26 เมษายน 2567, 02:08:41
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 513 514 [515] 516 517 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3238068 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12850 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2557, 14:06:39 »



สวัสดีครับ คุณสมชาย

อวิชชา  สังขาร  วิญญาณ  รูป-นาม  สฬายตนะ สัมผัส  เวทนา  ล้วนเป็นธรรมชาติทั้งสิ้น มันต้องมี  ต้องเป็น ของมันอย่างนั้น

เวลาเจริญสติ จนสามารถละนิวรณร์ ๕ ได้ ลองให้จิตมันพิจารณา ขบวนการเกิดทุกข์  ขบวนการเกิดของสัตว์โลกในวัฏฏะสงสาร  จะเห็นว่ามันเป็นจริง อยู่ในปฏิจจสมุปบาท นี้ นี่ละสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้  และขยายออกเป็น 84000 พระธรรมขันธ์ พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติให้พ้นทุกข์ ให้พ้นวัฏฏะสงสาร มันขยายออกไปจากปฏิจจสมุปบาท ทั้งสิ้น

จงพิจารณาให้เห็นธรรมอันนี้

อย่าลืม ในสมัยพุทธกาล  พระพุทธองค์ จะทรงสอนก็ต่อเมื่อจิตของผู้นั้น เป็นสมาธิจนสามารถละนิวรณ์ ๕ ได้ แล้ว และพระพุทธองค์ ให้ฟังไปพิจารณาธรรมไป เพราะธรรมนั้น มันอยู่ในรูป-นาม ของเรานั่นละ แล้วจะพบความจริงในธรรม คือได้ดวงตาเห็นธรรม คือเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน เห็นธรรมได้จากตาภายใน นั่นละทางพ้นทุกข์ละ

อย่าคิดด้วยเหตุ-ผล  แต่พิจารณาในตัวตนของเราในธรรมนั้น เพราะมันเกิด-ดับ ตลอดเวลาอยู่แล้ว  จงเป็นผู้ดู  ผู้รู้  ผู้เบิกบาน  อย่าไปเป็นผู้กระทำเสียเอง คือหลงอยู่ในความคิด  จงแยก สติ ออกจากความคิด ออกมาเป็นผู้ดู เถิด แล้วจะพบความจริง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12851 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2557, 19:21:31 »



หลายท่าน อาจจะอยากรู้ว่า คำว่าผู้ดู  ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน ในที่นี้หมายถึงอะไร ?

คงไม่ใช้ ตรัสรู้  ไม่ใช้สำเร็จพระอริยะบุคคล ใด ๆ ทั้งสิ้น

เป็นเพียงผู้รู้สึกตัวเมื่อมีอะไรมากระทบทางอายตนะทั้ง หก แล้วรู้สึกตัว แต่ไม่ได้ปรุงแต่งตาม มีเพียงรู้สึกในสิ่งที่มากระทบเป็นปัจจุบัน มีสติ-สัมปชัญญะ ไม่หลงอยู่ในความคิด จิตจึงรู้ ตื่น เบิกบาน  จึงเป็นผู้ดู  สติ-ความคิด ที่มันเกิดขึ้นตามเหตุ-ปัจจัยในสิ่งที่มากระทบทางอายตนะเป็นส่วนใหญ่ และอยู่ด้วยอุเบกขา

เมื่อรู้สึกตัว มันจึงมีสติ-สัมปชัญญะ ไม่ปรุงแต่ง อยู่ด้วยปัญญา ระวังตนเอง อุเบกขาเป็นส่วนใหญ่ในสิ่งที่ประสพ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน กระทำแต่สิ่งที่เป็นกุศลธรรม  มันก็เท่านี้เอง

จะย่างเท้า  จะเคลื่อนไหวร่างกาย แม่แต่คิด เราก็ระวังตนเอง คือรู้สึกตัวของมันเองทันทีเป็นอัตโนมัติ เป็นส่วนใหญ่  ไม่ปล่อยให้หลงคิด เป็นผู้ดู

เราทำงาน  ตีกอล์ฟ ก็รู้สึกตัวเป็นส่วนใหญ่  ไม่ปล่อยให้ใจมันคิด ส่วนใหญ่มันเป็นเอง

ถ้าเผลอบ้างก็ไม่นาน แม้กระทั่งฝัน เราก็กลับมารู้สึกตัวใหม่

มันเป็นอย่างนี้  เลยไม่ได้กังวลอะไรมากในแต่ละวันของชีวิตที่เหลือ เพราะคิดน้อยนั่นเอง

ส่วนอริยะทรัพย์ ที่ประกอบด้วย ศรัทธา  ศีล  สุตะ  จาคะ หิริ โอตัปปะ ปัญญา อันนี้มันเกิดของมันเอง จะรู้ด้วยตนเอง ในสิ่งที่เกิดขึ้น

มันก็รู้สึกตัวธรรมดา ๆ ไม่หลงอยู่ในความคิด ตื่นตัวในสิ่งที่มากระทบทางอายตนะ ในสิ่งที่ต้องประสพ รวมทั้งมโนวิญญาณด้วย

อุเบกขานั้น มันต้องเป็นโดยอัตโนมัติ เมื่อจิตมันเห็นความจริง รู้ของมันเอง

มันก็เท่านี้เอง ไม่ได่สำเร็จอะไรทั้งสิ้น

พรุ่งนี้ไปทำบุญที่วัดพระนอน  เชิญชวนอุบาสก  อุบาสิกา  ปฏิบัติธรรม  สอนธรรมะและการดูแร่างกาย รวมทั้งฝึกโยคะแก้ปวดเหมื่อย (อุบาสิกา  ชักชอบ เพราะทำแล้ว รู้สึกเลือดลมมันเดินดี  ลุกเดินคล่องขึ้น  ออกจากบ้านตีสี่ครึ่ง)

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #12852 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2557, 20:20:20 »

สวัสดีครับ พี่สิงห์

ผมอ่านและพยายามเข้าใจตาม หลายเรื่องก็เข้าใจ แต่ปฏิบัติได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

และเป็นผู้เล่น ผู้ลุ่มหลงซะเอง มากกว่าจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น

สติมีบ้าง ไม่มีบ้าง  เพราะหลงไปกับเรื่องที่พบเห็น เรื่องที่มากระทบอยู่ แล้ว in ไปกับเรื่องๆนั้นๆ
จนเป็นผู้เล่น ไม่ได้เป็นผู้ดู ผู้รู้.    นานๆ จึงจะเป็นทั้งผู้เล่นและผู้รู้ควบคู่กันไป

