27 เมษายน 2567, 20:28:57
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 650 651 [652] 653 654 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3239474 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16275 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2559, 07:03:07 »


อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญกับร่างกาย ต้องกิน กินให้ก่อประโยชน์

อาหารสำหรับ"รูป-นาม" ของมนุษย์นั้น พระพุทธองค์ท่านทรงสอนให้ทำความรู้จัก ให้ระวังตนเอง มีอยู่ 4 อย่าง คือ
๑. อาหารกาย(รูป)
๒. อาหารทางผัสสะ
๓. อาหารใจ
๔. อาหารวิญญาณ

อาหารกาย
คืออาหารที่จะต้องกินเพื่อการคงอยู่ที่ดีของร่างกาย กินมาก กินตามที่ตนต้องการ กินเพราะความอร่อย...ล้วนนำทุกข์มาให้ คนสมัยนี้เป็นโรงเรื้อรัง ความดัน เบาหวาน อ้วน มะเร็ง จำนวนมากสาเหตุมาจากอาหารที่กินทั้งนั้น แต่ถ้ารู้จักกิน กินอาหารให้เป็นยา ประกอบด้วยประโยชน์ พอประมาณ จักมีแต่ผลดีต่อร่างกาย ไม่เจ็บป่วย
พระพุทธองค์ทรงเปรียบอาหารกายว่าเหมือนกับกินเนื้อบุตรของตนเอง กินเพียงให้มีชีวิตอยู่ข้ามพ้นบ่วงมาร อุปสรรคไปได้ คือมีคู่สามี-ภรรยา พาลูกน้อยเดินข้ามหนทางธุรกันดาร ไม่มีผู้คน มีเสบียงจำกัด เมื่อเสบียงหมดลง ลูกน้อยตาย จะไปถึงจุดหมายได้อย่างไร? หนทางยังอยู่อีกไกล ไม่มีอะไรกิน จึงปรึกษากัน เพื่อความอยู่รอด จึงตัดสินใจชำแหละเนื้อบุตร ทำเป็นเนื้อตากแห้ง กินประทังชีวิตให้อยู่รอดไปได้ ทุกคนั้งที่กินเนื้อบุตรมีแต่ความโศกเศร้า อาลัยคิดถึงบุตรน้อย จึงกินเพียงให้มีชีวิตอยู่เท่านั้น

อาหารทางผัสสะ
ตลอดเวลา คนทุกคนต้องรับรู้ทางทวารทั้ง ๕ คือตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส สิ่งที่มาผัสสะนั้นล้วนมีทั้งชอบ ไม่ชอบ เป็นบ่อเกิดแห่งกิเลส ตัณหา นำมาแห่งความโลภ โกรธ หลง หรือทุกข์ทั้งสิ้น
พระพุทธองค์ท่านทรงสอนให้ระวังทางผัสสะ อย่าเผลอไปปรุงแต่งตาม ทรงเปรียบเทียบว่า แม่โคมีผิวบอบบาง อยู่ในที่ร่ม ก็โดนแมลง ยุงเหลือบทำร้าย อยู่กลางแดด ก็โดนแสงแดดทำร้ายผิว ตลอดเวลาแม่โคมีแต่ทุกข์ทรมาร ทั้งสิ้น คนเราต้องผัสสะตลอดเวลา จึงได้แต่รับทุกข์เช่นเดียวกับแม่โค ดังนั้นต้องระวังเมื่อผัสสะ ต้องมีสติรู้ตัว มีธรรม ก็จะสามารถระวังตนเองได้

อาหารใจ
ตลอดเวลาใจคนนั้นไม่เคยหยุดนิ่งเลยคิดไปตามผัสสะ ปล่อยใจลอยไปในความคิด เหมือนลิงที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เมื่อใจคิด เราขาดสติ ล้วนนำทุกข์มาให้ทั้งสิ้น และเป็นอนัตตาที่ไม่สามารถควบคุมใจตนเองได้
พระพุทธองค์ จึงทรงเปรัยบเทียบใจนั้นว่า มีหุบเขาที่มีไฟนรก ขวางอยู่เราต้องเดินผ่านหุบเขานั้นไป จึงเกิดความกลัวจับจิต ไม่อยากข้าม ฉันใดฉันนั้น ทุกครั้งที่คิด จึงต้องมีสติ เมื่อมีสติ มีธรรม ก็จะไม่หลงกระทำทางกาย วาจา ได้ จึงต้องระลึกเสมอว่า ใจนั้นน่ากลัวยิ่งอย่าเผลอเป็นอันขาด ต้องมีสติเมื่อคิด

