29 มีนาคม 2567, 20:48:17
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1] 2 3 ... 36  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกันเรื่องจีนๆ  (อ่าน 344936 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:32:31 »

เมื่อวานเห็นคุณแหลมแกเสนอว่าน่าจะเปิดกระทู้เรื่องจีนๆขึ้นมาบ้าง ในฐานะเราก็ศิษย์เก่าจีน คุณแหลมก็ศิษย์เขยจีน เลยรับภาระไปขุดๆที่เขาเอามาแปะไว้ที่อื่น มาโปะที่นี่ตามระเบียบ จะพยายามจัดหาแบบจีนๆมาให้เป็นแบบไทยๆให้มากที่สุด

เริ่มต้นด้วยวันนี้ละกัน เพราะวันนี้คือเทศกาลสารทจีน เชื่อว่าหลายคนคงได้ฟังเสียงประทัดแบบประเภทไม่ต้องแคะหูไปหลายวันแน่


สารทจีน : เทศกาลสำคัญที่กำลังลบเลือน

สารท จีน เป็นเทศกาลสำคัญทั้งของลัทธิขงจื๊อ พุทธศาสนา ศาสนาเต๋า และชาวบ้าน ในอดีตเป็นเทศกาลใหญ่มาก แต่ปัจจุบันลดความสำคัญลง นอกจากในวัดพุทธและวัดเต๋าแล้ว แพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวบ้านจีนภาคใต้ ตั้งแต่มณฑลหูเป่ย อานฮุย เจ้อเจียง ลงมาจนถึงกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ในหมู่ชาวจีนแคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และไหหลำ ยังคงเป็นเทศกาลใหญ่ เป็น ๑ ใน ๘ เทศกาลสำคัญประจำปีของจีนแต้จิ๋ว ในไทยสารทจีนเป็นเทศกาลจีนสำคัญอันดับ ๒ รองจากตรุษจีนเท่านั้น
 
เทศกาล นี้มีชื่อเป็นทางการว่า "จงหยวนเจี๋ย" (中元节) แต้จิ๋วว่า "ตงหง่วงโจ็ย" แต่ชื่อทั่วไปนิยมเรียกว่า " " แต้จิ๋วอ่านว่า "ชิกว็วยะปั่ว" แปลว่า "(เทศกาล) กลางเดือน ๗" นอกจากนี้ยังมีชื่อที่นิยมเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "กุ่ยเจี๋ย ( กุ๋ยโจ็ย)" แปลว่า "เทศกาลผี" ชื่อทั้งสามนี้ถ้าคุยกับคนจีนภาคใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ทุกคนจะรู้จักดี แต่คนปักกิ่งจะไม่รู้จักเลย เพราะเทศกาลนี้ปัจจุบันชาวบ้านจีนภาคเหนือไม่ได้ทำแล้ว คงเหลือแต่ในวัดพุทธและเต๋าเท่านั้น
 
คำ "จงหยวน " ที่เป็นชื่อเทศกาลนี้เป็นคนละคำกับ "จงหยวน " ซึ่งหมายถึง "ดินแดนลุ่มแม่น้ำฮวงโหตอนกลางและตอนล่างอันเป็นศูนย์กลางอารยธรรมจีน" จงหยวนที่เป็นชื่อเทศกาลได้มาจากชื่อเทพประจำเทศกาลนี้ของศาสนาเต๋า
 
ศาสนา เต๋ามีเทพสำคัญประจำฟ้า ดิน และแม่น้ำ อยู่ ๓ องค์เป็นพี่น้องกัน เรียกรวมกันว่า "ซานกวน ( ซำกัว)" แปลว่า "สามขุนนาง" แต่หมายถึงขุนนางผู้ใหญ่ระดับมหาเสนาหรือเสนาบดีของสวรรค์ จึงขอแปลเอาความว่า "ตรีมหาเสนา" องค์โตประจำท้องฟ้า จึงเรียกว่า "เทียนกวน ( เทียนกัว-นภเสนา)" มีหน้าที่ประทานโชค เป็นเทพแห่ง "ฮก (โชควาสนา)" องค์รองประจำแผ่นดิน (แต่ไม่ใช่พระธรณีหรือเจ้าที่) จึงเรียกว่า "ตี้กวน ( ตี่กัว-ธรณิศเสนา)" มีหน้าที่ประทานอภัยโทษ องค์เล็กประจำท้องน้ำ จึงเรียกว่า "สุ่ยกวน ( จุ๋ยกัว-สินธุเสนา)" มีหน้าที่ขจัดทุกข์ภัย วันเทวสมภพของอธิบดีเทพทั้ง ๓ องค์นี้คือกลางเดือนอ้าย กลางเดือน ๗ และกลางเดือน ๑๐ ตามลำดับ วันกลางเดือนพระจันทร์เต็มดวง ภาษาจีนเรียกว่า "หยวนเย่ (圆月)" แปลว่า "คืนเพ็ญ" สมัยโบราณอักษร圆 กับ 元ใช้แทนกันได้ อักษร 元 ยังมีความหมายว่า "หัวหน้า อธิบดี" อีกด้วย ฉะนั้นจึงเรียกวันกลางเดือนอ้ายอันเป็นวันเทวสมภพของเทพซ่างกวน (นภเสนา) ว่า "ซ่างหยวน เสี่ยงง้วง" แปลว่า "เพ็ญแรก" เพราะเป็นคืนเพ็ญคืนแรกของปี วันกลางเดือน ๗ อันเป็นวันเทวสมภพของเทพตี้กวน (ธรณิศเสนา) เรียกว่า "จงหยวน ( ตงง้วง)" แปลว่า "เพ็ญกลาง" เพราะเป็นวันเพ็ญแรกของกลางปี (ครึ่งปีหลัง) วันกลางเดือน ๑๐ อันเป็นวันเทวสมภพของเทพสุ่ยกวน (สินธุเสนา) เรียกว่า "เซี่ยหยวน ( เหี่ยง้วง)" แปลว่า "เพ็ญล่าง" หรือ "เพ็ญปลาย" เพราะเป็นวันเพ็ญแรกของฤดูหนาว (เดือน ๑๐-๑๒) อันเป็นฤดูท้ายของปี และใช้ชื่อคืนเพ็ญทั้งสามเป็นชื่อเรียกเทพ ๓ องค์นี้อีกชื่อหนึ่งด้วยว่าเทพซ่างหยวน เทพจงหยวน เทพเซี่ยหยวน เรียกรวมกันว่า "ซานหยวนต้าตี้ ( ซำง้วงไต้ตี้)" แปลว่า "ตรีเพ็ญอธิบดี" หรือ "ซานกวนต้าตี้ ( ซำกัวไต้ตี้)" แปลว่า "ตรีมหาเสนาธิบดี"
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #1 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:36:08 »

วันเทศกาลสารทจีนคือวันเทวสมภพของเทพจงหยวน จึงเรียกว่า "จงหยวนเจี๋ย (ตงหง่วงโจ็ย)" แปลว่า เทศกาลเทพจงหยวน ตรงกับวันกลางเดือน ๗ จึงเรียกว่า "ชีเย่ว์ปั้น ( ชิกว็วยะปั่ว) หมายถึงเทศกาลกลางเดือน ๗ แต่เทศกาลนี้มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องตั้งแต่ต้นจนถึงสิ้นเดือน ๗ คือวัน ๑ ค่ำ เป็นวัน "เปิดยมโลก" ให้ผีทั้งหลายออกมารับการเซ่นสังเวย วัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันไหว้ใหญ่ทั้งผีบรรพชนและผีไม่มีญาติ วันสิ้นเดือน ๗ (๓๐ ค่ำ หรือแรม ๑๕ ค่ำ) เป็นวัน "ปิดประตูยมโลก" ผีทั้งที่ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิดต้องกลับเข้ายมโลก วันต้นเดือน สิ้นเดือน มีพิธีไหว้ด้วย และมีพิธีทิ้งกระจาดอุทิศส่วนกุศลให้เปตชนครั้งใหญ่ในช่วงครึ่งหลังของเดือน  ๗ อีกต่างหาก กิจกรรมทั้งหมดล้วนแต่เกี่ยวกับผี คนจีนจึงถือว่าเดือน ๗ เป็น "เดือนผี" และเทศกาลกลางเดือน ๗ คือ "เทศกาลผี" แต่ที่คนไทยเรียกสารทจีนเพราะวันนี้ใกล้กับวันสารทไทย อีกทั้งอยู่ในช่วงต้นฤดูสารทหรือชิวเทียน ( Autumn) ของจีนอีกด้วย
 
