับว่ามีข้ออ่อนอยู่บ้าง แต่การเลือกตั้งหรือลงคะแนนเสียงทุกครั้งของไทยก็มีข้ออ่อน อย่างการเลือกตั้งครั้งล่าสุดก็ไม่ได้สะอาด 100% ทุกคนก็พูดกันหมดว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงอย่างเห็นได้ชัด  แต่สังคมก็ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเป็นการเลือกตั้งที่ใช้ได้ ดังนั้นการลงประชามติรับรองรธน. ปี 2550 ก็เหมือนกัน แน่นอนว่ามีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  แต่ก็ผ่านประชามติมาและเป็นรธน.ที่ผมรับได้พอสมควรในเชิงกระบวนการการทำงานเพราะประชามติก็ล้มล้างคมช. ที่ตั้ง สสร. 2 ขึ้นมา

 

แม้มีนักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์ว่ารธน. ฉบับนี้ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ไปยุบพรรคการเมือง  ส.ว. ก็มาจากการสรรหา เหล่านี้ก็ต้องพูดกันเป็นประเด็น ๆ ไป สำหรับผมเองคิดว่ารธน. ทุกฉบับมีข้อดีข้อเสียทั้งสิ้น ไม่มีฉบับไหนหรอกที่ดีทั้งหมดโดยไม่มีข้อเสีย ให้ผมวิจารณ์รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ผมร่างเอง ผมก็วิจารณ์ได้ว่ามีข้อเสียอย่างไร ระบอบทักษิณนั้นถูกสร้างขึ้นมาจาก รธน. ปี 2540 เพราะเป็นการสร้างระบบเผด็จการรวบอำนาจในสภา แม้ว่าที่มาของส.ส. ส.ว.จะมาจากประชาชนแต่รัฐบาลก็ใช้อำนาจจากรธน. ปี 2540 เป็นไปในรูปของเผด็จการรัฐสภา ไม่มีกระบวนการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร เรียกได้ว่าตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลไม่ได้เลย จะถอดถอนแม้แต่รัฐมนตรีเป็นรายบุคคลก็ไม่ได้ จะอภิปรายไม่ไว้วางใจก็มีปัญหา  ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญทั้งหมดของเมืองไทยมีปัญหาทั้งสิ้น รัฐธรรมนูญปี 50 เองก็มีปัญหาอยากแก้ก็แก้ แต่อย่าโฆษณาชวนเชื่อให้คนเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2550 มันเลวร้ายมากนักเลยเพราะถ้ามันเลวมากคงอยู่ไม่ได้มาเกือบ 5 ปี

 
Q รธน. ปี2540 ทำให้เกิดระบอบทักษิณ รธน.ปี 2550 ก็ร่างขึ้นมาเพื่อกำจัดระบอบทักษิณแต่ก็ไม่สามารถกำจัดได้ สุดท้ายแล้วระบอบทักษิณก็ยังอยู่

 
สิ่งที่เราทำคือพยายามไม่ให้เกิดระบบเผด็จการที่ฝ่ายบริหารควบคุมทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งหลาย ซึ่งสิ่งที่รธน. ปี 2550 ก็บรรลุผลสำเร็จในระดับหนึ่งเพราะรัฐบาลปัจจุบันไม่สามารถควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการได้

  ในทางทฤษฎีคนที่คิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจขึ้นคือ มองเตสกิเออ (Montesquieu) นักคิดนักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศสเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยบอกว่าอำนาจอธิปไตยไม่ควรอยู่ในมือของใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมองเตสกิเออไม่ได้หมายถึงระบอบทักษิณนะ  แต่หมายถึงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์มีอำนาจอธิปไตยเพียงแต่พระองค์เดียว  สิ่งที่มองเตสกิเออเสนอก็คืออำนาจควรแบ่งเป็นสามทาง ทั้งสามอำนาจควรใช้โดยกลุ่มคนละกลุ่มกัน สามอำนาจนั้นต้องขาดกัน การใช้อำนาจทั้งสามฝ่ายต้องคานกันแล้วการใช้อำนาจนั้นต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน ไม่สามารถให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสั่งการอีกฝ่ายได้   ไม่ให้สามอำนาจเรียงกันอยู่ในแนวดิ่ง ปล่อยให้อำนาจหนึ่งอยู่เหนืออีกอำนาจเหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 เพราะรธน.ปีนั้นทำให้เกิดระบอบทักษิณที่ฝ่ายบริหารมีอำนาจเหนือการฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการและองค์กรอิสระตามรธน. ด้วยเหตุนี้รธน. ปี 2550 จึงดึงทั้งสามอำนาจกลับมาอยู่ในระนาบเดียวกันได้ เป็นการสร้างดุลยภาพในทางอำนาจทั้งสาม แล้วผมก็คิดว่าทำสำเร็จ ระบอบทักษิณไม่ได้หมายถึงคนชื่อทักษิณหรอกครับ  ถ้าทำลายแต่คนประเภททักษิณก็จะมีคนอื่น ๆ ตามขึ้นมาอีก ดังนั้นประชาธิปไตยที่ยั่งยืนคือ ประชาธิปไตยที่ทั้งสามอำนาจคานกันได้และนี่ก็คือจุดประสงค์หลักของรธน. ปี 2550


 

Q สสร.2 บางคนบอกว่า รธน. ปี 2550 เป็นรธน.ที่สร้างความปรองดองให้แก่สังคม แต่ที่ผ่านมาก็สังเกตได้ว่า ไม่ได้สร้างความปรองดองอย่างแท้จริง แนวคิดสีเสื้อก็ยังอยู่แล้วดูจะมีท่าทีรุนแรงขึ้น  แสดงว่ารธน. 50 ก็ไม่ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง

 

ความผิดพลาดไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ แล้วเราก็ไม่ได้คิดว่า คุณทักษิณจะไม่กลับมา เราไม่รู้หรอก เพราะเราไม่ได้มุ่งจัดการทักษิณเท่านั้น เรามุ่งวางระบบของประเทศ เพราะองค์กรทั้งหลายควรมีงานต่างกัน ย้ำอีกทีว่าไม่ได้จะจัดการกับตัวบุคคล แต่มุ่งจัดการระบอบทักษิณโดยการให้อำนาจทั้งสามคานกัน ซึ่งก็กำลังดูอยู่ว่ากำลังจะกลับไปสู่จุดเดิมหรือเปล่า ถ้าแก้รัฐธรรมนูญแล้วกลับไปสู่ยุคที่ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากกว่าฝ่ายอื่น ๆ รัฐบาลอาจถูกคัดค้านจากสังคมได้


 

Q เมื่อพูดถึงองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร มีนักวิชาการหลายคนบอกว่า องค์กรอิสระเหล่านี้ไม่ได้มาจากประชาชน แต่กลับมีอำนาจมากกว่าประชาชน โดยเฉพาะการทำลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มองประเด็นนี้อย่างไร
 
ระบบตุลาการก็ไม่ได้มาจากประชาชนแต่ทำไมศาลจึงสามารถพิพากษาประหารชีวิตได้ ทำไมก่อนศาลตัดสินคดีต่าง ๆ ที่ อดีตนายกฯ ทักษิณ เป็นจำเลย ท่านก็บอกว่าศาลสถิตยุติธรรม แต่พอศาลตัดสินไม่ตรงตามที่ท่านต้องการก็บอกศาลไม่สถิตยุติธรรมแล้ว(หัวเราะ) ตำรวจเองก็ไม่ได้มาจากประชาชนเช่นกัน ถ้าจะเอาแบบอเมริกาประชาชนก็ต้องเลือกอธิบดีกรมตำรวจ ถามว่าอะไรต้องมาจากประชาชนบ้างก็ต้องมาประชาพิจารณ์กันเยอะ องค์กรตามรัฐธรรมนูญเองก็มาจากประชาชนเพราะท้ายที่สุดกระบวนการเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระก็มาจากวุฒิสภาเป็นส่วนใหญ่


 

Q รัฐบาลเพื่อไทย นักวิชาการบางคนบอกว่า ที่มาของวุฒิสภาไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่เป็นประชาธิปไตย องค์กรอิสระตามรธน.จึงไม่ได้มาจากประชาชน

 

มีนักวิชาการวิจารณ์วุฒิสภาว่า มาจากแต่งตั้งผสมเลือกตั้ง 74:76 สำหรับผมไม่เรียกว่าแต่งตั้งเพราะทั้ง 74 คนนั้นมาจากการสรรหา มีกระบวนการเสร็จสิ้น มีคณะกรรมการสรรหา มีการเสนอชื่อโดยคน 3-4 กลุ่มด้วยกัน ไม่ใช่อยู่ดีก็ตั้งนาย ก. นาย ข. ขึ้นมา สำหรับระบบวุฒิสภา74:76 นั้นผู้ร่างก็ตั้งใจว่า ต้องการให้คนที่มาจากการเลือกตั้งมากกว่าการแต่งตั้ง ในอังกฤษวุฒิสภามาก็ไม่ได้มาจากการแต่งตั้ง 100% ไม่เห็นมีนักวิชาการคนไหนบอกว่าอังกฤษไม่เป็นประชาธิปไตย  แต่เมืองไทยระบบวุฒิสภา 74:76 กลับโดนว่าเป็นสภาเผด็จการ

 

วุฒิสภาของไทยในสมัยก่อนมีที่มา ดังนี้คือ ให้คน ๆ เดียวแต่งตั้งคือนายกรัฐมนตรี ปัญหาของที่มาส.ว.แบบนี้คือวุฒิสภาก็เหมือนตรายาง ใครตั้งเขา เขาก็ตอบแทนบุญคุณคนนั้น ระบอบนี้จึงล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ต่อมาเมื่อปี 2540  จึงไปหาระบบใหม่ ไปดูงานจากประเทศอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ก็เลยเอาระบบเลือกตั้งวุฒิสภาทั้งหมดมาใช้ แต่ผมขอย้ำว่า ถ้าย้อนดูประวัติศาสตร์ช่วงร่างรธน.ปี 2540 นักวิชาการที่จบมาจากประเทศอังกฤษ อเมริกา หรือฝรั่งเศสนั้นไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งวุฒิสภา 100% เพราะระบบเลือกตั้งไม่ได้ตอบโจทย์ทุกเรื่องในประเทศไทย การเลือกตั้งของไทยไม่เหมือนกับในต่างประเทศ ไม่ได้คนดีเหมือนอย่างเขา การเลือกตั้งในปี 2540 สองครั้งถูกพิสูจน์แล้วว่า ระบบการเลือกตั้งวุฒิสภาล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เลือกตั้งทั้งสองครั้งก็ไม่ถูกใจประชาชน ถ้าหากระบบวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งประสบความสำเร็จ รธน. ปี 2550 คงไม่เปลี่ยนที่มาของวุฒิสภา

 

 

Q แบบนี้ก็จะมีบางฝ่ายแย้งว่าไม่เคารพสิทธิเสรีภาพและอำนาจของประชาชนรึเปล่าครับ

 


ประชาชนไม่เลือกตั้งศาลถือว่าเคารพสิทธิของประชาชนหรือไม่ ไม่เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงเคารพสิทธิประชาชนไหม เรื่องเหล่านี้สามารถถกเถียงกันด้วยเหตุผลได้หมด มีหลายประเด็นที่จะต้องคิดว่า ทำไมประชาชนไม่เลือกตั้ง ผบ.ตร.หรือ ผบ.ทบ.โดยตรง หรือตำแหน่งข้าราชการอื่น ๆ ด้วย การเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบของทุกเรื่องครับ วุฒิสภาปี 2550 แม้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งก็ทำงานใช้ได้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์น้อยมากในเชิงผลงาน  ต้องกลับไปที่คำกล่าวของอับราฮัม ลินคอล์นที่ว่า ประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน เรื่องการปกครองของประชาชนนั้นไม่ต้องพูดถึง เรามาดูกันที่โดยประชาชน และเพื่อประชาชน รัฐธรรมนูญปี 2540 ส.ว. ถูกเลือกโดยประชาชน 100% แต่ถามว่าเพื่อประชาชนกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าให้คะแนนคนก็บอกว่าสอบตกเพราะว่าไม่ถึง 50% ต่อมาในปี 2550 ส.ว. มาจากเลือกตั้งและแต่งตั้ง 76:74 แม้ส.ว.จะมาโดยประชาชน 50:50 แต่ถามว่าทำเพื่อประชาชนกี่เปอร์เซ็นต์ โพลก็บอกว่าเกิน 50% ผลงานส.ว.ใช้ได้ ด้วยเหตุนี้ประชาธิปไตยไม่ใช้โดยประชาชนเท่านั้นครับ แต่ต้องเพื่อประชาชนด้วย ถ้าเราได้ ส.ส. ส.ว. เข้ามาแล้วเอาแต่โกงกิน ถามว่าเรียกประชาธิปไตยได้หรือเปล่า

 

 

Q แล้วจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า แม้ที่มาของ ส.ว. จะไม่ได้มาโดยประชาชนทั้งหมด แต่ก็ทำเพื่อประชาชนทั้งหมด

 

ไม่ยากครับ ก็ดูจากผลงาน การกระทำของเขาทุกๆ อย่าง สิ่งที่เขาพูด เจตนารมณ์ที่เขาทำ ดูว่าประชาชนได้อะไรจากที่เขาทำ ผมเชื่อว่าทุกคนดูได้หมด

 


Q การแก้รัฐธรรมนูญครั้งต่อไปคิดว่าจะต้องทำประชามติก่อนร่างหรือร่างไปก่อนแล้วค่อยทำประชามติ
 

ผมรู้สึกว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นมีหลายกระบวนการ ทุกกระบวนการใช้ได้ทั้งนั้น ผมสนใจเนื้อหามากกว่ากระบวนการ ผมหมายความว่ากระบวนการก็มีผลอยู่บ้าง แต่สิ่งที่ต้องพูดให้ชัดเจนคือเนื้อหา การแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ถ้าคุณเอาพวกของคุณเข้าไป การแก้เนื้อหาก็เป็นไปตามที่พวกคุณต้องการ รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองของประเทศ เราต้องทำรัฐธรรมนูญให้ดี เราจะทำรัฐธรรมนูญให้ดีได้ เราต้องเอาคนที่ไม่มีส่วนได้เสียมาทำรัฐธรรมนูญ

 

 

Q มองที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ รุ่นต่อไปอย่างไร แล้วถ้ามีหมายเชิญให้อาจารย์เป็นหนึ่งใน สสร. 3 อาจารย์จะร่วมหรือไม่

 

ผมไม่ได้คิดว่าที่มา สสร. 3 จะเป็นอย่างไร โดยส่วนตัวผมไม่ร่วมอยู่แล้ว ถ้าเชิญนายสมคิดก็ไม่ไป แต่ถ้าเชิญตามตำแหน่งอธิการบดี มธ. ผมก็คงต้องไปตามหน้าที่ จากการที่ร่างรัฐธรรมนูญมาสองฉบับผมก็คิดว่า ผมพอแล้ว  รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับก็ค่อนข้างมีชื่อเสียงโด่งดังของไทย  สำหรับผมแนะว่า ถ้ารัฐบาลจะแก้ 4-5 ประเด็นที่รัฐบาลพูดมานั้นไม่สามารถทำให้รัฐธรรมนูญดีขึ้นหรอก ที่มาของสสร. ผมก็ไม่ได้สนใจมาก เพราะรัฐบาลไหนมารัฐบาลนั้นก็คุมสสร. ในช่วงนั้น อย่างปี 2540 สสร.2 ก็ใกล้ชิดรัฐบาล ปี  2550 สสร.2 ก็ใกล้ชิดกับคมช. ซึ่งบางคนอาจจะไม่ใกล้ชิดก็ได้ต้องว่ากันเป็นรายบุคคล  เช่นเดียวกับปี 2555 สังคมก็พูดว่าใกล้ชิดทักษิณและทำเพื่อทักษิณ อันนี้เป็นเรื่องปกติ

 

 

Q สื่อหลายสำนัก นักวิชาการบางคนวิเคราะห์ว่า รัฐบาลจะแก้ มาตรา 309 ก่อน ตรงจุดก็ถูกมองว่าทำเพื่ออดีตนายกฯ ทักษิณหรือไม่
 

ผมไม่รู้ว่าเขาจะแก้มาตรานี้ยังไง และไม่รู้ว่าคนที่แนะนำให้แก้มาตรานี้จะเข้าใจที่มาของมาตรานี้หรือไม่ รัฐธรรมนูญมีบทหลักกับบทเฉพาะกาล มาตรานี้เป็นเพียงบทเฉพาะกาลคือใช้ชั่วคราว


 

Q แก้มาตรานี้ จะเป็นประโยชน์กับอดีตนายกฯ ทักษิณ  จริงหรือ

 

ไม่ได้ครับ เพราะจบไปแล้ว เสร็จสิ้นแล้ว ไม่มีผลใด ๆ  ผมไม่รู้ว่าจะไปแก้บทเฉพาะกาลทำไม ยังสงสัยอยู่ว่าใครแนะนำให้แก้ ส่วนใหญ่แล้วบทเฉพาะกาลมีอายุแค่ 6 เดือนหรือหนึ่งปีหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ถ้าแก้ก็ต้องแก้บทหลัก อย่างมาตราในการยุบพรรคที่อยู่ในบทหลักและใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้

 

 

Q แต่นักวิชาการบางคนก็บอกว่า มาตรานี้ให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหาร ดังนั้นจึงต้องแก้เพื่อทำให้ทุกอย่างที่ คมช. และองค์กรต่าง ๆ ที่มาจากคมช. ถือเป็นโมฆะ
 
ผมคิดว่าไม่เพราะสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ ตัดสินจบไปแล้ว ทุกอย่างหมดไปแล้ว คตส.ก็ไม่อยู่แล้ว ถ้าให้ย้อนจะย้อนยังไง แล้วจะต้องย้อนอีกกี่ฉบับ


 

Q ที่มาของ ส.ว. ควรมาจากไหน

 

 

สุดท้ายแล้ว ส.ว. ก็ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เพียงแต่การเลือกตั้งทั้งหมดตอนนี้ยังไม่เหมาะที่จะทำกับประเทศไทย เมื่อตอนผมเป็นสสร. 2 ปี 2550 เคยเสนอว่าสรรหาผสมเลือกตั้งนั้นถูกแล้ว แต่ผมเห็นว่าสัดส่วนของการสรรหามากเกินไป ควรสรรหาแค่ 1 ใน 3 จาก 74:76 เป็น 50:100 แต่ ส.ว.ที่มาจากกระบวนการสรรหาที่ทำงานดีก็มีเยอะมาก  เช่น อาจารย์แก้วสรร อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และอีกหลายคน ถ้านำคนเหล่านี้กลับมาผมคิดว่า พวกเขาก็ทำผลงานได้ดี ผมคิดว่าหลายคนสนใจการเมืองเพื่อประชาชนโดยแท้จริง เขาไม่ได้เข้ามาเพื่อโกงกินหรือเพื่อฐานเสียงแต่เข้ามาเพื่อทำงานกับประชาชน ทำอย่างไรให้ประเทศไทยดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งบางครั้งกระบวนการเลือกตั้งไม่สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ เพราะประชาชนบางส่วนไม่ได้เลือกจากความรู้ความสามารถ แต่อาจจะเลือกจากเหตุผลอื่น ๆ มากมาย ทั้งเรื่องผลประโยชน์ ความมีชื่อเสียงโด่งดังของผู้สมัคร หรือเป็นนักโต้วาที เป็นฝ่ายค้านที่ดีน่าจะเหมาะเข้าไปนั่งอยู่ในสภา


 

Q การเลือกตั้งของไทยยังไม่มีคุณภาพมากพอที่จะได้คนทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงเข้ามาในสภาอย่างนั้นหรือ
 

การเลือกตั้งไทยไม่มีคุณภาพอยู่แล้ว ผมจึงอยากดูว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2555 นั้นจะแก้ปัญหาเรื่องการเลือกตั้งอย่างไรให้ดีขึ้นกว่าเดิม ผมฟังบางคนที่รู้จักซึ่งจะไปร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พูดว่า ไม่เป็นไรหรอกก็เลือกตั้งไปเรื่อย ๆ อีกสัก 30-50 ปีก็ดีขึ้นเอง สำหรับผมนั้นตอบแบบนี้ก็ง่ายเกินไป   ผมอยากตอบกลับว่า หน้าที่ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ใช่รอเวลาให้สถานการณ์คลี่คลายด้วยตัวของมันเอง แต่ต้องย่นระยะเวลาให้ประชาธิปไตยในเมืองไทยมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นใคร ๆ ก็สามารถร่างรัฐธรรมนูญได้


 


      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #660 เมื่อ: 09 มกราคม 2555, 17:25:45 »

ว่าด้วย ‘อิสระของแบงก์ชาติ’ รัฐอิสระและการ ‘ตีเช็คเปล่า’

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


น่าเสียดายที่รายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
 ไม่ได้เชิญรัฐมนตรีคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มาร่วมอธิบายเรื่อง “กฎหมายโอนหนี้” ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนของสังคมไทยด้วย

 เราก็จึงได้รับรู้แต่เพียงคำชี้แจงของรองนายกฯ กิตติรัตน์ ณ ระนอง กับ ดร. วีรพงษ์ “โกร่ง” รามางกูร ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ในเรื่องนี้ทั้งๆ ที่มีคำถามมากมายหลายด้านจากคนที่เป็นห่วงเป็นใยกับมติคณะรัฐมนตรีครั้งนี้

 เพราะมันเกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของประเทศที่มีผลกระทบต่อทุกชีวิตของคนไทย
 และเกี่ยวกับวิธีคิดเรื่อง “หนี้” และ “บทบาทธนาคารกลาง” ที่เป็นเรื่องสำคัญต่ออนาคตบ้านเมืองอย่างยิ่ง