การได้อ่าน บทความของพี่สิงห์ ทำให้ได้ทบทวน และเป็นเครื่องเตือนสติ ได้เสมอ ครับ

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12853 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2557, 19:10:21 »



สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รรักทุกท่าน

วันนี้ทำบุญ รักษาอุโบสถ์ศีล อยู่ที่วัดพระนอน

ช่วงเช้า มีลูกพี่ลูกน้อง ที่อายุเท่ากันเคยอยู่ที่บ้านสมัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นลูกชายของน้องสาวแม่ ไม่ได้พบกันมาสามสิบปี ชื่อประเสริฐ  มาพบทีวัด เขาเคยบวชมาตั้งแต่เป็นเณร สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค เป็นมหา และลาออกไปเป็นครูอยู่ที่อยุธยา เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโบสถ์ มาทอดผ้าป่าที่วัดโบสถ์ เลยฝากเงินไปทำบุญด้วย สามพันบาท

วันนี้ได้สอนชิกง-โยคะ ให้กับผู้ถือศีล และปฏิบัติธรรม

ปัญหาของผู้สูงอายุ ที่เป็นโรค อ้วน ความดัน เบาหวาน เป็นปัญหาใหญ่ เพราะความไม่รู้ในเรื่องการกิน และโฆษณาที่ผิด ๆ คือดื่มนมแทนข้าวมื้อเย็น และดื่มนมก่อนนอน  ผลคือเด็ก ๆ  วันหนุ่ม-สาว กำลังทำงาน ผู้สูงอายุ เป็นโรคอ้วนจำนวนมาก  เลยต้องเน้นเรื่องการกินให้ทราบกัน

และวันนี้ ได้มีโอกาสช่วยชีวิต ผู้สูงวัยย์ ที่รักษาอุโบสถ์ศีล ขณะกำลังสวดมนต์ทำวัตรเย็น  เกิดอาการแน่นหน้าอก  หายใจไม่ออก  ตัวซีด เป็นลม เวียนศรีษะ(คงจะเป็นความดัน เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง  หัวใจทำงานช้าไม่ปั้มเลือดตามปกติ) เลยต้องเข้าไปปฐมพยาบาลฉุกเฉินให้ จนสามารถพูดกัน  รู้สึกตัว หายใจได้ พูดรู้เรื่อง(ตอบรับ) แต่ก็อาการไม่ดี เลยได้เรียกรถฉุกเฉิน 1669 มารับตัวไปส่งโรงพยาบาลอินทร์บุรี และได้ช่วยยกเปลคนไข้ลงจากศาลาวัด ไปส่งที่รถฉุกเฉิน เพราะเขามาสองคนยกคนไข้ไม่ได้

เห็นทีจะต้องเน้นเป็นรายบุคคล ให้พี่ ป้า น้า อา ที่มาปฏิบัติธรรม อยู่วัด ในเรื่องต้องออกกำลังกาย และควบคุมการกิน  เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ใช่อยู่แบบรอความตาย โดยช่วยตัวเองไม่ได้ และลูกหลานที่เป็นโรคอ้วนสาเหตุจาก ดื่มนมเป็นอาหารเย็น และดื่มนมก่อนนอน จนเท้า  เข่า จะรับน้ำหนักไม่ไหว จำนวนมาก  เท่าที่ไปคุยเพราะความไม่รู้เรื่องการกิน  จึงเป็นแบบนั้น

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12854 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2557, 08:42:08 »



สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

วันนี้ อยู่บ้าน ได้หุงข้าว เดินจงกรมออกกำลัง ฝึกชิกง-โยคะ และใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน

เรื่องความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ที่เกิดจากการเจ็บป่วยนั้น ท่านพึงระวังจงหนัก ไม่ช้า ไม่นาน มันต้องมาเยือนเรา ไม่ละเว้นเพราะปัจจัยต่าง ๆ มันมีอยู่

จงระวังเรื่องการกิน  ต้องออกกำลังกาย  และมีจิตที่ผ่องใส ด้วยการเจริญสติ

มันไม่สามารถไปหาหมอ กินยา แล้วหายได้ มันเป็นเพียงระงับอาการชั่วคราวเท่านั้น  สู้ป้องกันที่สาเหตุ คือการกิน ออกกำลังกาย นอนหัวค่ำ และเจริญสติ ให้เห็นความจริงในธรรม  ดีกว่า แล้วเราจะควบคุมตนเองได้ ด้วยใช้ปัญญา ไม่หลงอยู่ในความคิด

การเขียน ปฏิจจสมุปาบาท นั้น มันต้องให้จิตมันเห็นความจริงในธรรมนั้น จึงจะเขียนได้  

จะเห็นความจริง มันก็ต้องเจริญสติ และคอยให้จิตมัันระลึกขึ้นมาของมันเอง เราก็พิจารณาในรูป-นาม ของเรานี้แหละ เพราะทุกข์ มันเกิดขึ้นตลอดเวลา เกิด-ตั้งอยู่-ดับไป เช่นเดียวกับสัตว์โลกในวัฏฏะสงสาร เกิด-มีชีวิตอยู่-ตาย มันเป็นเช่นนี้

วันนี้จะหาโอกาสมาเขียนต่อให้จบครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12855 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2557, 09:20:42 »



ปฏิจจสมุปาบาท หรือชบวการก่อทุกข์ หรือขบวนการเกิดในวัฏฏะสงสารของสัว์โลก


เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัย ผลจึงมี อุปาทาน

ตัณหา คือความทะยานอยาก เป็นผลมาจากอายตนะภายใน สัมผัส อายตนะภายนอก เกิดเวทนา เมื่อเกิดเวทนาแล้วก็เพลินเพลิน ยินดีอยากได้อีกไม่มีที่สิ้นสุด หรือไม่อยากประสพอีก

ตัณหานี้ มันก็คือกิเลสที่มาเกาะที่จิต แล้วทำให้จิตเศร้าหมอง ไม่สามารถเอาออกได้อีกเลย กลายเป็นความต้องการ หรือเห็นเป็นเรา เห็นเป็นตัวตนของเรา เห็นว่าเราเป็นนั่น  นั่นเป็นของเรา คือเกิดอุปาทาน หรืออุปาทานขันธ์ ๕ คือความยึดมั่นถือมั่น ในตัวตน หรือในรูปนาม นั่นเอง