เทศกาล จงหยวนมีที่มาจากประเพณีจีนโบราณ คือวันอุลลัมพนบูชาของพุทธศาสนาและความเชื่อของศาสนาเต๋ารวมกันอย่างกลมกลืน  วัฒนธรรมประเพณีจีนโบราณเป็นที่มาของลัทธิขงจื๊อและคตินิยมพื้นฐานของคนจีน ตลอดมา ลัทธิขงจื๊อจึงเป็นศาสนาสำคัญที่สุดของจีนไปโดยปริยาย แต่ก็เข้ากันได้กับศาสนาพุทธและศาสนาเต๋าซึ่งเข้ามาแพร่หลายและเกิดขึ้นใน ภายหลัง จนในวิถีชีวิตคนจีนมีอิทธิพลของ ๓ ศาสนานี้อยู่คละเคล้ากันไป
 
ตาม ประเพณีจีนโบราณมีพิธีเซ่นไหว้ฟ้าดินและบรรพบุรุษทั้ง ๔ ฤดู คือ ฤดูวสันต์ (ใบไม้ผลิ) คิมหันต์ (ร้อน) สารท (ใบไม้ร่วง) และเหมันต์ (หนาว) ในคัมภีร์หลี่จี้ ( คัมภีร์วัฒนธรรมประเพณี) ซึ่งบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์โจว (ก่อน พ.ศ. ๕๐๓-พ.ศ. ๓๒๒) บรรพ "เทศกาลประจำเดือน" กล่าวว่า "เดือน ๗ ข้าวสุกเก็บเกี่ยวได้ โอรสสวรรค์ชิมข้าวใหม่ โดยนำไปบูชาที่ปราสาทเทพบิดรก่อน" อีกตอนหนึ่งกล่าวว่า "เดือน ๗ วันลี่ชิว (เริ่มฤดูสารท) โอรสสวรรค์นำสามนตราช สามมหาเสนาบดี มนตรีทั้งเก้า มุขอำมาตย์ราชเสนา ไปทำพิธีรับฤดูสารทที่ชานเมืองด้านตะวันตก...เซ่นสรวงเทพประจำฤดูสารทอัน เป็นเทพแห่งมรณะ" ลี่ชิวเป็นชื่อปักษ์หนึ่งใน ๒๔ อุตุปักษ์ตามระบบปฏิทินจีนเก่า
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #2 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:38:42 »

ปฏิทินจีนเก่ามี ๒ แบบ คือ ปฏิทินจันทรคติมีเดือนละ ๒๙-๓๐ วัน ๑ ปี ๑๒ เดือน ๓๕๔ วัน ปฏิทินสุริยคติปีหนึ่งมี ๔ ฤดู ฤดูละ ๓ เดือน เดือนละ ๒ ปักษ์ ตามลักษณะอากาศจึงเรียกว่าอุตุปักษ์ ปีหนึ่งมี ๒๔ ปักษ์ ๓๖๕ วัน เดือนตามปฏิทินจันทรคติอาจคลาดเคลื่อนกับฤดูได้ ภายหลังจึงใช้ระบบอธิกมาส (เพิ่มเดือน) และอธิกวาร (เพิ่มวัน) ที่คนจีนเรียกว่า "ญุ่น " กำกับ ระบบอธิกมาสของไทยเพิ่มเฉพาะเดือน ๘ แต่ของจีนมีหลักต่างออกไป ไม่ได้เพิ่มเฉพาะเดือน ๘ เช่น ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ ปฏิทินจีนมีเดือน ๗ สองหน เรียกว่า "ญุ่นชี ( หยุ่งฉิก-เพิ่มเดือน ๗) การใช้ระบบอธิกมาส อธิกวารทำให้ฤดูกับเดือนตรงกันทุกปี คือ เดือน ๑-๓ ฤดูใบไม้ผลิ เดือน ๔-๖ ฤดูร้อน เดือน ๗-๙ ฤดูสารท เดือน ๑๐-๑๒ ฤดูหนาว วันลี่ชิวคือวันเริ่มฤดูใบไม้ร่วง จะตรงกับวันที่ ๗ หรือ ๘ สิงหาคม แต่จะตรงกับวันกี่ค่ำเดือน ๗ นั้น แล้วแต่ช่วงคลาดเคลื่อนของจันทรคติ (การนับค่ำ-เดือน) กับสุริยคติ (การนับฤดูและ ๒๔ อุตุปักษ์) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ วันลี่ชิวตรงกับวันที่ ๘ สิงหาคม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ซึ่งเป็นวันเทศกาลจงหยวน หรือวันสารทจีนพอดี
 
ตามความเชื่อจีนโบราณ เดือน ๗ เป็นทั้งเดือนดีและเดือนร้าย เพราะข้าวเริ่มเก็บเกี่ยวได้ นำผลแรกได้ (ข้าวใหม่) ไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษก่อน แต่เทพประจำเดือน ๗ เป็นเทพแห่งความตายจึงต้องเซ่นสรวงต่างหากออกไป ทั้งยังมีความเชื่ออีกว่ามีผีร้ายร่อนเร่เรียกว่า "ลี่ ( )" ไม่มีญาติเซ่นไหว้ พอถึงฤดูสารทซึ่งผู้คนนำผลแรกได้เซ่นไหว้บรรพบุรุษ ผีพวกนี้จะคอยมาแย่งกินของไหว้หรือไม่ก็ทำร้ายผู้คนด้วยความหิวโหย ฉะนั้นพอถึงฤดูสารทจึงต้องเซ่นไหว้ทั้งบรรพชนและผีไม่มีญาติแยกกัน ประเพณีนี้ปฏิบัติกันในหมู่ชนทุกชั้นทั้งกษัตริย์ ขุนนาง ไพร่บ้านพลเมือง ความเชื่อว่าเดือน ๗ เป็นเดือนผีคงมีมาตั้งแต่โบราณ ต่อมาในยุคหลัง "ลี่" เป็นชื่อพญาผีผู้เป็นหัวหน้าของผีร้ายทั้งปวง การเซ่นไหว้เดือน ๗ ในยุคโบราณคงทำในวันลี่ชิวหรือไม่ก็วันกลางเดือน
 
ต่อมาอิทธิพลพุทธ ศาสนาทำให้การเซ่นไหว้เดือน ๗ มีพัฒนาการไปจากเดิม พุทธศาสนาเข้าสู่จีนรัชกาลพระเจ้าฮั่นหมิงตี้ (พ.ศ. ๖๐๑-๖๑๘) ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (พ.ศ. ๕๕๑-๗๖๐) แพร่หลายในยุคสามก๊ก (พ.ศ. ๗๖๓-๘๐๘) และราชวงศ์จิ้น (พ.ศ. ๘๐๘-๙๖๓) รุ่งเรืองในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ (พ.ศ. ๙๖๓-๑๑๓๒) สมัยราชวงศ์จิ้นมีผู้แปล "อุลลัมพนสูตร (อ่านว่า อุน-ลัม-พะ-นะ-สูด) ของนิกายโยคาจาร เรื่องในพระสูตรนี้มีอิทธิพลต่อเทศกาลไหว้บรรพบุรุษในเดือน ๗ ของจีนมาก
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #3 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:41:08 »

ความตอนหนึ่งในคัมภีร์อุลลัมพนสูตรกล่าวว่า พระโมคคัลลานะเห็นมารดาเกิดเป็นปรทัตตูปชีวีเปรตอดอยากหิวโหย จึงใช้ฤทธิ์นำบาตรข้าวไปส่งให้ เปรตมารดาใช้มือซ้ายประคองบาตร มือขวาเปิบข้าวแต่ยังไม่ทันจะเข้าปากก็กลายเป็นถ่านไปสิ้น พระเถรเจ้าจึงนำความมากราบทูลพระพุทธเจ้า มีพุทธฎีกาตรัสว่า "โยมมารดาของเธอมีบาปหนัก เกินกำลังฤทธิ์และบุญกุศลของเธอเพียงผู้เดียวจะช่วยได้ ต้องใช้บุญฤทธิ์ของสงฆ์จากทั่วทุกสารทิศประมวลกันเป็นมหากุศลจึงจะโปรดมารดา เธอให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงในอบายได้ ตถาคตจะบอกวิธีให้ ในวัน ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๗ อันเป็นวันมหาปวารณาออกพรรษา เพื่อโปรดบิดามารดาทั้ง ๗ ชาติในอดีตและบิดามารดาในชาติปัจจุบันให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง เธอจงจัดภัตตาหารหลากรส ผลไม้นานาชนิด น้ำปานะ ธูปเทียนแลเครื่องไทยทานใส่พานภาชนะเป็นสังฆทานถวายแด่พระสงฆ์จากทุกสารทิศ ด้วยบุญฤทธิ์ที่พระสงฆ์ได้รักษาพรตพรหมจรรย์มาครบถ้วน ๑ พรรษาแลอานิสงฆ์แห่งสังฆทานนี้ บิดามารดาในชาติก่อน ๗ ชาติและบิดามารดาในชาตินี้ตลอดจนวงศาคณาญาติจะพ้นจากอบายภูมิทั้งสาม (นรก เปรต เดรัจฉาน) โดยพลัน หากบิดามารดาในชาตินี้ยังมีชีวิตอยู่ก็จะเกษมสำราญอยู่ถึง ๑๐๐ ปี หากบิดามารดาในชาติก่อนทั้ง ๗ ชาติขึ้นสวรรค์ก็จะเกิดทันทีเป็นโอปปาติกะกำเนิดในสรวงสวรรค์อันเรืองโรจน์"  พระโมคคัลลาน์เถระจึงจัดการทำพุทธบรรหาร มารดาก็พ้นจากอบายภูมิ พระเถรเจ้าจึงทูลว่า "ต่อไปภายหน้าหากลูกหลานผู้มีกตเวทิตาจิตปรารถนาช่วยบิดามารดาให้พ้นจากอบาย แลทุกข์ภัยก็ควรจัดสังฆทานอุลลัมพนบูชาเช่นนี้หรือพระเจ้าข้า" พระศาสดาตรัสตอบว่า "สาธุ"
 