ในรายการวันนั้น ดร.โกร่ง อาสาปะฉะดะใส่ธนาคารกลาง (เป็น “รัฐอิสระ”) แทน รองนายกฯ กิตติรัตน์ “เพราะท่านต้องทำงานร่วมกับเขา” คล้ายๆ กับจะบอกว่าเพราะตัวเองเป็น “คนนอก” จึงสามารถวิพากษ์ได้อย่างไม่ต้องเกรงใจ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีที่ประชาชนจะได้รับฟังความเห็นอย่างตรงไปตรงมาจากทุกฝ่าย

 แต่ที่น่าสนใจก็คือว่า หนึ่งวันก่อนหน้านี้คุณกิตติรัตน์ ได้พบกับผู้ว่าการแบงก์ชาติ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล และมีการรอมชอมกันในประเด็น “มาตรา 7” ของร่างกฎหมายที่แบงก์ชาติได้แสดงความเป็นห่วงว่าจะมีการล้วงลูกเงินสำรองระหว่างประเทศ

 โดยเฉพาะมาตรา 7 (3) ที่กำหนดให้ ครม. สามารถกำหนดให้โอนเงินหรือทรัพย์สินของธนาคารกลางไป “ตามจำนวนที่ ครม. กำหนด”

 ซึ่ง คุณประสาร ได้แสดงความกังวลเอาไว้ว่าหากระบุไว้อย่างนั้น ก็เท่ากับเป็นการเปิดทางให้รัฐบาลต่อๆ ไปไม่เข้าใจ กลายเป็นอาจจะบังคับให้ธนาคารแห่งชาติพิมพ์เงินได้

 ประเด็นเดียวกันนี้ อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ก็ได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงว่าจะเท่ากับเป็นการเปิดทางให้รัฐบาล “ตีเช็คเปล่า” (blank cheques) ได้ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายสำหรับการบริการการเงินการทองของบ้านเมืองอย่างยิ่ง

 อ่านจากข่าวเช้าวันเสาร์ (วันเดียวกับที่รายการทีวีนั้นออกอากาศ) ก็น่าจะเข้าใจว่า คุณกิตติรัตน์ กับ คุณประสาร ได้ “ทำความเข้าใจ” กันในระดับหนึ่ง

 เช่นในมาตรา 7 (1) นั้น ขอให้การนำส่งเงินกำไรของ ธปท. เพื่อชำระหนี้เงินต้นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ให้เพิ่มเติมว่าเป็นกำหนดหลังจากหักขาดทุนสะสมที่มีอยู่ครบจำนวนแล้ว

 และในมาตรา 7 (2) นั้น จะต้องไม่กระทบกระเทือนทุนสำรองเงินตราและเงินบริจาคของหลวงตามหาบัว

 ด้าน คุณประสาร นั้น ก็บอกว่าเข้าใจความจำเป็นของรัฐบาลที่จะต้องดูแลให้สัดส่วนการชำระหนี้ต่องบประมาณรายปีที่กำหนดไว้ไม่เกิน 15% ของงบประมาณแต่ละปี ไม่ให้มีสัดส่วนสูงเกินไป เพราะถ้ารัฐบาลยังต้องรับภาระดอกเบี้ยปีละ 45,000 ล้านบาท และต้องรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่มาเพิ่มเติมด้วย สัดส่วนนี้ก็อาจจะสูงเกินไปได้

 และมีข้อตกลงกันด้วยว่าภาระดอกเบี้ยมาให้กองทุนฟื้นฟูฯ นั้น จะขอใช้จากเงินค่าธรรมเนียมในส่วนที่สถาบันการเงินส่งให้สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งขณะนี้ส่งอยู่ 0.4% ของเงินฝากรวม มาใช้ชำระดอกเบี้ย 0.35% ซึ่งก็จะได้เงินประมาณ 30,000 ล้านบาท

 ส่วนดอกเบี้ยที่เหลืออีกประมาณ 15,000 ล้านบาท นั้น กองทุนฟื้นฟูฯ จะเก็บจากสถาบันการเงินเพิ่มเติม แต่เพื่อป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินผลักภาระให้ประชาชน คาดว่าจะเก็บเงินจากสถาบันการเงินเพิ่มประมาณ 9,000 ล้านบาทต่อปี

 ซึ่งก็เท่ากับเงินภาษีนิติบุคคลที่สถาบันการเงินจะจ่ายลดลงในแต่ละปี จากนโยบายของรัฐบาลที่จะลดภาษีนิติบุคคล จาก 30% เหลือ 23%

 อีกประมาณ 6,000 ล้านบาท ก็จะนำมาจากการบริหารสินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูฯ

 ผู้ว่าการแบงก์ชาติ บอกว่า ด้วยเท่าที่ตกลงกันนั้น กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ต้องโอนสินทรัพย์ที่มีอยู่จำนวน 100,000 ล้านบาท ไปให้กระทรวงการคลังแล้ว แต่ให้บริหารต่อให้เกิดดอกผล และนำไปใช้หนี้เงินต้น หรือชำระดอกเบี้ยก็ได้ ตามความเหมาะสม โดยให้ ธปท. เป็นผู้พิจารณา

 ส่วนเงินต้นนั้น คุณประสาร บอกว่า ขณะนี้มีข้อตกลงเบื้องต้นว่ายังคงอยู่ในรูปพันธบัตรรัฐบาลตามเดิม โดยผู้ว่าการแบงก์ชาติบอกกับรองนายกฯ ว่า หากต้องการต้นทุนต่ำที่สุด พันธบัตรใหม่ที่ออกเพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ ที่จะออกแทนพันธบัตรเดิมที่จะครบกำหนดชำระคืนประมาณ 300,000 ล้านบาท ในปีนี้ ควรจะเป็นพันธบัตรรัฐบาลต่อไป เพราะภาระดอกเบี้ยจะถูกที่สุด

คุณประสาร บอกนักข่าวด้วยว่า รองนายกฯ กิตติรัตน์ ยังบอกด้วยซ้ำว่าหากยังไม่มีทางแก้ไขหรือชำระคืน ก็สามารถออกเป็นพันธบัตรรัฐบาลต่อไปก่อนได้ เพราะในขณะนี้หนี้สาธารณะของรัฐบาลยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก คือ ประมาณ 40% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ

 นั่นแปลว่า รัฐบาลยังสามารถจะก่อหนี้ได้มากถึง 2 ล้านล้านบาท แต่ธนาคารกลางบอกว่าจะพยายามหาแนวทางที่จะชำระคืนเงินต้นโดยเร็ว

 คุณประสาร บอกว่า ได้หารือกับรัฐมนตรีคลัง ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ว่า จะพยายามกำหนดเวลาในการชำระหนี้เงินต้นจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท ให้หมด ตั้งเป้าไว้ว่า ธปท. จะคืนเงินต้นให้ครบทั้งจำนวนภายใน 25 ปี นับจากปีนี้

 อ่านข่าวละเอียดอย่างนี้แล้ว ก็แปลกใจว่า ทำไมรองนายกฯ กิตติรัตน์ ไม่บรรยาย “ข้อตกลงเบื้องต้น” เหล่านี้ในรายการทีวีวันเสาร์


 ดร. โกร่ง ไม่ได้อยู่ในกระบวนการ “ทำความเข้าใจ” ระหว่างรัฐบาล กับ ธนาคารกลาง จึงคงยังเห็นว่าธนาคารแห่งชาติยืนกระต่ายขาเดียว และย้อนไปเล่าถึงปัญหาที่ธนาคารกลางเคยสร้างเอาไว้ตั้งแต่สมัยวิกฤติต้มยำกุ้ง...โดยไม่มีคำชี้แจงจากผู้ว่าการแบงก์ชาติคนปัจจุบัน

 ยิ่งรัฐมนตรีคลังซึ่งเป็นตัวละครสำคัญของเรื่องไม่มาร่วมรายการเพื่ออธิบายความเป็นไปล่าสุด  ก็ยิ่งสร้างความสับสนงุนงงได้ว่าเรื่องทะเลาะกันอย่างนี้จะลงเอยอย่างไร เพราะต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตนเอง

 ประชาชนจะต้องได้รับทราบข้อมูล จุดยืน  และเหตุผลของทุกฝ่ายเพื่อประกอบการพิจารณาว่าใครกำลังทำหน้าที่เพื่อประชาชนมากน้อยเพียงใด

 เพราะคำว่า “รัฐอิสระ” ของ ดร.โกร่ง นั้น คือด้านหนึ่งของเหรียญที่พอพลิกไปดูอีกข้างหนึ่ง ก็คือ “ความเป็นอิสระของธนาคารกลาง” ที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่ากัน
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #661 เมื่อ: 09 มกราคม 2555, 17:28:56 »

นายกสมาคมบลจ.ค้านโยนหนี้ทั้งก้อนให้ธปท.

โดย : สาธิต อุปชา


นายกสมาคมบลจ.ค้านโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูทั้งหมดให้ธปท.
 ชี้ต้นเหตุปัญหามาจากทั้งธปท.-คลัง จี้ปราบคอรัปชั่น-เลี่ยงภาษี-ยึดทรัพย์นักการเมืองขี้ฉ้อ

วรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด เปิดเผยกับ "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" กรณีที่รัฐบาลเตรียมโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปดูแลว่า ปัญหาในวันนี้คือ เรามีหนี้ และเป็นหนี้ของประเทศคือของพวกเราทุกคนที่ต้องจ่ายคืน หนี้ก้อนนี้เกิดจากการเข้าไปอุ้มสถาบันการเงินเมื่อกว่า10 ปีก่อน โดยที่รัฐบาลไปออกพันธบัตรเพื่อระดมทุนให้กองทุนฟื้นฟูฯ มันจึงเป็นหนี้ภาครัฐ

"คำว่าหนี้ภาครัฐ ก็คือหนี้สาธารณะ หรือหนี้ของพวกเราประชาชนทั้งหมดรวมถึงลูกหลานที่ยังไม่เกิด  อย่าไปมองว่ามันเกิดจากรัฐบาลไหน เพราะจะอย่างไรเราก็ปฏิเสธหนี้ไม่ได้ เราอยู่กับมันมากว่าสิบปีแล้วโดยที่พวกเราหลายคนอาจจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ  และเมื่อประมาณ 14 ปีก่อนที่มีปัญหาต้มยำกุ้ง หลายคนก็ชี้นิ้วไปที่แบงก์ชาติว่าเป็นต้นเหตุ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วไม่ใช่ แต่แบงก์ชาติเป็นส่วนที่ทำให้เสียหายเพิ่มด้วยการไปต่อสู้ค่าเงินบาทที่โดนโจมตีจากกองทุน Hedge Fund ต่างประเทศ แล้วก็สู้ไม่ได้ ต้องยอมมอบตัวในที่สุด เกิดความเสียหายมากมาย  หลายคนตกงานเพราะสถาบันการเงินถูกปิดไป 56 แห่ง เนื่องจากขาดสภาพคล่องรุนแรง อัตราดอกเบี้ยระหว่างกันบางวันพุ่งขึ้นไปถึง 50% ก็ยังไม่มีใครให้กู้  แบงก์ชาติก็อุ้มไม่ไหว ไม่มีเงินไปอุ้ม เมื่อธุรกิจไม่มีเงินจากแบงก์มาหนุน คนฝากเงินกลัวไม่ได้เงินฝากคืนก็พากันแห่ถอน ทุกอย่างจึงแทบจะหยุดไปหมด เรียกว่ากลไกของระบบการเงินมันพังทลายไปเลยก็ได้"


ส่วนต้นเหตุจริงๆ น่าจะเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการไปเปิดทางให้เอกชนกู้เงิน BIBF ที่ดูว่าเก๋มาก ทันสมัย ก้าวหน้าที่สุด โดยที่ประเทศยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอ ก็อาจกล่าวได้ว่าสาเหตุเกิดจากทั้งรัฐบาล ทั้งแบงค์ชาติ ทั้งเอกชนที่ไปใช้ BIBF กู้เงินต่างประเทศดอกเบี้ยถูกเข้ามา และทั้งผู้ฝากเงินที่รัฐบาลต้องอุ้มไว้

แบงก์ชาติใช้เวลาพักใหญ่ฝ่ามรสุมที่ผู้คนสาปแช่งอยู่นานกว่าจะได้รับความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ถึงขนาดนี้ แล้วคนที่ความจำดีก็บ่นว่าทำไมคนที่ทำให้เกิดความเสียหายยังได้ดิบได้ดีกันยกชุด ยกเว้นคุณเริงชัย (มะระกานนท์) อดีตผู้ว่าการธปท. ที่เป็นคน หรือแพะผู้โดดเดี่ยวก็ไม่รู้ เพราะรับเละรายเดียวในฐานะเป็น CEO ธปท. และต้องรับในปริมาณที่เกิดใหม่ 500 ชาติก็ชดใช้คืนไม่ไหว

"ที่จริงแล้วเราทุกคนต้องไม่มองเรื่องนี้ด้วยสายตาที่ส่องผ่านความเกลียดชัง หรือความรักใคร่ชอบพอ เราต้องมองด้วยสายตาของคนไทยที่มีวุฒิภาวะและมีความรับผิดชอบต่อภาระหนี้ที้เกิดขึ้น  อย่ามองเพียงว่าเราไม่ได้เป็นคนทำแล้วทำไมเราต้องรับ เพราะหากเราเป็นคนญี่ปุ่น เราจะไม่โทษกันไปมาว่าหนี้นี้รัฐบาลก่อ หรือ แบงก์ชาติก่อ มันก็หน่วยงานรัฐทั้งหมดไม่ใช่หรือ เงินสามีเงินภรรยามันก็คนคนเดียวกันนั่นแหละ คนญี่ปุ่นเขามีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติสูงมาก ซึ่งเราก็ชื่นชมเขาใช่ไหม แล้วทำไมเราไม่ทำตนอย่างคนญี่ปุ่นในเรื่องความรับผิดชอบ กับระเบียบวินัย และความไม่เห็นแก่ตัว"

ผลกระทบธุรกิจธนาคาร?

วรวรรณ มองว่า ในระยะสั้น หากมีการทำตามข่าวล่าสุดที่ออกมาในวันเสาร์ คือจะยังไม่ขึ้นค่าประกันเงินฝากให้เกิน 0.40%  แม้ว่า 0.35% จาก 0.40% นี้สถาบันประกันเงินฝากจะต้องส่งให้แบงค์ชาติจนเหลือไว้เองเพียง 0.05% ก็ตาม ผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ก็ยังไม่มีอะไร  แต่ผลกระทบเชิงจิตวิทยาของผู้เล่นในตลาดหุ้นมันเป็น อีกเรื่องหนึ่ง อย่างในปลายสัปดาห์ที่แล้ว หุ้นแบงก์ตกกันกราวเลย ทั้งๆ ที่แบงค์ไม่น่าจะกระทบเลยในระยะสั้น
แต่ในระยะปานกลางถึงระยะยาวหากมีความจำเป็นที่จะต้องเก็บค่าประกันเงินฝากเกิน 0.40% (กฏหมายกำหนดให้เก็บได้ไม่เกิน 1.00%) เช่น สมมติว่าเขาเก็บที่ 1.00% ก็จะทำให้เงินฝาก 100 บาทถูกกันไว้ 1 บาทเพื่อเป็นค่าประกันเงินฝาก ซึ่งแบงก์พาณิชย์เลยเอาไปปล่อยสินเชื่อเพื่อหารายได้ หรือทำอะไรอื่นๆ ได้ลดน้อยลง เรียกว่าต้นทุนเงินฝากของธนาคารจะสูงขึ้น และจะผลกระทบต่อกำไรของธนาคาร แต่ที่จะไปกระทบมากหรือน้อยมันขึ้นอยู่กับความสามารถของธนาคารในการผลักภาระไปยังลูกค้า ซึ่งรัฐบาลก็อาจจะตีกันไว้ก่อนเพื่อรักษาฐานเสียงว่าห้ามธนาคารผลักภาระไปยังลูกค้าก็ได้

"หากเป็นเช่นนี้ ก็จะทำให้ ธนาคารไม่สามารถผลักภาระดังกล่าวไปให้ลูกค้าได้ทั้งในแง่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก  กำไรก็จะลดลง  แต่อาจจะหลบไปออกตั๋วบีอีแทนการหาเงินฝากบางส่วน เพราะตั๋วบีอีนี่สถาบันประกันเงินฝากไม่คุ้มครอง จึงไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมปะกัน อย่างไรก็ตาม ธปท. หรือ กลต. อาจ จะออกมาตรการควบคุมการออก B/E ที่เข้มงวดขึ้น จนทำให้ธนาคารไม่สามารถลดภาระต้นทุนดังกล่าวผ่านการออก B/E ได้สะดวกเหมือนที่ผ่านมาก็ได้  และจากเหตุผลข้างต้นในระยะสั้นที่ธนาคารอาจไม่สามารถผลักภาระมายังลูกค้าได้ หากเป็นอย่างนี้แล้วธนาคารก็จะไม่สามารถรักษาระดับ NIM (Net Interest margin = รายได้ดอกเบี้ยรับ – ดอกเบี้ยจ่าย) ไว้ได้ กำไรจึงจะลดลง"

อย่างไรก็ตาม การบังคับเรียกเก็บค่าประกันเงินฝากเพิ่มขึ้นจะไม่สอดคล้องกับภาระในการคุ้มครองเงินฝากของสถาบันประกันเงินฝากที่ปัจจุบันเป็น 50 ล้านบาทต่อลูกค้าต่อธนาคาร เพราะเมื่อวงเงินประกัน เงินฝากนี้ลดลงเหลือ 1 ล้านบาทแล้วในเดือนสิงหาคมนี้ ทำไมค่าประกันเงินฝากถึงไม่ลดลงจาก 0.40%  ด้วยเล่า แถมยังจะไปเพิ่มอีก มันดูไม่มีเหตุผล และยังสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านเราด้วย ซึ่งจะทำให้ต้นทุน การแข่งขันของธนาคารในประเทศสูงกว่าธนาคารคู่แข่งในภูมิภาค แล้วเมื่อเปิดเสรีแล้วจะไปแข่งกับเขาได้ อย่างไร 

นอกจากนี้ ธนาคารของรัฐก็ไม่ได้อยู่ในระบบประกันเงินฝากด้วย ไม่มีภาระส่งเงินเข้าสถาบันประกันเงินฝาก แต่สามารถใช้ยี่ห้อว่ารัฐบาลเป็นประกันมาแข่งกับธนาคารพาณิชย์ในตลาดเดียวกัน อันนี้ ก็ไม่มีความเป็นธรรมในการแข่งขัน ใครจะไปสามารถบอกได้ว่าธนาคารของรัฐมีความมั่นคง มีการควบคุมและบริหารที่ดีกว่าของเอกชนได้  ซึ่งการที่รัฐบาลเป็นประกันนั้นก็คือจะต้องใช้เงินของพวกเราทั้งหมดไปอุ้มหากมีปัญหาเกิดขึ้นใช่หรือไม่ แล้วทำไมเอาเอาเงินภาษีของประชาชนไปอุ้มอีก ก็เรากำลังจะออกจากวิ่ง วันนี้ไม่ใช่หรือ ถึงได้ลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท

สำหรับธนาคารพาณิชย์ แต่ทำไมธนาคารของรัฐถึงไม่เป็นแบบเดียวกัน ตรงนี้ผู้กำหนดนโยบายต้องบอกให้ชัดเจนถึงเหตุผล และต้องกำหนดทิศทาง ให้ธนาคารรัฐทำหน้าที่สนองนโยบายรัฐบาลได้โดยไม่เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เราทุกคนมีภาระหนี้เพิ่มใน วันข้างหน้าด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่าไม่ได้หมายความว่าทุกวันนี้ธนาคารรัฐบริหารไม่ดี เพียงแต่เห็น

ความเสี่ยงในอนาคตในเมื่อทุกรัฐบาลจะเอาอะไรก็ไปออกหวยที่ธนาคารรัฐกันหมด ต้องสนองนโยบายรัฐทั้งนั้น จึงไม่อยากเห็นกองทุนฟื้นฟูสองเกิดขึ้นมาให้เราแบกหนี้เพิ่มอีก

เรื่องการขึ้นอัตราการเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่มทุก 0.2% นั้น นักวิเคราะห์เขาประเมินว่าจะส่งผลกระทบลบ ต่อกำไรของกลุ่มธนาคารประมาณ 7% และกระทบมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นประมาณ 1% (หมายเหตุ : ที่เขาทำ scenario ว่าเก็บเงินเข้าสถาบันประกันเงินฝากเพิ่มอีก 0.20% เพราะว่าภาระหนี้ ดอกเบี้ยจ่ายของกองทุนฟื้นฟูฯ เท่ากับ 45,000 ล้านบาทต่อปี และเงินที่ปัจจุบันสถาบันประกันเงินฝากเก็บ ที่ 0.40% เป็นเงินประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี  ถ้าเก็บเพิ่ม 0.20% จะใกล้เคียงกับภาระดอกเบี้ยจ่าย)

ธนาคารพาณิชย์จึงน่าจะหันไประดมเงินทุนผ่านการออก B/E  และ interbank มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นช่องทางที่ไม่ต้องส่งเงินเข้าสถาบันประกันเงินฝาก จึงอาจส่งผลให้เงินที่สถาบันประกันเงินฝากคาดว่าจะจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อภาระดอกเบี้ยจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูไม่เป็นไปตามที่คาดว่าจะได้เพิ่มอีก 15,000  ล้านบาท หากเป็นเช่นนี้แบงก์ชาติอาจจะต้องออกกฏเพิ่มเติมเพื่อป้องกันเงินฝากไหลออกไปแหล่งอื่น เช่น ห้ามออก B/E เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของแหล่งเงินทุนทั้งหมด หรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมธนาคารพาณิชย์ในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นก็ได้

ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะเป็นอย่างไร ต้นทุนคนกู้จะเป็นอย่างไร?

