19 เมษายน 2567, 09:04:08
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: มึนหมอใหม่ยอมชดใช้ทุนแล้วลาออกก่อนใช้ทุนครบกว่าครึ่ง  (อ่าน 5498 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 12 สิงหาคม 2553, 11:08:47 »


ขอขอบคุณเวบไทยรัฐออนไลน์ 12 สิงหาคม 2553 โดย ทีมข่าวการศึกษา ที่เอื้อเฟื้อข่าว

http://www.thairath.co.th/content/edu/103040



ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน คณบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน กล่าวว่า ปัญหาที่น่ากังวลในขณะนี้คือ

แพทย์ซึ่งต้องใช้ทุน 3 ปีในโรงพยาบาลอำเภอ ขอชดใช้เงิน แทนการทำงานใช้ทุน

ซึ่งเมื่อสำรวจย้อนหลังไป 5 ปี พบว่าแพทย์ลาออกก่อนใช้ทุนครบมากถึง

ครึ่งหนึ่ง แพทย์ที่จบใหม่จะต้องชดใช้ทุนด้วยการทำงานเพื่อรับใช้สังคม

แต่กลับขอลาออกก่อนใช้ทุนครบ ซึ่งต้องศึกษาหาสาเหตุ ทั้งพบว่าแพทย์ไม่กล้า

ผ่าตัดแบบง่ายๆ เช่น ผ่าไส้ติ่ง ทำคลอด เพราะกลัวปัญหา ฟ้องร้องภายหลังหาก

เกิดข้อผิดพลาด จึงส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่แทน

คณะแพทย์ ต้องดูว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้คนไทยได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย.

งง งง งง งง งง งง

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

ขอยกคำถามจากข่าวข้างบนที่ว่า

คณะแพทย์ ต้องดูว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้คนไทยได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย.



พณฯท่าน จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมต.ว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ผมขอร่วมเสนอว่า ระบบสาธารณสุข เป็นปัญหา ต้องแก้ที่ระบบเมื่อผลิตแพทย์ออกมาแล้ว

ต้องเรียนเสนอพณฯ ท่าน รมต.จุรินทร์จัดระบบการรับแพทย์เข้าทำงาน ร.พ.ให้เป็นรูปเครือข่าย

ช่วยเหลือกัน วางแพทย์ให้ตรงกับด้านที่เรียนมา โดยปรับระบบสาธารณสุขดังนี้



โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล ด่านแรก มีแพทย์โรงพยาบาลอำเภอรับผิดชอบ

ปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศให้ใช้คนให้ตรงกับงาน ในรูปเครือข่าย 3 ระดับ

ระดับแรก หรือ ด่านแรก ที่อยู่ใกล้บ้าน ประชาชนเ้ข้าถึงง่าย มีสถานพยาบาลด่านแรก คือ

ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล มีแพทย์ประจำพื้นที่ ควรใช้แพทย์ทั่วไปเรียนแพทย์

จบ 6 ปี ผ่านการเรียนมาทุกโรค ทุกแผนกในเวลาเรียนมาแล้ว สามารถดูแลคนไข้เริ่มป่วย

ได้มากกว่า 90% ปีหนึ่งมีแพทย์จบใหม่ ปีละ 2,500 คน มาทำงาน และ ให้แพทย์เฉพาะทาง

ที่จัดให้มีอยู่ในแต่ละ ร.พ.อำเภอ สาขาละ 1 คนมีคนไข้ไม่มากพอที่จะแยกแผนกตรวจ

เฉพาะที่เรียนมาได้ ให้กลับไปอยู่ ด่านสอง หรือ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ ที่มีการแยกแผนก


แล้วส่งแพทย์จบใหม่ซึ่งสามารถดูแลด่านแรก มาแทน โดยแพทย์ทั่วไปนี้ต้องดูแล 2 สถานที่ คือ

1. สถานีอนามัย ซึ่งกำลังพัฒนาเป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ระดับตำบลในปี 2555