ขอชี้แจงไว้ตรงนี้ว่าช่วงจำพรรษาของพระ สงฆ์ประเทศจีนกับประเทศไทยไม่ตรงกันเ พราะฤดูกาลต่างกัน ภิกษุจีนจำพรรษาช่วงฤดูร้อนซึ่งฝนตกชุก ข้าวกำลังเจริญเติบโต จึงเข้าพรรษากลางเดือน ๔ ต้นฤดูร้อน ออกพรรษากลางเดือน ๗ ต้นฤดูใบไม้ร่วง การจำพรรษาบำเพ็ญสมณกิจอย่างเต็มที่ครบ ๓ เดือน ทั้งได้ทำมหาปวารณาในวันออกพรรษาอย่างสมบูรณ์ ตามคตินิยมของมหายานถือว่าท่านได้บำเพ็ญบุญกุศลไว้เต็มเปี่ยมยิ่งกว่าช่วง อื่นใด หากได้ทำบุญกับท่านในวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษาจะมีอานิสงส์แรงกล้ากว่า วันอื่น อนึ่งพุทธศาสนาถือว่าการทำสังฆทานถวายแด่สงฆ์ส่วนรวมมีอานิสงส์มากกว่าปฏิปุ คลิกทานถวายเจาะจงแด่ภิกษุรูปเดียวหรือหลายรูป แต่ไม่เป็นสังฆทาน ฉะนั้นการทำสังฆทานใหญ่ถวายแด่สงฆ์ในวันออกพรรษาซึ่งท่านทำมหาปวารณาเสร็จมา ใหม่ๆ จึงได้อานิสงส์สูงส่งถึงสามารถโปรดบิดามารดาในอดีตได้ถึง ๗ ชาติ รวมทั้งบิดามารดาในชาติปัจจุบันและวงศาคณาญาติให้พ้นจากอบายและได้ผลานิสงส์ อันดีงามอีกอเนกประการ แต่เน้นที่การช่วยบิดามารดาให้พ้นจากอบายภูมิเป็นสำคัญ
 
ฉะนั้นการ ทำมหาสังฆทานในวันออกพรรษาจึงเรียกว่าอุลลัมพนบูชาหรืออุลลัมพนสังฆทาน "อุลลัมพนะ" เป็นคำสันสกฤตซึ่งปราชญ์ทางพุทธศาสนาของจีนแปลว่า "ช่วยผู้ที่ถูกแขวนห้อยหัวกลับขึ้นมา" โดยอธิบายว่าโทษทัณฑ์ในอบายภูมิทำให้ผู้รับเสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสดุจถูกแขวน ห้อยหัวลงมา คำว่า "แขวนห้อยหัว" ซึ่งแปลจากคำว่า "อุลลัมพนะ" นี้ ภาษาจีนว่า "เต้าเสวียน (倒悬)" มีความหมายเชิงอุปมาว่า ทุกข์หรือภัยอันใหญ่ยิ่ง "มหันต (ทุกข์)" "มหันต (ภัย)" ความหมายนี้มีที่มาจากอุลลัมพนสูตร เป็นอิทธิพลภาษาสันสกฤตของพุทธศาสนาต่อภาษาจีนประการหนึ่ง
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #4 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:43:07 »

ศาสนาเต๋าได้เอาคุณธรรมเรื่อง "孝 (กตัญญูต่อพ่อแม่และบรรพชน)" และ "仁 (เมตตากรุณา)" ของลัทธิขงจื๊อเป็นหลัก เอาเรื่องจัดพิธีทางศาสนาเพื่อให้พ่อแม่และบรรพชนพ้นจากบาปและทุกข์ภัยทั้ง ปวงของพุทธศาสนามาประกอบสร้างวันเทศกาลจงหยวนให้ตรงกับวันอุลลัมพนบูชา แต่ให้ความสะดวกกว่าตรงที่ไหว้เทพจงกวนหรือจงหยวนเพียงองค์เดียวก็ทำให้ วิญญาณบรรพชนและผีทั้งปวงพ้นบาปและทุกข์ภัยได้ทั้งหมด เพราะท่านเป็นเทพสูงสุดในการ "อภัยโทษ" อนึ่งตามหลักลัทธิขงจื๊อการเซ่นไหว้บรรพชนในวันเทศกาลต่างๆ ถือเป็นกิจสำคัญของลูกหลานจะงดเว้นมิได้ ประกอบกับสถานะของภิกษุ ภิกษุณีในจีนไม่ได้เป็นที่เคารพมากนัก ศูนย์กลางชุมชนไม่ได้อยู่ที่วัดแต่อยู่ที่ศาลประจำตระกูล ตั้งแต่ราชวงศ์ถังเป็นต้นมา ศาสนาเต๋ารุ่งเรืองแข่งเคียงกับพุทธศาสนา แต่ลัทธิขงจื๊อเป็นแกนกลางของสังคมจีนตลอดมา นานเข้าการอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนและผีอื่นผ่านพระโดยจัดพิธีใหญ่โตอย่างอุ ลลัมพนบูชาก็เสื่อมลง แต่ยังมีอิทธิพลแฝงอยู่ไม่น้อยในกิจกรรมอันเนื่องด้วยสารทจีนเสมอมา
 
ตั้งแต่ ราชวงศ์ถังเป็นต้นมาชื่อ "จงหยวนเจี๋ย (เทศกาลบูชาเทพจงหยวน)" เป็นชื่อทางการของเทศกาลกลางเดือน ๗ หรือสารทจีนตลอดมาจนปัจจุบัน ชาวบ้านจีนนั้นรับกิจกรรมทั้งของพุทธ เต๋า และขงจื๊อมาคัดสรร ผสมผสานจนกลมกลืนกันไป แต่มีจุดมุ่งหมายสำคัญร่วมกันอยู่ที่เซ่นไหว้บรรพชน และอุทิศส่วนกุศลให้ผีไม่มีญาติ ส่วนในวัดพุทธและเต๋าต่างฝ่ายยังรักษากิจกรรมของตนอยู่ไม่ปนกัน
 
