29 มีนาคม 2567, 08:18:14
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 646 647 [648] 649 650 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3207630 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16175 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2559, 05:55:42 »



ภาพแห่งความประทับใจ อยู่ในความทรงจำ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงเสด็จสวรรคต

ขอน้อมส่งเสด็จดวงวิญญาณสู่สวรรคาลัย

วันนี้ ได้หุงข้าวใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน อุทิศส่วนกุศล ให้พระองค์ท่าน

ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อขอเดชะ
ข้าพเจ้านายมานพ   กลับดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16176 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2559, 07:21:07 »



ขอน้อมนำเอาพระราชดำรัส มาใช้ในการทำงาน ดำรงชีวิต และสร้างประเทศชาติ ให้เจริญรุ่งเรียง ตามอัตตภาพ ด้วยจิตที่เป็นกุศล ระลึกถึงพระคุณอันประเสริฐของะระองค์ ที่มีต่อปวงชนชาวไทย และข้าพระเจ้า

ขอจงเสด็จสู่สวรรคาลัย เทอญ

ด้วยเกล้าด่วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระเจ้า นายมานพ  กลับดี

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16177 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2559, 18:08:18 »



ในที่สุดวันที่เราทั้งหลายไม่ปรารถนาก็มาถึง   การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาติไทย เพราะทรงเป็นสดมภ์หลักของแผ่นดิน และทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของพสกนิกรในชาติมาช้านาน   แต่แม้พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัยไปแล้ว  น้ำพระทัยและคุณงามความดีของพระองค์ก็ยังประทับแน่นในใจของพสกนิกรทั้งหลาย  เมื่อใดที่เราระลึกถึงน้ำพระทัยและคุณงามความดีของพระองค์ ก็เสมือนว่าพระองค์ยังทรงประทับอยู่กับเรา  ขอให้ความระลึกถึงดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจให้เราทำความดีและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อประเทศชาติด้วยความวิริยะอุตสาหะ แม้ประสบอุปสรรคมากมายเพียงใดก็ตาม ให้สมกับเป็นพสกนิกรที่ดีของพระองค์

สำหรับชาวพุทธ นี้เป็นโอกาสที่ควรพินิจถึงความจริงที่เรียกว่าพระอนิจจลักษณะ  แม้เป็นความจริงที่ไม่พึงประสงค์ในยามนี้  แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้นได้เลย  จึงเป็นสิ่งที่เราพึงยอมรับและเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ได้  เพื่อก้าวไปข้างหน้าและสร้างสรรค์ความดีด้วยใจที่ไม่ประมาท

เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพาน  พระสาวกจำนวนไม่น้อยพากันโศกเศร้า  พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “เธออย่าเศร้าโศกเลย อย่าคร่ำครวญเลย  เราบอกไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า  ความพลัดพราก ความผันแปร ความสูญเสียของรักของชอบใจทุกอย่าง จะต้องบังเกิดขึ้น ฉะนั้นจะหาอะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นมีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งล้วนเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา  เป็นไปไม่ได้ที่จะปรารถนาว่าขอสิ่งนั้น อย่าเสื่อมสลายไปเลย”

พระอนิจจลักษณะนั้นเป็นความจริงที่บางครั้งสร้างความเจ็บปวดอย่างยิ่ง  แต่ก็เป็นความจริงที่สามารถพาเราออกจากทุกข์ได้เมื่อเราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16178 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2559, 18:08:58 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16179 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2559, 18:52:28 »



เห็นภาพนี้แล้ว ความปิติ ก็เกิดขึ้น จนน้ำตาไหลออกมาเอง
ไม่เห็นพระองค์ มานานมากแล้ว
ขอจงทรงพระเจริญ !
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16180 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2559, 08:35:17 »



ขอน้อมทรงเสด็จ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกฏิ สู่สวรรคาลัย เทอญ

ด้วยเกล้ว ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพเจ้านายมานพ   กลับดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16181 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2559, 08:36:54 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16182 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2559, 07:18:49 »



ขอส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16183 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2559, 07:21:12 »



วันออกพรรษาที่ผ่านมา ได้ให้ทางวัดจัดสถานที่ นิมนต์พระสวดพระอภิธรร ๗ คำภีร์  ถวายเป็นพระราชกุศล ส่งเสด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ สู่สวรรคาลัย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16184 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2559, 07:22:39 »



เริ่มสวดเวลา 15:52 น. ตามคำสั่งของสำนักพระพุทธศาสนา
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16185 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2559, 07:24:32 »



ภายหลังพระสวด จบแล้ว
อุบาสก-อุบาสิกา ก็ได้สวดพระอภิธรรม ๗ คำภัร์ ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระองค์ท่าน เช่นกัน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16186 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2559, 08:13:25 »



ข้าพเจ้าของน้อมส่งเสด็จ สู่สวรรคาลัย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16187 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2559, 08:46:07 »