ดูแลคนไข้ที่เริ่มป่วย ไม่จำเป็นต้องมา ร.พ.อำเภอ รักษาใกล้บ้านได้โดยแพทย์ซึ่งมาได้2ทางคือ

1.ทาง ร.พ.อำเภอ จัดให้มีแพทย์ประจำพื้นที่ออกไปตรวจให้ ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล หรือ

2.ทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตสาธารณสุข Virtual Private Network:VPN ที่กำลังพัฒนาให้มี

แพทย์อยู่ ร.พ.อำเภอ ไม่ต้องมา ร.พ.ตำบล เพียงแต่ ล๊อคอินเข้าไปในเครือข่ายสาธารณสุข VPN

เข้าไปทำงานที่ ร.พ.ตำบลได้ โดยสามารถพูดคุยกับคนไข้ได้ มีพยาบาลเวชปฏิบัติ ที่ ร.พ.ตำบล

เชื่อมต่อคนไข้กับแพทย์ ในกรณีที่ป่วยเล็กน้อย พยาบาลเวชปฏิบัติ ที่อยู่ประจำก็สามารถให้การ

รักษาคนไข้ได้ โดยมีปัญหาสามารถโทรฯ ปรึกษาแพทย์ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลนั้นได้

2. ร.พ.อำเภอ ดูแลคนไข้ในที่ส่งต่อมาจาก ร.พ.ตำบล ที่ตนเองส่งมานอนรักษา

เพราะ ป่วยควรนอน ร.พ.แต่ไม่ป่วยถึงกับต้องพบแพทย์เฉพาะทาง ที่ ร.พ.จังหวัด

ระดับสอง หรือ ด่านสอง คือ ร.พ.จังหวัด ที่มีการแบ่งแผนกให้แพทย์เฉพาะทาง

ได้ทำงานเฉพาะทางที่เรียนมา นำเครื่องมือเฉพาะทางที่ ร.พ.อำเภอมาร่วมใช้

กันได้ คอยรับส่งต่อดูแลคนไข้ที่มีส่วนน้อย ไม่เกิน 10 % มารวมรักษาต่อ

ในแผนกเฉพาะที่คนไข้ควรได้รับการส่งต่อทันที ถ้าแพทย์ทั่วไปทราบว่าเกิน

ความสามารถไม่ต้องลองรักษาส่งได้ทันที โดยแพทย์เฉพาะทางเพียงคนเดียว

ระดับสาม หรือ ร.พ.เฉพาะทาง หรือ ร.พ.ในโรงเรียนแพทย์ ที่สามารถรักษาโรคที่

การรักษายากซึ่่งมีอยู่น้อยส่งมารวมรักษาที่เดียวกัน โดยใช้เครื่องมือราคาแพงที่จัดไว้

ใช้ร่วมกันในแต่ละกลุ่มจังหวัดที่รวมเป็นเขตเพื่อให้ ร.พ.ศูนย์ หรือ ร.พ.เขต นั้น ๆ รับผิดชอบ



ร.พ.ทั้งสามระดับจะช่วยเหลือกัน เช่น ร.พ.ด่านแรกส่งต่อคนไข้เกินความสามารถให้ไปเมื่อ

รักษาแล้ว ร.พ.ด่านแรก ก็จะรับดูแลต่อให้จากด่านสอง หรือ ด่านสาม เป็นต้น โดย



มีระบบส่งต่อที่ได้มาตรฐานรวดเร็ว 1669 ที่ทุก ร.พ.มีรถส่งต่อจัดไว้ให้ทุก ร.พ.แล้ว

ถ้าทำได้ตามที่เรียนเสนอท่าน รมต.จะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย

แพทย์ก็ไม่เครียดได้ทำงานตามขีดความสามารถตนเองถ้าเกินขีดความสามารถ

ก็ส่งต่อได้ทันที ให้ไปรับการรักษากับแพทย์ถูกแผนกที่ควรไปรักษาที่ด่านสอง

และ ควรจัดค่าตอบแทนแพทย์ตามผลงานด้วย งานมากได้มาก ให้แพทย์พึงพอใจ

จะเป็นการแก้ปัญหาแพทย์ลาออกได้ และ ประชาชนพึงพอใจด้วย.