ผลกระทบในระยะสั้นคงไม่มี แต่ในระยะยาวการ pass on ต้นทุนที่สูงขึ้นบางส่วนไปให้ผู้กู้เงินอาจทำได้ เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมของลูกค้าขนาดใหญ่ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับการระดมทุนจากตลาดเงินและตลาดทุน แต่หาก pass on มากเกินไปลูกค้าอาจจะหันให้ระดมเงินจากทางตลาดเงินมากขึ้นแทน ส่งผลให้เงินฝาก และเงินกู้ในระบบโตช้าลงได้ หรือลดลงก็ได้ในกรณีร้ายสุด  จึงมองว่าในระยะกลางและยาว ธนาคารต้องปรับตัวและกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเพื่อมุ่งเน้นหารายได้ทางอื่นแทน ซึ่งบางแบงก์มีความพร้อม แต่หลายแบงก์ยังไม่มีความสามารถที่จะแข่งขันในผลิตภัณฑ์ทางการเงินด้านอื่นๆ มากนักและทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมก็มีจำกัด

ธุรกิจกองทุนรวมเป็นอย่างไร?

วรวรรณ มองว่า คงไม่ส่งผลกระทบกับภาพรวมธุรกิจกองทุนรวม เนื่องจากไม่เกี่ยวกับสถาบันประกันเงินฝากอยู่แล้ว

เห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้ ธปท.รับเคลียร์หนี้แทนกระทรวงการคลัง?

วรวรรณ ยอมรับว่า เห็นด้วยบางส่วนว่า ธปท.ควรมีส่วนในการช่วยรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้นแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะปัญหาเกิดมาจาก BIBF และการขาย NPL ไปในราคาลดต่ำลงมาก ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของทั้งแบงก์ชาติและคลัง  แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้โอนหนี้ FIDF ทั้งก้อน (1.14 ล้านล้านบาท) จากเดิมอยู่ที่คลัง (บันทึกเป็นหนี้สาธารณะ – Public debt) ไปที่ ธปท.และไม่เห็นด้วยกับวิธีการหาเงินมาจ่ายชำระดอกเบี้ยโดยการเพิ่มต้นทุนให้กับธนาคาร

ปัจจุบัน ธปท. ขาดทุนจากภาระการออกพันธบัตรเพื่อดูดสภาพคล่อง หากไปผลักภาระดอกเบี้ยมาให้ ธปท. รับรายเดียว (เดิมคลังรับภาระดอกเบี้ยจ่าย) ถ้าการจัดเก็บเงินเพื่อมาจ่ายชำระหนี้ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์มันก็เหมือนจะไปผลักดันให้ ธปท.ต้องทำการพิมพ์เงินชุดใหม่ออกมา ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางของ ธปท. รวมถึงก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อและเสถียรภาพของค่าเงินบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวแน่นอน

ส่วนการที่รัฐบาลจะไปกำหนดห้ามมิให้ ธปท.พิมพ์เงินเพิ่มเพื่อชำระหนี้นี้ หากเขาไม่มีปัญญาจ่ายล่ะ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย หรือจะไปกดดันให้เขาสหาประโยชน์จากทุนสำรองเงินตราต่างประเทศด้วยการรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แล้วหากลงทุนแล้วขาดทุนล่ะ จะทำอย่างไร

สถาบันการเงินบ้านเรามีความแข็งแกร่งเพียงพอหรือไม่ ณ ปัจจุบัน ในการรับมือวิกฤติหนี้ยุโรปเศรษฐกิจสหรัฐ?
วรวรรณ กล่าวว่า จากผลของวิกฤติต้มยำกุ้ง กลุ่มธนาคารได้มีการปรับโครงสร้างและมีใช้นโยบายการรักษาสภาพคล่องและการตั้งสำรองอย่างระมัดระวัง ผลดังกล่าวทำให้งบดุลของธนาคารมีความแข็งแกร่ง โดยมีสัดส่วนเงิน สำรองต่อหนี้เสียสูงกว่า 100% ในขณะที่อัตราหนี้เสียอยู่ในระดับที่ต่ำ ความแข็งแรงของงบดุลดังกล่าวทำ ให้เราเชื่อว่าวิกฤติหนี้ยุโรปและเศรษฐกิจสหรัฐที่ไม่แข็งแรง น่าจะกระทบต่อธนาคารในแง่ของการเติบโต ของรายได้มากกว่าจะส่งผลเสียต่อฐานะงบดุลที่แข็งแรงของกล่มธนาคาร

จี้ปราบคอรัปชั่น-เลี่ยงภาษี-ตรวจสอบยึดทรัพย์นักการเมืองขี้ฉ้อ

นายกสมาคมบลจ. ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจทิ้งท้ายว่า ทำไมไม่หาเงินก้อนแรกจากการหยุดคอร์รัปชั่น  ก้อนที่สองจากคนรวยจริงๆ ที่เลี่ยงภาษีแล้วใช้วิธีจ่ายเลี้ยงเจ้าหน้าที่ไม่ให้เก็บภาษีได้ครบถ้วน ก้อนที่สามจากการตรวจสอบทรัพย์สินข้าราชการกับนักการเมืองทุกคนโดยไปเทียบกับภาษีที่เขาจ่ายว่ามันสมเหตุสมผลกันไหม  แล้วให้ไปเร่งรัดคดียึดทรัพย์เข้าคลังให้ได้ภายใน 1-2 ปี  อาจจะดูสั้นไปสำหรับกระบวนการ (ไม่ยุติธรรม) ในบ้านเรา แต่จะให้รอจนเจ้าตัวกลับไปเกิดใหม่แบบทุกวันนี้ คงจะรอไม่ได้ หากทำแบบนี้ เราก็มีเงินใช้หนี้หมดเกลี้ยงภายใน 2 ปีแล้ว ไม่ต้องรอไปอีก 25 ปีหรอก

"ล่าสุดเมื่อมันสมองของรัฐบาล และมันสมองของแบงก์ชาติ เจรจาทำความเข้าใจกันด้วยเหตุผล ได้ผลมาว่าจะเดินไปในแนวทางที่ทุกคนเคลียร์กัน พอใจกันแล้ว มันก็เป็นผลดีต่อประเทศ เพราะอย่างน้อยที่สุด ความสำเร็จในการเจรจาในกรอบที่ชัดเจน และช่วยกันแก้ไขจุดโหว่ ก็ทำให้ความมั่นใจของผู้ลงทุนก็ไม่กระทบอะไร"
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #662 เมื่อ: 09 มกราคม 2555, 23:00:06 »

แฉ “ธีระชัย” ละเมิดธรรมาภิบาล-ตั้งนอมินี แตกหุ้น-ล้มบอร์ด MCOT
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    

  ASTVผู้จัดการรายวัน - “กรณ์” แฉ “ธีระชัย” ละเมิดธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรง จ้างที่ปรึกษากฎหมายตั้งนอมินี แตกหุ้น MCOT 6 พันหุ้น หลังวันเรียกประชุมผู้ถือหุ้นหวังใช้เสียงข้างมากล้มบอร์ด อสมท ละเมิดสิทธิผู้ถือหุ้นรายย่อย พบบางรายเป็นพนักงานของบริษัทที่ปรึกษากฎหมายถือใบมอบอำนาจแทน 15 คน เล็งส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
       

       นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง เปิดเผยว่า หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ นำรายชื่อ 145 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ร่วมลงชื่อยื่นต่อ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการถอดถอน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง และ น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลสื่อ เนื่องจาก น.ส.กฤษณา พฤติกรรมหลายอย่างเข้าข่ายก้าวก่ายแทรกแซงรัฐวิสาหกิจ คือ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) MCOT
       
       โดยหลังจากตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่า กระทรวงการคลังได้มีการว่าจ้างบริษัท สยาม พรีเมียร์ เป็นที่ปรึกษากฎหมายในการดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขอมติเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริษัท ซึ่งหลังจากได้มีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัท ศูนย์ฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) ได้แจ้งว่า มีการแตกหุ้น อสมท ออกเป็น 6 พันหุ้น จากผู้ถือหุ้นรายย่อยเดิม 1 หมื่นราย เพื่อให้มีเสียงโหวตชนะในการประชุมผู้ถือหุ้น
       
       “สิ่งที่ นายธีระชัย ต้องการ คือ แต่งตั้งบอร์ดชุดใหม่ เนื่องจากชุดเก่ามีความขัดแย้ง และไม่สนองนโยบายของรัฐบาล แต่วิธีการที่ใช้กลับใช้วิธีใต้ดิน จึงได้แตกหุ้นอออกให้มีผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นมา 6 พันราย เพื่อหวังให้การโหวตเลือกบอร์ดชุดใหม่เป็นไปตามความต้องการของฝ่ายการเมือง ซึ่งพบว่าผู้ถือหุ้นบางรายที่เข้าร่วมประชุมนั้นเป็นพนักงานของบริษัทที่ปรึกษากฎหมายสยาม พรีเมียร์ และถือใบมอบอำนาจแทนกว่า 15 คน เพื่อมาใช้สิทธิโหวตล้มบอร์ดชุดเก่า” นายกรณ์ กล่าว
       
       นายกรณ์ กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวของนายธีระชัย ถือเป็นเรื่องที่ผิดหลักธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรง ทั้งที่ตัวเขาเองเคยเป็นถึงเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แต่กลับใช้อำนาจหน้าที่ รมว.คลัง ในฐานะกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจดำเนินการเพื่อละเมิดสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ ที่เป็นการขัดต่อหลักกฎหมายกำกับหลักทรัพย์
       
       “การสร้างนอมินีขึ้นมาในครั้งนี้ผิดหลักธรรมาภิบาลที่พยายามปกป้องผู้ถือหุ้นรายย่อย แต่การกระทำของนายธีระชัย พยายามแทรกแซงและทำประโยชน์เพื่อพวกพ้องมากกว่าที่จะทำเพื่อผู้ถือหุ้น ผู้ที่นั่งอยู่ในตำแหน่ง รมว.คลัง ควรจะยึดธรรมาภิบาลให้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด เนื่องจากต้องเป็นผู้กำกับดูแล แต่กลับเป็นผู้ละเมิดเสียเอง ซึ่งจะได้ส่งข้อมูลดังกล่าวนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป” นายกรณ์ กล่าว
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #663 เมื่อ: 10 มกราคม 2555, 11:57:18 »

รสนา” ชำแหละ “ปตท.-รัฐบาล” สุมหัวสูบเลือด ปชช. ถามจะยอมต่อไปหรือ    
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

  วันที่ 9 ม.ค. เมื่อเวลา 20.30 น. น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.และประธานคณะกรรมการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา และนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์ผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมพูดคุยในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ASTV
       
       น.ส.รสนา กล่าวถึงกรณีขึ้นราคาก๊าซ NGV ว่า ปัญหาอยู่ที่นักวิชาการก็ตาม ปตท.ก็ตาม ชอบพูดว่าราคาก๊าซ-พลังงานต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แต่ต้นทุนที่แท้จริงเคยเอามาเปิดเผยหรือไม่ ราคาจากเอกสารโฆษณาของ ปตท.เอง ระบุว่าราคา NGV อยู่ที่ 8.39 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมันไม่ใช่ต้นทุนจริง มันเป็นราคาที่ขายให้กับ กฟผ. ซึ่งรวมค่าบริหารจัดการ รวมค่าผ่านท่อ รวมกำไร และยังบวกค่าขนส่งอีก 5.56 บาท เท่ากับค่าขนส่ง 40 เปอร์เซ็นต์ มันมีกิจการอะไรที่ค่าขนส่งมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์
       
       ส่วนราคาก๊าซในตลาดโลกเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2554 อยู่ที่ 2 เหรียญ 79 เซ็นต์ต่อ 1 ล้านบีทียู 1 ล้านบีทียู เป็นค่าความร้อน ถ้าแปลงให้เป็นกิโลกรัมก็คือเท่ากับ 27.82 กก. พอเป็นเงินไทยเฉลี่ยตกที่กิโลกรัมละ 3.37 บาท นี่คือต้นทุนตลาดโลก มันสะท้อนต้นทุนตรงไหน
       
       อีกทั้งราคาก๊าซธรรมชาติปี 2007-2011 ขึ้นสูงสุดเมื่อปี 2008 หลังจากนั้นต่ำลงเรื่อยๆ ทิศทางในตลาดโลกเป็นขาลง แต่คุณกลับสวนขึ้นและขึ้นในยามที่คนกำลังลำบากจากปัญหาน้ำท่วม
       
       อีกทั้งความจริงแล้วราคาผ่านแนวท่อก๊าซมันถูกมาก เมื่อปี 2552 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานอนุญาตให้ปตท.ขึ้นค่าผ่านท่อได้ 2 บาท ต่อ1 ล้านบีทียู ก็คือรวมแล้ว 22 บาท กับอีกเศษนิดหน่อย ต่อ 27.82 กก. เฉลี่ยแล้วไม่ถึง 1 บาทต่อกก. สมมุติเอาราคาตลาดโลก 3.37 บาท บวก 1 บาท อยู่ที่ 4 บาท แต่คุณบวกค่าขนส่งมหาโหดอย่างนี้ได้อย่างไร
       
       ก๊าซถ้าส่งตามแนวท่อจะถูกที่สุด ตามธรรมชาติของก๊าซเหมาะกับรถที่ใช้วิ่งเป็นทางประจำเช่นรถเมล์ สามารถทำปั๊มเฉพาะที่เป็นจุดจอดรถ แต่นี่รัฐบาลมาสนับสนุนให้รถเล็กมาใช้ ใช้อำนาจรัฐทุกอย่างบังคับให้มาใช้ NGV
       
       น.ส.รสนากล่าวอีกว่า วันนี้กลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งทั้งหลายที่ออกไปต่อต้านการขึ้นราคา NGV เสียท่ารัฐบาลไปแล้ว สิ่งที่ทำวันนี้ไม่มีความหมายเลย เมื่อยอมเปิดบริสุทธิ์ให้ขึ้น 50 สตางค์แล้ว ไม่มีทางลด นั่นก็เพราะขาดข้อมูลในมือ ต้องให้ ปตท.เปิดเผยตัวเลขต้นทุนที่แท้จริงออกมา
       
       น.ส.รสนากล่าวว่า ทรัพยากรของไทยถูกขุดขายเพิ่มขึ้นทุกปีในขณะที่รายได้เข้ารัฐไม่ได้เพิ่มตาม ข้อมูลของ EIA (Environmental Impact Assessment) ไทยผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่ที่อันดับ 23 ของโลก จาก 224 ประเทศ มากกว่าหลายๆ ประเทศที่เป็นกลุ่มโอเปก เรามีทรัพยากรมหาศาล แต่ทุกคนบอกว่าเราต้องพึ่งพา นำเข้าตลอด
       
       สิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือ ปตท.ใหญ่เกินไป มีอำนาจเหนือตลาดหลักทรัพย์ เหนือรัฐบาล และสื่อ เพราะไม่มีประเทศไหนที่ปล่อยให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีขนาดเงินหมุนเวียนใหญ่กว่ากระทรวงการคลังเกิน 3 เท่า น่ากลัวที่รัฐบาลปล่อยให้ปตท.อยู่ในสภาพที่เป็นทั้งรัฐและเอกชน โดยให้รัฐถือหุ้น 51.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อคงความเป็นรัฐอยู่ จะได้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า ซึ่งอะไรที่มันใหญ่เกิน ถ้าล้มนี่ล้มดัง อันตรายต่อระบบเศรษฐกิจทั้งหมด อีกทั้งยังปล่อยให้ควบรวมกิจการทั้งแนวดิ่ง คือครอบงำกิจการปิโตรเคมีทั้งหมด และควบรวมแนวนอน ซึ่งเป็นการยึดฐานลูกค้า จนมีอำนาจใหญ่มาก ตอนนี้ไม่มีภาคส่วนไหนกล้ากับปตท.เลย
       
       น.ส.รสนายังกล่าวว่า การค่อยๆ ปรับเพิ่มทีละ 50 สตางค์ จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนแบบไม่รู้ตัว เหมือนกับการต้มกบ เมื่อต้มโดยปรับอุณหภูมิขึ้นทีละน้อยๆ กบจะไม่รู้ตัวเพราะมันปรับตัวตามอุณหภูมิ แต่ถ้าใส่ไปตอนร้อนๆ กบจะกระโดดหนี กรณีขึ้นราคาก๊าซก็เช่นกันประชาชนก็จะปรับตัวอยู่กับการขึ้น 50 สตางค์ไปเรื่อยๆ ซึ่งเราจะยอมถูกต้มหรือเปล่า เลือกว่าจะเป็นกบตัวแรกที่ถูกต้มหรือกบตัวสองที่กระโดดหนี
       

       ด้าน นายอิฐบูรณ์กล่าวว่า กรณีเกิดโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้นเป็นหน่วยที่ 6 มีคำถามว่า เกี่ยวหรือไม่กับการพยายามทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติลอยตัวขยับเพิ่มทันที ความจริงแล้วไม่สนใจว่าต้นทุนที่แท้จริงเป็นอย่างไร ขอแค่ขึ้นมาก่อน แล้วรัฐบาลก็ยอม ประชาชนเหมือนถูกมัดมือชก
       
       ราคา NGV 14.50 บาท เป็นราคาที่ปตท.ต้องการขอขึ้นมานานแล้ว นี่คือต้นทุนที่เขาต้องการ โดยไม่ได้อิงกับราคาตลาดโลกเลย เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมาโดยตลอด แต่มาได้ในจังหวะรัฐบาลนี้ ซึ่งนายกฯเป็นประธานโดยตำแหน่ง ในกลุ่มของพวกเขาเองก็คุยกันว่าเทคนิคการขึ้นราคา คือค่อยๆกินทีละ 50 สตางค์ จนสิ้นปี 2555 จะจ่ายเพิ่มขึ้นทั้งหมด 6 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 70 เปอร์เซ็นต์ จากราคาฐานเดิม ถ้าเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างแท้จริงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ไม่สามารถทำได้ แต่ธุรกิจนี้สามารถทำได้
       
       ทางด้าน LPG ก็ขึ้นราคาเช่นกัน แต่กระแสเงียบไป ซึ่ง LPG นี่หนักกว่าอีก เพราะไม่มีลิมิต เขาใช้คำว่าจะไต่ราคาขึ้นไปถึงต้นทุนของโรงกลั่น ซึ่งถ้าโรงกลั่นบริหารงานย่ำแย่ ไม่ต้องควบคุมในเชิงประสิทธิภาพ อยากให้ขึ้นราคาก็ได้ กลไกแบบนี้เป็นธรรมหรือไม่
       
       ประเทศไทยสามารถพึ่งพาแหล่งพลังงานเองได้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เองเคยแถลงต่อสภาว่าต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ 55 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือเราสามารถพึ่งพาตัวเองได้ถึง 45 เปอร์เซ็นต์ แต่ทำไมราคาที่คนไทยใช้ถึงเป็นราคาตลาดโลก 100 เปอร์เซ็นต์ นี่เฉพาะราคาน้ำมัน ส่วน LPG ก็พยายามเกาะตลาดโลก แต่ NGV ดันไม่ยึดราคาตลาดโลก แสดงว่าจะใช้ราคาอะไรก็ได้ใช่หรือไม่
       
       คำถามง่ายๆ ทรัพยากรเป็นของแผ่นดินไทย ส่วนใหญ่ก็มาจากอ่าวไทย สัมปทานที่รัฐได้น้อยมาก การเข้าถึงทรัพยากรมันไม่เป็นธรรม เราเจอคนโลภที่ตัวใหญ่มาก คุมตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง ที่สำคัญคนที่เป็นข้าราชการระดับสูง เป็นปลัดกระทรวงพลังงาน อีกตำแหน่งก็เป็นประธานบอร์ดของบริษัทเอกชน (ปตท.) แล้วคนๆนี้ก็มีหน้าที่ตั้งราคา จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
       
       นายอิฐบูรณ์กล่าวอีกว่า เราพบกรณีไม่เป็นธรรมของก๊าซ LPG เป็นอย่างมาก เขากล่าวหารถยนต์ที่ใช้ LPG เป็นตัวการให้ก๊าซไม่พอใช้ แต่ตรวจสอบแล้วตัวการคืออุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งก็เป็นบริษัทในเครือปตท. พอกลุ่มนี้ใช้ไม่เคยแจ้ง แต่เวลาแถลงข่าวว่าต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ปรากฎว่าไม่ใช่นำเข้า LPG แต่นำเข้าเป็นก๊าซองค์ประกอบ ซึ่งรถยนต์ใช้ไม่ได้ ปรากฎว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่สามารถใช้ได้ แล้วเวลาสั่งจ่ายเงินชดเชย มติล่าสุดสั่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจ่ายแค่ 1 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆโดนกัน 5-10 กว่าบาท นี่คือหลายมาตรฐาน
       
       นายอิฐบูรณ์กล่าวต่อว่า ถ้าเราจ่ายแพงแล้วเกิดกระจายรายได้ไม่ว่า แต่นี่ไปอยู่ที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เปรียบเหมือนเราเสียดินแดนโดยถูกกำลังผูกขาดทางเศรษฐกิจครอบงำ
       
       ทั้งนี้ จำนวนเงินที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มขึ้น คำนวณแบบทั้งปี ถึงสิ้นปี 55 เงินที่ต้องจ่ายเพิ่มส่วนของ NGV เพื่อให้ได้ก๊าซ 40 กก. จะเพิ่มอีก 140 บาท จากเดิมแท็กซี่จ่าย 340 บาท ต้องจ่าย 480 บาท ฉะนั้นบัตรเครดิตอะไรต่างๆ อย่าลืมรัฐบาลแค่สำรองจ่ายให้ก่อน แล้วไปจ่ายหนี้เองทีหลัง หากไม่จ่ายอาจถูกฟ้องยึดรถได้
       