อาหารวิญญาณ
เมื่อเราผัสสะย่อมเกิดวิญญาณการรู้แจ้ง ถ้าไม่ระวัง ขาดสติ จะมีแต่ทุกข์ตลอดเวลา คนเราเมื่อตายไป ก็ต้องไปเกิดในภพใหม่ตามกรรมที่ได้กระทำเอาไว้ เพราะยังประกอบด้วยอุปาทาน การเกิดทุกครั้งมีทุกข์ร่ำไป การเกิดวิญญาณ(รู้แจ้งทุกครั้ง ก็ล้วนนำทุกข์มาให้)
พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบอาหารวิญญาณ ก็เหมือนมหาโจรที่ถูกพระราชาลงโทษโดยใช้หอกแทงจนสลบ พอฟื้นก็แทงจนสลบอีก กระทำเช่นนี้ตลอดเวลา ไม่ตาย จึงมีแต่ทุกข์ ไม่พ้นทุกข์ไปได้

ดังนั้น อาหารทั้ง ๔ อย่างนี้ที่เราจำเป็นต้องกิน ต้องผัสสะ ต้องประสพ ตลอดเวลาที่มีชีวิต จึงต้องมีสติ มีธรรม ไม่หลงไปกับมัน จึงจะดำรงคงอยู่ด้วยสุข สงบ

สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16276 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2559, 13:47:33 »



อาหารของ นิวรณ์ ๕

ร่างกาย ดำรงอยู่ได้ เพราะอาศัยอาหาร
นิวรณ์ ๕ ก็มีอาหาร (คือมีปัจจัยให้เกิด, ให้ดำรงอยู่) ประกอบด้วย
๑. กามฉันท์(ความรักใคร่ ในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏทัพพะ ธัมมารมย์) มีสุภนิมิต(ความสวยความงาม) เป็นอาหาร
๒. พยาบาท(ความคิดเบียดเบียน) มีปฏิฆนิมิต(ความหงุดหงิด) เป็นอาหาร
๓. ถีนมิทธะ(ความซึมเซา) มีความเบื่อระอา(อรติ) ความเกียจคน้าน(ตนฺทิ) ความเฉื่อยชา(วิชมฺภิตา) ความเห็นแก่ปากแก่ท้อง(ภตฺตามฺมโท) ความมีใจหดหู่(เจตโส ลีนตฺตํ) เป็นอาหาร
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่าน) มีความไม่สงบระงับภายในใจ(เจตโส อวูปสโม) เป็นอาหาร
๕. วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) มีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย(วิจิกิจฺฉานิยา ธมฺมา) เป็นอาหาร

อาหารทั้งหมดนั้น เกิดจากการไม่พิจารณาให้แยบคาย(ไม่มีโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น ๆ) จึงหลงเข้าไปเป็น ไปยึด เสีย

ดังนั้น นิวรณ์ ๕ จึงเป็นปัจจัยแห่งการไม่ให้เกิดการกระทำความดี(การภาวนา) ที่จิตมันชอบ

ผู้ปฏิบัติธรรม เมื่อพิจารณาให้แยบคายแล้ว ต้องมีวิริยะ-ปัญญา ภาวนาให้นาน เอาชนะนิวรณ์ ๕ ให้ได้ ในแต่ละครั้งที่ภาวนา จิตจะเป็นสมาธิ ได้

สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16277 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2559, 10:59:59 »


หลวงพ่อสมบูรณ์  วัดถ้ำเขาพระ กระบี่
(ท่านเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ใช่การแกว่งแขน กวาดใบไม้ ภาวนา และการรักษาทางการแพทย์ จนหายเป็นปกติ)

อาหารของโพชฌงค์

อาหารของโพชฌงค์ ๗ มีดังนี้
๑. สติสัมโพชฌงค์ มีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติเป็นอาหาร
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและปราณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว เป็นอาหาร
๓. วิริยะสัมโพชฌงค์ มีความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น เป็นอาหาร
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ มีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติ เป็นอาหาร
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มีความสงบกาย ความสงบจิต เป็นอาหาร
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ มีสมาธินิมิต(สมถะและอารมณ์ของสมถะ) อัพยัคคนิมิต(นิมิตของจิตที่มีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน คือสมาธินิมิตนั่นเอง) เป็นอาหาร
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา เป็นอาหาร

ธรรมที่เป็นอาหาร(ปัจจัย) ทั้งหมดนี้ ทรงให้ใช้โยนิโสมนสิการให้มาก เมื่อใช้โยนิโสมนสิการให้มากในธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดก็จะเกิด ที่เกิดแล้วก็จะยิ่งไพบูลย์

สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #16278 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2559, 21:49:34 »

       สวัสดีค่ะพี่สิงห์    กำลังตัดท่อส่งอาหารให้นิวรณ์ค่ะ  อ่านกี่รอบกี่รอบก็ไล่เชคไปเรื่อย
      เพราะเป็นตัวที่ทำให้เวลาภาวนาแล้วไม่เกิดสติ สมาธิค่ะ
      บันทึกการเข้า

Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16279 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2559, 17:44:15 »