พระเดินบิณฑบาตอย่างสำรวม เป็นภาพที่ชาวบ้านทุกหนแห่งคุ้นตา ไม่ว่าในเมืองหรือชนบท  สำหรับพระภิกษุในพุทธศาสนา นี้เป็นกิจวัตรที่พึงบำเพ็ญทุกเช้า  ทั้งนี้เพราะพระพุทธองค์มีพระประสงค์ให้พระภิกษุมีชีวิตเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับชาวบ้าน  ไม่แยกขาดจากชาวบ้าน  หรือประพฤติตนอย่างฤษีชีไพร ในขณะที่พระภิกษุสอนธรรมแก่ชาวบ้าน ชาวบ้านก็ถวายอาหารแก่พระด้วยศรัทธา 

ในด้านหนึ่งการบิณฑบาตทุกเช้าเป็นเครื่องเตือนใจพระภิกษุว่าควรทำตนให้น่าศรัทธา นั่นคือปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ในอีกด้านหนึ่งก็เปิดโอกาสให้ญาติโยมทำบุญด้วยการให้ทานเพื่อลดละกิเลสและความยึดติดถือมั่นในทรัพย์ (อีกทั้งยังเป็นช่องทางให้ญาติโยมดูแลพระให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย  รูปใดประพฤติตนไม่เรียบร้อย ไม่ทำตัวสมกับเป็นพระ ชาวบ้านก็งดใส่บาตร ซึ่งทำให้อยู่ได้ยากหากไม่ปรับตัว)

เมื่อพระมีชีวิตเนื่องด้วยชาวบ้าน อย่างหนึ่งที่ควรตระหนักคือการทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย   กล่าวคือ พอใจในสิ่งที่ได้รับ ไม่เรียกร้องขออะไรจากชาวบ้าน  ระลึกอยู่เสมอว่า ฉันอาหารเพื่อมีกำลังในการปฏิบัติธรรม มิใช่เพื่อปรนเปรอกิเลส

พระไพศาล วิสาโล
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16188 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2559, 12:40:02 »



สงบได้เมื่อใจยอมรับ

สมพงษ์เป็นคนธัมมะธัมโม นอกจากชอบทำบุญแล้ว ยังรักษาศีล ๕  อย่างเคร่งครัด  อีกทั้งยังมักชักชวนเพื่อน ๆ ไปทอดผ้าป่าตามวัดต่างจังหวัดเป็นประจำ  แต่แล้ววันหนึ่งเขาพบว่าตนเองเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย   หมอบอกว่าโอกาสหายนั้นมีน้อยมาก ระหว่างที่นอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เขาแสดงอาการกราดเกรี้ยวอย่างเห็นได้ชัด  บางครั้งก็ร้องไห้ด้วยความขมขื่น

ช่วงที่สงบอารมณ์เขาเล่าให้พยาบาลฟังว่า เขาทำบุญรักษาศีลมาตลอดชีวิตด้วยความมั่นใจว่าความดีจะรักษาเขาให้ประสบแต่ความสุขความเจริญ แคล้วคลาดจากอันตราย  ไม่คิดเลยว่าจะต้องมาเป็นมะเร็งทั้ง ๆ ที่อายุยังไม่มาก  เขารู้สึกผิดหวังและโกรธแค้นมากที่บุญกุศลที่ทำมาทั้งชีวิตไม่ได้ช่วยเขาเลย  เขาเอาแต่บ่นว่า “ทำดีแล้วทำไมไม่ได้ดี”    ยิ่งขมขื่นและแค้นเคืองมากเท่าไร เขาก็ยิ่งมีอาการกระสับกระส่ายและเจ็บปวดมากขึ้น เมื่อถึงระยะสุดท้ายเขาก็ยังไม่พบกับความสงบ...

ความจริงกับสิ่งที่ควรจะเป็นนั้นมักจะขัดแย้งกันอยู่เสมอ  ใครที่มัวยึดติดกับสิ่งที่ควรจะเป็นมักยอมรับความจริงที่กำลังเกิดขึ้นได้ยาก จึงอยู่อย่างระทมทุกข์  จริงอยู่การยอมรับ กับ การยอมจำนนนั้นต่างกัน  เหตุร้ายหลายอย่างเราสามารถแก้ไขหรือบรรเทาได้ ดังนั้นจึงไม่ควรยอมจำนน แต่ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการยอมรับมันอย่างที่เป็นก่อน กระนั้นก็มีเหตุร้ายบางอย่างที่ไม่อาจแก้ไขได้เลย  ในกรณีเช่นนั้นสิ่งเดียวที่ทำได้คือการยอมรับมันและอยู่กับมันให้ได้

ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความพลัดพรากสูญเสีย เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่มีใครหนีพ้น  แม้นร่ำรวยมหาศาล มีอำนาจล้นฟ้า ก็หนีความจริงเหล่านี้ไปไม่ได้ ในทำนองเดียวกันคนดีมีศีล ขยันทำบุญทำทาน ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้ เพราะแม้แต่พระอรหันต์ก็ยังต้องประสบเช่นกัน  สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะวางใจอย่างไร  เจอเหตุร้ายแต่ใจไม่ทุกข์ ป่วยกายแต่ใจไม่ป่วยนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้  ดังนั้นเมื่อเจอเหตุร้าย แทนที่จะบ่นตีโพยตีพายว่า “ทำไมต้องเป็นฉัน” ควรหันมาวางใจให้ถูก เริ่มต้นด้วยการยอมรับมัน แล้วใคร่ครวญหาทางแก้ไข หรือใช้ประโยชน์จากมัน