 gek gek gek

ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ใช้การสาธารณสุขมูลฐาน ใช้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเป็นด่านแรก

ให้เป็นแพทย์ประจำครอบครัวใกล้บ้านประชาชนมีระบบส่งต่อประสบความสำเร็จ

ทำให้ประชาชนสุขภาพดี โดยเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าประเทศที่ไม่ใช้ระบบเครือข่าย ที่เวบบ์

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4

 win win win

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2553, 11:52:28 »


ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 13 สิงหาคม 2553 ที่สนับสนุนเนื้อหาข่าว
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=42&contentID=84876

ชี้หมอส่วนใหญ่ยังมีอุดมการณ์



ศ.(คลินิก) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ให้สัมภาษณ์กรณี
แพทย์จบใหม่กว่าครึ่งไม่ยอมทำงานเพื่อชดใช้ทุน แต่จ่ายเงินแทน เพราะกลัวถูกฟ้องร้องหาก
เกิดความผิดพลาด ว่า ปัญหานี้มีมานานแล้ว ซึ่งเราพยายามจะแก้ไขมาโดยตลอด

แต่ขอยืนยันว่าแพทย์ส่วนใหญ่ยังต้องการทำงานตามอุดมการณ์ที่จะช่วยผู้ป่วยในชนบท ส่วน
สาเหตุที่แพทย์ไม่ทำงานชดใช้ทุน ส่วนหนึ่งเพราะขณะนี้มีโรงพยาบาลเอกชนเกิดขึ้นจำนวนมาก
และต้องการแพทย์มาก ซึ่งแพทย์ก็คือคนธรรมดาที่ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ตนเอง

ขณะเดียวกันก็ต้องดูว่ากระทรวงสาธารณสุขดูแลแพทย์ดีหรือยัง ซึ่ง ส่วนตัวคิดว่าดีขึ้น มีการ
พัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลให้น่าอยู่ ให้ค่าตอบแทนแพทย์ดีขึ้น และมีการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้น  
    
ต่อข้อถามว่า ปัจจุบันเด็กที่เข้ามาเรียนแพทย์ส่วนใหญ่จะมีฐานะดี น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้
ไม่ยอมทำงานชดใช้ทุนหรือไม่ อธิการบดี มม.กล่าวว่า

ไม่น่าจะใช่ เพราะคณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งจะมีระบบโควตาที่คัดเลือกคนจากพื้นที่มาเรียน
ส่วนปัญหาแพทย์กลัวการฟ้องร้องนั้น น่าจะเป็นเพราะคนที่จะมาอยู่ในอาชีพนี้คิดว่ามีเกียรติ
มีความเสียสละ และมีอุดมการณ์ที่จะช่วยเหลือผู้อื่น แต่ถ้าเสียสละแล้วเกิดปัญหาก็หมดกำลังใจ
ดังนั้นต่อไปคนเก่ง ๆ ก็จะไม่มาเรียนหมอ จึงอยากให้สังคมมองหมอในแง่ดีบ้าง

  gek gek gek

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

  ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ผมมองว่า

ที่ ประชาชนต้องไปรักษา คลินิค หรือ ร.พ.เอกชน เพราะไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ
ที่มีคุณภาพใกล้บ้านได้ ทำให้คลินิค และ ร.พ.เอกชน จึงยังอยู่ได้ต้องการแพทย์เพิ่ม
ถ้าระบบสาธารณสุขปรับปรุงให้เข้าถึงใกล้บ้านอย่างมีคุณภาพ ประชาชนจะไม่มีใคร
ไปใช้บริการเสียเงินกับคลินิก หรือ ร.พ.เอกชน ใช้บริการใกล้บ้าน ของรัฐฟรี ดีกว่า




จึงขอเรียน พณฯท่าน จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมต.กระทรวงสาธารณสุข สร้างระบบสาธารณสุข ใช้
แพทย์ให้ตรงกับความรู้ความสามารถ ทำเป็นรูปเครือข่าย มี ร.พ.ด่านแรก มีแพทย์รับผิดชอบ
จะทำให้ประชาชนไม่ไปเสียเงิน จะรักษากับ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพใกล้บ้านแทน และ