       ส่วน LPG จากเดิมที่ 45 ลิตร 500 บาท จะเพิ่มมา 220 บาท ต่อไป 45 ลิตรจะต้องจ่าย 720 บาท ง่ายๆทั้งปีมันขึ้นทั้งหมด 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อค่าตรงนี้เพิ่ม กลไกต่างๆ ทั้งระบบก็ต้องเพิ่มตามไปด้วย ซึ่งภาระก็จะถูกผลักไปให้ผู้ที่ไม่มีปากมีเสียง
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #664 เมื่อ: 12 มกราคม 2555, 22:50:38 »


ปตท.ทุ่มงบพันล้านสร้างภาพ-ซื้อชุมชน-ปิดปากสื่อ


 ASTVผู้จัดการออนไลน์ - พลังและอำนาจของเม็ดเงินโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ยักษ์ใหญ่ปตท.ทุ่มสร้างภาพ ซื้อสื่อ ซื้อใจชุมชนเกือบ 1,400 ล้านบาทในห้วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มทุนผูกขาดธุรกิจพลังงานไม่ถูกตั้งข้อกังขาถึงความฉ้อฉล เผย อสมท. กวาดไม่ต่ำกว่าปีละร้อยล้าน ส่วนรายการคนดัง “วู้ดดี้ - สรยุทธ์” รับเละ 50 กว่าล้าน ทำเนียนกล่อมสังคมไทย “พลิกใจให้พอเพียง” เพื่อปตท.จะได้ฟันกำไรสูงสุดปีละเกือบแสนล้าน
       
       หากเครือปตท.จะดำเนินธุรกิจพลังงาน ซึ่งถือเป็นสายเลือดหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจและสังคมไทยโดยยึดมั่นดังคำโฆษณา “พลิกใจให้พอเพียง เพื่อสุขที่ยั่งยืน” และ “ปตท.(เป็น)พลังที่ยั่งยืน เพื่อไทย” อย่างแท้จริงแล้ว ความเดือดร้อนของประชาชนอันเป็นผลมาจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเพราะต้นทุนค่าพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นแล้วส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่คงจะทุเลาเบาบาง สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงและมีสุขที่ยั่งยืนจริงๆ
       
       แต่คำโฆษณาของปตท.ก็เป็นเพียงแค่การสร้างภาพเพื่อให้สังคมเคลิบเคลิ้ม ไม่สงสัย ไม่ตั้งคำถามถึงความไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นกรณีการปรับขึ้นราคาก๊าซฯ น้ำมัน ฯลฯ ที่ ปตท. มักมีคำอธิบายให้ชวนเชื่อถือ และรัฐบาลซึ่งความจริงแล้วมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนคอยถือหางปตท. โดยมีสื่อร่วมมือร่วมใจช่วยสร้างภาพให้กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่พลังงานแห่งนี้เปี่ยมล้นไปด้วยธรรมาภิบาลอีกทั้งทำให้สังคมเชื่อว่า เม็ดเงินกำไรตั้งแต่ ปี 2547 ถึง 9 เดือนแรกของ ปี 2554 ที่ปตท. มีกำไรสุทธิรวมกันถึง 7 แสนล้านบาท เป็นความสามารถทางธุรกิจโดยแท้
       
       เบื้องหลังการสร้างภาพและสร้างเครือข่าย “สื่อมวลชนเพื่อปตท.” นั้น สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้รายงานว่า บมจ.ปตท. ยังเป็นยักษ์ใหญ่ที่ใช้เงินเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ จ้างทำมวลชนสัมพันธ์ เป็นสปอนเซอร์รายการแข่งขันกีฬา คอนเสิร์ต ผ่านสื่อต่างๆ มากที่สุด
       
       โดยรอบปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2554) ที่ผ่านมา ปตท.ได้ใช้งบประมาณว่าจ้างหน่วยงาน องค์กรเอกชน โฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมต่างๆ รวม 44 รายการ วงเงินรวม 651.1 ล้านบาท (ดูตาราง) เมื่อเทียบกับงบประมาณ 2553 ปตท.ได้ใช้เงินประชาสัมพันธ์ ผ่านบริษัทต่างๆ 34 รายการ รวมเม็ดเงิน 687.2 ล้านบาท หากรวม 2 ปี จะพบว่า ปตท.หว่านเม็ดเงินเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สูงเกือบ 1,400 ล้านบาท

       
       สำหรับสื่อที่ได้รับการว่าจ้างมากที่สุดในรอบปี 2554 ที่ผ่านมา เรียงตามลำดับวงเงิน มีดังนี้
       
       1.บมจ.อสมท จำนวน 107 ล้านบาท ได้แก่ จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ 2010 ครั้งที่ 16 วงเงิน 7,000,000 บาท (15 ธ.ค. 53) และ จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในรายการโทรทัศน์วิทยุ และกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านสื่อในเครือบริษัท ปตท. (มหาชน) วงเงิน 100,000,000 บาท (12 พ.ค. 54)
       
       2.บริษัท ทีบี ดับบลิวเอ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 100,000,000 บาท ได้แก่ จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันใสและภาพลักษณ์สถานีบริการน้ำมัน ปตท.(17 มี.ค. 54)
       
       3.บริษัท เฟรชแอร์เฟสติวัล จำกัด (นายวินิจ เลิศรัตนชัย ถือหุ้นใหญ่) จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดงาน “ช้างร่วมฉลองมหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว” 30,000,000 บาท (19 เม.ย.54)
       
       4.บมจ. บีอีซี.เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำนวน 29,000,000 บาท ได้แก่ จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดการแข่งขัน PTT-EGAT Snooker World Cup 2011 วงเงิน 20,000,000 บาท และ จ้างโฆษณาผลิตภัณฑ์(น้ำมันใส)ปตท.ในรายการโทรทัศน์ “เรื่องเล่าเช้านี้” 9,000,000 บาท
       
       5.สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 25,000,000 บาท ได้แก่ โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการสนับสนุนแข่งขันสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ภายใต้โครงการ 1 สมาคมกีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ
       
       แต่หากจะนับความถี่จะพบว่า รายการว่าจ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทีวีบ่อยครั้งคือ จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในรายการ “ข่าวภาคค่ำ ททบ.5” ผ่านบริษัท 3 เอ.มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (ของนายสมชาย รังษีธนานนท์) จำนวน 2 ครั้ง
       
       ว่าจ้างโฆษณาทางรายการ “เช้าดูวู้ดดี้” และรายการ “The Idol คนบันดาลใจ” 2 ครั้ง (ผ่าน บริษัท ทีวี แสตนดาร์ด จำกัด ของ นางสาว อันวิดา อภิจารี และ บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ด จำกัด) และว่าจ้างประชาสัมพันธ์ผ่าน“เรื่องเล่าเช้านี้” และรายการ “เรื่องเล่า เสาร์-อาทิตย์” 2 ครั้ง (บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดาและ บมจ. บีอีซี.เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์)
       
       หากนับวงเงินที่ ปตท. หว่านโปรยว่าจ้างรายการคนดังข้างต้น คือ รายการ “เช้าดูวู้ดดี้” และรายการ “The Idol คนบันดาลใจ” 2 ครั้ง ครั้งแรก 6 ล้านบาท และครั้งที่สอง อีก 9.6 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 15.6 ล้านบาท ส่วนบริษัทไร่ส้ม รับไปเนื้อๆ ครั้งแรก 16.5 ล้านบาท และครั้งที่สอง 9 ล้านบาท รวม 25.5 ล้านบาท และเมื่อปี 2553 บริษัทไร่ส้ม ได้รับว่าจ้างให้โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. วงเงิน 11.7 ล้านบาท รวมๆ แล้วรายการคนดังรับทรัพย์จากปตท.ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา สูงถึง 52.8 ล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อย่าแปลกใจที่นักเล่าข่าวคนดัง จะไม่ขุดคุ้ยประเด็นความฉ้อฉลปล้นเงียบประชาชนของปตท.ออกมาตีแผ่ให้สังคมได้รับรู้อย่างที่ควรจะเป็น
       
       ในรายการว่าจ้างโฆษณาผ่านสื่อค่ายยักษ์ใหญ่ ปตท.เมื่อปีที่ผ่านมา ปตท.ยังเลือกใช้บริการของเครือเดอะเนชั่น ที่รับไปเนื้อๆ รวม 16 ล้านบาท
       
       นอกจากนี้ ยังพบว่ามีว่าจ้างเพื่อดำเนินงานมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังภาคเหนือ(นครสวรรค์) ผ่าน บริษัท ซีวิลโปร จำกัด วงเงิน 16,968,000 บาท (21 เม.ย. 54)
       
       ก่อนหน้านี้ ปีงบประมาณ 2553 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ใช้เงินประชาสัมพันธ์ ผ่านบริษัทต่างๆ 34 รายการ รวมเม็ดเงิน 687.2 ล้านบาท ได้แก่
       
       1.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ทางโทรทัศน์ ผ่าน บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด 12 ล้าน บาท
       
       2.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ผ่าน บริษัท แพนแทงเกิลโปรโมชั่น จำกัด 15 ล้านบาท
       
       3.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ผ่าน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย 7,500,000 บาท
       
       4.ดำเนินการจัดงานพิธีมอบรางวัล งานลูกโลกสีเขียวครั้งที่ 11 และงานการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ครั้งที่ 4 ผ่าน บริษัท แม่น้ำร้อยสาย จำกัด 5,686,128 บาท
       
       5.ประชาสัมพันธ์ ปตท. ทางการแข่งขันเทนนิสเอทีพีรายการPTT Thailand Open2009 ผ่าน บมจ.บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ 60 ล้านบาท (21 ธ.ค. 2552)
       
       6.ประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดกอล์ฟ The RoyalTrophy ผ่าน Entertainment Group Kimited 23.1 ล้านบาท
       
       7.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25(สำนักงานใหญ่) ผ่าน บริษัท เพชรจำปา จำกัด 10 ล้านบาท
       
       8.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทางโทรทัศน์ รายการคนไทยหัวใจไม่ท้อ ผ่าน บริษัท ฮันนี่ แอนด์ เฟรนด์ เอ็นเทอร์เทนเท้นท์ จำกัด(มหาชน) 5.2 ล้านบาท
       
       9. โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปทต. ผ่าน บริษัท เจวีดี แมเนจเม้นท์ จำกัด 8,079,000 บาท
       
       10.โฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร ผ่าน บริษัท ทีดับเบิลเอ (ประเทศไทย) จำกัด 120 ล้านบาท
       
       11. โฆษณาประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ ผ่าน บริษัท ธิงค์วิซ จำกัด 13 ล้านบาท
       
       12.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่าน บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ด จำกัด 9.6 ล้านบาท
       
       13.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ทางโทรทัศน์ ผ่าน บริษัท บางกอก เยลล์ จำกัด 6.5 ล้านบาท
       
       14.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ผ่านสื่อ 16 ล้านบาท
       
       15.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ทางรายการจัดการแข่งขันพัฒนานักเทนนิสอาชีพและเยาวชนไทยปี 2553 ผ่าน บริษัท ไทยเทนนิส แม็กกาซีน จำกัด 7 ล้านบาท (3 มี.ค. 2553)
       
       16.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทางโทรทัศน์ ผ่าน บริษัท ไร่ส้ม จำกัด 11,725,000 บาท (3 มี.ค. 2553)
       
       17. โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทางวิทยุ ผ่าน บริษัท ฟาติมาบรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 7.2 ล้านบาท
       
       18.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่าน บริษัท มาร์เก็ต รีอินฟอร์ส จำกัด 6,069,000 บาท
       
       19. Support SA ROOP KHEM KHONG SOOD THAI project 6thfor CHULALONGKORN UNIVERSITY BROADCASTING STATION ผ่าน CHULALONGKORN UNIVERSITY BROADCASTING STATION 1 ล้านบาท
       
       20.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่าน บริษัท ฟร้อนท์เพจ จำกัด 5,720,000 บาท
       
       21.โฆษณาประชาสัมพันธ์กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันใสและส่งเสริมภาพลักษณ์สถานีบริการ ปตท.ปี 2553 ผ่าน บริษัท ทีบีดับเบิลเอ(ประเทศไทย) จำกัด 100 ล้านบาท
       
       22.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.สร้างภาพลักษณ์ในพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง ผ่าน บริษัท ริพเพิล เอฟ เฟคท์ จำกัด 10 ล้านบาท (12 มี.ค. 2553)
       
       23.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทางโทรทัศน์รายการ องค์กรเกื้อแผ่นดิน ผ่าน บริษัท บ้านบันดาลใจ จำกัด 5,950,000 บาท
       
       24.งานเหมาพัฒนาชุมชนโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบลวิถีพอเพียง ผ่าน บริษัท บิซิเนส เซอร์วิสเซส อัลไลแอนซ์ จำกัด 54,908,820 บาท
       
       25.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทาง โทรทัศน์ รายการพลังงานเพื่อชีวิต ผ่าน บริษัท ทริปเปิล เจ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 6,959,000 บาท
       
       26.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทาง โทรทัศน์ วิทยุและสื่อต่างๆในเครือข่าย ผ่าน บมจ. อสมท 90 ล้านบาท
       
       27.บริษัทที่ปรึกษาโครงการท่อฯถนนปู่เจ้าสมิงพราย ผ่าน บริษัท เนเจอร์อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด 8,985,900 บาท
       
       28.บริการจัดการโครงการเพื่อเด็กและเยาวชน ผ่าน บริษัท อิน เฮ้าส์ เอเยนซี่ จำกัด 6,300,000 บาท
       
       29.จ้างมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 4 (นวนคร-รังสิต) ผ่าน บริษัท ซีวิล โปร จำกัด 5,639,700 บาท (9 เม.ย. 2553)
       
       30.จ้างมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 4 ผ่าน บริษัท ซีวิล โปร จำกัด 6,606,600 บาท
       
       31.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ ปตท. ทางโทรทัศน์รายการข่าวภาคค่ำ ททบ.5 ผ่าน บริษัท 3 เอ.มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 5,175,000 บาท
       
       32.จ้างมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ นิคมอุตสาหกรรม สมุทรสาคร-ถนนเศรษฐกิจ ผ่าน บริษัท เอสบี มูฟ จำกัด 9,600,800 บาท
       
       33.จ้างมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการกลุ่มลูกค้าท่อย่อย ปทุมธานี-พญาไท ผ่าน บริษัท ไทยคอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด 7.8 ล้านบาท
       
       34.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ผ่าน บริษัท พีน่า มีเดีย จำกัด 12 ล้านบาท รวม 2 ปี ปตท.ใช้งบฯประชาสัมพันธ์ประมาณ 1,338 ล้านบาท ผ่านเอกชนประมาณ 40 ราย
       
       ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า บริษัท ริพเพิล เอฟเฟคท์ จำกัด ซึ่งผู้ทำมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่มาบตาพุด มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท นางสาว โศภิน เงินสวัสดิ์ นางบุญสม บุญมาก ถือหุ้นใหญ่
       
       บริษัท ซีวิล โปร จำกัด ผู้ทำมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 มีทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท นายสุวรรณ บัณฑิต นางสาววิจิตรา ฉัตรสุวรรณ ถือหุ้นใหญ่
       
       บริษัท เอสบี มูฟ จำกัด ผู้ทำมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ นิคมอุตสาหกรรม สมุทรสาคร-ถนนเศรษฐกิจ มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท นางสาวสายชู โทสูงเนิน นายประสิทธิ์ ขันตี ถือหุ้นใหญ่
       
       ส่วน บริษัท ไทยคอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด ผู้ทำมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการกลุ่มลูกค้าท่อย่อย ปทุมธานี-พญาไท มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท นายสนธยา ทิพย์อาภากุล ถือหุ้นใหญ่

       

       

      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #665 เมื่อ: 12 มกราคม 2555, 23:05:50 »

วอนรัฐจ่ายชดเชยอย่า2มาตรฐาน

   

ครม.จะสร้าง2มาตรฐานนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง...ครม.ต้องใช้มาตรฐานเดียวกันชดเชยความขัดแย้งทางการเมืองอื่นด้วย

โดย...ทีมข่าวการเมือง posttoday.com

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบหลักเกณฑ์ชดเชยเยียวยากับเหยื่อการเมืองในเหตุการณ์ชุมนุมนับตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เป็นต้นมา โดยให้รายละ 7.75 ล้านบาท บาดเจ็บ ทุพพลภาพลดหลั่นกันถือว่าเป็นค่าชดเชยที่สูงสุดในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ทำให้เกิดคำถามถึงความเท่าเทียมในค่าชดเชยให้กับเหยื่อผู้บริสุทธิ์ในเหตุการณ์อื่นๆ อีกมาก

ละม้าย มานะการ เจ้าหน้าที่หน่วยพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติและเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่นชายแดนใต้ เปิดเผยว่า ตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ภาคใต้ (กยต.) ผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 1 แสนบาท หากเป็นข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะได้รายละ 3 แสนบาท ขณะที่ประชาชนที่ช่วยเหลือการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ จะได้รับรายละ 5 แสนบาท ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือต้องพักฟื้นเกิน 20 วัน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5 หมื่นบาท ซึ่งใช้เกณฑ์ดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2548 อย่างไรก็ตามการเบิกจ่ายตามเกณฑ์ดังกล่าวยังคงมีปัญหาอยู่มาก

ละม้าย กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการพูดถึงการเยียวยาเหยื่อจากเหตุการณ์ความไม่สงบภาคใต้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าว่าตัวเลขจะได้เพิ่มเติมเท่าใด ซึ่งรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ได้พูดถึงเงินส่วนนี้เช่นกัน แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล ทำให้งานต้องยุติลง นับว่าน่าเสียดายมาก ยิ่งเมื่อเทียบกับค่าชดเชยของม็อบการเมืองครั้งนี้ยังไม่เป็นธรรม จึงอยากเรียกร้องให้ภาครัฐลงมาดูแลเพิ่มเติม

เปรียบเทียบม็อบตายจ่าย 7 ล้าน จนท.ตายจ่ายเท่าไหร่?



โซรยา จามจุรี ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ กล่าวว่า เหตุการณ์ตากใบที่มีผู้เสียชีวิต 85 คน โดยการกระทำเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่สามารถบอกได้ว่าควรจะต้องจ่ายเงินเยียวยาเท่ากันหรือไม่ แต่ต้องเป็นธรรมและเหมาะสม ไม่ทำให้รู้สึกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ

“เราได้รับค่าเยียวยา 2 แสนบาทก้อนแรก รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการศึกษาบุตรจนถึงจบปริญญาตรี หลังจากนั้นมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมไม่เท่ากัน บางรายได้รับเงินแค่หลักหมื่น บางรายได้รับเงินเป็นหลักล้าน ขณะที่เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะได้รับการเยียวยา 3 หมื่นบาท” โซรยา กล่าว

นารี เจริญผลพิริยะ กรรมการโครงการดูแลเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านจิตใจจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การเสียชีวิตในพื้นที่ชาวบ้านได้รับการเยียวยาคนละ 1 แสนบาท การให้เงินเยียวยาม็อบการเมืองของรัฐบาลครั้งนี้ ไม่ได้มีผลต่อการสร้างความปรองดอง ตรงกันข้ามกลับยิ่งทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น เพราะถ้าการจ่ายเงินเยียวยาที่ไม่เท่ากัน ก็จะนำมาสู่คำถามว่าชีวิตของคนในประเทศนี้มีค่าไม่เท่ากันหรืออย่างไร ซึ่งหากมีความแตกต่าง กลุ่มที่ได้น้อยกว่าก็จะเกิดความไม่พอใจและ นำไปสู่ความแตกแยก

อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 กล่าวว่า คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 เป็นผู้เสนอข้อเรียกร้องให้มีค่าชดเชยด้วยเงินจำนวนดังกล่าวผ่านประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ด้วยตัวเอง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการพูดถึงว่าอาจจ่ายถึงคนละ 7-8 ล้านบาท เพราะหากคำนวณจริงๆ แล้ว ชีวิตคนหนึ่งคนน่าจะมีค่ามากกว่านั้น แต่เมื่อออกมาในจำนวนนี้ ก็ถือว่ารับได้

สมชาย แสวงการ สว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการ|คุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวว่า ที่เป็นห่วงคือมติ ครม.จะสร้างสองมาตรฐาน นำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการชุมนุมแล้วเกิดจลาจล เมื่อเสียชีวิตจะได้รับเงินรวม 7.75 ล้านบาท เทียบกับหลักเกณฑ์เยียวยาของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่เสียชีวิตจะได้เพียง 4 แสนบาท หรือกรณีตำรวจ ทหาร ใน 3 จังหวัดภาคใต้ ชั้นสัญญาบัตรเสียชีวิตได้ 25 เท่าของเงินเดือน นายร้อยได้ 3 แสนบาท ค่าสินไหมทดแทน 2 บาท ได้รวม 5 แสนบาท และถ้าชั้นประทวนจะได้ 3.6 แสนบาท พลทหารได้ 2 แสนบาท

ดังนั้น ครม.ต้องใช้มาตรฐานเดียวกันกับการชดเชยผู้ชุมนุมกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองอื่น ทั้งผู้เสียชีวิตในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ผู้ที่ถูกฆ่าตัดตอนสงครามยาเสพติด ที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นคนบริสุทธิ์ ต้องได้รับชดเชยตามเกณฑ์เดียวกันทั้งหมด รวมถึงม็อบสวนยางและตำรวจที่บาดเจ็บจากการโดนยิงต้องได้รับชดเชยด้วย เรื่องนี้ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน อย่าให้เกิดสองมาตรฐาน