อย่าลืมว่าความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความพลัดพรากสูญเสียนั้นมีด้านดีที่เป็นประโยชน์ อยู่ที่ว่าเรามองเห็นหรือใช้เป็นหรือไม่  อย่างน้อย ๆ มันก็สอนให้เราเห็นสัจธรรมของชีวิต หรือเตือนใจให้เราไม่ประมาทในทุกข์ภัยอันใหญ่หลวงที่รออยู่ข้างหน้า อีกทั้งยังฝึกใจเราให้เข้มแข็ง อดทน หรือมีสติมากขึ้น

สำหรับผู้ที่คิดว่าทำบุญสร้างกุศลแล้วต้องแคล้วคลาดจากเหตุร้าย"อย่างสิ้นเชิง"นั้น  เรื่องข้างล่างนี้น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจได้ดี

เมื่อหลายสิบปีก่อนเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ ผู้คนสิ้นเนื้อประดาตัวเป็นจำนวนมาก  มีบางคนมาตัดพ้อกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่าอุตส่าห์ทำบุญเข้าวัดเป็นประจำ ปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ทำไมบุญกุศลไม่ช่วย ทำไมธรรมะไม่คุ้มครองให้พ้นจากความวอดวาย  หลายคนถึงกับเลิกเข้าวัดทำบุญ  หลวงปู่จึงตอบว่า “ธรรมะไม่ได้ช่วยใครในลักษณะนั้น”

ท่านอธิบายต่อว่า “ความอันตรธาน ความวิบัติ ความเสื่อมสลาย ความพลัดพรากจากกัน สิ่งเหล่านี้มันมีประจำโลกอยู่แล้ว  ทีนี้ผู้มีธรรมะ ผู้ปฏิบัติธรรมะ เมื่อประสบกับภาวะเช่นนั้นแล้วว จะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้ต่างหาก ไม่ใช่ธรรมะช่วยไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย ไม่ให้หิว ไม่ให้ไฟไหม้ ไม่ใช่อย่างนั้น

พระไพศาล วิสาโล
http://www.visalo.org/article/sarakadee255604.htm
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #16189 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2559, 21:24:27 »

พี่สิงห์ครับ

ผมแสดงภาพและข้อมูลพายุไว้ที่ห้องของผมแล้วครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16190 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2559, 10:07:11 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 19 ตุลาคม 2559, 21:24:27
พี่สิงห์ครับ

ผมแสดงภาพและข้อมูลพายุไว้ที่ห้องของผมแล้วครับ


ขอบพระคุณมากครับ คุณเหยง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16191 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2559, 16:13:28 »



 "ความรู้สึกตัวที่แท้จริง...คือ การเข้าถึงตัวจิต"
23 เมษายน 2012 เวลา 18:46 น.
สนทนาธรรมกับท่านอ.กำพล ทองบุญนุ่ม
23 เมษายน 2555

ปุจฉา : "ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เมื่อเราประสบผัสสะต่างๆ  ยกตัวอย่าง คำพูดที่เราไม่พอใจ ไม่อยากยินฟัง หรือแม้แต่สิ่งที่ไม่พึงใจทั้งหลาย แล้วเราส่องกลับดูใจตนเองขณะนั้น เมื่อเห็นการทำงานของจิตใจแล้ว เราก็วางเรื่องราวลงได้ โดยใจไม่เกี่ยวข้อง มีสองอาการที่ปรากฏให้เห็นจากการนำใช้ค่ะ ประการแรก คือ มันพิจารณาธรรมลงไปขณะนั้นว่า เสียงได้จบลงแล้ว เรากำลังเข้าไปอยู่ในบัญญัติของเรื่องราว แล้วก็จบลงไป วางลงไป ในขณะที่บางครั้ง จิตก็วางลงเลย เนื่องจากเห็นเป็นสิ่งธรรมดา เพราะมันชินกับสภาวะนั้นๆ อาจจะเพราะผัสสะแบบนี้เข้ามากระทบบ่อยจนรู้สึกเป็นธรรมดา อย่างนี้ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างว่า มันเป็นเรื่องของปัญญาหรือไม่ อย่างไรคะ?”