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ทุกท่านจงพิจารณาให้เห็นจริงตามนี้เถิด

อุปาทาน หรืออุปาทานขันธ์ ๕ นั้น คือการเห็นผิดไปยึดมั่นถือมั่น ในรูป-นาม ว่าเป็นเรา  เป็นตัวตนของเรา  เราเป็นนั่น  นั่นเป็นของเรา

เมื่อไปยึดมั่นอย่างนี้ ก็ต้องไปไขว่คว้าหาเอามาให้ได้ คือเกิดตัณหานั่นเอง มันเป็นผล ซึ่งกันและกัน

การเห็นผิดว่า นาม นี้ "เป็นเรา" หมายความว่า มันเป็นนาม ที่ใจมันไปยึดติดว่าเป็นเรา เมื่อเป็นอย่างนี้ มันจึงเกิดความอยาก คืออยากมี อยากเป็น ไม่อยากมี  ไม่อยากเป็น ไปเสียฉิบ เพราะธรรมดาจิตของสัว์โลก มันเป็นอย่างนั้น ในทางกลับกัน ถ้าคิดว่า มันไม่มีเรา  เราก็ไม่มีความอยาก เกิดขึ้น

การเห็นผิดว่า รูป นี้ "เป็นตัวตนของเรา" หมายความว่า รูปร่าง นั้น เราเห็นว่าเป็นคน  บุคคล สัตว์ สิ่งของนี้ เป็นตัวเป็นตนของเรา นี่ละ มันจึงเกิดความอยาก เกิดขึ้น เพราะธรรมดาจิตของสัตว์โลก มันเป็นอย่างนั้น  ในทางกลับกัน ถ้าคิดว่า มันไม่ใช่ตัวตนของเรา เราก็ไม่มีความอยาก เกิดขึ้น  

การเห็นผิดว่า รูป นี้ว่า "เราเป็นนั่น" หมายความว่า รูป ที่เราเห็น นั้น (รูปในที่นี้ คือคน บุคคล สัตว์ สิ่งของ) มีเราเข้าไปอยู่ หรือไปเป็นเจ้าของ เมื่อคิดอย่างนี้ความอิจฉา  ริษยา  หรือความอยาก มันจึงเกิดขึ้นในจิต เพราะธรรมดาจิตของสัว์โลก มันเป็นอย่างนี้  ในทางกลับกัน ถ้าคิดว่า เราไม่ได้เป็นเจ้าของ  เราไม่ได้ไปเป็น เราก็จะไม่มีความอยากเกิดขึ้น ความอิจฉา ริษยา มันก็ไม่เกิดขึ้น

การเห็นผิดว่า รูป นี้ว่า "นั่นเป็นของเรา" หมายความว่า เห็นว่า ตำแหน่ง ยศ คำสรรเสริญ คำเยินยอ  คำนินทา นั้นเป็นของเรา เมื่อเห็นผิดเป็นอย่างนี้ ความอิจฉา  ริษยา หรือความอยากจึงเกิดขึ้นในจิต เพราะธรรมดาจิตของสัตว์โลก มันเป็นอย่างนี้  ในทางกลับกันถ้าคิดว่า  นั่นไม่เป็นของเรา เสียเราก้ไม่มีความอยากเกิดขึ้น ความอิจฉา  ริษยา มันก้ไม่เกิดขึ้น

แล้วทำไม เราต้องไปยึดถือว่า "รูป-นาม" นั้น เป็นตัวตน บุคคล สัตว์ สิ่งของ ว่า "เป็นเรา  เป็นตัวตนของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นของเรา" ล่ะ!

ก็เพราะ ไม่ได้ฟังคำสอนของพระพุทธองค์ในเรื่องรูป-นาม และความเป็นไตรลักษณ์ เพราะคนหลงอยู่แต่ในความคิดมาตั้งแต่เกิดจึงเห็นผิดว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นของเรา ไปเสียสิ้น ทั้ง ๆ ที่รูป-นามนั้น เราไม่มีอำนาจ บังคับ สั่งการอะไรมันได้เลย มันเป็นไปของมันเองตามเหตุ-ปัจจัย เองทั้งสิ้น

ขอทุกท่านจงเจริญสตอให้เกิดปัญญา เห็นจริงตามนี้เถิด

เพราะมี ตัณหาเป็นปัจจัย  ผลจึงมีอุปาทาน

ถ้าตัณหาดับ  อุปาทานจึงไม่มี

ตัณหานั้น  บางครั้งก็มี  บางครั้งก็ไม่มี  แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่มีตัณหา เราก็อยู่ได้ และที่สำคัญ วงจรในการเกิดทุกข์  วงจรในกวัฏฏะสงสาร ก็ขาดสบั่นลง ทันที

แต่ตัณหา จะดับมันได้นั้น ใช้ความคิดไม่ได้  มันต้องเกิดจากจิตของเราเห็นความจริงในธรรมนี้ แล้วเกิดความเบื่อหน่าย  ยอมละออกมาเองด้วย ขบวนการสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้น ไม่มีวิธีอื่น  มันจึงยากมาก ๆ

*** ในสมัยพุทธกาล  ผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะคลายความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นาม ทั้งสิ้น ว่า ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่ตัวตนของเรา  เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ของเรา จึงละอุปาทานลงเสียได้ *** เมื่อละความเป็นตัวตนเสียได้  ตัณหามันเลยดับ ด้วยเหตุ - ปัจจัย อย่างนี้แล

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #12856 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2557, 10:00:14 »

สวัสดีครับพี่สิงห์


ผมไปประชุมร่วมกับ UNDP เรื่องปลูกข้าวโพดที่เพชรบูรณ์มา รวม 3 วัน
ผ่านโรงเรียน บ้าน กม. 30 อ.หล่มสัก ซึ่งพี่เจษฎา นาคะบุตร มีบ้านอยู่ตรงนั้น
แต่ไม่ได้แวะครับ เนื่องจากขับผ่านเลยจนกลับรถไม่ทัน
ต้องหาโอกาสในครั้งหน้าแวะเยี่ยมสักครั้งหนึ่งครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12857 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2557, 10:38:25 »

สวัสดีครับ คุณเหยง

ขอบคุณมาก ที่ยังระลึกถึงกันและกันอยู่

ความสุขของมนุษย์ มันก็อยู่ตรงนี้ละ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12858 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2557, 12:10:42 »