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ยังมีประชาชนที่สูญเสียและเป็นเหยื่ออีกหลายเหตุการณ์ ที่ไม่ใช่เรื่องการชุมนุมทางการเมืองโดยตรง แล้วกลุ่มเหล่านี้จะได้การพิจารณาด้วยหรือไม่ เช่น การสูญเสียที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ที่มีการขีดเส้นเหตุการณ์อยู่ที่ปี 2548–2553 แต่หลายคนสูญเสียในช่วงปี 2535 2516 และ 2519 กลุ่มเหล่านี้ก็เคยร้องเรียนมาโดยตลอดเช่นกัน จึงเกิดคำถามว่าทุกคนควรจะมีสิทธิด้วยหรือไม่ คนที่ทำผิดในเรื่องอื่นๆ เช่น วางเพลิง ทำร้ายเจ้าหน้าที่ อาวุธสงคราม จะใช้หลักเกณฑ์กับคนเหล่านี้ด้วยหรือไม่

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเยียวยาเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องทำให้ครอบคลุมจะไปแบ่งแยกเฉพาะคนบางกลุ่มไม่ได้ ต้องได้รับทุกภาคส่วน ไม่เช่นนั้นจะทำให้สังคมขัดแย้งขึ้นอีก

ฐิติมา ฉายแสง โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า การเยียวยาครั้งนี้น่าจะประสบความสำเร็จในเรื่องการสร้างความปรองดอง เพราะหลักจิตวิทยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมรู้สึกถึงการได้รับความเป็นธรรม

      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #666 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 23:26:45 »

เลขาฯ แม่ฟ้าหลวง แนะ "ปู" จริงจังฟื้นฟูต้นน้ำ ปลูกจิตสำนึกท้องถิ่น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    

คุณชายดิศนัดดา” ระบุน้ำคือพระเจ้าอยู่หัว ป่าคือสมเด็จพระนางเจ้า เตือนสติ นายกฯ-รมต.-อธิบดี-ปลัด มีหน้าที่รักษาป่าอนุรักษ์ พร้อมสอนผ่านโครงการ“ปลูกป่า ปลูกคน” ต้องรู้แจ้งรู้จริงต้นเหตุของปัญหา ย้ำทุกภาคส่วนทำงานร่วมกัน ยก“โสเภณีดีกว่าคนโกงกินชาติ”ชี้ปมปัญหาความไม่ต่อเนื่องของรัฐบาล นายกฯ ผู้ว่าฯ ส่งผลแนวทางดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ห่วงอนาคตอาหารโลกวิกฤต หันกลับให้ความสำคัญการเกษตร ควบคู่อุตสาหกรรม
       

       วันนี้(14 ม.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น.ที่ดอยตุง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาและที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) และคณะเดินทางจากท่าอากาศยานทหาร กองบิน ๖ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มายังท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เพื่อไปตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยมีม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เจ้าหน้าที่โครงการและประชาชนให้การต้อนรับ
       
       จากนั้นม.ร.ว.ดิศนัดดา ได้บรรยายสรุปเรื่อง “ปลูกคน ปลูกป่า”และโครงการขยายผลการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า การที่จะบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนนั้น ตนสามารถพูดได้ทั้งวัน เพราะมีข้อมูลมาก แต่วันนี้นายกรัฐมนตรีกรุณามาสายนิดหน่อย จึงทำให้เวลาในการบรรยายลดน้อยลง ดังนั้นตนต้องพูดให้เร็วขึ้น ซึ่งตนก็ไม่ได้ต่อว่าใคร ส่วนเรื่องป่าควรจะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งการปลูกป่านั้นต้องทำที่คน เพราะคนคือต้นเหตุของทุกอย่าง ดังนั้นการพัฒนาจะต้องยึดคนเป็นศูนย์กลาง เพราะป่าจะโยงไปยังเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นรากเหง้าของปัญหาในดอยตุง ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรน้ำขาดแคลน ยาเสพติด ค้ามนุษย์นั้น ต้นเหตุของปัญหาคือ เจ็บ จน และไม่รู้ หากถามว่าทำไมประชาชนบนดอยตุงเขาต้องปลูกฝิ่น เพื่อนำเงินมาเลี้ยงชีพ ถามว่าเขาผิดตรงไหน ถ้าเป็นตนก็ทำ เพื่อความอยู่รอด ดังนั้นเราต้องเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง จึงอยากให้นายกฯเข้าใจปัญหาตรงนี้ เพื่อนำประเทศชาติไปในทางที่ถูกที่ควร ทั้งนี้หลักการปลูกป่าขอแม่ฟ้าหลวงไม่ได้มองเป็นเพียงการปลูกต้นไม้ แต่ใช้เป็นพาหะในการแก้ไขปัญหาความยากจน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ประเด็นสำคัญเราต้องรู้จริงรู้แจ้งว่า ทำไมคนถึงตัดไม้ทำลายป่า ถ้าเราเข้าไปศึกษาถึงสาเหตุให้ลึกซึ้ง จะพบว่าการตัดไม้นั้นทั้งเสี่ยงต่อการถูกจับ เสี่ยงต่อการไม่มีน้ำกิน ยิ่งตัดยิ่งแล้ง เรื่องนี้ชาวบ้านรู้ดีกว่าเรา เพราะอยู่ในพื้นที่มาตลอดชีวิต ยิ่งตัดมากเท่าไรก็ยิ่งต้องเดินทางไปหาน้ำแบกมาใช้ไกลมากขึ้น ฉะนั้นเขาไม่ต้องการทำลายป่า แต่เหตุผลของการตัดไม้ที่แท้จริงคือ ความยากจน และการขาดโอกาสเพราะไม่มีทางเลือก จึงจำเป็นต้องทำนี้คือข้อเท็จจริง
       
       “น้ำคือพระเจ้าอยู่หัว ป่าคือสมเด็จพระนางเจ้า ดังนั้นอธิบดีป่าไม้ อธิบดีกรมอุทยาน ขอให้ฟังสิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของพวกคุณ ไม่ใช่หน้าที่ผม ไม่มีใครมาจ้างผมทำงาน แม้แต่นายกรัฐมนตรีเองก็ไม่ได้จ้างผม เขาขอให้ผมมาทำช่วยชาติ เลยเสียตัว ตอนนี้ท่านทำผมท้องแล้ว ต้องรับผิดชอบ นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ ทำผมท้องแล้วจะมาทำผมแท้งไม่ได้ การแก้ปัญหาต้องรู้แจ้งรู้จริงว่าต้นเหตุของปัญหาอยู่ตรงไหน สรุปง่ายๆ คือ บนดอยต้องทำให้เป็นป่า และต้องเก็บน้ำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส และดร.สุเมธ นำมาแปลต่อ และสอนผม ดร.สุเมธฉลาดเป็นที่ปรึกษาให้เราเป็นประธาน และบอกให้เราทำ เขาก็สบาย” ม.ร.ว.ดิศนัดดา กล่าว
       
       ม.ร.ว.ดิศนัดดา กล่าวว่า ข้อต่อสำคัญในการปลูกป่า จะต้องมีปลัดอำเภอ และลงไปอยู่ในหมู่บ้าน กินนอนกับชาวบ้านอีกข้อต่อคือ ชาวบ้านในพื้นที่ โดยให้ชุมชนเลือกผู้แทนมาเป็นอาสาสมัครพัฒนา อสพ.ถ้าดีไม่ดีชาวบ้านก็รับผิดชอบเอง เราไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะไม่ได้เลือก โดยสรุปแล้วข้อต่อจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาล 1 คน และอีกคนคือ ตัวแทนชุมชน ถ้าไม่มี 2 ตัวนี้มีแต่เจ๊งกับเจ๊ง ดังนั้นต้องปลูกป่า และปลูกคน ป่าเศรษฐกิจ ตนไปเอามาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นคนออกเงิน อันนั้นชัยพัฒนาก็มาให้แม่ฟ้าหลวงทำ เขาชอบคิดแล้วให้คนอื่นทำ ท่านนายกฯระวัง เกิดการพัฒนาดอยตุง และไม่ใช่ทหารโครงการดอยตุงก็ไม่เกิดขึ้น ไปดูประวัติได้ คนสำคัญคือพล.อ.จรวย วงษ์สายัณฑ์ เสนาธิการทหารบก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก และคนที่สามคือพลเอกเปรม ติณสูญลานนท์ ประธานองคมนตรี ในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถึงได้ดันเรื่องนี้เกิดขึ้นมาได้
       
       ม.ร.ว.ดิศนัดดา กล่าวต่อว่า เรื่องของเลขและการวางแผนเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญ หากเราแบ่งการใช้สอย ทั้งป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ พื้นที่ใช้สอย ที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย นำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์ เรียกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาคุยกันก็จะทำให้ป่ากลับมาได้ถึง 80 % ซึ่งเชื่อว่าวิธีการนี้ทำได้ และทำมาแล้ว ทั้งหมดต้องสร้างความเข้าใจ และมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งชุมชนต้องเป็นเจ้าของ ต้องคิดผลประโยชน์ร่วมกัน รัฐบาลได้อะไร ชาวบ้านได้อะไร แล้วปรับตามภูมิสังคม สำคัญที่สุดคือทุกภาคส่วน รัฐบาลกลาง ซึ่งนายกฯ รัฐมนตรี อธิบดี ปลัดกระทรวงต้องเอากับเรา นั่นคืออันดับแรก ส่วนอันดับที่สองคือ ผู้ว่าฯของจังหวัดนั้น ข้าราชการ ต้องเอากับเรา เห็นชอบในวิธีการร่วมกัน และอันดับที่สามคือชุมชน รัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องร่วมด้วย ทุกขั้นตอนรวมถึงชุมชน ต้องสร้างความเข้าใจและต่อเนื่อง อย่างรัฐบาลที่ทำไม่สำเร็จ ต้องขอโทษ ไม่ได้ว่ารัฐบาลนี้ แต่ว่ารัฐบาลส่วนใหญ่ทุกรัฐบาล ไม่มีความต่อเนื่อง มีหรือไม่โครงการ 10 ปี หรือ 12 ปี แต่ปีหนึ่งก็ตัดงบประมาณทีหนึ่ง มันไม่ต่อเนื่อง คนก็ไม่ต่อเนื่อง มาที่ก็เปลี่ยนผู้ว่าฯที มันก็เปลี่ยนไปเรื่องแล้วมันจะต่อเนื่องได้อย่างไร ถ้ารัฐบาลหรือยายกฯ อยู่ยาวซักหน่อย มันก็จะมีความต่อเนื่อง แต่ข้อสำคัญที่สุดก็คือเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงทุกคนจะต้องใส่ชิฟเข้าไปในสมองว่า ทุกอย่างที่เราทำ ชาวบ้านได้อะไร
       
       “ผมอยากให้รัฐบาลคิดอย่างนี้เหมือนกันว่า ทุกคนควรจะคิดว่าทุกบาททุกสตางค์ที่ใส่ไป ชาวบ้านได้อะไร วัด ได้หรือไม่ สังคม สิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ เอาวิชาการเข้ามา ซึ่งมันทำได้ และถ้าเป็นเงินส่วนตัวของท่าน ท่านจะทำหรือไม่แบบนี้ ถ้าเป็นเงินส่วนตัวที่ท่านหามาโดยชอบธรรม ท่านจะทำหรือไม่แบบนี้ ถ้า 2 ข้อนี้อยู่ในใจเสมอ จะไม่มีทางที่จะทำพลาด ผมเชื่อว่าถ้าโครงการนี้สำเร็จ ไม่ว่าใครก็ทำได้”ม.ร.ว.ดิศนัดดา
       
       ม.ร.ว.ดิศนัดดา กล่าวต่อว่า นี่ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เราจะทำได้ดีที่สุด และเซฟเงินรัฐบาลไว้ได้ และเป็นประโยชน์กับชุมชน ชาวบ้านได้จริง ๆ อีก 30 ปี น้ำมันกินไม่ได้ อาหาร ณ วันนี้ขาดตลาดโลก 1,200 ล้านคน อีก 30 ปี จะมี 3 พันล้านคนเกิดขึ้น จะกินอะไร ดังนั้นกรุณากลับไปอาชีพเดิมของเราคือเกษตรกรรม อุตสาหกรรมไม่ทิ้ง แต่กลายเป็นเกษตรอุตสาหกรรม แล้วกระจายออกตามพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ อย่าไปกระจุกที่กทม.ไม่ได้ ทั้งหมดสรุปง่าย ๆ ก็คือความมั่นคงของชาติ จะสังเกตได้ว่าเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัส ไม่มีพระราชดำรัสตรงไหนที่ไม่มีคำว่าความมั่นคง ซึ่งเรื่องของความมั่นคง ตนและทหารทำมาเยอะ ดังนั้นประชาชนจะมีความผาสุก
       
       จากนั้น ม.ร.ว.ดิศนัดดา ได้พานายกรัฐมนตรี พร้อมผบ.ทบ. และดร.สุเมธ ไปดูโครงการปลูกป่าเศรษฐกิจที่นวุติไซด์ 1 โดยนายกฯได้ชื่นชมโครงการปลูกป่าเศรษฐกิจว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะ นอกจากจะสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน ซึ่งนายกฯได้พูดคุยกับพล.อ.ประยุทธ์ให้ช่วยพัฒนาพื้นที่ตามแนวชายแดน และช่วยสร้างความเข้มแข็งตามแนวชายแดน เพราะถ้าไม่มีปัญหายาเสพติดและไม่มีการสู้รบตามแนวชายแดนก็จะทำให้การพัฒนาเข้มแข็งขึ้น
       
       "ปู" อ้อน "สุเมธ" ทำงานกยน.ต่อ เจ้าตัวบอกไล่ก็ไม่ไป
       
       ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านั้น ดร.สุเมธ ได้เดินทางมาถึงก่อน จากนั้นพล.อ.ประยุทธ ได้เดินทางมาถึง และได้พูดคุยกับม.ร.ว.ดิศนัดดา ฯ กระทั่งนายกฯได้เดินทางมาถึง ได้เข้าไปยกมือไหว้ทักทาย ดร.สุเมธ ซึ่งได้ยืนพูดคุยกับนักข่าว
       
       โดยดร.สุเมธ ได้บอกกับนายกรัฐมนตรีว่า ผู้สื่อข่าวมาถามตนว่าโดนบังคับให้ลาออกจากที่ปรึกษากยน.หรือยัง ซึ่งตนก็บอกว่าถ้านายกฯไม่ไล่ก็ไม่ไป นายกรัฐมนตรี จึงกล่าวตอบว่า "ไม่ได้ ไม่ยอม เริ่มต้นก็ต้องประคับประคองไปด้วยกัน"
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้มีการเสนอข่าวการที่ดร.สุเมธไม่ร่วมประชุมกยน.เพราะน้อยใจและไม่พอใจการแบ่งงาน
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #667 เมื่อ: 19 มกราคม 2555, 08:42:39 »


โฉมหน้าครม.ปู2 ตัวตนคนชักใยเหี้ยมเกรียม !


       
       การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เที่ยวนี้แสดงให้เห็นถึงความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการชี้นิ้วสั่งการจาก ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะ “เจ้าของ” ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายในวันข้างหน้าว่าต้องการให้เป็นอย่างไร
       
       ต้องยอมรับว่าการปรับคณะรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นมีการกำหนดชี้ตัวบุคคลกันมาล่วงหน้า และทำอย่างรวบรัดชนิดที่เรียกว่าคนที่โดนปรับออกแทบจะไม่ทันตั้งตัว แม้ว่าหลายคนจะรู้ว่าต้องมีการปรับคณะรัฐมนตรีเกิดขึ้นแน่ แต่ก็ไม่นึกว่าจะทำกันแบบเงียบเชียบตั้งตัวไม่ทัน ระยะเวลาเพียงแค่ 4-5 วันที่เริ่มระแคะระคายออกมาทำให้เคลื่อนไหววิ่งเต้นของบางคนเพื่อดิ้นรนให้ให้นั่งเก้าอี้ต่อไปก็ต้องจบเห่
       
       ตามข่าวระบุว่ามีการนำรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯไปตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม นั่นหมายความว่ามีการกำหนดวางตัวบุคคลเอาไว้ล่วงหน้านานเป็นเดือน เพราะต้องมีการทาบทามแจ้งให้ทราบและตรวจสอบคุณสมบัติต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่ที่ผ่านมาสามารถทำได้เงียบเชียบ ไม่มีความวุ่นวาย หรือมีการวิ่งเต้นกันโดยตรง มารู้อีกทีก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ บางคนต้องตกเก้าอี้ไปอย่างเจ็บปวด
       
       อย่างไรก็ดีเพื่อให้เห็นเป้าหมายและสะท้อนตัวตนของคนที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนตัวคณะรัฐมนตรีที่กำลังเกิดขึ้นครั้งนี้ก็ต้องจับตาไปที่กระทรวงสำคัญตามยุทธศาสตร์ใหม่ คือกระทรวงพลังงาน คลัง คมนาคม กลาโหมและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่ควบคุมสื่อของรัฐ ถือว่าหน่วยงานดังกล่าวมีผลทางเศรษฐกิจ เป็นการกระชับอำนาจการสั่งการให้เข้ามาอยู่ในมือได้อย่างเบ็ดเสร็จ
       
       ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาจากเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ไม่มีการเปลี่ยนตัว โดยยังไฟเขียวต่ออายุให้ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล นั่งคาอยู่ต่อไป เนื่องจากทำผลงานได้เข้าตา โดยไม่ต้องไปสนใจความรู้สึกของชาวบ้านว่าจะคิดอย่างไร
       
       ถ้าไล่เรียงกันตามลำดับก็ต้องบอกว่าในยุคปัจจุบันต่อเนื่องไปถึงอนาคตก็ต้องบอกว่ากระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานเกรดเอ โดยเฉพาะต่อธุรกิจพลังงานทั้งที่กำลังเกิดขึ้นในนามของ ปตท.รวมไปถึงการลงทุนในแหล่งพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง กัมพูชา พม่า หรือแม้แต่แหล่งพลังงานใหม่ๆในอ่าวไทยภายในประเทศ เป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ดังนั้นก็ต้องดึงเอาคนที่ไว้ใจได้จริงๆ
       
       แม้ว่าที่ผ่านมา พิชัย นริพทะพันธุ์ ได้สนองนโยบายทำตามคำสั่งได้ไม่เคยขัด แต่หลังจากที่ทำงานสำคัญนั่นคือการปรับโครงสร้างราคาพลังงานใหม่ โดยการปรับขึ้นราคาขายปลีกทั้งน้ำมันและก๊าซกันขนานใหญ่ ย่อมสร้างความไม่พอใจกับสังคมและคนกันเองที่สนับสนุน อีกทั้งเมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ใหม่ก็ต้องเปลี่ยนหน้าเข้ามาใหม่ ซึ่งตามข่าวระบุตรงกันว่ามีการดึงเอาผู้บริหารจากบริษัทไทยคมฯอย่าง อารักษ์ ชลธาร์นนท์ เข้ามานั่งเก้าอี้แทนมันก็เห็นภาพได้ชัดเจนว่าเป้าหมายเป็นอย่างไร เพราะจะส่งผลต่อธุรกิจพลังงานในอนาคต โดยจะควบคู่ไปกับบริษัทปตท.เป็นหลัก รวมไปถึงการร่วมทุนกับบริษัทข้ามชาติ ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง
       
       สำหรับกระทรวงการคลัง หากถือว่าเป็น “แหล่งทุน”ก็ไม่น่าจะผิดนัก และที่ผ่านมาก็มีความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องการล้วงเอาเงินทุนสำรองออกมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปแบบตั้งเป็น “กองทุน” เพื่อไปลงทุนในต่างประเทศ รวมไปถึงการ “ค้ำประกัน” หลายอย่างล้วนแล้วต้องอาศัยกระทรวงการคลังเป็นหลัก แต่ที่ผ่านมาการได้ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล มานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการยังไม่สามารถทำตามคำสั่งได้ “ถึงขนาด” ไม่ใช่ว่าขัดคำสั่ง แต่ความหมายก็คือ “ใจไม่ด้านพอ” ต่างหาก บางครั้งยังมีความ “ละอาย” หรือมีเรื่องวินัยทางการเงินการคลังมาค้ำคออยู่บ้างทำให้บางอย่างยังขับเคลื่อนไม่ได้
       
       ดังนั้นอาจเป็นเพราะเหตุผลดังกล่าวหรือเปล่าที่ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนตัวให้คนอย่าง กิตติรัตน์ ณ ระนอง เข้ามาแทนโดยเป็นรองนายกฯควบเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และยังทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจถือ “กระเป๋าเงิน” อย่างเต็มตัว
       
       ส่วนกระทรวงกลาโหมก็โยก คนที่เป็นทั้งเพื่อนและลูกน้องในคราวเดียวกันอย่าง พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต จากกระทรวงคมนาคมมาคุมเหล่าทัพ เป้าหมายก็เพื่อผลักดันการแก้ไข พระราชบัญญัติกลาโหม เพื่อให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาล้วงลูกโยกย้ายในกองทัพได้สะดวก และอีกหน่วยงานก็คือสื่อมวลชนของรัฐ ซึ่งมีผลต่อยุทธศาสตร์การ “สร้างกระแสชวนเชื่อ” ให้สอดคล้องกัน
       
       ขณะที่กระทรวงอื่นๆ หรือหน่วยงานอื่นที่เหลือ แม้ว่าสำคัญลดหลั่นลงมา แต่ส่วนใหญ่เป็นการกระจายตอบแทน หรือตกรางวัลเพื่อซื้อใจคนรอบข้าง หวังผลต่อภารกิจสำคัญในภายหน้า ซึ่งก็ต้องพิจารณากันถึงประโยชน์และความไว้เนื้อเชื่อใจได้เหมือนกัน
       