อ.กำพล : “ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมีหลากหลาย สุดแท้แต่ความถนัดของผู้นำมาใช้ ปัญญาอันแรกคือ การใคร่ครวญพิจารณาธรรม เป็นปัญญาขั้นต้น เป็นเรื่องของการวางใจ ทำให้ทุกข์จบกระบวนการลงได้ แต่ไม่เด็ดขาด เป็นเรื่องชั่วครั้งชั่วคราว ส่วนปัญญาขั้นที่เห็นชินจนเป็นธรรมดา ก็ถือเป็นเรื่องของ ประสบการณ์ เรื่องที่เราจะพิจารณากันในแง่ปัญญาคือ มันดับทุกข์ได้ ปัญญาในการดับทุกข์ พูดให้ง่ายคือ อยู่ที่ใจยอมรับ เมื่อไม่เห็นประโยชน์ ไม่เห็นเป็นสาระของการไปยึดมั่นในอารมณ์ ใจก็วางได้เร็ว ”
 
 
ปุจฉา :  “ซึ่งจะเห็นว่า มันเลือกไม่ได้ เป็นการทำงานของมันเอง อย่างแรก มันผ่านความคิดแต่อย่างหลังเหมือนใช้โดยไม่ทันได้ผ่านความคิดค่ะ เลยสังเกตว่า อย่างหลังมันวางเร็วกว่านักค่ะ นี่กระมังที่เป็นเหตุของการหยิบธรรมนำใช้ จะช้าเร็วจะมีประสิทธิภาพแค่ไหนแล้วแต่เหตุปัจจัย และสภาพจิตขณะนั้น กำหนดไม่ได้”

อ.กำพล : “มันเป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรม ใช้คำว่า “ฐานของจิตมีกำลัง”

ปุจฉา :  “อย่างนั้นมันเชื่อมโยงกันอย่างไรระหว่าง เวลาปฏิบัติในรูปแบบที่ซ้อมยกมือทำความรู้สึกตัวอยู่ในรูปแบบ คือเอาสติไปกำหนดอยู่ที่ฐานกาย แต่เวลาใช้จริงๆ ในชีวิตประจำวัน กลายเป็นไปจัดการที่จิตเลย คือเวลาผัสสะเข้ามา ไม่เคยไปใช้ฐานกายกำหนดช่วยหน้างาน อย่างนี้อาจารย์ช่วยโยงความเข้าใจได้ไหมคะ สองอย่างนี้มันเชื่อมกันอย่างไร?”

อ.กำพล : “ถูกแล้ว...นั่นแหละ เวลาเราซ้อมแบบนักมวย ซ้อมชกกระสอบทราย เราชกไป ชกไป ยังไม่เก่ง ยังไม่แคล่วคล่องถึงเมื่อขึ้นชกคู่ต่อสู้จริง  แต่ชกกระสอบทรายก็จำเป็น เพราะกระสอบทรายเป็นเป้านิ่ง ให้เราจัดการง่าย เหมือนร่างกายเรา มันไม่ได้โต้ตอบอะไร เราก็รู้มันไปให้ต่อเนื่อง ให้กำลังมันแน่นหนา แต่เวลานำใช้จริง มันจะพุ่งไปที่จิตเลย เพราะอะไร เพราะกิเลสและความทุกข์เกิดที่จิต ไม่ได้เกิดที่กาย มันเป็นไปโดยอัตโนมัติเวลานำใช้ เป็นผลจากการปฏิบัติในรูปแบบ”

ปุจฉา : “แม้ในการปฏิบัติในรูปแบบ จะรู้สึกว่า  เอ...มันไม่เข้าใจ มันไม่เหมือนเราพิจารณาธรรมะ เราใช้ความเข้าใจ ใจมันชอบ แต่มันปรุงแต่ง มันคิด ใจเราชอบ เพลินๆ แต่เวลาเอาใจมารู้กาย มันจดจ้อง มันตั้งใจ มันเพ่งก็ว่าได้ เรียกว่า เห็นจิตมันแวปแฉลบออกจากกายตลอด เผลอไปคิดทุกครั้ง จนเหมือนการปฏิบัติในรูปแบบของเราคือ การยื้อยุดเจ้าความคิดกับความรู้สึกตัวอย่างนั้น มันยังฝืนๆ ค่ะ เพราะไม่เป็นธรรมชาติเหมือนเวลานำใช้หน้างานเลย”

อ.กำพล : “มันต้องอย่างนั้นแหละ ต้องซ้อมให้จิตมีกำลัง ถ้าไม่มีกำลัง มันจะไปอยู่ในเรื่องราว ไปข้างยินดี ยินร้ายตลอด จิตคนเราทั่วไปก็เป็นอย่างนี้ทุกคน คือมัน “ยังไม่ถึงตัวจิต” ยังไม่ถึงตัวจิตที่เป็นกลาง ยังถูกครอบงำด้วยความอยาก ความโกรธ ความหลง แต่ละคนมีมากน้อยไม่เหมือนกันนะ คนที่โลภะมาก สังเกตจะโทสะแรง เพราะเวลาไม่เป็นดังใจมันจะโกรธแรง บางคนจิตดี เขาไม่เป็นไรเลย บางคนอะไรก็ไม่พอใจ ขุ่นใจได้ทุกเรื่อง พวกหลงก็ไปผิดๆ ตามของเขา”

ปุจฉา : “งั้นการฝึกในรูปแบบเยอะๆ เพียงพอ จะมีผลแน่นอนต่อการนำมาใช้ เรียกว่างานสำคัญ ถ้าอย่างนั้น ระดับท่านอาจารย์ เป็นผู้เจริญสติจนมีกำลังความรู้สึกตัวมาก เป็นผลแล้ว ก็สามารถควบคุมความคิดได้ อะไรไม่อยากคิด เรียกว่า เรื่องลักคิด เรื่องฟุ้งซ่าน อาจารย์ก็ไม่ต้องถูกรบกวน แต่เรื่องที่เราอยากคิด เรื่องการงาน เรื่องธรรมะ เราก็ใส่ใจคิดได้ อย่างนี้หรือเปล่าคะ?”