ปฏิจจสมุปาบาท หรือวงจรทุกข์ หรือวงจรที่สัตว์โลกต้องเวียนว่ายในวัฏฏะสงสาร



เพราะมี อุปาทาน เป็นปัจจัย ผลจึงมี ภพ ความเกิด แก่ เจ็บ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ และตาย เกิดขึ้น
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #12859 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2557, 17:34:26 »

คั่นรายการครับ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีโครงการรินน้ำใจเพื่อซ่อมแซมหอประชุมจุฬาฯ ครับ









      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12860 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2557, 20:45:39 »

ปฏิจจสมุปาบาท หรือขบวนการเกิดทุกข์ หรือขบวนการเกิด-ตายในวัฏฏะสงสารของสัตว์โลก



เพราะมี อุปาทาน เป็นปัจจัย ผลจึงมี ภพ

อุปาทาน คือการยึดมั่นถือมั่นในรูป-นาม ว่า เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา  เราเป็นนั่น นั่นเป็นของเรา

ภพ คือ ชีวิตที่ต้องเกิดอีกในชาติใหม่ จะเป็นภพไหน นั้น ขึ้นอยู่กับกรรมที่ตนเองได้กระทำเอาไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์

เพราะความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นาม นั่นเอง จะเห็นว่า มนุษย์ทุกคนความปราถนาก่อนที่จะตาย คือปราถนาไปเกิดในภพใหม่ที่ดีกว่าเดิม  ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ขอให้มีฐานะดีกว่าเดิม  ไม่มีใครเลยที่ปราถนาจะไม่เกิดอีก เพราะจิตมนุษย์มันมีความต้องการแบบนั้น

เพราะความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นาม นั่นเอง มนุษย์จึงต้องก่อทุกข์ร่ำไปไม่มีที่สิ้นสุด จะมีสุขบ้างก็ไม่จีรังยั่งยืน ส่วนใหญ่อยู่ในทุกข์มากกว่าสุข

เพราะความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นาม นั่นเอง จึงต้องไปเกิดใหม่ในวัฏฏะสงสารร่ำไปไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าจะละความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นามลงได้  จึงจะไม่ไปเกิดในภพใหม่

แต่เพราะมนุษย์คิดว่าพระนิพพานนั้น มันไกลเกินเอื่อม  ทำอย่างไรก็ไปไม่ถึง มันจึงหลงอยู่แต่ในความคิดร่ำไป จึงต้องเกิด-ตายอยู่ในวัฏฏะสงสาร หรือก่อทุกข์เพื่อสนองตัณหาร่ำไป มันเป็นเช่นนี้เอง

ก่อนที่หลวงพ่อเทียน จะละสังขารจากไป  ท่านได้สั่งลูกศิษย์ให้ดูท่านเอาเป็นตัวอย่าง คือ ท่านได้ยกมือสร้างจังหวะ ๑๔ จังหวะ สร้างความรู้สึกตัว จนเป็นสมาธิ จิตไม่ได้คิดอะไรเลย แล้วท่านก็ละสังขารไป  ท่านไปอย่างคนมีสติ-สัมปขัญญะ หรือเรียกว่านิพพาน นั่นเอง เพราะไม่ได้ปรุงแต่งหรือหลงอยู่ในความคิด

พระสารีบุตรท่านก็สอนท่านอาณาบิณฑิกเศรษฐี ก่อนตายไม่ให้ยึดมั่นใน อายตนะ วิญญาณ ผัสสะ เวทนา  ธาตุ ๕  รูป-นาม โลกนี้ โลกหน้า และสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้คิดทั้งหมดลงเสีย  ให้จากไปอย่างคนมีสติ-สัมปชัญญะจะได้ไม่มีเชื้อ หรือให้มีเชื้อหลงเหลือน้อย ๆ จะได้ไปเกิดในโอปปาติก หรือไม่เกิดอีกเลย

ดังนั้น ท่านต้อง ฝึกเจริญสติให้มาก  จนเป็นนิสัย  จะได้เวลาตายจากไปอย่างมีสติ-สัมปชัญญะ ได้ (ผมยังไม่ตาย เลยยังไม่เห็นความจริงอันนี้  ได้แต่คาดเดาเอา  ท่านก็อย่าเชื่อก็แล้วกัน  พิจารณาเอาเองด้วยปัญญา)

ขอทุกท่านจงเจริญสติ ให้เกิดวิปัสสนาปัญญา ให้เห็นธรรมนี้เถิด  จิตท่านจะได้คลายความยึดมั่น ถือมั่นในรูป-นาม ลงบ้างไม่มากก็น้อย

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12861 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 05:12:45 »

ปฏิจจสมุปาบาท หรือขบวดการเกิดทุกข์ หรือขบวนการเกิด-ตายของสัตว์ในวัฏฏะสงสาร



เพราะมี ภพ เป็นปัจจัย ผลจึงมีการ เกิด แก่ เจ็บ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ตาย และอวิชชา

เป็นธรรมชาติของสัตว์โลก

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า การเกิดทุกครั้ง เป็นทุกข์ คือเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ก็สร้างกองทุกข์ขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะการเกิดเป็นมนุษย์

ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความคับแค้นใจ

ทุกข์ ประกอบไปด้วย ความเกิดก็เป็นทุกข์  ความแก่ก็เป็นทุกข์  ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ความประสพกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบก็เป็นทุกข์ และความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบก็เป็นทุกข์

อวิชชา ความไม่รู้ในรูป-นาม ไตรลักษณ์ อริยสัจ ๔ โลกนี้ โลกหน้า

มนุษย์จึงหลงอยู่แต่ในความคิด มีแต่ก่อทุกข์ หรือประสพแต่ทุกข์ ร่ำไป เมื่อเกิดทุกข์แล้วก็ไปหลงอยู่แต่ความทุกข์ เพราะความยึดมั่น ถือมั่นในรูป-นามว่า เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นของเรา ไม่มีสิ้นสุด ด้วยประการฉะนี้แล

ในปฏิจจสมุปาบาท หรือวงจรทุกข์นี้ หรือ ขบวนการเกิด-ตายของมนุษย์ในวัฏฏะสงสารนี้ 

ตัณหา นั้นมีก็ได้  ไม่มีก็ได้ ไม่เป็นไปโดยธรรมชาติ เมื่อท่านมีสติ ใช้ปัญญาในการพิจารณา ตัณหานั้นสามารถตัดได้