       ถ้าให้พิจารณากันแบบ “รู้ใจ”ก็ต้องบอกว่าการปรับคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คราวนี้ ทักษิณ ได้เน้นย้ำในเรื่องยุทธศาสตร์ธุรกิจพลังงาน ทุนผ่านกระทรวงการคลัง และความมั่นคงในกระทรวงกลาโหม ต่างประเทศ และใช้สื่อของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อ จึงต้องใช้คนที่ไว้ใจได้ ที่สำคัญต้องใจกล้าไม่อิดออด รวมไปถึงกระจายตอบแทนตกรางวัลซื้อใจมวลชนกันพร้อมพรัก ดังนั้นถ้ามอง “แบบผลประโยชน์ส่วนตัว” มาก่อนก็ต้องบอกว่าเป็นคณะรัฐมนตรีที่สมบูรณ์แบบ และ “เหี้ยมเกรียม” เป็นอย่างยิ่ง เพราะมันได้เห็นสัญญาณบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในไม่ช้า
       
       แต่ถ้าให้พิจารณาในเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวมและบ้านเมืองเชื่อว่ายังห่างไกล
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #668 เมื่อ: 19 มกราคม 2555, 08:45:44 »

สื่อนอกชี้ครม.ยิ่งลักษณ์2แค่ตอบแทนเหล่าผู้ภักดีทักษิณ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
   
       สื่อต่างประเทศรายงานนายกฯ "ปู" ปรับคณะรัฐมนตรีขนานใหญ่ในแนวทางที่นักวิจารณ์เรียกขานว่าเป็น "ทักษิไณเซชั่น(Thaksin-isation)" ยิ่งกว่าเก่า หลังบริหารประเทศมาได้เกือบ 6 เดือน ขณะที่นักวิเคราะห์ชี้เหตุผลหลักเป็นเพียงการตบรางวัลแก่พวกที่ภักดีต่อ "ทักษิณ" เท่านั้น
       
        ไฟแนนซ์เชียลไทม์รายงานว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำรายชื่อคณะรัฐมนตรีที่มีการปรับเปลี่ยนถึง 16 จาก 35 ตำแหน่งขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไทยเมื่อวันอังคาร(17) จากนั้นเธอบอกกับสื่อมวลชนว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานและไม่ได้สะท้อนถึงผลงานที่ผ่านมาของรัฐมนตรีรายใด
       
        สื่อมวลชนชื่อดังแห่งนี้ระบุว่าในรายงานของสื่อมวลชนไทยเผยให้เห็นว่ามีเหล่านักธุรกิจผู้ใกล้ชิด พรรคพวกทางการเมืองของทักษิณและแกนนำคนเสื้อแดงบางส่วนอยู่ในรายชื่อของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่นี้
       
        ไฟแนนซ์เชียลไทม์อ้างคำสัมภาษณ์ของนักวิเคราะห์รายหนึ่งบอกว่าเจตนาส่วนหนึ่งของการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้คือจัดการกับความไม่พอใจของประชาชนจากความล้มเหลวในการรับมือวิกฤตอุทกภัยเมื่อปีที่แล้ว แต่เหตุผลหลักคือเป็นการตบรางวัลแก่เหล่าผู้ภักดีและแบ่งปันผลประโยชน์ทางการเมืองในกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #669 เมื่อ: 25 มกราคม 2555, 09:55:21 »

12ปีคดีราศีไศลเสียงคนจนไม่เคยเงียบหาย
posttoday.com
   
โดย...ทีมข่าวภูมิภาค

“ป้าย เพื่อนร่วมต่อสู้เพื่อสายน้ำ  ต่อสู้เพื่อสายธารแห่งหมู่บ้าน ต่อสู้เพื่อคืนฤดูกาล  ฤ ท่านตอบแทนโดยการจองจำ”

นี่คือคำที่เพื่อนๆ มอบให้ ป้าย หรือไพรจิตร ศิลารักษ์ อดีตแกนนำสมัชชาคนจน ซึ่งนำผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศล บุกเข้าไปยึดพื้นที่หัวงานสร้างเขื่อนชุมนุมประท้วง เมื่อเดือนพ.ค. 2543 ซึ่งทำให้เข้าถูกดำเนินคดี บุกรุกสถานที่ราชการ ทำให้เสียทรัพย์ และ ความผิดต่อเสรีภาพ12 ปีแล้วที่ป้ายต้องขึ้นโรงขึ้นศาล เพื่อต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษาว่าเขามีความผิดจริงและตัดสินจำคุก 2 ปี เขายื่นฏีกาต่อสู้คดี

และเมื่อวันที่ 24 ม.ค. ศาลฏีกาตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นแลบะอุทธรณ์ แต่โทษจำให้รอลงอาญา 2 ปี และคุมประพฤติไพรจิตร 1 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีที่เขาไม่ต้องสูญเสียเสรีภาพในห้องขัง

ชาวบ้านราษีไศล เพื่อนผู้ร่วมชะตากรรมของป้ายกว่า 100 คนที่มารวมตัวกันที่หน้าศาลจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้กำลังใจเขาปิติยินดีกันถ้วนหน้า หลังทราบคำตัดสิน


“ผมรู้สึกดีใจมากที่ศาลฏีกาได้ให้ความกรุณาต่อผมซึ่งเป็นคนยากไร้ และต่อไปในการทำกิจกรรมอะไรผมจะต้องระมัดระวังตัวให้มากกว่าเดิมอีกเพื่อจะได้ไม่ต้องทำผิดกฏหมายอีกต่อไป” ป้ายกล่าวอย่างปิติหลัง
ทราบคำตัดสิน

อย่างไรก็ตาม 12 ปีที่ผ่านมา ป้ายยืนยันเสมอถึงจุดยืนของเขา

“ยังมีคนจนอีกจำนวนมาก ที่กำลังถูกรัฐใช้กระบวนการยุติธรรมเล่นงานอยู่กว่า 3,800 คดี หากไม่มีการชุมนุมในเดือนพ.ค. 2543 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดประตูเขื่อนราษีไศล ซึ่งการเรียกร้องในครั้งนั้นก็ทำให้ผมถูกดำเนินคดี ตกเป็นนักโทษเช่น แต่เพราะมีการชุมนุมในครั้งนั้น จึงนำไปสู่การเปิดประตูระบายน้ำ ทำให้ชาวบ้านกว่า 70,000 ชีวิต สามารถประกอบอาชีพเดิมอยู่ในชุมชนเดิมได้อย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน” ป้ายบอกเล่าให้ฟัง ก่อนจะเดินเข้าฟังการตัดสิน ซึ่งเป็นคำพูดที่เยืนยันอย่างมั่นใจอยู่เสมอมา

เขายืนยันว่า หากเวลาหมุนกลับได้โดยไม่มีเขื่อนราษีไศล ชุมชนก็ไม่ต้องมีความขัดแย้ง ไม่มีความแตกแยก ครอบครัวจะอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพ่อแม่ลูก มีที่ดินทำกินอย่างพอเพียงกับสมาชิกในครอบครัว มีป่าบุ่ง – ป่าทามให้เลี้ยงวัว – ควาย มีปลาสดๆ จากแม่น้ำมูลกินอย่างเต็มอิ่ม และผู้คนมีรอยยิ้มให้กัน

“จากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลา 19 ปี (เขื่อนราษีไศลสร้างเสร็จและเริ่มกักเก็บน้ำตั้งแต่ปี 2536 – 2555) ใครบ้างได้ทำนาปีละ 2 ครั้ง ใครบ้างได้งานทำ ใครบ้างที่ร่ำรวยเงินทอง สิ่งเหล่านี้ไม่เห็นว่าจะเกิดขึ้นเลย เห็นมีแต่ความยากจน ปนความขัดแย้ง ชุมชนแตกแยก วิถีชีวิตล่มสลาย บ้านช่องเหลือแต่คนแก่กับเด็กอยู่เฝ้า คนหนุ่มสาว คนวัยทำงานอพยพไปรับจ้างขายแรงงานในต่างถิ่น เพื่อนำเงินมาจุนเจือครอบครัว”  ป้ายกล่าวย้ำในการร่วมชุมนุมกับขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ)

ค่ำคืนก่อนถึงวันพิพากษา ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาต่างๆ ทั่วประเทศ ในนามพีมูฟ ซึ่งเดินทางมาให้กำลังใจป้าย รวมตัวปักหลักชุมนุมกันหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ พวกเขาเปิดเวทีแลกเปลี่ยน ในหัวข้อ “คนดีติดคุก  คนทุกข์นอนตะราง”  โดยตัวแทนกลุ่มปัญหาจากทั่วประเทศ  ผลัดเปลี่ยนกันมาเล่าประสบการณ์ตัวแทนชาวบ้านซึ่งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งถูกกรมป่าไม้ดำเนินคดี
ฟ้องร้องทางแพ่ง คิดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมหรือคดีโลกร้อน สะท้อนความรู้สึกของการถูกดำเนินคดีว่า

“ฉันถูกฟ้องข้อหาทำให้โลกร้อน  ฉันไม่รู้จะเอาอะไรมาจ่ายให้เขา ฉันคงต้องล้มละลายแน่นอน ลูกฉันจะเอาอะไรไปเรียน ครอบครัวฉันจะอยู่อย่างไรให้รอดจากภาวะเช่นนี้”

อดีตจำเลยในคดีที่นายทุนกล่าวหาว่าเขาบุกรุกสะท้อนว่า “ที่ดินของปู่ ยกให้พ่อผม  และตกทอดมาถึงผม มีใบจับจองเป็นของเรา  วันดีคืนดีมีคนเอาไปออกเอกสารสิทธิ์  และแจ้งจับดำเนินคดีกับผม ผมติดคุกอยู่เป็นปี  สุดท้ายได้พักโทษ  และกระบวนการตรวจสอบยืนยันว่าเอกสารสิทธิ์ออกโดยมิชอบ  ดีเอสไอก็ยืนยันเช่นนั้น  ผมเลยต้องกลายเป็นนักโทษข้อหาบุกรุกที่ดินตนเอง”

เสียงเหล่านี้มิอาจมองได้ว่าเป็นแค่เสียงเล็กเสียงน้อย แต่เป็นเสียงของผู้คนจำนวนมากที่กำลังเผชิญปัญหา ซึ่งแม้จะผ่านมา 5 เดือนที่พีมูฟ รุกทวงคำตอบจากรัฐบาลใหม่ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า

“สังคมไทยควรเรียนรู้จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่  เพราะหากขาดการนำเสนอผ่านสื่อ  ขาดการเชื่อมต่อทางการเมือง  ผ่านกระบวนการเสนอการแก้ปัญหากับรัฐบาล  ก็ยิ่งทำให้ปัญหาขาดการเหลียวแล” ไมตรี จงไกรจักร ผู้ประสานงานพีมูฟ สรุปให้เห็นภาพความล่าช้าของการแก้ปัญหาของขบวนผู้ทุกข์ยาก

ไมตรีตอกย้ำว่า ยิ่งปัญหาชาวบ้านที่เกิดขึ้นทั่วหัวระแหงไม่ได้รับการเหลียวแลแก้ไข ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ ในสังคมไทย ซึ่งรัฐบาลที่ประกาศว่าจะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นภายในชาติ จะต้องใส่ใจ ให้ความสำคัญ กับการแก้ปัญหาคนจนให้มากกว่านี้


      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #670 เมื่อ: 25 มกราคม 2555, 10:09:23 »

เพิ่งฉลาด เมื่อ ตกเก้าอี้...เป็นแบบนี้ของนักการเมืองไทยส่วนมาก

วิวาทะ"ธีระชัย-กิตติรัตน์"พ.ร.ก.เงินกู้ 4 ฉบับ จำเป็นหรือไม่จำเป็น-ซุกหนี้หรือไม่ซุกหนี้
ดูกันชัดๆ ซัดกันเต็มๆ

กรุงเทพธุรกิจ

หลังจาก ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค  เมื่อ 23 มกราคม ที่ผ่านมา ระบุว่า พระราชกำหนด 4 ฉบับที่ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อวันที่ 4 ม.ค.และวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา

โดยแจ้งว่าขณะนี้อัตราส่วนหนี้ต่องบประมาณในปี 2555 อยู่ที่ะ 12% ใกล้เต็มเพดานที่กำหนดไว้ต้องไม่เกิน 15%ของงบประมาณ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อไม่ให้ภาระดอกเบี้ยของหนี้กองทุนฟื้นฟู เป็นภาระแก่งบประมาณต่อไป มิฉะนั้นจะไม่มีช่องว่างพอเพียง ที่รัฐบาลจะกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อใช้บริหารจัดการน้ำ

ธีระชัย ระบุว่า ข้อมูลที่ กิตติรัตน์ นำมาชี้แจงต่อครม.นั้นเป็นข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่คำนวณโดยใช้ตัวเลขจากประมาณการเศรษฐกิจ แต่ก่อนที่เขาจะพ้นตำแหน่งเพียงหนึ่งวัน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการคลังได้นำข้อมูลจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะมาแจ้งให้ทราบว่า ในปีงบประมาณ 2555 นั้น อัตราส่วนหนี้ต่องบอยู่ที่ 9.33% ไม่ใช่ 12% ตามที่ กิตติรัตน์ แจ้งต่อครม.

ธีระชัย บอกว่า เมื่อรู้ข้อมูลแล้ว เขาตกใจมากเพราะทำให้เหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนในการที่จะต้องออกกฎหมายในรูปแบบพระราชกำหนดเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แต่เนื่องจากการทำงานสศช.ขึ้นกับรองนายก ไม่ได้ขึ้นกับกระทรวงการคลัง จึงยังไม่สามารถสาเหตุได้ว่าทำไมตัวเลขของสองหน่วยงานจึงได้แตกต่างกันมากเช่นนี้ แต่เขาก็พ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน

ล่าสุด กิตติ ออกมาชี้แจงว่า สาเหตุที่ภาระหนี้ต่องบประมาณในปี 2555 ลดลงจาก 11.5% อยู่ที่ระดับ 9.33% เพราะรัฐบาลออกพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯเพื่อโอนภาระการชำหนี้กองทุนฟื้นฟูทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บริหาร แต่หากไม่โอนกระทรวงการคลังก็จะมีภาระดอกเบี้ยกว่า 6 หมื่นล้านบาทอยู่ ทำให้สัดส่วน

กิติรัตน์ยังบอกด้วยว่าว่า การที่ ธีระชัย โพสต์ข้อความเช่นนั้นเพราะไม่เข้าใจ  ซึ่งเขาเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมนายธีระชัยจึงไม่เข้าใจในส่วนนี้ ทั้งที่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง แต่ยอมรับว่าอาจเป็นเพราะไม่ได้สื่อสารกัน แต่เขาเองก็คาดหวังว่ารัฐมนตรีที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจง น่าจะทำความเข้าใจส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ เพื่อที่จะสามารถอธิบายให้ตนในฐานะรองนายกรัฐมนตรีเข้าใจได้ด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว เขาก็ไม่ได้ต้องการให้ใครจะมาอธิบาย เพราะพยายามทำการบ้านด้วยตัวเอง ไม่คิดว่าตัวเองจะต้องกลายเป็นฝ่ายที่ต้องอธิบายให้คนอื่นเข้าใจอีก

ส่วนกรณี ธีระชัย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คว่ารัฐบาลออกพระราชกำหนด 4 ฉบับ อ้างเหตุผลจำเป็นเร่งด่วนโดยระบุว่าหนี้สาธารณะต่องบประมาณอยู่ที่ 12% ในขณะที่ตัวเลขจริงในปีงบประมาณ 2555 อยู่ที่ 9.33% อาจทำให้พรก.4ฉบับขัดรัฐธรรมนูญนั้น สาเหตุที่ตัวเลขหนี้สูงกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการจัดทำงบประมาณใช้สมมติฐานบนกรอบภาระหนี้สูง ซึ่งรัฐบาลมียอดหนี้สาธารณะคงค้างที่เป็นเงินต้นและดอกเบี้ยที่ 4.2 ล้านล้านบาท

พร้อมกับยืนยันว่า การโอนหนี้ดังกล่าวไม่ใช่การซุกหนี้ เพราะรู้ว่าหนี้จำนวนนี้อยู่ตรงไหน ซึ่งรัฐบาลก็พยายามชี้แจงว่าหนี้ก้อนนี้อยู่ตรงไหนและมีการจัดการอย่างไร


กิตติรัตน์ ยังบอกถึงการจัดทำงบประมาณประจำปี 2556 ที่นายกรัฐมนตรีกำหนดให้ทำให้เสร็จภายในเดือนมกราคมนี้ว่า เบื้องต้นจะมีการหารือกับ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในระหว่างการประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งนายอาคมมีกำหนดที่จะร่วมเดินทางไปด้วย

โดยงบประมาณปี 2556 นั้น ยังคงต้องตั้งงบขาดดุลไว้ในระดับใกล้เคียงหรือต่ำกว่า 3.5 แสนล้านบาท แต่ต้องไม่รวมกับภาระหนี้เงินคงคลัง เพื่อให้เป็นงบประมาณสมดุล ในปี 2559 ตามกรอบเดิมที่กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณได้วางไว้

ขณะที่รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า หลังจาก กิตติรัตน์ทราบว่า ธีระชัย โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊ค กิตติรัตน์ได้สั่งให้สศช. ชี้แจงข้อเท็จจริงทันที ซึ่งสศช.ยืนยันว่าตัวเลขหนี้ต่องบประมาณที่สศช.นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น เป็นข้อมูลที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แจ้งต่อที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2554 ในช่วงที่กระทรวงการคลังได้เสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2551 ครั้งที่ 1 ให้ครม.เห็นชอบ

โดยวาระที่เสนอให้ครม.พิจารณาครั้งนั้น ธีระชัย ก็เป็นผู้ลงนามในเอกสารด้วยตัวเอง และระบุไว้ชัดเจนว่ากระทรวงการคลัง คาดการณ์สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในปี 2555 จะอยู่ที่ 11.5% ปี 2556 ที่ระดับ 12.4% ปี 2557 ที่ระดับ 12.9% ปี 2558 ที่ระดับ 13.2% และปี 2559 ที่ระดับ 13.4% โดยในปี 2555 งบชำระเงินต้นคิดเป็น 3.0% ของงบประมาณรายจ่าย และปี 2556-2559 งบชำระเงินต้นคิดเป็น 3.5% ของงบประมาณรายจ่าย

ส่วนตัวเลขหนี้ต่องบประมาณที่ลดลงนั้น เพราะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 สภาผู้แทนราษฎรได้ปรับลดงบประมาณชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยลง เพราะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลงจาก 11.5%เหลือ 9.33%  แต่การประชุมครม.เพื่อพิจารณาเรื่องพระราชกำหนดกู้เงินนั้นมีขึ้นในวันที่ 4 ม.ค. 2555 ก่อนที่สภาจะให้ความเห็นชอบพ.ร.บ.งบฯปี 2555 ในวันที่ 7 ม.ค. 2555 นตัวเลขที่สศช.ใช้ชี้แจงต่อครม.จึงยังไม่ได้ปรับเปลี่ยน

แหล่งข่าว บอกด้วยว่า ไม่เข้าใจว่าเหตุใดนายธีระชัยจึงโพสต์ข้อความเรื่องนี้ เพราะ ธีระชัย เองก็เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบฯปี 2555 จึงน่าจะทราบข้อมูลดีว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่องบประมาณที่ลดลงเพราะเหตุใด และที่สำคัญในระหว่างที่ครม.พิจารณาพรก.เงินกู้ นายธีระชัยก็ไม่เคยแจ้งให้ครม.รับทราบเรื่องนี้ แต่หลังถูกปรับออกจากตำแหน่งแล้วกลับมาโพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊ค
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #671 เมื่อ: 25 มกราคม 2555, 10:13:37 »

'ธีระชัย'จับโกหก'กิตติรัตน์'ปัดทิ้งบอมบ์รัฐ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


"ธีระชัย"โพสต์เฟสบุ๊คเป็นรอบที่ 4 จับโกหก"กิตติรัตน์"เรื่องหนี้สาธารณะ ปัดทิ้งบอมบ์รัฐบาล ย้ำห่วงประเทศชาติจริงๆ ประชาชนต้องรู้ความจริง

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค Thirachai Phuvanatnaranubala เมื่อ 25 มกราคม 2012 เวลา 8:58 น. เป็นครั้งที่ 4 หลังก้าวหลังจากตำแหน่งรมว.คลัง ผ่าน
โดยให้ความเห็นถึง "อัตราส่วนภาระหนี้ 9.33 เป็นผลจากพระราชกำหนดหรือเปล่า"


"โน้ตฉบับนี้ออกจะเน้นประเด็นวิชาการสักหน่อย แต่ผมจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่าย เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน"

นายธีระชัย ระบุว่า ขอเริ่มอธิบายว่าขั้นตอนการออกกฎหมายปกตินั้น จะทำในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งจะมีการพิจารณากันอย่างละเอียดรอบคอบ คือมีการพิจารณาในสภาถึง 3 ครั้ง และมีการตั้งคณะกรรมาธิการที่จะถกเถียงแก้ไขถ้อยคำกันทีละมาตรา และประชาชนก็จะสามารถติดตามประเด็นโต้แย้งต่างๆ ได้ แต่หากจะทำในรูปแบบพระราชกำหนด รัฐบาลจะยกร่างกฎหมายแต่ฝ่ายเดียว และในการเสนอสภา ก็จะไม่เปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงแก้ไขใดๆ ถ้าสภาจะรับก็ต้องรับไปทั้งฉบับดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้การออกกฎหมายในรูปแบบพระราชกำหนด กระทำได้เฉพาะเรื่องที่สำคัญ และเฉพาะเป็นเรื่องที่เร่งด่วนจริงๆ เท่านั้น