อ.กำพล : “ผมไม่ได้ไปควบคุมความคิด แต่เมื่อมีความรู้สึกตัวชัดเจน มันแยกแยะว่า อะไรควรคิดอะไรไม่ควรคิด อย่างร่างกายผมนี่ ผมใช้มันมาเหน็ดเหนื่อย ช่วงเวลาเย็น ผมจะไม่คิดอะไรแล้ว มีคนให้หัวข้อธรรมะมาบรรยาย ผมก็รับไว้ ไม่คิด ไม่ตั้งประเด็น เพราะรู้ว่า จะไม่เอาความคิดมาให้วุ่นวาย จิตต้องการวางแล้ว ก็ไม่คิดเลย พอพักผ่อนเพียงพอกลางดึก ตีสามผมตื่นมา ทำความรู้สึกตัวยืดเส้นยืดสาย ผมก็คิดเรื่องธรรมะเอง เอ้า จิตมันคิดเอง มันพร้อม ก็เป็นเรื่องของมัน แผล็บเดียว ตลอดสาย”

ปุจฉา :  “เรียกว่า อาจารย์ใช้ความคิด แต่ไม่ถูกความคิดใช้”

อ.กำพล : 555 อย่างนั้น

ปุจฉา : “อาจารย์คะ เวลาที่เราพิจารณาธรรมนำใช้ บางเวลาที่ผัสสะเกิด แล้วเราพิจารณาได้ทันว่า มันไม่ใช่ตัวเรา แต่ไม่ใช่ด้วยการเห็นแจ้งอริยสัจ เพียงแต่ความรู้มันไปถึง เราก็วางมันลงได้ง่ายๆ คือไม่ไปแบกเรื่องอะไร เราจะใช้วิธีการนี้เพื่อไปสู่ความเห็นแจ้งสภาวะต่อไปได้หรือไม่คะ ถามให้ชัดเจนลงไปเลยคือ เราจะเดินต่อวิธีการนี้ควบคู่ไปได้หรือไม่”

อ. กำพล : “ถ้าจะใช้วิธีการนี้ ดับทุกข์ได้ แต่ได้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นปัญญาระดับหนึ่ง แต่ “ความรู้อภิธรรม” อย่างเดียว ไม่มีทางหลุดพ้น”

ปุจฉา : “กราบเรียนถามตรงๆ เลยนะคะว่า เราจะอบรมเจริญปัญญากันไปเลยว่า ขณะนี้นามรูป เกิดดับนับไม่ถ้วน สติเข้าไปจับสภาวะตามความเป็นจริงด้วยปัญญาจากการอบรม ด้วยความเข้าใจถึงสภาพปรมัติธรรม เรียกใช้แนวอภิธรรมนำปฏิบัติเลย จะนำไปสู่ทางหลุดพ้นได้หรือไม่คะ”

อ. กำพล : “ไม่มีทางแน่นอน”

ปุจฉา : “เพราะเป็นการคิด เป็นการปรุงแต่งใช่หรือเปล่าคะ?”

อ.กำพล : “ก็นั่นซี คุณต้องรู้สึกตัวอย่างแท้จริง จนไม่เหลือความคิดปรุงแต่งหลงเหลืออยู่ นั่นแหละ จะถึงตัวจิต ไม่ใช่เอาจิตไปคิด จิตไปรู้  ต้องเป็นการ "เข้าถึงจิต”

ข้าพเจ้าต้องกราบสาธุธรรม
ท่านอาจารย์กำพล ทองบุญนุ่มเป็นอย่างยิ่ง
ในเมตตาธรรมของท่านอาจารย์

ในการไปกราบท่านครั้งนี้และทุกครั้งที่ผ่านมา ข้าพเจ้าสังเกตได้ถึงความสดชื่นของท่านในทุกครั้ง หากเมื่อสนทนากันในเรื่องสารทุกข์สุขดิบ เรื่องครอบครัว เรื่องทั่วไป เรื่องสุขภาพ ท่านมักจะสนทนาอย่างสนุกสนานเป็นกันเอง

