18 เมษายน 2567, 16:46:57
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: "วิชาการ ศาลตัดสินคดี 76,000ล้าน นำมาบันทึกไว้ให้นิสิตคณะนิติฯและพวกเราศึกษา"  (อ่าน 3984 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 01 มีนาคม 2553, 16:14:18 »


         การเมือง : บทวิเคราะห์ คำวินิจฉัย...มติเอกฉันท์"ทักษิณ"ปกปิด-อำพรางหุ้น

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553

        

        ประเด็นข้อกฎหมาย

1. วินิจฉัย ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี  
    
         วินิจฉัยในประเด็นแรก คือ ศาลมีอำนาจในการพิจารณาคดีนี้ ตามที่ผู้คัดค้านคัดค้านหรือไม่

         โดยวินิจฉัยว่า การตรวจสอบของ คตส.เป็นไปตามกฎหมาย และเป็นไปตามอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ตามมาตรา 9 (1) และ (4) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นมติเอกฉันท์      

มติเอกฉันท์
 
2. วินิจฉัย คตส.มีอำนาจตรวจสอบโดยชอบ
    
         ประเด็นวินิจฉัยต่อมา คตส.มีอำนาจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ศาลวินิจฉัยว่า เป็นการดำเนินการภายใต้ขอบอำนาจตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ส่วนที่ คตส. แต่งตั้งอนุ คตส.นั้น เห็นว่า คตส.ใช้อำนาจตามประกาศ คปค. สามารถแต่งตั้งได้ และไม่ล่วงเลยระยะเวลาตามที่ผู้คัดค้าน ทำการคัดค้าน เพราะมีกรอบเวลาชัดเจน หากไม่เสร็จสิ้นต้องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อ ทั้งหมดเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งประเด็นที่ คตส.บางคน เช่นนายกล้านรงค์ จันทิก นายบรรเจิด สิงคะเนติ และนายแก้วสรร อติโพธิ เป็นปฏิปักษ์ของผู้ถูกร้อง แต่งตั้งเป็นประธานอนุฯ คตส.นั้น ชอบแล้วด้วยกฎหมาย และ ป.ป.ช.จึงมีอำนาจดำเนินการแทน คตส.ได้ก็ชอบแล้วด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ คดีนี้ไม่เกี่ยวกับคดีอาญา แต่เป็นคดีแพ่ง จึงไม่จำเป็นต้องให้ผู้ถูกกล่าวหามา ศาลมีมติเอกฉันท์ ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้

มติเอกฉันท์

3. วินิจฉัย คำร้องของอัยการไม่เคลือบคลุม

         วินิจฉัย คำร้องที่ให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 76,621,603,061.05 บาท ของอัยการสูงสุดในฐานะผู้ร้อง แจ้งชัดและไม่เคลือบคลุม

มติเอกฉันท์

ประเด็นข้อเท็จจริง

1. ปกปิดอำพรางหุ้น โดยผ่านนอมินี    
  
         ประเด็นวินิจฉัยผู้ถูกกล่าวหาปกปิดอำพรางหุ้นหรือไม่ วินิจฉัยว่า ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 วาระ ยังถือหุ้นไว้ แต่ปี 2549 รวบรวมหุ้นทั้งหมดขายให้เทมาเส็ก โดยมีการโอนหุ้นให้กับผู้คัดค้านหลายคนจริง ผู้ถูกกล่าวหาแม้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2544 แล้ว ผู้ถูกกล่าวหามีอำนาจดำเนินนโยบายและแต่งตั้งกรรมการในบริษัทชินคอร์ปจริง การควบคุมนโยบายของผู้ถูกกล่าวหาผ่านทางคณะกรรมการบริษัทชินคอร์ปจริง มีมติเป็นเอกฉันท์ ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 มีหุ้นในเทมาเส็กจริง