ตั้งแต่ ราชวงศ์ซ่ง สังคมเมืองขยายตัว มีตลาดใหญ่ในเมืองต่างๆ เป็นศูนย์กลางการค้า กิจกรรมสังคม และความบันเทิง วันเทศกาลต่างๆ มีเรื่องบันเทิงเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้ทั้งบุญกุศลและความสนุกสนาน เทศกาลจงหยวนมีกิจกรรมประกอบเพิ่มขึ้นที่สำคัญคือการลอยโคม มีการละเล่นต่างๆ มหรสพสมโภช สมัยราชวงศ์ซ่งเหนืองิ้วมีรูปแบบชัดเจนขึ้นแม้ยังไม่สมบูรณ์ก็ตาม แต่หลังจากผ่าน "เทศกาลเจ็ดเจ็ด" คือ ๗ ค่ำ เดือน ๗ (วันแห่งความรักของหนุ่มสาวจีน) แล้วจะมีงิ้วเล่นเรื่อง "พระโมคคัลลาน์โปรดมารดาในนรก" ฉลองเทศกาลจงหยวนไปจนถึงวันกลางเดือน งิ้วเรื่องนี้แต่งตามเค้าเรื่องในอุลลัมพนสูตร เป็นงิ้วที่ "มีเนื้อเรื่องสมบูรณ์เรื่องแรก" ในประวัติการละครจีน เนื้อเรื่องมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากพระสูตรว่า พระโมคคัลลาน์เดิมชื่อฟู่หลอปู่ (โป่วหล่อปก) บิดาชื่อฟู่เซี่ยง (โป่วเสี่ยง) มารดาชื่อหลิวชิงถี (เหล่าแชที้) ฟู่เซี่ยงและฟู่หลอปู่มีศรัทธาในศาสนา เคารพนักบวช โดยเฉพาะอย่างยิ่งภิกษุ ภิกษุณี แต่นางหลิวชิงถีเป็นคนบาปหยาบช้า เกลียดชังนักบวชมาก เมื่อบิดาล่วงลับ ฟู่หลอปู่ต้องค้าขายแทน ครั้งหนึ่งก่อนออกไปค้าขายต่างเมืองได้ขอร้องมารดาให้มีศรัทธาเคารพภิกษุ ภิกษุณี นางรับปากแต่กลับร้ายต่อนักบวชทั้งหลายเหมือนเดิม พอบุตรชายกลับมาถามว่าได้ทำตามที่รับปากไว้หรือเปล่า นางสาบานว่าถ้าไม่ได้ทำขอให้ตกอเวจีนรก พญายมจึงส่งยมทูตมาเอาตัวนางลงนรกทันที ฟู่หลอปู่ออกบวชมีนามว่าโมคคัลลาน์ สำเร็จอรหันต์เป็นเลิศในทางมีฤทธิ์ รู้ว่ามารดาอยู่ในนรกจึงตามลงไป พอได้พบกันก็ส่งอาหารให้ นางรับไปยังไม่ทันได้กินก็ถูกเหล่าเปรตแย่งไปสิ้น แล้ววิญญาณก็ถูกส่งไปเกิดเป็นหมาในบ้านขุนนางแซ่เจิ้ง (แต้) พระเถรเจ้าจึงตามไปซื้อเอามาเลี้ยงดูจนตาย ก็กลับไปเกิดในนรกอีก ต่อมาท่านจัด "อุลลัมพนสังฆทาน" ตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ มารดาจึงพ้นจากนรกและได้รับสถาปนาจากเง็กเซียงฮ่องเต้เทวบดีให้เป็น "เชวี่ยนซ่านฟูเหญิน (คึ่งเสียงฮูหยิน)-ชักชวนให้คนทำกุศล" ในเนื้อเรื่องมีรายละเอียดสนุกสนานชวนติดตาม แง่งามทางศิลปะและข้อคิดสอนใจอีกมาก เป็นอันว่าถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๖๖๙) เทศกาลจงหงวนเป็นงานนักขัตฤกษ์สนุกสนานงานหนึ่ง
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #5 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:45:20 »

พอถึงราชวงศ์ซ่งใต้ (พ.ศ. ๑๖๖๙-๑๘๒๒) จีนกลัวศึกมองโกลจึงจัดงานนี้ในวัน ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ ปัจจุบันในมณฑลกวางสียังคงไหว้สารทจีนในวัน ๑๔ ค่ำอยู่
 
ถึง สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑-๒๑๘๗) และต้นราชวงศ์ชิง (พ.ศ. ๒๑๘๗-๒๔๕๔) เทศกาลจงหยวนยิ่งคึกคักสนุกสนาน มีมหรสพและการละเล่นนานาชนิดเฉลิมฉลอง เช่น เพลงพื้นเมือง เชิดสิงโต งิ้ว ประกวดโคม ลอยโคม แห่เจ้า แห่ขบวนผี กายกรรม ฯลฯ ถึงปลายราชวงศ์ชิงเทศกาลนี้ก็ยังคึกคักแพร่หลายทั่วประเทศ เช่นที่ปักกิ่ง วัด ๘๔๐ กว่าแห่งจัดงานอุลลัมพนบูชาใหญ่เล็กต่างกันไปตามกำลัง ถึงยุคนี้การไหว้บรรพบุรุษเป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดเช่นเดียวกับวันเช็งเม้ง (ชิงหมิง) มีทั้งไหว้ที่บ้านหรือศาลประจำตระกูลและออกไปไหว้ที่สุสาน (ฮวงซุ้ย) แต่จุดมุ่งหมายต่างกัน ไหว้เช็งเม้งเป็นการแสดงความกตัญญูรำลึกถึงบรรพชน ไหว้สารทจีนเพื่อให้ท่านพ้นอบายภูมิและสรรพทุกข์ภัย ทั้งยังมีใจเกื้อกูลไหว้ผีไม่มีญาติอีกด้วย การไหว้ผีไม่มีญาติมีทั้งไหว้ที่บ้าน และจัดงานทิ้งกระจาดอุทิศส่วนกุศลให้
 
ตั้งแต่ จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นต้นมา ภัยสงครามและความเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้เทศกาลนี้เสื่อมลงอย่างรวดเร็วใน จีนภาคเหนือ คงเหลืออยู่แต่ทางภาคใต้ แต่ในยุครุ่งเรืองเทศกาลนี้ได้แพร่ไปยังชนชาติส่วนน้อยในจีนหลายเผ่า เช่น จ้วง หลี เซอ แม้ว ต่างชาติที่รับอารยธรรมจีนคือญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ยังคงมีเทศกาลนี้อยู่ โดยเฉพาะในญี่ปุ่นเป็นเทศกาลใหญ่เทศกาลหนึ่ง
 
เทศกาล สารทจีนที่เต็มรูปแบบ มีกิจกรรมสำคัญและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องหลายประการ คือ ไหว้เทพจงหยวน ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้ผีไม่มีญาติ ลอยโคม ไหว้เทพารักษ์ประจำเมือง (เจ้าพ่อหลักเมือง) ทิ้งกระจาด ในอดีตบางแห่งมีการไหว้เทพแห่งนาด้วย ในวัดพุทธจัดงานอุลลัมพนสังฆทาน วัดเต๋าไหว้เทพจงหยวนและจัดพิธีกรรมทางศาสนาของตน
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #6 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:47:44 »

ไหว้เทพจงหยวน
 
เทพจงหยวนเป็นเทพประจำเทศกาลสารทจีน ชื่อเต็มว่า "จงหยวนต้าตี้-อธิบดีแห่งคืนเพ็ญกลาง" หรือ "ตี้กวนต้าตี้-ธรณิศมหาเสนาธิบดี" เรียกสั้นๆ ว่า "ตี้กวน-ธรณิศเสนา" มีหน้าที่ควบคุมดูแลเทพแห่งมหาบรรพตทั้งห้า (ของจีน) ภูเขาและแม่น้ำ เจ้าที่ประจำเมืองทุกเมือง เทพในเมืองที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตรวจดูโชคเคราะห์ของสรรพสัตว์ ตรวจบัญชีความดีความชั่วของมนุษย์ และหน้าที่สำคัญคือให้อภัยโทษแก่ผู้รู้ผิดกระทำพลีบูชาท่าน วัน ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ท่านจะลงมาตรวจบัญชีชั่วดีของมนุษย์แล้วประทานอภัยให้ นอกจากนี้ท่านยังต้องมาเป็นประธานดูแลการไหว้ผีไม่มีญาติ ซึ่งคนเป็นผู้ไหว้ โดยท่านจะไปเจรจากับ "ลี่" ราชาของผีพวกนี้ ให้ช่วยคุมดูแลบริวารไม่ให้ทำร้ายมนุษย์ ฉะนั้นผู้คนจึงกินเจ ทำพิธีเซ่นสรวงบูชาท่าน เซ่นไหว้บรรพชน เพื่อให้ท่านอภัยโทษให้ทั้งแก่ตนเองและวิญญาณบรรพชน ปัจจุบันในไต้หวันนิยมไหว้ท่านตั้งแต่ยามแรกของวัน ๑๕ ค่ำ จีนแบ่งวันคืนออกเป็น ๑๒ ยาม ยามละ ๒ ชั่วโมง ยามแรกคือช่วง ๕ ทุ่มถึงตี ๑ (๒๓.๐๐-๐๑.๐๐ น.) ยามแรกของวัน ๑๕ ค่ำ ก็คือช่วง ๒๓.๐๐-๐๑.๐๐ น. ของคืนวัน ๑๔ ค่ำ เพราะจีนเริ่มวันใหม่ตอน ๕ ทุ่ม ถ้าไม่ไหว้ตอน ๕ ทุ่ม ก็มาไหว้ตอนเที่ยงวันของวัน ๑๕ ค่ำ หลังจากไหว้บรรพบุรุษไปแล้ว ในจีนแต่ละถิ่นเวลาไหว้ต่างกัน บางถิ่นก็ไม่ได้ไหว้แล้ว ส่วนในไทยไม่ปรากฏมีพิธีไหว้เทพจงหยวนโดยเฉพาะ ประเพณีนิยมการไหว้ในวันเทศกาลจีนของไทยจะไหว้เจ้าและเทวดาทั้งหมดตอนเช้า อนึ่งคนจีนในไทยนับถือ "ตี่จู๋เอี๊ย ( )" คือ "เจ้าที่" มาก มีศาลเล็กๆ ตั้งอยู่ในบ้านแทบทุกบ้าน ตี่จู๋เอี๊ยอยู่ใต้บังคับบัญชาของตี้กวน (ธรณิศเสนา) หรือเทพจงหยวน จึงถือได้ว่าเป็นตัวแทนของท่านประจำอยู่ทุกบ้าน การไหว้ตี่จู๋เอี๊ยจึงพออนุโลมแทนการไหว้เทพจงหยวนได้
 