แต่ยามใดที่ข้าพเจ้าและญาติธรรมท่านอื่นๆ เข้าถึงคำถามหรือมีข้อสงสัยในข้อธรรมปฏิบัติ ท่านจะเมตตาเต็มใจตอบอย่างชัดเจนที่สุด โดยมิมีเบื่อหน่าย ดูใบหน้าท่านจะส่องประกายรัศมีผุดผ่องมากอย่างเด่นชัดค่ะ 
อันนี้แม้คนข้างๆ ข้าพเจ้าก็ยังสังเกตเห็น ยังให้ข้าพเจ้าเกิดปีติใจทุกครั้งของการได้เข้าหา สนทนา และใกล้ชิดท่าน คำสอนของท่านได้ถูกบันทึกจดจำมิลืมเลือน ในโอกาสนี้ ขออนุญาตนำมาแบ่งปันเพื่อนฝูง หากจะเป็นประโยชน์ก็ขออนุโมทนาต่อท่านอาจารย์และทุกท่าน ส่วนหากผิดพลาดประการใดจากการถอดใจถอดความครั้งนี้ ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมด้วยค่ะ : )

เครดิตน้องเอ๋
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16192 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2559, 15:32:40 »



ภาพงานกฐินของวัดป่าสุคะโตวันนี้
พระอาจารย์ไพศาลวิสาโล
ได้เทศนาธรรมในงานกฐิน นี้ว่า
ความสำคัญของกฐินคือการทํา 
จีวร ผ้านุ่ง ห่มให้แก่พระ

โดยเฉพาะพระ ที่คณะสงฆ์ภายในวัด
ได้มีฉันทานุมัติเป็นเอกฉันท์ว่าบุคคลใดที่สมควรจะได้รับ

ซึ่งจะเป็นการสร้างความสามัคคีและสมานฉันท์ในการอยู่ร่วมกันของคณะสงฆ์

ส่วนหนึ่งของเทศนาธรรมได้
ก็ได้พูดถึงหลวงพ่อเฟื่องจังหวัดระยอง
เคยคุยกับญาติธรรม
 ที่ชอบไปทำบุญหลายๆวัด
ไปวัดโนนไปวัดนี้แล้วแต่ก็

อย่าลืมทำบุญที่ใจตัวเองบ้าง

โยมพอได้ฟังแล้วก็งง.......?

หลวงพ่อเฟื่องขยายความว่า

ก็คือการฝึกเจริญสติให้ใจของเรา
ได้มีสติ
มีปัญญา
ถอนความทุกข์ออกได้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16193 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2559, 18:53:09 »




บทเพลงพระราชนิพนธ์ "มหาจุฬาลงกรณ์" ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พร้อมประวัติความเป็นมาของบทเพลง...เหตุที่ขาวจุฬาฯ จะยืนตรงเมื่อมีการร้องหรือบรรเลงเพลง มหาจุฬาฯลงกรณ์

"มหาจุฬาลงกรณ์" (2492)
ทำนอง : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ
คำร้อง : ท่านผ้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และ นายสุภร ผลชีวิน

น้ำใจน้องพี่สีชมพู
ทุกคนไม่รู้ลืมบูชาพระคุณของแหล่งเรียนมา
จุฬาลงกรณ์

ขอทูนขอเทิดพระนามไท
พระคุณแนบไว้นิรันดรขอองค์พระเอื้ออาทร
หลั่งพรคุ้มครอง

นิสิตพร้อมหน้า
สัญญาประคองความดีทุกอย่างต่างปอง
ผยองพระเกียรติเกริกไกร

ขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง
นิสิตประสงค์เป็นธงชัยถาวรยศอยู่คู่ไทย
เชิดชัย ชโย

  
ข้อมูลเพลง :
ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ซึ่งปฏิบัติหน้าที่พระอาจารย์ ถวายการสอนภาษาไทย แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ได้เคยเล่าให้นิสิตอักษรศาสตร์ฟังเมื่อปี พ.ศ. 2494 ว่า เมื่อวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2489  มีเพียงมหาวิทยาลัยเดียวที่ไปส่งเสด็จ ซึ่งก็คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    นิสิตเกือบทุกคนที่มีอยู่ตอนนั้นประมาณ 2,500 คนต่างพร้อมใจไปส่งเสด็จ พร้อมทั้งถวายโล่ตราพระเกี้ยว และกระเช้าดอกไม้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกลัดเข็มพระเกี้ยวเล็กๆไว้ที่ฉลองพระองค์ด้วย ยังความปลื้มปิติให้แก่ชาวจุฬาฯ ทุกคน

โล่พระเกี้ยวที่ชาวจุฬาฯ ถวายให้ในวันนั้น ได้ตั้งอยู่บนโต๊ะทรงพระอักษรตลอดเวลา ต่อมาวันหนึ่งในปี พ.ศ. 2492  หลังจากเสด็จออกจากห้องทรงพระอักษรและทรงเล่นเปียนโน เพื่อผ่อนคลายพระอิริยาบถ ได้มีรับสั่งกับ ม.ร.ว. สุมนชาติว่า การเรียนหนังสือไม่สนุกเลย คนที่เรียนหนังสืออยู่เมืองไทยจะรู้สึกแบบนี้ไหม ม.ร.ว. สุมนชาติได้กราบบังคมทูลว่า หากทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับคนที่เรียนหนังสือที่เมืองไทย ก็ขอพระราชทานเพลงให้แก่พวกเขาเหล่านั้น พระองค์ท่านไม่ทรงรับสั่งใดๆ เลย