         การขายหุ้นให้พี่น้องมีพิรุธ ไม่มีใครจ่ายเป็นเงิน ทั้งที่จริงๆ มีเงินจ่ายได้ แต่กลับจ่ายเป็นตั๋วสัญญา อีกทั้งยังเป็นผู้รับเงินปันผลตามบัญชีบริษัทแอมเพิลริช ที่มีเงินปันผลเข้าบัญชีระหว่างปี 2546-2548 จำนวน 1,000 ล้านบาท ศาลจึงมีมติเอกฉันท์ว่าผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นใหญ่กว่า 1,400 ล้านหุ้น ของบริษัทชินคอร์ป ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งทั้งสองสมัย

มติเอกฉันท์
      
2. การแปลงสัญญาสัมปทานฯ เอื้อประโยชน์ชินคอร์ป  
    
          วินิจฉัยว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ชินคอร์ป และเป็นเหตุให้ชาติเสียหาย เพราะภาษีสรรพสามิตหายไป 6 หมื่นล้านเศษ มีมติด้วยเสียงข้างมาก ผู้ถูกกล่าวหา ใช้ตำแหน่งหน้าที่ ตราพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ทำให้ชาติเสียหาย

มติเสียงข้างมาก
 
3. กรณีแก้ไขสัญญาโทรศัพท์มือถือ กรณีบัตรเติมเงิน และ โรมมิ่ง

         การแก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรเติมเงิน (PREPAID CARD) ส่งผลให้เอไอเอส จ่ายส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ให้แก่ บริษัท ทศท ในอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์ คงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทานตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 จากเดิมที่ต้องจ่ายตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นแบบก้าวหน้าในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543-30 กันยายน 2548 และในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548-30 กันยายน 2548 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

         การแก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม (ROAMING) และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ และกรณีการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ ชินคอร์ป และเอไอเอส การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ให้บริษัท เอไอเอส เข้าไปใช้เครือข่ายร่วมผู้ให้บริการรายอื่นมีผลต่อการจ่ายเงินผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ต้องจ่ายให้กับ บริษัท ทศท และบริษัท กสท ไม่น้อยกว่า 18,970,579,711 บาท กลายเป็น  เอไอเอส จะได้รับผลประโยชน์ที่ไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนดังกล่าว ซึ่งบริษัท ชินคอร์ป ที่ผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นเป็นผู้ถือหุ้นใน ดังนั้นผลประโยชน์ที่ เอไอเอส ได้รับดังกล่าวจึงตกกับหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ที่ผู้ถูกกล่าวหาถือในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นเหตุให้หุ้นมีมูลค่าสูงขึ้น จนกระทั่งได้มีการขายหุ้นให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์

         วินิจฉัยว่า ภาระเอไอเอสลดน้อยลง แต่มีรายได้เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 44-49 โดยลำดับ ตั้งแต่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมาก ว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขสัญญาดังกล่าว และผู้ถูกกล่าวหามีหุ้นในชินคอร์ป ผลประโยชน์จึงตกแก่ผู้ถูกกล่าวหา เงินที่ขายหุ้นให้เทมาเส็ก จึงได้มาโดยไม่สมควร

มติเสียงข้างมาก

4. กรณีการใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง)

          วินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีส่วนในการแก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่ออนุญาตให้ใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง) และปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมระหว่าง กสท กับ DPC เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับชินคอร์ป และเอไอเอส แต่เนื่องจากมีการขายหุ้นให้เทมาเส็กไปเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ทำให้ผู้ได้รับประโยชน์จากการลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมไม่ใช่ผู้ถูกกล่าวหา แต่เป็นเทมาเส็ก

5. กรณีแก้ไขสัญญาสัมปทานดาวเทียมโดยมิชอบ

         กรณีการละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียมตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี ได้แก่ การอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพี สตาร์, การอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน ครั้งที่ 5 วันที่ 27 ตุลาคม 2547 รวมถึงการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป

         ในบริษัท ชินแซทเทลไลท์ ที่เป็นผู้ขออนุมัติสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม และการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศ ล้วนเป็นการเอื้อประโยชน์กับบริษัท ชินคอร์ป และ ชินแซทฯ