 
 
ไหว้บรรพชน
 
การ เซ่นไหว้บูชาบรรพชนเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สุดของจีน เพราะจีนถือระบบวงศ์ตระกูลเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เป็นศูนย์กลางของสังคมและวัฒนธรรมจีน การไหว้บรรพชนเป็นกิจสำคัญที่สุดของลูกหลาน เจ้าอาจไม่ต้องไหว้ก็ได้ แต่ปู่ย่าตายายไม่ไหว้ไม่ได้
 
การไหว้บรรพชนในวันสารทจีน เดิมมีทั้งไหว้ที่บ้านหรือศาลประจำตระกูล (ฉือถาง ) ในหมู่บ้าน และไปไหว้ที่สุสานเหมือนวันเช็งเม้ง แต่ปัจจุบันเหลือแต่การไหว้ที่บ้าน ตามความเชื่อของชาวจีนเชื่อว่า วันสารทจีนวิญญาณบรรพชนที่ยังไม่ได้ไปเกิดจะกลับมาเยี่ยมบ้าน แต่ก่อนที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน มีประเพณีเชิญวิญญาณบรรพชนมาบ้านตั้งแต่เย็นวัน ๑๒ ค่ำ เดือน ๗ แล้วไหว้ตอนค่ำตั้งแต่วัน ๑๒-๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำไหว้ใหญ่ ตอนค่ำทำพิธีส่งวิญญาณกลับ ปกติการไหว้บรรพชนนิยมไหว้ช่วงก่อนเที่ยง ตั้งแต่ ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป โดยไปไหว้ที่ศาลประจำตระกูลในหมู่บ้าน ซึ่งมีป้ายสถิตวิญญาณของบรรพชนรวมอยู่ หรือจะไหว้ในบ้านของตนเองก็ได้
 
 
 
ไหว้ผีไม่มีญาติ
 
การ ไหว้ผีไม่มีญาติเป็นกิจกรรมสำคัญของวันสารทจีนมาแต่โบราณ ผีพวกนี้โบราณเรียกว่า "ลี่ ( )" ถือเป็นผีชั่วร้าย อิทธิพลพุทธศาสนาทำให้ทัศนะของผีพวกนี้เปลี่ยนไปเป็นผีที่น่าสงสาร จนปัจจุบันเรียกผีพวกนี้ว่า "ฮอเฮียตี๋ ( )" แปลว่า "พี่น้องที่ดี" การไหว้ผีพวกนี้ไม่ไหว้ในบ้าน นิยมไหว้ริมถนนหนทาง ชายน้ำ สมัยโบราณจัดสถานที่ไหว้นอกเมือง เรียกว่า "ลี่ถาน ( )" ในอดีตการไหว้ผีไม่มีญาติเป็นกิจกรรมสำคัญที่ขาดไม่ได้ นอกจากไหว้ในวันสารทจีน ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ แล้วยังไหว้ในวัน ๑ ค่ำ และวัน ๓๐ ค่ำ ซึ่งเป็นวันเปิดประตูยมโลกและปิดประตูยมโลกอีกด้วย แต่ปัจจุบันในจีนการไหว้ "ฮอเฮียตี๋" ในวันสารทจีนเหลือน้อยมาก ในถิ่นกวางตุ้ง แคะ ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว แทบไม่มีเลย เพราะยกไปไหว้รวมกันเป็นกิจกรรมของชุมชน โดยเรี่ยไรเงิน ข้าวของไปจัดพิธี "ซีโกว ( )" ไหว้ผีไม่มีญาติที่วัดในช่วงหลังวันสารทจีน ส่วนในไต้หวันยังมีผู้ไหว้อยู่ นิยมไหว้ช่วงเย็นตั้งแต่ ๑๖.๐๐ น. เป็นต้นไป ในไทยแต่ก่อนไหว้กันแทบทุกบ้าน ปัจจุบันยังพอมีเหลืออยู่บ้างไม่มากนัก
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #7 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:49:57 »

ลอยโคม
 
กิจกรรมนี้ถ้าคนไทยเห็นคงเรียกว่าลอยกระทง แต่ตามหลักของจีนต้องเรียกว่าโคม เพราะต้องมีเทียนหรือประทีปอื่นเป็นส่วนสำคัญที่สุด รูปทรงโคมอาจเป็นรูปดอกบัว โคมไฟ บ้านหลังเล็กๆ หรือลักษณะอื่น ข้างในมีเทียนหรือประทีปอื่นจุดสว่างไสว
 
ที่มาของการลอยโคมตำราบาง เล่มว่า พุทธศาสนานำมาจากอินเดียสมัยราชวงศ์ถัง แต่บางเล่มก็ว่าน่าจะเกิดจากศาสนาเต๋า เพราะเต๋ามีประเพณีชักโคมบูชาดาวและเทพเทียนกวน (นภเสนา) ในวันเทศกาลหยวนเซียวกลางเดือนอ้ายมาก่อน กลางเดือน ๗ เป็นเทศกาลบูชาเทพตี้กวน (ธรณิศเสนา) จึงจุดโคมบูชาท่านบ้าง แต่ลอยลงน้ำแทนเพื่อส่องทางให้ผีขึ้นมาสู่โลกมนุษย์ รับเครื่องเซ่นสังเวยและ "การอภัยโทษ" จากเทพตี้กวน ทั้งพุทธ เต๋า เชื่อว่าน้ำเป็นทางเชื่อมหรือแดนต่อยมโลกกับมนุษยโลก ในคัมภีร์พุทธกล่าวว่ามีแม่น้ำชื่อ "ไน่เหอ ( )" กั้นระหว่างโลกมนุษย์กับยมโลก ในพิธีอุลลัมพนสังฆทานจึงมีการลอยโคมเพื่อส่องทางให้ผีข้ามแม่น้ำไน่เห อด้วย
 
การลอยโคมในวันสารทจีนคงมีมาตั้งสมัยราชวงศ์ถัง ถึงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีบันทึกว่า "ราชสำนักส่งขันทีไปลอยโคมนับหมื่นดวง" ในวันนี้ สมัยราชวงศ์หยวนการลอยโคมแพร่หลายไปทั่วประเทศจีน มีบันทึกของคนร่วมสมัยกล่าวถึงประเพณีนี้ในเมืองหลวงว่า "เดือน ๗ วัน ๑๕ ค่ำ วัดต่างๆ จัดงานอุลลัมพนสังฆทาน ตอนค่ำลอยโคมลงแม่น้ำ เรียกว่า ลอยคงคาประทีป" เถียนยู่เฉิงบันทึกประเพณีนี้ในเมืองหางโจวสมัยนั้นไว้ว่า "วัน ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เรียกว่าเทศกาลจงหยวน เล่าสืบกันมาว่าเป็นวันที่เทพตี้กวนประทานอภัยโทษ ผู้คนจะถือศีลกินเจ สวดมนต์อุทิศให้บรรพชนและผีทั้งหลายให้พ้นโทษภัย---พระสงฆ์จัดงานอุลลัมพนสั งฆทาน ลอยโคมในทะเลสาบซีหูและที่เจดีย์ แม่น้ำ เรียกว่า "ส่องยมโลก"" ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง การลอยโคมเป็นทั้งการบุญและงานรื่นเริงสนุกสนาน หนังสือ "จิงโตวเฟิงซู่จื้อ (บันทึกประเพณีเมืองหลวง)" กล่าวว่า "วัน ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เป็นวันเทศกาลจงหยวน เล่าสืบกันมาว่าเป็นวันที่เทพตี้กวนประทานอภัยโทษ ผู้คนไปเซ่นไหว้บรรพชนที่สุสานเหมือนวันเช็งเม้ง พระสงฆ์สวดมนต์ทำพลีกรรม เผาเรือกระดาษเรียกว่า "ส่งธรรมนาวา" เชื่อว่าจะช่วยรับผีไม่มีญาติออกจากยมโลก ในตลาดขายโคมนานาชนิด ที่ทำเป็นรูปดอกบัวเรียกว่าปทุมมาลย์ประทีป ที่ทำเป็นรูปใบบัวเรียกปทุมบรรณประทีป ตกค่ำเด็กๆ รวมกันเป็นกลุ่มๆ ต่างถือโคมดอกบัว โคมใบบัวเดินไปตามถนนตรอกซอกซอยร้องว่า "โคมดอกบัว โคมดอกบัว จุดวันนี้ พรุ่งนี้โยน" บ้างก็เอาผลไม้มาปักธูปเทียนทั่วทั้งลูก เรียกว่าโคมธูปเทียนและใช้ไม้ยาวปักธูปเทียนเป็นรูปต้นไม้ โคมพวกนี้ทำให้ที่มืดมีแสงระยิบระยับราวหิ่งห้อยนับหมื่น เหมือนแสงผีทั่วพันลี้ น่าชมยิ่งนัก" การจุดโคมพราวพร่างระยิบระยับไปทั่วนี้ยังเป็นการเซ่นสรวงบรรพชน ขอให้พืชพรรณธัญญาหารสมบูรณ์อีกด้วย บางแห่งเอาธูปเทียนปักที่ดิน ยิ่งปักมากยิ่งดี เรียกว่า "ดำนา" เป็นเครื่องหมายว่าข้าวกล้างอกงามดี และเป็นการบูชาพระกษิติครรภโพธิสัตว์ ผู้มีมหาปณิธานโปรดสัตว์ให้พ้นบาปหมดไปจากนรก ขอให้ท่านช่วยโปรดวิญญาณบรรพชนและเปตชนทั้งหลายให้พ้นนรก และอำนวยสุขสวัสดีแก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่
 