ให้ค่าตอบแทนแพทย์ตามผลงาน ซึ่งขณะนี้เริ่มทำแล้ว ที่ ร.พ.พนมสารคาม ทำแล้วให้
คะแนนผลงาน หรือ Work Point ที่ได้รูปแบบนำร่องมาจาก ร.พ.พาน คาดว่า จะได้รับเงิน
ตั้งแต่ พฤษภาคม หลังจากลองทำ ลองผิดลองถูกมาหลายเดือนจนทำผลงานถูกตามเกณฑ์
ผลที่ได้ทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานทำมากได้มาก สนุกกับการทำงานกันทุกคนเหมือน ที่
พบใน ร.พ.เอกชน ที่จ่ายตามผลงานทำให้บริการดี ที่ ร.พ.รัฐจะทำตาม



ร.พ.พาน ต้นแบบการให้ผลตอบแทนตามผลงาน
http://cro.moph.go.th/hosp/hosp05/Work%20point.htm

  win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2553, 14:28:17 »


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   13 สิงหาคม 2553
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000112014



นักวิจัยชี้ รพ.ขนาดเล็กประสบการณ์น้อยเป็นเหตุให้พบผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนผ่าคลอดสูงขึ้น
      
นางกัลยา เอี่ยมมงคล วิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลอ่างทอง จ.อ่างทอง เปิดเผยว่า
จากการสังเกตการณ์ของบุคลากรในโรงพยาบาล พบว่า การเข้ารับบริการในการผ่าตัดคลอด
ใน รพ.ท้องถิ่น มักประสบปัญหาเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากการใช้ยาระงับความรู้สึก หรือ
ยาชาทางช่องไขสันหลัง ส่งผลให้ผู้ป่วยหลายรายมี อาการ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว คัน และ
มีความดันโลหิตต่ำ ทำให้ผู้ป่วยหลายรายต้องมีสุขภาพที่ย่ำแย่หลังการคลอดแทนสภาวะสุขภาพ
ที่สดชื่นกับการได้บุตร ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่มีผล ได้แก่

ประสบการณ์และความชำนาญการณ์ในการป้องกัน เฝ้าระวังของวิสัญญีแพทย์และพยาบาล
ใน รพ.ขนาดเล็ก ดังนั้น ทางโรงพยาบาลจึงจัดทำวิจัยเรื่อง

“อุบัติการณ์การเกิดภาวะแรกซ้อนทางวิสัญญีในผู้ป่วยที่ได้รับ
ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง เพื่อการผ่าตัดคลอด”

      
นางกัลยา กล่าวต่อว่า ในการศึกษากรณีตัวอย่างของผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่าง 58 รายที่รับยาชา
ช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย.2552 พบว่า ผู้ป่วยอายุระหว่าง 15-45 ปี และอายุ 27-34 ปี ร้อยละ 56.9
มีภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด โดยพบความดันโลหิตต่ำ ร้อยละ 94.8 อาเจียนร้อยละ 13.8 และ
อาการคันร้อยละ 1.7 ขณะที่ภาวะแทรกซ้อนช่วงพักฟื้นพบความดันโลหิตต่ำร้อยละ 1.7
อาเจียนร้อยละ 3.4 คันร้อยละ 5.2
      
“โรคความดันโลหิตต่ำจะมีผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อ่อนแรง และอาจเป็นลม
ได้ในระหว่างการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าผ่าตัดคลอดจำเป็นต้องดูแลบุตรด้วย