         วินิจฉัยว่า เป็นการกระทำที่ลัดขั้นตอน รีบเร่ง ผิดปกติวิสัย ทั้งนี้ ดาวเทียม IP STAR ไม่ได้เป็นดาวเทียมหลัก แทนไทยคม 3 เป็นดาวเทียมใช้สื่อสารต่างประเทศ ผิดสัญญาตามที่ระบุว่า ใช้สื่อสารในประเทศ จึงอยู่นอกกรอบสัญญา เป็นการอนุมัติให้บริษัทผู้ถูกกล่าวหา ได้รับสัมปทานไปโดยไม่มีคู่แข่ง ทำให้รัฐเสียหายกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท องค์คณะจึงมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมาก เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ชินคอร์ป และบริษัทไทยคม

มติเสียงข้างมาก
 
6. กรณีอนุมัติเงินกู้เอ็กซิมแบงก์ให้พม่า

         การขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมให้แก่ประเทศพม่า เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจากประชุมร่วมกับพม่า-กัมพูชา และในการประชุมครั้งนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ของไทยคมและไอเอเอส ไปสาธิตระบบให้บริการมือถือผ่านดาวเทียมในการประชุมด้วย จึงย่อมแสดงให้เห็นว่าการขอวงเงินเพิ่มเติมมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากไทยคมนั่นเอง

         ส่วนที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าได้อนุมัติเงินไปซื้อสินค้าอื่นนั้น ก็ไม่อาจรับฟังหักล้างข้อที่ว่าไทยคมจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการในเรื่องนี้ได้  และที่อ้างว่าการอนุมัติวงเงินสินเชื่อนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธนาคารนั้น  เห็นว่าธนาคารเอ็กซิมแบงก์ ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.เอ็กซิมแบงก์ ปี 2536 และอยู่ในการกำกับของ รมว.คลัง จัดเป็นหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งในการอนุมัติวงเงินให้รัฐบาลพม่าในครั้งนี้ ก็ได้ความจากพยานซึ่งเป็นอดีตกรรมการเอ็กซิมแบงก์ ว่าเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และโดยการให้สินเชื่อดังกล่าวได้ผลตอบแทนเป็น

         ดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ จึงต้องขอให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินของคลังมาชดเชย  กรณีนี้จึงส่งผลเสียต่องบประมาณของประเทศโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะเอ็กซิมแบงก์ก็ไม่ได้รับการชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการนี้อีกด้วย

         ส่วนที่อ้างว่าการดำเนินการในครั้งนี้พิจารณาผลประโยชน์ของประเทศ โดยทำให้ปตท.สผ.ได้รับสัมปทานบ่อแก๊สที่พม่านั้น เห็นว่าบริษัทชินคอร์ปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของไทยคม จึงได้ประโยชน์จากการถือหุ้น ย่อมเป็นการไม่สมควรที่จะอนุมัติวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมให้กับพม่า องค์คณะจึงมีมติเสียงข้างมากว่าการดำเนินการกรณีนี้เอื้อประโยชน์ให้แก่ไทยคมและชินคอร์ป

มติเสียงข้างมาก  

7. การดำเนินการทั้ง 5 กรณีเป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่

         ใน 5 กรณีพบว่ามีการสั่งการอยู่ 2 กรณีคือการแปลงภาษีสรรพสามิตฯ โดยเป็นการสั่งการและมอบนโยบายให้ปฏิบัติเป็นลำดับชั้น ตั้งแต่รมว.คลัง รมว.ไอซีที ขรก.และกรรมการในชุดต่างๆ  อีกกรณีคือการอนุมัติของเอ็กซิมแบงก์ในการให้วงเงินสินเชื่อแก่พม่า โดยผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งการและมอบนโยบายผ่าน รมว.ต่างประเทศ