การลอยโคมในอดีตมีทำ ตั้งแต่วัน ๑๓-๑๕ ค่ำ ในไต้หวันนิยมลอยวัน ๑๔ ค่ำ เพื่อส่องทางให้ผีขึ้นมารับการเซ่นไหว้ในวัน ๑๕ ค่ำ ในจีนบางแห่งลอย ๑๕ ค่ำ มีคำอธิบายว่าเมื่อผีได้รับการเซ่นไหว้และส่วนกุศลพ้นจากบาป แต่หาทางไปผุดไปเกิดไม่เจอ แสงโคมจากพิธีลอยโคมทำให้ผีเห็นภพภูมิที่จะไปเกิดได้ ความเชื่อนี้เกิดทีหลัง กล่าวโดยสรุปการลอยโคมเป็นการส่องทางให้ผี และคนก็ได้รับความสนุกสนานไปด้วย
 
หลังจากสิ้นราชวงศ์ชิงการลอยโคม เสื่อมตามเทศกาลสารทจีนไปด้วย ในจีนยังมีทำอยู่บ้างในบางถิ่น เช่น ที่อำเภอหนันจาง จังหวัดเซียงผาน มณฑลหูเป่ย ยังมีการลอยโคมในเทศกาลสารทจีน กลางวันมีการเล่น "แปรอักษรโคม" ก่อน โดยแบ่งเป็น ๒ ทีม ทุกคนถือโคม ทีม ก จะเอาโคมไปวางเรียงเป็นรูปตัวอักษรก่อน เช่น (อี-หนึ่ง) ทีม ข ต้องใช้อักษรนี้เป็นฐาน ต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นอักษรอื่น เช่น (เออว์-สอง) (ซาน-สาม) (เฟิง-อุดมสมบูรณ์) สลับกันไปมาเช่นนี้จนกว่าจะ "จน" แปรเป็นอักษรต่อไปไม่ได้ ทีมที่ "จน" เป็นผู้แพ้ ในไต้หวันแต่ก่อนทุกวัดมีพิธีลอยโคม แต่ปัจจุบันเหลือที่วัดหลงซานเพียงแห่งเดียว ส่วนในเมืองไทยไม่มีพิธีลอยโคมในเทศกาลสารทจีนเลย การลอยโคมไปทำในเทศกาลกินเจเดือน ๙
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #8 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 14:51:22 »

ทันใจ ถูกใจดีแท้.........เพื่อนจุ๊ง
      บันทึกการเข้า
ตุ๋ย 22
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2522
คณะ: ครุศาสตร์
กระทู้: 20,173

« ตอบ #9 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 15:14:56 »

คงจะได้อ่านอย่างเดียวมั้งเพื่อนจุ๊ง
      บันทึกการเข้า

น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #10 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2553, 00:24:01 »

เงียบไปเลย..........เพื่อนจุ๊ง

เอาสามก๊กมาชำแหละหน่อย.....ดีไหม?

จะเป็นตัวละคร หรือสมรภูมิรบ ที่เด่นๆก็ได้.
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #11 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 15:32:52 »


เอียวสิว


สามก๊ก ก็มีอยู่บ้าง เคยเขียนลงมุมจีนมานานแล้ว เป็นเรื่องของเอียวสิว ซึ่งยาขอบเอามาเขียนโดยแปลมาจากภาษาปะกิตโดยบอกว่าเป็นเอียวสิวผู้ตายเพราะขาไก่หรือไงนี่แหละ แต่จริงๆต้องบอกว่าเป็นซี่โครงไ่ก่ เรื่องนี้เป็นเกร็ดที่ค่อนข้างจะมีความเป็นจีนอยู่พอสมควร จะพยายามขัดเกลาให้อ่านรู้เรื่องแบบไทยๆให้มากที่สุด ท่านผู้อ่านอาจจะต้องมีวิจารณญาณและจินตนาการอยู่พอสมควร

杨修 หรือชื่อในภาษาไทยว่าเอียวสิว เป็นที่ปรึกษาของโจโฉ ชอบอวดฉลาด(小聪明)และทำตัวรู้ทันโจโฉเสมอ โจโฉเป็นคนมีเล่ห์หลี่ยมและระมัดระวังตัวเสมอ จึงเกลียดคนที่รู้ความในใจตัวมากที่สุด เดิมโจโฉก็ไม่ได้ชอบเอียวสิว แต่เห็นแก่หน้าของพ่อเอียวสิวซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลและตระกูลใหญ่ประกอบกับโจโฉตอนนั้นยังมีอำนาจไม่มากนักยังต้องพึ่งพาพ่อของเอียวสิวอยู่เลยจำต้องรับเอียวสิวเป็นที่ปรึกษา เอียวสิวชอบทายใจโจโฉและบอกคนรอบข้างถึงความคิดของโจโฉ อย่างเช่นวันหนึ่งโจโฉไปดูบานประตูที่ให้ช่างซ่อมแซม แล้วก็เขียนที่วงกบประตูว่า活(แปลว่ามีชีวิต) นายช่างดูไม่เข้าใจ เอียวสิวมาถึงจึงอธิบายว่าคำว่า活เขียนในวงกบประตู(ภาษาจีนเขียนว่า门)ก็คือตัวหนังสือ阔(แปลว่ากว้างขึ้น) นายช่างก็แก้ไขบานประตูให้กว้างขึ้น หรือมีคนให้ของหวานให้โจโฉกิน  โจโฉกินไปได้หน่อยนึงก็ติดธุระ เลยเขียนกันลืมไว้ว่า 一合酥(แปลว่าขนมหวาน1กล่อง)  เอียวสิวกับโจสิด 曹植 และพวกมาเจอ เอียวสิวเห็นลายมือโจโฉจึงหยิบของหวานมากิน และบอกทุกคนว่ากินได้ไม่เป็นไร โจโฉจัดการธุระเสร็จ จะกลับมากิน ปรากฏว่าของหวานหมดไปแล้ว จึงถามขึ้น ทุกคนก็บอกว่าเป็นความคิดของเอียวสิว  โจโฉเลยถามเอียวสิว เอียวสิวทำไม่รู้ร้อนตอบว่าทั้งหมดทำตามคำสั่งของโจโฉ  โจโฉแปลกใจว่ากูสั่งมันเมื่อไรฟะ   เอียวสิวเลยบอกว่าท่านอุปราชดูให้ดี  นี่คือลายมือคำสั่งท่าน 一人一口酥(เป็นการแยกคำว่า合เป็น人一口จาก一合酥กลายเป็น一人一口酥แปลว่าต่างคนต่างกินกันคนละคำ) ขืนไม่ทานก็ฝืนคำสั่งท่านซิ(โจโฉคงลืมนึกไปว่าสั่งไปว่าคนละคำเท่านั้น จากจำนวนที่เหลืออยู่ พวกนี้น่าจะกินมากกว่าคนละคำ จึงหมด) โจโฉก็เก็บความไม่พอใจไว้ แกล้งชมเอียวสิวว่าแสนรู้  เท่านี้ยังพอทำเนา  ที่ทำให้โจโฉทนไม่ได้ก็คือตอนที่โจโฉเลือกเฟ้นทายาทระหว่างโจผีกับโจสิด  เอียวสิวอยู่ฝ่ายโจสิด แอบทายใจโจโฉว่าจะออกข้อสอบยังไง และเตรียมคำตอบไว้เสร็จให้โจสิดท่อง บังเอิญเกิดความผิดพลาด เวลาโจโฉสอบถามโจสิด ยังไงไม่ทราบ โจสิดตอบคำตอบก่อนที่โจโฉจะถาม โจโฉสืบเสาะได้ความว่าเอียวสิวเป็นคนเตรียมคำตอบไว้ โจโฉจึงรู้สึกถึงอันตรายที่จะมาถึงตัว เพราะไม่ว่าโจโฉคิดยังไง เอียวสิวรู้ทันหมด แต่ก็ไม่มีข้ออ้างสังหารเอียวสิว จนกระทั่งนำทัพไปสู้รบกับเล่าปี่  โจโฉกินน้ำแกงถือซี่โครงไก่ค้างอยู่ แฮหัวตุ้นมาขอรหัสขานยาม โจโฉเห็นซี่โครงไก่ เลยให้คำว่า鸡肋(แปลว่าซี่โครงไก่) แฮหัวตุ้นแปลกใจแต่ไม่กล้าถาม  เอียวสิวเลยบอกว่าโจโฉเตรียมถอนทัพ  เพราะซี่โครงไก่อร่อย กินหมดแล้วจะทิ้งไปก็เสียดายรสชาติอยู่ เปรียบเสมือนสถานการณ์ตอนนี้เสียเปรียบ แต่จะทิ้งไปก็เสียแรงที่สู้รบมาตั้งนานแล้วไม่ได้ผล แฮหัวตุ้นจึงสั่งให้คนเตรียมถอยทัพ โจโฉรู้เลยหมดความอดทน อีกอย่างมีข้ออ้างในการสังหารเอียวสิวแล้ว เลยสังหารเอียวสิว
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #12 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 15:48:37 »