ดังนั้นการปล่อยให้ผู้ป่วยเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนนานก็ย่อมเป็นผลร้าย วิสัญญีพยาบาลในฐานะ
ผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้ช่วยเหลืออย่างทันท่วงที นอกจากนี้
ยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชนในท้องถิ่นให้ทัดเทียมกับ รพ.ขนาดใหญ่ด้วย


  gek gek gek

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

  ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ผมว่าง่าย ๆ ทำเป็นรูปเีครือข่าย ร.พ.ด่านแรก ทำคลอดปรกติ ถ้ามีปัญหาส่งต่อ ให้มาผ่าที่
ร.พ.ด่านสอง หรือ ด่านสาม ที่เหมาะสม กับแพทย์เฉพาะทาง ผ่าเรียบร้อยไม่มีปัญหา ก็ส่งกลับมา
ดูแลที่ ร.พ.ด่านแรก เดิม จะปลอดภัย และ สะดวกกว่า การอบรมเจ้าหน้าที่ ไว้รอผ่าท้องคลอดซึ่ง
โอกาศ คลอดผิดปรกติมีน้อยมาก  ร.พ.ด่านแรก จึงควรทำคลอดปรกติเท่านั้น ถ้าพบมีผิดปรกติก็
ส่งต่อ มา ร.พ.ด่านสอง หรือ สาม เรียบร้อยไม่มีปัญหา จงส่งกลับมานอน ร.พ.ด่านแรก
จะมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย กับ มารดา และ ทารก มากกว่า จริงไหมพวกเรา


  win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #3 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2553, 19:13:47 »

ขอบคุณ หมอสำเริง
ผมเห็นด้วยกับ สาธารณะสุขมูลฐาน น่านำไปปฏิบัติมาก
ผมเห็นด้วยกับ แพทย์3ด่าน หรือการรักษา3ด่าน  ตำบล อำเภอ จังหวัด

ผมเห็นด้วยกับทุกความคิดเห็นที่ว่า แพทย์ลาออกมาก ยอมใช้ทุนก่อนกำหนด
แต่ ต้องแก้ไข โครงสร้างของทุน และวิธีการคัดสรรแพทย์ให้ออกสู่ชนบทให้มากขึ้น
แพทย์กลัวถูกฟ้องทำให้ลาออก ก่อนกำหนด เป็นสาเหตุเล็กและข้ออ้าง ไม่ใช่สาเหตุใหญ่

การคัดสรร แพทย์ชนบท  การหานักศึกษาแพทย์ท้องถิ่น ตำบล อำเภอ ให้ทุนมาเรียน
ไม่ใช่เรื่องยาก และกลับไปทำหน้าที่เมื่อเรียนจบ และข้อกำหนดผูกพันใช้ทุน ให้ใช้ทุน12ปี
(2 เท่า ของที่เรียน ถ้าเป็นเงินก็มากนับ 10 ล้านบาท) จะลาออกน้อยมาก(เพราะค่าชดใช้แพง)                                                                        และรับต่อเนื่องทุกปี กว่าคนแรกๆจะครบทุน คนหลังๆ ก็มีประสพการณ์มากแล้ว
ถูกข้อกำหนดใช้ทุนถึง 12 ปี คนอาจไม่สนใจ  คงไม่ใช่  แลเราไม่ต้องการคนเก่งมาก เราต้องการคนปานกลาง
ค่อนข้างดี แต่ละเอียด รอบครอบ  และรักท้องถิ่น กลุ่มคนพวกนี้มีมาก

และถ้าทำเป็นแพทย์ 3 ด่าน แบบที่หมอสำเริง ว่าไว้ เราจะมีปัญหานี้น้อยมาก น่าจะแก้ไขได้
เพราะ แพทย์กลุ่มนี้ จะรักษาโรคทั่วไปก่อน โอกาสถูกฟ้องน้อย และยกระดับไปที่อำเภอ กับจังหวัด ต่อไป
ว่าแต่จะทำหรือไม่  เด็กหัวปานกลาง ก็พอ ขอให้ใส่ใจ และมีความสุขุม รอบครอบ
ทำเถอะ  แพทย์ชนบทจะได้เพียงพอ  ให้เขาเรียนตัดเกรดกันเองก็ได้
คุณภาพคงไม่ได้เลวร้ายนักหรอกนะ อยู่ที่มาตรฐานการประเมินและวัดผลให้ผ่านหรือไม่ผ่าน
ถ้ามีมาตรฐาน ก็ ไม่ใช่ปัญหา
 แพทย์ ม.เอกชนเปิดรับทั่วไป เด็กไปเรียนก็หัวปานกลางทั้งนั้น ก็ไปของเขาได้นะ