         ส่วนอีก 3 กรณีคือบัตรเติมเงิน การใช้โรมมิ่ง และละเว้นอนุมัติส่งเสริมธุรกิจดาวเทียมในประเทศ ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาล้วนเป็นผู้กำกับดูแลในฐานะนายกฯ มีการไล่เป็นลำดับชั้นได้แก่ รมว.คลัง รมว.คมนาคม รมว.ไอซีที และหน่วยงานของรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกฯ  และเป็นประธานบีโอไอ  สำหรับคณะกรรมการประสานงานดาวเทียมสื่อสารของประเทศ ข้อ 39 กำหนดให้ปลัดคมนาคม และจนท. ซึ่งเป็นผู้แทนรวม 4 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการดังกล่าว ส่วน กสท และ ทศท แม้จะแปลงเป็นบริษัทแล้วแต่ทั้งสองหน่วยงานแต่ก็ยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่ในกำกับของกระทรวงไอซีที

         อีกทั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ก็เป็นสมาชิกพรรค ทรท. โดยที่มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ในขณะนั้น  ประกอบกับทั้งสามกรณีเป็นการเริ่มต้นร้องขอมาจากชินคอร์ป และบริษัทเกี่ยวข้องทั้ง 3 กรณี  ฟังจากคำเบิกความจากผู้จัดการผลประโยชน์ ทศท ฯลฯ ได้ความว่าคณะกรรมการกลั่นกรองได้พิจารณาหลักการตามที่เอไอเอสเสนอต่อ ทศท ในวันที่ 21 และ 28 สิงหาคม และเป็นวาระจรทั้งสองครั้ง  ไม่ได้เสนอโดยฝ่ายบริหารผลประโยชน์ดังที่ได้ปฏิบัติมา

         ส่วนกรณีการใช้เครือข่ายร่วมนั้นก็ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่ปฏิบัติ และมีการตอบสนองเอไอเอสอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับกรณีดาวเทียมสื่อสารในประเทศ ก็มีวิธีการทำนองเดียวกัน คือให้ รมว.คมนาคมอนุมัติไปก่อนที่คณะกรรมการจะรับรายงานการประชุม ปรากฏจากบันทึกของบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ว่า เป็นเรื่องที่ไม่สมควร เนื่องจากสัญญาสัมปทาน มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกฯ จึงให้ถอนเรื่องออกไป ขณะที่ผู้อำนวยการส่วนวางแผนการเงินก็เบิกความประกอบว่า การดำเนินการเรื่องนี้ค่อนข้างรวดเร็ว และพยายามเสนอให้ทัน 12 เมษายน 2544 ที่มีการประชุมคณะกรรมการ ทศท เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกกล่าวหา ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทั้ง 5 กรณีเป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่ ใช้อำนาจรัฐเอื้อธุรกิจชินคอร์ป

มติเสียงข้างมาก

8. กรณีให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่

         เมื่อผลเป็นการเอื้อประโยชน์โดยตรงต่อชินคอร์ป และเป็นการแสดงให้ปรากฏแกคนทั่วไปของกิจการ ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้มูลค่าหุ้นในชินคอร์ปเพิ่มขึ้น ดังนั้นเงินปันผลค่าหุ้น และเงินขายหุ้นชินคอร์ปให้กับเทมาเส็กจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร ในฐานะนายกฯ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ประกอบพ.ร.บ.รธน.ว่า ป.ป.ช.  แต่โดยที่ผู้กล่าวหา และผู้คัดค้าน 1 จึงเห็นวินิจฉัยเสียก่อนว่าศาลจะให้เงินในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดินได้หรือไม่
             http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20100227/102581/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2...%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99.html

          ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
         เป็นกรณีศึกษาสำหรับนักกฏหมาย ไว้เรียนรู้ได้ จึงขอนำมาโพสต์ไว้ให้ศึกษา รักนะ

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
ภาณุ ปาตานี
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,254

« ตอบ #1 เมื่อ: 03 เมษายน 2553, 10:18:58 »

ขอบคุณครับ เป็น Case study ที่ดีและน่าสนใจครับพี่หมอสำเริง

      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><