อ้างถึง
ข้อความของ Dtoy16 เมื่อ 10 ธันวาคม 2559, 21:49:34
       สวัสดีค่ะพี่สิงห์    กำลังตัดท่อส่งอาหารให้นิวรณ์ค่ะ  อ่านกี่รอบกี่รอบก็ไล่เชคไปเรื่อย
      เพราะเป็นตัวที่ทำให้เวลาภาวนาแล้วไม่เกิดสติ สมาธิค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณน้องต้อย ที่รัก
ระยะเวลา คือการตัดอาหารของนิวรณ์ ๕ ปล่อยให้มันฟุ้ง แต่ให้รู้ว่าฟุ้ง อดทนให้นาน จิตมันจะยอมแพ้ได้ เข้าสู่ฌาณที่ ๑

สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16280 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2559, 05:16:40 »



อรุณสวัสดิ์ ทุกท่านครับ

อยากจะแนะนำกัลยาณมิตร ทุกท่าน นักภาวนา ไปหาหนังสือเล่มนี้มาอ่าน เป็นการบอกเล่าประสพการณ์ของ คุณลุงหรีด ในการภาวนา มีประโยชน์มาก

"ฆารวาส" ก็บรรลุธรรมได้ ถ้ามีวิริยะบารมี เพียงพอ จะเดินเป็นวิริยะพลในการภาวนา เอาชนะนิวรณ์ ๕ ได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16281 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2559, 07:22:13 »


อาหารเช้าวันนี้

เรายังเป็นปุถุชนม์คนธรรมดา
แต่ถ้าเราแยกธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณธาตุได้ หรือมีตัวรู้ ด้วยสติ เราก็มีชีวิตที่สุขสงบได้

เพราะความเป็นเรามันจะเบาบางลง

ยิ่งถ้ารู้ รูป จิต เจตสิก นิพพาน ด้วย ยิ่งสุขปราณีตขึ้น

ถึงอย่างไร ในธาตุรู้นั้น มันก็ยังมีเรา เพราะเรายังไม่ตาย ยังต้องมีชีวิตอยู่ อาหารกายเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าเห็นเราเสียแล้ว มันก็อยู่แบบง่าย ๆ ได้ กินง่าย ๆได้ มีปัจจัย ๔ เพียงเพื่อให้กายดำรงอยู่ได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16282 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2559, 07:32:27 »



ศีล ๔

ภิกษุในพระธรรมวินัย นี้ ต้องมัศีล ๔ ซึ่งประกอบด้วย

๑. ปาฏิโมกข์ ศีล ๒๒๗ ข้อ
๒. อินทรีย์ศีล ต้องสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓. หาอาหารในทางที่ชอบ คือการบิณฑบาตร บิณฑบาตรให้บริศุทธิ์ เพราะตัองพึ่งชาวบ้าน
๔. พึงพิจารณาในปัจจัย ๔ อยู่เป็นนิจ ภิกษุบวชเพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ต้องให้ชาวบ้านเลี้ยง จึงต้องพิจารณาในปัจจัย ๔ นั้นอยู่เนือง ๆ ไม่ปล่อยให้ใจไหลไปตามกิเลส-ตัณหา -ความต้องการของตน ต้องละความเป็นเราออกไป

เราปุถุชนม์คนธรรมดา ก็สามารถรักษาศีล ๔ ได้ เพียงแต่ปาฏิโมกข์ศีล ของปุถุชนม์คนธรรมดามี ๘ ข้อ

สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16283 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2559, 18:01:37 »



คนเรากินนิดเดียวเอง!

วันนี้เพล กินข้าวกับแกงจืดผักกาดขาว เห็นโคน เนื่องจากต้องซื้อกับข้าว จึงซื้อแกงจืดหมูสับ และเอาเห็ดโคนที่เหลนสาว เอามาให้ใส่ลงไป ก็สามารถกินได้ทั้งเพล และเช้าวันใหม่ ส่วนข้าวนั้นหุงเอง

อยู่คนเดียวมันก็ต้องกินแบบนี้ ไปกินตามร้านไม่คุ้ม

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16284 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2559, 05:51:52 »



สีลสูจร

โพชฌงค์ ๗ มีความเชื่อมโยงกัน

พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า การที่ได้เห็นภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ได้ฟังคำสอน ได้อยู่ใกล้ ได้ระลึกถึงท่านเหล่านั้น(แต่ละอย่าง) นับได้ว่ามีอุปการะมาก เพราะจะทำให้ได้ปลีกกายและจิตออกมาใคร่ครวญธรรมที่ท่านสอน