การทำงานจริง อยู่ที่จิตสำนึกและความรับผิดชอบมากกว่า ความเก่งอยู่ที่หลังด้วยซ้ำไป

เห็นด้วยไหมครับ หมอสำเริง

      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #4 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2553, 20:22:25 »


การทำงานจริง อยู่ที่จิตสำนึกและความรับผิดชอบมากกว่า
ความเก่งอยู่ที่หลังด้วยซ้ำไปเห็นด้วยไหมครับ หมอสำเริง


  ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

เห็นด้วยครับ และ ข้อเสริมว่า ความเก่งของแพทย์ นั้นเป็นเพียงจำเก่ิง และ นำมาประยุกต์ใช้
โดย ต้องจำได้ว่าโรคแต่ละโรคมี ข้อมูลในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และ ทำการตรวจแล็ป
จะพบอะไร หรือ Criteria for Diagnosis และ ต้องจำให้ได้ว่าโรคนี้มีวิธีรักษาอย่างไร เท่านั้น



ซึ่งทั้งหมดนี้คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่ช่วยแพทย์ได้

ในประเทศเจริญแล้ว ที่มีเทคโนโลยี่พร้อม-ประชาชนพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยี่ได้ จะมีตู้ให้
ผู้ใช้บริการใช้บัตรเสียบเข้าไปในตู้ เพื่อขอใช้บริการ ตู้จะมีคำถามขึ้นหน้าจอให้ตอบ ผู้ใช้
ตอบคำถามตามจริง ด้วยการคลิกตอบคำถามที่มีให้เลือก ตู้มีอุปกรณ์วัดความดันโลหิต
วัดไข้ จับชีพจร จับการหายใจ ตรวจสีเลือดว่า โลหิตจางหรือไม่ และ ประมวลผลได้
 
ถ้าจะต้องตรวจแล็ป เพิ่มเติมก็จะพิมพ์ใบสั่งแล็ปให้ไปตรวจที่ศูนย์แล็ปได้ผลแล้วนำมา
กรอกผลให้ตู้รักษา ซึ่งจะให้คลิกกรอกข้อมูลแล็ปให้เครื่อง เพื่อทำการประมวล เป็นโรคอะไร
แล้วจะมียาใส่ซองพิมพ์วิธีใช้ออกมาใ้ห้ พร้อมพิมพ์ใบแนะนำการปฏิบัติตัวให้นำไปอ่าน
มีการนัดตรวจซ้ำถ้าเป็นโรคที่ต้องติดตามการรักษา หรือ ถ้าไม่หายก็สามารถมาตรวจซ้ำได้
ส่วนแพทย์ มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของเครื่องว่ายังคงให้การวินิจฉัยและรักษาถูกต้อง
โดยการสุ่มตรวจเป็นครั้งคราว ได้มีการทดสอบให้ตรวจโดยแพทย์ และ ตู้รักษา เทียบกัน
ปรากฏว่า ตู้รักษาให้การรักษาได้แม่นยำกว่า เนื่องจากตู้จะมีโปรแกรมตั้งให้ดำเนินการ
ซึ่่งต้องทำตามทุกอย่างที่ตั้งไว้ไม่มีหลงลืมเหมือนมนุษย์ที่อาจลืมได้

เคยอ่านเจอในอินเตอร์เนต แต่เสียดายไม่ได้เก็บรักษาข่าวนี้ไว้เพราะไม่มีที่เก็บข่าว
แต่ ตอนนี้มีที่เก็บที่เวบซีมะโด่งของพวกเราแล้ว พวกเรายังได้ตามข่าวใหม่ ๆ ด้วย


  เหอๆๆ เหอๆๆ เหอๆๆ  
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #5 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2553, 11:44:12 »


ขอขอบคุณ เวบเดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2552 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://www.komchadluek.net/detail/20090907/27535/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C.html