ดังนั้น ถ้าท่านจะทำให้ขบวนการก่อทุกข์ขาดตอน ท่านจะต้องละตัณหา ด้วยวิชชา และปฏิบัติตามขบวนการมุ่งสู่พระนิพพานเท่านั้น จึงจะตัดรากถอนโคน ลงเสียได้ หรืออย่างน้อยทำให้ตัณหาเบาบางลงได้

ในขบวนการเกิดของมนุษย์ในวัฏฏะสงสารที่เป็นไปตามกรรมนั้น เพราะความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นามว่า เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นของเรา  มันจึงอยู่ด้วยความอยาก เมื่อตายไปก้ปราถนาที่จะไปเกิดใหม่ในภพที่ดีกว่าเดิม ดังนั้นมนุษย์เมื่อตายจึงต้องไปสู่ภพใหม่ เป็นการก่อทุกข์ วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ในวัฏฏะสงสารถ้าจะเอากระดูกมากองกันในการเกิด-ตายของมนุษย์นั้นกองเท่าภูเขาเป็นอย่างน้อย ทุกท่านพอจารณาดูก็แล้วกัน

ปฏิจจสมุปาบาทนี้อยากนัก ถ้าท่านไม่เข้าใจในรูป-นาม ไตรลักษณ์ อายตนะ ดีพอ ขอทุกท่านจงพอจารณาธรรมนี้ให้เกิดดวงตาเห็นธรรมเถิด

ผู้ใด เห็นธรรม  ผู้นั้นเห็นตถาคต

ผู้ใด เห็นปฏิจจสมุปาบาท ผู้นั้นเห็นธรรม

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปาบาท ผู้นั้นเห็นตถาคต

ปฏิจจสมุปาบาทนี้ ลึกซึ้งนัก ปัญญาของพี่สิงห์  มีเพียงเท่านี้  ก็ขอจบลงด้วยประการฉะนี้แล

ขอความสุข  ความเจริญในธรรม จงมีแด่ทุกท่านเทอญ

สวัสดียามเช้าครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12862 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 07:14:08 »

ขอขอบคุณ คุณสมชาย  ที่ได้ขอให้พี่สิงห์  อธิบาย ปฏิจจสมุปาบาท

เพราะทำให้พี่สิงห์  ได้ทบทวนธรรมนี้  เขียนตามที่ตนเองพิจารณาเห็นในธรรม ตามนั้น

ปฏิจจสมุปาบาท นั้นลึกซึ้งยิ่งนัก เพราะตรัสรู้ใน ปฏิจจสมุปาบาท นี้เอง จึงมีคำสอนตามมาในการประกาศพระศาสนาถึง 84,000 พระธัมขันธ์ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเข้าใจ  

ท่านต้องพิจารณาตามเวทนาที่เกิดขึ้น กับรูป-นามของท่าน หรือพิจารณาเห็นความคิดของท่าน ท่านจะเข้าใจได้โดยง่าย  แต่ก็ไม่รู้ว่าจะถูกต้องพุทธตรัสรู้หรือไม่

พี่สิงห์  มีเวลาก็จะเอาธรรมที่เกี่ยวข้องมาอธิบายเพิ่มเติมให้

วันนี้เช้าได้หุงข้าว เดินจงกรมออกกำลังกาย ใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน

วันนี้ต้องเดินทางไปทำงานที่ PSTC สระบุรี

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #12863 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 11:43:26 »


ขอบคุณครับ พี่สิงห์

ผมได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นอีก. แต่ก็เป็นแบบพี่สิงห์กล่าวไว้ ต้องปฏิบัติสม่ำเสมอและพิจารณาตามความเป็นจริง

ไม่ตัองปรุงแต่ง ซึ่งไม่ง่ายเพราะความคิดดั้งเดิมที่ติดมาจะเป็นตัวเข้ามาปรุ่งแต่ง

ทุกสรรพสิ่ง จะเกิดขึ้นได้ ต้องมาจากเหตุและปัจจัย. ถ้าไม่มีเหตุและปัจจัยก็จะไม่เกิด

ขอบคุณพี่สิงห์ อีกครั้งครับ

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12864 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557, 20:59:18 »

ขอบคุณมากครับ คุณสมชาย

ถูกต้องแล้วธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุ-ปัจจัย ทั้งสิ้นมันเกิดขึ้นเองไม่ได้

ถ้าเหตุ-ปัจจัยดับ ผลจึงไม่มี เป็น ธรรม ที่เรียกว่า "อิทัปปัจจยตา"

พระพุทธองค์ทรงค้นพบในคืนแรกหลังจากการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ ที่ทรงนั่งครั้งเดียวโดยที่ไม่ได้ทรงลุกเลยที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ทรงตรัสรู้นั้น เป็นเวลา ๗ วันเพื่อพิจารณา ทบทวนธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ทรงมนสิการปฏิจจสมุปาบาท เป็นทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมดังนี้

ในปฐมยาม ทรงพิจารณาโดยอนุโลม
เพราะ อวิชชา        เป็นปัจจัย    สังขารทั้งหลายจึงมี
เพราะ สังขาร         เป็นปัจจัย    วิญญษณจึงมี
เพราะ วิญญาณ      เป็นปัจจัย    นามรูปจึงมี
เพราะ นามรูป         เป็นปัจจัย    สฬายตนะจึงมี
เพราะ สฬายตนะ    เป็นปัจจัย    ผัสสะจึงมี
เพราะ ผัสสะ          เป็นปัจจัย    เวทนาจึงมี
เพราะ เวทนา         เป็นปัจจัย    ตัณหาจึงมี
เพราะ ตัณหา         เป็นปัจจัย    อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทาน       เป็นปัจจัย    ภพจึงมี
เพราะภพ               เป็นปัจจัย    ชาติจึงมี
เพราะชาติ             เป็นปัจจัย    ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปาบาทโดยปฏิโลม
เพราะการดับอวิชชาโดยไม่เหลือด้วยวิราคะ   การดับสังขารจึงมี
เพราะการดับสังขาร           การดับวิญญาณจึงมี
เพราะการดับวิญญาณ        การดับนามรูปจึงมี
เพราะการดับนามรูป           การดับสฬายตนะจึงมี
เพราะการดับสฬายตนะ      การดับผัสสะจึงมี
เพราะการดับผัสสะ             การดับเวทนาจึงมี
เพราะการดับเวทนา           การดับตัณหาจึงมี
เพราะการดับตัณหา           การดับอุปาทานจึงมี
เพราะการดับอุปาทาน        การดับภพจึงมี
เพราะการดับภพ                การดับชาติจึงมี
เพราะการดับชาติ              ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี

การดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

ลำดับนั้น พระพุทธผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า "เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไปเพราะรู้ว่าธรรมมีเหตุ" เป็นพุทธอุทานคาถาที่ ๑

สรุปคือ ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุ-ปัจจัย ทั้งสิ้น มันเกิดขึ้นเองไม่ได้  มันเป็นความจริงครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12865 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2557, 06:57:35 »



สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ทั่รักทุกท่าน

วันนี้ มาทำงานที่โรงงานบ้านแพ้ว สมุทรสงคราม

การทำงาน ทำให้เรามีเงิน ที่จะเอาไปทำบุญ ช่วยเหลือผู้ที่สมควรช่วยเหลือ บริจาค ให้หลาน - เหลน และเพื่อปัจจัย ๔ ในการที่ยังต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป และก็จะอุทิศส่วนกุศล ให้กับเจ้านายที่ให้งานทำเสมอ

ถ้าไม่มีเจ้านาย ที่เมตตาให้งานเราทำ เราก็คงลำบาก  ช่วยเหลือใครไม่ได้มากนัก  เงินเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของคน ณ ปัจจุบัน

เมื่อวาน พี่โส  เพื่อนบ้านแจ้งมาว่า คุณนิด  แห่งทับทิมเทศน์ทัวร์ แจ้งให้ส่งหลักฐานสำหรับผู้ที่จะไปสาธยายพระไตรปิฎกที่พุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย วัดหลวงพ่อ รับจำนวน 150 ท่าน เท่านั้น ไปวันที่ 2-14 ธันวาคม นี้

พี่สิงห์  ได้แจ้งความจำนงเอาไว้แล้ว ว่าจะไปร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ปีนี้

เดี๋ยวนี้ ระวังตนเองจงหนัก  เพื่อไม่ให้ใครได้รับทุกข์เพราะล่วงเกินเรา และเราจะไม่ลวงเกินเขา มันเป็นบาป  จึงต้องปล่อยวางให้มาก อะไรที่คนอื่นทำ ก็ต้องปล่อยวาง ไม่ใช่ธุระของเรา  ไปยุ่งมากมีแต่ทุกข์ เราเป็นเพียงผู้บอก ผู้แนะนำ ผู้แนะวิธีทำ-แก้ไขให้ เขาจะทำหรือไม่ ก็ต้องปล่อยวาง คงไม่บังคับใครมากมายนัก ทำก็ได้ ไม่ทำตามก็ไม่ว่ากัน เพราะเราไประวังแทนเขา คิดแทนเขา ทำแทนเขา ไม่ได้

ระวังตนเองเป็นดีที่สุด  ก็เท่ากับระวังให้คนอื่นด้วยแล้ว เพราะเราจะไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนเพราะ เราจะอยู่อย่างทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเป็นไปในทางกุศลธรรม เท่านั้น

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
supichaya
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2524
คณะ: เศรษฐศาสตร์
กระทู้: 213

« ตอบ #12866 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2557, 09:34:35 »

ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะพี่สิงห์ พี่สิงห์มีบุญนะค่ะที่ได้มีโอกาสไปถึงสถานที่สำคัญของศาสนาพุทธ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12867 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2557, 12:08:13 »

อ้างถึง
ข้อความของ supichaya เมื่อ 06 สิงหาคม 2557, 09:34:35
ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะพี่สิงห์ พี่สิงห์มีบุญนะค่ะที่ได้มีโอกาสไปถึงสถานที่สำคัญของศาสนาพุทธ

สวัสดีค่ะ คุณน้องก้อย ที่รัก

พี่สิงห์  ไปจาริกแสวงบุญที่ ๔ สังเวชนีย์ ๔ ครั้ง และไปร่วมสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติมาแล้ว ๑ ครั้ง  ก็พยายามไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่ปัจจัยต่าง ๆ จะอำนวย การไปสถานที่ ๔ สังเวชนีย์ จิตมันสงบดี และร่างกายก็รู้สึกสบาย  ได้มีเวลาในการปฏิบัติธรรม ห่างไกลสิ่งที่วุ่นวาย ทางใจ  จึงมีสมาธิดี


อีกไม่กี่ปีคงไปไม่ได้แล้ว เพราะราคาทัวร์ของหลวงพ่อ  แพงขึ้นทุกปี

ขอบคุณค่ะที่ยังระลึกถึงกัน

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
supichaya
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2524
คณะ: เศรษฐศาสตร์
กระทู้: 213

« ตอบ #12868 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2557, 14:19:20 »

ถ้ามีโอกาสอยากไปสักครั้ง ทัวร์แพงไหมค่ะ 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12869 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2557, 20:59:00 »

อ้างถึง
ข้อความของ supichaya เมื่อ 06 สิงหาคม 2557, 14:19:20
ถ้ามีโอกาสอยากไปสักครั้ง ทัวร์แพงไหมค่ะ  


สวัสดีค่ะ คุณน้องก้อย ที่รัก

ไปอินเดีย 12 วัน สังเวชนีย์ ๔ สถาน ปีนี้ไปกับหลวงพ่อ ดร.พระมหาสุเทพ   อากิณจโณ เจ้าอาวาสวัดไทยมคธพุทธวิปัสนา และวัดไทยสาวัตถีพุทธวิปัสนา  ราคาประมาณ 31,500 บาท รวมทุกอย่างหมดแล้ว

แต่ไปสาธยายพระไตรปิฎก ที่พุทธคยา ประมาณ ไม่เกินสองหมื่นบาท

พระพุทธองค์ ให้ไประลึกถึงพระองค์ คือ ๔ สังเวชนีย์ ตายไปไม่ตกนรกภูมิ นี่คือพุทธดำรัสกับพระอานนท์ ก่อนพระองค์เสด็จปรินิพพาน

ถ้าต้องการไป  บอกมาเลย พี่สิงห์  จะพาไป ตามที่ได้รับปากกับคุณเน่ง เอาไว้ในปีนี้

เชิญชวนชาวซีมะโด่ง ลงชื่อมาเลยครับ มีข้อแม้นิดเดียว ท่านต้องปล่อยวางให้มาก เพราะพระพุทธองค์ ท่านให้ไปเห็นทุกข์