ทรงแสดงความเชื่อมโยงของการเกิดโพชฌงค์ ๗ ถอดความได้ ดังนี้
๑. ยกเอาธรรมที่ได้สดับตรับฟังขึ้นมานึกทบทวนหวนระลึก จับเอามานึกคิด เป็นอันได้เจริญสติสัมโพชฌงค์
๒. เมื่อมีสติระลึกนึกคิดอยู่อย่างนั้น ก็ใช้ปัญญาเลือกเฟ้นใตร่ตรองสอบสวนพิจารณาไปด้วย เป็นอันได้เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. เมื่อใช้ปัญญาเลือกเฟ้นใตร่ตรอง...ก็เป็นอันได้ใช้ความเพียร ยิ่งเลือเฟ้น ได้ความเข้าใจ ก็ยิ่งมีกำลังมุ่งมั่นไม่ย่อท้อเป็นอันได้เจริญวิริยสัมโพชฌงค์
๔. เมื่อได้ระดมความเพียรรุดหน้า ก็เกิดปีติที่เป็นนิรามีส(ไม่อิงกามคุณ) เป็นอันได้เจริญปีติสัมโพชฌงค์
๕. เมื่อปีติ ทั้งกายและใจก็ผ่อนคลายสงบ(เกิดกายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิ) เป็นอันได้เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. เมื่อกายผ่อนคลายสงบ มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น(เป็นสมาธิ) เป็นอันได้เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
๗. เมื่อจิตตั่งมั่นอยู่กับกิจของมัน ใจก็นิ่งสม่ำเสมอ มีแต่การเพ่งดูให้ดี ก็เป็นอันได้เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

(อรรถกถากล่าวว่า ความเชื่อมโยงทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ภายในขณะจิตเดียว)

สาธุ สาธุ สาธุ

ปล.
ขณะนั่งภาวนา ให้มีสติที่กาย จิตมันจะยกธรรมขึ้นมาพิจารณาเอง เราจะเห็นว่าธรรมที่เกิดขึ้นนั้น มันก็เป็นจริงตามธรรมนั้น นั่นเทียว เป็นดังนี้ มันจะตัดกาลเวลาออกไป คือภาวนา อยู่ในอุเบกขาญาณ ได้นาน ลืมเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจิตไม่ได้ไปพะวงกับเวทนา ทั้ง ๆ ที่เวทนามันก็เกิดขึ้นปกติ ถ้าไม่มีเรา มันก็ไม่มีเวทนา แต่ถ้ามีเรา มันก็มีเวมนา นิวรณ์ ๕ นั่นเทียว

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16285 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2559, 06:04:45 »



ผลบรรลุที่เกิดจากการเจริญโพชฌงค์ ๗

พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า เมื่อภิกษุได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ดังกล่าวนี้ จะเกิดผลบรรลุ ๗ ประการ คือ
๑. สามารถบรรลุอรหัตตผลได้ในทันที
๒. ถ้าไม่บรรลุอรหัตตผลทันที ก็จะบรรลุในเวลาใกล้ตาย
๓. ถ้าไม่บรรลุอรหัตตผลตามข้อ ๒. ก็จะเป็นอนาคามีประเภทอันตราปรินิพพายี (จะสำเร็จอรหันต์ระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง) เพราะละสังโยชน์ ๕ เบื้องต่ำได้
๔. ถ้าไม่บรรลุอรหัตตผลตามข้อ ๓. ก็จะเป็นอนาคามีประเภทอุปหัจจปรินิพพายี (จะสำเร็จอรหัตตผลเมื่อจวนจะสิ้นอายุ)
๕. ถ้าไม่บรรลุอรหัตตผลตามข้อ ๔. ก็จะเป็นอนาคามีประเภทอสังขารปรินิพพายี (จะสำเร็จอรหันต์โดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก)
๖. ถ้าไม่บรรลุอรหัตตผลตามข้อ ๕. ก็จะเป็นอนาคามีประเภทสสังขารปรินิพพายี (จะสำเร็จอรหันต์โดยต้องใช้ความเพียรมาก)
๗. ถ้าไม่บรรลุอรหัตตผลตามข้อ ๖. ก็จะเป็นอนาคามีประเภทอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (จะสำเร็จอรหันต์ในอกนิฏฐภพ)

สาธุ สาธุ สาธุ

เมื่อทุกท่านได้ทราบผลอานิสสง แห่งการเจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ขอให้ทุกท่านจะมีความเพียรกระทำโพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งเถิด

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16286 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2559, 08:06:54 »



คน(มนุษย์) มีแต่ลากทุกข์ พาทุกข์ไป และถูกทุกข์พาไป

พระพุทธองค์ ทรงสอนให้ "เห็นทุกข์ ไม่เป็นทุกข์"  และ "ให้เห็นสุข ไม่เป็นสุข"

ไม่เป็นทุกข์ ไม่เป็นสุข ก็ต้องเจริญสติปัฏฐาน ๔ จะเห็นทุกข์ เห็นสุข ได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16287 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2559, 14:34:48 »



สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเอก ในการทำมรรค ๘ ให้เกิดขึ้น แต่องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้คือ โพชฌงค์ ๗

แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ธรรมทั้งหลายมีเหตุ-ปัจจัยอิงกันและกันทั้งนั้น ที่พระภาวนาทั้งหลายมักสอนว่า มรรคสามัคคี คือองค์ธรรมต่าง ๆ มารวมกัน นั่นเอง

สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16288 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2559, 13:50:32 »



คุณสมบัติของพระโสดาบัน
- อยู่ในวิหารธรรม ๔ คือศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และรักษาศีล ๕ มั่นคง
- เห็นอริยสัจจ ๔
- มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
- ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ละสักกายทิฐิ ไม่เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และไม่มีความลังเลสงสัย

พระโสดาบัน จะรู้ได้ด้วยตนเอง

สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16289 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2559, 06:29:14 »


พระอุปัชฌา วันที่ ๙ กพ. ๒๕๖๐

ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล สมาธิ ปัญญา คือเครื่องดำรงชีวิตของเรา

ศีล คือข้อห้ามที่จะป้องกัน ชำระกิเลสอย่างหยาบอันเกิดจากการกระทำทางกาย ทางวาจา ของเราได้ ดังนั้นคนจึงต้องมีศีล(ข้อห้าม)

สมาธิ คือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เห็นจิต รู้พฤติกรรมของจิต ที่มิใช่ตัวตนที่เราหลง ได้เห็นธรรม แยกรูป-นาม ได้ เป็นการกำจัดกิเลสอย่างกลาง คือกิเลสที่เกิดจากการกระทำของจิต ได้แก่อารมณ์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง....อีกมาก

ปัญญา คือความรู้ ที่เห็นจริงในธรรมนั้น เห็นจริงในอริยะสัจจ ๔ เห็นจริงในปฏิจจสมุปาบาท เห็นจริงในไตรลักษณ์ เห็นจริงในรูป-นาม...ที่จะนำพาให้จิตมันยอมรับ จนปล่อยวาง ละความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ลงได้ ซึ่งจัดว่าเป็นกิเลสอย่างละเอียด ที่เกาะจิต ปกปิดความจริงในรูป-นาม จนสามารถทำให้กระเทาะออกมาจากตัวตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีตัวตน ทุกสิ่งเป็นเพียงธาตุ และเกิดขึ้นด้วยเหตุ-ปัจจัย ดับลงไปเมื่อเหตุ-ปัจจัยไม่มี

สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16290 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2559, 20:33:42 »



พระไพศาล   วิสาโล



ทุกคนมีสิทธิ ที่จะทำอย่างพระไพศาล  วิสาโล  ได้เช่นกัน

เรายังมีทุกข์  แต่เราไม่ทุกข์ได้ เพราะเรามีสติ มีธรรม เห็นมันเกิด มันอยู่ และมันดับไป ตามเหตุ-ปัจจัย

ดังนั้นเรามาทำเหตุ-ปัจจัยให้มันเกิดด้วยการเจริญสติ ครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16291 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2559, 08:04:51 »



สวัสดี ทุกท่านครับ

การเดินจงกรมออกกำลังกาย การฝึกชิกง หุงข้าวใส่บาตรพระ และรับประทานอาหารเช้า เป็นกิจที่ผู้สูงอายุ สมควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะมีเวลา

คนสูงอายุ  ถ้าไม่ออกกำลังกาย สุขภาพก็จะมีแต่โรคเรื้อรัง

คนสูงอายุ ถ้าไม่ใส่บาตรพระ เพื่อชำระจิตใจให้เป็นผู้ให้ จะมีแต่นำทุกข์มาใส่ตน เพราะจะมีทิฐิมาก

คนสูงอายุ  ต้องรู้จักกิน กินอาหารให้เป็นยา

สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16292 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2559, 18:03:25 »



ทุติยปาราชิกกัณฑ์
ลักทรัพย์

"ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ เป็นส่วนแห่งโจรกรรม จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาจับโจรได้แล้วฆ่าเสียบ้าง จำขังเสียบ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยปรับโทษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้ เพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้"

"ปาราชิก" คือขาดจากความเป็นภิกษุ อยู่ร่วมกับภิกษุอื่นไม่ได้ ภาษาวินัยใช้คำว่า ไม่มีสังวาส ร่วมสังฆกรรมใดๆ กับสงฆ์ไม่ได้

พี่สิงห์  ยิบยกพระวินัยจากพระไตรปิฎก เรื่องนี้มาให้ทุกท่านได้ทำความรู้จัก เรื่องลักทรัพย์  จะได้ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง กับข่าวการจับกุมพระ....ที่เป็นข่าวว่าท่าน ปาราชิก หรือไม่ กับการลักทรัพย์ และข้อกล่าวหาจากทางราชการ จะได้ไม่ต้องเชื่อใคร!
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16293 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2559, 19:19:26 »


รัตนจงกรม ภายหลังจากทรงตรัสรู้

ลักทรัพย์

ความหมายโดยสรุป คือ ถ้าภิกษุมีความประพฤติเข้าข่ายอย่างโจรหรือขโมยทางโลก ซึ่งถูกฝ่ายบ้านเมืองลงโทษได้ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก

ทรัพย์ตามวินัยปิฎก มี ๒ ประเภท คือ
๑. สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น สัตว์เลี้ยง เงินทอง เป็นต้น
๒. อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน เป็นต้น ทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้ คือ ทรัพย์มีเจ้าของ ถือกรรมสิทธิ์ หรือเป็นของส่วนรวม แต่มีผู้ดูแลรักษาหวงห้าม เช่น ของสงฆ์ ของเจดีย์ ของหลวง เป็นต้น การถือเอาทรัพย์อย่างนั้น เข้าข่ายเป็นโจรกรรมได้ทั้งสิ้น

การถือเอาทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ที่เข้าลักษณะเป็นโจรกรรม ตัดสินกันที่ "ทำให้เคลื่อนจากที่เดิม" เช่น โต๊ะมี ๔ ขา ถ้าภิกษุมีเจตนาจะถือครอง(คือมีไถยจิต) พอขยับโต๊ะให้ขาทั้ง ๔ เคลื่อนจากที่เดิมของมันเท่านั้น ก็ถือว่าเป็นการลักทันทีเป็นปาราชิก สังหาริมืรัพย์บางอย่าง ติดอยู่กับตัวตน เช่น เครื่องประดับกาย ถ้าภิกษุมีเจตนาเอามาเป็นของตน ไปแย่งเอามาพ้นจากตัวเขา ก็เข้าข่ายแย่งชิงหรือวิ่งราว เป็นโจรกรรม ต้องอาบัติปาราชิก สัตว์เลี้ยงทุกประเภท ถ้าภิกษุมีเจตนาลัก เพียงทำให้เท้าทุกข้างของมันเคลื่อนจากที่ ก็เป็นปาราชิก กรณีแย่งของตก ที่ไม่ใช่ของตัวเอง ถ้าภิกษุมีเจตนาจะเอามาเป็นของตน พอของตก ที่แย่งเคลื่อนจากที่ที่ตก ภิกษุก็ต้องปาราชิก ภิกษุอยากได้ของคนอื่น เอาของตัวเองไปสลับได้มาก็เป็นปาราชิก

สำหรับอสังหาริมทรัพย์ ตัดสินที่กรรมสิทธิ์ขาดจากเจ้าของ ยกตัวอย่าง เช่น ภิกษุไปกล่าวตู่เอาที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา(ตู่) ทันทีที่เขาปล่อยกรรมสิทธิ์ เป็นปาราชิก และถ้าเจ้าของไม่ยอม มีการฟ้องร้องกันถึงศาล แม้ภิกษุจะเป็นฝ่ายชนะ ได้ที่ดินมาก็เป็นปาราชิก (ชนะศาลทางโลกแต่แพ้สิกขาบท) ภิกษุปักเขตรุกเอาที่ดินของเขา พอปักเขตเสร็จก็เป็นปาราชิก ไม่ว่าเจ้าของจะรู้หรือไม่ก็ตาม ภิกษุตัดต้นไม้หรือรื้อบ้านเรือนเขา ทันทีที่ตัดเสร็จ รื้อได้ ก็เป็นปาราชิก


ดังนั้น การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของพระ และที่ดินเป็นป่าสงวนของชาติ ที่สปก. ล้วนผิดพระวินัย ต้องอาบัติปาราชิก ทันที
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16294 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2559, 19:37:49 »



ภิกษุ มีวัตถุประสงค์ในการบวช คือ เพื่อกระทำให้ถึงซึ่งพระนิพพาน

ออกจากเรือน ต้องพึ่งชาวบ้านในปัจจัย ๔ จึงต้องไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ในสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์

พี่สิงห์  ศึกษาพระวินัย จนรู้สึกว่า ไม่อยากบวช เพราะถ้าบวช ออกจากเรือน ต้องบริสุทธิ์ในพระวินัย  เพราะถ้าผิดพระวินัย นรกสถานเดียว

กรรมจะสนองคนกระทำ เมื่อตอนจะสิ้นชีวิต

พระสงฆ์ มี ๘ จำพวก คือ
- โสดาปัตติมรรค
- โสดาปัตติผล
- สกนาคามีมรรค
- สกนาคามีผล
- อนาคามีมรรค
- อนาคามีผล
- อรหัตต์มรรค
- อรหัตต์ผล

เท่านั้น(ดูคำแปลในบท สุปฏิปัญโณ)
ส่วนพระสงฆ์ ที่เราเห็นนั้นเป็นสมมติสงฆ์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16295 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2559, 07:38:07 »