หลังจากนั้นไม่เกิน 5 วัน ม.ร.ว. สุมนชาติ ได้รับพระราชทานกระดาษ 3 แผ่น ซึ่งเป็นโน้ตเพลง มหาจุฬาลงกรณ์ และทรงรับสั่งแต่เพียงสั้นๆ ว่า "ที่ขอมานั้น ได้แต่งให้แล้ว"

ม.ร.ว. สุมนชาติ ได้อัญเชิญโน้ตเพลงมหาจุฬาลงกรณ์กลับมายังประเทศไทย และได้ขอให้ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และคุณสุภร ผลชีวิน ผู้เป็นน้องชาย ซึ่งทั้งคู่ต่างก็เป็นนิสิตเก่าจุฬาฯ เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง โดยมีคุณพระเจนดุริยางค์เล่นเปียโน และมีผู้ร้องด้วยเนื้อร้องที่ท่านผู้หญิง และคุณสุภร ผลชีวินแต่งขึ้น เมื่อได้มีการแก้ไขปรับปรุงจนเนื้อร้องกลมกลืนกับโน้ตดนตรีพระราชทานดีแล้ว จึงนำทูลเกล้า ขอพระบรมราชวินิจฉัย ต่อมาได้พระราชทานให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้น บทเพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ จึงเปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับชาวจุฬาฯ อย่างหาที่เปรียบมิได้

เพลงมหาจุฬาลงกรณ์ สำหรับชาวจุฬาฯ ทุกคน เปรียบได้ดั่งเพลงสรรเสริญพระบารมี คือ ยึดถือว่าการร้องหรือบรรเลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อย่างเป็นทางการ ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการร้องหรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นคือการยืนถวายความเคารพ โดยชาวจุฬาฯ ได้ขอให้ท่านศาสตราจารย์ ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต ในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2493

ดังนั้นในวันแข่งขันฟุตบอลประเพณี เมื่อบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจบแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ยังคงประทับยืน ขณะที่กองเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคนดูทั่วไปนั่งลง แต่กองเชียร์จุฬาฯ และนิสิตเก่าที่เข้าชมการแข่งขันยังยืนถวายความเคารพ ชาวจุฬาฯ ได้ร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ถวาย เมื่อเพลงจบ จึงได้ประทับนั่ง ซึ่งมีความหมายว่าได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตทางอ้อมให้ชาวจุฬาฯ ยึดถือเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีสำหรับชาวจุฬาฯ ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่มีการบรรเลงหรือการขับร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อนั้นชาวจุฬาฯทุกคนจักต้องยืนตรงถวายความเคารพ

บทเพลงมหาจุฬาลงกรณ์จะถูกนำมาบรรเลง หรือขับร้องในงานสำคัญๆ ต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น เหตุเพราะเป็นเพลงที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเพลงที่ชาวจุฬาฯ ยึดถือและเคารพเหนือหัว จึงจะนำมาขับร้องเล่นมิได้ โอกาสสำคัญที่มีการบรรเลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอย่างน้อยผู้ที่เข้ามาศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะได้รับฟังถึงสองครั้ง นั่นคือ ในงานปฐมนิเทศนิสิตใหม่ และในงานพระราชทานปริญญาบัตร ที่ขับร้องโดยชมรมนักร้องประสานเสียง สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU Chorus ที่ได้รับการเรียบเรียงเป็นเสียงประสานโดย น.ต. ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ร.น. นอกจากนี้ในโอกาสงานสำคัญต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยชาวจุฬาฯ อย่างเป็นทางการอื่นๆ จักต้องบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์บทนี้เช่นเดียวกัน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16194 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2559, 19:58:27 »



ทำ ไ ม จึ ง ต้ อ ง ส่ ง เ ส ด็ จ ใ น ห ล ว ง สู่ ส ว ร ร ค า ลั ย...?

คัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า  สวรรค์ในภพ ฉกามาวจรภูมิมี ๖ ชั้น  คือ
 ๑. สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา 
 ๒. สวรรค์ชั้นดาวดึงษา
 ๓. สวรรค์ชั้นยามา
 ๔. สวรรค์ชั้นดุสิต
 ๕. สวรรค์ชั้นนิมมานนรดี
 ๖. สวรรค์ชั้นปรนิมิตวสวัตตี

(สังขารรูปปัตติสูตร, ม.อุ.๑๔/๓๒๑-๓๒๘.)