๔ สังเวชนีย์ ไปปลายเดือนกุมภาพันธ์ เพราะจะไม่หนาวมาก

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
supichaya
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2524
คณะ: เศรษฐศาสตร์
กระทู้: 213

« ตอบ #12870 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2557, 09:58:52 »

ขอบคุณค่ะพี่สิงห์ 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12871 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2557, 12:24:09 »



ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งโดยอนุโลม และปฏิโลม ตลอดมัชฌืมยามแห่งราตรี ดังนี้

ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปาบาทโดยอนุโลม
เพราะ อวิชชา        เป็นปัจจัย    สังขารทั้งหลายจึงมี
เพราะ สังขาร         เป็นปัจจัย    วิญญษณจึงมี
เพราะ วิญญาณ      เป็นปัจจัย    นามรูปจึงมี
เพราะ นามรูป         เป็นปัจจัย    สฬายตนะจึงมี
เพราะ สฬายตนะ    เป็นปัจจัย    ผัสสะจึงมี
เพราะ ผัสสะ          เป็นปัจจัย    เวทนาจึงมี
เพราะ เวทนา         เป็นปัจจัย    ตัณหาจึงมี
เพราะ ตัณหา         เป็นปัจจัย    อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทาน       เป็นปัจจัย    ภพจึงมี
เพราะภพ               เป็นปัจจัย    ชาติจึงมี
เพราะชาติ             เป็นปัจจัย    ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปาบาทโดยปฏิโลม
เพราะการดับอวิชชาโดยไม่เหลือด้วยวิราคะ   การดับสังขารจึงมี
เพราะการดับสังขาร           การดับวิญญาณจึงมี
เพราะการดับวิญญาณ        การดับนามรูปจึงมี
เพราะการดับนามรูป           การดับสฬายตนะจึงมี
เพราะการดับสฬายตนะ      การดับผัสสะจึงมี
เพราะการดับผัสสะ             การดับเวทนาจึงมี
เพราะการดับเวทนา           การดับตัณหาจึงมี
เพราะการดับตัณหา           การดับอุปาทานจึงมี
เพราะการดับอุปาทาน        การดับภพจึงมี
เพราะการดับภพ                การดับชาติจึงมี
เพราะการดับชาติ              ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี

การดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

ลำดับนั้น พระพุทธผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า "เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไปเพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย" เป็นพุทธอุทานคาถาที่ ๒

สรุปคือ ธรรมทั้งหลาย ถ้าเหตุ-ปัจจัยดับ หรือไม่มี ผลที่จะตามมาก็จะไม่มี หรือไม่เกิดขึ้น  มันเป็นความจริงครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12872 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2557, 12:29:56 »


ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งโดยอนุโลม และปฏิโลม ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ดังนี้

ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปาบาทโดยอนุโลม
เพราะ อวิชชา        เป็นปัจจัย    สังขารทั้งหลายจึงมี
เพราะ สังขาร         เป็นปัจจัย    วิญญษณจึงมี
เพราะ วิญญาณ      เป็นปัจจัย    นามรูปจึงมี
เพราะ นามรูป         เป็นปัจจัย    สฬายตนะจึงมี
เพราะ สฬายตนะ    เป็นปัจจัย    ผัสสะจึงมี
เพราะ ผัสสะ          เป็นปัจจัย    เวทนาจึงมี
เพราะ เวทนา         เป็นปัจจัย    ตัณหาจึงมี
เพราะ ตัณหา         เป็นปัจจัย    อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทาน       เป็นปัจจัย    ภพจึงมี
เพราะภพ               เป็นปัจจัย    ชาติจึงมี
เพราะชาติ             เป็นปัจจัย    ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปาบาทโดยปฏิโลม
เพราะการดับอวิชชาโดยไม่เหลือด้วยวิราคะ   การดับสังขารจึงมี
เพราะการดับสังขาร           การดับวิญญาณจึงมี
เพราะการดับวิญญาณ        การดับนามรูปจึงมี
เพราะการดับนามรูป           การดับสฬายตนะจึงมี
เพราะการดับสฬายตนะ      การดับผัสสะจึงมี
เพราะการดับผัสสะ             การดับเวทนาจึงมี
เพราะการดับเวทนา           การดับตัณหาจึงมี
เพราะการดับตัณหา           การดับอุปาทานจึงมี
เพราะการดับอุปาทาน        การดับภพจึงมี
เพราะการดับภพ                การดับชาติจึงมี
เพราะการดับชาติ              ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี

การดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

ลำดับนั้น พระพุทธผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า "เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมกำจัดมารและเสนามารได้ดุจพระอาทิตย์ส่องสว่างอยู่บนท้องฟ้าฉะนั้น" เป็นพุทธอุทานคาถาที่ ๓

สรุปคือ ทรงทราบต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ ที่ทำให้สัตว์โลกต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะสงสารนั้น คือตัณหาผู้สร้างภพ สร้างชาตินั่นเอง ทรงตัดตัณหาด้วนวิราคะ ละความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นามลงเสียได้ แบบถอนรากถอนโคน

ขอให้ทุหท่านพิจารณาให้เห็นในธรรมนี้เทอญ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12873 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2557, 12:56:27 »

 


อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

[๗๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วยทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มาเถิดพ่อมหาจำเริญ พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับแล้วจงถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้วจงกราบทูลอย่างนี้

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระบาท พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ แล้วจงกราบเท้าท่านพระสารีบุตรตามคำของเรา และเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และเรียนอย่างนี้อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๗๒๑] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ต่อนั้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ กราบท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้วจึงเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและสั่งมา อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนุ่งสบงทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะเข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ ฯ

[๗๒๒] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่าดูกรคฤหบดี ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ ปรากฏความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกำเริบละหรือ ฯ

อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหวทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

[๗๒๓] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณกระทบขม่อมของกระผมอยู่เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อมฉะนั้น กระผมจึงทน ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏมีความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

[๗๒๔] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังให้การขันศีรษะด้วยชะเนาะมั่นฉะนั้น กระผมจึงทน ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏมีความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

[๗๒๕] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้องของกระผมอยู่ เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาดเอามีดแล่โคอันคมคว้าน ท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหวเป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนักกำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

[๗๒๖] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ความร้อนในกายของกระผมเหลือประมาณ เหมือนบุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่อวัยวะป้องกันตัวต่างๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้นกระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