ก่อนที่พระพุทธองค์ จะปรินิพพานได้รับสั่งให้สงฆ์ลงทัณฑ์พระฉันนะ
พระฉันนะ ถือว่า เป็นคนใกล้ชิดพระพุทธองค์ตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตธะ จึงไม่มีใครว่า กล่าวได้เลย และไม่บรรลุธรรมอันใดเพราะทิฐิ  แต่เมื่อพระสงฆ์ได้ลงทัณฑ์ ด้วยการไม่พูดด้วย ไม่ทำสังฆกรรมด้วย ก็คิดได้ ได้สำนึก ลดทิฐิลง เห็นความผิดตนเอง  จึงเร่งกระทำความเพียร ก็สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้

แต่จะมีสักกี่คนกัน ที่สามารถเห็นความผิดของตนเอง และกลับใจได้  มีแต่จะปกป้องตนเอง ด้วยทิฐิเพิ่มขึ้น ทั้งนั้น ส่วนท่านอื่น ๆ ที่รู้ความจริงก็ไม่แสดงตน ทำเป็นไม่รู้อะไร ตัวใครตัวมัน ทั้งที่รู้ความจริง

พุทธบริษัท ๔ พระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา สามารถบรรลุธรรมได้ทั้งหมด  สามารถว่ากล่าวตักเตือนกันได้หมด สามารถโพนทนาให้เราไม่ให้คบหากันได้หมด ไม่มีความผิดทางพระวินัย

การอยู่เฉยของพุทธบริษัท ทั้ง ๔ คือการทำลายพระพุทธศาสนา ที่ปล่อยให้พระ ทำผิดพระวินัย


สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16296 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2559, 07:41:48 »



กรณีตัวอย่างที่เข้าข่ายโจรกรรม

- ภิกษุรับของฝาก แล้วเจตนายึดเอาเป็นของตน พอเจ้าขิงมาขอคืน ก็ปฏิเสธว่าไม่ได้รับ หรือว่าให้คืนไปแล้ว(ฉ้อ) ทันทีที่เจ้าของเขาปล่อยกรรมสิทธิ์ เป็นปาราชิก
- ภิกษุมีหน้าที่รักษาของสงฆ์ ถ้ามีเจตนาเอาของสงฆ์ที่ตนรักษาไปเป็นของตน ทันทีที่ของนั้นพ้นจากเขตที่เก็บรักษา(ยักยอก) เป็นปาราชิก
- ภิกษุนำของจะผ่านด่านภาษี ซ่อนของนั้นหรือของมากซ่อนให้เห็นแต่น้อย ทันทีที่ของนั้นพ้นเขตเก็บภาษี(ตระบัด) เป็นปาราชิก
- ภิกษุชวนกันไปทำโจรกรรม (ปล้น) ไม่ว่าจะได้ลงมือหรือไม่ได้ลงมือ ทำสำเร็จหรือไม่สำเร็จ เป็นปาราชิก
- ภิกษุทำของปลอม เช่น เงินปลอม ของปลอม ชั่งของด้วยตาชั่งโกง(หลอกลวง) เป็นปาราชิก
- ภิกษุใช้อำนาจหรืออิทธพลข่มเหงเอาทรัพย์ของผู้อื่นได้มา (กดขี่) เป็นปาราชิก
- ภิกษุขู่เอาทรัพย์ได้มา(กรรโชก) เป็นปาราชิก
- ภิกษุเห็นขอวเขาทำตก มีเจตนาเอามาเป็นของตน ใช้วิธีกลบหรือปิดบังไว้ (ลักซ่อน) ขณะทำสำเร็จ เป็นปาราชิก
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16297 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2559, 08:19:59 »



สิกขาบทนี้ เป็นสาณัตติกะ คือ ภิกษุสั่งให้เขาทำโจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทันทีที่ทำสำเร็จ เป็นปาราชิก
การสั่งให้ทำโจรกรรมมีหลายแบบ
- ภิกษุสั่งให้ทำโจรกรรมโดยไม่มีเงื่อนไข (ปริกัป) และผู้รับสั่งก็เป็นภิกษุ ถ้าทำสำเร็จต้องปาราชิกทั้ง ๒ รูป
- ภิกษุสั่งให้ภิกษุทำโจรกรรมแล้ว ยับยั้งไม่ให้ทำกลางคัน แต่ผู้รับสั่งทำสำเร็จโดยพลการ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ผู้รับสั่งเป็นปาราชิก
- ภิกษุสั่งให้ภิกษุทำโจรกรรมโดยเจาะจงทรัพย์ แต่ผู้รับสั่งไปเอาอย่างอื่น ผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ผู้รับสั่งเป็นปาราชิก
- ภิกษุสั่งให้ภิกษุทำโจรกรรมด้วยการแสดงกิริยาอาการ เช่น ขยิบตา หรือพยักหน้า เป็นต้น ถ้าผู้รับสั่งทำสำเร็จตามที่บอกด้วยอาการ เป็นปาราชิกทั้ง ๒ รูป ถ้าผู้รับสั่งทำผิดพลาดไปเป็นอย่างอื่น ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้สั่ง ผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ผู้รับสั่งเป็นปาราชิก
- ภิกษุสั่งให้ภิกษุทำโจรกรรมในเวลาหนึ่ง แต่ผู้รับสั่งไปทำอีกเวลาหนึ่ง ผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ผู้รับสั่งเป็นปาราชิก
- ภิกษุสั่งภิกษุหลายต่อให้ทำโจรกรรม เช่น ภิกษุดำสั่งภิกษุเขียวให้บอกภิกษุขาวทำ ถ้าไม่มีอะไรคลาดเคลื่อนจากคำสั่งแรก เป็นปาราชิกทุกรูป ถ้ามีการสั่งผิดตัวหรือมีการผิดพลาดไปจากคำสั่งแรก ภิกษุผู้สั่งรูปแรกไม่ต้องอาบัติ เป็นอาบัตอปาราชิกเฉพาะระหว่างผู้สั่งกับผู้รับสั่งโดยตรง
- ภิกษุมีเจตนาโจรกรรม สั่งให้เขาทำโจรกรรม คำสั่งไม่ชัดเจน แต่ผู้รับสั่งรู้ความประสงค์ของผู้สั่งเอง ถ้าผู้รับสั่งทำสำเร็จ ผู้รับสั่งต้องปาราชิก
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16298 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2559, 09:02:26 »



