25 เมษายน 2567, 12:43:07
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ปลูกถ่ายไขกระดูกโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียมีโอกาสหายขาดมากกว่า 96%  (อ่าน 5039 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 29 ตุลาคม 2553, 16:12:30 »


                                  ถ่ายไขกระดูกหายธาลัสซีเมีย
                     ขอขอบคุณเวบไทยโพสต์ การศึกษา-สาธารณสุข
                            วันพุธ 27 ตุลาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
                    http://www.thaipost.net/news/271010/29219

                          

    แพทย์ไทยย้ำความสำเร็จในการปลูกถ่ายไขกระดูกโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียมีโอกาสหายขาดมากกว่า 96% ชี้รัฐยังไม่สนับสนุนผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ทั้งที่รับภาระไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย แต่ถ้ากินยาตลอดชีวิตใช้งบสูง 30 ล้าน

     รศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล เปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้เริ่มรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก หรือสเต็มเซลล์ ให้แก่ผู้ป่วยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2532 จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยได้รับการรักษาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไปแล้วกว่า 800 ราย โดยใช้ไขกระดูกของตนเองและไขกระดูกจากผู้อื่น ซึ่งค่าใช้จ่ายด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูกต่อรายจะอยู่ประมาณ 500,000-750,000 บาทต่อราย โดยผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดสูงถึง 96% ซึ่งเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีการให้เลือด และการกินยาขับเหล็กแล้ว ผู้ป่วยจะใช้เงินในการรักษาตลอดทั้งชีวิตเฉลี่ยต่อรายสูงถึง 30 ล้านบาท หากรักษาด้วยวิธีการนี้ต่อเนื่องยาวนาน 30 ปี ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ป่วยมากกว่า 90% ยังใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีนี้ และไม่สามารถรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียให้หายขาดได้

     อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในขณะนี้คือ การขาดการสนับสนุนจากทางภาครัฐ เพราะถูกมองว่าค่าใช้จ่ายต่อรายสูงเกินกว่าที่รัฐจะรับภาระได้ ทำให้เป็นจุดอ่อนในการพัฒนาการรักษาโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งมีผู้ป่วยอยู่ในขณะนี้มากกว่า 1 แสนคนทั่วประเทศ และมีประชากรไทยมากกว่า 30% หรือ 20 ล้านคน มีภาวะแฝง (ยีนแฝง) ของโรคดังกล่าว

     "ถ้าใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากพี่น้องที่มีเนื้อเยื่อตรงกับผู้ป่วย จะมีโอกาสหายขาดจากโรคโดยไม่ต้องได้รับเลือดหรือยาใดๆ อีกต่อไปประมาณ 90% แต่ถ้าใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาคที่ไม่ใช่ญาติ แต่มีเอชแอลเอตรงกับผู้ป่วย จะมีโอกาสหายขาดน้อยกว่าประมาณ 80%" รศ.นพ.สุรเดชกล่าว และว่า

     ในวันอังคารที่ 9 พ.ย.นี้ มูลนิธิรามาธิบดีเตรียมเปิดตัวโครงการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเทิดไท้คู่ขวัญองค์ราชัน ราชินี อย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ตั้งแต่เวลา 13.00-14.30 น. เป็นต้นไป.

                     win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><