"ปัญหาเรื่องนี้ คือในการพิจารณาร่างพระราชกำหนดเกี่ยวกับหนี้กองทุนฟื้นฟูนั้น รองนายก (นายกิตติรัตน์) แจ้งครม. ว่าอัตราภาระหนี้ต่องบประมาณเท่ากับร้อยละ 12 จึงห่างจากเพดานร้อยละ 15 ไม่มากนัก ซึ่งถ้าข้อมูลเป็นดังนี้จริง ผมก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่เร่งด่วน แต่ภายหลัง ก่อนผมพ้นตำแหน่ง 1 วัน ผมพบว่าอัตราส่วนดังกล่าวไม่ใช่ร้อยละ 12 แต่เป็นเพียงร้อยละ 9.33 จึงทำให้เหตุผลความเร่งด่วนหมดไป อย่างไรก็ตาม รองนายก (นายกิตติรัตน์) อาจจะมีประเด็นอื่นๆ ที่ยังมีเหตุผลความเร่งด่วนอยู่อีกก็ได้นะครับ"

นายธีระชัย ระบุว่า ในวันนี้ นสพ. ไทยรัฐ ลงข่าวรองนายก (นายกิตติรัตน์) ชี้แจงว่า หากรัฐบาลไม่ออกพระราชกำหนดเกี่ยวกับหนี้กองทุนฟื้นฟู ภาระหนี้ก็จะยังเป็นร้อยละ 12 จะไม่ลดลงมาเป็นร้อยละ 9.33 ในปี 2555 งบประมาณมี 2.38 ล้านล้านบาทครับ รัฐบาลมีภาระชำระดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟู เป็นเงิน 68,424 ล้านบาท ดอกเบี้ยนี้จึงคิดเป็นร้อยละ 2.87 ของงบประมาณ จึงมีคนเข้าใจผิดได้ง่ายว่า ภาระหนี้เดิมอาจจะเป็นร้อยละ 12 หรือเปล่า แต่หากมีการออกพระราชกำหนด จะทำให้รัฐบาลไม่มีภาระต้องชำระดอกเบี้ย 68,424 ล้านบาท จึงอาจจะทำให้ภาระหนี้ลดลงเหลือ 9.33 หรือเปล่า รองนายก (นายกิตติรัตน์) เข้าใจแบบนี้ครับ ตัวของผมเอง เมื่อตอนแรกก็สงสัยว่าอาจจะเป็นแบบนี้หรือไม่ครับ

"แต่หากเปิดดูกฎหมายงบประมาณที่เพิ่งจะผ่านสภาไปเมื่อวานนี้ จะเห็นได้ ว่าดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟู 68,424 ล้านบาทนั้น รวมอยู่ในรายจ่ายงบประมาณแล้วครับ และหากใช้ตัวเลขในกฎหมายงบประมาณดังกล่าว ในการคำนวณภาระหนี้ ก็จะได้ตัวเลขร้อยละ 9.33 พูดง่ายๆ ก็คือว่า ภาระหนี้ร้อยละ 9.33 นั้นรวมดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูไว้แล้ว และทั้งนี้ ถ้าหากสมมุติว่ารัฐบาลไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟู 68,424 ล้านบาท อัตราภาระหนี้ก็กลับจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 9.33 เสียอีกครับ จะเหลือเพียงร้อยละ 6.46 เท่านั้น"

นายธีระชัย ระบุว่า การคำนวณตัวเลขต้องระวังนะครับ มิฉะนั้น ถ้าเข้าใจผิดบวกดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูเข้าไปสองครั้งเหมือนรองนายก (นายกิตติรัตน์)  ก็จะได้ตัวเลขร้อยละ 12 ซึ่งไม่ถูกต้อง ตัวเลขนี้โกหกกันไม่ได้ เพราะอยู่ในกฎหมายงบประมาณทุกตัว

"ผมเองเป็นรองประธานกรรมาธิการงบประมาณ จึงเข้าใจเรื่องนี้ครับ และตัวเลขนี้ก็ได้ยืนยันกับทีมงานสำนักบริหารหนี้สาธารณะแล้ว ถ้าข้อมูลล่าสุด แสดงว่ากฎหมายนี้ไม่เร่งด่วน หรือไม่เข้าตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ ผมขอแนะนำให้รองนายก (นายกิตติรัตน์) ควรจะต้องพิจารณาทบทวน ที่ผมชี้แจงมานี้ เพียงเพื่อต้องการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ ไม่ใช่การทิ้งบอมบ์หรือเพราะผิดหวัง แต่เป็นห่วงประเทศชาติจริง ๆ เพราะประชาชนควรได้รับทราบข้อเท็จจริงครับ"

นอกจากนี้ ใน นสพ. ไทยรัฐวันนี้ คอลัมน์กระจก 8 หน้าโดยมิสไฟน์ กรณีที่ผมคัดค้านการพยายามแสดงตัวเลขหนี้สาธารณะที่ต่ำกว่าจริง ว่า “รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินอีกมากเพื่อสร้างอนาคตประเทศ ทุกบาททุกสตางค์ไม่ว่าจะมาจากที่ไหน ล้วนมีค่าทั้งสิ้น”

"ผมไม่ได้คัดค้านเรื่องที่รัฐบาลจำเป็นต้องกู้ครับ แต่ขอให้แสดงตัวเลขหนี้ไปตรงๆ เท่านั้น อย่าพยายามหลอกว่าหนี้มีต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะถึงแม้แสดงตัวเลขตรงๆ ก็ไม่มีปัญหาในการกู้จากตลาดเงินตลาดทุนอยู่แล้ว แต่การแสดงตัวเลขต่ำกว่าจริงนั้น ในอนาคตจะทำให้รัฐบาลกู้มากไปจนเกินกำลัง จะทำให้ประชาชนใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียงและฟุ้งเฟ้อ “ทุกบาททุกสตางค์ไม่ว่าจะมาจากที่ไหน ล้วนมีค่าทั้งสิ้น” จริงๆ หรือครับ ผมว่าไม่จริง เงินที่ได้จากการหลอกตัวเลข ในความเห็นของผม ไม่มีค่าใดๆ อย่าไปเอามาเลยครับ"
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #672 เมื่อ: 25 มกราคม 2555, 10:22:56 »

นลินีพันค้าอาวุธ! ปชป.จี้ให้แจงสถานะร่วมก๊วนติดแบล็กลิสต์สหรัฐ
ไทยโพสต์ออนไลน์

ฮือฮา “ปู” มอบงาน  “นลินี” คุมสำนักเอกลักษณ์ของชาติ แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินขยับเรียก "นายกฯ-อำพน" แจงภายใน 15 วัน ยันแต่งตั้งรัฐมนตรีต้องคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 279  “ปชป.” จี้ รมต.ประจำสำนักนายกฯ เคลียร์เอี่ยวพ่อค้าอาวุธสงครามในซิมบับเวหรือไม่ ถามใครชักชวนให้คบหากับ “มูกาเบ”  ครม.ตามคาด รับใบสั่งตั้ง “ผดุง” นั่งเลขาฯ มท.1 เป็นหูเป็นตาแทนนายใหญ่ เขี่ย “อารี” ไปเป็นการ์ดให้ “ณัฐวุฒิ”
    นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังตกเป็นเป้าการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมอย่างต่อเนื่อง ถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในอดีต อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคาร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นางนลินี ในฐานะ รมต.ประจำสำนักนายกฯ กำกับดูแลปฏิบัติราชการแทนในส่วนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (เฉพาะสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ), สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี(เฉพาะสำนักโฆษก), ราชบัณฑิตยสถาน
    สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนการมอบหมายดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐคือ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
    ขณะที่นายณัฐวุฒิ ในฐานะ รมช.เกษตรฯ ได้มอบหมายจากนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ ให้กำกับดูแลกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมบัญชีสหกรณ์ องค์การสวนยาง เป็นต้น นอกจากนี้เป็นน่าสังเกตว่า นายอารี ไกรนรา อดีตเลขานุการ รมว.มหาดไทย ถูกย้ายให้มาเป็นเลขานุการานายณัฐวุฒิ ทั้งนี้ ครม.แต่งตั้งให้นายผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นเลขานุการ รมว.มหาดไทย (อ่านรายละเอียดการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง และการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบของรัฐมนตรี หน้า 4)
    แหล่งข่าวจากพรรคเพื่อไทยเผยว่า กรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแต่งตั้งให้นายผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตเลขานุการส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นเลขานุการรมว.มหาดไทยนั้น เป็นความประสงค์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อต้องการให้นายผดุงเข้ามาดูแลบริหารจัดการงานในกระทรวงมหาดไทย ให้งานต่างๆ รวดเร็วขึ้น คอยเป็นหูเป็นตาให้กับพ.ต.ท.ทักษิณและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เปรียบเหมือนเป็นรัฐมนตรีน้อยคนหนึ่งที่เข้ามากำกับงานในกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากที่ผ่านมาการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงมหาดไทยค่อนข้างล่าช้า ไม่เห็นผลงานที่ชัดเจน
    ทั้งนี้ กรณีนายณัฐวุฒินั้น ศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จำนวนหนึ่งได้เคลื่อนไหวให้มีการปลดแผ่นป้ายแสดงความยินกับนายณัฐวุฒิขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 50 เมตร ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณรั้วหน้าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ต.โพธิ์เสด็จ อ.เมืองฯ จ.นครศรีธรรมราช เนื่องจากไม่พอใจนายณัฐวุฒิ ที่เคยเคลื่อนไหวเป็นแกนนำคนเสื้อแดง และแสดงความก้าวร้าวอย่างรุนแรง รวมถึงการปลุกปั่นประชาชนจนเกิดเหตุการณ์จลาจลจนได้สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงกับประเทศ
           อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่ามีผู้ใหญ่ในวงการศึกษานครศรีธรรมราชรายหนึ่งโทรศัพท์สั่งห้ามปลดออก และบอกว่าหากเกิดอะไรขึ้นขอรับผิดชอบเอง
    นายณัฐวุฒิพูดถึงเรื่องนี้ว่า ไม่คิดว่าเรื่องป้ายคัตเอาต์จะเป็นประเด็นปัญหาที่จะต้องอธิบายหรือนำพาไปสู่ความขัดแย้งอะไร เพราะว่าเมื่อได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่ง ก็ไม่ได้บอกกล่าวไหว้วานใครให้ขึ้นป้ายหรือไม่ขึ้นอย่างไรทั้งสิ้น เป็นแต่เพียงว่าตนได้ทราบจากพรรคพวกเพื่อนฝูงที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ว่ามีองค์กร บุคคลต่างๆ เขาขึ้นป้ายแสดงความยินดีเท่านั้น  ส่วนบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงการต่อต้าน ก็เป็นบุคคลกลุ่มเดิม สะท้อนว่าความขัดแย้งทางการเมืองยังดำรงอยู่ แต่ก็เป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก
    ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และนายศรีราชา เจริญพานิช  กล่าวถึงกรณีกลุ่มกรีนการเมืองยื่นเรื่องให้ตรวจสอบการแต่งตั้งรัฐมนตรี ในกรณีนางนลินีและนายณัฐวุฒิ ขัดต่อหลักจริยธรรม ข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำว่า ผู้ตรวจการฯ ได้มีการประชุมหารือพิจารณาร่วมกันถึงกรณีดังกล่าวแล้ว เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของจริยธรรม จึงได้ข้อสรุปว่า จะมีหนังสือภายใน 1–2 วัน ไปยังผู้ที่มีหน้าที่แต่งตั้ง คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้กลั่นกรองการแต่งตั้ง เพื่อให้ชี้แจงถึงเหตุผลว่าเหตุใดถึงมีการแต่งตั้งบุคคลที่มีปัญหาเข้ามารับตำแหน่ง
    ผู้ตรวจการแผ่นดินระบุว่า การแต่งตั้งยังได้คำนึงถึงรัฐธรรมนูญมาตรา 279 (4) ที่ระบุว่า การพิจารณาสรรหาหรือแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่ตำแหน่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้อำนาจรัฐ จะต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวด้วยหรือไม่ ซึ่งผู้ตรวจการฯ เห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ เพราะขณะนี้นางนลินีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไปแล้ว การถูกกล่าวหาทำให้มีผลเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิประเทศ ดังนั้นจากที่ปกติผู้ตรวจการฯ จะให้ผู้ถูกกล่าวหาทำการชี้แจงเข้ามาภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่ครั้งนี้จะให้ชี้แจงกลับมาภายใน 15 วัน นับแต่ที่วันที่ได้รับหนังสือ
    นางผาณิตกล่าวต่อว่า ระหว่างที่มีหนังสือให้นายกฯ และนายอำพนชี้แจง ผู้ตรวจการฯ ก็จะทำการตรวจสอบและแสวงหาข้อเท็จจริงคู่ขนานกันไป โดยจะมีหนังสือไปสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถานทูตสหรัฐ เพื่อขอข้อมูลว่าการที่นางนลินี ระบุว่ายังได้รับวีซ่าเดินทางเข้าประเทศสหรัฐ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และมาตรการห้ามพลเมืองสหรัฐทำธุรกรรมกับนางนลินีนั้น มีความหมายและขอบเขตมากน้อยเพียงใด ส่วนนางนลินีและนายณัฐวุฒิ ทางผู้ตรวจการฯ ยังเห็นว่าไม่จำเป็นให้มีการชี้แจง ซึ่งหากผู้ตรวจการฯ ได้รับข้อมูลทั้งหมดแล้วก็จะมีการประชุมกันอีกครั้ง
    “ในเรื่องคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ถือว่าคุณนลินีไม่มีปัญหา แต่หัวใจสำคัญของการแต่งตั้งบุคคลที่จะเข้าไปใช้อำนาจรัฐ รัฐธรรมนูญมาตร 279 (4) เขียนไว้ชัดเจนว่า นายกฯ ต้องแต่งตั้งบุคคลโดยคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่จะตั้งด้วย ซึ้งนายกฯ อาจจะลืมดูในมาตรานี้” นางผาณิตกล่าว
    วันเดียวกัน มีความเคลื่อนไหวจากพรรคประชาธิปัตย์   โดย น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรค ออกมาเรียกร้องต่อนางนลินีว่า ควรหยุดความเห็นแก่ตัว เห็นศักดิ์ศรีของตัวเองที่ได้เป็นรัฐมนตรีสำคัญกว่าเกียรติยศของประเทศ และควรหยุดการปิดโอกาสประเทศไทย เพราะข้อสงสัยมากมายที่ไม่กระจ่างจะทำให้สำนักข่าวต่างประเทศตามขุดคุ้ยตลอดเวลา
    ที่น่าสนใจ น.ส.มัลลิกาเรียกร้องต่อนางนลินีให้ชี้แจงว่าเกี่ยวข้องอย่างไรหรือไม่กับนายจอห์น เบรเดนแคมพ์ ที่เป็นชาวซิมบับเว และกระทำการเป็นนายหน้าคนกลางในการค้าอาวุธสงครามคองโกในปี 2000 เป็นนายหน้าคนกลางในการนำเหมืองระเบิดให้ซัดดัม ฮุสเซน ในสงครามอิรัก-อิหร่านช่วงต้น 1990 เป็นบุคคลคดีหนีภาษีเป็นผู้มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับเพชรสงคราม (Blood Diamond)
    อีกทั้งนางนลินีควรชี้แจงว่าเกี่ยวข้องอย่างไรหรือไม่กับนาย  Muller Konrad Rautenbach หรือ (Billy Rautenbach) ที่มีคดียัดเงิน ค้าอาวุธ โกงภาษี ฆาตกรรม หลายครั้ง และเกี่ยวข้องกับคดีการลอบสังหาร Yong Koo-Kwon (Executive of Dewoo) และหนีภาษีนำรถเข้าประเทศแอฟริกาใต้ 1,300 คัน โดยการยัดเงินกรมศุลกากร โดนปรับ 400 ล้าน
    “นางนลินีควรชี้แจงว่าได้เริ่มคบค้ากับประธานาธิบดีประเทศซิมบับเวที่มาจากการโกงเลือกตั้งมาจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฆ่าปิดปากฝ่ายตรงข้าม มาจากระบอบเผด็จการ เพราะตัวนางนลินีเอง หรือเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ชักชวนช่วยอธิบายว่าใครชักชวนใครไปคบค้าด้วย”

    นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน)  เผยว่า ที่ประชุมมีความเห็นให้ตั้งกระทู้ถามสดในการประชุมสภา ระหว่างวันที่ 24-25 ม.ค. เรื่องการแต่งตั้งนางนลินีเป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ เพราะฝ่ายค้านมีความสงสัยถึงความเหมาะสม และข้อสงสัยว่าการแต่งตั้งจะหมิ่นเหม่ที่จะผิดประมวลจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร
    นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องถึงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2551 ที่ระบุว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการจะต้องมีพฤติกรรม ไม่คบหาหรือให้การสนับสนุนแก่ผู้ประพฤติผิดกฎหมายหรือผู้ที่มีความประพฤติในทางเสื่อมเสีย การแต่งตั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีประเด็นคำถามจากประชาชนเรื่องผลประโยชน์ต่างตอบแทนการลงทุนในแอฟริกา และมีคำถามว่าการแต่งตั้งในกรณีดังกล่าวเท่ากับการยอมรับการปกครองการปกครองในระบบเผด็จการว่ามีความชอบธรรมแล้วใช่หรือไม่
    ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ารู้สึกหายเหนื่อยหน่อย เพราะในสภาผู้แทนราษฎรจะได้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เข้ามาช่วย เพราะที่ผ่านมาตนอภิปรายคนเดียว ทั้งวุฒิสภาและกรรมาธิการ แต่เชื่อว่าในสภาจะไม่แรงไปกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ถือว่าศักยภาพของครม.ชุดนี้เยี่ยม มีมาตรฐาน
    นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า นายกฯ ได้กำหนดการประชุม ครม.สัญจรครั้งที่ 2 ที่ จ.อุดรธานี ระหว่างวันที่ 21-22 ก.พ. โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เป็นเจ้าภาพหลัก ซึ่งการประชุม ครม.สัญจรลักษณะนี้จะมีขึ้นทุกเดือน
    นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีบางคนที่ยังเป็นปัญหา ว่าบางตำแหน่งเป็นเรื่องของการแต่งตั้งบุคคลที่มุ่งเน้นในเรื่องของการแก้ปัญหา และลดความขัดแย้งภายในพรรค เป็นการตั้งโดยมุ่งเน้นเรื่องการเมืองมากกว่าการแก้ปัญหาของบ้านเมือง บางตำแหน่งมีการถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องคุณสมบัติของบุคคล แต่นายกฯ ก็ยังยืนยันที่จะแต่งตั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อีกทั้งบางคนก็ยังเป็นบุคคลที่มีข้อสงสัยเรื่องพฤติการณ์หรือถูกกล่าวหาว่ามีการกระทำความผิดก็ยังแต่งตั้งไป  อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องให้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งได้พิสูจน์ผลงานว่ามีความสามารถ พรรคก็ยังให้โอกาสกับบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเหล่านั้นได้มีโอกาสในการทำงาน.
      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #673 เมื่อ: 25 มกราคม 2555, 10:37:01 »

คำถามของธีระชัย ที่ “วีรพงษ์-กิตติรัตน์” ไม่กล้าตอบ แต่งบัญชี-ซุกหนี้-ปั้นตัวเลข???
โดย ASTVผู้จัดการออนไล


ท่าทีของนายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่วิพากษ์วิจารณ์ อย่างรู้ทันและรู้จริง ต่อมาตรการ “ซุกหนี้สาธารณะ” ของนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ หรือ กยอ. ที่ใช้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นมือไม้ไปทำ จะเป็นผล หรือเป็นเหตุ ที่ทำให้เขาถูกปลดออกจากตำแหน่ง เป็นเรื่องที่บุคคคลทั่วไปยากจะหยั่งรู้ได้ แต่ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวที่นายธีระชัยเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กนั้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสังคม เป็นการตรวจสอบ-จับผิดการฉ้อฉลของรัฐบาล ในยุคที่ระบบการตรวจสอบโดยกลไกการเมือง และสื่อสารมวลชน แทบจะไม่มีอยู่แล้ว
       

       ในข้อเขียนเรื่อง “วินัยการคลัง กับการพยายามลดตัวเลขหนี้สาธารณะ” ในเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 21 มกราคม นายธีระชัยแย้งว่า “ระดับหนี้สาธารณะของไทยซึ่งมีประมาณร้อยละ 42 ของรายได้ประชาชาตินั้น ไม่สูงเท่าใด ระดับหนี้ที่สูงคือร้อยละ 60 ดังนั้น ในวันนี้รัฐบาลยังจะสามารถกู้ได้อีกเกือบ 2 ล้านล้านบาท โดยไม่กระทบความเชื่อมั่นในตลาดเงินตลาดทุน ไม่มีความจำเป็นต้องไปซ่อนตัวเลขให้ดูต่ำกว่าจริง ก็ยังสามารถกู้ได้ไม่ยากครับ ถ้าอย่างนั้น ทำไม่จึงมีความพยายามที่จะสำแดงตัวเลขหนี้สาธารณะ ให้ต่ำกว่าที่เป็นจริง
       