ลักอย่างไรไม่เป็นปาราชิก

ภิกษุมีเจตนา แต่ไม่เป็นปาราชิก มีหลักให้พิจารณาดังนี้
- จะลักเรือเขาซึ่งล่ามโซ่ลั่นกุญแจไว้ แต่ยังงัดกุญแจออกไม่ทัน เห็นคนเดินมา ตกใจ หนีไป เรือเพียงแต่เลื่อนไปเลื่อนมาเล็กน้อย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
- ลักต้อยสัตว์ สัตว์ขยับแต่เท้าหน้า ไม่ได้เดินออกจากจุดที่ยืน ต้องถุลลัจจัย
- รื้อถอนอสังหาริมทรัพย์ เหลืออีกขั้นตอนเดียวก็จะทำสำเร็จ ต้องถุลลัจจัย
- ตู่เอาที่ดินหรือฉ้อเอาของที่เขาฝากไว้ แต่ไม่สำเร็จเพราะเขาไหวทัน หรือชนะคดีในศาล ต้องถุลลัจจัย

ให้จับหลักว่า การเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ถ้าทำสำเร็จเป็นปาราชิก ถ้าไม่สำเร็จ เหลือเพียงขั้นตอนเดียวก็สำเร็จ เป็นถุลลัจจัย ทำได้ไม่ถึงขั้นนั้น เป็นทุกกฏ เช่น ตั้งใจลักเรือ ยังไม่ได้งัดกุญแจ เพียงแต่เดินมา หรือจับเรือ เป็นต้น
- ลักทรัพย์ราคาไม่ถ 5 มาสก หรือ 1 บาท ต้องทุกกฏ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16299 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2559, 09:13:56 »


อย่างไรไม่ถือว่าเป็นการลัก-ไม่เป็นอาบัติ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ นี้ เป็น "สจิตตกะ" คือต้งมีเจตนา จึงเป็นอาบัติ กรณีต่อไปนี้ไม่เป็นอาบัติ
- คิดว่าเป็นของตน จึงถือมา
- คิดว่าเขาทิ้งแล้ว (เช่น ผ้าบังสุกุล) จึงถือเอา
- ถือเอาด้วยวิสาสะ ไม่ได้คิดว่าลัก
- ถือเอาเป็นของยืม
- ถือเอาของเปรตและสัตว์เดรัจฉาน เช่น ซากสัตว์ที่เสือยังกินไม่หมด
- เดินทางจะผ่านด่านเก็บภาษี มีคนเอาของมีค่าซ่อนไว้ในย่ามโดยไม่รู้ตัว ก็ไม่เป็นอาบัติ
- เขาแย่งขิงไป แล้วไปเอาคืนได้ หรือใช้อำนาจฤทธิ์ไปเอาของที่เขาลักไปมาคืนให้เจ้าของเดิม ก็ไม่อาบัติ
- ภิกษุวิกลจริต และภิกษุต้นบัญญัติไม่ต้องอาบัติ

เรื่องที่ดคยทรงวินิจฉัยแล้ว (วินีตวัตถุ) มีบรรยายอยู่ในข้อ (127) ถึง (175)

เป็นภิกษุที่ไม่ทุศีล นั้นยาก ในสมัยนี้
อุบาสก ผิดพระวินัย ไม่บาป ไม่ตกนรกเท่าภิกษุผิดพระวินัย
กิจของสงฆ์ มีเพียงบวชเพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง กิจอย่างอื่นเป็นหน้าที่ของอุบาสก อุบาสิกา
แต่ภิกษุสมัยนี้ ไปทำหน้าที่อย่างปุถุชนม์คนธรรมดา
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 650 651 [652] 653 654 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><