23 เมษายน 2567, 20:44:28
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: 'โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กเล็ก...  (อ่าน 10592 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553, 18:18:00 »


'โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กเล็ก...
ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันอาทิตย์ ที่ 06 มิถุนายน 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=518&contentId=70132

ไม่ตายก็พิการ แต่ป้องกันได้'



ปัจจุบันโรคติดเชื้อรุนแรงในเด็กเล็กยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกที่
กุมารแพทย์โรคติดเชื้อทั่วโลกให้ความสำคัญ ซึ่ง

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคหนึ่งในโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงมาก
พบผู้ป่วยในทุกประเทศทั่วโลก

แม้ว่าจะพบอุบัติการณ์ไม่มากก็ตาม ด้วยความรุนแรงและร้ายแรงของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบทั่วโลก

สมาพันธ์ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ(CoMO-TheConfederationofMeningitisOrganizations)
ซึ่งประกอบด้วยองค์กรสมาชิกกว่า 14 ประเทศ สร้างเครือข่ายในการรณรงค์

ให้ตระหนักถึงอันตรายและเกิดการตื่นตัวในการป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นทั่วโลก และ
กำหนดให้มี

วันเยื่อหุ้มสมองอักเสบโลก (World Meningitis Day) ขึ้นทุกปี

เนื่องจากผู้ป่วยมีทั้งรักษาหาย พิการหรือตายได้
ในรายที่สมองพิการเด็กมักจะมีพัฒนาการที่ช้า มีโอกาสปัญญาอ่อน หรือมีโรคลมชัก หูหนวก
รวมถึงการสูญเสียด้านอื่น ๆ

ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดของโรคติดเชื้อในเด็กคือ การป้องกันไม่ให้เกิดจะดีกว่า
    
ข้อมูลจาก ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อรุนแรงที่เกิดจาก

การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง เกิดได้จากการติดเชื้อหลายตัว ได้แก่
การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส และเชื้อฮิบ
นอกจากนี้ยังอาจจะเกิดจากเชื้อรา และหนอนพยาธิ เป็นต้น

ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญและกุมารแพทย์
ให้ความสนใจมากในปัจจุบัน โดยจัดเป็นกลุ่มโรค

ไอพีดี (Invasive Pneumococcal Disease) ถือเป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อรุนแรง

โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ซึ่งนอกจากนี้เชื้อนิวโมคอคคัสยังเป็น
สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงอื่น ๆ เช่น
โรคปอดบวม (Pneumonia) และโรคติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia)
    
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
แต่ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงจะเป็นกลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะ

ภูมิคุ้มกันที่จะกำจัดเชื้อโรคบางส่วนยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เชื้อจึงมีโอกาสกระจาย
ไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ได้มากกว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่

แม้ว่าโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะไม่ได้พบบ่อยมากนักในประเทศไทย

แต่กรณีที่พบจะมีความรุนแรงมากขึ้นอยู่กับสุขภาพเริ่มแรกของผู้ป่วยว่ามีความแข็งแรงมากแค่ไหน
ตลอดจนความรวดเร็วในการเข้ารับการรักษา

ซึ่งโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจทำให้เกิดความพิการหรืออาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

จะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก สำหรับเด็กทารก  
จะวินิจฉัยยาก อาจมีการงอแง ซึมไม่กินนม และชักได้

ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตหรือเกิดความพิการ เช่น เป็นโรคลมชัก หูหนวก ปัญญาอ่อน
    
ผู้ปกครองควรสังเกตว่าเด็กมีอาการดังกล่าวมาแล้วข้างต้นหรือไม่ ควรรีบพาไปพบแพทย์
เพื่อวินิจฉัยอีกครั้ง โดยแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายและอาจมีการเพาะเชื้อเพื่อตรวจยืนยัน
ทางห้องปฏิบัติการอีกครั้ง แต่การเพาะเชื้อนั้นต้องใช้เวลา และ

ในขณะเดียวกันเชื้อก็ยังลุกลามเดินหน้าต่อไป ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
ทำให้การรักษาสลับซับซ้อนและยุ่งยาก
    
ดังนั้นการมุ่งเน้นการป้องกันโรคจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

นพ.อัมพร อิทธิระวิวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา แนะนำว่า

การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถทำได้โดยการให้ทารกดื่มนมแม่เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน  
ให้เด็กรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ฝึกนิสัยให้เด็กล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี  
รักษาสุขอนามัยเป็นประจำ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดหรือสัมผัสกับ  
ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด และหลีกเลี่ยงพาเด็กเล็กไปสถานที่ที่แออัด
สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้  
    
รวมถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กเล็กด้วยการ

ฉีดวัคซีนไอพีดี ที่สามารถป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส

นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันกลุ่มโรคติดเชื้อรุนแรงที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส อันประกอบด้วย

โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ เป็นต้น

ซึ่งวัคซีนดังกล่าวยังมีราคาสูง แต่อาจเป็นอีกทางเลือกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการ
ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในเด็กเล็กได้

ซึ่งการฉีดวัคซีนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันโรคติดเชื้อได้
อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และยังช่วยลดอุบัติการณ์การตายและพิการในเด็กเล็กอย่างเป็นรูปธรรม

และส่งผลในทางอ้อมในการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล ลดความกระทบกระเทือน
ทางด้านจิตใจของครอบครัว ตลอดจนเวลาที่ต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วย
ซึ่งความสูญเสียเหล่านี้เป็นความสูญเสียที่ไม่สามารถประเมินค่าได้
    
ดังนั้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนให้เด็กเล็กทุกคน
ที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบเพื่อป้องกันโรคไอพีดี