สรุปว่า...... เอียวสิว เป็นคนเก่งแต่โชคร้าย ได้นายไม่ดี อย่างนั้นเหรอ ท่านจุ๊ง?
      บันทึกการเข้า
เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520

« ตอบ #13 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 15:53:03 »

มาแสดงตนไว้ก่อนครับพี่จุ๊ง...

แต่ยังไม่ได้อ่านนิ
   เหนื่อย
      บันทึกการเข้า

ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #14 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 16:34:26 »

อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 14 กันยายน 2553, 15:48:37

สรุปว่า...... เอียวสิว เป็นคนเก่งแต่โชคร้าย ได้นายไม่ดี อย่างนั้นเหรอ ท่านจุ๊ง?

ไม่ใช่เอียวสิวได้นายไม่ดี เพียงแต่นักการเมืองเกลียดที่สุดก็คนรู้ใจนี่แหละ พูดถึงสามก๊กแล้ว ก็ต้องพูดถึงโจโฉ สมัยเด็กอ่านสามก๊กฉบับเจ้าพระยาคลัง(หน)จะชอบก๊กเล่าปี่ เพราะนิยายแต่งให้เป็นก๊กพระเอก แต่พอโตขึ้นมา ความคิดมีมากขึ้น ผ่านประสบการณ์มากขึ้น กลับชอบโจโฉ เพราะโจโฉมีบุคลิกหลายลักษณะที่สลับซับซ้อนที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ตอนโจโฉเมาเคยพูดขึ้นว่าตอนนี้รับราชการได้ถึงตำแหน่งสูงสุดของสามัญชนแล้ว ความหวังตอนนี้หวังว่าหลังจากตาย ป้ายที่หลุมศพให้จารึกว่าเป็นขุนนางผู้ซื่อสัตย์ ในจีนถ้าไม่มีโฉซักคน ไม่รู้ว่าจะมีใครซักกี่คนยกตัวขึ้นเป็นเจ้า ยกตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ และให้สังเกตุว่าในสามก๊กยุคบุกเบิก โจโฉ เล่าปี่ ซุนกวน มีโจโฉคนเดียวที่ขึ้นมาอย่างถูกทำนองครองธรรม เริ่มตั้งแต่เป็นหัวหน้าทหารรักษาพระนคร ไต่เต้ามาเรื่อยๆ ในขณะที่คนอื่นไม่ว่าจะเป็นเล่าปี่ ซุนกวน อ้วนเสี้ยว อ้วนสุด แต่งตั้งตัวเองขึ้นมาทั้งนั้น และโจโฉจนตายยังไม่ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ ในขณะที่เล่าปี่ ซุนกวน ตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์ให้สมอยากเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกปลด ขนาดคึกฤทธิ์ยังยกย่องโจโฉให้เป็นนายกตลอดกาลเลย โจโฉให้อภัยคนได้ตลอดเวลาแม้จะเคยทรยศต่อตัวเอง ตอนโจโฉปราบอ้วนเสี้ยวซึ่งมีกำลังทหารมากกว่าตัวเองได้ มีคนเอาจดหมายที่ลูกน้องโจโฉติดต่อเข้าเป็นพวกกับอ้วนเสี้ยวมาให้โจโฉดู โจโฉกลับสั่งให้เผาทิ้ง มีคนถามว่าทำไม โจโฉถอนใจบอกว่าสภาพการณ์ในขณะนั้น แม้แต่ตัวโฉเองยังไม่รู้ว่าจะรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้หรือไม่เลย อย่าว่าแต่บรรดาขุนทหารทั้งหลาย ฉะนั้นการติดต่อเพื่อแปรพักตร์เป็นธรรมดาของสัตว์โลก กัมมุนาวัตตะตี โลโก กุ๊ก กุ๊ก
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #15 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 17:10:36 »

ปีที่แล้วมีข่าวว่า.......ค้นพบหลุมศพโจโฉ.

จริงเท็จแค่ไหน?.........ท่านจุ๊ง
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #16 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 17:31:25 »

ตามข่าวได้รับการยืนยันจากนักวิชาการว่าเป็นหลุมศพโจโฉจริง อาจจะมีการชำรุดบ้างเพราะมีนักขุดสุสานไปเยี่ยมมาก่อนแล้ว จริงๆในจีนมีพวกนิยมขุดสุสานเยอะเหมือนกัน แต่หลุมนี้ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการแล้วว่าเป็นหลุมศพของโจโฉจริง แถมมีแผ่นป้ายหินที่มีลักษณะแบบเครื่องหยกของเจ้าครองนครโบราณใช้ในพิธีอันสำคัญ ที่มีคำแกะสลักว่า
  “  หวู่หวางแห่งรํฐเว่ยผู้ใช้ง้าวใหญ่ยักษ์อย่างห้าวหาญ ” 
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #17 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 17:36:05 »

ขอบคุณ......จุ๊ง

จะออกจากที่ทำงานแล้ว.........เจอกันใหม่ตอนดึกๆ.
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #18 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 17:55:12 »

พี่จุ๊ง,
เมื่อวันก่อนมีงานทำบุญแด่ผีไร้ญาติ
เช็งเม้ง??

หนิงถ่ายฟิล์มมาด้วยคะ
ยังไม่ทำเลย.
แปะที่นี่ได้ป่ะ?
      บันทึกการเข้า


BU_KA
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 986

« ตอบ #19 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 18:06:12 »

อุ๊ยยย !!  ตามมาอ่านเรื่องผี เข้ากับอวตาร์พี่จุ๊งงง เลยนิ

เลยเผลออ่านเรื่องราวของสารทจีน ความเป็นมาของลัทธิ ซะเพลินเลยค่ะ


ได้ฟาามม รู้

ขอบคุณค่ะ
      บันทึกการเข้า
จุ๊ง2522
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 781

« ตอบ #20 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 18:09:22 »

ได้จ้ะน้องหนิง มีอะไรมะรุมมะตุ้มหรือจะใช้ภาษาอินตระเดียว่าลงแขกได้เลย ไม่ว่ากันอยู่แล้ว
นานๆโพสต์ที นานๆขุดเรื่องสามก๊กมาดูที ชักติดใจ เลยมาโพสต์ต่อเรื่องศึกสายเลือดระหว่างโจผีกับโจสิด ลูกๆของโจโฉซึ่งทำให้เกิดโศลกเจ็ดก้าวอันลื่อลั่นในพงศาวดารจีน หลายท่านที่เคยดูหนังสามก๊ก น่าจะเคยเห็นบทนี้

ขอออกตัวไว้ก่อนว่าเป็นบทความที่เคยโพสต์ที่อื่นนานแล้ว อาจไม่มีปรับปรุงเสริมแต่งอะไรนัก แต่จะมีลบความเป็นจีนออกเท่าที่จำเป็น