[๗๒๗] สา. ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสต และวิญญาณที่อาศัยโสตจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ และวิญญาณที่อาศัยฆานะ จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา และวิญญาณที่อาศัยชิวหาจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกาย และวิญญาณที่อาศัยกายจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโน และวิญญาณที่อาศัยมโนจักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

[๗๒๘] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรูปและวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเสียง และวิญญาณที่อาศัยเสียงจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น และวิญญาณที่อาศัยกลิ่นจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรส และวิญญาณที่อาศัยรสจัก ไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโผฏฐัพพะ และวิญญาณที่อาศัย โผฏฐัพพะจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์ และวิญญาณที่อาศัยธรรมารมณ์จักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

[๗๒๙] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักษุวิญญาณจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยโสตวิญญาณจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยฆานวิญญาณจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยชิวหาวิญญาณจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัย กายวิญญาณจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยมโนวิญญาณจักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

[๗๓๐] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักษุสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยโสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยกายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยมโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

[๗๓๑] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสและวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส และ วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่กายสัมผัส และ วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่กายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส และ วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

[๗๓๒] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอาโปธาตุ และวิญญาณที่อาศัย อาโปธาตุจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเตโชธาตุ และวิญญาณที่อาศัย เตโชธาตุจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวาโยธาตุ และวิญญาณที่อาศัย วาโยธาตุจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสธาตุ และวิญญาณที่อาศัยอากาสธาตุจักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

[๗๓๓] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรูปและวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา และวิญญาณที่อาศัยเวทนาจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา และวิญญาณที่อาศัยสัญญาจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร และวิญญาณที่อาศัยสังขารจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณจักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

[๗๓๔] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณัญจายตนฌานและวิญญาณ ที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากิญจัญญายตนฌานและวิญญาณ ที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และ วิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

[๗๓๕] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า และวิญญาณที่อาศัย โลกหน้าจักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

[๗๓๖] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า อารมณ์ใดที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณาด้วยใจแล้ว เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นจักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ

[๗๓๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวแล้วอย่างนี้ อนาถบิณฑิกคฤหบดีร้องไห้ น้ำตาไหลขณะนั้นท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านยังอาลัยใจจดใจจ่ออยู่หรือ ฯ

อ. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้อาลัย มิได้ใจจดใจจ่อ แต่ว่ากระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมาแล้วนาน ไม่เคยได้สดับธรรมีกถาเห็นปานนี้ ฯ

อา. ดูกรคฤหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวแต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิต ฯ

อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จง แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลสธุลีในดวงตาน้อย จะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม โดยมิได้สดับ ฯ

ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์กล่าวสอนอนาถบิณฑิกคฤหบดีด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป ฯ

[๗๓๘] ต่อนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเมื่อท่านพระสารีบุตรและท่าน พระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน ก็ได้ทำกาลกิริยาเข้าถึงชั้นดุสิตแล ครั้งนั้น ล่วงปฐมยามไปแล้ว อนาถบิณฑิก

เทพบุตรมีรัศมีงามส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ยืน ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้วอันพระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็ง
เห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะบริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแล ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริงภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้ ฯ

อนาถบิณฑิกเทวบุตรกล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ต่อนั้น อนาถบิณฑิกเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วกระทำประทักษิณหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง ฯ

[๗๓๙] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ล่วงปฐมยามไปแล้ว มีเทวบุตรตนหนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้ามาหาเรายังที่อยู่ อภิวาทเราแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะเราด้วยคาถานี้ว่า

พระวิหารเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้วอันพระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับอยู่ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะบริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแล ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริง ภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้วจะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่าพระศาสดาทรงพอพระทัย จึงอภิวาทเรา แล้วกระทำประทักษิณ หายตัวไป ณ ที่นั้นแล ฯ

[๗๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวบุตรนั้น คงจักเป็นอนาถบิณฑิกเทวบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เป็นผู้เลื่อมใสแล้วในท่าน พระสารีบุตร ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ถูกแล้วๆ เท่าที่คาดคะเนนั้นแล เธอลำดับเรื่องถูกแล้ว เทวบุตรนั้นคือ อนาถบิณฑิกเทวบุตร มิใช่อื่น ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ที่ ๑



ขอทุกท่าน  จงเจริญสติ  เป็นสมาธิ จนละนิวรณ์ ๕ ลงได้ แล้วน้อมจิตพิจารณาให้เห็นธรรมนี้ ตามความเป็นจริง ท่านจะสามารถละความเป็นเรา  ละความเป็นตัวตนของเรา  ละความเป็นนั่น  ละความนั่นเป็นของเรา ลงได้  จะมีแต่จิตที่เป็นปภัสสร

ธรรมนี้เหมาะสำหรับ นำไปสอนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหนัก ยิ่ง  และรวมทั้งสอนตัวของเราเองด้วย

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #12874 เมื่อ: 08 สิงหาคม 2557, 05:06:54 »

สวัสดียามเช้า ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่านครับ

เพราะความเป็นเรา ความเป็นตัวตนของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นของเรา หรือ

ตัวกู  ตัวตนของกู  กูเป็นนั่น  นั่นของกู

มนุษย์  จึงหลงอยู่ในความคิดหรือโมหะ จึงมีแต่ความอยาก(ตัณหา)ตลอดเวลา จึงวนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสารไม่รู้จบ

ผู้ใดตัดความอยากในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัสกาย และสัมผัสใจ ลงได้ หรือไม่กล่าวถึง  ไม่ยินดี ไม่หลง ไม่เพลินเพลิน ย่อมพ้นทุกข์

วันนี้ ต้องไปทำงานที่โรงงาน มหาชัย  บ้านแพ้ว สมุทรสงคราม

อย่าลืม เจริญสติ แยกตัวตนออกมาจากความคิด ด้วยสติ เป็นผู้ดู  ดูอารมณ์ปรมัตถ์ต่าง ๆ ที่มากระทบจิต เมื่อเป็นผู้ดู จะรู้สึกตัว อารมณ์ต่าง ๆ ก็ดับไปแล้ว

การรู้สึกตัวหรือสติ นั้น รู้เฉย ๆ ไม่ยึดมั่นในสิ่งที่รู้ หรือไม่คิดต่อ เราจะรู้สึกตัวได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย สัมผัสใจ มาสัมผัส

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 513 514 [515] 516 517 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><