นายวิทยา แก้วภราดัย รมต.ว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการ
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 7 กันยายน 52 ที่โรงแรมพูลแมน ราชา ออคิด จ.ขอนแก่น

“โครงการพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ”

เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการเครือข่ายคุณภาพพยาบาล ให้มีความรู้ความเข้าใจให้ก้าวหน้า
และทันสมัยต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านการสาธารณสุข

 นายวิทยา กล่าวว่า การพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการพยาบาลนั้น หลักๆ ที่ต้องดำเนินการคือ
พัฒนาสถานีอนามัยตำบลเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพสต.ที่ทำหน้าที่ 2 ด้านคือ
1.ส่งเสริมสุขภาพประชาชน เพื่อป้องกันการเป็นโรค และ
2.ทุกสถานีอนามัย/รพสต. จะมีการติดต่อกับแพทย์โดยออนไลน์คอมพิวเตอร์

โดยผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลตำบลเมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยเริ่มต้น
และไม่รุนแรง ก็จะเจอแพทย์ทางออนไลน์ ซึ่งจะมีการพูดคุยซักประวัติโดยแพทย์ ส่วนตรวจร่างกาย
จะให้พยาบาล รพสต. ตรวจไว้เบื้องต้น แพทย์จะสามารถให้ตรวจเพิ่มเติมได้
ถ้าเจ็บป่วยมาก มีรถพยาบาลไปรับผู้ป่วยที่จากโรงพยาบาลตำบลมาเข้ารับการรักษาที่
โรงพยาบาลอำเภอได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการ


รมว.กระทรวงสาธารณสุข ยังกล่าวอีกว่า ส่วนการพัฒนาบุคลากรให้ดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง
กระทรวงฯ ได้มีการเพิ่มแพทย์เข้าไปประจำอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศมากขึ้น

จากที่แต่ละปีกระทรวงฯ ผลิตแพทย์ได้ 1,600 อัตรา/ปี ก็จะเพิ่มเป็น 2,500 อัตราและ
พยาบาลอีกจำนวน 5,000 อัตราต่อปี เพื่อให้บริการผู้ป่วยให้ได้ทั่วถึงทั่วประเทศ

  win win win

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX


ปัจจุบันมีเครือข่าย Virtual Private NetworK:VPN ที่เอกชนใช้กันแพร่หลาย  ตัวอย่าง
โรงงานดับเบิ้ล เอ ที่ ตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ผู้บริหารระดับสูง
สร้างเครือข่ายให้ทุกหน่วยงานย่อยที่กระจายอยู่ในประเทศ เป็นสมาชิก ทำให้ผู้บริหาร
แต่ละที่สามารถเข้ามาในเครือข่ายที่ห้องประชุมเสมือน (Virtual) ประชุมกันต่างสถานที่ได้




ในเครือข่ายสาธารณสุข ถ้าสร้างได้สมาชิกทุกสถานพยาบาลสาธารณสุข จะเข้ามา
พบกันแบบเสมือนได้ เช่น คนไข้อยู่ ที่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล รพสต.
มีพยาบาลเวชปฏิบัติที่อยู่ที่นั่น ใช้คอมพ์เข้าเครือข่ายใน รพสต. แล้ว แพทย์ที่อยู่ที่
โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพอำเภอ รพสอ.จะเข้ามาทางเครือข่าย เข้ามาใน รพสต.นั้น
เพื่อซักถามประวัติ หรือ ตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยอาศัยพยาบาลที่นั่นตรวจร่างกาย ตาม
แพทย์ต้องการให้ตรวจเพิ่มจะเสมือนมานั่งที่ รพสต.เอง พยาบาลฯจะจัดยาให้ตามแพทย์สั่ง

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ถ้าเป็นมาก ที่ไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยเป็นเล็กน้อยรักษาเดินมาเอง
ถ้าเกิดพบ เราก็มีรถพยาบาล 1669 ส่งต่อหลังปฐมพยาบาลแล้ว ดีไหมพวกเรา


  win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><