       ผมเองไม่อยากกล่าวหาผู้ใดว่าคิดร้ายกับประเทศ แต่การที่ตัวเลขหนี้สาธารณะต่ำลงนั้น ย่อมจะมีผลทำให้รัฐบาลไม่มีแรงกดดันที่จะต้องหารายได้ และไม่มีแรงกดดันที่จะต้องขึ้นอัตราภาษี เพราะหากสำแดงตัวเลขหนี้สาธารณะตามเดิม ในอนาคตอันใกล้ รัฐบาลก็จะต้องขอขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีสรรพสามิตน้ำมัน หรือรายได้อื่นๆ ซึ่งย่อมจะทำให้พรรคการเมืองนั้นเสียคะแนน แต่หากสำแดงตัวเลขที่ต่ำลง รัฐบาลก็จะสามารถใช้นโยบายประชานิยมไปได้อีกเรื่อยๆ ทำให้ประชาชนมีการกินการใช้ที่ฟุ้งเฟ้อ ไม่พอเพียง ไม่ประหยัด สำคัญผิดว่าเราร่ำรวยกันแล้ว สำคัญผิดว่ายังไม่จำเป็นต้องเริ่มเก็บเงินมาเพื่อชำระหนี้”
       
       นายธีระชัยยังเห็นว่า การขายหุ้นการบินไทย และ ปตท. เพื่อลดหนี้สาธารณะ ตามแนวคิดของนายวีรพงษ์นั้น
       
       “ภาษานักบัญชีเขาเรียกวิธีการเช่นนี้ว่า “การตกแต่งบัญชี” ครับ ภาษาอังกฤษเรียกว่า “window dressing” คือการทำให้หน้าต่างที่แสดงสินค้าดูสวยหรู แต่เป็นการบังหน้าปัญหาที่เละเทะที่ซ่อนอยู่ภายในร้าน และตัวอย่างของประเทศกรีซ ก็เห็นแล้วว่า หากพยายามซ่อนตัวเลขหนี้สาธารณะ และภายหลังถูกจับได้ ก็จะไม่มีใครเชื่อถือเครดิตของประเทศอีกต่อไป
       
       เป็นอันตรายอย่างมาก ขอเตือนไว้นะครับ”

       
       ข้อเขียนเรื่อง “อัตราส่วนภาระหนี้ที่ถูกต้องต่องบประมาณที่ถูกต้องคือเท่าใด” เมื่อวันที่ 23 มกราคม นายธีระชัย ได้เปิดเผยข้อมูลที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของการใช้ข้อมูลที่อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงของนายกิตติรัตน์ เพื่อเป็นข้ออ้างในการออกพระราชกำหนดกู้เงิน 4 ฉบับ ให้ ครม.อนุมัติในวันที่ 4 มกราคม
       
       “เหตุผลที่ชี้แจงข้อหนึ่งคือ หากไม่ดำเนินการโดยเร่งด่วน จะเกิดปัญหาขึ้นแก่อัตราส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณ
       
       ภาระหนี้ต่องบประมาณนั้น คืออัตราส่วนเงินที่ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณแต่ละปี เมื่อคิดเป็นสัดส่วนของงบประมาณในปีนั้น ไม่ควรจะเกินร้อยละ 15 ของงบประมาณ ซึ่งกรอบนี้เรียกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลัง
       
       รองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) แจ้งคณะรัฐมนตรีว่าขณะนี้อัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 12 จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟู เพื่อมิให้ภาระดอกเบี้ยสำหรับหนี้กองทุนฟื้นฟู เป็นภาระแก่งบประมาณต่อไป มิฉะนั้นจะไม่มีช่องว่างพอเพียง ที่รัฐบาลจะกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อใช้บริหารจัดการน้ำ
       
       ผมได้ทราบภายหลังว่ารองนายก (นายกิตติรัตน์) ได้ข้อมูลนี้ไปจากสภาพัฒน์ ซึ่งเจ้าหน้าที่สภาพัฒน์ได้คำนวณโดยใช้ตัวเลขจากประมาณการเศรษฐกิจ และในการประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งสองครั้ง เลขาธิการสภาพัฒน์ซึ่งนั่งอยู่ในห้องประชุมด้วย ก็มิได้แก้ไขข้อมูลนี้เป็นอย่างอื่น
       
       อย่างไรก็ดี ก่อนหน้าที่ผมจะพ้นตำแหน่งเพียงหนึ่งวัน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการคลังได้นำข้อมูลจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะมาแจ้งให้ผมทราบว่า สำหรับปีงบประมาณ 2555 นั้น อัตราส่วนดังกล่าวเป็นเพียงร้อยละ 9.33 มิใช่ร้อยละ 12 ดังที่รองนายก (นายกิตติรัตน์) แจ้งต่อคณะรัฐมนตรี
       
       อัตราส่วนดังกล่าวเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นร้อยละ 1.97 และจากการชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.36 รวมเป็นร้อยละ 9.33 และเป็นการคำนวณจากตัวเลขที่เป็นทางการในกฎหมายงบประมาณที่เพิ่งผ่านสภาไปเร็วๆ นี้
       
       ผมเองต้องยอมรับว่าตกใจมากเพราะทำให้เหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนในการที่จะต้องออกกฎหมายในรูปแบบพระราชกำหนดเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
       
       ผมจึงขอเสนอรองนายก (นายกิตติรัตน์) ผ่าน facebook หน้านี้ เนื่องจากต่อไปนี้ท่านจะกำกับดูแลทั้งสภาพัฒน์และสำนักบริหารหนี้สาธารณะแล้ว ท่านจึงควรจะให้มีการศึกษาเปรียบเทียบตัวเลข และวิธีการเก็บข้อมูล รวมถึงวิธีคำนวณของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อให้ปรากฏตัวเลขที่ถูกต้องในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ
       
       นอกจากนี้ เนื่องจากรัฐบาลได้เสนอหลักการและเหตุผลสำหรับพระราชกำหนดทั้ง 4 ฉบับ ในลักษณะที่เป็นเรื่องเดียวกันที่ผูกโยงไว้ด้วยกัน โดยใช้ข้อความเดียวกันทุกประการทั้ง 4 ฉบับ ดังนั้น หากมีการตีความว่าฉบับใดฉบับหนึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้พระราชกำหนดทั้ง 4 ฉบับติดขัดไปด้วยพร้อมกัน
       
       ผมคิดว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องด่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่นะครับ”
       
       หากในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคำร้องว่า พ.ร.ก.4 ฉบับ ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามคำร้องของ สมาชิกวุฒิสภา นายคำนูณ สิทธิสมาน กับพวก แล้วเรียกตัวนายธีระชัยไปเป็นพยาน ถ้านายธีระชัย ไม่ถูกนายใหญ่-นายหญิง ตบปากสั่งสอนเสียก่อน ข้อเท็จจริง เรื่อง ตัวเลขหนี้ต่องบประมาณ จะเป็นประเด็นที่ชี้ชะตารัฐบาลอย่างคาดไม่ถึงแน่
       
       การซุกหนี้ แต่งบัญชี ปั้นตัวเลข อาจเป็นเรื่องปกติ ที่ทำกันทั่วไปในบริษัทเอกชน หากนายวีรพงษ์ยังสวมเสื้อคลุมนักเศรษฐศาสตร์ ทำมาหากินกับการเป็นประธานเป็นที่ปรึกษาของกลุ่ม ช. การช่าง และสุ่นฮั่วเซ้งอยู่ และนายกิตติรัตน์ยังเป็นวาณิชธนากรที่ใช้วิชาวิศวกรรมการเงิน ตัดปะ โยกย้าย ควบรวม ซุกซ่อนทรัพย์สิน และหนี้สิน เพื่อหาเลี้ยงชีพ ก็ไม่มีใครว่าอะไร แต่วันนี้ ทั้งนายวีรพงษ์ และนายกิตติรัตน์ เป็นผู้บริหารนโยบายเศรษฐกิจของชาติ ที่กำลังเอาวิชาเล่นแร่แปรธาตุ ที่ทำให้แบงก์บีบีซีเจ๊ง และทำให้เศรษฐกิจไทยล่มสลายเมื่อปี 2540 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง นำประเทศชาติไปเสี่ยงกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ โดยยกคาถา เพื่อป้องกันน้ำท่วมๆๆๆๆฯ มาตอบโต้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายซุกหนี้ กู้เงินของตน

       
       ครั้งนี้ มาเจอผู้รู้จริง และรู้ทันอย่างนายธีระชัย หวังว่า ทั้งนายวีรพงษ์ และนายกิตติรัตน์ จะมีคำตอบโต้ในเชิงหลักการ และข้อเท็จจริง มิใช่แค่คำชี้แจงแบบข้างๆ คูๆ ว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับพวกตน เป็นเพราะยังไม่เข้าใจ เป็นเพราะเป็นพวกที่มีความคิดแบบโบราณเหมือนพวกแบงก์ชาติ เป็นพวกที่ชอบมองนักการเมืองในแง่ร้าย อย่างที่ผ่านๆ มา

      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
seree_60
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ชีวิต คือ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยว คือ ชีวิตเรา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,865

« ตอบ #674 เมื่อ: 25 มกราคม 2555, 23:22:04 »

หนี้สาธารณะและการสร้างเครดิตให้ชาติของวีรพงษ์
โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง, สุวินัย ภรณวลั

ทยกำลังจะเป็นไปเหมือน อาร์เจนตินาหรือกรีซ
                          All Pain No Gain

       
       การให้สัมภาษณ์ของวีรพงษ์ รามางกูรเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของทักษิณผ่านรัฐบาล “หุ่นโชว์” ว่าจะนำพาประเทศไปสู่จุดใดในอนาคต
       
       วีรพงษ์กล่าวเกี่ยวกับการลดหนี้สาธารณะที่เป็นรัฐวิสาหกิจไว้ว่า “หนี้สาธารณะประเภทที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นมหาชน เป็นรัฐวิสาหกิจกึ่งเอกชน และเข้มแข็งยืนอยู่ได้ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ได้เป็นภาระ และไม่ได้ให้รัฐบาลไปค้ำประกันหนี้ ไม่ต้องการโลโกรัฐบาลไปปิดหน้าบริษัทเพื่อให้คนเชื่อถือได้ทั่วโลก เช่น บริษัท ปตท. หรือการบินไทย” ก็จะลดสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐลงให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 49 จากปัจจุบันที่มีประมาณร้อยละ 51 หรือมากกว่า เพื่อมิให้เป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่อไปโดยให้กองทุนวายุภักษ์ที่เป็นของรัฐไปถือหุ้นแทน
       
       ดังนั้นเมื่อกองทุนวายุภักษ์ไปถือหุ้นแทนรัฐบาล “ปตท.ทั้งยวงก็หลุดจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ หนี้ของ ปตท. และข้อผูกพันของ ปตท.ประมาณ 7 แสนล้านบาทก็ไม่เป็นหนี้สาธารณะ ซึ่งมันจะสะท้อนฐานะทางการคลังของรัฐบาลไทยได้ดีว่า การที่หนี้ของ ปตท.มาเป็นหนี้สาธารณะนี้ มันไม่ตรงความจริง เพราะ ปตท.ยืนด้วยขาของตัวเอง ลงทุนเองไม่ได้ใช้งบประมาณซักบาท ซักสตางค์แดงเดียว แต่มาเป็นหนี้รัฐบาล หนี้สาธารณะ ก็ทำให้มันตรงกับข้อเท็จจริง ผู้บริหารของ ปตท.เขาสบายใจ เพราะสามารถทำอะไรได้อีกเยอะ ถ้าไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ”
       
       วีรพงษ์ให้เหตุผลราวกับว่า รัฐวิสาหกิจเป็นลูกที่ไม่รู้จักบุญคุณ ไม่คิดหรือว่าที่รัฐวิสาหกิจแข็งแรงเติบใหญ่มาถึงทุกวันนี้ก็เพราะประชาชนให้น้ำให้ข้าวเขาค้ำประกันเป็นทุนประเดิมไปใช้ตอนยังแบเบาะ หากไม่ได้หนึ่งบาทตอนนั้นก็ไม่มีหมื่นล้านตอนนี้
       
       หนี้สาธารณะตามกฎหมายไทยบัญญัติไว้ตาม ม. 4 ของ พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ที่ออกในสมัยรัฐบาลทักษิณ กำหนดว่าเป็นหนี้ที่กระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน แต่ไม่รวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยกระทรวงการคลังมิได้ค้ำประกัน
       
       กล่าวง่ายๆ ก็คือเป็นหนี้ของ รัฐบาล + รัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งสอดคล้องกับนิยามที่ใช้กันทั่วโลกเพราะรัฐบาลสามารถให้องค์กรหรือหน่วยงานใดเป็นตัวแทนไปสร้างหนี้ก็ได้ ดูตัวอย่างของกองทุนหมู่บ้านฯในปี พ.ศ. 2545 ก็ได้ว่าก่อหนี้โดยให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านฯ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่มีทรัพย์สินใดเลยไปกู้จากธนาคารออมสินแทนรัฐบาล ในทำนองเดียวกันสมมติว่าหากการไฟฟ้าฯ ไปกู้เงินแม้รัฐบาลไม่ค้ำประกันแต่หากไม่ชำระหนี้รัฐบาลจะนิ่งเฉยไม่ชำระแทนโดยปล่อยให้เจ้าหนี้มายึดทรัพย์ดับไฟให้ประชาชนเดือดร้อนได้หรือไม่
       
       นอกจากนี้ใน ม. 7 และ ม. 8 ของกฎหมายดังกล่าวจึงกำหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจในการกู้หรือค้ำประกันแต่ผู้เดียว หน่วยงานรัฐอื่นใดจะไปกู้โดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้มิได้
       
       ต่างจากรัฐวิสาหกิจเป็นสถาบันการเงินหนี้สินที่เกิดขึ้น เช่น เงินฝากจะมีทรัพย์สิน เช่น ลูกหนี้จากการให้กู้ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งในบัญชีเกิดขึ้นเช่นกัน
       
       หนี้ที่ออมสินหรือกรุงไทยจึงไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ ในขณะที่หนี้ ปตท. การบินไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงเป็นหนี้สาธารณะด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น
       
       การ “หลอก” คนอื่นโดยตกแต่งบัญชีให้กองทุนวายุภักษ์ที่วีรพงษ์เองก็บอกเองว่าเป็นของรัฐให้ถือหุ้นแทนก็ไม่ได้ทำให้ทั้ง ปตท. หรือ การบินไทย หลุดพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจไปได้เพราะสัดส่วนที่รัฐถืออยู่โดยรวมก็ยังเกินกว่าร้อยละ 50 อยู่ดี เพียงแต่ว่าจะไปอยู่ในมือของรัฐและหน่วยงานรัฐใดเท่านั้น
       
       รัฐวิสาหกิจไทยในกฎหมายหลายๆ ฉบับแม้แต่ พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ม. 4 (ก) ให้ความหมายไว้ว่าเป็นของหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรของรัฐบาลที่รัฐเป็นเจ้าของ (ข) จะโดยรัฐหรือหน่วยงานใดถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 หรือ (ค) ถือหุ้นโดยหลายหน่วยงานของรัฐรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ก็ได้เพราะคำนวณจากทุนตามที่หน่วยงานนั้นๆ ลงทุนไป จะมาอ้างมั่วๆ แบบ “โกร่งๆ” ว่าพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจไปแล้วเพราะคิดเฉพาะหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่ไม่คิดหุ้นที่กองทุนวายุภักษ์ที่เป็นของรัฐบาลเช่นกันได้อย่างไร
       
       แนวคิดแบบที่วีรพงษ์ให้สัมภาษณ์ จึงไม่สะท้อนความเป็นจริงในสถานะทางการคลังของรัฐบาลไทยแต่อย่างใด หนี้สาธารณะจะหายไปได้ก็เพราะ (1) มีการใช้หนี้คืนและ/หรือ (2) ขายรัฐวิสาหกิจไปให้เอกชนอันจะเป็นหนทางที่แท้จริงในการลดระดับหนี้สาธารณะเท่านั้น
       
       ในทางกลับกัน ทั้งแนวคิดและความพยายามในการปิดบังซ่อนเร้นและตกแต่งบัญชีดังเช่นที่วีรพงษ์ให้สัมภาษณ์มานี่แหละจะเป็นเครื่องบั่นทอนเครดิตของประเทศไทย
       

       วีรพงษ์น่าจะพ้นจากความเป็นนักวิชาการหรือาจารย์ไปนานแล้ว คงมีแต่สื่อมวลชนนี้แหละที่ยกยอปอปั้นเรียกคำนำหน้าหรือสรรพนามว่าอาจารย์ ทั้งๆที่เคยเขียนงานวิชาการเผยแพร่ครั้งสุดท้ายเมื่อใดเจ้าตัวจำได้หรือไม่ อย่าลืมว่าหมอนวดตามโรงนวด เซียนพระหรือหมอดูตามสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่บาทวิถีจนถึงโรงแรมก็เรียกว่าเป็นอาจารย์ เครดิตหรือความน่าเชื่อถือทางการคลังนี้วีรพงษ์รู้หรือไม่ว่าไม่มีขายมีแต่ต้องทำเอง และวิธีที่จะทำขึ้นมาก็คือ ทำตามที่พูดและโปร่งใสตรวจสอบได้
       
       แนวคิดและความพยายามที่จะบอกกับสังคมว่าหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ มิใช่เป็นหนี้สาธารณะซึ่งรัฐบาลไม่ได้เป็นผู้ก่อ และบัดนี้เจ้าของหนี้ก็แข็งแรงแล้ว ก็ขอให้รับคืนไปจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท ทั้งนี้เป็นความชอบธรรมของรัฐบาลที่จะโอนคืนนั้น มันตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการอย่างไร
       
       หน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็คือทำหน้าที่ธนาคารกลางให้กับประเทศโดยมีเป้าหมายหลักในการรักษาเสถียรภาพโดยการรักษาระดับราคามิให้ผันผวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหรือที่เรียกง่ายๆ ว่า เงินเฟ้อ อาศัยอำนาจในการเพิ่มหรือลดปริมาณเงินในระบบเป็นเครื่องมือ ไม่มีหน่วยงานอื่นที่ทำหน้าที่เช่นนี้ได้
       
       ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการสร้างความน่าเชื่อถือว่าเศรษฐกิจภายใต้การบริหารของตนเองว่ามีเสถียรภาพก็ต้องให้อิสระกับ ธปท.ในการควบคุมเงินเฟ้อ เพราะอำนาจในการเพิ่มเงินเป็นสิ่งล่อใจอาจทำให้รัฐบาลเห็นกงจักรเป็นดอกบัวสั่งให้เพิ่มเงินแทนการเก็บภาษีเพื่อนำมาใช้จ่าย ตัวอย่างมีให้เห็นทั่วโลกว่าหากรัฐบาลสามารถสั่งให้ธนาคารกลางเพิ่มเงินให้เอาไปใช้จ่ายโดยเสรีแล้ว ความน่าเชื่อถือก็จะหมดไปเพราะจะไม่สามารถรักษาเป้าหมายเงินเฟ้อเอาไว้ได้
       
       ผลเสียจากเงินเฟ้อ นอกจากจะกระทบประชาชนโดยเฉพาะคนที่มีรายได้คงที่แล้วยังกระทบต่อความสามารถในการกู้เงินของประเทศเพราะจะไม่สามารถกู้เงินในสกุลเงินของตนเองในระยะยาวและกำหนดดอกเบี้ยแบบคงที่ได้ เงินเฟ้อจะทำให้อำนาจซื้อของเงินในอนาคตลดลง แล้วเสถียรภาพจะเกิดขึ้นได้อย่างไรหากต้องกู้เป็นเงินตราต่างประเทศ ระยะสั้น และดอกเบี้ยลอยตัวตามเงินเฟ้อ หลายประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาที่นิยมใช้นโยบายประชานิยมมาก่อนเป็นตัวอย่างที่ดีว่าจนบัดนี้ยังไม่สามารถกู้ในแบบที่ไทยสามารถกู้ได้ในปัจจุบัน เงินเฟ้อมีผลต่อโครงสร้างหนี้
       
       การโอนหนี้ให้กองทุนฟื้นฟูฯ ที่ ธปท.กำกับดูแลก็หมายความว่าจะให้ธปท.ออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยมาทดแทนพันธบัตรที่รัฐบาลเคยออกให้แล้วรัฐบาลจะรักษาเงินเฟ้อได้อย่างไรเพราะปริมาณเงินในระบบจะต้องเพิ่มขึ้น ไม่ทราบว่า “ความแข็งแรง” ที่วีรพงษ์กล่าวนั้นหมายถึงอะไรเพราะที่กล่าวมาล้วนทำร้ายเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างเลือดเย็น
       
       การลดระดับหนี้สาธารณะที่พยายามทำอยู่ ไม่ว่าจะบังคับโอนหนี้ให้กองทุนฟื้นฟูฯ ไปชำระแทนก็ดี หรือการให้กองทุนวายุภักษ์มาถือหุ้นบางส่วนของ ปตท.แทนกระทรวงการคลังก็ดี ล้วนเป็นแนวคิดและความพยายามที่จะหลอกลวง ปกปิด และทำร้ายประเทศด้วยการทำลายความน่าเชื่อถือทางการคลัง
       
       อย่าคิดว่าประเทศไทยจะไม่เป็นเหมือนกับอาร์เจนตินาในอดีต หรือกรีซในปัจจุบัน เพราะแนวคิดของวีรพงษ์และรัฐบาลนี้กำลังทำก็ไปในทิศทางเดียวกับที่ประเทศเหล่านั้นเคยเดิน
       
       วีรพงษ์ก็เรียนรู้มาบ้างมิใช่หรือจากการเป็นประธานธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การที่หลอกลวงและปกปิดประชาชน เป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์กลางของปัญหาที่ต้องให้คนอื่นๆ ที่รวมถึงกองทุนฟื้นฟูฯ ต้องตามล้างตามเช็ดมาถึงปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร ใครจะเชื่อว่าเกริกเกียรติทำได้คนเดียว

      บันทึกการเข้า

iss u.Don"t be sure that the world is wide
       until you check it out by your self.
  หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 33  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><