*** แต่สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นชั้นที่ผู้เป็นบัณฑิต คือพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพุทธภูมิอาศัยอยู่มาก
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16195 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2559, 16:18:44 »

10 หลักคิดเพื่อการพิจารณาธรรมะ

พศิน อินทรวงค์

1. อย่าหลงเข้าไปในโลกของความคิด ทั้งคิดดี คิดชั่วต่างเป็นมายาทั้งสิ้น หลุดจากคิดดีคิดชั่วได้ ย่อมเห็นกระบวนการความคิดตามความเป็นจริง

2. การอ่านธรรมะ ฟังธรรมะนั้นเป็นสิ่งดี แต่อย่าหยุดเพียงเท่านั้น มีภาวะบางอย่างที่การอ่านและฟังไม่อาจข้ามผ่าน แม้การวิเคราะห์ทบทวนก็ไม่อาจข้ามผ่าน บางครั้งการอ่าน ฟัง และคิด ก็นำมาซึ่งความสับสนในภาวะความเป็นจริง

3. ตำราที่แท้ของการปฏิบัติธรรมคือกายกับใจ จงเพ่งไปที่กายเพื่อให้เห็นความเป็นธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม และเพ่งไปที่ใจเพื่อเห็นกระบวนการเคลื่อนไหวรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สองสิ่งนี้ควรแยกแยะให้ถูก และควรแยกกันพิจารณา เมื่อพิจารณากาย ก็ควรเว้นพิจารณาใจ เมื่อพิจารณาใจ ก็ควรเว้นพิจารณากาย การพิจารณาสองสิ่งนี้จะนำไปสู่สิ่งเดียวกัน นั่นคือเห็นความไม่มีตัวตนของผู้ครอบครองใจ

4. สติไม่อาจคงอยู่ตลอดเวลา มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเช่นกัน ยามสติเกิด จงเห็นว่าสติก็มีเกิด มีดับ ที่สุดแล้ว สติก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่สมมุติขึ้นมา เป็นสิ่งที่ไม่คงที่แน่นอนเช่นเดียวกัน

5. จงข้ามผ่านความเป็นทวินิยม ไม่เอาทั้งสุขและทุกข์ ไม่เอาทั้งดีและชั่ว จงเป็นผู้อยู่เหนือแสงสว่างและความมืด ระหว่างการพิจารณาจึงไม่ควรกำหนดว่าเราต้องได้ปัญญา เราอาจได้ความโง่จากการภาวนามาก็ได้ แต่เมื่อเห็นว่าเราได้ความโง่มา นี่ก็คือปัญญาแล้ว การหลุดไปจากความคาดหวังจะเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใด คือหนทางแห่งการเข้าถึงความจริง

6. สมาธิเป็นบ่อเกิดขึ้นปัญญา แต่ปัญญาก็เป็นสิ่งเกื้อกูลสมาธิ ทั้งสมาธิและปัญญาไม่ได้แบ่งแยกจากกัน แต่สนับสนุนซึ่งกันและกัน ปัญญาไม่อาจเกิดหากปราศจากรากฐานของสมาธิ จงดื่มด่ำกับสมาธิ ไหลลึกลงไปเพื่อรอจังหวะถ่ายถอน ยามสมาธิเคลื่อนไหว นั้นคือโมงยามแห่งการพิจารณาธรรม จงเห็นว่าแม้แต่สมาธิเองก็มีเกิดขึ้นและดับไปเช่นกัน

7. ศีลที่ได้จากกฏเกณฑ์นำมาซึ่งความอึดอัด และตีบตัน ศีลที่ได้จากการภาวนานำมาซึ่งความปลอดโปร่งและกว้างขวาง จงตั้งทัศนคติเกี่ยวกับศีลให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นตัวศีลเองจะย้อนกลับมาทำให้เกิดการพอกพูนอัตตาตัวตนได้

8. จงพิจารณาธรรมให้แยบคาย อย่าให้หลักธรรมมาขัดขวางภาวะตามความเป็นจริง จงปล่อยให้ภาวะตามความเป็นจริงเกิดขึ้นก่อน จึงใช้หลักธรรมที่เรียนรู้ในการพิจารณา เมื่อปฏิบัติธรรมแล้วอย่าได้ขี้ขลาด จงกล้าลองผิดลองถูก ทั้งผิดและถูกเป็นสิ่งที่สำคัญพอกัน ไม่มีสิ่งหนึ่ง ก็จะไม่มีอีกสิ่งหนึ่ง

9. ระหว่างภาวนา บางครั้งหลงเข้าไปในอัตตา แต่นั่นไม่ใช่เรื่องผิด ขอบเขตของอัตตานั้นกว้างใหญ่ ทำลายอัตตาหนึ่งสิ่ง จะพบอัตตาอีกสิ่งรออยู่ บางครั้งมาในรูปความดี บางครั้งมาในรูปความสุข แต่บางครั้งก็มาในรูปของความสงบ ร้ายที่สุดคืออัตตาที่มาในคราบของปัญญาทางธรรม

10. จงหมั่นเพียรภาวนาจิตทุกวัน นั่นคือทางที่ลัดสั้นที่สุด
ส่วนทางลัดทั้งหมดที่แสวงหาอยู่ ล้วนเป็นทางอ้อมที่นำไปสู่ความเนิ่นช้าทั้งสิ้น

************************************************
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16196 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2559, 05:14:15 »



ขอน้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16197 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2559, 05:15:22 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16198 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2559, 05:16:38 »



ภาพสเกต เครื่องจักรของ Prensoland สามารถเอามารีดเสาเข็มที่ต้องมีเหล็กปลอก หัวแบ่ง หัวต่อได้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16199 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2559, 05:17:32 »

      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 646 647 [648] 649 650 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><