นอกจากนี้ยังได้มีการตั้งองค์กรที่กำกับดูแลทางด้านวัคซีนโดยตรง อาทิ

การจัดตั้งองค์กร International Vaccine Institute (IVI) เพื่อเป็นศูนย์กลางความรู้ด้านวัคซีนใหม่ ๆ
แก่แพทย์ และประชาชน

รวมทั้งผลักดันเพื่อให้เด็กเล็กทุกคน สามารถเข้าถึงวัคซีนอย่างเสมอภาค
โดยเฉพาะในประเทศยากจนและประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งการจัดตั้งองค์กรวางแผนเพื่อ
เร่งรัดการพัฒนาและการแนะนำวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส (Pneumo ADIP)
ของสหพันธ์ GAVI เป็นต้น
    
การลดอุบัติการณ์โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบคงไม่อาจจะทำให้ได้ในช่วงเวลาข้ามคืน
หากแต่ต้องใช้เวลาและความร่วมมือของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการดูแลตนเอง
ตามวิธีที่แนะนำของทุกครอบครัว ซึ่งจะทำให้ความพยายามในการป้องกันและลดอุบัติการณ์
ของโรคต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในเร็ววัน


เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยที่รักของเราทุกคน

gek gek gek

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ นี้รักษาแล้วมีโรคแทรกซ้อน และ อาจเสียชีวิตได้ การมุ่งรักษาอย่างเดียว
จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และ มีความพิการ หรือ เสียชีวิตได้ การดูแลแบบองค์รวม จะแก้ปัญหานี้ได้

การดูแลแบบองค์รวม คือ

1.ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง

2.การปัองกันไม่ให้ป่วยไข้

3.การรักษาเมื่อเริ่มป่วย

4.การฟื้นฟูสุขภาพให้กลับคืนสู่สภาพเดิมให้ดีที่สุด

รัฐจะจัดให้มีการดูแลแบบองค์รวมนี้ที่ใกล้บ้าน ที่สถานีอนามัยเดิมยกฐานะเป็น
โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล มีแพทย์จาก โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพอำเภอนั้น
รับผิดชอบ ในการดูแลด่านแรกนั้น อาศัยเพียงแพทย์ทั่วไป จบใหม่ 6 ปี ได้ใบปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต และ สอบได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา ก็สามารถให้การดูแลได้ เมื่อเกินความสามารถจึงส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทาง ที่ควรไปรวมกันในแผนกที่เรียนมาที่ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์เพื่อรับส่งต่อจากแพทย์ทั่วไปที่ควรอยู่ด่านแรก แทนแพทย์เฉพาะทาง ที่หลงจัดผิดมาให้อยู่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอ คนเดียวทำให้แพทย์แต่ละท่านความสามารถไม่เท่าเทียมกัน จึงเครียดกันทุกคน เช่น แพทยศัลยกรรมต้องตรวจเด็ก ต้องทำคลอด เป็นต้น จึงควรให้กลับไปอยู่ในแผนกที่เรียนมาพร้อมนำเครื่องมือเฉพาะทางนำไปใช้รวมกันในแผนกจะเป็นการประหยัดงบประมาณ
นอกจากนี้คนไข้จะได้ประโยชน์เมื่อต้องรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ทั่วไปจะได้ส่งต่อทันทีไม่ต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางคนเดียวลองรักษาเกินความสามารถจึงส่งได้ ทำให้ฟ้องร้องกันให้เห็นประจำ

ดังนั้นด่านแรกควรมีเฉพาะแพทย์ทั่วไป หรือ เปลี่ยนชือสาขา เป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
เท่านั้น เพื่อดูแลด่านแรก ทำงาน 2 ที่
ตามข้างล่าง


โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล รพสต.ที่พัฒนามาจาก
สถานีอนามัยทีี่มีอยู่แล้ว มีแพทย์ ร.พ.อำเภอนั้นรับผิดชอบ


การสาธารณสุขมูลฐาน จะช่วยลดการเกิดโรคได้ ด้วยการ
มาใช้บริการกิจกรรมสาธารณสุข 4 ที่ รพสต.ได้แก่

1.การส่งเสริมสุขภาพ ให้แข็งแรง ทานน้ำนมมารดาจะได้ภูมิต้านทาน รักษาร่างกายให้อบอุ่น

2.การป้องกัน ไม่ให้ป่วย ด้วยการไ่ม่ให้คนเป็นหวัดเข้าใกล้เด็กเล็ก การทำวัคซีนป้องกัน
เยื่อสมองจากเชื้อแบคทีเรีย Hemophilus Influenza Pneumococcus : HIP

3.การรักษาเมื่อเริ่มป่วย ให้เข้าถึงบริการใกล้บ้าน ที่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล รพสต.
มีแพทย์ โรงพยาบาลอำเภอที่ดูแลตำบลรับผิดชอบประจำ
ซึ่งยังต้องมาตรวจด้วยตนเองเมื่อระบบเครือข่ายยังไม่ได้สร้างขึ้น หรือ รับปรึกษาทางโทรศัพท์
หรือ ในอนาคตเมื่อสร้างเครือข่ายสาธารณสุข ในอำเภอได้ คือ

เครือข่าย VPN : Virtual Private Network ทำให้แพทย์ ร.พ.อำเภอ สามารถล็อกอินเข้ามาได้
ที่ รพสต.เข้ามารักษาโดยผ่านพยาบาลเวชปฏิบัติอย่างน้อย 2 คนเพื่ออยู่ให้บริการได้ 24 ชม.
แพทย์ไม่ต้องเดินทางมาตรวจ แต่มาทางเทคโนโลยี่ นี้แทน


4.การฟื้นฟูเมื่อหาย ให้กลับมาสู่สภาพปรกติมากที่สุดไม่มีความพิการ หรือ มีน้อยที่สุด

win win win


      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><