ฟังนักเล่านิทานเล่าเรื่อง评书เรื่องสามก๊กถึงตอนโจผี(曹丕)บังคับให้โจสิด(曹植)ผู้น้องร่ายโศลกภายในเจ็ดก้าว อดหลั่งน้ำตาไม่ได้ ด้วยความซาบซึ้ง เลยอยากจะมาเล่าสู่กันฟัง โจผีกับโจสิดเป็นลูกของโจโฉที่เกิดจากนางเปี้ยนสี(卞氏) เหมือนกัน โจสิดเป็นลูกชายคนโปรดของโจโฉ มีความสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ มาตั้งแต่เด็กๆ แต่เป็นคนนิยมดื่มสุรา ปกติจะร่ำดื่มกับเพื่อนๆคอสุราและร่ายกาพย์กลอนด้วยกันเป็นประจำ เป็นคู่แข่งที่จะแย่งชิงอำนาจกับโจผี  และสามารถแสดงความสามารถเหนือกว่าโจผีอยู่บ่อยครั้งในการทดสอบความสามารถต่อหน้าโจโฉ แต่ด้วยเล่ห์เหลี่ยม และการช่วยเหลือจากที่ปรึกษากาเซี่ยง(贾许) ตำแหน่งทายาทเลยตกเป็นของโจผี ตอนโจโฉตาย โจสิดไม่ได้มาร่วมพิธีศพ ยังความโกรธแค้นกับโจผีอย่างมาก และการที่พ่อตายไม่ไปงานศพถือเป็นความผิดประเพณีอย่างยิ่งและถือเป็นการผิดกฏหมาย ประหารชีวิตได้เลย เลยใช้เคาทู(许褚)ไปจับตัวมา เคาทูก้ไปจับโจสิดมาได้อย่างง่ายดาย เพราะโจสิดยังเมาอยู่ นางเปี้ยนสีมีลูกกับโจโฉ4คน ก่อนหน้านี้โจหิม(曹熊) ลูกอีกคนของนางเปี้ยนสีก็ผูกคอตายหนีความผิดไปแล้ว นางเปี้ยนสีรักโจสิดมาก ได้ยินว่าโจผีไปจับโจสิดมากลัวว่าโจผีจะฆ่าน้อง เลยมาห้ามปราม บอกว่าน้องเจ้ายังเล็กก็มีความคึกคะนอง จะลงโทษก็ขอให้ไว้ชีวิตด้วย มิฉะนั้นแม่จะตายตาไม่หลับ โจผีเป็นลูกกตัญญูก็รีบแก้ตัวว่าลูกเองก็รู้ว่าน้องเป็นคนมีความสามารถและรักในพรสวรรค์ของน้อง ไหนเลยจะทำร้ายได้  นางเปี้ยนสีก็วางใจ ฮัวหิม(华歆)มาถามว่านายท่านจะไว้ชีวิตโจสิดจริงหรือ โจผีถอนใจแล้วตอบว่าคำสั่งแม่ยากจะฝ่าฝืน ฮัวหิม เลยเสนออุบายว่าในเมื่อโจสิดขึ้นชื่อในเรื่องกาพย์กลอน เดี๋ยวตอนเรียกพบ ก็ให้โจสิดร่ายโศลกในหัวข้อที่ยาก ถ้าร่ายไม่ได้ก็ให้ฆ่าเสีย คนก็จะนินทาไม่ได้ ถ้าร่ายโศลกได้ ก็ลดตำแหน่งส่งไปที่กันดาร ขจัดเภทภัยภายหลัง โจผีเห็นด้วย เลยเรียกโจสิดมาพบ แล้วพูดด้วยน้ำเสียงดุดันว่ากูกับมึงถึงแม้จะเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน แต่ก็มีอีกฐานะหนึ่งคือระหว่างข้ากับเจ้า มึงมีความผิดมากที่ท่านพ่อเสียไม่มาร่วมพิธีศพ เดิมจะฆ่าทิ้ง แต่ท่านแม่ขอไว้ มึงถือตัวนักถือตัวหนาว่าเป็นผู้มีวิชาความรู้ มักอวดความรู้และแต่งกลอนประจบต่อหน้าท่านพ่อ กูสงสัยอยู่ตลอดว่ามีคนแต่งแทนมึง ตอนนี้กูจะจำกัดให้มึงแต่งกลอนภายในเจ็ดก้าว ถ้าแต่งได้กูจะไว้ชีวิตมึง ถ้าแต่งไม่ได้ใจความ มึงตายแน่ๆ มึงจะแต่งได้ไหม  โจสิดตอบว่าเชิญท่านพี่ออกหัวข้อ โจผีมองไปมองมา เห็นบนฝาผนังแขวนไว้ด้วยภาพสีหมึกภาพหนึ่ง เป็นรูปวัว2ตัวต่อสู้กันอยู่ข้างกำแพงดิน วัวตัวหนึ่งตกลงไปในบ่อตาย โจผีเลยชี้ไปที่ภาพแล้วบอกว่าใช้ภาพนี้เป็นหัวข้อละกัน  ให้อธิบายภาพนี้ แต่ห้ามใช้คำว่าวัว2วัวต่อสู้กัน และตัวหนึ่งตกบ่อตาย  โจผีให้เคาทูถือดาบและนับก้าวถ้าโจสิดเดินครบเจ็ดก้าวแล้วยังแต่งกลอนไม่ออก ให้ตัดหัวทันที โจสิดเดินไปเจ็ดก้าวแล้วร่ายโศลกออกมาดังนี้

เนื้อ2กลุ่มเดินสวนทางกัน  ศีรษะมันมีกระดูกโค้ง
เจอะกันแถวเนินเขา เป็นการประจันหน้าอย่างฉุกละหุก
ทั้งคู่ต่างไม่มีกลัวกัน  เนื้อกลุ่มหนึ่งนอนแผ่หราในหลุมดิน
ใช่ว่าเรียวแรงจะสู้ไม่ได้ เพียงแต่ไม่ได้ใช้มันจนสุด


โจผีได้ยินก็นึกสรรเสริญในใจ แต่ในใจก็ยังอยากจะขจัดคู่แข่งตัวฉกาจ เลยแกล้วบอกว่า เออ ก็พอฟังได้อยู่ แต่กูว่ามึงเดินไปเจ็ดก้าวแล้วแต่งกลอนมันช้าไป มึงต้องแต่งกลอนทันทีที่กูออกหัวข้อเสร็จ ถ้าทำได้กูจะไว้ชีวิตมึง เดิมทีมึงกับกูเป็นพี่น้องกัน และก็ต่อสู้ห้ำหั่นกันมาตลอด ก็เอาการต่อสู้ระหว่างเรา2 พี่น้องเป็นหัวข้อละกัน แต่ห้ามใช้คำว่าพี่น้อง เอาละเริ่มได้แล้ว โจสิดคิดก็แทบไม่คิดร่ายโศลกอมตะที่ชาวจีนทุกบ้านรู้กันอย่างแพร่หลายว่าเป็นวิธีการต้มถั่วที่ถูกหลักอนามัยไม่มีเมลานีนว่า

การต้มถั่ว ต้องเริ่มต้นด้วยการเผาลำต้นถั่วเป็นเชื้อเพลิงนะ
จากนั้นก็นำเม้ดถั่วที่ผ่านการร่อนตะแกรงและหมักแล้วมาตั้งหม้อเพื่อทำให้เป็นน้ำถั่วเคี่ยว
ต้นถั่วก้เผาใหม้อยู่ใต้เตาประหยัดดี ถั่วในหม้อก็ร่ำไห้น้ำตาไหล
ต่างเกิดมาจากรากเหง้าเดียวกัน ไยจึงเคี่ยวกันถึงขนาดนี้ จะประหยัดไปถึงไหน


โจผีฟังจบ ต่อมน้ำตาก็แตกทันที น้ำตาไหลพรากๆ นางเปี้ยนสีแอบฟังอยู่ข้างหลังก็รีบเดินออกมา ต่อว่าโจผีว่าทำไมต้องบีบคั้นน้องถึงขนาดนี้  โจผีแก้ตัวว่า กฏหมายไม่สามารถเลือกปฏิบัติได้  จากนั้นก็ลดตำแหน่งโจสิดเป็น安乡侯(ขุนปลอบโยนราษฎร์) โจสิดก็อำลาจากไปและหายหน้าไปจากหน้าประวัติศาสตร์



      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #21 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 18:30:28 »

เดี๋ยวไปร้านเวียตก่อนคะ
แล้วจะกลับมาดูฟิล์มเชิดสิงโต
แปะแน่ แปะแน่...
พี่จุ๊งล่วงหน้าไปก่อนคะ
เดี๋ยวมา
      บันทึกการเข้า


BU_KA
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 986

« ตอบ #22 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 18:35:36 »

พี่จุ๊งง  หนูอ่านอยู่ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #23 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 21:14:28 »

หวัดดี.......น้องหนิง..น้องหมี.

ดีจังที่มาเจอกันที่ห้องนี้อีก.
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #24 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 21:19:27 »


สุภาษิตที่ว่า..... "เถาถั่วต้มถั่ว"

มีที่มาจากเรื่องราวของโจผีและโจสิดนี้เอง........ขอบคุณ เพื่อนจุ๊ง
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1] 2 3 ... 36  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><